วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มิลินทปัญหา (๒) - โยนิโสมนสิการปัญหา

๗. โยนิโสมนสิการปฃฺโห
ปัญหาเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, โย น ปฏิสนฺทหติ, นนุ โส โยนิโส มนสิกาเรน น ปฏิสนฺทหตี’’ติ?
๗. ราชา พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน  ภนฺเต ผู้เจริญ, โย ปุคฺคโล บุคคลใด    น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ, โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น  น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ โยนิโส มนสิกาเรน เพราะโยนิโสมนสิการ นนุ ละหรือ ?" ดังนี้.
‘‘โยนิโส จ มหาราช, มนสิกาเรน ปฃฺฃาย จ อฃฺเฃหิ จ กุสเลหิ ธมฺเมหี’’ติฯ
เถโร พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น   น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ  โยนิโส  มนสิกาเรน จ เพราะโยนิโสมนสิการ ด้วย ปฃฺฃาย จ เพราะปัญญาด้วย ธมฺเมหิ ด้วยธรรมท. กุสเลหิ อันเป็นกุศล  อฃฺเฃหิ  เหล่าอื่น ด้วยดังนี้.[๑]
‘‘นนุ, ภนฺเต, โยนิโส มนสิกาโรเยว ปฃฺฃา’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยนิโส   มนสิกาโร โยนิโสมนสิการ เอว นั่นเทียว ปฃฺฃา เป็นปัญญา โหติ ย่อมเป็น นนุ  หรือ ?” ดังนี้.[๒]
‘‘น หิ, มหาราช, อฃฺโฃ มนสิกาโร, อฃฺฃา ปฃฺฃา, อิเมสํ โข, มหาราช, อเชฬกโคณมหึสโอฏฺฅคทฺรภานมฺปิ มนสิกาโร อตฺถิ, ปฃฺฃา ปน เตสํ นตฺถี’’ติฯ
เถโร พระเถระ อโวจ ได้ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร หิ ก็ โยนิโส มนสิกาโร  โยนิโสมนสิการ เอว นั่นเทียว ปฃฺฃา เป็นปัญญา โหติ ย่อมเป็น หามิได้,[๓] มนสิกาโร มนสิการ อฃฺโฃ เป็นอย่างอื่น,    ปฃฺฃา ปัญญา อฃฺฃา เป็นอย่างอื่น โหติ ย่อมเป็น, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร มนสิกาโร มนสิการ อตฺถิ ย่อมมี อเชฬกโคณมหึสโอฏฺฅคทฺรภานํปิ แม้แก่แกะ โค กระบือ อูฐ ลาท. อิเมสํ เหล่านี้ โข แล, ปน แต่ว่า  ปฃฺฃา ปัญญา นตฺถิ ย่อมไม่มี เตสํ ติรจฺฉานานํ แก่ดิรัจฉานเหล่านั้น” ดังนี้.[๔]
‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต  นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ ตฺวํ อ.ท่าน กลฺโล เป็นผู้ฉลาดเฉลียว อสิ ย่อมเป็นดังนี้



[๑] พระเจ้ามิลินท์สอบถามสืบต่อจากปัญหาที่แล้วว่า ผู้ที่ไม่ปฏิสนธิ จักมีเพราะโยนิโสมนสิการ โดยสำคัญว่า ธรรมอันเป็นเหตุไม่ปฏิสนธิ ได้แก่ โยนิโสมนสิการเท่านั้น. พระนาคเสนเถระอธิบายว่า โยนิโสมนสิการเป็นส่วนหนึ่ง อันที่จริงยังมีธรรมหลายประการ อาทิ ปัญญาและกุศลธรรมอื่นๆอันได้แก่ ศีลเป็นต้น ที่จะได้วิสัชชนาในปัญหาลำดับถัดจากนี้.
[๒] โยนิโสมนสิการ  ซึ่งพระเจ้ามิลินท์ยกมาเทียบกับปัญญา ในที่นี้ มีความหมายว่า การกระทำเข้าไว้ในใจ หรือ การใส่ใจต่ออารมณ์นั้นโดยถูกทาง ว่า ไม่งามเป็นต้น ในสิ่งที่ไม่งามเป็นต้น คือโดยเป็นเหตุให้เกิดกุศลมีปัญญาเป็นต้นได้ ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ (โยนิโส  โดยอุบาย,โดยเหตุหรือโดยถูกต้อง + มนสิการ การตั้งในใจ) ได้แก่ ปัญญาที่รู้แค่ท่องจำได้และตรึกตรอง (อุคฺคหมนสิการชานนกปฃฺฃา), ปัญญาชนิดนี้ มิใช่วิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา ที่ประสงค์เอาในที่นี้.
แต่พระเจ้ามิลินท์ถือเอาโยนิโสมนสิการ ที่เป็นเพียงการรู้โดยการท่องจำได้เป็นต้น ซึ่งคล้ายคลึงกับปัญญา  ว่าเป็นปัญญา โดยอาการ ๕ ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สทฺธารุจิอนุสฺสวอาการปริวิตกฺกทิฏฺฅินิชฺฌานกฺขนฺติเป็นต้น ความว่า สิ่งที่ถือเอาด้วยความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม การคิดตรึกตรอง ความรู้อันเกิดแต่การคิด อาจไม่มีจริงบ้าง แต่สิ่งที่ไม่ถือเอาด้วยอาการดังกล่าวอาจมีจริงบ้าง จึงไม่ควรถือสิ่งต่างๆ ด้วยอาการดังกล่าวว่า นี่เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า (จังกีสูตร ม.ม.๑๓/๔๒๘).  พระเจ้ามิลินท์ทรงตั้งปัญหานี้ไว้ เพื่อจะให้พระเถระวินิจฉัย.
[๓] พระเถระปฏิเสธว่า โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ปัญญา ดังนี้.  ก็โยนิโสมนสิการนี้ แม้จะมิได้เป็นปัญญาก็ตาม  แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดปัญญา ดังพระบาฬีอังคุตรนิกาย เอกกนิบาตว่า  นาหํ ภิกฺขเว อฃฺฃํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสามิ, เยน อนุปฺปนฺนา วา สมฺมาทิฏฺฅิ อุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนา วา สมฺมาทิฏฺฅิ ปวฑฺเฒติ, ยถยิทํ ภิกฺขเว โยนิโส มนสิกาโร.   ภิกษุท. เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้สักอย่างเดียว ที่เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น, หรือสัมมาทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้วได้เจริญขึ้น เหมือนอย่างโยนิโสมนสิการนี้นะภิกษุท. (ในพระบาฬีนี้ สัมมาทิฏฐิได้แก่ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิและมัคคสัมมาทิฏฐิ).และในคัมภีร์เปฏโกปเทสว่า  ทุเว เหตู ทุเว ปจฺจยา สาวกสฺส สมฺมาทิฏฺฐิยา อุปฺปาทาย ปรโต จ โฆโส   สจฺจานุสนฺธิ, อชฺฌตฺตญฺจ โยนิโส มนสิกาโร เป็นต้น ความว่า การเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ของสาวกมีปัจจัย๒ คือ ปรโตโฆสะ คือ เสียงเทสนา อันคล้อยตามสัจจะ จากผู้อื่นเป็นปัจจัยแก่สุตตมยีปัญญาและโยนิโสมนสิการเป็นภายใน เป็นปัจจัยแก่จินตามยีปัญญา (เปฏ. ๑).
ในบรรดาเหตุ ๒ ประการนั้น ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น) เป็นอย่างไร? ได้แก่ เทสนา โอวาท คำพร่ำสอน กถาว่าด้วยสัจจะ การเทศนาสัจจะ จากผู้อื่น. สัจจะมี ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค. คำแสดง คำชี้แจง คำไข คำอธิบาย การทำให้ตื้น การประกาศ ซึ่งสัจจะ ๔ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ปรโต โฆสะ เสียงจากผู้อื่นโยนิโสมนสิการอันเป็นภายใน เป็นอย่างไร? การไม่นำไปสู่อารมณ์ภายนอกแล้วกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในธรรมที่พระพุทธองค์แสดงแล้ว ชื่อว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย อันเป็นภายใน. อาการของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น ได้แก่ ช่องทาง,  วิธี หรืออุบาย. เปรียบเหมือนบุรุษ สีท่อนไม้แห้ง ปราศจากความชุ่มชื้น ด้วยไม้สีไฟอันแห้ง บนบก ก็ควรที่จะได้ไฟมา,  การที่บุรุษสีไม้แห้งด้วยไม้สีไฟที่แห้งอยู่บนบกเป็นเหตุแห่งการได้มาซึ่งไฟโดยถูกวิธี ฉันใด, พระสาวก  ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเทศนาอันไม่วิปริตต่อทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค , การกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเทศนานั้นของพระสาวกนั้น ก็ย่อมเป็นเหตุแห่งการบรรลุ ก็ฉันนั้น, นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ.
ปัญญาที่เกิดเพราะเสียงเทศนาจากผู้อื่น เรียกว่า สุตตมยีปัญญา ปัญญาที่มีสุตตะ (เสียงเทสนาอันคล้อยตามสัจจะ) เป็นปัจจัย, ปัญญาที่เกิดเพราะโยนิโสมนสิการภายใน เรียกว่า จินตามยีปัญญา ปัญญาที่มีการคิดใคร่ครวญเป็นปัจจัย.
[๔] พระเถระ กล่าวข้อความนี้ไว้ เพื่อแสดงว่า ใช่ว่ามนุษย์เท่านั้น จะมีโยนิโสมนสิการ กระทั่งดิรัจฉานก็สามารถมีได้ แต่จะมีวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญาหาได้ไม่ เรื่องนี้มีนกแขกเต้าที่มาในอรรถกถามหาสติปัฏฐานเป็นสาธก ดังต่อไปนี้    
นักฟ้อนรำผู้หนึ่ง   จับลูกนกแขกเต้าได้ตัวหนึ่ง   ฝึกสอนมันพูดภาษาคนแล้วตัวเองเที่ยวไปแสดงการฟ้อนรำในที่อื่น. นักฟ้อนรำผู้นั้น อาศัยสำนักของนางภิกษุณีอยู่ เวลาไปในที่อื่นๆ ลืมลูกนกแขกเต้าเสียสนิทแล้วไป.   เหล่าสามเณรีก็จับมันมาเลี้ยงตั้งชื่อมันว่า  พุทธรักขิต. วันหนึ่ง พระมหาเถรี เห็นมันจับอยู่ตรงหน้า   จึงเรียกมันว่า  พุทธรักขิต.  ลูกนกแขกเต้าจึงขานถามว่า อะไรจ๊ะ แม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงถามว่า  การใส่ใจภาวนาอะไร ๆ ของเจ้ามีบ้างไหม.  มันตอบว่า ไม่มีจ๊ะแม่เจ้า.  พระมหาเถรีจึงสอนว่า  ขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ในสำนักของพวกนักบวช   จะปล่อยตัวอยู่ไม่สมควร    ควรปรารถนาการใส่ใจบางอย่าง  แต่เจ้าไม่ต้องสำเหนียกอย่างอื่นดอก  จงท่องว่า   อัฏฐิ   อัฏฐิ ก็พอ.  ลูกนกแขกเต้านั้น  ก็อยู่ในโอวาทของพระเถรี ท่องว่า อัฏฐิ   อัฏฐิ  อย่างเดียวแล้วเที่ยวไป. วันหนึ่ง  ตอนเช้ามันจับอยู่ที่ยอดประตู  ผึ่งแดดอ่อนอยู่  แม่เหยี่ยวตัวหนึ่งก็เฉี่ยวมันไปด้วยกรงเล็บ.   มันส่งเสียงร้อง กิริ ๆ. เหล่าสามเณรี  ก็ร้องว่า "แม่เจ้า !พุทธรักขิตถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป  เราจะช่วยมัน"  ต่างคว้าก้อนดินเป็นต้น   ไล่ตามจนเหยี่ยวปล่อย.    เหล่าสามเณรีนำมันมาวางไว้ตรงหน้าพระมหาเถรี ๆ ถามว่า "พุทธรักขิตขณะถูกเหยี่ยวจับไปเจ้าคิดอย่างไร?".    ลูกนกแขกเต้าตอบว่า  "แม่เจ้า ไม่คิดอะไรๆ ดอก  คิดแต่เรื่องกองกระดูกเท่านั้นจ๊ะ แม่เจ้า ว่า กองกระดูกพากองกระดูกไป จักเรี่ยราดอยู่ในที่ไหนหนอ?".  พระมหาเถรี  จึงให้สาธุการว่า "สาธุ สาธุ พุทธรักขิต ! นั้นจักเป็นปัจจัยแห่งความสิ้นภพของเจ้า   ในกาลภายภาคหน้าแล".     
จะเห็นได้ว่า แม้ดิรัจฉานสามารถมนสิการกรรมฐานจนรู้ได้ว่า "นี้กระดูกๆ" เพียงเท่านี้ แต่จะทำให้สืบต่อจนถึงวิปัสสนาเป็นต้นนั้นไม่ได้เลย. พึงทราบว่า สำหรับดิรัจฉานทั้งหลายนั้น แม้ท่านจะกล่าวว่า ไม่มีปัญญา ก็ไม่ได้หมายเอาปัญญาทุกอย่าง แต่หมายเอาเฉพาะวิปัสสนาปัญญาและมัคคปัญญา เท่านั้น เพราะว่าปัญญาที่ต่ำกว่านั้น สัตว์เดรัจฉาน ก็สามารถทำให้เกิดได้ด้วยอาศัยโยนิโสมนสิการที่มีได้นั้นเป็นปัจจัย.  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น