วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มิลินทปัญหา ๒๑ .วิจารวรรคที่ ๓ (ปัญหาที่ ๖) เวทคูปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับผู้เข้าถึงการรับรู้ภายใน

๖. เวทคูปญฺโห
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, เวทคู อุปลพฺภตี’’ติ? ‘‘โก ปเนส, มหาราช, เวทคู นามา’’ติ? ‘‘โย, ภนฺเต, อพฺภนฺตเร ชีโว จกฺขุนา รูปํ ปสฺสติ, โสเตน สทฺทํ สุณาติ, ฆาเนน คนฺธํ ฆายติ, ชิวฺหาย รสํ สายติ, กาเยน โผฏฺฐพฺพํ ผุสติ, มนสา ธมฺมํ วิชานาติ, ยถา มยํ อิธ ปาสาเท นิสินฺนา เยน เยน วาตปาเนน อิจฺเฉยฺยาม ปสฺสิตุํ, เตน เตน วาตปาเนน ปสฺเสยฺยาม, ปุรตฺถิเมนปิ วาตปาเนน ปสฺเสยฺยาม, ปจฺฉิเมนปิ วาตปาเนน ปสฺเสยฺยาม, อุตฺตเรนปิ วาตปาเนน ปสฺเสยฺยาม, ทกฺขิเณนปิ วาตปาเนน ปสฺเสยฺยามฯ เอวเมว โข, ภนฺเต, อยํ อพฺภนฺตเร ชีโว เยน เยน ทฺวาเรน อิจฺฉติ ปสฺสิตุํ, เตน เตน ทฺวาเรน ปสฺสตี’’ติฯ
เถโร อาห ‘‘ปญฺจทฺวารํ, มหาราช, ภณิสฺสามิ, ตํ สุโณหิ, สาธุกํ มนสิกโรหิ, ยทิ อพฺภนฺตเร ชีโว จกฺขุนา รูปํ ปสฺสติ, ยถา มยํ อิธ ปาสาเท นิสินฺนา เยน เยน วาตปาเนน อิจฺเฉยฺยาม ปสฺสิตุํ, เตน เตน วาตปาเนน รูปํ เยว ปสฺเสยฺยาม, ปุรตฺถิเมนปิ วาตปาเนน รูปํ เยว ปสฺเสยฺยาม, ปจฺฉิเมนปิ วาตปาเนน รูปํ เยว ปสฺเสยฺยาม, อุตฺตเรนปิ วาตปาเนน รูปํ เยว ปสฺเสยฺยาม, ทกฺขิเณนปิ วาตปาเนน รูปํ เยว ปสฺเสยฺยาม, เอวเมเตน อพฺภนฺตเร ชีเวน โสเตนปิ รูปํ เยว ปสฺสิตพฺพํ, ฆาเนนปิ รูปํ เยว ปสฺสิตพฺพํ, ชิวฺหายปิ รูปํ เยว ปสฺสิตพฺพํ, กาเยนปิ รูปํ เยว ปสฺสิตพฺพํ, มนสาปิ รูปํ เยว ปสฺสิตพฺพํ; จกฺขุนาปิ สทฺโท เยว โสตพฺโพ, ฆาเนนปิ สทฺโท เยว โสตพฺโพ, ชิวฺหายปิ สทฺโท เยว โสตพฺโพ, กาเยนปิ สทฺโท เยว โสตพฺโพ, มนสาปิ สทฺโท เยว โสตพฺโพ; จกฺขุนาปิ คนฺโธ เยว ฆายิตพฺโพ, โสเตนปิ คนฺโธ เยว ฆายิตพฺโพ, ชิวฺหายปิ คนฺโธ เยว ฆายิตพฺโพ, กาเยนปิ คนฺโธ เยว ฆายิตพฺโพ, มนสาปิ คนฺโธ เยว ฆายิตพฺโพ; จกฺขุนาปิ รโส เยว สายิตพฺโพ, โสเตนปิ รโส เยว สายิตพฺโพ, ฆาเนนปิ รโส เยว สายิตพฺโพ, กาเยนปิ รโส เยว สายิตพฺโพ, มนสาปิ รโส เยว สายิตพฺโพ; จกฺขุนาปิ โผฏฺฐพฺพํ เยว ผุสิตพฺพํ, โสเตนปิ โผฏฺฐพฺพํ เยว ผุสิตพฺพํ, ฆาเนนปิ โผฏฺฐพฺพํ เยว ผุสิตพฺพํ, ชิวฺหายปิ โผฏฺฐพฺพํ เยว ผุสิตพฺพํ, มนสาปิ โผฏฺฐพฺพํ เยว ผุสิตพฺพํ; จกฺขุนาปิ ธมฺมํ เยว วิชานิตพฺพํ, โสเตนปิ ธมฺมํ เยว วิชานิตพฺพํ, ฆาเนนปิ ธมฺมํ เยว วิชานิตพฺพํ, ชิวฺหายปิ ธมฺมํ เยว วิชานิตพฺพํ, กาเยนปิ ธมฺมํ เยว วิชานิตพฺพ’’นฺติ? ‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ
‘‘น โข เต, มหาราช, ยุชฺชติ ปุริเมน วา ปจฺฉิมํ, ปจฺฉิเมน วา ปุริมํ, ยถา วา ปน, มหาราช, มยํ อิธ ปาสาเท นิสินฺนา อิเมสุ ชาลวาตปาเนสุ อุคฺฆาฏิเตสุ มหนฺเตน อากาเสน พหิมุขา สุฏฺฐุตรํ รูปํ ปสฺสาม, เอวเมเตน อพฺภนฺตเร ชีเวนาปิ จกฺขุทฺวาเรสุ อุคฺฆาฏิเตสุ มหนฺเตน อากาเสน สุฏฺฐุตรํ รูปํ ปสฺสิตพฺพํ, โสเตสุ อุคฺฆาฏิเตสุเป.ฆาเน อุคฺฆาฏิเตเป.ชิวฺหาย อุคฺฆาฏิตายเป.กาเย อุคฺฆาฏิเต มหนฺเตน อากาเสน สุฏฺฐุตรํ สทฺโท โสตพฺโพ, คนฺโธ ฆายิตพฺโพ, รโส สายิตพฺโพ, โผฏฺฐพฺโพ ผุสิตพฺโพ’’ติ? ‘‘น หิ ภนฺเต’’ติ
‘‘น โข เต, มหาราช, ยุชฺชติ ปุริเมน วา ปจฺฉิมํ, ปจฺฉิเมน วา ปุริมํ, ยถา วา ปน, มหาราช, อยํ ทินฺโน นิกฺขมิตฺวา พหิทฺวารโกฏฺฐเก ติฏฺเฐยฺย, ชานาสิ ตฺวํ, มหาราช, ‘อยํ ทินฺโน นิกฺขมิตฺวา พหิทฺวารโกฏฺฐเก ฐิโต’’’ติ? ‘‘อาม, ภนฺเต, ชานามี’’ติฯ ‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, อยํ ทินฺโน อนฺโต ปวิสิตฺวา ตว ปุรโต ติฏฺเฐยฺย, ชานาสิ ตฺวํ, มหาราช, ‘อยํ ทินฺโน อนฺโต ปวิสิตฺวา มม ปุรโต ฐิโต’’’ติ? ‘‘อาม, ภนฺเต, ชานามี’’ติฯ ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, อพฺภนฺตเร โส ชีโว ชิวฺหาย รเส นิกฺขิตฺเต ชาเนยฺย อมฺพิลตฺตํ วา ลวณตฺตํ วา ติตฺตกตฺตํ วา กฏุกตฺตํ วา กสายตฺตํ วา มธุรตฺตํ วา’’ติ? ‘‘อาม, ภนฺเต, ชาเนยฺยา’’ติฯ ‘‘เต รเส อนฺโต ปวิฏฺเฐ ชาเนยฺย อมฺพิลตฺตํ วา ลวณตฺตํ วา ติตฺตกตฺตํ วา กฏุกตฺตํ วา กสายตฺตํ วา มธุรตฺตํ วา’’ติฯ ‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ
‘‘น โข เต, มหาราช, ยุชฺชติ ปุริเมน วา ปจฺฉิมํ, ปจฺฉิเมน วา ปุริมํ, ยถา, มหาราช, โกจิเทว ปุริโส มธุฆฏสตํ อาหราเปตฺวา มธุโทณิํ ปูราเปตฺวา ปุริสสฺส มุขํ ปิทหิตฺวา [ปิทหิตฺวาว (ก.)] มธุโทณิยา ปกฺขิเปยฺย, ชาเนยฺย, มหาราช, โส ปุริโส มธุํ สมฺปนฺนํ วา น สมฺปนฺนํ วา’’ติ? ‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ ‘‘เกน การเณนา’’ติฯ ‘‘น หิ ตสฺส, ภนฺเต, มุเข มธุ ปวิฏฺฐ’’นฺติฯ
‘‘โข เต, มหาราช, ยุชฺชติ ปุริเมน วา ปจฺฉิมํ, ปจฺฉิเมน วา ปุริม’’นฺติฯ ‘‘นาหํ ปฏิพโล ตยา วาทินา สทฺธิํ สลฺลปิตุํ; สาธุ, ภนฺเต, อตฺถํ ชปฺเปหี’’ติฯ
เถโร อภิธมฺมสํยุตฺตาย กถาย ราชานํ มิลินฺทํ สญฺญาเปสิ – ‘‘อิธ, มหาราช, จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ, ตํสหชาตา ผสฺโส เวทนา สญฺญา เจตนา เอกคฺคตา ชีวิตินฺทฺริยํ มนสิกาโรติ เอวเมเต ธมฺมา ปจฺจยโต ชายนฺติ, น เหตฺถ เวทคู อุปลพฺภติ, โสตญฺจ ปฏิจฺจ สทฺเท จเป.มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ, ตํสหชาตา ผสฺโส เวทนา สญฺญา เจตนา เอกคฺคตา ชีวิตินฺทฺริยํ มนสิกาโรติ เอวเมเต ธมฺมา ปจฺจยโต ชายนฺติ, น เหตฺถ เวทคู อุปลพฺภตี’’ติฯ
‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
เวทคูปญฺโห ฉฏฺโฐฯ

***********

๖. เวทคูปญฺโห
ปัญหาเกี่ยวกับผู้ถึงเวทย์
๖. ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน เวทคู เวทคู ผู้ถึงเวทย์[๑] อุปลพฺภติ มีอยู่หรือ อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปน ก็ โก ใครกัน เอส เวทคู นาม เป็นผู้มีนามว่า เวทคู นั้น โหติ ย่อมเป็น ? อิติ ดังนี้
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสว่า ภนฺเต พระคุณเจ้า โย ชีโว ชีพใด อพฺภนฺตเร ที่อยู่ภายใน ปสฺสติ ย่อมเห็น รูปํ ซึ่งรูป จกฺขุนา ด้วยตา, สุณาติ ย่อมฟัง สทฺทํ ซึ่งเสียง โสเตน ด้วยหู, ฆายติ ย่อมสูดดม คนฺธํ ซึ่งกลิ่น ฆาเนน ด้วยจมูก, สายติ ย่อมลิ้ม รสํ ซึ่งรส ชิวฺหาย ด้วยลิ้น, ผุสติ ย่อมสัมผัส โผฏฺฐพฺพํ ซึ่งผัสสะ กาเยน ด้วยกาย, วิชานาติ ย่อมรับรู้ ธมฺมํ ซึ่งธรรม มนสา ด้วยใจ, ยถา เปรียบเหมือนว่า มยํ พวกเรา นิสินฺนา นั่งอยู่ อิธ ปาสาเท ในปราสาทนี้ อิจฺเฉยฺยาม ปรารถนา ปสฺสิตุํ จะมองดู เยน เยน วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างใดๆ, ปสฺเสยฺยาม ก็พึงมองดู เตน เตน วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างนั้นๆ, ปสฺเสยฺยาม พึงมองดู ปุรตฺถิเมนปิ วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างด้านตะวันออกบ้าง, ปสฺเสยฺยาม พึงมองดู ปจฺฉิมตฺเถนปิ วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างด้านตะวันตกบ้าง, ปสฺเสยฺยาม พึงมองดู อุตฺตเรนปิ วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างด้านเหนือบ้าง, ปสฺเสยฺยาม พึงมองดู ทกฺขิเณนปิ วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างด้านใต้บ้าง. อยํ ชีโว ชีพนี้ อพฺภนฺตเร ที่อยู่ภายใน เอวเมว โข ก็เป็นฉันนั้นแหละ ภนฺเต พระคุณเจ้า อิจฺฉติ ปรารถนา ปสฺสิตุํ จะมองดู เยน เยน ทฺวาเรน ทางทวารใดๆ, ปสฺสติ ย่อมมองดู เตน เตน ทฺวาเรน ทางทวารนั้นๆ อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อหํ อาตมภาพ ภณิสฺสามิ จักขอถวายพระพร ปญฺจทฺวารํ ถึงทวาร ๕, ตฺวํ มหาบพิตร สุโณหิ โปรดทรงสดับ ตํ ปญฺจทฺวารํ ทวาร ๕ นั้นเถิด, มนสิกโรหิ ขอทรงใส่ใจ สาธุกํ ให้ดีเถิด.ยทิ ถ้า อพฺภนฺเตร ชีโว ชีพในภายใน ปสฺสติ จะเห็นรูปได้ จกฺขุนา ด้วยตาแล้วไซร้ - มยํ พวกเรา นิสินฺนา นั่งอยู่ อิธ ปาสาเท ในปราสาทนี้ อิจฺเฉยฺยาม ปรารถนา ปสฺสิตุํ จะมองดู เยน เยน วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างใดๆ, ปสฺเสยฺยาม ก็พึงมองดู เตน เตน วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างนั้นๆ, ปสฺเสยฺยาม พึงมองดู ปุรตฺถิเมนปิ วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างด้านตะวันออกบ้าง, ปสฺเสยฺยาม พึงมองดู ปจฺฉิมตฺเถนปิ วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างด้านตะวันตกบ้าง, ปสฺเสยฺยาม พึงมองดู อุตฺตเรนปิ วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างด้านเหนือบ้าง, ปสฺเสยฺยาม พึงมองดู ทกฺขิเณนปิ วาตปาเนน ทางช่องหน้าต่างด้านใต้บ้าง ยถา ข้อนี้เป็นฉันใด -:[๒]
รูปํ เอว รูปนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ ปสฺสิตพฺพํ จะต้องเห็น โสเตนปิ ทางหูได้บ้าง, รูปํ เอว รูปนั่นแหละ ฯลฯ ฆาเนนปิ ทางจมูกบ้าง, รูปํ เอว รูปนั่นแหละ ฯลฯ ชิวฺหายปิ ทางลิ้นบ้าง,  ฯลฯ   กาเยนปิ ทางกายบ้าง, รูปํ เอว รูปนั่นแหละ  เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ ปสฺสิตพฺพํ พึงเห็น มนสาปิ ทางใจบ้าง.
สทฺโท เอว เสียงนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ โสตพฺพํ พึงได้ยิน จกฺขุนาปิ ทางตาบ้าง, สทฺโท เอว เสียงนั่นแหละ ฯลฯ ฆาเนนปิ ทางจมูกบ้าง, สทฺโท เอว เสียงนั่นแหละ ฯลฯ ชิวฺหายปิ ทางลิ้นบ้าง, สทฺโท เอว เสียงนั่นฯลฯกาเยนปิ ทางกายบ้าง, สทฺโท เอว เสียงนั่นแหละ  โสตพฺพํ พึงได้ยิน มนสาปิ ทางใจบ้าง,
คนฺโธ เอว กลิ่นนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ ฆายิตพฺโพ พึงสูดดม จกฺขุนาปิ ทางตาบ้าง, คนฺโธ เอว กลิ่นนั่นแหละ ฯลฯ โสเตนปิ ทางหูบ้าง, คนฺโธ เอว กลิ่นนั่นแหละ ฯลฯ ชิวฺหายปิ ทางลิ้นบ้าง, คนฺโธ เอว กลิ่นนั่นแหละ ฯลฯ กาเยนปิ ทางกายบ้าง, คนฺโธ เอว กลิ่นนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ ฆายิตพฺโพ พึงสูดดม มนสาปิ ทางใจบ้าง,
รโส เอว เสียงนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ สายิตพฺโพ พึงลิ้ม จกฺขุนาปิ ทางตาบ้าง, รโส เอว รสนั่นแหละ ฯลฯ โสเตนปิ ทางหูบ้าง, รโส เอว รสนั่นแหละ ฯลฯ ฆาเนนปิ ทางจมูกบ้าง, รโส เอว รสนั่นแหละ ฯลฯ กาเยนปิ ทางกายบ้าง, รโส เอว รสนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ สายิตพฺโพ พึงลิ้ม มนสาปิ ทางใจบ้าง,
ผสฺโส เอว ผัสสะนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ ผุสิตพฺพํ พึงถูกต้อง จกฺขุนาปิ ทางตาบ้าง, ผสฺโส เอว ผัสสะนั่นแหละ ฯลฯ โสเตนปิ ทางหูบ้าง, ผสฺโส เอว ผัสสะนั่นแหละ ฯลฯ ฆาเนนปิ ทางจมูกบ้าง, ผสฺโส เอว ผัสสะนั่นแหละ ฯลฯ ชิวฺหายปิ ทางลิ้นบ้าง, ผสฺโส เอว ผัสสะนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ ผุสิตพฺพํ พึงถูกต้อง มนสาปิ ทางใจบ้าง,
ธมฺโม เอว ธรรมนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ ผุสิตพฺพํ พึงรับรู้ จกฺขุนาปิ ทางตาบ้าง, ธมฺโม เอว ธรรมนั่นแหละ ฯลฯ โสเตนปิ ทางหูบ้าง, ธมฺโม เอว ธรรมนั่นแหละ ฯลฯ ฆาเนนปิ ทางจมูกบ้าง, ธมฺโม เอว ธรรมนั่นแหละ ฯลฯ ชิวฺหายปิ ทางลิ้นบ้าง, ธมฺโม เอว ธรรมนั่นแหละ เอเตน อพฺภนฺตเรน ชีเวน ที่อัพภันตรชีพนี้ ผุสิตพฺพํ พึงรับรู้ กาเยนปิ ทางกายบ้าง, - เอวํ ก็เป็นดังอาตมภาพถวายพระพรมาฉันนั้น ใช่หรือไม่[๓]
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า เอวํ ตยา วุตฺตวจนํ คำที่พระคุณเจ้ากล่าวมาอย่างนั้น โหติ จะมี น หิ ก็หามิได้ ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร วจนํ โข พระดำรัส เต ของพระองค์ ปจฺฉิมํ วา คำหลัง น ยุชฺชติ ไม่สอดคล้อง ปุริเมน กับคำแรก, วา หรือว่า ปุริมํ คำแรก น ยุชฺชติ ไม่สอดคล้อง ปจฺฉิเมน กับคำหลัง, วา ปน อีกอย่างหนึ่ง มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร มยํ พวกเรา นิสินฺนา นั่งอยู่ อิธ ปาสาเท ที่ปราสาทนี้ พหิมุขา หันหน้าไปภายนอก อากาเสน ทางช่อง มหนฺเตน ใหญ่,  อิเมสุ ชาลวาตปาเนสุ เมื่อผ้าม่านและหน้าต่างเหล่านี้ อุคฺฆาฏิเตสุ ถูกเปิดออก, ปสฺสาม ย่อมเห็น รูปํ รูป สุฏฺฐุตรํ ชัดเจนกว่า ยถา ฉันใด, จกฺขุทฺวาเรสุ เมื่อจักขุทวาร อุคฺฆฏิเตสุ ถูกเปิดออก รูปํ รูป เอเตน อพฺภนฺตเร ชีเวนาปิ ที่อัพภันตรชีพนี้ ปสฺสิตพฺพํ จะต้องมองเห็น สุฏฺฐุตรํ ชัดเจนกว่า อากาเสน ทางช่อง มหนฺเตน ใหญ่, โสเตสุ เมื่อโสตทวารท. อุคฺฆาติเฏสุ ถูกเปิดออก ฆาเน เมื่อฆานทวาร อุคฺฆาติเฏ ถูกเปิดออก ชิวฺหาย เมื่อชิวหาทวาร อุคฺฆาติฎาย ถูกเปิดออก, กาเย เมื่อกายทวาร อุคฺฆาติเฏ ถูกเปิดออก สทฺโท เสียง เอเตน อพฺภนฺตเร ชีเวนาปิ ที่อัพภันตรชีพนี้ โสตพฺโพ จะต้องได้ยิน, คนฺโธ กลิ่น ฯลฯ จะต้องได้สูดดม, รโส รส ฯลฯ จะต้องได้ลิ้ม, โผฏฺฐพฺโพ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ผุสิตพฺโพ จะต้องได้ถูกต้อง สุฏฺฐุตรํ ชัดเจนกว่า อากาเสน ทางช่อง มหนฺเตน ใหญ่ เอวเมว โข ก็เป็นฉันนั้น ใช่หรือไม่?[๔]
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า เอวํ ตยา วุตฺตวจนํ คำที่พระคุณเจ้ากล่าวมาอย่างนั้น โหติ จะมี น หิ ก็หามิได้ ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร วจนํ โข พระดำรัส เต ของพระองค์ ปจฺฉิมํ วา คำหลัง น ยุชฺชติ ไม่สอดคล้อง ปุริเมน กับคำแรก, วา หรือว่า ปุริมํ คำแรก น ยุชฺชติ ไม่สอดคล้อง ปจฺฉิเมน กับคำหลัง, วา ปน อีกอย่างหนึ่ง มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อยํ ทินฺโน บุรุษผู้รับพระราชทานแล้วนี้[๕] นิกฺขมิตฺวา ออกไปแล้ว ติฏฺเฐยฺย พึงยืนอยู่ พหิทฺวารโกฏฺฐเก ที่ซุ้มประตูด้านนอก, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ตฺวํ พระองค์ ชานาสิ จะรู้หรือไม่ว่า อยํ ทินฺโน บุรุษผู้รับพระราชทานแล้วนี้ นิกฺขมิตฺวา ออกไปแล้ว ติฏฺเฐยฺย พึงยืนอยู่ พหิทฺวารโกฏฺฐเก ที่ซุ้มประตูด้านนอก อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า อาม ใช่สิ ภนฺเต พระคุณเจ้า ชานามิ โยมรู้อยู่ อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร วา ปน อีกอย่างหนึ่ง ยถา เปรียบเหมือนว่า อยํ ทินฺโน บุรุษผู้รับพระราชทานแล้วนี้ ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว อนฺโต ในภายใน ติฏฺเฐยฺย พึงยืนอยู่ ปุรโต เบื้องพระพักตร์ ตว ของพระองค์, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ตฺวํ พระองค์ ชานาสิ จะรู้หรือไม่ว่า อยํ ทินฺโน บุรุษผู้รับพระราชทานแล้วนี้ ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว อนฺโต ในภายใน ติฏฺเฐยฺย พึงยืนอยู่ ปุรโต เบื้องพระพักตร์ ตว ของพระองค์ อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า อาม ใช่สิ ภนฺเต พระคุณเจ้า ชานามิ โยมรู้อยู่ อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า เอวเมว โข ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้นได้หรือไม่ มหาราช มหาบพิตร โส อพฺภนฺตเร ชีโว อัพภันตรชีพนั้น รเส ครั้นเมื่อรส นิกฺขิตฺเต =พหินิกฺขิตฺเต ถูกวางไว้ภายนอก[๖] ชาเนยฺย จะพึงรู้ อมฺพิลตฺตํ วา ความเปรี้ยว, ลวณตฺตํ วา ความเค็ม,  ติตฺตกตฺตํ วา ความขม กฏุกตฺตํ วา ความเผ็ด,  กสายตฺตํ วา ความฝาด มธุรตฺตํ วา หรือ ความหวาน ชิวฺหาย ทางชิวหาทวารหรือไม่ อิติ ดังนี้
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า อาม ใช่สิ ภนฺเต พระคุณเจ้า โส อพฺภนฺตเร ชีโว อัพภันตรชีพนั้น ชาเนยฺย พึงรู้ อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า รเส เมื่อรส ปวิฏฺเฐ เข้าไปแล้ว อนฺโต ในภายใน [๗]โส อพฺภนฺตเร ชีโว อัพภันตรชีพนั้น ชาเนยฺย จะพึงรู้ อมฺพิลตฺตํ วา ความเปรี้ยว, ลวณตฺตํ วา ความเค็ม,  ติตฺตกตฺตํ วา ความขม กฏุกตฺตํ วา ความเผ็ด,  กสายตฺตํ วา ความฝาด มธุรตฺตํ วา หรือความหวาน เต = เตน ชิวฺหาทฺวาเรน ทางชิวหาทวารนั้น หรือไม่ อิติ ดังนี้
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า เอวํ ตยา วุตฺตวจนํ คำที่พระคุณเจ้ากล่าวมาอย่างนั้น โหติ จะมี น หิ ก็หามิได้ ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร วจนํ โข พระดำรัส เต ของพระองค์ ปจฺฉิมํ วา คำหลัง น ยุชฺชติ ไม่สอดคล้อง ปุริเมน กับคำแรก, วา หรือว่า ปุริมํ คำแรก น ยุชฺชติ ไม่สอดคล้อง ปจฺฉิเมน กับคำหลัง,
ยถา เปรียบเหมือนว่า โกจิเทว ปุริโส บุรุษคนหนึ่ง อาหราเปตฺวา ให้เขานำมา มธุฆฏสตํ ซึ่งน้ำผึ้งร้อยหม้อ ปูราเปตฺวา เติมเต็มแล้ว มธุโทณิํ ซึ่งรางน้ำผึ้ง[๘] ปิทหิตฺวา ปิด มุขํ ปาก ปุริสสฺส ของบุรุษ ปกฺขิเปยฺย พึงวางเขาไว้ มธุโทณิยา ในรางน้ำผึ้ง, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส ปุริโส บุรุษนั้น ชาเนยฺย พึงรู้ สมฺปนฺนํ มธุํ วา ซึ่งน้ำผึ้งที่สมบูรณ์, น สมฺปนฺนํ วา หรือว่าไม่สมบูรณ์ หรือไม่ อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า น ชาเนยฺย ไม่รู้ ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า เกน การเณน เพราะเหตุไร อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า มธุ น้ำผึ้ง น ปวิฏฺฐํ ไม่เข้าไป มุเข ในปาก ตสฺส ของเขา ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร วจนํ โข พระดำรัส เต ของพระองค์ ปจฺฉิมํ วา คำหลัง น ยุชฺชติ ไม่สอดคล้อง ปุริเมน กับคำแรก, วา หรือว่า ปุริมํ คำแรก น ยุชฺชติ ไม่สอดคล้อง ปจฺฉิเมน กับคำหลัง อิติ ดังนี้[๙]
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสว่า อหํ โยม น ปฏิพโล ไม่สามารถ สลฺลปิตุํ จะโต้ตอบ สทฺธิํ กับ ตยา พระคุณเจ้า วาทินา ผู้มีวาทะประกอบด้วยปฏิภาณวิจิตรลึกซึ้งในอรรถที่ถูกต้อง, สาธุ = ยาจามิ โยมขออาราธนา,  ตฺวํ พระคุณเจ้า ชปฺเปหิ จงแถลง อตฺถํ ความหมายเถิด”
เถโร พระนาคเสนเถระ ราชา ทำให้พระราชา มิลินฺทํ พระนามว่ามิลินท์ สญฺญาเปสิ  ทรงรู้ความหมาย กถาย ด้วยข้อความ อภิธมฺมสํยุตฺตาย ที่ประกอบด้วยพระอภิธรรมว่า  มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อิธ ในพระศาสนานี้ จกฺขุวิญฺญาณํ จักขุวิญญาณ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด ปฏิจฺจ เพราะอาศัย จกฺขุํ ซึ่งจักขุปสาท รูเป จ และซึ่งรูปารมณ์ท., ธมฺมา ธรรมท. เอเต เหล่านี้ อิติ คือ ผสฺโส ผัสสะ เวทนา เวทนา สญฺญา สัญญา เจตนา เจตนา เอกคฺคตา เอกัคคตา ชีวิตินฺทฺริยํ ชีวิตินทรีย์ มนสิกาโร มนสิการ ตํสหชาตา ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจักขุวิญญาณนั้น ชายนฺติ ย่อมเกิดขึ้น ปจฺจยโต แต่ปัจจัย[๑๐], เวทคู ตัวอัพภันตรชีพ น อุปลพฺภติ ย่อมหามิได้ เอตฺถ ในอัตตภาพนี้, โสตวิญฺญาณํ โสตวิญญาณอุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ปฏิจฺจ เพราะอาศัย โสตํ จ ซึ่งโสตปสาท สทฺเท จ และซึ่งเสียงท. ฯลฯ มโนวิญฺญาณํ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้ืน ปฏิจฺจ เพราะอาศัย มนํ จ ซึ่งใจ (หทัยวัตถุ) ธมฺเม จ และซึ่งธรรมท., ธมฺมา ธรรมท. เอเต เหล่านี้ อิติ คือ ผสฺโส ผัสสะ เวทนา เวทนา สญฺญา สัญญา เจตนา เจตนา เอกคฺคตา เอกัคคตา ชีวิตินฺทฺริยํ ชีวิตินทรีย์ มนสิกาโร มนสิการ ตํสหชาตา ที่เกิดขึ้นร่วมกับจักขุวิญญาณนั้น ชายนฺติ ย่อมเกิดขึ้น ปจฺจยโต แต่ปัจจัย, เวทคู ตัวอัพภันตรชีพ น อุปลพฺภติ ย่อมหามิได้ เอตฺถ ในอัตตภาพนี้ อิติ ดังนี้.
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระคุณเจ้าพระนาคเสน ตฺวํ พระคุณเจ้า กลฺโล เป็นผู้สามารถ อสิ ย่อมเป็น ดังนี้.
เวทคูปญฺโห ปัญหาว่าด้วยบุคคลผู้เข้าถึงการรับรู้
ฉฏฺโฐ ที่ ๖ นิฏฺฐิโต จบ




[๑]เวทศัพท์ ในคำว่า เวทคู มีความหมายหลายนัย อาทิ วิชาที่พวกพราหมณ์ศึกษาคืออิรุเวทเป็นต้น,  กิเลส, โสมนัส, มรรคญาณ. และคำว่า เวทคู ได้แก่ ผู้บรรลุมรรคญาณ, ผู้ถึงที่สุดแห่งชาติชรามรณะ หรือ บรรลุพระนิพพานด้วยมรรคญาณเป็นต้น. (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา วิทธาตุ, คัมภีร์ขุททกนิกายมหานิทเทส ข้อ ๒๗ และจูฬนิทเทสบาฬี ข้อ ๒๙ พร้อมทั้งอรรถกถา.  ในที่นี้กล่าวเพียงตัวอย่างเดียว). แต่ในมิลินทปัญหานี้ เวท หมายถึง ความรับรู้สิ่งต่างๆ, และ เวทคู คือ ผู้มีการเข้าถึงเวทนั้นโดยปกติ วิเคราะห์ว่า เวทํ คนฺตุํ สีลํ ยสฺส โส เวทคู. พระเจ้ามิลินท์สำคัญว่า เวทคู นั้น เป็นสัตว์ บุคคล อัตตา เป็นของมีชีวิตอยู่ภายใน ที่ทรงเรียกว่า “อัพภันตรชีพ”.
[๒] อุปมาทั้งหมดที่พระนาคเสนนำมาแย้งพระเจ้ามิลินท์นี้เพียงเพื่อจะแสดงว่า  การนำทวาร ๖ มาเปรียบกับหน้าต่างนี้ไม่สมควร และวิญญาณทั้ง ๖ เท่านั้นที่จะรู้อารมณ์ทางทวาร ๖ มิใช่จะรู้อารมณ๋ได้ทุกทวารตามใจชอบก็หามิได้.
[๓] พระเจ้ามิลินท์ทรงอุปมาการมองรูปทางตา ได้ยินเสียงทางหูเป็นต้น ของอัพภันตรชีพ เปรียบดังการมองเห็นสรรพสิ่งทุกช่องหน้าต่างที่ประสงค์นี้ไว้แต่แรก. พระนาคเสนแย้งว่า ปราสาท เปรียบเหมือนอัตตภาพ หน้าต่างเปรียบเหมือนทวารทั้ง ๖ ชีพเปรียบเหมือนกับบุคคลผู้นั่งอยู่ในปราสาท. ถ้าชีพจะเห็นรูปทางตาได้เหมือนกับอุปมาของพระเจ้ามิลินท์ ก็จะต้องสามารถเห็นรูป ทางหู ฯล ทางใจได้เหมือนกับที่เห็นรูปทางตานั่นแหละเป็นต้น.
[๔] ถ้าอัพภันตรชีพมีจริง เมื่อทวารตาถูกขยายให้กว้าง ควรจะมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เหมือนกับการที่บุคคลในบ้านจะมองภาพภายนอกที่ชัดเจนก็ต้องเปิดหน้าต่างให้กว้างฉะนั้น. พระเจ้ามิลินท์ทรงยอมรับว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้น.
[๕] นัยนี้แปลให้เข้าใจง่าย. ส่วนคำแปลตามสัททัตถนัยมีแนวคิด ๒ คือ ถ้าคิดว่าเป็นสมาสต้องเป็นชนิดลบบทหลังและเป็นจตุตถีพหุพีหิ โดยมาจาก ทินฺนลาโภ บุรุษผู้มีรางวัลอันพระราชาพระราชทานแล้ว. ถ้าคิดว่าเป็นตัทธิตคืออัสสัตถิตัทธิต แปลว่า บุรุษผู้มีสิ่งของอันพระราชาประทานแล้ว โดยลง ณ ปัจจัย วิเคราะห์ว่า รญฺญา ทินฺโน ลาโภ อสฺส อตฺถีติ ทินฺโน. ส่วนอัญญปทัตถะเพิ่มขึ้นมาตามที่ประสงค์ ในที่นี้ใช้ศัพท์อย่างสามัญว่า ปุริโส บุรุษ.
[๖] วางรสไว้ภายนอก หมายถึง วางน้ำที่มีรสหวานเป็นต้นไว้ในภายนอก คือ ในช่องปากตั้งแต่คอจนถึงปากด้านนอก. นัยนี้แปลตามอรรถกถามิลินท์ที่อธิบายว่า นิกฺขิตฺเต หมายถึง พหินิกฺขิตฺเต วางไว้ในภายนอก. บทว่า ชิวฺหาย ได้แก่ ชิวฺหาทวาเรน เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถวิเสสนะ สัมพันธ์กับบทว่า ชาเนยฺย.
อีกนัยหนึ่ง ชิวฺหาย เป็นบทลงสัตตมีวิภัตติในอรรถอาธาระ สัมพันธ์กับบทว่า นิกฺขิตฺเต. แปลตรงตามปาฐะของคัมภีร์ว่า รเส เมื่อนำรส นิกฺขิตฺเต มาวางไว้ ชิวฺหาย ที่ลิ้น. โดยนัยนี้ ชิวฺหาย หมายถึง สสัมภารชิวหา (ลิ้นทั้งหมด). อย่างไรก็ตาม ทั้งสองนัย นี้มีความหมายว่า นำรสมาวางไว้ในตำแหน่งที่อัพภันตรชีพสามารถรับรสได้ ซึ่งตรงข้ามจากคำอุปมาที่จะกล่าวถัดไปว่า ถูกวางไว้ภายในท้อง ซึ่งไม่เป็นวิสัยที่อัพภันตรชีพจะรับรสได้. แสดงว่า พระมิลินท์ยอมรับว่า ต้องรู้รสทางชิวหารทวารเท่านั้น.
[๗] คือ ภายในท้องจนถึงคอ. ด้วยคำนี้แสดงว่า อัพภันตรชีพไม่สามารถรู้รสทางทวารอื่นนอกจากชิวหาทวารได้.
[๘]  แปลตามหลักการแปลทั่วไปว่า มธุโทณิํ ยังรางน้ำผึ้ง ปูราเปตฺวา ให้เต็มแล้ว
[๙] หมายความว่า เมื่อปิดปากบุรุษไว้ เขาก็ไม่สามารถรับรสทางชิวหาทวารได้ ดังนั้น ถ้าอัพภันตรชีพมีอยู่ ก็สามารถรู้รสทางทวารอื่นนอกจากชิวหารทวารได้.
[๑๐] หมายถึง มีจักขุวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ความเกิดขึ้นโดยความป็นสหชาตปุพพังคมะ คือ มีจิตนั้นเป็นประธาน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น