วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

๑๖ มิลินทปัญหา : วิจารวรรคที่ ๓ ปัญหาที่ ๑ อัทธานมูลปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งอัทธา.

๓. วิจารวคฺโค
๑. อทฺธานมูลปญฺโห
วิจารวคฺโค วรรคที่มีลักษณะของวิจารเป็นที่สุด
อทฺธานมูลปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งอัทธา.
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, อตีตสฺส อทฺธานสฺส กิํ มูลํ, อนาคตสฺส อทฺธานสฺส กิํ มูลํ, ปจฺจุปฺปนฺนสฺส อทฺธานสฺส กิํ มูล’’นฺติ? ‘‘อตีตสฺส จ, มหาราช, อทฺธานสฺส อนาคตสฺส จ อทฺธานสฺส ปจฺจุปฺปนฺนสฺส จ อทฺธานสฺส อวิชฺชา มูลํฯ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ, วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ, นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ, สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส, ผสฺสปจฺจยา เวทนา, เวทนาปจฺจยา ตณฺหา, ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ, อุปาทานปจฺจยา ภโว, ภวปจฺจยา ชาติ, ชาติปจฺจยา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติฯ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อทฺธานสฺส [ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อทฺธานสฺส (สี.)] ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายตี’’ติฯ


ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน กิํ อะไร มูลํ เป็นมูลราก อทฺธานสฺส ของกาล อตีตสฺส อันเป็นอดีต, กิํ อะไร มูลํ เป็นมูลราก อทฺธานสฺส ของกาล อนาคตสฺส อันเป็นอนาคต, กิํ อะไร มูลํ เป็นมูลราก อทฺธานสฺส ของกาล ปจฺจุปนฺนสฺส อันเป็นปัจจุบัน อิติ ดังนี้.[๑]
เถโร พระนาคเสน อาห ทูลว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อวิชฺชา อวิชชา (ความไม่รู้) มูลํ เป็นมูลราก อทฺธานสฺส ของกาล อตีตสฺส อันเป็นอดีต อทฺธานสฺส ของกาล อนาคตสฺส อันเป็นอนาคต อทฺธานสฺส ของกาล ปจฺจุปนฺนสฺส อันเป็นปัจจุบัน[๒]. (กถํ) อย่างไร,
อวิชฺชาปจฺจยา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สงฺขารา สังขารท. สมฺภวนฺติ จึงมี
สงฺขารปจฺจยา เพราะสังขารท.เป็นปัจจัย วิญฺญาณํ ปฏิสนธิวิญญาณ สมฺภวติ ย่อมมี
วิญฺญาณปจฺจยา เพราะปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปํ นามรูป (เจตสิกขันธ์ ๓ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ และกัมมชรูป) สมฺภวติ ย่อมมี
นามรูปปจฺจยา เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนํ อายตนะทั้ง ๑๖ สมฺภวติ ย่อมมี
สฬายตนปจฺจยา เพราะอายตนะทั้ง ๑๖ เป็นปัจจัย ผสฺโส ผัสสะ สมฺภวติ ย่อมมี
ผสฺสปจฺจยา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา เวทนา สมฺภวติ ย่อมมี
เวทนาปจฺจยา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตณฺหา ตัณหา สมฺภวติ ย่อมมี
ตณฺหาปจฺจยา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานํ อุปาทาน สมฺภวติ ย่อมมี
อุปาทานปจฺจยา เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภโว ภพ สมฺภวติ ย่อมมี
ภวปจฺจยา เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ ชาติ สมฺภวนฺติ ย่อมมี.
ชาติปจฺจยา เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณํ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา และความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเดือดร้อนและความไม่สบายใจ สมฺภวติ ย่อมมี.[๓]
โกฏิ ที่สุด ปุริมา เบื้องต้น อทฺธานสฺส ของกาล ทุกฺขกฺขนฺธสฺส ของกองทุกข์ เกวลลสฺส ทั้งหมด เอตสฺส นี้ น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ เอวํ ด้วยประการดังนี้ อิติ ดังนี้.

‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา พระราชา อโวจ ตรัส ว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน, ตฺวํ ท่าน อสิ เป็นผู้ กลฺโล สามารถแก้ปัญหา อิติ ดังนี้.

อทฺธานมูลปญฺโห ปฐโมฯ
อทฺธานมูลปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับมูลรากแห่งอัทธา ปฐโม ที่ ๑ นิฏฺฐิโต จบ






[๑] พระเจ้ามิลินท์ ครั้นได้ข้อสรุปว่า กาลที่แท้นั้น ก็คือ ธรรมมีขันธ์เป็นต้นที่เป็นไปโดยกาลนั่นเองแล้ว บัดนี้ทรงสงสัยว่า อะไรเป็นเหตุอันเป็นประธานแห่งธรรมเหล่านั้นทั้งที่เป็นไปในกาลทั้งสาม.
[๒] พระนาคเสนเถระวิสัชนาโดยยกเอาปฏิจสมุปบาทกถาว่า อวิชชานั่นเองเป็นมูลเหตุคือเป็นเหตุที่เป็นประธานของธรรมที่เป็นไปในกาลทั้งสาม กล่าวคือ สังขารเป็นต้น อันเป็นองค์แห่งปัจจยาการนั่นเอง.
บัณฑิตควรยกเนื้อความพระบาฬีปฏิสัมภิทามรรคมาสาธก ดังนี้.
อวิชฺชา ปจฺจโย, สงฺขารา ปจฺจยสมุปฺปนฺนาฯ อุโภเปเต ธมฺมา ปจฺจยสมุปฺปนฺนาติ ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺญา ธมฺมฏฺฐิติญาณํฯ (ขุ.ป. ๓๑/๖๔)
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยได้ว่า อวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย, ธรรมทั้งสอง (คือ อวิชชาและสังขาร) นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะปัจจัย ดังนี้ ชื่อว่า ธัมมฐิติญาณ (ปัจจยปริคคหญาณ) เพราะเป็นการกำหนดอวิชชาปัจจัยที่เป็นปัจจัยแก่สังขารปัจจุบัน.
อตีตมฺปิ อทฺธานํอนาคตมฺปิ อทฺธานํ อวิชฺชา ปจฺจโย, สงฺขารา ปจฺจยสมุปฺปนฺนาฯ อุโภเปเต ธมฺมา ปจฺจยสมุปฺปนฺนาติ ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺญา ธมฺมฏฺฐิติญาณํฯ (ขุ.ป. ๓๑/๖๔)
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยได้ว่า แม้ในกาลอดีต แม้ในกาลอนาคต อวิชชาก็เป็นปัจจัย, สงขารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย, ธรรมท้ง ๒ นี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะปัจจัย ดังนี้ ชื่อว่า ธัมมฐิติญาณ”. ดังนี้ เพราะเป็นการกำหนดอวิชชาอดีตที่เป็นปัจจัยแก่สังขารอดีตนั่นแหละ. และอวิชชาอนาคตที่เป็นปัจจัยแก่สังขารอนาคต.
[๓] พึงทราบว่า การที่อวิชชาเพียงอย่างเดียวถูกแสดงไว้ว่าเป็นมูลเหตุแห่งสังขาร ก็โดยความเป็นประธานมิได้เป็นธรรมที่เกิดก่อนไม่ เพราะอวิชชายังมีธรรมอื่นเป็นเหตุ ดังพระบาฬีว่า อาสวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย เพราะอาสวะเกิดขึ้น อวิชชาจึงเกิดขึ้น.  ดังนั้น อวิชชาจึงมิได้ชื่อว่า เป็นปลายสุดข้างต้นแห่งอัทธาไม่.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น