วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เมณฑกกัณฑ์ - อิทธิพลวรรค - ๘.อกุสลเฉทนปัญหา


๘. อกุสลจฺเฉทนปญฺโห

 

. อกุสลัจเฉทนปัญหา

ปัญหาว่าด้วยการตัดอกุศลกรรม

แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต สพฺพํ อกุสลํ ฌาเปตฺวา สพฺพญฺญุตํ ปตฺโต, อุทาหุ สาวเสเส อกุสเล สพฺพญฺญุตํ ปตฺโต’’ติ?

 

๘. มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ ปุจฺฉิ รับสั่งถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตถาคโต พระตถาคต ฌาเปตฺวา[1] ทรงเผาแล้ว สพฺพํ อกุสลํ ซึ่งอกุศลทั้งปวง ปตฺโต ทรงบรรลุ สพฺพญฺญุตํ ซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู[2] (วา) หรือ, อุทาหุ หรือว่า  อกุสเล ครั้นเมื่ออกุศล สาวเสเส อันเหลือลง (สนฺเต) มีอยู่ ปตฺโต ทรงบรรลุแล้ว สพฺพญฺญุตํ ซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู ? ดังนี้.[3]

พระเจ้ามิลินท์ รับสั่งตรัสถามว่า พระคุณเจ้านาคเสน พระตถาคตเป็นผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เผาอกุศลได้ทั้งหมด หรือว่าทรงเป็นผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อยังทรงมีอกุศลเหลืออยู่เล่า ?”

 

‘‘สพฺพํ, มหาราช, อกุสลํ ฌาเปตฺวา ภควา สพฺพญฺญุตํ ปตฺโต, นตฺถิ ภควโต เสเสกํ อกุสล’’นฺติฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ วิสชฺชิ ถวายวิสัชชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ฌาเปตฺวา ทรงเผาแล้ว สพฺพํ อกุสลํ ซึ่งอกุศลทั้งปวง ปตฺโต ทรงบรรลุแล้ว สพฺพญฺญุตํ ซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู, อกุสลํ อกุศล เสเสกํ อันเหลืออยู่ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เผาอกุศลได้ทั้งหมดแล้ว พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีอกุศลเหลืออยู่

 

‘‘กิํ ปน, ภนฺเต, ทุกฺขา เวทนา ตถาคตสฺส กาเย อุปฺปนฺนปุพฺพา’’ติ?

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ ปุจฺฉิ รับสั่งถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปน ก็ ทุกฺขา เวทนา ทุกขเวทนา อุปฺปนฺนาปุพฺพา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน กาเย ในพระวรกาย ตถาคตสฺส ของพระตถาคต (โหติ) ย่อมมี กิํ หรือ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้า พระตถาคตเคยทรงเกิดทุกขเวทนาทางกายหรือไม่ ?”

 

‘‘อาม, มหาราช, ราชคเห ภควโต ปาโท สกลิกาย [สกฺขลิกาย (สฺยา. ก.)] ขโต, โลหิตปกฺขนฺทิกาพาโธ อุปฺปนฺโน, กาเย อภิสนฺเน ชีวเกน วิเรโก การิโต, วาตาพาเธ อุปฺปนฺเน อุปฏฺฐาเกน เถเรน อุณฺโหทกํ ปริยิฏฺฐ’’นฺติฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ วิสชฺชิ ถวายวิสัชชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อาม ใช่ , ทุกฺขา เวทนา ทุกขเวทนา อุปฺปนฺนาปุพฺพา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน กาเย ในพระวรกาย ตถาคตสฺส ของพระตถาคต คือ  ราชคเห ที่เมืองราชคฤห์ ปาโท พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สกลิกาย อันก้อนกรวด ขโต กระทบแล้ว, โลหิตปกฺขนฺทิกาพาโธ พระอาพาธโรคบิด อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว, กาเย เมื่อพระวรกาย อภิสนฺเน หมักหมมแล้ว (ท้องผูก) วิเรโก การทำให้ถ่าย (เสวยพระโอสถรุน) ชีวเกน อันหมอชีวก การิโต ทรงให้กระทำแล้ว, วาตาพาเธ เมื่อประชวรลม อุปฺปนฺเน เกิดขึ้นแล้ว อุณฺโหทกํ น้ำร้อน เถเรน อันพระเถระ อุปฏฺฐาเกน ผู้ถวายอุปัฏฐาก ปริยิฏฺฐํ แสวงหา(ถวาย) [4]ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ใช่ พระผู้มีพระภาคเคยทรงเกิดทุกขเวทนาทางกาย คือ ที่กรุงราชคฤห์ พระบาทข้างหนึ่งของพระตถาคตถูกสะเก็ดหินกระทบเอา, ครั้งหนึ่ง ทรงเกิดพระอาพาธโรคบิด ครั้งหนึ่ง หมอชีวกถวายพระโอสถรุน (ยาถ่าย) ในคราวที่มีวรกายหมักหมมด้วยของเสีย (บางฉบับแปลว่า หมอชีวกได้ทำการคัดพระโลหิตในพระวรกายที่ใครๆ ทำให้ฉีกขาดมิได้), ครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดพระอาพาธโรคลม พระเถระผู้เป็นพระอุปัฏฐากก็ได้เที่ยวหาน้ำร้อนมาถวาย

 

‘‘ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต สพฺพํ อกุสลํ ฌาเปตฺวา สพฺพญฺญุตํ ปตฺโต, เตน หิ ภควโต ปาโท สกลิกาย ขโต, โลหิตปกฺขนฺทิกา จ อาพาโธ อุปฺปนฺโนติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ         

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ ปุจฺฉิ รับสั่งถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า ตถาคโต พระตถาคต ฌาเปตฺวา ทรงเผาแล้ว อกุสลํ ซึ่งอกุศล สพฺพํ ทั้งปวง ปตฺโต ทรงบรรลุ สพฺพญฺญุตํ ซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำพูด ใด อิติ ว่า ปาโท พระบาทข้างหนึ่ง  ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สกลิกาย อันสะเก็ดหิน ขโต กระทบแล้ว, และ อาพาโธ พระอาพาธ โลหิตปกฺขนฺทิกา โรคบิด อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้, ตํ วจนํ คำพูดนั้น มิจฺฉา ผิด.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่าพระตถาคตทรงเป็นผู้บรรลุสัพพัญญุตญาณ เผาอกุศลได้ทั้งหมดแล้ว จึงทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณจริงไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำพูดที่ว่า พระบาทข้างหนึ่งของพระตถาคตถูกสะเก็ดหินกระทบเอาว่า ครั้งหนึ่ง ทรงเกิดพระอาพาธโรคบิด และว่า ครั้งหนึ่งทรงเกิดพระอาพาธโรคลม ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด.

 

ยทิ ตถาคตสฺส ปาโท สกลิกาย ขโต, โลหิตปกฺขนฺทิกา จ อาพาโธ อุปฺปนฺโน, เตน หิ ตถาคโต สพฺพํ อกุสลํ ฌาเปตฺวา สพฺพญฺญุตํ ปตฺโตติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

 

ยทิ ถ้าว่า ปาโท พระบาท ตถาคตสฺส ของพระตถาคต สกลิกาย อันสะเก็ดหิน ขโต กระทบแล้ว, และ อาพาโธ พระอาพาธ โลหิตปกฺขนฺทิกา โรคบิด อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว (ภควโต) แก่พระผู้มีพระภาค ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ คำแม้นั้น อิติ ว่า  ตถาคโต พระตถาคต ฌาเปตฺวา ทรงเผาแล้ว อกุสลํ ซึ่งอกุศล สพฺพํ ทั้งปวง ปตฺโต ทรงบรรลุแล้ว สพฺพญฺญุตํ ซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู ดังนี้ มิจฺฉา ผิด.[5]

ถ้าหากว่า พระบาทของตถาคตถูกสะเก็ดหินกระทบจริง ครั้งหนึ่งทรงเกิดพระอาพาธโรคบิดจริง และครั้งหนึ่งทรงเกิดพระอาพาธโรคลมจริงแล้วไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำพูดที่ว่า พระตถาคตทรงเผาอกุศลได้ทั้งหมดแล้ว จึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ดังนี้ ก็ย่อมเป็นคำพูดที่ผิด.

 

นตฺถิ, ภนฺเต, วินา กมฺเมน เวทยิตํ, สพฺพํ ตํ เวทยิตํ กมฺมมูลกํ, ตํ กมฺเมเนว เวทยติ, อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติ [นิพฺพายิตพฺโพติ (ก.)]ฯ

 

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เวทยิตํ = เวทนา เวทนา วินา เว้น กมฺเมน จากกรรม นตฺถิ ย่อมไม่มี, สพฺพํ ตํ เวทยิตํ เวทนานั้นทั้งปวง[6] กมฺมมูลกํ มีกรรมเป็นมูล, สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย เวทยติ ย่อมเสวย ตํ เวทยิตํ = ตํ เวทนํ เวทนานั้น กมฺเมเนว เพราะกรรมนั่นเทียว, อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหานี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ พึงคลี่คลาย ดังนี้.

พระคุณเจ้า เว้นกรรมเสียเท่านั้น เวทนาก็หามีได้ไม่ เวทนาทั้งหมดนั้นล้วนมีกรรมเป็นมูล เวทนานั้น มีได้เพราะกรรมเท่านั้น, แม้ปัญหานี้ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านจงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

 

‘‘น หิ, มหาราช, สพฺพํ ตํ เวทยิตํ กมฺมมูลกํฯ อฏฺฐหิ, มหาราช, การเณหิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติ, เยหิ การเณหิ ปุถู สตฺตา เวทนา เวทิยนฺติฯ

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ วิสชฺชิ ถวายวิสัชชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สพฺพํ ตํ เวทยิตํ เวทนานั้นทั้งปวง กมฺมมูลกํ มีกรรมเป็นมูล หามิได้. มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น อฏฺฐหิ การเณหิ เพราะเหตุ ๘ ประการ, เยหิ การเณหิ อันเป็นเหตุให้ สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย ปุถู โดยมาก เวทิยนฺติ ย่อมเสวย เวทนา ซึ่งเวทนาทั้งหลาย.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร เวทนาทั้งปวงล้วนมีกรรมเป็นมูล ก็หาไม่, ขอถวายพระพร เวทนาทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๘ อย่าง ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายมากมายได้เสวยเวทนา.

 

กตเมหิ อฏฺฐหิ?

 

เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น อฏฺฐหิ การเณหิ เพราะเหตุทั้งหลาย ๘ กตเมหิ อะไรบ้าง?[7]

เพราะเหตุ ๘ อย่างอะไรบ้าง

 

วาตสมุฏฺฐานานิปิ โข, มหาราช, อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติ, ปิตฺตสมุฏฺฐานานิปิ โข, มหาราชเป.เสมฺหสมุฏฺฐานานิปิ โข, มหาราชเป.สนฺนิปาติกานิปิ โข, มหาราชเป.อุตุปริณามชานิปิ โข, มหาราชเป.วิสมปริหารชานิปิ โข, มหาราชเป.โอปกฺกมิกานิปิ โข, มหาราชเป.กมฺมวิปากชานิปิ โข, มหาราช, อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ อิเมหิ โข, มหาราช, อฏฺฐหิ การเณหิ ปุถู สตฺตา เวทนา เวทยนฺติฯ

          มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง วาตสมุฏฺฐานานิปิ โข เป็นเวทนาที่มีลมเป็นสมุฏฐาน อิธ ในโลกนี้ อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง ปิตฺตสมุฏฺฐานานิปิ โข ที่มีดีเป็นสมุฏฐาน อิธ ในโลกนี้ อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง เสมฺหสมุฏฺฐานานิปิ โข ที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อิธ ในโลกนี้ อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง สนฺนิปาติกานิปิ  โข ที่เกิดจากสันนิบาต อิธ ในโลกนี้ อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง อุตุปริณามชานิปิ โข ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ อิธ ในโลกนี้ อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง วิสมปริหารชานิปิ โข ที่เกิดจากบริหารไม่สม่ำเสมอ อิธ ในโลกนี้ อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง โอปกฺกมิกานิปิ โข เป็นเวทนาที่เกิดจากการพยายาม อิธ ในโลกนี้ อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, มหาราช มหาบพิตร เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง กมฺมวิปากชานิปิ โข ที่เกิดจากวิบากกรรม อิธ ในโลกนี้ อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น, มหาราช มหาบพิตร  สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย ปุถู มากมาย เวทยนฺติ ย่อมเสวย เวทนา ซึ่งเวทนาทั้งหลาย อฏฺฐหิ การเณหิ[8] เพราะเหตุทั้งหลาย ๘  อิเมหิ โข เหล่านี้แล.[9]

ขอถวายพระพร  เวทนาบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเวทนาที่มีลมเป็นสมุฏฐาน. เวทนาบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐาน. เวทนาบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเวทนาที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน. เวทนาบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นวเทนาที่เกิดจากสันนิบาต. เวทนาบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเวทนาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ. เวทนาบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเวทนาที่เกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอ. เวทนาบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเวทนาที่เกิดจากความพยายาม. เวทนาบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเวทนาที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม.  ขอถวายพระพร มหาบพิตร สัตว์ทั้งหลายมากมาย ย่อมเสวยเวทนาเพราะเหตุ ๘ อย่างเหล่านี้

 

ตตฺถ เย เต ปุคฺคลาสตฺเต กมฺมํ วิพาธตีติ วเทยฺยุํ, เต อิเม ปุคฺคลา สตฺตการณํ ปฏิพาหนฺติฯ เตสํ ตํ วจนํ มิจฺฉา’’ติฯ

 

ตตฺถ ในเหตุทั้งหลายเหล่านั้น เย เต ปุคฺคลา บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ใด วเทยฺยุํ พึงกล่าว อิติ ว่า กมฺมํ กรรม วิพาธติ ย่อมเบียดเบียน สตฺเต ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้, เต อิเม ปุคฺคลา บุคคลทั้งหลายเหล่านี้นั้น ปฏิพาหนฺติ ย่อมปฏิเสธ สตฺตการณํ ซึ่งเหตุ ๗ อย่าง. ตํ วจนํ คำพูดนั้น เตสํ ของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น มิจฺฉา ผิด ดังนี้[10].

ในเหตุ ๘ อย่างนั้น บุคคลเหล่าใดกล่าวแต่ว่า กรรมย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าปฏิเสธเหตุ ๗ อย่าง คำพูดของบุคคลเหล่านั้น นั้น นับว่าผิด

ภนฺเต นาคเสน, ยญฺจ วาติกํ ยญฺจ ปิตฺติกํ ยญฺจ เสมฺหิกํ ยญฺจ สนฺนิปาติกํ ยญฺจ อุตุปริณามชํ ยญฺจ วิสมปริหารชํ ยญฺจ โอปกฺกมิกํ, สพฺเพเต กมฺมสมุฏฺฐานา เยว, กมฺเมเนว เต สพฺเพ สมฺภวนฺตี’’ติฯ    

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยํ (เวทยิตํ) จ วาติกํ เวทนาที่เกิดจากลม ก็ดี, ยํ จ ปิตฺติกํ เวทนาที่เกิดจากดี ก็ดี, ยํ จ เสมฺหิกํ  เวทนาที่เกิดจากเสมหะก็ดี ยํ จ สนฺนิปาติกํ เวทนาที่เกิดจากสันนิบาต ก็ดี ยํ จ อุตุปริณามชํ เวทนาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ ก็ดี ยํ จ วิสมปริหารชํ เวทนาที่เกิดการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ก็ดี ยํ จ โอปกฺกมิกํ เวทนาที่เกิดจากความพยายาม ก็ดี, สพฺเพ เอเต (เวทยิตสงฺขาตา อาพาธา) อาพาธกล่าวคือเวทนาทั้งหลายนี้ทั้งปวง กมฺมสมุฏฺฐานา เอว ล้วนมีกรรมเป็นสมุฏฐาน, เต สพฺเพ เวทยิตสงฺขาตา อาพาธา อาพาธกล่าวคือเวทนาทั้งปวงเหล่านั้น สมฺภวนฺติ ย่อมเกิดขึ้น กมฺเมน เอว เพราะกรรมเท่านั้น ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน เวทนาที่เกิดจากลมก็ดี เวทนาที่เกิดจากดี ก็ดี เวทนาที่เกิดจากเสมหะก็ดี เวทนาที่เกิดจากสันนิบาต ก็ดี เวทนาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ ก็ดี เวทนาที่เกิดการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ก็ดี เวทนาที่เกิดจากความพยายาม ก็ดี เวทนาเหล่านั้นทั้งหมด ก็ล้วนตั้งขึ้นเพราะกรรมทั้งนั่นแหละ เวทนาเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเกิดได้เพราะกรรมอย่างเดียว

 

‘‘ยทิ, มหาราช, เตปิ สพฺเพ กมฺมสมุฏฺฐานาว อาพาธา ภเวยฺยุํ, น เตสํ โกฏฺฐาสโต ลกฺขณานิ ภเวยฺยุํฯ

มหาราช มหาบพิตร ยทิ ถ้าว่า เตปิ สพฺเพ อาพาธา ทั้งปวงเหล่านั้น กมฺมสมุฏฺฐานาว ล้วนมีกรรมเท่านั้นเป็นสมุฏฺฐาน ภเวยฺยุํ พึงเป็น ไซร้, ลกฺขณานิ ลักษณะทั้งหลาย เตสํ แห่งอาพาธทั้งหลายเหล่านั้น น ภเวยฺยุํ ไม่พึงมี โกฏฺฐาสโต โดยลักษณะต่างๆ กัน.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าหากว่าความเจ็บไข้ได้ป่วย (ทุกขเวทนา) ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนมีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียวไซร้ ความเจ็บไข้ได้ป่วยเหล่านั้นก็ไม่น่าจะมีลักษณะเป็นอย่าง ๆ (แตกต่างกัน).

 

วาโต โข, มหาราช, กุปฺปมาโน ทสวิเธน กุปฺปติ สีเตน อุณฺเหน ชิฆจฺฉาย วิปาสาย อติภุตฺเตน ฐาเนน ปธาเนน อาธาวเนน อุปกฺกเมน กมฺมวิปาเกนฯ ตตฺร เย เต นว วิธา, น เต อตีเต, น อนาคเต, วตฺตมานเก ภเว อุปฺปชฺชนฺติ, ตสฺมา น วตฺตพฺพา กมฺมสมฺภวา สพฺพา เวทนาติฯ           

 

มหาราช มหาบพิตร วาโต โข ลม กุปฺปมาโน เมื่อกำเริบ กุปฺปติ ย่อมกำเริบ ทสวิเธน ด้วยเหตุ ๑๐ ประการ คือ สีเตน ด้วยความเย็น, อุณฺเหน ด้วยความร้อน, ชิฆจฺฉาย เพราะความหิว, วิปาสาย เพราะความกระหาย, อติภุตฺเตน เพราะอาหารที่บริโภคมากเกินไป, ฐาเนน เพราะการยืน (ที่นานเกินไป), ปธาเนน เพราะความเพียร (ที่มากเกินไป), อาธาวเนน เพราะการวิ่งเร็วเกินไป, อุปกฺกเมน เพราะความพยายาม (ทั้งของตนและผู้อื่น), กมฺมวิปาเกน เพราะวิบากแห่งกรรม. ตตฺร บรรดาเหตุ ๑๐ อย่างนั้น เย เต นววิธา (กุปฺปเหตู) เหตุแห่งการกำเริบ ๙ เหล่าใด, เต (กุปฺปเหตู) เหตุแห่งการกำเริบเหล่านั้น น อตีเต ย่อมไม่เกิดในอดีต, น อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมไม่เกิด อนาคเต ในอนาคต, เต นววิธา  เต (กุปฺปเหตู) เหตุแห่งการกำเริบ ๙ เหล่านั้น อุปฺปชนฺติ ย่อมเกิด วตฺตมานเก ภเว ในภพอันเป็นปัจจุบัน, ตสฺมา เพราะเหตุนั้น สพฺพา เวทนา เวทนาทั้งปวง น วตฺตพฺพา ไม่พึงกล่าว อิติ ว่า กมฺมสมฺภวา มีกรรมเป็นแดนเกิด ดังนี้.

ขอถวายพระพร ลมเมื่อจะกำเริบ ย่อมกำเริบเพราะเหตุ ๑๐ อย่าง คือ () เพราะความหนาวเย็น () เพราะความร้อน () เพราะความหิว () เพราะความกระหาย () เพราะอาหารที่บริโภคมากเกินไป () เพราะการยืน (ที่นานเกินไป) () เพราะความเพียร (ที่มากเกินไป) () เพราะการวิ่งเร็วเกินไป () เพราะความพยายาม (ของตนหรือของผู้อื่น) (๑๐) เพราะวิบากของกรรม. ในเหตุ ๑๐ อย่างนั้น เหตุ ๙ อย่าง ไม่ใช่เหตุอดีต ไม่ใช่เหตุอนาคต ย่อมเกิดขึ้นเป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ก็ไม่ควรกล่าวว่า เวทนาทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นแดนเกิด.

 

ปิตฺตํ, มหาราช, กุปฺปมานํ ติวิเธน กุปฺปติ สีเตน อุณฺเหน วิสมโภชเนนฯ

 

มหาราช มหาบพิตร ปิตฺตํ ดี กุปฺปมานํ เมื่อกำเริบ กุปฺปติ ย่อมกำเริบ ติวิเธน เพราะเหตุ ๓ ประการ อิติ คือ สีเตน เพราะความเย็น, อุณฺเหน เพราะความร้อน, วิสมโภชเนน เพราะบริโภคของแสลง.

ขอถวายพระพร ดีเมื่อจะกำเริบ ย่อมกำเริบเพราะเหตุ ๓ อย่าง คือ () เพราะความหนาวเย็น () เพราะความร้อน () เพราะการกินของแสลง.

 

เสมฺหํ, มหาราช, กุปฺปมานํ ติวิเธน กุปฺปติ สีเตน อุณฺเหน อนฺนปาเนนฯ

มหาราช มหาบพิตร เสมฺหํ เสมหะ กุปฺปมานํ เมื่อกำเริบ กุปฺปติ ย่อมกำเริบ ติวิเธน เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ สีเตน เพราะความเย็น, อุณฺเหน เพราะความร้อน, อนฺนปาเนน เพราะของกินของดื่ม.

เสมหะ เมื่อจะกำเริบ ย่อมกำเริบเพราะเหตุ ๓ อย่าง คือ () เพราะความหนาวเย็น () เพราะความร้อน () เพราะของกินของดื่ม.

 

โย , มหาราช, วาโต ยญฺจ ปิตฺตํ ยญฺจ เสมฺหํ, เตหิ เตหิ โกเปหิ กุปฺปิตฺวา มิสฺสี หุตฺวา สกํ สกํ เวทนํ อากฑฺฒติฯ

มหาราช มหาบพิตร โย จ วาโต ยํ จ ปิตฺตํ ยํ จ เสมฺหํ ลมก็ดี ดีก็ดี เสมหะก็ดี อันใด, วตฺถุตฺยํ ของสามสิ่ง นี้ กุปฺปิตฺวา ครั้นกำเริบแล้ว เตหิ เตหิ โกเปหิ เพราะเหตุกำเริบเหล่านั้นๆ มิสฺสี หุตฺวา เป็นของเจือปนกัน อากฑฺฒติ ย่อมชักมา เวทนํ ซึ่งเวทนา สกํ สกํ ของตนๆ.

ขอถวายพระพร ลมก็ดี ดีก็ดี เสมหะก็ดี กำเริบเพราะเหตุกำเริบเหล่านั้น ๆ แล้ว ก็เป็นของเจือปนกัน ชักเอาเวทนาที่เป็นของตน ๆ มา.

 

อุตุปริณามชา, มหาราช, เวทนา อุตุปริยาเมน อุปฺปชฺชติฯ วิสมปริหารชา เวทนา วิสมปริหาเรน อุปฺปชฺชติฯ โอปกฺกมิกา, มหาราช, เวทนา อตฺถิ กิริยา, อตฺถิ กมฺมวิปากา, กมฺมวิปากชา เวทนา ปุพฺเพ กเตน กมฺเมน อุปฺปชฺชติฯ

           

มหาราช มหาบพิตร เวทนา เวทนา อุตุปริณามชา ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น อุตุปริยาเมน เพราะความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ[11]. เวทนา เวทนา วิสมปริหารชา ที่เกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น วิสมปริหาเรน เพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ. มหาราช มหาบพิตร เวทนา เวทนา[12] โอปกฺกมิกา ที่เกิดจากความพยายาม กิริยา เพราะการกระทำ อตฺถิ ก็มี, กมฺมวิปากา เพราะวิบากแห่งกรรม อตฺถิ ก็มี[13], เวทนา เวทนา กมฺมวิปากชา ที่เกิดโดยเป็นวิบากแห่งกรรม อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด กมฺเมน เพราะกรรม กเตน อันทำแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่อน.

ขอถวายพระพร เวทนาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ. เวทนาที่เกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอ ก็ย่อมเกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอ. ขอถวายพระพร เวทนาที่มีความพยายามเป็นปัจจัย เพราะการกระทำ ก็มี เพราะวิบากของกรรม ก็มี. เวทนาที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม ย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ในกาลก่อน.

 

อิติ โข, มหาราช, อปฺปํ กมฺมวิปากชํ, พหุตรํ อวเสสํฯ ตตฺถ พาลา สพฺพํ กมฺมวิปากชํ เยวาติ อติธาวนฺติฯ ตํ กมฺมํ น สกฺกา วินา พุทฺธญาเณน ววตฺถานํ กาตุํฯ

 

มหาราช มหาบพิตร เวทยิตํ เวทนา กมฺมวิปากชํ อันเกิดจากกรรม อปฺปํ มีน้อย, เวทยิตํ เวทนา อวเสสํ ที่เหลือ พหุตรํ มีมากกว่า อิติ โข ดังกล่าวมานี้แล. ตตฺถ ในความข้อที่กล่าวมานั้น พาลา พวกคนพาล อติธาวนฺติ ย่อมคิดเลยเถิดไป อิติ ว่า สพฺพํ เวทยิตํ เวทนาทั้งปวง กมฺมวิปากชํ เอว เป็นเวทนาเกิดขึ้นโดยเป็นวิบากกรรมเท่านั้น (โหติ) ย่อมเป็น. วินา เว้น พุทฺธญาเนน จากพระพุทธญาณ เกนจิ ใครๆ น สกฺกา ไม่อาจ กาตุํ เพื่อกระทำ ววตฺถานํ ซึ่งการกำหนด ตํ กมฺมํ ซึ่งกรรมนั้นได้[14].

ขอถวายพระพร เวทนาที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม จัดว่ามีเพียงเล็กน้อย ดังกล่าวมานี้แล. เวทนาเหลือมีมากกว่าในความข้อที่ว่านั้น พวกคนพาลทั้งหลายย่อมคิดเลยเถิดไปว่า เวทนาทุกอย่างล้วนเกิดโดยเป็นวิบากของกรรม ดังนี้ ยกเว้นพระพุทธญาณแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจที่จะกำหนดกรรมนั้นได้หรอก.

 

‘‘ยํ ปน, มหาราช, ภควโต ปาโท สกลิกาย ขโต, ตํ เวทยิตํ เนว วาตสมุฏฺฐานํ, น ปิตฺตสมุฏฺฐานํ, น เสมฺหสมุฏฺฐานํ, น สนฺนิปาติกํ, น อุตุปริณามชํ, น วิสมปริหารชํ, น กมฺมวิปากชํ, โอปกฺกมิกํ เยวฯ เทวทตฺโต หิ, มหาราช, พหูนิ ชาติสตสหสฺสานิ ตถาคเต อาฆาตํ พนฺธิ, โส เตน อาฆาเตน มหติํ ครุํ สิลํ คเหตฺวามตฺถเก ปาเตสฺสามีติ มุญฺจิ, อถญฺเญ ทฺเว เสลา อาคนฺตฺวา ตํ สิลํ ตถาคตํ อสมฺปตฺตํ เยว สมฺปฏิจฺฉิํสุ, ตาสํ ปหาเรน ปปฏิกา ภิชฺชิตฺวา ภควโต ปาเท ปติตฺวา รุหิรํ  อุปฺปาเทสิ, กมฺมวิปากโต วา, มหาราช, ภควโต เอสา เวทนา นิพฺพตฺตา กิริยโต วา, ตตุทฺธํ นตฺถญฺญา เวทนาฯ

 

มหาราช มหาบพิตร  ปน ก็ ปาโท พระบาทข้างหนึ่ง ตถาคตสฺส ของพระตถาคต สกลิกาย อันสะเก็ดหิน ขโต กระทบแล้ว  ยํ =  เยน การเณน เพราะเหตุ ใด, เวทยิตํ เวทนา (สมุฏฺฐิตํ) อันเกิดขึ้นแล้ว ตํ = เตน การเณน เพราะเหตุนั้น วาตสมุฏฺฐานํ เป็นเวทนาอันเกิดขึ้นแต่ลม หามิได้ เอว นั่นเทียว (โหติ ย่อมเป็น), น สนฺนิปาติกํ เป็นเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะสันนิบาต หามิได้ (โหติ ย่อมเป็น), น ปิตฺตสมุฏฺฐานํ เป็นเวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐาน หามิได้ (โหติ ย่อมเป็น), เสมฺหสมุฏฺฐานํ เป็นเวทนาที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน หามิได้ (โหติ ย่อมเป็น), สนฺนิปาติกํ เป็นเวทนาอันเกิดจากสันนิบาต หามิได้ (โหติ ย่อมเป็น), อุตุปริณามชํ เป็นเวทนาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ หามิได้ (โหติ ย่อมเป็น), วิสมปริหารชํ เป็นเวทนาอันเกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอ หามิได้ (โหติ ย่อมเป็น), กมฺมวิปากชํ เป็นเวทนาที่เกิดโดยเป็นวิบากแห่งกรรม หามิได้ (โหติ ย่อมเป็น), โอปกฺกมิกํ เอว แต่เป็นเวทนาที่เกิดจากความพยายาม นั่นเทียว (โหติ) ย่อมเป็น[15], มหาราช มหาบพิตร หิ ก็ เทวทตฺโต พระเทวทัต พนฺธิ ผูกแล้ว อาฆาตํ ซึ่งอาฆาต ตถาคเต ในพระตถาคต ชาติสหสหสฺสานิ ตลอดแสนแห่งชาติ พหูนิ เป็นอันมาก, โส พระเทวทัตนั้น คเหตฺวา จับแล้ว สิลํ ซึ่งก้อนหิน มหติํ ก้อนใหญ่ ครุํ หนัก มุญฺจิ ปล่อยแล้ว จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า อหํ เรา สิลํ ยังหิน ปาเตสฺสามิ จักให้ตกไป มตฺถเก ที่ศีรษะ" ดังนี้ อาฆาเตน เพราะความอาฆาตนั้น, อถ ครั้งนั้น อญฺเญ เสลา หินทั้งหลาย ก้อนอื่น เทฺว อีกสองก้อน อาคนฺตฺวา กลิ้งมาแล้ว สมฺปฏิจฺฉิํสุ รับแล้ว สิลํ ซึ่งหิน ตํ ก้อนนั้น อสฺมปตฺตํ อันจวนถึง ตถาคตํ พระตถาคต, ปปฏิกา หินก้อนเล็กๆ (สะเก็ดหิน) ภิชฺชิตฺวา แตกออกแล้ว ปติตฺวา ตกไปแล้ว ปาเท ที่พระบาทข้างหนึ่ง ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ปหาเรน เพราะการกระแทก ตาสํ แห่งหินสองก้อนนั้น รุหิรํ ยังพระโลหิต อุปฺปาเทสิ ให้ห้อขึ้นแล้ว, มหาราช มหาบพิตร เอสา เวทนา เวทนานั้น นิพฺพตฺตา เกิดแล้ว กมฺมวิปากโต วา โดยเป็นวิบากแห่งกรรม ก็ได้, กิริยโต วา หรือ เพราะจากการกระทำ ก็ได้, เวทนา เวทนา อญฺญา อื่น ตตุทฺธํ (ต+อุทฺธํ) อันนอกเหนือ ตสฺมา จากเวทนาสองอย่างนั้น นตฺถิ ย่อมไม่มี.

ขอถวายพระพร ข้อที่พระบาทข้างหนึ่งของพระผู้มีพระภาคถูกสะเก็ดหินกระทบเอา ใด,  ข้อนั้นหาใช่เวทนาที่มีลมเป็นสมุฏฐานไม่ หาใช่เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานไม่ หาใช่เวทนาที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐานไม่ หาใช่เวทนาที่เกิดจากสันนิบาตไม่ หาใช่เวทนาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุไม่ หาใช่เวทนาที่เกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอไม่ หาใช่เวทนาที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรมไม่. ทว่า เป็นเวทนาที่เกิดจากความพยายามนั่นเทียว. ขอถวายพระพร พระเทวทัตผูกอาฆาตในพระตถาคตติดต่อกันมาตลอดหลายแสนชาติ งัดหินก้อนใหญ่หนักขึ้นมา ด้วยหมายใจว่า เราจักกลิ้งให้ตกไปโดนหัว ดังนี้ แล้วปล่อยให้กลิ้งลงมา. ลำดับนั้น ก็มีหินอื่น ๒ ก้อน (โผล่ขึ้น) มารับเอาหินใหญ่ที่มาจวนถึงพระตถาคตก้อนนั้นเอาไว้ได้ เพราะก้อนหินเหล่านั้นมากระทบกระทั่งกัน ก็เกิดสะเก็ดหินปริออก กระเด็นไปกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค ทำพระโลหิตให้ห้อขึ้น. ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เวทนาของพระผู้มีพระภาคนี้ จะจัดว่าเป็นเวทนาที่บังเกิดโดยเป็นวิบากของกรรมก็ได้ เป็นเวทนาที่บังเกิดจากการกระทำก็ได้, ไม่มีเวทนาอื่นนอกเหนือไปจากเวทนา ๒ อย่างนั้น.

 

‘‘ยถา, มหาราช, เขตฺตทุฏฺฐตาย วา พีชํ น สมฺภวติ พีชทุฏฺฐตาย วาฯ เอวเมว โข, มหาราช, กมฺมวิปากโต วา ภควโต เอสา เวทนา นิพฺพตฺตา กิริยโต วา, ตตุทฺธํ นตฺถญฺญา เวทนาฯ

 

มหาราช มหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า เขตฺตทุฏฺฐตาย วา เพราะสถานที่เพาะปลูกไม่ดี พีชทุฏฺฐตาย วา เพราะความเป็นเมล็ดพืชไม่ดี พีชํ เมล็ดพืช สมฺภวติ จึงงอกดี ไม่ได้ ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เอสา เวทนา เวทนาของพระผู้มีพระภาคนี้ นิพฺพตฺตา เกิดขึ้น กมฺมวิปากโต วา โดยเป็นวิบากแห่งกรรม ก็ได้, กิริยโต วา เพราะการกระทำ ก็ได้ เวทนา เวทนา อญฺญา อื่น ตตุทฺธํ อันนอกเหนือจากเวทนาสองอย่างนั้น นตฺถิ ย่อมไม่มี เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว.[16]

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า เพราะสถานที่เพาะปลูกไม่ดี หรือเพราะความเป็นเมล็ดพืชที่ไม่ดี เมล็ดพืชจึงงอก (ออกหน่อ) ดีไม่ได้ ฉันใด, เวทนาของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นเวทนาที่บังเกิดโดยวิบากของกรรมก็ได้ เป็นเวทนาที่บังเกิดจากการกระทำก็ได้.  ไม่มีเวทนาอื่นที่นอกเหนือไปจากเวทนา ๒ อย่างนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, โกฏฺฐทุฏฺฐตาย วา โภชนํ วิสมํ ปริณมติ อาหารทุฏฺฐตาย วา, เอวเมว โข, มหาราช, กมฺมวิปากโต วา ภควโต เอสา เวทนา นิพฺพตฺตา กิริยโต วา, ตตุทฺธํ นตฺถญฺญา เวทนาฯ

 

มหาราช มหาบพิตร ยถา วา ปน ก็อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า โกฏฺฐทุฏฺฐตาย วา เพราะมีที่เก็บไม่ดี อาหารทุฏฺฐตาย วา หรือเพราะเป็นอาหารไม่ดี โภชนํ อาหาร ปริณมติ ย่อมกลายเป็น วิสมํ ของแสลง (อาหารเป็นพิษ, ไม่ควรกิน) ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เอสา เวทนา เวทนาของพระผู้มีพระภาคนี้ นิพฺพตฺตา เกิดขึ้น กมฺมวิปากโต วา โดยเป็นวิบากแห่งกรรม ก็ได้, กิริยโต วา เพราะการกระทำ ก็ได้ เวทนา เวทนา อญฺญา อื่น ตตุทฺธํ อันนอกเหนือจากเวทนาสองอย่างนั้น นตฺถิ ย่อมไม่มี[17] เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว[18].

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า เพราะมีที่เก็บไม่ดี หรือเพราะเป็นอาหารที่ไม่ดี ของกินจึงกลายเป็นของแสลง (ไม่ควรกิน) ไป ฉันใด, ขอถวายพระพร เวทนาของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นเวทนาที่บังเกิดโดยเป็นวิบากของกรรมก็ได้ เป็นเวทนาที่บังเกิดจากการกระทำก็ได้ ไม่มีเวทนาอื่นที่นอกเหนือไปจากเวทนา ๒ อย่างนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

 

อปิ จ, มหาราช, นตฺถิ ภควโต กมฺมวิปากชา เวทนา, นตฺถิ วิสมปริหารชา เวทนา, อวเสเสหิ สมุฏฺฐาเนหิ ภควโต เวทนา อุปฺปชฺชติ, ตาย จ ปน เวทนาย น สกฺกา ภควนฺตํ ชีวิตา โวโรเปตุํฯ

 

มหาราช มหาบพิตร อปิจ อีกอย่างหนึ่ง กมฺมวิปากชา เวทนาอันเกิดขึ้นโดยเป็นวิบากแห่งกรรม ภควโต ของพระผู้มีพระภาค นตฺถิ ย่อมไม่มี, วิสมปริหารชา เวทนาที่เกิดจากการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ นตฺถิ ย่อมไม่มี,  เวทนา เวทนา  ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด สมุฏฺฐาเนหิ จากสมุฏฐานทั้งหลาย อวเสสหิ อันเหลือ, จ ปน ก็แล ตาย เวทนาย อันเวทนานั้น น สกฺกา ไม่อาจ โวโรเปตุํ เพื่อปลงลง ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาค ชีวิตา จากชีวิต.

ขอถวายพระพร อีกนัยหนึ่ง สำหรับพระผู้มีพระภาค หาทรงมีเวทนาที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรมไม่, หาทรงมีเวทนาที่เกิดจากการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอไม่, พระผู้มีพระภาคทรงเกิดเวทนาจากสมุฏฐานที่เหลือ. แต่ว่า เวทนานั้น ไม่อาจจะปลงพระชนม์ชีพของพระผู้มีพระภาคได้.

 

‘‘นิปตนฺติ, มหาราช, อิมสฺมิํ จาตุมหาภูติเก กาเย อิฏฺฐานิฏฺฐา สุภาสุภเวทนาฯ อิธ, มหาราช, อากาเส ขิตฺโต เลฑฺฑุ มหาปถวิยา นิปตติ, อปิ นุ โข โส, มหาราช, เลฑฺฑุ ปุพฺเพ กเตน มหาปถวิยา นิปตี’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร สุภาสุภเวทนา เวทนาที่ดีและไม่ดี อิฏฺฐานิฏฺฐา ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา นิปตนฺติ ย่อมประชุมลง อิมสฺมิํ กาเย ในกาย นี้ จาตุมหาภูติเก อันประกอบด้วยมหาภูต ๔, มหาราช มหาบพิตร เลฑฺฑุ ก้อนดิน ขิตฺโต ที่ถูกขว้างไป อากาเส ในอากาศ นิปติ ย่อมตกลง มหาปถวิยา บนแผ่นดินใหญ่ อิธ นี้, มหาราช มหาบพิตร โส เลฑฺฑุ ก้อนดินนั้น นิปติ ย่อมตกลง มหาปถวิยา บนแผ่นดินใหญ (มหาปถวิยา) กเตน (กมฺเมน) เพราะกรรมอันแผ่นดินใหญ่ทำแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่อน อปิ นุ โข หรือหนอแล ดังนี้.

ขอถวายพระพร มหาบพิตร เวทนาที่ดีและไม่ดี ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ย่อมประชุมกันอยู่ในกายอันประกอบด้วยมหาภูต ๔ นี้, ขอถวายพระพร ก้อนดินที่เขาขว้างไปในอากาศ ย่อมตกลงมาที่แผ่นดินใหญ่นี้, ขอถวายพระพร ก้อนดินนั้นตกลงมาที่แผ่นดินใหญ่ได้ เพราะกรรมที่แผ่นดินใหญ่ได้ทำกรรมไว้หรือไร ?”

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, นตฺถิ โส, ภนฺเต, เหตุ มหาปถวิยา, เยน เหตุนา มหาปถวี กุสลากุสลวิปากํ ปฏิสํเวเทยฺย, ปจฺจุปฺปนฺเนน, ภนฺเต, อกมฺมเกน เหตุนา โส เลฑฺฑุ มหาปถวิยํ นิปตติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หามิได้, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, มหาปถวี แผ่นดินใหญ่ ปฏิสํเวเทยฺย พึงเสวย กุสลากุสลวิปากํ ซึ่งวิบากของกุศลและอกุศล เยน เหตุนา เพราะเหตุใด,  โส เหตุ เหตุนั้น มหาปถวิยา แห่งแผ่นดินใหญ่ นตฺถิ ย่อมไม่มี, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส เลฑฺฑุ ก้อนดิน นิปตติ ย่อมตกลง มหาปถวิยํ บนแผ่นดินใหญ่ เหตุนา เพราะเหตุ ปจฺจุปนฺเนน อันเป็นปัจจุบัน อกมฺมเกน ซึ่งมิได้เกิดแต่กรรม.

พระเจ้ามิลินท์ หามิได้ พระคุณเจ้า เหตุที่ทำให้แผ่นดินใหญ่ พึงเสวยวิบากของกุศลและอกุศล หามีไม่.  พระคุณเจ้า ก้อนดินนั้นตกลงมาที่แผ่นดินใหญ่ เพราะเหตุปัจจัยที่ไม่ใช่กรรม

 

ยถา, มหาราช, มหาปถวี, เอวํ ตถาคโต ทฏฺฐพฺโพฯ ยถา เลฑฺฑุ ปุพฺเพ อกเตน มหาปถวิยํ นิปตติ, เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคตสฺส ปุพฺเพ อกเตน สา สกลิกาปาเท นิปติตาฯ           

 

มหาราช มหาบพิตร มหาปถวี แผ่นดินใหญ่ โหติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, ตถาคโต พระตถาคต (ตยา) อันมหาบพิตร ทฎฺฐพฺโพ พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น, ยถา เปรียบเหมือนว่า เลฑฺฑุ ก้อนดิน นิปตติ ย่อมตกลงไป มหาปถวิยํ ที่แผ่นดินใหญ่ (อญฺเญน เหตุนา) เพราะเหตุอื่น อกเตน อันไม่ใช่กรรม ที่แผ่นดินใหญ่นั้นได้กระทำไว้ ปุพฺเพ ในกาลก่อน ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร สา สกลิกา สะเก็ดหินนั้น นิปติตา ตกลงไปแล้ว ปาเท ที่พระบาทข้างหนึ่ง ตถาคตสฺส ของพระตถาคต (อญฺเญน เหตุนา) เพราะเหตุอื่น อกเตน อันไม่ใช่กรรมอันพระตถาคตทรงกระทำแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่อน เอวเมว โข ฉันนั้นนันเทียว แล.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร พึงเห็นว่า พระตถาคตทรงเปรียบได้ด้วยแผ่นดินใหญ่เถิด.  ก้อนดินตกลงมาที่แผ่นดินใหญ่ได้เพราะเหตุ (อื่น) อันไม่ใช่กรรมที่แผ่นดินใหญ่ทำไว้ ในกาลก่อน ฉันใด, สะเก็ดหินนั้นก็ตกลงมาที่พระบาทของพระตถาคต เพราะเหตุ (อื่น) อันไม่ใช่กรรมที่พระตถาคตทรงทำไว้ในกาลก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน.

 

‘‘อิธ ปน, มหาราช, มนุสฺสา มหาปถวิํ ภินฺทนฺติ จ ขณนฺติ จ, อปิ นุ โข, มหาราช, เต มนุสฺสา ปุพฺเพ กเตน มหาปถวิํ ภินฺทนฺติ จ ขณนฺติ จา’’ติ?

 

ปน ก็ มหาราช มหาบพิตร มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลาย อิธ ในโลกนี้ ภินฺทนฺติ จ ย่อมตัด ขณนฺติ จ และย่อมขุด มหาปถวิํ ซึ่งแผ่นดินใหญ่, มหาราช มหาบพิตร เต มนุสฺสา มนุษย์เหล่านั้น ภินฺทนฺติ จ ย่อมตัด ขณนฺติ จ และย่อมขุด มหาปถวิํ ซึ่งแผ่นดินใหญ่ (กมฺเมน) เพราะกรรม (มหาปถวิยา) อันแผ่นดินใหญ่ กเตน ทำแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่อน อปิ นุ โข หรือหนอแล? ดังนี้.

ขอถวายพระพร พวกคนทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมตัดและขุดแผ่นดินใหญ่ ขอถวายพระพร แผ่นดินใหญ่ถูกคนเหล่านั้นตัดและขุด เพราะแผ่นดินใหญ่ได้ทำกรรมไว้หรือหนอ ?”

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เต มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ภินฺทนฺติ จ ย่อมตัด ขณนฺติ จ และย่อมขุด มหาปถวิํ ซึ่งแผ่นดินใหญ่ (กมฺเมน) เพราะกรรม (มหาปถวิยา) อันแผ่นดินใหญ่ กเตน ทำแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่อน หามิได้ ดังนี้

พระเจ้ามิลินท์ หามิได้ พระคุณเจ้า

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ยา สา สกลิกา ภควโต ปาเท นิปติตา, น สา สกลิกา ปุพฺเพ กเตน ภควโต ปาเท นิปติตาฯ โยปิ, มหาราช, ภควโต โลหิตปกฺขนฺทิกาพาโธ อุปฺปนฺโน, โสปิ อาพาโธ น ปุพฺเพ กเตน อุปฺปนฺโน, สนฺนิปาติเกเนว อุปฺปนฺโน, เย เกจิ, มหาราช, ภควโต กายิกา อาพาธา อุปฺปนฺนา, น เต กมฺมาภินิพฺพตฺตา, ฉนฺนํ เอเตสํ สมุฏฺฐานานํ อญฺญตรโต นิพฺพตฺตาฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ยา สา สากลิกา สะเก็ดหินนั้น ใด นิปติตา ตกลงไปแล้ว ปาเท ที่พระบาทข้างหนึ่ง ภควโต ของพระผู้มีพระมีภาค (กมฺเมน) เพราะกรรม (ตถาคเตน) อันพระตถาคต กเตน ทรงกระทำแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่่อน หามิได้ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล. มหาราช มหาบพิตร โลหิตปกฺขนฺทิกาพาโธ พระอาพาธ โรคบิด ภควโต ของพระผู้มีพระภาค โยปิ แม้ใด อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว, โสปิ อาพาโธ แม้พระอาพาธนั้น อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว กเตน เพราะกรรม อันทรงกระทำแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่อน หามิได้, อุปฺปนฺโน แต่เกิดขึ้นแล้ว สนฺนิปาติเกเนว เพราะสันนิบาตเท่านั้น, มหาราช มหาบพิตร เย เกจิ อาพาธา กายิกา พระอาพาธทางกาย อย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว, เต อาพาธา พระอาพาธเหล่านั้น กมฺมาภินิพฺพตฺตา เกิดขึ้นแล้วเพราะกรรม หามิได้, นิพฺพตฺตา แต่เกิดขึ้นแล้ว อญฺญตรโต เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉนฺนํ เอเตสํ สมุฏฺฐานานํ แห่งสมุฏฐานทั้งหลาย ๖ เหล่านี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นนั่นเทียว.  สะเก็ดหินที่ตกไป (กระทบ) พระบาทของพระผู้มีพระภาคนั้น ก็หาได้ตกไป (กระทบ) พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงได้ทำกรรมไว้ในกาลก่อนไม่.  ขอถวายพระพร แม้พระอาพาธโรคบิดที่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ก็หาได้เกิดขึ้นเพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงกระทำกรรมไว้ในกาลก่อนไม่. ขอถวายพระพร พระอาพาธทางพระวรกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดแก่พระผู้มีพระภาค พระอาพาธเหล่านั้น หาบังเกิดเพราะกรรมไม่ (ทว่า) บังเกิดเพราะสมุฏฐาน ๖ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง.

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา เทวาติเทเวน สํยุตฺตนิกายวรลญฺฉเก โมฬิยสีวเก [โมลิยสิวเก (สฺยา. ก.) สํ. นิ. ๔.๒๖๙ ปสฺสิตพฺพํ] เวยฺยากรเณ

 

มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระพุทธวจนะนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค เทวาติเทเวน ผู้ทรงเป็นเทพยิ่งเหล่าเทพ ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตแล้ว โมฬิยสีวเก พฺยากรเณ ในเวยยากรณชื่อโมลิยสิวกา สํยุตฺตนิกายวรลญฺฉเก ดังดวงตราประทับไวในสังยุตตนิกายอันประเสริฐ[19] อิติ ว่า

ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเหล่าเทพทั้งหลาย ได้ทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ในสังยุตตนิกาย ในโมฬิยสีวกพยากรณ์ว่า

 

‘‘‘ปิตฺตสมุฏฺฐานานิปิ โข, สีวก, อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ สามมฺปิ โข เอตํ, สีวก, เวทิตพฺพํ, ยถา ปิตฺตสมุฏฺฐานานิปิ อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ โลกสฺสปิ โข เอตํ, สีวก, สจฺจสมฺมตํ, ยถา ปิตฺตสมุฏฺฐานานิปิ อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ

 

สีวก ดูก่อนสีวกะ เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง ปิตฺตสมุฏฺฐานานิปิ โข แม้ที่มีดีเป็นสมุฏฐาน อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น อิธ ในโลกนี้, สีวก ดูก่อนสีวกะ  เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง ปิตฺตสมุฏฺฐานานิปิ โข แม้ที่มีดีเป็นสมุฏฐาน อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น อิธ ในโลกนี้ ยถา โดยประการใด, เตสํ ปิตฺตสมุฏฺฐานานํ เวทยิตานํ เอตํ อุปฺปชฺชนํ การเกิดขึ้นแห่งเวทนาอันมีดีเป็นสมุฏฐานเหล่านั้น อย่างนี้ อตฺตโนปิ แม้อันตน เวทิตพฺพํ พึงรู้ สามํ เอง. สีวก ดูก่อนสีวกะ เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลาย เอกจฺจานิ บางอย่าง ปิตฺตสมุฏฺฐานานิปิ โข แม้ที่มีดีเป็นสมุฏฐาน อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น อิธ ในโลกนี้ ยถา โดยประการใด, เอตํ (เตสํ ปิตฺตสมุฏฺฐานานํ เวทยิตานํ อุปฺปชฺชนํ) การเกิดขึ้นแห่งเวทนาอันมีดีเป็นสมุฏฐานเหล่านั้น อย่างนี้ โลกสฺส อันชาวโลก สจฺจสมฺมตํ รับรู้ว่าเป็นจริง[20].

สีวกะ เวทนาบางอย่างที่มีดีเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้.  ข้อที่ว่าเวทนาบางอย่างที่มีดีเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ นี้,  แม้เราเองก็รับรู้ว่าจริงตามอย่างที่มันเป็น,  ข้อที่เวทนาบางอย่างที่มีดีเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ นี้แม้ชาวโลกก็มีการรับรู้กันว่าจริงตามอย่างที่มันเป็น.

 

ตตฺร, สีวก, เย เต สมณพฺราหฺมณา เอวํวาทิโน เอวํทิฏฺฐิโน ‘‘ยํ กิญฺจายํ ปุริสปุคฺคโล ปฏิสํเวเทติ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา, สพฺพํ ตํ ปุพฺเพ กตเหตู’’ติฯ ยญฺจ สามํ ญาตํ, ตญฺจ อติธาวนฺติ, ยญฺจ โลเก สจฺจสมฺมตํ, ตญฺจ อติธาวนฺติฯ ตสฺมา เตสํ สมณพฺราหฺมณานํ มิจฺฉาติ วทามิฯ

 

สีวก ดูก่อนสีวกะ ตตฺร ในเรื่องนี้ เย เต สมณพฺราหฺมณา สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นใด เอวํวาทิโน มีวาทะอย่างนี้ เอวํทิฏฺฐิโน มีทิฏฐิอย่างนี้ อิติ ว่า อยํ ปุริสปุคฺคโล บุรุษบุคคล นี้ ปฏิสํเวเทติ ย่อมเสวย ยํ กิญฺจิ เวทยิตํ ซึ่งเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขํ วาจะเป็นสุข ก็ตาม ทุกฺขํ วา จะเป็นทุกข์ก็ตาม อทุกฺขมสุขํ วา ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ตาม, สพฺพํ ตํ เวทยิตํ เวทนานั้นทั้งหมด ปุพฺเพ กตเหตุ มีกรรมอันทำแล้วในกาลก่อนเป็นเหตุ ดังนี้. ยํ จ เวทนาใด ญาตํ อันตนรับรู้แล้ว สามํ เอง, เต สมณพฺราหฺมณา สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น อติธาวนฺติ ย่อมคิดเลยเถิดไป ตํ เวทนํ ซึ่งเวทนานั้น, ยํ จ วตฺถุ สิ่งใด สจฺจสมฺมุตํ เป็นสิ่งอันเขารับรู้กัน โลเก ในโลก, เต สมณพฺราหฺมณา สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น อติธาวนฺติ ย่อมคิดเลยเถิดไป ตํ วตฺถุํ ซึ่งเรื่องนั้น,  ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อหํ ตถาคต วทามิ ขอกล่าว อิติ ว่า ทิฏฺฐิ ความเห็น เตสํ สมณพฺราหฺมณานํ แห่งสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น มิจฺฉา ผิด ดังนี้.

สีวกะ ในเรื่องนี้ สมณะและพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "บุรุษบุคคลเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้นมีกรรมที่ทำไว้ในกาลก่อนเป็นเหตุ" ดังนี้ ใด,  สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมคิดเลยเถิดสิ่งที่เราเองก็รับรู้ ชื่อว่าย่อมคิดเลยเถิดสิ่งที่ชาวโลกก็รับรู้กันอยู่ว่าเป็นจริง. เพราะฉะนั้น เราขอกล่าวว่า พวกสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะและทิฏฐิที่ผิดพลาด.

 

‘‘‘เสมฺหสมุฏฺฐานานิปิ โข, สีวก, อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ วาตสมุฏฺฐานานิปิ โข, สีวกเป.สนฺนิปาติกานิปิ โข, สีวกเป.อุตุปริณามชานิปิ โข, สีวกเป.วิสมปริหารชานิปิ โข, สีวกเป.โอปกฺกมิกานิปิ โข, สีวกเป.กมฺมวิปากชานิปิ โข, สีวก, อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ สามมฺปิ โข เอตํ, สีวก, เวทิตพฺพํ, ยถา กมฺมวิปากชานิปิ อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ

 

สีวก ดูก่อนสีวกะ เอกจฺจานิ เวทยิตานิ เวทนาทั้งหลายบางอย่าง เสมฺหสมุฏฺฐานานิปิ โข แม้ที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น อิธ ในโลกนี้, สีวก ดูก่อนสีวกะ วาตสมุฏฺฐานานิปิ โข,  เวทนาบางอย่างแม้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ สีวก ดูก่อนสีวกะ สนฺนิปาติกานิปิ โข แม้ที่มีสันนิบาตเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ สีวก ดูก่อนสีวกะ อุตุปริณามชานิปิ โข แม้ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ ฯลฯ สีวก ดูก่อนสีวกะ วิสมปริหารชานิปิ โข แม้ที่เกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ โอปกฺกมิกานิปิ โข แม้ที่เกิดจากความพยายาม ฯลฯ  สีวก ดูก่อนสีวกะ เอกจฺจานิ เวทยิตานิ เวทนาบางอย่าง กมฺมวิปากชานิปิ โข แม้ที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม, อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น โลเก ในโลกนี้.

สีวกะ เวทนาบางอย่างแม้ที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เวทนาบางอย่างแม้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ แม้ที่มีสันนิบาตเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ แม้ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ ฯลฯ แม้ที่เกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ แม้ที่เกิดจากความพยายาม ฯลฯ แม้ที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้.

 

โลกสฺสปิ โข เอตํ, สีวก, สจฺจสมฺมตํ, ยถา กมฺมวิปากชานิปิ อิเธกจฺจานิ เวทยิตานิ อุปฺปชฺชนฺติฯ

 

สีวก ดูก่อนสีวกะ เอกจฺจานิ เวทยิตานิ เวทนาบางอย่าง กมฺมวิปากชานิปิ โข แม้ที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม, อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น โลเก ในโลกนี้ ยถา โดยประการใด, เอตํ (เตสํ กมฺมวิปากชานํ เวทยิตานํ อุปฺปชฺชนํ) การเกิดขึ้นแห่งเวทนาอันเกิดจากกรรมเหล่านั้น อย่างนี้ โลกสฺส อันชาวโลก สจฺจสมฺมตํ รับรู้ว่าเป็นจริง.

ข้อที่เวทนาบางอย่างที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ นี้ แม้ชาวโลกก็รับรู้ว่าจริงตามอย่างที่มันเป็น.

 

ตตฺร, สีวก, เย เต สมณพฺราหฺมณา เอวํวาทิโน เอวํทิฏฺฐิโน ‘‘ยํ กิญฺจายํ ปุริสปุคฺคโล ปฏิสํเวเทติ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา, สพฺพํ ตํ ปุพฺเพ กตเหตู’’ติฯ ยญฺจ สามํ ญาตํ, ตญฺจ อติธาวนฺติ, ยญฺจ โลเก สจฺจสมฺมตํ, ตญฺจ อติธาวนฺติฯ ตสฺมา เตสํ สมณพฺราหฺมณานํ มิจฺฉาติ วทามี’’’ติฯ

 

สีวก ดูก่อนสีวกะ ตตฺร ในเรื่องนี้ เย เต สมณพฺราหฺมณา สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นใด เอวํวาทิโน มีวาทะอย่างนี้ เอวํทิฏฺฐิโน มีทิฏฐิอย่างนี้ อิติ ว่า อยํ ปุริสปุคฺคโล บุรุษบุคคล นี้ ปฏิสํเวเทติ ย่อมเสวย ยํ กิญฺจิ เวทยิตํ ซึ่งเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขํ วา จะเป็นสุข ก็ตาม ทุกฺขํ วา จะเป็นทุกข์ก็ตาม อทุกฺขมสุขํ วา ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ตาม, สพฺพํ ตํ เวทยิตํ เวทนานั้นทั้งหมด ปุพฺเพ กตเหตุ มีกรรมอันทำแล้วในกาลก่อนเป็นเหตุ ดังนี้. ยํ จ เวทนาใด ญาตํ อันตนรับรู้แล้ว สามํ เอง, เต สมณพฺราหฺมณา สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น อติธาวนฺติ ย่อมแล่นเลยเถิดไป ตํ เวทนํ ซึ่งเวทนานั้น, ยํ จ วตฺถุ สิ่งใด สจฺจสมฺมุตํ เป็นสิ่งอันเขารับรู้กัน โลเก ในโลก, เต สมณพฺราหฺมณา สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น อติธาวนฺติ ย่อมคิดเลยเถิดไป ตํ วตฺถุํ ซึ่งเรื่องนั้น,  ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อหํ ตถาคต วทามิ ขอกล่าว อิติ ว่า ทิฏฺฐิ ความเห็น เตสํ สมณพฺราหฺมณานํ แห่งสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น มิจฺฉา ผิด ดังนี้.

สีวกะ ในเรื่องนั้น สมณะและพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "บุรุษบุคคลเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้น มีกรรมที่ทำไว้ในกาลก่อนเป็นเหตุ" ดังนี้ ใด, สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมคิดเลยเถิดสิ่งที่เราเองรับรู้ ชื่อว่าย่อมคิดเลยเถิดสิ่งที่ชาวโลกรับรู้กันอยู่ว่าเป็นจริง เพราะฉะนั้น เราขอกล่าวว่า พวกสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะและทิฏฐิที่ผิดพลาด ดังนี้

 

‘‘อิติปิ, มหาราช, น สพฺพา เวทนา กมฺมวิปากชา, สพฺพํ, มหาราช, อกุสลํ ฌาเปตฺวา ภควา สพฺพญฺญุตํ ปตฺโตติ เอวเมตํ ธาเรหี’’ติฯ

           

มหาราช มหาบพิตร อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ สพฺพา เวทนา เวทนาทั้งหมด กมฺมวิปากชา  เป็นเวทนาอันเกิดขึ้นโดยเป็นวิบากของกรรม หามิได้ (โหนฺติ) ย่อมเป็น, มหาราช มหาบพิตร ตฺวํ ขอมหาบพิตร ธาเรหิ จงทรงไว้ เอตํ ซึ่งความข้อนี้ เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า ภควา พระผู้มีพระภาค ฌาเปตฺวา ทรงเผาแล้ว อกุสลํ ซึ่งอกุศล สพฺพํ ทั้งปวง ปตฺโต ทรงบรรลุแล้ว สพฺพญฺญุตํ ซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู ดังนี้.

ขอถวายพระพร แม้เพราะเหตุนี้ เวทนาทุกอย่าง หาล้วนเกิดโดยเป็นวิบากของกรรมแต่อย่างเดียวไม่.  ขอถวายพระพร ขอพระองค์จงทรงยอมรับความข้อนี้อย่างนี้เถิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ทรงเผาอกุศลได้ทั้งหมด

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีจริง,  ยํ วจนํ คำใด ตยา วุตฺตํ อันท่านกล่าวแล้ว ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ วจนํ ซึ่งความข้อนี้ ตถา โดยประการนั้น เอวํ อย่างนี้ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้ายอมรับความข้อนี้ตามประการที่ท่านได้กล่าวมานี้

 

อกุสลจฺเฉทนปญฺโห อฏฺฐโมฯ

 

อกุสลจฺเฉทนปญฺโห  ปัญหาว่าด้วยการตัดอกุศลกรรมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อฏฺฐโม ลำดับที่ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

***

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



[1] ฉบับไทยเป็น ฌาปยิตฺวา. ทั้ง ๒ รูป มาจาก ฌป ธาตุ จุราทิคณะ ในอรรถว่า ทาเห = เผา, ไหม้. ลง เณ หรือ ณย วิกรณปัจจัยในอรรถกัตตาแปลว่า เผา หรือ ไหม้ เช่น ฌาเปติ ย่อมเผา, ย่อมไหม้ ฌาปยติ ย่อมเผา, ย่อมไหม้.  ธาตุนี้ เมื่อลงการิตปัจจัย จะเป็นรูปว่า ฌาปาเปติ (นีติ.ธาตุ., ฌป ธาตุ) ดังนั้น รูปนี้และฌาปยิตฺวานั้น ใช้ในอรรถกัตตา หากจะให้เป็นเหตุกัตตา ควรเป็น ฌาปาเปตฺวา หรือ ฌาปาปยิตฺวา.

[2] สพฺพญฺญุตํ  (สพฺพญฺญู + ตา ภาวตัทธิต) ความเป็นพระสัพพัญญู หมายถึง พระสัพพัญญุตญาณ.

[3] อรรถกถามิลินทปัญหาอธิบายว่า คำว่า เผาอกุศลทั้งสิ้น หมายถึง เผาอกุศลทั้งหมดที่เป็นอดีต, อนาคต และปัจจุบัน. บรรดาอกุศลทั้งสามกาลนั้น ช้อที่ทรงถามว่า ทุกขเวทนา ที่เคยเกิดขึ้นในพระกายของพระตถาคต มีอยู่หรือ ดังนี้ ทรงหมายถึงทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทรงกระทำแล้วในกาลก่อน. และด้วยคำนี้ว่า ที่กรุงราชคฤห์ พระบาทข้างหนึ่งของพระตถาคตถูกสะเก็ดหินกระทบเอา ดังนี้เป็นต้น แสดงว่า ทุกขเวทนา เป็นพระอาพาธหรือความเจ็บปวด (มิลินฺท.อ.).  ข้อความช่วงนี้สรุปใจความว่า พระตถาคตทรงเป็นผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เผาอกุศลได้หมดหรือ หรือว่าทรงเป็นผู้บรรลุสัพพัญญุตญาณ ในเมื่อยังมีอกุศลเหลืออยู่ ยังไม่ทรงเผาได้หมดเล่า? ในคำเหล่านั้น คำว่า อกุศล พระราชาตรัสหมายเอาอกุศลกรรมที่เป็นเหตุแห่งทุกขเวทนา (คำอธิบายของอ.ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์)

[4] ข้อความตั้งแต่ ภควโต ปาโท สกฺขลิกาย ขโต พระบาทข้างหนึ่งของพระผุ้มีพระภาค อันสะเก็ดหินกระทบแล้ว ดังนี้เป็นต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงความที่ทุกขเวทนาทางกายได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค แม้ทรงสิ้นอกุศลกรรมทั้งปวงแล้ว.

[5] เนื่องจาก พระเจ้ามิลินท์ทรงเห็นว่า เวทนาที่บุคคลได้รับ มีเหตุมาจากอกุศลกรรมเก่าเป็นเหตุด้วยกันทั้งสิ้น จึงตั้งปัญหาที่มีสองแง่มุม มีความขัดแย้งต่อกัน คือ ถ้าอกุศลกรรมหมด ก็จะไม่ต้องเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ อันเป็นผลมาจากอกุศลกรรม ดังนั้น ถ้าหากพระตถาคตทรงเผาอกุศลกรรมได้ทั้งหมด ไม่มีอกุศลกรรมเหลืออยู่จริงไซร้ พระองค์ก็จะไม่ทรงเสวยทุกขเวทนาไร ๆ อีก เพราะไม่มีเหตุคืออกุศลกรรมนั้น เพราะฉะนั้น คำที่ว่า พระบาทข้างหนึ่งถูกสะเก็ดหินกระทบเป็นต้น เป็นความจริงไซร้ ก็เป็นอันว่ายังทรงเผาอกุศลกรรมได้ไม่หมด ยังมีส่วนเหลืออยู่ เพราะฉะนั้น คำที่ว่า พระตถาคตเผาอกุศลกรรมได้ทั้งหมด ดังนี้ ก็ย่อมเป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้อง ไม่จริง.

[6] เวทนา มีชื่ออีกอย่างหนึ่ง เวทยิตํ (ธาน.๑๖๔) คำว่า สพฺพํ ตํ เวทิยตํ กมฺมมูลกํ หมายถึง เวทนาทั้งที่เป็นทุกข์ สุข และอุเบกขา ล้วนมีกรรมเคยทำไว้แล้วเป็นเหตุ.  พระเจ้ามิลินท์ทรงมีความเห็นว่า พระพุทธองค์แม้จะทรงกำจัดอกุศลกรรมอันเป็นเหตุแห่งเวทนาแล้ว ไฉนยังได้รับทุกขเวทนาดังกล่าวมานั้นอีก. เพราะฉะนั้น คำที่ว่า พระคุณเจ้า เว้นกรรมเสียเท่านั้น เวทนาก็หามีได้ไม่ เวทนาทั้งหมดล้วนมีกรรมเป็นมูล จึงหมายความว่า เว้นกรรม คือ กุศลกรรม อกุศลกรรมเสียอย่างเดียว เวทนาทั้งหลาย จะเป็นสุขเวทนาก็ตาม ทุกขเวทนาก็ตาม อุเบกขาเวทนาก็ตาม หามีได้ไม่ เวทนาทั้งหมด ล้วนมีกรรมเป็นมูลคือเป็นรากเหง้า ทำให้ผุดโผล่คือทำให้เกิด หรือว่าเป็นมูลคือเป็นเหตุที่เป็นประธาน ก็พระอาพาธคือความเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งหลายของพระตถาคตเป็นทุกขเวทนา ย่อมมีได้เพราะอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น พระตถาคตยังทรงมีอกุศลกรรมอยู่ ยังทรงเผาคือยังทรงละได้ไม่หมด.

[7] อรรถกถามิลินท์แสดงว่า ข้อความว่า กตเมหิ อฏฺฐหิ เหตุ ๘ อย่างอะไรบ้างนี้ เป็นคำถามของพระเจ้ามิลินท์ เมื่อถือเอาคำอธิบายดังนี้ จึงประกอบปาฐเสสะว่า มิลินฺโท ราชา "เยหิ การเณหิ ปุถู สตฺตา เวทนา เวทิยนฺติ, กตเมหิ อฏฺฐหิ" อิติ ปุจฺฉิ พระเจ้ามิลินท์รับสั่งถามว่า สัตว์ทั้งหลาย โดยมาก ย่อมเสวยเวทนา เพราะปัจจัยทั้งหลายเหล่าใด, เหตุปัจจัยทั้งหลาย ๘ เหล่านั้น อะไรบ้าง. แต่ในที่นี้เรียงตามปาฐะที่ปรากฏ.

 

[8] การณ ศัพท์ในที่นี้ หมายถึง เป็นปัจจัย (มิ.อฏฺ) ด้วยคำนี้แสดงว่า เหตุทั้ง ๘ นี้ ไม่ใช่เหตุเกิดขึ้นโดยตรงแห่งทุกขเวทนา.

[9] ข้อที่ว่า อฏฺฐหิ เพราะเหตุ ๘ สรุปได้ว่า เพราะเหตุ ๘ คือ ลม, ดี, เสมหะ, สันนิบาต, ความเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ, ความบริหารอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ, ความพยายาม กล่าวคือการร้ายมีการฆ่าและจองจำเป็นต้น และวิบากแห่งกรรม. (มิ.อฏฺ.) คำว่า มีลมเป็นสมุฏฐาน คือมีลมที่กำเริบขึ้นในกาลเป็นสมุฏฐานคือเป็นเหตุทำให้ตั้งขึ้น. คำว่า เกิดจากสันนิบาต คือเกิดจากเหตุ ๓ อย่าง ข้างต้นประชุมกัน. คำว่า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแห่งอุตุ คือเกิดจากความหนาวเย็นและความร้อนรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หรือเกิดจากความเปลี่ยนแปลงแห่งฤดูกาล. คำว่า เกิดจากการบริหารไม่สม่ำเสมอ คือเกิดจากการบริหารกายไม่สม่ำเสมอ หรือไม่สมควร คือผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอหรือไม่ มีนั่งมากเกินไป นอนน้อยเกินไป เป็นต้น บ้าง ใช้กำลังมากเกินไป มีแบกของหนักมากเกินไป เป็นต้น บ้าง เที่ยวไปในเวลาที่ไม่สมควร หรือในสถานที่ที่ไม่สมควร จนถูกสัตว์เสือกคลานมีงูเป็นต้นขบกัดเอา ถูกแสงแดดเผา ถูกลมแรงพัดกระทบมากเกินไป เป็นต้น บ้าง. คำว่า เกิดจากความพยายาม คือเกิดจากความพยายาม คือการกระทำของผู้อื่น เช่น ผู้อื่นสำคัญว่าเป็นโจร แล้วจับตัวไปทรมานเป็นต้น หรือเกิดจากความพยายามของตนในคราวที่ใช้มือถอนเส้นผมเพื่อปลงผมบวชเป็นบรรพชิตในลัทธิเดียรถีย์ ในคราวที่อาศัยทิฏฐิว่าการทำอย่างนี้เป็นเหตุให้เป็นผู้บริสุทธิ์ ดังนี้ แล้วทรมานกายโดยการนอนบนขวากหนามเป็นต้น หรือในคราวที่ใช้ศัสตราฆ่าตัวเป็นต้น. คำว่า โดยวิบากของกรรม คือโดยเป็นวิบากคือผลของอกุศลกรรม. ก็เวทนาที่เกิดจากเหตุ ๘ อย่างเหล่านี้ พระเถระกล่าวหมายเอาทุกขเวทนาทางกายเป็นสำคัญ.

               อนึ่ง อรรถกถามิลินท์ ยังสงเคราะห์เวทนาคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา โดยเป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะ ไว้ดังนี้ คำว่า เวทยิตานิ ความเท่ากับ เวทนา แปลว่า เวทนาทั้งหลาย, บรรดาเหตุ ๘ เหล่านั้น เวทนา ๓ เกิดขึ้น เพราะลมเป็นปัจจัย ดังนี้ คือ

               บางคนคิดว่า เรามีธาตุลมกำเริบ, ความเป็นอยู่รู้ได้ยาก ดังนี้แล้ว จึงให้ทาน รักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม, เวทนาอันเป็นกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา อย่างนี้,

               บางคนคิดว่า เราจักทำเภสัชเพื่อรักษาธาตุลม ดังนี้แล้ว จึงกระทำกรรมคือความเป็นผู้ทุศีล ๑๐ คือ ฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, พูดเท็จ. เวทนา อันเป็นอกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา อย่างนี้.

               บางคนคิดว่า ธาตุลมของเรายังไม่สงบ เพราะกระทำเภสัชรักษาโรคลม, พอแล้ว ช่างเถิด ดังนี้ เป็นผู้วางเฉย ข่มเวทนาทางกายลงอยู่, เวทนา อันเป็นอัพยากตะ ย่อมเกิดขึ้น แก่เขา อย่างนี้.

               แม้ในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะดีเป็นต้น ก็มีนัยนี้. ก็ ในเรื่องนี้ ด้วยคำว่า กุศล ถือเอา สุขเวทนา, คำว่า อกุศล ถือเอา ทุกขเวทนา และคำว่า อัพยากตะ ถือเอาอทุกขมสุขเวทนา. เวทนาทั้งสาม เกิดขึ้น ในวาระทั้งปวงอยางนี้, บรรดาเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น เวทนาทางกาย เกิดขึ้น เพราะเหตุ ๗ ข้างต้น สามารถป้องกันได้, แต่สำหรับที่เกิดขึ้นโดยเป็นวิบากแห่งกรรม  แม้เภสัชทั้งสิ้น ก็ดี แม้ปริตต์ (เครื่องป้องกัน) ทั้งสิ้น ก็ไม่อาจต้านทานได้.

[10] ความจริง ในทางพระอภิธรรม ทุกขเวทนาทางกายล้วนเป็นวิบากของอกุศลกรรม มีการฆ่าสัตว์หรือเบียดเบียนสัตว์เป็นต้น แต่การที่พระเถระกล่าวว่า บุคคลใด กล่าวว่า กรรมย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ คำพูดของบุคคลเหล่านั้นนับว่าผิด ดังนี้ นั้น พระเถระกล่าวหมายเอาความเป็นเหตุที่เป็นประธาน เป็นความจริงว่า ในบรรดาเวทนา ๗ อย่างที่เหลือ เวทนาที่มีลมเป็นสมุฏฐาน ย่อมเป็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะลมในกายกำเริบ บุคคลแม้ได้ทำอกุศลกรรมไว้แล้ว แต่หากว่าลมในกายไม่กำเริบ เวทนาที่ชื่อว่า มีลมเป็นสมุฏฐานนี้ ก็ไม่อาจเกิดได้ เพราะฉะนั้น กรรมแม้ว่ามีส่วนเป็นเหตุแห่งเวทนาที่มีลมเป็นสมุฏฐานนี้ ก็ไม่จัดว่าเป็นเหตุที่เป็นประธาน ลมนั่นแหละเป็นเหตุที่เป็นประธาน กรรมนับว่ายังเป็นเหตุไกล ส่วนลมนับว่าเป็นเหตุใกล้ แม้เวทนาที่เหลืออันเกิดจากเหตุ ๖ อย่างนอกนี้ ก็พึงทราบความตามทำนองเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้น บุคคลใดกล่าวให้ผู้อื่นสำคัญผิดโดยนัยว่า อกุศลกรรมเท่านั้น ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย โดยการสร้างทุกขเวทนาให้เกิดขึ้น ดังนี้ โดยไม่แลเหลียวถึงเหตุอย่างอื่น ถือเอาแต่กรรมเท่านั้นเป็นประมาณ คำพูดของบุคคลนั้น ย่อมเป็นคำพูดที่ผิดพลาด เป็นเหตุให้กำหนดปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ผิดพลาด.

[11] อรรถกถามิลินท์อธิบาย คำว่า อุตุปริณามชา ว่า วิสภาคอุตุโต ชาตานิ =  เวทนาที่เกิดจากอุตุที่ตรงข้ามกัน , จริงอย่างนั้น อากาศที่ไม่เหมาะสม ย่อมเกิดขึ้นได้แม้ด้วยอำนาจแห่งสถานที่เป็นทราย (มีฝุ่นละออง) และชายทะเลเป็นต้น อย่างนี้ คือ เมื่อคนที่อยู่ท้องถิ่นแห้ง (ร้อน) แล้วมาอยู่ในถิ่นที่ชื้นแฉะ อุตุ (อากาศ) ในที่นี้ ก็จะเกิดขึ้นเป็นอุตุตรงข้าม ไม่เหมาะสมแก่เขา, แม้ผู้ที่อยู่ท้องถิ่นชื้นแฉะ มาอยู่ในท้องที่แห้งแล้ง ก็เช่นกัน, เวทนาที่เกิดจากอุตุที่ไม่เหมาะสม ชื่อว่า อุตุปริณามชา.

[12] คำว่า เวทนา ในข้อความนี้ก็คือ ทุกขเวทนาทางกาย อย่างเดียวเหมือนกัน โดยเป็นกองแห่งธรรม (เป็นสภาวธรรมโดยภาพรวม), แต่เมื่อว่าโดยความเป็นความไม่สบายกายโดยทั่วไปก็แยกเป็นเวทนาที่เกิดจากการกระทำ ก็มี, ที่เป็นวิบากแห่งกรรม ก็มี, เพราะฉะนั้น เวทนานั้น พระเถระจักกล่าวต่อไปในว่า มหาบพิตร เวทนาของพระผู้มีพระภาค นี้ เกิดขึ้นโดยเป็นวิบากแห่งกรรม ก็มี ที่เกิดขึ้นโดยเป็นการกระทำ ก็มี (กมฺมวิปากโต วา, มหาราช, ภควโต เอสา เวทนา นิพฺพตฺตา กิริยโต วา) ดังนี้.

[13] ในบรรดาเวทนาที่เกิดขึ้นโดยเหตุทั้ง ๒ นั้น ที่ว่า ที่เป็นการกระทำก็มี (อตฺถิ กิริยา) ดังนี้ หมายความว่า สำหรับทุกขเวทนาทางกายอย่างเดียวกันนั้นนั่นเทียว  เวทนา ที่เกิดจากความเจ็บปวด อันเกิดขึ้นแล้ว เพราะถูกทำร้าย แม้ที่เป็นทุกขเวทนาทางกาย ซึ่งมีชื่อว่า อาพาธ (ความไม่สบาย) มีอยู่.ที่ว่า ที่เป็นวิบากแห่งกรรม ก็มี (อตฺถิ กมฺมวิปากา) หมายความว่า สำหรับทุกขเวทนาทางกายอย่างเดียวกันนั้นนั่นเทียว. เวทนา อันเป็นวิบากแห่งกรรม ซึ่งเกิดขึ้น เพราะกรรมที่เคยทำแล้วในอดีต แม้ที่เป็นทุกขเวทนาทางกาย ซึ่งมีชื่อว่า ปากติกา (เวทนาที่เกิดขึ้นโดยปกติ) ก็มีอยู่.

[14] หมายความว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระพุทธญาณ คือพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น ทรงทราบถึงกรรมทั้งหลายต่าง ๆ กัน ที่สัตว์ได้ทำไว้ในกาลก่อน โดยนัยว่า อาพาธความเจ็บไข้ได้ป่วยอันเป็นทุกขเวทนาของบุคคลผู้นี้ บังเกิดเพราะกรรมอะไร ทำไว้แต่ครั้งไหน. บุคคลนอกนี้ไม่อาจกำหนดรู้ ไม่อาจกำหนดแยกแยะกรรมแต่ละอย่าง และเวทนาแต่ละอย่างที่เกิดเพราะกรรมเหล่านั้นได้เลย เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรอ้างเฉพาะแต่กรรม.

[15] หมายความว่า  พระเถระไม่เอาทุกขเวทนาทางกายอันตั้งอยู่โดยปกติ คือ วิบาก แต่หมายถึงทุกขเวทนาทางกายที่เป็นอาพาธ (ความเจ็บปวดไม่สบายกาย)  เท่านั้นว่า เป็นเวทนาที่เกิดจากความพยายาม (โอปกฺกมิกา เวทนา).

[16] ในอุปมาว่า เปรียบเหมือนว่า เพราะสถานที่เพาะปลูกไม่ดี เป็นต้น มีอรรถาธิบายอย่างสังเขปว่าเพราะสถานที่เพาะปลูกไม่ดี เกี่ยวกับว่ามีอิฐหินปนอยู่เกลื่อนกล่น มีวัชพืชรุกราน เป็นต้น หรือเพราะเมล็ดพืชที่จะหว่านโปรยเป็นเมล็ดพืชที่ไม่ดีเอง เพราะเปียกเกินไป แห้งเกินไป มีหนอนเจาะไช เป็นต้น บุคคลแม้เพาะปลูกหว่านโปรยเมล็ดพืชเหล่านั้นไว้ เมล็ดพืชเหล่านั้นก็ไม่ผลิหน่อออกมาดี บางเมล็ดเท่านั้นมีหน่อ บางเมล็ดก็ไม่มีหน่อ จะมีหน่อไปทุกเมล็ดก็หาไม่ ฉันใด แม้พระวรกายของพระผู้มีพระภาคก็เป็นสถานที่เพาะปลูกเวทนาไม่ดี เกี่ยวกับว่า ทรงตัดปัจจัยที่จะทำให้เวทนาบางอย่างเกิดขึ้นได้แล้ว เวทนาบางอย่างเท่านั้นเกิดขึ้นในพระวรกายของพระองค์ได้ เวทนาบางอย่างไม่อาจเกิดขึ้นได้ คือเวทนาที่บังเกิดโดยเป็นวิบากของกรรมและเวทนาที่บังเกิดจากการกระทำเกิดได้ เวทนานอกนี้เกิดไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[17] อรรถกถามิลินท์อธิบายว่าข้อที่ว่า ไม่มีเวทนาอื่นที่จะยิ่งไปกว่านี้ คือ เวทนาอื่นที่เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม อันยิ่ง คือ เกินกว่าเวทนาที่เกิดจากการกระทำนั้น ย่อมไม่มี, เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มหาบพิตร เวทนาที่เกิดจากวิบากกรรมของพระผู้มีพระภาค ย่อมไม่มี ดังนี้.  (หมายความว่า เวทนาที่เกิดจากการกระทำนั้นสำคัญกว่าเวทนาที่เกิดจากวิบากกรรม ดังนั้น พระเถระจึงย้ำว่า เวทนาที่เกิดจากวิบากของกรรมของพระผู้มีพระภาคย่อมไม่มี.

[18] คำว่า ที่เกิดจากการกระทำ คือที่เกิดจากการกระทำที่เรียกว่าเป็นความพยายามนั่นเอง. พระผู้มีพระภาค แม้ว่าทรงละอกุศลกรรมได้แล้ว ก็ยังเสวยทุกขเวทนาอนเป็นผลของอกุศลกรรมทั้งหลายได้อยู่ ตราบเท่าที่ยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งเป็นอกุศลกรรมที่ทรงทำไว้ในอดีตภพทั้งหลาย ซึ่งคอยตามให้ผลเมื่อมีโอกาส ส่วนอกุศลกรรมที่ทรงละได้ เป็นอกุศลกรรมในภพปัจจุบันนี้ ที่อาจทำทุกขเวทนาให้เกิดในอนาคต. เพราะฉะนั้น พระองค์แม้ว่าทรงละอกุศลกรรมทั้งหลายได้แล้ว โดยเกี่ยวกับว่าไม่ทำให้เกิดขึ้น ก็ยังทรงมีพระอาพาธเจ็บป่วยเสวยทุกขเวทนาแม้ที่เนื่องจากกรรมโดยตรงในคราวนั้นๆ ได้ เช่นในคราวที่มีสะเก็ดหินกระเด็นมากระทบพระบาทเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เฉพาะในคราวที่มีสะเก็ดหินมากระทบพระบาทนี้ จะนับว่าเป็นทุกขเวทนาที่เกิดจากความพยายามก็ได้ ซึ่งก็เห็นชัดเจนอยู่ คือความพยายามของพระเทวทัต.

[19] คำว่า นิกายวรลญฺฉก ในข้อความว่า สํยุตฺตนิกายวรลญฺฉเก โมฬิยสีวเก เวยฺยากรเณ ในโมฬิยสีวกไวยากรณ์ ในสังยุตนิกายอันประเสริฐ มีวิเคราะห์ว่า ลญฺจนฺติ สญฺชานนฺติ เอเตน เอตฺถ วา ปุญฺญปาปานิ ปณฺฑิตชนาติ ลญฺจโกติ, นิกายวโร จ โส ลญฺจโก จาติ นิกายวรลญฺจโก. (มิ.ฏี.) ชนผู้เป็นบัณฑิต ย่อมบันทึก คือ จดจำ บุญและบาป ไว้ในนิกายนี้ หรือ นิกายนี้ เพราะเหตุนั้น นิกายนั้นชื่อว่า ลญฺจก, ลัญจกะ ด้วย, ลัญจกะนั้น เป็นนิกายอันประเสริฐด้วย ชื่อว่า นิกายวรลัญจกะ นิกายเป็นที่บันทึกหรือเป็นเครื่องบันทึกจดจำบุญและบาปแห่งบัณฑิตอันนิกายประเสริฐ คือ สังยุต.

 

 

[20] ข้อความว่า เวทนานั้น อันตนรับรู้แม้เอง (สามมฺปิ โข เอตํ) ความว่า เวทนาที่เกิดขึ้นจากดีนี้ อันชาวโลก ครั้นเห็นความแปรปรวนแห่งดีนั้นแล้ว แม้ตนเองก็จะทราบได้. ข้อความว่า เวทนานั้น อันชาวโลก รับรู้ตามความจริง (สจฺจสมฺมตํ) ความว่า รับรู้ตามที่เป็น, อันที่จริง ในทางโลก ครั้นเขาเห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งดีที่มีสีด่างเป็นต้น ในร่างกายของเขาแล้ว ก็จะรู้ได้ว่า ดีของเขากำเริบแล้ว (ดีเป็นพิษ).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น