วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คำอธิบายกัจจายนสูตรที่ ๑๗ ยเมทนฺตสฺสาเทโส

๑๗. ยเมทนฺตสฺสาเทโส
ความประสงค์
         เออันเป็นสระท้ายของบทจะถูกแปลงเป็น ย ในกรณี เอ เป็นสระตัวสุดท้ายของบท ๕ บทเหล่านี้ คือ เต เม เจ เก ปพฺพเต. นอกจากนี้ ไม่อาจทำได้ เช่น เนนาคตา. 
อุทาหรณ์
         อธิคโต โข มฺยายํ ตั้งบทว่า ยํ
         ๑. แยกพยัญชนะออกจากสระ ด้วยสูตรว่า ปุพฺพมโธ = มฺเอ + อยํ
         ๒. ย อักษร เป็นตัวเปลี่ยนของ เอ ด้วยสูตรนี้ = มฺยฺ + อยํ
         ๓. เพราะพยัญชนะ ย ที่ ยํ ข้างหลัง ทีฆะสระหน้า คือ อ ที่ อยํ ด้วยสูตรว่า ทีฆํ ในพยัญชนสนธิ = มฺยฺ + อายํ
         ๔. นำพยัญชนะประกอบสระหลังด้วยสูตรว่า นเย ปรํ ยุตฺเต = มฺยายํ
         อุทาหรณ์ว่า ตฺยาหํ [หํ] เอวํ วเทยฺยํ,  ตฺยาสฺส [สฺส] ปหีนา โหนฺติฯ ก็ทำตัวรูปตามนี้

อธิบายตัวสูตร, วุตติและอุทาหรณ์
ตัวสูตร
            สูตรนี้มีที่มาอย่างนี้ คือ เมื่อตัดบทว่า เม อยํ ดังนี้แล้ว ในสูตรว่า สรา สเร โลปํท่านกล่าวว่า การลบสระหน้า ย่อมมี เพราะมีสระหลัง, ถ้าเป็นอย่างนั้น สระหน้าทั้งหมด ย่อมเป็นอันลบไปเพราะสระหลังทั้งหมดหรือไร, ท่านอาจารย์กัจจายนะจึงแสดงสูตรนี้ไว้ เพื่อแสดงว่า สระหน้าทั้งปวง จะเป็นอันลบไปเพราะสระหลังทั้งปวงก็หามิได้.  โดยที่แท้แล้ว ในเพราะสระหลัง แม้เอ ที่เป็นสระหน้า ถูกเปลี่ยนเป็น ย ได้ เช่นกัน
         สูตรนี้กล่าวไว้ เพื่อแสดงว่า เพราะสระหลัง ย เป็นอาเทส แห่ง เอ ที่เป็นสระที่สุดของบทหน้า ย่อมมีในบางอุทาหรณ์.
         สูตรนี้มี ๓ บท คือ ยํ,  เอทนฺตสฺส,  อาเทโส. 
         บทว่า ยํ เป็น การิยะ.
         บทว่า เอทนฺตสฺส เป็น การีที่เป็นฉัฏฐีวิภัตติเล็งเอาอาเทส หมายความว่า บทนี้ ต้องแปลเข้ากับบทว่า ยํ ซึ่งเป็นอาเทส ว่า อาเทส แห่งเอ.
         บทว่า  อาเทโส เป็นวิเสสนะของบทว่า ยํ .
         สูตรนี้แปลว่า สเร ในเพราะสระ ปเร ข้างหลัง ยํ = ย อิติ รูปํ ยรูป อาเทโส เป็นอาเทศ  เอทนฺตสฺส  [=เอการสฺส ปทนฺตภูตสฺส] แห่งเออันเป็นที่สุดแห่งบท กฺวจิ ในบางอุทาหรณ์ โหติ ย่อมเป็น.  
         อาเทส หมายถึง ตัวที่ถูกกล่าวในตำแหน่งแห่งอาเทสี.  ในที่นี้ อาเทส คือ ย ส่วนอาเทสี คือ เอ.
         วิ. อาเทสิฏฺฅาเน ทิสฺสตีติ อาเทโส. อักษรที่ถูกแสดงในตำแหน่งแห่งอาเทสี.       [อา + ทิสี อุจฺจารณ กล่าว + ณ ปัจจัยกัมมสาธนะ] 
         อีกนัยหนึ่ง อุป อาคมฺม เทสียติ อุจฺจารียตีติ อาเทส. อักษรอันบุคคลย่อมแสดงโดยเข้าถึง หมายความว่า เข้าถึงที่อักษรเดิม.
         เรื่องนี้ พึงทราบว่า อาเทส เป็นการกลมกลืนเสียงที่เกิดจากการเชื่อมคำ โดยเปลี่ยนอักษรเดิมให้เป็นอักษรใหม่ เหมือนศัตรูที่ปราบข้าศึกของตนแล้ว ย่อมเข้าครอบครองที่อยู่ของเขา ส่วนอาคม คือ การแทรกเสียงเข้าไปในตำแหน่งที่ไม่เคยมีเสียงนั้นอยู่ เหมือนมิตรที่มาเยี่ยมหา.
         อนฺต ส่วนประกอบ วิ. อมติ อวยวภาเวน ปวตฺตตีติ อนฺโต  สิ่งที่เป็นไปโดยความเป็นอวัยวะ [อม คติ ไป+ต ปัจจัย ในกัตตุสาธนะ]. ในที่นี้ หมายถึง อักษรที่สุดแห่งบท ได้แก่ อักษรตัวสุดท้ายของบทหน้า
         เอทนฺต หมายถึง เอ อันเป็นอักษรที่สุด. วิ. อนฺโต จ โส เอ จาติ เอทนฺโต. เอ ด้วย เอ นั้น เป็นอักษรที่สุดด้วย ชื่อว่า เอทนฺต เออันเป็นอักษรที่สุด.  (กัมมธารยสมาส)ในที่นี้ ได้แก่ เอ อักษรท้ายบทเหล่านี้ คือ เต เม เก เจ ปพฺพเต เท่านั้น.
         อักษร ในบทว่า เอทนฺต นี้ เป็นอักษรอาคมลงมาเพื่อเลี่ยงโทษคือการปนกันระหว่างสระ ๒ ตัว คือ เอ และ อ.  
         ถามว่า ควรกล่าวว่า โย เอทนฺตสฺสาเทโส ดังนี้มิใช่หรือ เพราะมองหาอาเทศ, เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าว ยเมทนฺตสฺสาเทโส.
         ตอบว่า จริง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ เพื่อออกเสียงได้สะดวก.
         หมายความว่า ในตัวสูตรน่าจะกล่าวว่า โย เพราะมองหาบทวิเสสนะว่า            อาเทโส ซึ่งเป็นปุงลิงค์ จึงควรใช้ลิงค์ให้เสมอกัน. ไม่ควรจะกล่าวว่า ยํ ซึ่งเป็นนปุงสกลิงค์. ซึ่งก็ควรเป็นอย่างนั้น แต่เพื่อให้การสวดสาธยายสูตรเป็นไปอย่างสะดวก จึงเปลี่ยนเป็น ยํ นปุงสกลิงค์. ด้วยเหตุนี้ บทว่า ยํ ควรเพิ่มคำว่า รูปํ หรือ วจนํ เป็น ยํ วจนํ คำว่า ย, ยํ รูปํ รูป ว่า ย. แล้วประกอบความว่า ยํ วจนํ อาเทโส โหติ, หรือ ยํ รูปํ อาเทโส โหติ. คำว่า ย , หรือ รูปว่า ย เป็นอาเทศ (ของเออันเป็นที่สุดแห่งบท) ย่อมเป็น.
         อีกนัยหนึ่ง
         ถาม เมื่อกล่าวเพียงว่า ยเมการสฺสาเทโส ก็เป็นอันรู้ได้แล้วว่า เป็นอาเทศของ เอ เหตุไร จึงกล่าวเพิ่มว่า อนฺตสฺส.
            ตอบ อันนี้เพื่อให้รู้ได้ว่า เพราะ อ ข้างหลัง ยอักษรจะเป็นอาเทศได้ ตามสูตรนี้ ก็เฉพาะของศัพท์ที่มี เต เม ปพฺพเต เก เจ เป็นที่สุดเป็นต้นเท่านั้น ดังอุทาหรณ์ว่า ตฺยาสฺส (เต อสฺส), มฺยายํ (เม อยํ), ปพฺพตฺยาหํ (ปพฺพหํ) คนฺธมาทเน, กฺยาหํ (หํ), ยถานามํ ตถา จฺยสฺส (สฺส) .
         หมายความว่า กล่าวเพียง ยเมการสฺสาเทโส ก็น่าจะพอแล้ว. แต่ท่านกล่าวบทว่า อนฺตสฺส เข้ามาเพื่อให้ทราบความเพิ่มขึ้นอีกว่า เอ ที่จะถูกแทนที่ด้วย ย จะต้องเป็น เอ ท้ายบทว่า เต เม ปพฺพเต เก เจ เท่านั้น ตามอุทาหรณ์เหล่านั้น.
         คัมภีร์ปทรูปสิทธิ กล่าวว่า ย เป็นอาเทส แม้แห่ง เอ ที่เป็นที่สุดแห่งบทว่า เย.   ในเรื่องนี้ ควรทราบว่า บทที่ประกอบด้วย ย สังโยคว่า ยฺย แล้วสำเร็จรูปเป็น ยฺยสฺส ไม่มาในพระบาฬี เพราะออกเสียงไม่ต่างกัน เช่นในอุทาหรณ์ว่า อุยฺยานํ.   (ยฺยสฺส ตัดบทเป็น เย อสฺส เมื่อสำเร็จรูปตามนัยของคัมภีร์ปทรูปสิทธิจะเป็น ยฺยสฺส ข้อนี้ไม่ควรมี เพราะยอักษรสองตัว ออกเสียงเป็น ย ตัวเดียว เช่น อุยฺยานํ ออกเสียงว่า อุย - ยา นัง. ซึ่งต่างจากสังโยคอื่นอาจออกเสียงให้ต่างกันได้ คือ ออกเสียงกล้ำเช่น ทฺย เป็นต้น).           มีแต่ที่เป็นวิสัญโยค (คือ ไม่มีรูปเป็น ยฺยสฺส มีแต่ ยสฺส ที่มาจาก เย อสฺส เป็นต้น). เพราะในสุตบท (พระบาฬี) ที่อาจมีรูปเป็น ยฺย ทุกบทนั้น มีแต่รูปที่ไม่มีสังโยคเท่านั้นว่า ยสฺส (เย อสฺส) วิปฺปฏิสารชาติ จ, ยสฺสุ (เย อสฺสุ) มฃฺฃามิ  สมเณติ จ, อฃฺฃํ อิโต ยาภิวทนฺติ (เย อภิวทนฺติ) ธมฺมํ. (กัจจายนัตถทีปนี และ สัททนีติ สุตตมาลา สูตร ๔๓)
         กฺวจิ ตามมาจากสูตรว่า กฺวจาสวณฺณํ ลุตฺเต แสดงว่า อาเทศย นี้มีได้ในบางอุทาหรณ์.
         สเร ปเร ตามมาจากสูตรว่า สรา สเร โลปํ และ วา ปโร อสรูปา ตามลำดับ.

วุตติ
         เอการสฺส อนฺตภูตสฺส มีความประสงค์ดังนี้คือ
         ๑)  เพราะในตัวสูตรท่านกล่าวบทว่า เอทนฺตสฺส โดยไม่แยกแยะว่า เป็นสมาสใดระหว่างกัมมธารยสมาสหรือพหุพพีหิสมาส   ดังนั้น หากคิดว่า บทว่า เอทนฺต นี้เป็นพหุพพีหิสมาสว่า เอ อนฺโต ยสฺสาติ เอทนฺโต. เอ เป็นที่สุดของศัพท์ใด ศัพท์นั้นชื่อว่า เอทนฺโต มีเอเป็นที่สุด ด้วยเหตุนี้ เอทนฺต จึงหมายถึง ม ไม่ใช่ เอ เพราะพหุพพีหิสมาสมีอัญญปทัตถเป็นประธาน. 
          ถ้าจะถือเอาเป็นพหุพพีหิสมาสแล้ว อุทาหรณ์ว่า มฺยายํ เป็นต้น เมื่อตัดบทเป็น เม อยํ แล้ว ครั้นแยกพยัญชนะออกจากสระเป็น มฺเอ แล้ว ม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ บทว่า เม  เนื่องจากการตีความจากสมาสที่ว่า บทที่มีเอเป็นที่สุด ซึ่งหมายถึง มฺ เป็น ย ได้เช่นกัน  เพราะมีสระหลังคือเอเป็นนิมิต  เมื่อเป็นดังนี้ ท่านจึงกล่าวว่า เอการสฺส อนฺตภูตสฺส เอที่เป็นที่สุดบท เพื่อกำหนดให้เอเท่านั้นจะถูกแปลงเป็น ย โดยเป็นหลักการของสูตรเพื่อสำเร็จรูปว่า เอ ตาลุชะ เท่านั้น มี ยเป็นอาเทส เพราะ ย เป็นตาลุชะ โดยประสงค์ว่า บทว่า เอทนฺต นี้เป็นกัมมธารยสมาสว่า อนฺโต จ โส เอ จาติ เอทนฺโต ก็จะได้ความหมายดังที่ประสงค์.
         ๒) คำว่า เอการสฺส แสดงว่า  บทว่า เอ ในตัวสูตร มาจาก เอการ (เอ + การปัจจัย) แต่แสดงไว้โดยลบการปัจจัยไป เหลือเพียง เอ
         สเร ปเร เป็นบทที่ตามมาจากสูตรก่อนสู่สูตรนี้ โดยทำ สร ศัพท์ จากสูตรว่า สรา สเร โลปํ และ ปร ศัพท์ จากสูตรว่า วา ปโร อสรูปา ให้มีเนื้อความเชื่อมโยงกันดังนี้ สเร สระ ปเร ข้างหลัง. 
         กฺวจิ ถูกกล่าวไว้เนื่องด้วยเป็นบทที่ตามมา โดยประสงค์ว่า ในอุทาหรณ์ว่า เนนาคตา เป็นต้น เมื่อเอเป็นที่สุดบทและสระหลังคือ อ มีอยู่ ยอาเทส ก็มีไม่ได้ ตามสูตรนี้ เพราะกฺวจิศัพท์ห้ามไว้.
         อนฺตภูโต =  อนฺโต หุตฺวา ภูโต อนฺตภูโต แปลว่า (เออักษร) เป็นที่สุด
         ยการาเทโส = ย เอว ยกาโร ลงการปัจจัยในอรรถสกัตะ.  ยกาโร เอว อาเทโส  ย นั่นแหละ เป็นอาเทศ เรียกว่า ยอาเทส ยเป็นอาเทศ.

อุทาหรณ์
         อธิคโต โข ธมฺโม มฺยายํ (เม อยํ)
         วิธีการสำเร็จรูป
         วิธีการสำเร็จรูปที่แสดงไว้ในตัวสูตรนั้น โดยนัยที่มาในคัมภีร์นยาสะ.  แต่ยังมีอีกแนวคิดอื่นอีกดังนี้ ความเป็นทีฆะของบทว่า อยํ ควรสำเร็จได้ด้วยสูตรว่า ทีฆํ ในสรสนธินี้แหละ กรณีนี้หมายความว่า อ ที่ ย เป็นนิมิตให้ทีฆะ, หรือไม่ก็ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุฯ เนื่องจาก ย ข้างหลัง (ที่ อยํ) เป็นบทเดียวกับ อ จึงไม่ควรเป็นนิมิตให้ทีฆะโดยสูตรว่า ทีฆํ ในพยัญชนสนธิ. แต่อย่างไรก็ดี วิธีสำเร็จรูปที่มาในคัมภีร์นยาสะดีกว่า เพราะในอุทาหรณ์ว่า ปจฺจโย ปติ + อิ (ปตฺย ปจฺจ) แสดงความเป็น จฺจ ของ จ ข้างหลัง โดยการได้นิมิตตัวหน้า ในบทเดียวกันนั่นแหละ
        

         อุทาหรณ์ว่า เนนาคตา รูปนี้ไม่สำเร็จตามสูตรนี้ เพราะ กฺวจิ ศัพท์ห้ามไว้
         เนนาคตา ตัดบทว่า เน อนาคตา
         ๑) แยกพยัญชนะออกจากสระ ด้วยสูตรว่า ปุพฺพมโธ ฯ = นฺเ อนาคตา
         และเมื่อ ย จะเป็นอาเทสของ เอ  ด้วยสูตรนี้
         ๒) ลบสระหลังท้ายสระหน้า ด้วยสูตรว่า วา ปโร อสรูปา = นฺเ นาคตา
         ๓) นำพยัญชนะประกอบ ด้วยสูตรว่า นเย ปรํ ยุตฺเต = เนนาคตา
         อุทาหรณ์ว่า เนตฺถ ตัดบทว่า เน เอตฺถ
         ๑) แยกพยัญชนะออกจากสระ ด้วยสูตรว่า ปุพฺพมโธ ฯ = นฺเ เอตฺถ
         และเมื่อ ย จะเป็นอาเทสของ เอ  ด้วยสูตรนี้
         ๒) ลบสระหลังท้ายสระหน้า ด้วยสูตรว่า วา ปโร อสรูปา = นฺเ ตฺถ

         ๓) นำพยัญชนะประกอบ ด้วยสูตรว่า นเย ปรํ ยุตฺเต = เนตฺถ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น