วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

๑ นมักการและฎีกา คาถาที่ ๑ แปล

นมกฺการปาฬิ
พระคัมภีร์นมักการบาลี
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น
-------    v  --------
๑.        สุคตํ สุคตํ เสฏฺฐํ                    กุสลํ กุสลํ  ชหํ
        อมตํ อมตํ สนฺตํ                    อสมํ อสมํ ททํ
            สรณํ สรณํ โลกํ                      อรณํ อรณํ กรํ
            อภยํ อภยํ ฐานํ                      นายกํ นายกํ นเม.
        ขอถวายนมัสการ พระสุคตพุทธเจ้า ผู้ตรัสพระดำรัสไม่ผิดพลาด  ผู้ประเสริฐ กำจัดทั้งกุศลและอกุศลเสียได้ ผู้เป็นอมตะ ทรงบรรลุอมตธรรม ทรงสงบระงับ หาผู้เสมอมิได้  ทรงประทานโลกุตรธรรมที่ไม่เสมอกับโลกิยธรรม ทรงเป็นที่พึ่งของโลก รู้แจ้งโลก ปราศจากกิเลสแล้ว เป็นผู้สร้างความปราศจากกิเลส  ทรงปราศจากภัย นำมวลประชาไปสู่สถานที่ปราศจากภัย ทรงเป็นโลกนายกฯ

         [อิทานิ ปฐมํ ตาว สุคตนฺตฺยาทีหิ อฏฺฐารสหิ คุเณหิ โถเมตฺวา พุทฺธสฺส วนฺทิตุกาเมน สุคตนฺติอาทิคาถาทฺวยํ อารทฺธํ.  อยํ ปน สพฺพปาทาทิยมกปถฺยาวตฺตคาถาติ ทฏฺฐพฺพํ. ตํ ปน ยมกํ สุโพธาลงฺกาเร กิลิฏฺฐโทสนฺติ วุตฺตํ.
            วุตฺตญฺหิ ตตฺถ
ยํ  กิลฏฺฐปทํ มนฺทา          ภิเธยฺยํ ยมกาทิกํ
กิลิฏฺฐปทโทเสว               ตมฺหิ อนฺโต กรียตีติ
         อยํ ปเนตฺถ ปตีตสทฺทรจิตตฺตาเยว ปสาทคุณสงฺขาเตน สทฺทาลงฺกาเรน สํยุตฺตา  โหติ.  ตสฺมา ตํ ยมกํ สุวุตฺตนฺติ ทฏฺฐพฺพํ.  เอวํ ปราสุ ยมกคาถาสุ.  เตน วุตฺต ปุนาลงฺกาเร
                 ปตีตสทฺทรจิตํ                         สิลฏฺฐปทสนฺธิกํ
                 ปสาทคุณสํยุตฺตํ              ยมกํ มตเมทิสนฺติ
         บัดนี้ ท่านอาจารย์ประสงค์จะสรรเสริญ นมัสการพระพุทธองค์ โดยพระคุณ ๑๘ อย่างมี สุคโต ทรงเสด็จไปดีแล้ว เป็นต้น จึงได้ปรารภถึง ๒ คาถาที่ว่า สุคตํ ขอถวายนมัสการพระโลกนายกพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ เสด็จไปสถานที่อันดีงาม ตรัสคำไม่ผิดพลาด  ดังนี้เป็นต้นไว้เป็นลำดับแรก.
         พึงเห็นว่า นี้เป็นคาถาปัฏฐยาวัตร ที่เป็นสัพพปาทาทิยมก.[1] แต่ ในปกรณ์                 สุโพธาลังการ ท่านระบุว่า ยมก [2]นั้นเป็นโทษคือความไม่ชัดเจน[3]  [4]ในเรื่องนั้น พึงทราบตามข้อความที่ปรากฏในปกรณ์สุโพธาลังการนั้นว่า
ยํ  กิลฏฺฐปทํ มนฺทา           ภิเธยฺยํ ยมกาทิกํ
กิลิฏฺฐปทโทเสว                ตมฺหิ อนฺโต กรียตีติ
                                    ยมกเป็นต้น ที่มีบทไม่ชัดเจน มีเนื้อความน้อย
                 ย่อมจัดเข้าในกิลิฏฐโทษเช่นกัน
         แต่ทว่า ในปกรณ์นี้ เป็นคาถาที่กอรปด้วยสัททาลังการ (เครื่องตกแต่งศัพท์) คือปสาทคุณ  เพราะรจนาขึ้นด้วยศัพท์ที่ชัดเจน. เพราะฉะนั้น ควรทราบว่า ยมกนั้น เป็นอันกล่าวได้ดีแล้ว. แม้ยมกในคาถาหลังๆ ก็มีนัยอย่างนี้.  ด้วยเหตุนี้ ในคัมภีร์อลังการ จึงได้กล่าวไว้อีกว่า
                 ปตีตสทฺทรจิตํ[5]                         สิลฏฺฐปทสนฺธิกํ
                 ปสาทคุณสํยุตฺตํ              ยมกํ มตเมทิสนฺติ
         ยมกที่รจนาด้วยศัพท์ชัดเจน เชื่อมบทแนบชิดกัน
ประกอบด้วยปสาทคุณเช่นนี้ กวีพึงใจ.







[1] ยมก ประเภทที่เล่นคำต้นของบาทซ้ำกัน. 
[2] ยมก คือ คำซ้ำกัน.เป็นลักษณะการรจนาคัมภีร์ชนิดหนึ่ง ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อลังการศาสตร์
[3] เรียกว่า กิลิฏฐโทษ ข้อผิดพลาดในการแต่งหนังสือ ที่ทำให้อรรถไม่ชัดเจน มาในคัมภีร์อลังการศาสตร์เช่นกัน
[4]  ตัวหนา แต่ไม่เอน เป็นข้อความที่มาในนมกฺการปาฬิ. ส่วนที่เป็นตัวเอน มาในนมักการฎีกา.
[5]  ศัพท์นี้ ในฉบับที่ อ. แย้ม ประพัฒน์ทอง แปล เป็น ปณีตสทฺทรจิตํ เมื่อถือเอาโดยนัยนี้ ควรแปลว่า รจนาด้วยศัพท์ที่บรรจงคัดสรรค์มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น