วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เมณฑกกัณฑ์ - อิทธิพลวรรค - ๙. อุตตริกรณียปัญหา ปัญหาว่าด้วยกิจที่ต้องทำที่ยิ่งขึ้นไป

 

๙. อุตฺตริกรณียปญฺโห

๙. อุตตริกรณียปัญหา

ปัญหาว่าด้วยกิจที่ต้องทำที่ยิ่งขึ้นไป

 

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ตุมฺเห ภณถ ยํ กิญฺจิ กรณียํ ตถาคตสฺส, สพฺพํ ตํ โพธิยา เยว มูเล ปรินิฏฺฐิตํ, นตฺถิ ตถาคตสฺส อุตฺตริํ กรณียํ, กตสฺส วา ปติจโยติ,อิทญฺจ เตมาสํ ปฏิสลฺลานํ ทิสฺสติฯ

ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ ปุจฺฉิ รับสั่งตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย ภณถ กล่าวกันอยู่ อิติ ว่า กรณียํ กิจที่ควรทำ ยํ กิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต, สพฺพํ ตํ กิจนั้นทั้งสิ้น ตถาคเตน อันพระตถาคต ปรินิฏฺฐิตํ สำเร็จแล้ว มูเล ณ โคน โพธิยา เยว = โพธิยา เอว แห่งต้นโพธิ์ นั่นเทียว, กรณียํ กิจที่ต้องทำ อุตฺตริํ ให้ยิ่งขึ้นไป, วา ก็หรือว่า ปติจโย = ปุนวฑฺฒนํ[1] การให้เพิ่มพูนขึ้นอีก กตสฺส แห่งกิจที่ทำแล้ว ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้, ก็ ปฏิสลฺลานํ การหลีกเร้น เตมาสํ ตลอด ๓ เดือน อิทํ นี้ ทิสฺสติ ยังปรากฏอยู่.

พระเจ้ามิลินท์ รับสั่งตรัสถามว่า “พระคุณเจ้านาคเสน ท่านทั้งหลายกล่าวกันว่า กิจที่ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งพระตถาคต พระตถาคตทรงทำกิจทั้งหมดนั้น จบสิ้นแล้ว ณ โคนต้นโพธิ์ พระตถาคตไม่ทรงมีกิจที่ต้องทำต่อไปอีก และไม่ทรงต้องทำให้กิจซึ่งทำเสร็จแล้วให้เพิ่มขึ้นอีก (บางฉบับ แปลว่า การรวบรวมกิจที่ทรงทำแล้ว อีก) ดังนี้. ก็แต่ว่า เรื่องที่พระตถาคตทรงมีการอยู่หลีกเร้นตลอด ๓ เดือนนี้ ก็ปรากฏอยู่.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ยํ กิญฺจิ กรณียํ ตถาคตสฺส, สพฺพํ ตํ โพธิยา เยว มูเล ปรินิฏฺฐิตํ, นตฺถิ ตถาคตสฺส อุตฺตริํ กรณียํ, กตสฺส วา ปติจโย, เตน หิ เตมาสํ ปฏิสลฺลีโนติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า กรณียํ กิจที่ควรทำ ยํ กิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง อุตฺตริํ ให้ยิ่งขึ้นไป ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต, สพฺพํ ตํ สพฺพํ ตํ กิจนั้นทั้งสิ้น ปรินิฏฺฐิตํ สำเร็จแล้ว มูเล ณ โคน โพธิยา เยว = โพธิยา เอว แห่งต้นโพธิ์ นั่นเทียว, กรณียํ กิจที่ควรทำ อุตฺตริํ ให้ยิ่งขึ้นไป, วา ก็หรือว่า ปติจโย = ปุนวฑฺฒนํ การให้เพิ่มพูนขึ้นอีก กตสฺส แห่งกิจที่ทำแล้ว ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า ปฏิสลฺลีโน การอยู่หลีกเร้น เตมาสํ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นคำที่ผิดพลาด โหติ ย่อมเป็น.

พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า กิจที่ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งพระตถาคต,  พระตถาคตทรงทำกิจทั้งหมดนั้น จบสิ้นแล้ว ณ โคนต้นโพธิ์,  พระตถาคตไม่ทรงมีกิจต้องทำต่อไปอีก และไม่ทรงต้องทำให้กิจซึ่งทำเสร็จแล้วให้เพิ่มขึ้นอีก จริงแล้วไซร้. ถ้าอย่างนั้น คำว่า "ทรงมีการหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน" ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิดพลาด.

 

ยทิ เตมาสํ ปฏิสลฺลีโน, เตน หิ ยํ กิญฺจิ กรณียํ, ตถาคตสฺส, สพฺพํ ตํ โพธิยา เยว มูเล ปรินิฏฺฐิตนฺติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉา

ยทิ ถ้าว่า ปฏิสลฺลีโน การอยู่หลีกเร้น เตมาสํ ตลอด ๓ เดือน สิยา พึงมี ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น  ตมฺปิ วจนํ คำแม้นั้น อิติ ว่า กรณียํ กิจที่ควรทำ ยํ กิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง อุตฺตริํ ให้ยิ่งขึ้นไป ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต, สพฺพํ ตํ สพฺพํ ตํ กิจนั้นทั้งสิ้น ปรินิฏฺฐิตํ สำเร็จแล้ว มูเล ณ โคน โพธิยา เยว = โพธิยา เอว แห่งต้นโพธิ์ นั่นเทียว ดังนี้ มิจฺฉา เป็นคำพูดที่ผิด โหติ ย่อมเป็น

ถ้าหากว่า พระตถาคตทรงมีการอยู่หลีกเร้นตลอด ๓ เดือน ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิดพลาด. ถ้าหากว่า พระตถาคตทรงมีการอยู่หลีกเร้นตลอด ๓ เดือน จริงแล้วไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำพูดที่ว่า กิจที่ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งพระตถาคต, พระตถาคตทรงทำกิจนั้นทั้งหมดจบสิ้นแล้ว ณ ที่โคนต้นโพธิ์ ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิดพลาด

 

นตฺถิ กตกรณียสฺส ปฏิสลฺลานํ, สกรณียสฺเสว ปฏิสลฺลานํ ยถา นาม พฺยาธิตสฺเสว เภสชฺเชน กรณียํ โหติ, อพฺยาธิตสฺส กิํ เภสชฺเชนฯ ฉาตสฺเสว โภชเนน กรณียํ โหติ, อฉาตสฺส กิํ โภชเนนฯ

ปฏิสลฺลานํ การอยู่หลีกเร้น กตกรณียสฺส แห่งบุคคลผู้มีกิจที่ควรทำอันกระทำแล้ว นตฺถิ ย่อมไม่มี, ปฏิสลฺลานํ การอยู่หลีกเร้น สกรณียสฺส เอว แห่งบุคคลผู้มีกิจที่ควรทำ นั่นเทียว อตฺถิ ย่อมมี, กรณียํ กิจที่ควรทำ เภสชฺเชน ด้วยยา พฺยาธิตสฺส เอว แห่งบุคคลผู้เจ็บป่วย เท่านั้น อตฺถิ ย่อมมี, กิํ ปโยชนํ ประโยชน์อะไร เภสชฺเชน ด้วยยา อพฺยาธิตสฺส แห่งบุคคลผู้ไม่เจ็บป่วยเล่า. กรณียํ กิจที่ควรทำ โภชเนน ด้วยอาหาร ฉาตสฺส เอว แห่งบุคคลผู้หิวแล้วเท่านั้น อตฺถิ ย่อมมี, กิํ ปโยชนํ ประโยชน์อะไร โภชเนน ด้วยอาหาร อฉาตสฺส แห่งบุคคลไม่หิวแล้ว นตฺถิ ย่อมไม่มี ยถา นาม ชื่อ ฉันใด,

คนที่ได้ทำกิจที่ต้องทำจบสิ้นแล้ว ย่อมไม่มีการอยู่หลีกเร้น คนที่ยังมีกิจที่ต้องทำเท่านั้น จึงจะมีการอยู่หลีกเร้น เปรียบเหมือนว่า คนที่เจ็บป่วยเท่านั้น จึงมีกิจที่ต้องทำด้วยยา สำหรับคนที่ยังไม่เจ็บป่วย ประโยชน์อะไรด้วยยาเล่า คนหิวอยู่เท่านั้น จึงมีกิจที่ต้องทำด้วยอาหาร สำหรับคนที่ยังไม่หิว ประโยชน์อะไรด้วยอาหารเล่า ฉันใด,

เอวเมว โข, ภนฺเต นาคเสน, นตฺถิ กตกรณียสฺส ปฏิสลฺลานํ, สกรณียสฺเสว ปฏิสลฺลานํฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปฏิสลฺลานํ การอยู่หลีกเร้น กตกรณียสฺส แห่งบุคคลผู้มีกิจที่ควรทำอันกระทำแล้ว นตฺถิ ย่อมไม่มี, ปฏิสลฺลานํ การอยู่หลีกเร้น อตฺถิ ย่อมมี สกรณียสฺส เอว แก่บุคคลผู้มีกิจที่ควรทำ นั่นเทียว, กรณียํ กิจที่ควรทำ เภสชฺเชน ด้วยยา พฺยาธิตสฺส เอว แห่งบุคคลผู้เจ็บป่วย เท่านั้น อตฺถิ ย่อมมี เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล.

พระคุณเจ้านาคเสน คนที่ได้ทำกิจที่ต้องทำจบสิ้นแล้ว ย่อมไม่มีการอยู่หลีกเร้น คนที่ยังมีกิจที่ต้องทำเท่านั้น จึงจะมีการอยู่หลีกเร้น ฉันนั้นเหมือนกัน

 

อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

 

ปญฺโห ปัญหา โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อยมฺปิ แม้นี้ อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ พึงแถลง เถิด ดังนี้.

ปัญหาแม้นี้ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านตามลำดับแล้ว ท่านพึงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด”

 

‘‘ยํ กิญฺจิ, มหาราช, กรณียํ ตถาคตสฺส, สพฺพํ ตํ โพธิยา เยว มูเล ปรินิฏฺฐิตํ, นตฺถิ ตถาคตสฺส อุตฺตริํ กรณียํ, กตสฺส วา ปติจโย, ภควา จ เตมาสํ ปฏิสลฺลีโน, ปฏิสลฺลานํ โข, มหาราช, พหุคุณํ, สพฺเพปิ ตถาคตา ปฏิสลฺลียิตฺวา สพฺพญฺญุตํ ปตฺตา, ตํ เต สุกตคุณมนุสฺสรนฺตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติ ฯ

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลถวายแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร กรณียํ กิจที่ควรทำ ยํ กิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต, สพฺพํ ตํ กิจนั้นทั้งสิ้น ปรินิฏฺฐิตํ สำเร็จแล้ว มูเล ณ โคน โพธิยา เยว = โพธิยา เอว แห่งต้นโพธิ์ นั่นเทียว, กรณียํ กิจที่ควรทำ อุตฺตริํ ให้ยิ่งขึ้นไป, วา ก็หรือว่า ปติจโย = ปุนวฑฺฒนํ การให้เพิ่มพูนขึ้นอีก กตสฺส แห่งกิจที่ทำแล้ว ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี, และ ภควา พระผู้มีพระภาค ปฏิสลฺลีโน  ทรงเป็นผู้ทรงมีการอยู่หลีกเร้น เตมาสํ ตลอด ๓ เดือน, มหาราช มหาบพิตร ปฏิสลฺลานํ  การอยู่หลีกเร้น  พหุคุณํ เป็นธรรมชาติมีคุณมาก โข แล, ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย สพฺเพปิ แม้ทั้งปวง ปฏิสลฺลียิตฺวา ทรงหลีกเร้นแล้ว ปตฺตา ทรงบรรลุแล้ว สพฺพญฺญุตํ ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ, ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เต เหล่านั้น อนุสฺสรนฺตา เมื่อทรงระลึกถึ ตํ สุกตคุณํ ซึ่งคุณแห่งการหลีกเร้นอันพระองค์ทรงกระทำไว้ดีแล้วนั้น เสวนฺติ ย่อมทรงซ่องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น.

พระนาคเสน “ขอถวายพระพร มหาบพิตร กิจที่ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งพระตถาคต พระตถาคตทรงทำกิจทั้งหมดนั้นจนสิ้นแล้วที่โคนต้นโพธิ์ พระตถาคตไม่ทรงมีกิจที่ต้องทำต่อไปอีก และไม่ทรงมีการรวบรวมกิจที่ทรงทำไว้แล้ว จริง.  และพระผู้มีพระภาคก็ทรงมีการอยู่หลีกเร้นตลอด ๓ เดือน จริง.  ขอถวายพระพร การอยู่หลีกเร้นเป็นของมีคุณมากแล. พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ทรงอยู่หลีกเร้นแล้วจึงทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ. พระตถาคตทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อทรงหวนระลึกถึงคุณแห่งการหลีกเร้นที่พระองค์ทรงทำไว้ดีแล้วนั้น จึงยังทรงส้องเสพการหลีกเร้นอยู่.

 

ยถา, มหาราช, ปุริโส รญฺโญ สนฺติกา ลทฺธวโร ปฏิลทฺธโภโค ตํ สุกตคุณมนุสฺสรนฺโต อปราปรํ รญฺโญ อุปฏฺฐานํ เอติฯ เอวเมว โข, มหาราช, สพฺเพปิ ตถาคตา ปฏิสลฺลียิตฺวา สพฺพญฺญุตํ ปตฺตา, ตํ เต สุกตคุณมนุสฺสรนฺตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติฯ

 

มหาราช มหาบพิตร ปุริส บุรุษ ลทฺธวโร ได้รับพร ปฏิลทฺธโภโค มีโภคทรัพย์อันรับแล้ว สนฺติกา จากสำนัก รญฺโญ ของพระราชา อนุสฺสรนฺโต เมื่อหวนระลึกถึง ตํ สุกตคุณํ ซึ่งคุณแห่งพระราชาที่ทรงทำไว้ดีแล้ว นั้น เอติ ย่อมไป อุปฏฺฐานํ สู่สถานที่บำรุง รญฺโญ แห่งพระราชา อปราปรํ อยู่เรื่อยๆ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร , ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย สพฺเพปิ แม้ทั้งปวง ปฏิสลฺลียิตฺวา ทรงหลีกเร้นแล้ว ปตฺตา ทรงบรรลุแล้ว สพฺพญฺญุตํ ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ, ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เต เหล่านั้น อนุสฺสรนฺตา เมื่อทรงระลึกถึง ตํ สุกตคุณํ ซึ่งคุณแห่งการหลีกเร้นอันพระองค์ทรงกระทำไว้ดีแล้วนั้น เสวนฺติ ย่อมทรงซ่องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล.

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า บุรุษคนหนึ่งได้รับพร ได้รับโภคทรัพย์ จากสำนักของพระราชาแล้ว เมื่อหวนระลึกถึงคุณแห่งพระราชาที่ทรงทำไว้ดีแล้วนั้น ก็ย่อมมาสู่สถานที่บำรุงแห่งพระราชาอยู่เรื่อย ๆ ฉันใด ขอถวายพระพร พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ ทรงอยู่หลีกเร้นแล้ว จึงทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พระตถาคตเหล่านั้น เมื่อทรงหวนระลึกถึงคุณแห่งการอยู่หลีกเร้นที่ทรงทำไว้ดีแล้วนั้น จึงทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, ปุริโส อาตุโร ทุกฺขิโต พาฬฺหคิลาโน ภิสกฺกมุปเสวิตฺวา โสตฺถิมนุปฺปตฺโต ตํ สุกตคุณมนุสฺสรนฺโต อปราปรํ ภิสกฺกมุปเสวติฯ เอวเมว โข, มหาราช, สพฺเพปิ ตถาคตา ปฏิสลฺลียิตฺวา สพฺพญฺญุตํ ปตฺตา, ตํ เต สุกตคุณมนุสฺสรนฺตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติฯ

มหาราช มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า ปุริโส บุรุษคนหนึ่ง อาตุโร เป็นคนขี้โรค ทุกฺขิโต เป็นทุกข์ พาฬฺหคิลาโน เป็นไข้หนัก อุปเสวิตฺวา ครั้นได้พบแล้ว ภิสกฺกํ ซึ่งหมอ อนุปฺปตฺโต จึงถึงแล้ว โสตฺถิํ ซึ่งความสวัสดี อนุสฺสรนฺโต เมื่อหวนระลึกถึง สุกตคุณํ ซึ่งคุณอันหมอกระทำไว้ดีแล้ว ตํ นั้น อุปเสวติ ย่อมหา ภิสกฺกํ ซึ่งหมอ อปราปรํ อยู่เรื่อยๆ ยถา ฉันใด, , ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย สพฺเพปิ แม้ทั้งปวง ปฏิสลฺลียิตฺวา ทรงหลีกเร้นแล้ว ปตฺตา ทรงบรรลุแล้ว สพฺพญฺญุตํ ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ, ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เต เหล่านั้น อนุสฺสรนฺตา เมื่อทรงระลึกถึง ตํ สุกตคุณํ ซึ่งคุณแห่งการหลีกเร้นอันพระองค์ทรงกระทำไว้ดีแล้วนั้น เสวนฺติ ย่อมทรงซ่องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า บุรุษคนหนึ่งเป็นคนขี้โรค เป็นทุกข์ เป็นไข้หนัก พอได้หาหมอแล้ว ก็ถึงความสวัสดีได้ เมื่อหวนระลึกถึงคุณของหมอที่หมอทำไว้ดีแล้วนั้น ก็ย่อมหาหมออยู่เรื่อย ๆ ฉันใด ขอถวายพระพร พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ ทรงอยู่หลีกเร้นแล้ว จึงทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พระตถาคตเหล่านั้น เมื่อทรงหวนระลึกถึงคุณแห่งการอยู่หลีกเร้นที่ทรงทำไว้ดีแล้วนั้น จึงยังทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น ฉันนั้น.

 

‘‘อฏฺฐวีสติ โข ปนิเม, มหาราช, ปฏิสลฺลานคุณา, เย คุเณ สมนุสฺสรนฺตา [สมนุปสฺสนฺตา (สี. ปี.)] ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติฯ กตเม อฏฺฐวีสติ? อิธ, มหาราช, ปฏิสลฺลานํ ปฏิสลฺลียมานํ อตฺตานํ รกฺขติ, อายุํ วฑฺเฒติ, พลํ เทติ, วชฺชํ ปิทหติ, อยสมปเนติ, ยสมุปเนติ, อรติํ วิโนเทติ, รติมุปทหติ, ภยมปเนติ, เวสารชฺชํ กโรติ, โกสชฺชมปเนติ, วีริยมภิชเนติ, ราคมปเนติ, โทสมปเนติ, โมหมปเนติ, มานํ นิหนฺติ, วิตกฺกํ ภญฺชติ, จิตฺตํ เอกคฺคํ กโรติ, มานสํ สฺเนหยติ [โสภยติ (สี.)], หาสํ ชเนติ, ครุกํ กโรติ, ลาภมุปฺปาทยติ, นมสฺสิยํ กโรติ, ปีติํ ปาเปติ, ปาโมชฺชํ กโรติ, สงฺขารานํ สภาวํ ทสฺสยติ, ภวปฺปฏิสนฺธิํ อุคฺฆาเฏติ, สพฺพสามญฺญํ เทติฯ

 

มหาราช มหาบพิตร โข ปน ก็ แล ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น สมนุสฺสรนฺตา เพราะระลึกถึง เย คุเณ ซึ่งคุณทั้งหลายเหล่าใด, ปฏิสลฺลานคุณา คุณแห่งการอยู่หลีกเร้น อฏฺฐวีสติ ๒๘ อิเม เหล่านี้, อฏฺฐวีสติ คุณา คุณทั้งหลาย ๒๘ กตเม อะไรบ้าง, มหาราช มหาบพิตร อิธ ในโลกนี้ ปฏิสลฺลานํ การอยู่หลีกเร้น รกฺขติ ย่อมรักษา อตฺตานํ ซึ่งตน ปฏิสลฺลียมานํ ผู้อยู่หลีกเร้น, อายุํ ยังอายุ วฑฺเฒติ ย่อมให้เจริญ, เทติ ย่อมมอบให้ พลํ ซึ่งกำลัง, ปิทหติ ย่อมปิดกั้น วชฺชํ ซึ่งโทษ, อปเนติ ย่อมนำออก อยสํ ซึ่งโทษมิใช่ยศ, อุปเนติ ย่อมนำเข้าไป ยสํ ซึ่งยศ, วิโนเทติ ย่อมบรรเทา อรติํ ซึ่งความไม่ยินดี, อุปทหติ ย่อมทรงไว้ รติํ ซึ่งความยินดี, อปเนติ ย่อมนำออก ภยํ ซึ่งภัย, กโรติ ย่อมกระทำ เวสารชฺชํ ซึ่งความกล้าหาญ, อปเนติ ย่อมนำออก โกสชฺชํ ซึ่งความเกียจคร้าน, อภิชเนติ ย่อมก่อเกิด วีริยํ ซึ่งความเพียร, อปเนติ ย่อมนำออก ราคํ ซึ่งราคะ, อปเนติ ย่อมนำออก โทสํ ซึ่งโทสะ, อปเนติ ย่อมนำออก โมหํ ซึ่งโมหะ, นิหนฺติ ย่อมกำจัดออก มานํ ซึ่งมานะ, ภญฺชติ ย่อมหักราญ วิตกฺกํ ซึ่งวิตก, กโรติ ย่อมกระทำ เอกคฺคํ ซึ่งความมีอารมณ์เดียว, มานสํ ยังใจ สฺเนหยติ ย่อมให้แนบสนิท, หาสํ ยังความร่าเริง ชเนติ ย่อมให้เกิด, กโรติ ย่อมกระทำ ครุกํ ซึ่งบุคคลให้เป็นผู้น่าเคารพ, ลาภํ ยังลาภ อุปฺปาทยติ ย่อมให้เกิดขึ้น, กโรติ ย่อมกระทำ นมสฺสิยํ ซึ่งความเป็นคนควรต่อการนอบน้อม, ปาเปติ ย่อมให้ถึง ปีติํ ซึ่งปีติ, กโรติ ย่อมกระทำ ปาโมชฺชํ ซึ่งความปราโมทย์, สภาวํ ยังสภาวะ สงฺขารานํ แห่งสังขาร ทสฺสยติ ย่อมให้ปรากฏ, อุคฺฆาเฏติ ย่อมเพิกถอน ภวปฺปฏิสนฺธิํ ซึ่งการปฏิสนธิในภพ, เทติ ย่อมให้ สพฺพสามญฺญํ ซึ่งสามัญญผลทั้งสิ้น[2].

 ขอถวายพระพร คุณแห่งการอยู่หลีกเร้นมี ๒๘ เหล่านี้ ซึ่งเป็นคุณที่พระตถาคตทรงระลึกถึงอยู่ ก็ยังทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น ๒๘ อย่างอะไรบ้าง ? ขอถวายพระพร ๑.การอยู่หลีกเร้น ย่อมรักษาตนผู้อยู่หลีกเร้น ๒.การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำการเจริญอายุ ๓.การอยู่หลีกเร้น ย่อมมอบกำลงให้ ๔. การอยู่หลีกเร้น ย่อมปิดกั้นโทษได้ ๕. การอยู่หลีกเร้น ย่อมขจัดความเป็นคนไม่มียศ ๖. การอยู่หลีกเร้น ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมียศ ๗.การอยู่หลีกเร้น ย่อมบรรเทาความไม่ยินดี ๘.การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำความยินดีให้คงอยู่ ๙.     การอยู่หลีกเร้น ย่อมขจัดความกลัวได้ ๑๐. การอยู่หลีกเร้น ย่อมสร้างความกล้าหาญ ๑๑.การอยู่หลีกเร้น ย่อมขจัดความเกียจคร้านได้ ๑๒. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้เกิดความเพียร ๑๓. การอยู่หลีกเร้น ย่อมขจัดราคะได้ ๑๔.           การอยู่หลีกเร้น ย่อมขจัดโทสะได้ ๑๕. การอยู่หลีกเร้น ย่อมขจัดโมหะได้ ๑๖. การอยู่หลีกเร้น ย่อมถอนมานะได้ ๑๗. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำลายวิตกได้ ๑๘. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำจิตให้มีอารมณ์เดียวได้๑๙. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้ผูกจิตไว้ได้ ๒๐. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้เกิดความบรรเทิง ๒๑. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้เป็นคนน่าเคารพ ๒๒. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้เกิดลาภ ๒๓.การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้เป็นที่นอบน้อม ๒๔. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้ได้รับปีติ ๒๕. การอยู่หลีกเร้น ย่อมสร้างความปราโมทย์ ๒๖. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้เห็นสภาวะแห่งสังขารทั้งหลาย ๒๗. การอยู่หลีกเร้น ย่อมทำให้เพิกถอนปฏิสนธิในภพได้ ๒๘. การอยู่หลีกเร้น ย่อมมอบสามัญญผลให้.

 

อิเม โข, มหาราช, อฏฺฐวีสติ ปฏิสลฺลานคุณา, เย คุเณ สมนุสฺสรนฺตา ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติฯ

มหาราช มหาบพิตร ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น สมนุสฺสรนฺตา เพราะระลึกถึง เย คุเณ ซึ่งคุณทั้งหลายเหล่าใด, ปฏิสลฺลานคุณา คุณแห่งการอยู่หลีกเร้น อฏฺฐวีสติ ๒๘ อิเม เหล่านี้ โข แล.

ขอถวายพระพร คุณแห่งการอยู่หลีกเร้นมี ๒๘ อย่างเหล่านี้ แล ซึ่งเป็นคุณที่พระตถาคตทรงหวนระลึกถึงอยู่ ก็ยังทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้นอยู่.

 

‘‘อปิ จ โข, มหาราช, ตถาคตา สนฺตํ สุขํ สมาปตฺติรติํ อนุภวิตุกามา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติ ปริโยสิตสงฺกปฺปาฯ

มหาราช มหาบพิตร อปิจ โข อีกอย่างหนึ่งแล ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย ปริโยสิตสงฺกปฺปา ผู้มีความดำริเสร็จสิ้นแล้ว (คือพุทธปณิธาน...) อนุภวิตุกามา ทรงเป็นผู้ประสงค์จะเสวย สมาปตฺติรติํ ซึ่งความยินดีในสมาบัติ สนฺตํ อันสงบ สุขํ อันเป็นสุข เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง พระตถาคตทั้งหลายผู้ทรงมีพระดำริเสร็จแล้ว ทรงเป็นผู้ประสงค์จะเสวยความยินดีในสมาบัติซึ่งสงบเป็นสุข จึงทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น.  ขอถวายพระพร พระตถาคตทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้นด้วยเหตุ ๔ อย่างแล ด้วยเหตุ ๔ อย่างอะไรบ้าง ?

 

จตูหิ โข, มหาราช, การเณหิ ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติฯ กตเมหิ จตูหิ? วิหารผาสุตายปิ, มหาราช, ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติ, อนวชฺชคุณพหุลตายปิ ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติ, อเสสอริยวีถิโตปิ ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติ, สพฺพพุทฺธานํ ถุตโถมิตวณฺณิตปสตฺถโตปิ ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติฯ

มหาราช มหาบพิตร ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น การเณหิ เพราะเหตุทั้งหลาย จตูหิโข แล, กตเมหิ จตูหิ เพราะเหตุทั้งหลาย ๔ กตเมหิ อะไรบ้าง, มหาราช มหาบพิตร ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น วิหารผาสุตายปิ แม้เพราะความอยู่ผาสุก, ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น อนวชฺชคุณพหุลตายปิ แม้เพราะความไม่ใช่โทษและมากด้วยคุณ, ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น อเสสอริยวีถิโตปิ แม้เพราะเป็นหนทางดำเนินไปแห่งพระอริยะทั้งหลายทั้งสิ้น, ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น สพฺพพุทฺธานํ ถุตโถมิตวณฺณิตปสตฺถโตปิ แม้เพราะเป็นของประเสริฐที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสชมเชย แซ่ซ้อง สรรเสริญ.

ขอถวายพระพร ๑. พระตถาคตทั้งหลาย ทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น เพื่อความอยู่ผาสุก. ๒.พระตถาคตทั้งหลาย ทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น แม้เพราะความไม่มีโทษและมากด้วยคุณ. ๓. พระตถาคตทั้งหลาย ทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น แม้เพราะเป็นทางดำเนินแห่งพระอริยเจ้าทั้งหลายทุกท่านไม่มีเหลือ. ๔. พระตถาคตทั้งหลาย ทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น แม้เพราะเป็นของประเสริฐที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสชมเชยแซ่ซ้องสรรเสริญ.

 

อิเมหิ โข, มหาราช, จตูหิ การเณหิ ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติฯ

มหาราช มหาบพิตร ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น จตูหิ การเณหิ เพราะเหตุทั้งหลาย ๔ อิเมหิ โข เหล่านี้แล.

ขอถวายพระพร พระตถาคตทั้งหลาย ทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น ด้วยเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้.

 

อิติ โข, มหาราช, ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺติ น สกรณียตาย, น กตสฺส วา ปติจยาย, อถ โข คุณวิเสสทสฺสาวิตาย ตถาคตา ปฏิสลฺลานํ เสวนฺตี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น สกรณียตาย เพราะความเป็นผู้มีกิจอันควรทำ หามิได้, วา หรือว่า ปติจยาย เพราะการทำให้เพิ่มพูนขึ้นอีก กตสฺส แห่งกิจอันทำแล้ว หามิได้, อถ โข ที่แท้แล ตถาคตา พระตถาคตทั้งหลาย เสวนฺติ ย่อมส้องเสพ ปฏิสลฺลานํ ซึ่งการอยู่หลีกเร้น  คุณวิเสสทสฺสาวิตาย เพราะทรงเล็งเห็นคุณทั้งหลายต่างๆ  อิติ โข ตามประการดังกล่าวมานี้ แล.

ขอถวายพระพร พระตถาคตทั้งหลาย ทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น เพราะยังทรงเป็นผู้มีกิจที่ต้องทำ ก็หาไม่ และเพราะทรงประสงค์จะรวบรวมกิจที่ทำแล้ว ก็หาไม่. แต่ทว่า พระตถาคตทั้งหลาย ทรงส้องเสพการอยู่หลีกเร้น เพราะทรงเล็งเห็นคุณทั้งหลายต่าง ๆ กันตามประการดังกล่าวมานี้ แล”

 

 ‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

 

ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยํ วจนํ คำใด ตยา วุตฺตํ ที่ท่านกล่าวแล้ว ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ตามประการนั้น เอวํ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ “ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับตามประการที่กล่าวมานี้”

 

อุตฺตริกรณียปญฺโห นวโมฯ

อุตฺตริกรณียปญฺโห อุตฺตริกรณียปัญหา

นวโม ลำดับที่ ๙ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

อุตตริกรณียปัญหาที่ ๙ จบ



[1] ฏีกามิลินท์อธิบายว่า ปติจโย = ปุนวฑฺฒนํ ซึ่งประกอบความกับบทว่า กตสฺส ว่า จตูสุ สจฺเจสุ กตโสฬสกิจฺจสฺส แห่งกิจ ๑๖ อันทรงทำแล้วในสัจจะ ๔.

[2] คุณแห่งการหลีกเร้น ในกรณีนี้ เป็นอานิสงส์โดยรวมของการมีกายวิเวก เพราะแม้กายวิเวกย่อมเป็นเหตุให้ได้รับจิตวิเวกและอุปธิวิเวกในที่สุด. นิสสยะฉบับล้านนาอธิบายคุณ ๒๘ เหล่านั้นไว้โดยสังเขปดังนี้ (๑) อายุํ วฑฺเฒติ คือ ทำให้อายุเจริญคือยืนยาว. (๒) พลํ เทติ คือ ให้เกิดกายและธรรมพละ, (๓) วชฺชํ ปิทหติ ปิดโทษที่จะมาถึงตน, (๔) อยสํ วิโนเทติ นำอยศ คือ คำตำหนิออกไป (๕) ยสมุปเนติ นำยศคือเกียรติยศมาให้, (๖) อรติํ นาสยติ บรรเทาความไม่ยินดีในเสนาสนะอันสงัด คือ ที่สงัด และความไม่ยินดีในอธิกุศลธรรม คือ สมถะ วิปัสนา. อรตี ได้แก่ ปฏิฆสัมปยุตจิตอันมีอิสสาเป็นประธาน และอุทธัจจะอันมีถีนมิทธะเป็นประธาน. (๗) รติํ อุปฺปาเทติ คือ ทำให้เกิดความยินดีในปันตเสนาสนะและอธิกุศลธรรม. (๘) ภยํ อปเนติ คือ ภยํ =  จิตฺตุตฺราส ความสะดุ้งแห่งใจอันเกิดด้วยกำลังตัณหาอันรักชีวิตแห่งตน. (๙) เวสารชฺชํ กโรติ สร้างความองอาจเกรงขามไม่เกรงกลัว. (๑๐) โกสชฺชํ อปเนติ คือ ขจัดภาวะที่กระด้างกล่าวคือถีนมิทธะ, อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ อกุศลธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิริยะ. (๑๑) วีริยํ อภิสญฺชเนติ คือ ทำเกิดให้ความเพียรทั้งกาย และความเพียรในใจ. (๑๒) ราคํ   อปเนติ ขจัดราคะ   ออกไปเสียได้, (๑๓) โทสํ อุปเมติ ทำให้โทสะสงบลงได้.(๑๔)  โมหํ หเนติ กำจัดโมหะได้. (๑๕) มานํ หเนติ กำจัดมานะเสียได้. (๑๖) สวิตกฺกํ วชฺเชติ หักเสียซึ่งอกุสลวิตก ๓ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก. อีกนัยหนึ่ง หักเสียซึ่งมหาวิตก ๙ คือ กามวิตก, พยาปาทวิตก, วิหิงสาวิตก, ญาติวิตก วิตกที่ปรารภซึ่งญาติพี่น้อง เกิดด้วยตัณหาอันรักญาติ, ชนปทวิตก คือ วิตักกะ อันเกิดกับด้วยตัณหาอันรักในชนบท บ้านเมืองอันเป็นที่อยู่แห่งตน,อมราวิตก คือ วิตกอันประกอบด้วยวัตรอันให้ทุกข์แก่ตนเป็นต้นว่า อุกุฏิกัปธานะ ด้วยกำลังแห่งมิจฉาทิฏฐิอันเข้าใจผิดว่า กระทำวัตปฏิบัตินี้ จักเป็นสุขภายหน้า เที่ยง ไม่ตาย ก็ดี, และวิตกอันเกิดขึ้นกับด้วยอมราวิกเขปกทิฏฐิ เป็นไปโดยนัยว่า เอวํปิ เม โน ตถาปิ เม โน อญฺญาปิ เม โน ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ เป็นต้น. ปลาสุทยตาปฏิสังยุตวิตก คือ วิตกอันประกอบด้วยตัณหารักท่าน คือ เมื่อกุลุปัฏฐากทั้งหลายมีสุขก็มีสุขยินดี เมื่อทุกข์ก็ยินเป็นทุกข์นัก.ลาภสการสิโลกปฏิสังยุตวิตก คือ วิตกที่ประกอบด้วยจีวราทิลาภะและสักการะ คือ เครื่องบูชาอันแต่งงามและสิโลกะ คือ เกียรติศัพท์ กล่าวคือ เป็นวิตกที่คนึงใคร่ได้วัตถุอยู่นั้น และอนวิญญัตติปฏิสังยุตตวิตก คือ วิตกที่เกิดกับด้วยความปรารถนาภาวะที่ผู้อื่นไม่ปฏิเสธ โดยนัยว่า อโห วตาหํ ปเรน อวชฺชาเรยฺยุํ โอหนอ เราพึงเป็นผู้อื่นไม่ปฏิเสธ. (๑๗) จิตฺเตกคฺคํ กโรติ กระทำให้จิตมีสมาธิ กล่าวคือ การอยู่หลีกเร้นนั้นเป็นคุณต่อสมาธิ. (๑๘) จิตฺตํ เสฺนหยติ ทำให้ผู้อยู่หลีกเร้นนั้นไม่แปดเปื้อนด้วยมานะ. (๑๙) หาสํ ชนยติ ให้เกิดความสำราญยินดี.(๒๐) ปีติํ อุปฺปาทยติ ทำให้เกิดความปีติยินดี. (๒๑)ครุกํ กโรติ กระทำบุคคลนั้นให้เป็นที่เคารพยำเกรงแห่งมนุษย์และเทวดา. (๒๒) ลาภํ นิพฺพตฺติยติ ทำให้เกิดลาภ ๒ ประการ คือ จีวราทิวัตถุลาภะและปฐมฌานาทิธัมมลาภะ. (๒๓) มนปิยํ กโรติ ทำความนอบน้อมด้วยกาย วาจา ใจให้เกิดแก่คนและเทวดา. (๒๔) ขนฺติํ ปาเลติ ทำให้ถึงคือได้ขันติ อีกนัยหนึ่ง ทำขันติให้ถึงวุฑฒิรุฬหิเวปุลละ (งอกงามไพบูลย์) กว้างขวางไม่ถอยเสีย. (๒๕) ปาโมชชํ กโรติ ทำความปราโมย์ กล่าวคือ ตรุณปีติให้บังเกิด. (๒๖) สงฺขารานํ อาสวํ ธํเสติ ทำอนิจจสภาวะ (สภาพที่ไม่เที่ยง) ขยวยสภาวะ (สภาพที่มีการเกิดขึ้นและดับไป) แห่งสังขารธรรมทั้งหลายให้ปรากฏ คือ ให้เห็นแจ้ง. อีกนัยหนึ่ง ทำให้สามัญญลักษณะ คือ อารัมมณมภิมุขนมนลักขณะและรุปนลักษณะ เป็นต้นว่า ผุสสลักขณะและกักขฬลักษณะแห่งสังขารธรรมทั้งหลาย. (๒๗) ภวปฏิสนฺธิํ อุคฺฆาเฏติ ไขออกเสียให้ปรากฏให้เห็นแจ้งซึ่งปฏิสนธิในภพทั้ง ๓. (๒๘) สพฺพํ สามญฺญํ เทติ กิริยาการอยู่หลีกเร้นนั้น ทำสมณภาวะทั้งมวล คือ คุณแห่งตนเป็นต้นว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เพิ่มพูนบริบูรณ์. อนึ่ง พึงทราบว่า ปาฐะในนิสสยะ ไม่ตรงกับปาฐะฉบับฉัฏฺฐสังคายนา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น