วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สานสนอันตรธานกถา ครั้งที่ ๑

อันตรธานกถา
จำเดิมแต่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้แจ้งโลก มีสายพระเนตรยาวไกล ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงประกาศพระสัทธรรมคำสอนของพระองค์ให้แผ่ไพศาลไปทั่วพื้นที่ชมพูทวีป มีอริยสาวกทั้งที่เป็นมนุษย์และเทวดาเกิดขึ้นมากมาย พระสัทธรรมที่พระองค์ประกาศไว้เป็นดุจดังประทีบที่จุดเพื่อบอกทางในยามค่ำคืน พระศาสนารุ่งเรืองอย่างโดดเด่น. แต่ทว่า ท่ามกลางความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระศาสนานั้น พระองค์ผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม กลับตรัสว่า ใช่ว่าศาสนาของพระองค์จะตั้งอยู่ตลอดไปก็หามิได้ โดยที่แท้ ก็มีสักวันหนึ่งที่จะต้องถึงกาลที่ล่มสลายไปในที่สุด นอกจากจะมีกาลเวลาเป็นเงื่อนไขแล้ว ยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้เกิดความล่มสลายสาบสูญแห่งพระสัทธรรม.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงเหตุปัจจัยภายในศาสนา ดังนี้1
) เพราะมีมาตุคามหรือสตรีเข้ามาบวชในพระศาสนา ดังปรากฏอยู่ในพระบาฬีโคตมีสูตร อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย ความว่า
‘‘สเจ, อานนฺท, นาลภิสฺส มาตุคาโม ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชํ, จิรฏฺฐิติกํ, อานนฺท, พฺรหฺมจริยํ อภวิสฺส, วสฺสสหสฺสเมว สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺยฯ ยโต จ โข, อานนฺท, มาตุคาโม ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต, น ทานิ, อานนฺท, พฺรหฺมจริยํ จิรฏฺฐิติกํ ภวิสฺสติฯ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสติฯ
‘‘เสยฺยถาปิ, อานนฺท, ยานิ กานิจิ กุลานิ พหุตฺถิกานิ, อปฺปปุริสกานิ, ตานิ สุปฺปธํสิยานิ โหนฺติ โจเรหิ กุมฺภตฺเถนเกหิ; เอวเมวํ โข, อานนฺท, ยสฺมึ ธมฺมวินเย ลภติ มาตุคาโม อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชํ, น ตํ พฺรหฺมจริยํ จิรฏฺฐิติกํ โหติฯ
‘‘(องฺ. อฏฺฐก. โคตมีสุตฺต)
อานนท์ ! ถ้ามาตุคามจักไม่ได้ซึ่งการออกจากเรือนเข้ามาบรรพชาในธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วไซร้, พรหมจรรย์ (ศาสนาคำสอน) จักเป็นอันตั้งอยู่สิ้นกาลยาวนาน, สัทธรรม พึงดำรงอยู่ชั่วพันปีทีเดียว. แต่เพราะเหตุที่มาตุคามออกจากการครองเรือนเข้ามาบรรพชาในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว, บัดนี้ พรหมจรรย์จักมิได้เป็นอันดำรงอยู่ยาวนานแล้ว. บัดนี้ สัทธรรมจักดำรงอยู่ชั่วห้าร้อยปีเท่านั้น นะอานนท์ !.
เปรียบเหมือนกับบ้านเรือนที่มีบุรุษน้อย มากด้วยสตรี ก็จะถูกโจรปล้นทรัพย์ เข้าปล้นได้ ฉันใด, ถ้ามีมาตุคามออกเรือนเข้ามาบรรพชาในธรรมวินัยใด ในธรรมวินัยนั้นจักตั้งอยู่ได้ไม่นานเลยทีเดียว ฯลฯ
) เพราะภิกษุแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม อวินัยว่าเป็นวินัย เป็นต้นดังปรากฏอยู่ในพระบาฬีอังคุตรนิกาย เอกนิบาต ทุติยปมาทาทิวรรค ความว่า
‘‘เย เต, ภิกฺขเว, ภิกฺขู อธมฺมํ ธมฺโมติ ทีเปนฺติ เต, ภิกฺขเว, ภิกฺขู พหุชนอหิตาย ปฏิปนฺนา พหุชนอสุขาย, พหุโน ชนสฺส อนตฺถาย อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสานํฯ พหุญฺจ เต, ภิกฺขเว, ภิกฺขู อปุญฺญํ ปสวนฺติ, เต จิมํ สทฺธมฺมํ อนฺตรธาเปนฺตี’’ติฯ (ทุติยปมาทาทิวคฺค. เตตฺตึสติม. องฺ.เอก ข้อ ๑๓๐ สูตรที่ ๓๓ ทุติยปมาทิวคฺค)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม, ภิกษุเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเปล่าประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก, เพื่อความไม่ใช่สุขแก่ชนเป็นอันมาก, ย่อมปฏิบัติเพื่อความเสื่อมเสีย ความเปล่าประโยชน์ และความทุกข์แก่ชนเป็นอันมาก แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเหล่านั้น ก็ย่อมประสบบาปกรรมเป็นอันมาก อีกทั้งจะกระทำให้พระสัทธรรมนี้เสื่อมสูญอีกด้วย
) เพราะมีสัทธรรมปฏิรูป โมฆบุรุษเกิดในพระศาสนา และพุทธบริษัทไม่เคารพในพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ ดังปรากฏอยู่ในพระบาฬีสัทธัมมัปปติรูปกสูตร กัสสปสังยุต นิทานวรรค สังยุตนิกาย ความว่า
‘‘เอวญฺเจตํ, กสฺสป, โหติ สตฺเตสุ หายมาเนสุ สทฺธมฺเม อนฺตรธายมาเน, พหุตรานิ เจว สิกฺขาปทานิ โหนฺติ อปฺปตรา จ ภิกฺขู อญฺญาย สณฺฐหนฺติฯ น ตาว, กสฺสป, สทฺธมฺมสฺส อนฺตรธานํ โหติ ยาว น สทฺธมฺมปฺปติรูปกํ โลเก อุปฺปชฺชติฯ ยโต จ โข, กสฺสป, สทฺธมฺมปฺปติรูปกํ โลเก อุปฺปชฺชติ, อถ สทฺธมฺมสฺส อนฺตรธานํ โหติ’’ฯ … เปฯ ..
‘‘น โข, กสฺสป, ปถวีธาตุ สทฺธมฺมํ อนฺตรธาเปติ, น อาโปธาตุ สทฺธมฺมํ อนฺตรธาเปติ, น เตโชธาตุ สทฺธมฺมํ อนฺตรธาเปติ, น วาโยธาตุ สทฺธมฺมํ อนฺตรธาเปติ; อถ โข อิเธว เต อุปฺปชฺชนฺติ โมฆปุริสา เย อิมํ สทฺธมฺมํ อนฺตรธาเปนฺติฯ เสยฺยถาปิ, กสฺสป, นาวา อาทิเกเนว โอปิลวติ; น โข, กสฺสป, เอวํ สทฺธมฺมสฺส อนฺตรธานํ โหติฯ
‘‘ปญฺจ โขเม, กสฺสป, โอกฺกมนิยา ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส สมฺโมสาย อนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติฯ กตเม ปญฺจ? อิธ, กสฺสป, ภิกฺขู ภิกฺขุนิโย อุปาสกา อุปาสิกาโย สตฺถริ อคารวา วิหรนฺติ อปฺปติสฺสา, ธมฺเม อคารวา วิหรนฺติ อปฺปติสฺสา, สงฺเฆ อคารวา วิหรนฺติ อปฺปติสฺสา, สิกฺขาย อคารวา วิหรนฺติ อปฺปติสฺสา, สมาธิสฺมึ อคารวา วิหรนฺติ อปฺปติสฺสา – อิเม โข, กสฺสป, ปญฺจ โอกฺกมนิยา ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส สมฺโมสาย อนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติฯ
กัสสปะ ! ข้อนั้นเป็นฉะนี้แล, กล่าวคือ เมื่อสัตว์ทั้งหลายเสื่อมถอย, เมื่อสัทธรรมใกล้อันตรธาน, สิกขาบทย่อมมีมาก, และภิกษุทั้งหลายที่ดำรงอยู่ในพระอรหัตต์ ก็มีจำนวนน้อย. กัสสปะ ! สัทธรรมปฏิรูป (ธรรมที่คล้ายจะเป็นสัทธรรม) ยังไม่เกิดขึ้นในโลกเพียงใด, สัทธรรมแท้ก็จะไม่เป็นอันอันตรธานไปตราบเพียงนั้น. กัสสปะ ในกาลที่เกิดสัทธรรมปฏิรูปแล้ว กาลนั้นนั่นแลสัทธรรมแท้ๆจะอันตรธานไป. ฯลฯ
กัสสปะ ปถวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ หาได้ทำให้สัทธรรมอันตรธานไปไม่ แต่ทว่า โมฆบุรุษ ที่เกิดขึ้นในศาสนานี้นั่นแหละที่จะให้ทำให้สัทธรรมอันตรธาน. จงดูเรือที่อัปปาง ก็ย่อมอัปปางไปเพราะนายต้นหนเรือเป็นอุทาหรณ์เถิด กัสสปะ.
อีกประการหนึ่งนะกัสสปะ, ธรรมเป็นเหตุตกไปสู่ที่ต่ำ ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้สัทธรรมเลอะเลือน ถึงกับอันตรธานได้ คือ ข้อที่ภิกษุ ภิกษุนี อุบาสก อุบาสิกา เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดาอยู่, ... ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่ ..., ในพระสงฆ์, ... ในสิกขา ... , ในสมาธิอยู่. กัสสปะ ธรรมเป็นเหตุตกไปสู่ที่ต่ำ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเลือนหาย ถึงกับให้พระสัทธรรมอันตรธานได้ เหล่านี้แล.
ถึงแม้พระองค์จะได้แนะนำวิธีประพฤติปฏิบัติเพื่อป้องการล่มสลายก็ตาม โดยนัยว่า "เมื่อตถาคตได้บัญญัติครุธรรม ๘ ประการสำหรับภิกษุนีต้องประพฤติไปจนชั่วชีวิต, ภิกษุควรแสดงธรรมว่าเป็นธรรม, ภิกษุไม่พึงเป็นผู้ติดอยู่ในสัทธรรมปฏิรูป ไม่เป็นบุรุษว่างเปล่า ไม่ปรารถนากระทำคุณวิเศษอันเป็นที่พึ่งให้บังเกิดแก่ตนเอง, และละเว้นธรรมฝ่ายฉุดลงต่ำกล่าวคือการมีความเคารพในพระศาสดาเป็นต้นเหล่านั้น" ดังนี้เป็นต้น ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยตรง และที่พระอรรถกถาจารย์ขยายความไว้.2
แต่เมื่อกาลล่วงไป ปัญญาญาณของชาวโลกก็ย่อมเสื่อมถอย ความสามารถในการทำคุณวิเศษให้บังเกิดก็ลดน้อยลง แม้แต่การที่ปัจฉิมชนจะทรงพระธรรมไว้ก็เป็นไปได้ยาก. การเสื่อมสลายแห่งพระสัทธรมจงยกไว้ แม้แต่พระศาสนาโดยรวมทั้งสิ้น ก็จะถึงวันที่แตกดับไปโดยไม่มีอะไรเหลือโดยแน่แท้ ซึ่งล้วนเป็นธรรมดาของสรรพสิ่งของโลกที่จะต้องแตกดับไป.
เกี่ยวกับเรื่องนี้ คัมภีร์อรรถกถา ได้เรียบเรียงลำดับการเสื่อมสูญของพระศาสนาไว้อย่างละเอียดชัดเจน ไว้ในหลายแห่ง. ก็โดยเหตุที่ในอรรถกถาแต่ละแห่งได้แสดงไว้ต่างๆ กัน กล่าวคือ บางแห่งแสดงเฉพาะสาสนาอันตรธาน (การอันตรธานของพระศาสนาทั้งสิ้น) บางแห่งเฉพาะติปิฎกอันตรธาน (การอันตรธานแห่งพระสัทธรรมเท่านั้น) บางแห่งมีครบทั้งสอง ดังนั้น จะใคร่นำข้อความที่ท่านกล่าวไว้ในที่นั้น มานำเสนอไว้ โดยยกจากคัมภีร์ที่กล่าวไว้อย่างละเอียดที่สุดเป็นหลัก โดยเทียบกับคัมภีร์อื่นไว้เพื่อให้ได้รับสาระครบถ้วน.

--------------------------------------------------------

1 ในที่นี้อาศัยนัยที่พระฏีกาจารย์นำเสนอในฏีกาโคตมีสูตร ที่กล่าวถึงคำอธิบายลำดับการอันตรธานของพระสัทธรรม.


2 ความโดยละเอียดเหล่านี้ ควรศึกษาเพิ่มเติมในพระบาฬีที่มาพร้อมทั้งอรรถกถาเหล่านั้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น