วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

๑๗. เมณฑกกัณฑ์ - อิทธิพลวรรค - ๗.สัทธัมมอันตรธานปัญหา

 

๗. สทฺธมฺมนฺตรธานปญฺโห

 

. สัทธัมมันตรธานปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

 

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ  สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติฯ ปุน จ ปรินิพฺพานสมเย สุภทฺเทน ปริพฺพาชเกน ปญฺหํ ปุฏฺเฐน ภควตา ภณิตํอิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ, อเสสวจนเมตํ, นิสฺเสสวจนเมตํ, นิปฺปริยายวจนเมตํฯ

 

๗. มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ  คำนี้  ภควตา  พระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตไว้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้[1]. และ ปรินิพฺพานสมเย ในสมัยปรินิพพาน ปญฺหํ ปัญหา ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ผู้ - สุภทฺเทน ปริพฺพาชเกน อันสุภัททปริพพาชก ปุฏฺเฐน ทูลถามแล้ว ภณิตํ ก็ตรัสไว้ ปุน อีก อิติ ว่า ก็ สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้[2],  เอตํ พุทฺธวจนํ พระพุทธพจน์นี้ อเสสวจนํ เป็นพระดำรัสอันไม่มีส่วนเหลือ โหติ ย่อมเป็น, เอตํ พุทฺธวจนํ พระพุทธพจน์นี้ นิสฺเสสวจนํ เป็นพระดำรัส มีส่วนเหลือหมดแล้ว โหติ ย่อมเป็น, เอตํ พุทฺธวจนํ พระพุทธพจน์นี้ นิปฺปริยายวจนํ เป็นพระดำรัสโดยตรง โหติ ย่อมเป็น.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคเตน ภณิตํ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติ, เตน หิ อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

 

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ผิว่า เอตํ วจนํ คำนี้ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสไว้แล้วไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ที่ว่า โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา ผิด.

 

ยทิ ตถาคเตน ภณิตํ อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ, เตน หิ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

 

ยทิ ผิว่า วจนํ คำ อิติ ที่ว่า โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสไว้ แล้วไซร้ , เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ แม้คำนั้น อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้ มิจฺฉา ก็จะต้องผิด[3].

 

อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห คหนโตปิ คหนตโร พลวโตปิ พลวตโร คณฺฐิโตปิ คณฺฐิตโร, โส ตวานุปฺปตฺโต, ตตฺถ เต ญาณพลวิปฺผารํ ทสฺเสหิ มกโร วิย สาครพฺภนฺตรคโต’’ติฯ

 

อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง[4] คหนตโร เป็นของยุ่งยิ่งกว่ายุ่ง พลวตโร มีกำลังยิ่งแม้กว่าปัญหาที่มีกำลัง คณฺฐิตโร เป็นปมยิ่งกว่าเป็นปม, โส ปญฺโห ปัญหานั้น อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, ตฺวํ ท่าน ทสฺเสหิ จงแสดง ญาณพลวิปฺผารํ ซึ่งพลังแห่งการแผ่ไพศาลแห่งญาณ เต ของท่าน ตตฺถ = ตสฺมิํ ปญฺเห ในปัญหานั้น วิย ดุจ มกโร มังกร สาครพฺภนฺตรคโต ผู้อยู่ภายในสาคร (ทสฺเสนฺโต) แสดงอยู่ (ญาณพลวิปฺปผารํ) พลังแห่งความแผ่ไปไพศาลแห่งกำลัง (ตสฺมิํ มหาสาคเร) ในมหาสาครนั้น ดังนี้. [5]

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติฯ ปรินิพฺพานสมเย จ สุภทฺทสฺส ปริพฺพาชกสฺส ภณิตํ อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ  คำนี้  ภควตา  พระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ก็ทรงภาษิตไว้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้, และ ปรินิพฺพานสมเย ในสมัยปรินิพพาน เอตํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ก็ตรัสไว้ สุภทฺทสฺส ปริพฺพานชกสฺส แก่สุภัททปริพพาชก ดังนี้.

 

ตญฺจ ปน, มหาราช, ภควโต วจนํ นานตฺถญฺเจว โหติ นานาพฺยญฺชนญฺจ, อยํ สาสนปริจฺเฉโท, อยํ ปฏิปตฺติ ปริทีปนาติ ทูรํ วิวชฺชิตา เต อุโภ อญฺญมญฺญํฯ ยถา, มหาราช, นภํ ปถวิโต ทูรํ วิวชฺชิตํ, นิรยํ สคฺคโต ทูรํ วิวชฺชิตํ, กุสลํ อกุสลโต ทูรํ วิวชฺชิตํ, สุขํ ทุกฺขโต ทูรํ วิวชฺชิตํฯ เอวเมว โข, มหาราช, เต อุโภ อญฺญมญฺญํ ทูรํ วิวชฺชิตาฯ

 

มหาราช มหาบพิตร จ ปน ก็แล ตํ วจนํ คำนั้น นานตฺถํ เจว มีเนื้อความต่างกัน ด้วย, นานาพยญฺชนํ จ และมีพยัญชนะต่างกัน โหติ ย่อมเป็น, อุโภ วาจา แม้คำทั้งสอง เต เหล่านั้น ทูรํ ห่างกัน วิวชฺชิตา เว้นขาดจากกัน อญฺญมญฺญํ ซึ่งกันและกัน อิติ คือ อยํ วาจา พระดำรัสนี้ สาสนปริจฺเฉโท เป็นคำกำหนดพระศาสนา, อยํ วาจา คำพูดนี้ ปฏิปตฺติปริทีปนา เป็นคำพูดแสดง(ยกย่อง)การปฏิบัติ. มหาราช มหาบพิตร นภํ ท้องฟ้า ทูรํ วิวชฺชิตํ แยกไกลห่างแล้ว ปถวิโต จากแผ่นดิน, นิรยํ นรก ทูรํ วิวชฺชิตํ แยกไกลห่างแล้ว สคฺคโต จากสวรรค์, กุสลํ กุศล ทูรํ วิวชฺชิตํ แยกไกลห่างแล้ว อกุสลโต จากอกุศล, สุขํ สุข ทูรํ วิวชฺชิตํ แยกไกลห่างแล้ว ทุกฺขโต จากทุกข์ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เต อุโภ วาจา วาจาทั้งหลาย ๒ เหล่านั้น ทูรํ วิวชฺชิตา แยกไกลห่างแล้ว อญฺญมญฺญํ ซึ่งกันและกัน ดังนี้.

 

‘‘อปิ จ, มหาราช, มา เต ปุจฺฉา โมฆา อสฺส, รสโต เต สํสนฺทิตฺวา กถยิสฺสามิ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติ ยํ ภควา อาห, ตํ ขยํ ปริทีปยนฺโต เสสกํ ปริจฺฉินฺทิ, วสฺสสหสฺสํ, อานนฺท, สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย, สเจ ภิกฺขุนิโย น ปพฺพาเชยฺยุํฯ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติฯ อปิ นุ โข, มหาราช, ภควา เอวํ วทนฺโต สทฺธมฺมสฺส อนฺตรธานํ วา วเทติ อภิสมยํ วา ปฏิกฺโกสตี’’ติ?

 

มหาราช มหาบพิตร อปิ จ อย่างไรก็ตาม ปุจฺฉา คำรับสั่งถาม เต ของมหาบพิตร มา โมฆา อย่าเป็นของเสียเปล่า อสฺส พึงเป็น, อหํ อาตมภาพ กถยิสฺสามิ จักถวายพระพร สํสนฺทิตฺวา เทียบเคียง เต แก่พระองค์ รสโต โดยความหมาย [6] อิติ ว่า ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว ยํ วจนํ ซึ่งพระดำรัสใด อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้, โส ภควา พระผู้มีพระภาค ปริทีปยนฺโต เมื่อจะทรงแสดง ขยํ ซึ่งความสิ้นไปแห่งพระสัทธรรมอันควรต่อการดำรงอยู่ตลอด ๕๐๐ ปีแรก ตํ = เตน วจเนน พระดำรัสนั้น [7] ปริจฺฉินฺทิ จึงทรงกำหนด เสสกํ ซึ่งขณะแห่งการดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรม ตลอด ๕๐๐ ปีหลัง ที่เหลือ (เอวํ) อย่างนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ สเจ หากว่า ภิกฺขุนิโย ภิกษุนีทั้งหลาย น ปพฺพเชยฺยุํ ไม่พึงบวช ไซร้, สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ติฏฺเฐยฺย พึงดำรงอยู่ วสฺสสหสฺสํ ตลอดพันปี, อานนฺท อานนท์ ทานิ ต่อไปนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ วสฺสสตานิ ตลอดร้อยแห่งปีทั้งหลาย ปญฺเจว ๕ เท่านั้น ดังนี้. มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค วทนฺโต เมื่อตรัส เอวํ อย่างนี้ วเทติ ชื่อว่า ตรัส อนฺตรธานํ ซึ่งอันตรธาน สทฺธมฺมสฺส แห่งพระสัทธรรม วา หรือว่า ปฏิกฺโกสติ ทรงคัดค้านอยู่ อภิสมยํ ซึ่งอภิสมัย (ความตรัสรู้) อปิ นุ โข หรือ หนอ แล ดังนี้[8].

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ หามิได้ ดังนี้.

 

‘‘นฏฺฐํ, มหาราช, ปริกิตฺตยนฺโต เสสกํ ปริทีปยนฺโต ปริจฺฉินฺทิฯ ยถา, มหาราช, ปุริโส นฏฺฐายิโก สพฺพเสสกํ คเหตฺวา ชนสฺส ปริทีเปยฺย เอตฺตกํ เม ภณฺฑํ นฏฺฐํ, อิทํ เสสกนฺติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ภควา นฏฺฐํ ปริทีปยนฺโต เสสกํ เทวมนุสฺสานํ กเถสิ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติฯ ยํ ปน, มหาราช, ภควตา ภณิตํ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติ, สาสนปริจฺเฉโท เอโสฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ปริกิตฺตยนฺโต เมื่อทรงประกาศ นฏฺฐํ ซึ่งอายุพระศาสนาส่วนที่เสื่อมหายแล้ว ปริทีปยนฺโต ปริจฺฉินฺทิ ชื่อว่า ทรงแสดงกำหนด เสสกํ ซึ่งอายุพระศาสนาส่วนที่เหลือ. มหาราช มหาบพิตร ปุริโส บุรุษ นฏฺฐายิโก ผู้มีทรัพย์อันหายไปแล้ว คเหตฺวา ถือเอา สพฺพเสสกํ ซึ่งทรัพย์ส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมด ปริทีเปยฺย พึงแสดง ชนสฺส แก่ชนอื่น อิติ ว่า ภณฺฑํ ของ เม ของข้าพเจ้า เอตฺตกํ เท่านี้, อิทํ ภณฺฑํ ของ นี้ เสสกํ เป็นของที่เหลืออยู่ ดังนี้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ปริทีปยนฺโต เมื่อทรงแสดง นฏฺฐํ ซึ่งอายุแห่งพระศาสนาที่เสื่อมหายแล้ว กเถสิ ชื่อว่า ตรัสแล้ว เสสกํ ซึ่งอายุพระศาสนาที่เหลืออยู่ เทวมนุสฺสานํ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อิติ ว่า  อานนฺท อานนท์ ทานิ ต่อไปนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ วสฺสสตานิ ตลอดร้อยแห่งปีทั้งหลาย ปญฺเจว ๕ เท่านั้น ดังนี้ ฉันนั้นนั่นเทียว.

 

‘‘ยํ ปน ปรินิพฺพานสมเย สุภทฺทสฺส ปริพฺพาชกสฺส สมเณ ปริกิตฺตยนฺโต อาห อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ, ปฏิปตฺติปริทีปนา เอสา, ตฺวํ ปน ตํ ปริจฺเฉทญฺจ ปริทีปนญฺจ เอกรสํ กโรสิฯ ยทิ ปน เต ฉนฺโท, เอกรสํ กตฺวา กถยิสฺสามิ, สาธุกํ สุโณหิ มนสิกโรหิ อวิกฺขิตฺตมานโสฯ

 

ปน ส่วน ภควา พระผู้มีพระภาค ปริกิตฺตฺยนฺโต เมื่อทรงยกย่อง สมเณ ซึ่งสมณะทั้งหลาย สุภทฺทสฺส ปริพฺพาชกสฺส แก่สุภัททปริพพาชก อาห จึงตรัส ยํ วจนํ ซึ่งพระดำรัสใด ปรินิพฺพานสมเย ในสมัยใกล้ปรินิพพาน อิติ ว่า สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้, เอสา วาจา พระดำรัส นั่น ปฏิปตฺติปริทีปนา เป็นคำแสดง(ยกย่อง)การปฏิบัติ, ปน ก็ ตฺวํ ขอพระองค์ กโรสิ จงทรงกระทำ ตํ ปริจฺเฉทญฺจ ซึ่งการกำหนดอายุพระศาสนา นั้นด้วย ปริทีปนญฺจ ซึ่งการแสดงยกย่องการปฏิบัติ ด้วย เอกรสํ ให้มีเนื้อความเดียวกันเถิด. ปน ก็ ยทิ ถ้าว่า ฉนฺโท ความพอพระทัย เต ของพระองค์ (อตฺถิ) มีอยู่ ไซร้, อหํ อาตมภาพ กถยิสฺสามิ จักถวายพระพร กตฺวา ทำ เอกรสํ ให้มีเนื้อความเดียวกัน[9], ตฺวํ ขอพระองค์ อวิกฺขิตฺตมานโส จงมีพระทัยไม่ซัดส่าย สุโณหิ  ทรงสดับ, มนสิกโรหิ ใส่ใจ สาธุกํ ด้วยดีเถิด.

 

‘‘อิธ, มหาราช, ตฬาโก ภเวยฺย นวสลิลสมฺปุณฺโณ สมฺมุขมุตฺตริยมาโน ปริจฺฉินฺโน ปริวฏุมกโต, อปริยาทิณฺเณ เยว ตสฺมิํ ตฬาเก อุทกูปริ มหาเมโฆ อปราปรํ อนุปฺปพนฺโธ อภิวสฺเสยฺย, อปิ นุ โข, มหาราช, ตสฺมิํ ตฬาเก อุทกํ ปริกฺขยํ ปริยาทานํ คจฺเฉยฺยา’’ติ?

 

มหาราช มหาบพิตร อิธ ในโลกนี้ ตฬาโก สระ ปริวุฏํ กโต อันเขาขุดให้เป็นวงกลม นวสลิลสมฺปุณฺโณ มีน้ำใหม่อันเต็มแล้ว ปริจฺฉินฺโน กำหนดแล้ว สมฺมุขมุตฺตริยมาโน ให้สูงเสมอขอบปาก ภเวยฺย พึงเป็น, ตสฺมิํ ตฬาเก เมื่อสระนั้น อปริยาทิณฺเณ (อุทเก) เอว มีน้ำยังไม่หมดแล้วนั่นเทียว,  มหาเมโฆ เมฆใหญ่ อภิวสฺเสยฺย ยังฝนให้ตกอยู่ อุทกูปริ[10] เหนือน้ำ อนุปฺปพนฺโธ อย่างสืบเนื่อง อปราปรํ ติดต่อกัน, มหาราช มหาบพิตร อุทกํ น้ำ ตสฺมิํ ตฬาเก ในสระนั้น คจฺเฉยฺย พึงถึง ปริกฺขยํ ซึ่งความสิ้นไป ปริยาทานํ ซึ่งความหมดไป อปิ นุ โข หรือ หนอ แล ดังนี้.

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็  อุทกํ น้ำ ตสฺมิํ ตฬาเก ในสระนั้น คจฺเฉยฺย พึงถึง ปริกฺขยํ ซึ่งความสิ้นไป ปริยาทานํ ซึ่งความหมดไป หามิได้ ดังนี้.

 

‘‘เกน การเณน มหาราชา’’ติ?

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เกน การเณน เพราะเหตไร อุทกํ น้ำ ตสฺมิํ ตฬาเก ในสระนั้น คจฺเฉยฺย ไม่พึงถึง ปริกฺขยํ ซึ่งความสิ้นไป ปริยาทานํ ซึ่งความหมดไป ดังนี้.

 

‘‘เมฆสฺส, ภนฺเต, อนุปฺปพนฺธตายา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนุปฺปพนฺธตาย เพราะความที่ เมฆสฺส แห่งฝน (ตก)ติดต่อสืบเนื่องกัน ดังนี้.

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ชินสาสนวรสทฺธมฺมตฬาโก อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติวิมลนวสลิลสมฺปุณฺโณ อุตฺตริยมาโน ภวคฺคมภิภวิตฺวา ฐิโตฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร (โอปมฺมสมฺปฏิปาทานมิทํ ตยา เวทิตพฺพํ) คำเป็นเครื่อง ยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ อันมหาบพิตร พึงทราบ เอวํ ฉันนั้น,   ชินสาสนวรสทฺธมฺมตฬาโก สระใหญ่คือ พระสัทธรรมอันเป็นพระศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติวิมลนวสลิลสมฺปุณฺโณ อันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำใหม่ที่สะอาดปราศจากมลทิน คือ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลาย ฐิโต ดำรงอยู่ อภิภวิตฺวา ครอบงำ ภวคฺคํ ภวัคคพรหม อุตฺตริยมาโน สูงส่งอยู่.

 

ยทิ ตตฺถ พุทฺธปุตฺตา อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติเมฆวสฺสํ อปราปรํ อนุปฺปพนฺธาเปยฺยุํ อภิวสฺสาเปยฺยุํฯ เอวมิทํ ชินสาสนวรสทฺธมฺมตฬาโก จิรํ ทีฆมทฺธานํ ติฏฺเฐยฺย, อรหนฺเตหิ โลโก อสุญฺโญ ภเวยฺย, อิมมตฺถํ ภควตา สนฺธาย ภาสิตํ อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติฯ

 

ยทิ ผิว่า พุทฺธปุตฺตา (ภิกฺขู) ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตร อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติเมฆวสฺสํ ยังเมฆฝน คืออาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ อนุปฺปพนฺธาเปยฺยุํ พึงให้สืบเนื่องบ่อยๆ อภิวสฺสาเปยฺยุํ พึงให้ตกมา  อปราปรํ ติดต่อกัน, อิทํ (อาจาราทิกเมฆสวสฺสํ อปราปรํ อนุปฺปพนฺธาปนํ อภิวสฺสาปนํ) การทำให้เมฆฝนคืออาจารคุณเป็นต้นให้สืบเนื่อง ให้ตกอยู่ติดต่อกัน นี้ เอวํ อย่างนี้ ไซร้, ชินสาสนวรสทฺธมฺมตฬาโก สระใหญ่ คือพระสัทธรรมอันเป็นศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า ติฏฺเฐยฺย ดำรงอยู่ จิรํ เนิ่นนาน ทีฆมทฺธานํ ตลอดกาลนาน, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่างเปล่า อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ ภเวยฺย พึงเป็น, อิทํ วจนํ พระดำรัส นี้ อิติ ว่า สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ภาษิตไว้ สนฺธาย ทรงหมายถึง อิมํ อตฺถํ ซึ่งความหมายนี้ ดังนี้.

 

‘‘อิธ ปน, มหาราช, มหติ มหาอคฺคิกฺขนฺเธ ชลมาเน อปราปรํ สุกฺขติณกฏฺฐโคมยานิ อุปสํหเรยฺยุํ, อปิ นุ โข โส, มหาราช, อคฺคิกฺขนฺโธ นิพฺพาเยยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ มหาอคฺคิกฺขนฺเธ เมื่อกองไฟใหญ่ ชลมาเน ลุกโพลงอยู่ มหติ บนแผ่นดิน อิธ นี้, ชนา ชนทั้งหลาย อุปสํหเรยฺยุํ พึงสุม(พึงนำมารวมกัน, ประมวลมา, ใส่เพิ่มอีก) สุกฺขติณกฏฺฐโคมยานิ ซึ่งหญ้าแห้ง ไม้แห้ง ก้อนโคมัย อปราปรํ ติดต่อกัน, มหาราช มหาบพิตร โส อคฺคิกฺขนฺโธ กองไฟใหญ่นั้น นิพฺพาเยฺยย พึงมอดดับไป อปิ นุ โข หรือหรือแล ดังนี้.

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, ภิยฺโย ภิยฺโย โส อคฺคิกฺขนฺโธ ชเลยฺย, ภิยฺโย ภิยฺโย ปภาเสยฺยา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ โส อคฺคิกฺขนฺโธ กองไฟใหญ่นั้น นิพฺพาเยฺยย พึงมอดดับไป หามิได้, โส อคฺคิกฺขนฺโธ กองไฟใหญ่นั้น ชเลยฺย พึงลุกโพลง ภิยฺโย ภิยฺโย ยิ่งๆขึ้นไป, ปภาเสยฺย พึงส่องแสง ภิยฺโย ภิยฺโย ยิ่งๆขึ้นไป ดังนี้

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ชินสาสนวรมฺปิ อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติยา ชลติ ปภาสติฯ

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร (โอปมฺมสมฺปฏิปาทานมิทํ ตยา เวทิตพฺพํ) คำเป็นเครื่อง ยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ อันมหาบพิตร พึงทราบ เอวํ ฉันนั้น, ชินสาสนวรมฺปิ แม้พระศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า ชลติ ก็ลุกโพลง (รุ่งเรือง) อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติยา ด้วยอาจารคุณ ศีลคุณ และข้อปฏิบัติ ปภาสติ ส่องสว่างไป ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ.

 

ยทิ ปน, มหาราช, ตทุตฺตริํ พุทฺธปุตฺตา ปญฺจหิ ปธานิยงฺเคหิ สมนฺนาคตา สตตมปฺปมตฺตา ปทเหยฺยุํ, ตีสุ สิกฺขาสุ ฉนฺทชาตา สิกฺเขยฺยุํ, จาริตฺตญฺจ สีลํ สมตฺตํ ปริปูเรยฺยุํ, เอวมิทํ ชินสาสนวรํ ภิยฺโย ภิยฺโย จิรํ ทีฆมทฺธานํ ติฏฺเฐยฺย, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ อิมมตฺถํ ภควตา สนฺธาย ภาสิตํ อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติฯ

 

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ ยทิ ถ้าว่า พุทฺธปุตฺตา (ภิกฺขู) ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพุทธบุตร สมนฺนาคตา เป็นผู้ประกอบพร้อม ปญฺจหิ ปธานิยงฺเคหิ ด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ อปฺปมตฺตา ไม่ประมาท ปทเหยฺยุํ พึงบากบั่น สตตํ เป็นประจำ, ฉนฺทชาตา เป็นผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว สิกฺเขยฺยุํ พึงศึกษา ตีสุ สิกฺขาสุ ในสิกขาทั้งหลาย ๓,  สีลํ (วาริตฺตํ) ยังศีลคือวาริตศีล จาริตฺตํ จ ศีลคือจาริตศีล ปริปูเรยฺยุํ พึงให้บริบูรณ์ ไซร้ (ยถา) โดยประการใด, อิทํ ชินสาสนวรํ  พระศาสนาของชินเจ้าอันประเสริฐนี้ ติฏฺเฐยฺย  พึงดำรงอยู่ ภิยฺโย ภิยฺโย โดยยิ่งๆขึ้นไป ทีฆมทฺธานํ ตลอดกาลยาว จิรํ นาน เอวํ โดยประการนั้น, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น, อิทํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ก็ สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ตรัสแล้ว สนฺธาย ทรงหมายเอา อิมมตฺถํ ซึ่งเนื้อความนี้ อิติ ด้วยประการฉะนี้.

 

‘‘อิธ ปน, มหาราช, สินิทฺธสมสุมชฺชิตสปฺปภาสวิมลาทาสํ สณฺหสุขุมเครุกจุณฺเณน อปราปรํ มชฺเชยฺยุํ, อปิ นุ โข, มหาราช, ตสฺมิํ อาทาเส มลกทฺทมรโชชลฺลํ ชาเยยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร ปุคฺคโล บุคคล อิธ ในโลกนี้ มชฺเชยฺยุํ พึงลูบไล้ สินิทฺธสมสุมชฺชิตสปฺปภาสวิมลาทาสํ กระจกที่ได้ขัดไว้เกลี้ยงเกลาใสแวววาว สณฺหสุขุมเครุกจุณฺเณน ด้วยผงดินสอพองที่ละเอียดอ่อน อปราปรํ ไปเรื่อยๆ, มหาราช มหาบพิตร มลกทฺทมรโชชลฺลํ เปลือกตม ขี้ฝุ่น ขี้ไคล อันเป็นมลทิน ชาเยยฺย พึงเกิดขึ้น ตสฺมิํ อาทาเส ที่กระจกนั้น อปิ นุ โข หรือ หนอ แล ดังนี้?.

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, อญฺญทตฺถุ วิมลตรํ เยว ภเวยฺยา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ มลกทฺทมรโชชลฺลํ เปลือกตม ขี้ฝุ่น ขี้ไคล อันเป็นมลทิน ชาเยยฺย พึงเกิดขึ้น ตสฺมิํ อาทาเส ที่กระจกนั้น หามิได้, อญฺญทตฺถุ แท้ที่จริงแล้ว ตํ อาทาสํ กระจกนั้น วิมลตรํเยว เป็นอันปราศจากมลทินยิ่ง ๆ ขึ้นไปเท่านั้น ดังนี้

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ชินสาสนวรํ ปกตินิมฺมลํ พฺยปคตกิเลสมลรโชชลฺลํ,

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอวเมว โข อุปมาฉันใดอุปมัยก็ฉันนั้น ชินสาสนวรํ พระศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า ปกตินิมฺมลํ ที่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีมลทินตามปกติ พฺยปคตกิเลสมลรโชชลฺลํ พึงเป็นพระศาสนาอันปราศจากขี้ฝุ่น ขี้ไคล อันเป็นมลทินคือกิเลส ภเวยฺย พึงเป็น,

 

ยทิ ตํ พุทฺธปุตฺตา อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติสลฺเลขธุตคุเณน ชินสาสนวรํ สลฺลกฺ, เอวมิทํ ชินสาสนวรํ จิรํ ทีฆมทฺธานํ ติฏฺเฐยฺย, อสุญฺโญ จ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ อิมมตฺถํ ภควตา สนฺธาย ภาสิตํ อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติฯ ปฏิปตฺติมูลกํ, มหาราช, สตฺถุสาสนํ ปฏิปตฺติการณํ ปฏิปตฺติยา อนนฺตรหิตาย ติฏฺฐตี’’ติฯ

ยทิ ถ้าหากว่า พุทฺธปุตฺตา (ภิกฺขู) ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพุทธบุตร สลฺลกฺเขยฺยุํ พึงขัดเกลา ตํ ชินสาสนวรํ ศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติสลฺเลขธุตคุเณน คุณเครื่องขัดเกลากิเลสเครื่องกำจัดกิเลส คืออาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ ไซร้, เอวํ (สนฺเต) เมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ อิทํ ชินสาสนวรํ  พระศาสนาของชินเจ้าอันประเสริฐนี้ ติฏฺเฐยฺย  พึงดำรงอยู่ ทีฆมทฺธานํ ตลอดกาลยาว จิรํ นาน, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น, อิทํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ก็ สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ตรัสแล้ว สนฺธาย ทรงหมายเอา อิมมตฺถํ ซึ่งเนื้อความนี้ อิติ ด้วยประการฉะนี้. มหาราช มหาบพิตร  สตฺถุสาสนํ พระศาสนาของพระศาสดา ปฏิปตฺติมูลกํ มีการปฏิบัติเป็นรากเหง้า ปฏิปตฺติการณํ มีการปฏิบัติเป็นเหตุ, ปฏิปตฺติยา เมื่อการปฏิบัติ อนนฺตรหิตาย ยังไม่อันตรธานไป, ติฏฺฐติ ก็ย่อมดำรงอยู่ได้ ดังนี้

 

‘‘ภนฺเต นาคเสน, ‘สทฺธมฺมนฺตรธานนฺติ ยํ วเทสิ, กตมํ ตํ สทฺธมฺมนฺตรธาน’’นฺติ?

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตฺวํ ท่าน วเทสิ กล่าวถึง ยํ วจนํ ซึ่งคำใด อิติ ว่า สทฺธมฺมนฺตรธานํ อันตรธานแห่งสัทธรรม ดังนี้, ตํ สทฺธมฺมนฺตรธานํ อันตรธานแห่งสัทธรรม นั้น กตมํ อะไรบ้าง ดังนี้.

 

 ‘‘ตีณิมานิ, มหาราช, สาสนนฺตรธานานิฯ กตมานิ ตีณิ? อธิคมนฺตรธานํ ปฏิปตฺตนฺตรธานํ ลิงฺคนฺตรธานํ, อธิคเม, มหาราช, อนฺตรหิเต สุปฺปฏิปนฺนสฺสาปิ ธมฺมาภิสมโย น โหติ, ปฏิปตฺติยา อนฺตรหิตาย สิกฺขาปทปญฺญตฺติ อนฺตรธายติ, ลิงฺคํเยว ติฏฺฐติ, ลิงฺเค อนฺตรหิเต ปเวณุปจฺเฉโท โหติ, อิมานิ โข, มหาราช, ตีณิ อนฺตรธานานี’’ติฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สาสนนฺตรธานานิ อันตรธานแห่งสัทธรรม ตีณิอิมานิ เหล่านี้. สาสนนฺตรธานานิ อันตรธานแห่งสัทธรรม ตีณิกตมานิ มีอะไรบ้าง?, คือ อธิคมนฺตรธานํ  อธิคมอันตรธาน (ความเลือนหายแห่งอธิคม)ปฏิปตฺตนฺตรธานํ ปฏิปัตติอันตรธาน  (ความเลือนหายแห่งการปฏิบัติ) ลิงฺคนฺตรธานํ ลิงคอันตรธาน (ความเลือนหายแห่งเครื่องหมายแสดงเพศภิกษุ), มหาราช มหาบพิตร อธิคเม เมื่ออธิคม อนฺตรหิเต อันตรธานแล้ว, ธมฺมาภิสมโย การตรัสรู้ธรรม น โหติ

ก็จะไม่มี สุปฺปฏิปนฺนสฺสาปิ แก่ภิกษุ แม้ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี, ปฏิปตฺติยา เมื่อปฏิบัติ อนฺตรหิตาย อันตรธานแล้ว  สิกฺขาปทปญฺญตฺติ สิกขาบทบัญญัติ อนฺตรธายติ ย่อมอันตรธาน, ลิงฺคํเยว ลิงคะเท่านั้น ติฏฺฐติ ย่อมตั้งอยู่, ลิงฺเค เมื่อลิงคะ อนฺตรหิเต อันตรธานแล้ว ปเวณุปจฺเฉโท ความตัดขาดไปแห่งประเพณี (ความสืบต่อแห่งเพศบรรพชิต) โหติ ย่อมมี,มหาราช มหาบพิตร อนฺตรธานานิ อันตรธาน ตีณิอิมานิ เหล่านี้ โขแล.

 

‘‘สุวิญฺญาปิโต, ภนฺเต นาคเสน, ปญฺโห, คมฺภีโร อุตฺตานีกโต, คณฺฐิ ภินฺโน, นฏฺฐา ปรวาทา ภคฺคา นิปฺปภา กตา, ตฺวํ คณิวรวสภมาสชฺชาติฯ

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปญฺโห ปัญหา ตยา อันท่าน มมํ ยังข้าพเจ้า สุวิญฺญาปิโต ให้เข้าใจดีแล้ว ปญฺโห ปัญหา คมฺภีโร อันลึกซึ้ง ตยา อันท่าน อุตฺตานีกโต ทำให้ตื้นแล้ว, คณฺฐิ ขอด ตยา อันท่าน ภินฺโน ทำลายแล้ว, ปรวาทา ปรวาทะ ตยา อันท่าน ภคคา หักราน นฏฺฐา ให้พินาศแล้ว, กตา กระทำแล้ว นิปฺปภา ให้หมดรัศมีไป, ตฺวํ ท่าน อาสชฺชา เข้าถึงแล้ว คณิวรวสภํ ความเป็นผู้องอาจในหมู่คณะอันประเสริฐแล้ว ดังนี้.

 

สทฺธมฺมนฺตรธานปญฺโห สตฺตโมฯ

 

สทฺธมฺมนฺตรธานปญฺโห

ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

สตฺตโม ลำดับที่ ๗ นิฏฺฐิโต จบ



[1] อัง.อัฏฐก.๒๓/๕๒ โคตมีสูตร

[2] ที.ม.๑๐/๑๓๙ คำว่า พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ หมายถึง เมื่อพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น บอกเหตุกล่าวคือปฏิปทาเบื้องต้นแห่งการบรรลุพระโสดาบันเป็นต้น แก่ผู้อื่น กระทำให้บุคคลอื่นนั้นเป็นผู้ดำรงอยู่ในโสดาบัตติมรรคเป็นต้น แม้บุคคลผู้ปุถุชน ผู้เจริญวิปัสนาอยู่ บอกกัมมัฏฐานซึ่งตนชำนาญดีแล้วแก่ผู้อื่น กระทำให้ผู้อื่นั้นให้เป็นผู้ปรารภ... เพื่อโสดาปัตติมรรค ก็ชื่อว่า ภิกษุเหล่านี้อยู่โดยชอบ. ความหมายโดยสรุปคือ บอกสอนต่อๆกันโดยไม่ขาดสาย พระศาสนาเป็นอันไม่ว่างจากพระอรหันต์เหตุที่มีการสืบทอดคำสอนกันมานั่นเอง (ที.ม.อฏฺ.๒๑๔)

 

[3] ก็สำหรับคำที่ตรัสไว้ในที่ ๒ แห่งนั้น ถ้าหากคำหนึ่งถูก คำที่เหลือก็ต้องผิด เพราะเมื่อทรงกำหนดอายุพระศาสนาไว้ว่าจักดำรงอยุ่ต่อไปได้เพียง ๕๐๐ ปีอย่างนี้ บุคคลจะบรรลุเป็นพระอรหันต์กันได้ก็ชั่วระยะตราบเท่าที่พระศาสนานี้ยังดำรงอยู่ได้ คือ ๕๐๐ ปีเท่านั้น หลังจากนั้นก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะไม่มีพระศาสนาเป็นที่ตั้งอาศัย ด้วยว่า การตรัสรู้ธรรมสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล แม้ทั้ง ๔ จำพวก มีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มีในธรรมวินัยอื่น ในศาสนาอื่น มีเฉพาะธรรมวินัยนี้ ในพระศาสนานี้เท่านั้น ข้อนี้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อิเธว สุภทฺท สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ สุภัททะ สมณะที่ ๑ (พระโสดาบัน) มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ (พระสกทาคามี) ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น พ้น ๕๐๐ ปีนั้นไปแล้ว เมื่อไม่มีธรรมวินัยนี้แล้ว เมื่อไม่มีพระศาสนานี้แล้ว เพราะอันตรธานเสื่อมหายไปหมดสิ้นแล้ว ก็ย่อมไม่มีใคร ๆ ที่ปฏิบัติสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในโลกนี้ โลกก็เป็นอันว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมขัดแย้งกับคำที่ตรัสว่า สุภัททะ ภิกษุเหล่านี้พึงเป็นอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะเป็นอันไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้ เพราะคำนี้แสดงให้ทราบว่า การจะบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มิได้เนื่องอยู่กับระยะเวลาเหมือนคำก่อน ทว่าเนื่องอยู่กับการปฏิบัติเท่านั้น อย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงเป็นอยู่โดยชอบ คือยังปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกันอยู่ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เมื่อขัดแย้งกันอยู่ ก็ย่อมกล่าวได้ว่า หากยอมรับคำหนึ่งถูกต้อง ก็ไม่อาจยอมรับอีกคำที่เหลือว่าถูกต้องได้ (คำอธิบายของอ.ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์).

[4] พระบาฬีสองแห่งไม่สมกันด้วยพยัญชนะ, แต่ความหมายของสองพระบาฬีนั้นแม้จะถูกแสดงไว้ด้วยคำพูดที่ต่างกัน แต่ก็เป็นการกำหนดพระศาสนาด้วยกันทั้งคู่ คือ  คำหนึ่งกำหนดอายุศาสนา ว่า พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้สิ้น๕๐๐ ปี, คำหนึ่ง กำหนดอายุศาสนาว่า โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ ดังนั้น ในอรรถกถาอธิบายว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงถือเอาความประสงค์ของพวกมิจฉาวาทะมาแสดงมิจฉาวาทะมาเป็นประเด็นว่า พระบาฬีแรกเป็นการกำหนดอายุพระศาสนาเพียง ๕๐๐ ปี ถูกบาฬีหลังที่กำหนดอายุศาสนาไม่มีกำหนด ซึ่งต่างฝ่ายก็คัดค้านกัน (มิลินท.อฏ.).

[5] ในอรรถกถามิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ยกความคิดเห็นของเหล่ามิจฉาวาทะมาเป็นประเด็นในครั้งนี้ ซึ่งพระองค์เกรงว่า ต่อไปภายภาคหน้าจะเกิดความลังเลสงสัยแก่สิกขกามบุคคลอีก จึงมีพระราชปุจฉาไต่ถามพระนาคเสนเถระ เพื่อแก้ปัญหาแก่พวกมิจฉาวาทะนั้น และการซักถามปัญหานี้ เป็นอุบาย จะเป็นการให้นัยให้ภิกษุอนาคตถือเป็นแนวปฏิบัติต่อการให้อุปสมบทภิกษุนี ถือเป็นนัยให้ถือปฏิบัติแก่อนุชนสืบไป โดยเฉพาะเรื่องแนวทางการให้อุปสมบทภิกษุนี.

[6] ในอภิธาน.คาถา ๘๐๓ แสดง รส ศัพท์มี ๙ อรรถ มี ทรฺว ของเหลวเป็นต้น แต่ในที่นี้มีอรรถว่า อตฺถ ความหมาย (มิลินฺท.อฏฺ.)

[7] ประกอบคำแปลตามที่มิลินทฏีกาแนะนำไว้ ดังนี้ว่า ตํ ขยํ ปริทีปยนฺโตติ เตน วจเนน ปุพฺพปญฺจวสฺสสตปฺปมาณฏฺฐานารห-สทฺธมฺมกฺขยํ ปริทีปยนฺโตฯ เสสกํ ปริจฺฉินฺทีติ เสสกํ ปจฺฉิมปญฺจวสฺสสตํ สทฺธมฺมติฏฺฐนกฺขณํ ปริจฺฉินฺทิฯ ตํ ทีปนาการํ ปริจฺฉินฺทนาการญฺจ ทสฺเสนฺโต วสฺสสตํ สหสฺสนฺติอาทิมาหฯ

[8] พระนาคเสนแสดงพระบาฬีที่พระองค์ตรัสว่า ถ้าไม่มีภิกษุนีพระสัทธรรมจะตั้งอยู่ถึง ๑๐๐๐ ปี (โดยพระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทาปัตตะ) แต่บัดนี้ตั้งอยู่เพียง ๕๐๐ ปี เพราะการอุปสมบทเป็นภิกษุนี กรณีนี้ เป็นการแสดงอายุพระศาสนาที่ยังเหลืออยู่ หาได้ปฏิเสธการบรรลุธรรมแต่อย่างใด เพราะการบรรลุธรรมอยู่กับการสอนบอกต่อแนวการปฏิบัติอริยมรรค.

[9] อรรถกถามิลินท.อธิบายว่า ตฺวํ ปน ตนฺติ ตฺวํ ปน มหาราช มิจฺฉาวาทีนํ มเตน ตํ. ปริจฺเฉทญฺจาติ สาสนปริจฺเฉทญฺจ. ปริทีปนญฺจาติ ปฏิปตฺติปริทีปนญฺจ. เอกรสํ กโรสีติ อตฺถโต เอกํ กโรสิ. เอกรสํ กตฺวาติ อตฺถโต เอกํ กริตฺวา, ยทิ ปน เต มหาราช ฉนฺโท อสฺส อหํ เอเกกาย ปฏิปตฺติยา กิเลเสหิ เจว วฏฺฏทุกฺเขหิ จ วิมุตฺติยา อตฺถโต เอกํ กตฺวา กถยิสฺสามีติ วุตฺตํ โหติ. (มิลินฺท.อฏฺ.) หมายความว่า ขอให้พระองค์จงประมวลความเข้าใจผิดของเหล่ามิจฉาวาทะนั้นให้มีความหมายสอดคล้องเดียวกัน, ถึงอาตมภาพก็จะสรุปให้เป็นอันเดียวกันโดยรสแห่งวิมุตติจากกิเลสและวัฏฏทุกข์ด้วยการปฏิบัติอย่างเดียวเท่านั้น.

[10] อุทกูปริ ตัดเป็น อุทก + อุปริ วิเคราะห์เป็นอัพยยีภาวสมาสว่า อุปริ อุทกสฺส ในที่เบื้องบนแห่งน้ำ ชื่อว่า อุทกูปริ. ถือเป็นรูปพิเศษ เพราะตามปกติควรเป็น นิปาตปุพพกอัพยยีภาวสมาสว่า อุปรูทก แต่ในที่นี้สลับหน้าและหลังกัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น