วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สารพันคัมภีร์ - มิลินทปัญหาพร้อมทั้งฎีกา แปล

๖. ปฏิสนฺธิปญฺโห
๖. ปฏิสนฺธิปญฺโห
อ.ปัญหาเกี่ยวกับการเกิด
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, อตฺถิ  โกจิ มโต น ปฏิสนฺทหตี’’ติฯ












เถโร อาห   ‘‘โกจิ   ปฏิสนฺทหติ,   โกจิ น  ปฏิสนฺทหตี’’ติฯ





‘‘โก ปฏิสนฺทหติ, โก น ปฏิสนฺทหตี’’ติ?



‘‘สกิเลโส มหาราช ปฏิสนฺทหติ,  นิกฺกิเลโส น ปฏิสนฺทหตี’’ติฯ




‘‘ตฺวํ ปน ภนฺเต นาคเสน ปฏิสนฺทหิสฺสสี’’ติ?



‘‘สเจ, มหาราช, สอุปาทาโน ภวิสฺสามิ ปฏิสนฺทหิสฺสามิ, สเจ อนุปาทาโน ภวิสฺสามิ น ปฏิสนฺทหิสฺสามี’’ติฯ








‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
๖. ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน   ภนฺเต ผู้เจริญ,  โยปุคฺคโล อ.บุคคลใด มโต ผู้ตายแล้ว โกจิ  บางคน   [๑] น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ, โส ปุคฺคโล อ.บุคคลนั้น อตฺถิ มีอยู่หรือ[๒]" ดังนี้.
(อีกนัยหนึ่ง แปลว่า)  
[ปุคฺคโล บุคคล มโต ผู้ตายแล้ว  โกจิ  บางคน น ปฏิสนฺทหติ ผู้ไม่ปฏิสนธิ อตฺถิ มีอยู่หรือ? " ดังนี้.]

เถโร อ.พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า โกจิ ปุคฺคโล อ.บุคคลบางคน ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ, โกจิ ปุคฺคโล  อ.บุคคล บางคน น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ” ดังนี้[๓]


ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า “โก อ.ใคร ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ, โก อ.ใคร น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ” ดังนี้
เถโร อ.พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สกิเลโส อ.บุคคลผู้มีกิเลส ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ, นิกฺกิเลโส อ.บุคคลผู้ไม่มีกิเลส น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ” ดังนี้
ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน   ภนฺเต ผู้เจริญ ปน ก็ ตฺวํ อ.ท่าน ปฏิสนฺทหิสฺสสิ จักปฏิสนธิ หรือ” ดังนี้.
เถโร อ.พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สเจ หากว่า อหํ อ.อาตมภาพ สอุปาทาโน เป็นผู้มีอุปาทาน[๔] ภวิสฺสามิ จักเป็นไซร้, อหํ อ.อาตมภาพ ปฏิสนฺทหิสฺสามิ จักปฏิสนธิ, สเจ หากว่า อหํ อ.อาตมภาพ อนุปาทาโน    เป็นผู้มีอุปาทานหามิได้   ภวิสฺสามิ จักเป็นไซร้, อหํ อ.อาตมภาพ น ปฏิสนฺทหิสฺสามิ ก็จักปฏิสนธิ หามิได้" ดังนี้.[๕]
ราชา อ.พระราชา อโวจ ได้ตรัสแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ภนฺเต   ผู้เจริญ ตฺวํ อ.ท่าน กลฺโล เป็นฝ่ายถูก[๖] อสิ ย่อมเป็น" ดังนี้

ปฏิสนฺธิปญฺโห ฉฏฺโฐฯ

ปฏิสนฺธิปญฺโห อ.ปฏิสนธิปัญหา
ฉฏฺโฅ ที่ ๖ นิฏฺฅิโต จบแล้ว.

v




[๑] โกจิ มีอรรถเล็กน้อย แปลว่า บางคน คือ ไม่ทั่วไป ถ้าเป็น โย โกจิ มีอรรถมาก แปลว่า อันใดอันหนึ่ง ซึ่งไม่เจาะจงว่าใคร.มีคำสาธกว่า จินฺโต กาโก จ กึสทฺโท  อปฺปกตฺถสฺส วาจโก."ศัพท์ว่า กา โก กึ  ที่มี  จิ เป็นที่สุด  บอกอรรถคือน้อย."

[๒] ประโยคนี้แปลได้ ๒ นัย คือ นัยที่ ๑  ตัดเป็นแบ่งเป็น ๒ ประโยค คือ อตฺถิ เป็น ๑ ประโยค และ โกจิ มโต น ปฏิสนฺทหติ อีก ๑ ประโยค. และเป็นประโยคย ต ดังที่เรียกว่า สังกรประโยค. เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้คำแปล โดยประกอบปาฐเสสะได้ว่า  อตฺถิ,  โกจิ มโต โย น ปฏิสนฺทหติ. การวาง อตฺถิที่เป็นกิริยา ไว้หน้าประโยคเช่นนี้ ใช้ย้ำความหรือเป็นกรณีพิเศษว่าเป็นคำถามได้บ้าง. นัยนี้แปลตามมิลินทปัญหานิสสย ฉบับของพม่า.  อตฺถิ ในที่นี้เป็นกิริยาอาขยาต แต่ที่เป็นนิบาต ก็มี โดยใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติ แปลว่า มีอยู่ เช่นกัน.

นัยที่ ๒ แปลไปตามปกติ โดยให้ ปฏิสนฺทหติ เป็นวิเสสนะ.  มีอธิบายว่า ประโยคนี้มีบทกริยา ๒ ศัพท์ คือ ปฏิสนฺทหติ และ อตฺถิ  ตามนัยนี้ อตฺถิ เป็นกิริยาคุมพากย์ส่วน ปฏิสนฺทหติ ให้ถือเป็นอาขยาตที่ใช้ในลักษณะของบทนาม เพราะประกอบกับบทอื่นคือ อตฺถิ คือตนเองเป็นวิเสสนะ และถือเอาความว่าดังนี้ว่า ผู้ปฏิสนธิ มีอยู่หรือไม่. ความข้อนี้พึงเห็นเหมือนชื่อว่า มกฺขลิ (มักขลิโคสาล) = มา ขลิ (อย่าลื่นล้ม), อญฺญาโกณฺฑญฺญ (พระอัญญาโกณฑัญญะ) = อญฺญาสิ โกณฺฑญฺญ (พระโกณฑัญญะรู้แจ้งแล้ว) นตฺถญฺโญ โกจิ วิชฺชติ (ที่พึงอะไรอื่นที่มีอยู่ในโลก ย่อมไม่มี) ดังคัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะกล่าวว่า
            สญฺญายมาขฺยาตํ นามํ        ปทนฺตรยุตํปิ วา
            มาขลิ โก เม วนฺทติ            นตฺถญฺโญ โกจิ วิชฺชติ.
      “เมื่อปรากฏชื่อ บทอาขยาตย่อมเปลี่ยนเป็นบทนามได้ หรือบทอาขยาตที่ประกอบกับบทอื่นก็เปลี่ยนเป็นบทนามได้ เช่น มาขลิ (มักขลิโคสาล), โก เม วนฺทติ(ผู้ไหว้เราอยู่เป็นใคร) นตฺถญฺโญ โกจิ วิชฺชติ (ที่พึงอื่นอะไรที่มีอยู่[ในโลก]ย่อมไม่มี)”] (ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๑)

 คำว่า ปฏิสนฺทหติ ย่อมปฏิสนธิ เป็นอีกรูปหนึ่งคำว่า ปฏิสนฺธิยติ. มาจาก ปติ+[สํ +ธา] = เชื่อม, สืบต่อกัน แปลโดยพยัญชนะว่า ย่อมสืบต่อกันอีก ดังสาธกว่า ปฏิสนฺทหตีติ ฆเฏติ, อนนฺตรํ อุปฺปาเทตีติ วุตฺตํ โหติ. (มูลฏี. ๓/๑๐๐). แต่ในที่นี้ หมายถึง จุติจิตและปฏิสนธิจิต ย่อมเกิดขึ้นในลำดับติดกัน แปลโดยอรรถว่า ย่อมปฏิสนธิ, ย่อมเกิดอีก, ย่อมเกิดใหม่ ดังสาธกว่า ปฏิสนฺธิกฺขนฺธานํ โย ปฏิสนฺธิอตฺโถ ปฏิสนฺทหนตฺโถ อตฺถิ, โส ปฏิสนฺธิอตฺโถ ปุนพฺภวตฺโถ ปุนภวนตฺโถ โหติ. (เนตฺติ.วิ. ๒๑๑) สำหรับการสำเร็จรูปนั้น ดังต่อไปนี้. ธา ธาตุปกติมีอรรถว่า ทรงไว้ แต่ถ้ามี สํ เป็นบทหน้า จะมีอรรถว่า สนฺธิ เชื่อมต่อ. ธา ธาตุ เทวภาวะหน้าธาตุเป้น ธาธา และรัสสะอัพภาสเป็น ธธา แปลง ธ เป็นท = ทธา อาเทส ธา เป็น ห รัสสะเป็น อ = ปติสํทหติ. (รู.๕๐๘) แปลง ปติ เป็น ปฏิ และ นิคคหิตที่ สํ เป็น นฺ สำเร็จรูปเป็น ปฏิสนฺทหติ.

[๓] พระเจ้ามิลินท์ต้องการทราบว่า ผู้ตายแล้วเกิดอีกมีไหม ซึ่งพระนาคเสนตอบแบบแยกแยะว่า ถ้ามีกิเลสอันเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในบรรดาปัจจัยสามอย่างดังพระสูตรที่สาธกนั้น ก็เกิดอีก. ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า สปจฺจโย แสดงว่า อุปาทานเป็นส่วนหนึ่ง มิใช่ทั้งหมด.

[๔] อรรถกถาและฏีกาอธิบายคำว่า สอุปาทาโน ผู้มีอุปาทาน หมายถึง ยังมีปัจจัย คือ มีกิเลสนั่นเองซึ่งเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิ. แม้ในบาฬีมิลินท์เอง ก็แสดงว่า สกิเลโส นิกฺกิเลโส.
            พระนาคเสนเถระ หมายเอาอุปาทานคือตัณหาอันมีกำลังมากขึ้นนั่นเองที่เป็นความยึดเกาะอยู่กับอารมณ์ต่างๆด้วยอำนาจความยินดีพอใจ แฝงตัวอยู่ในจิตใจของมนุษย์ปุถุชน และได้กระทำกรรมต่างๆ อันฝ่ายดีบ้าง ฝ่ายชั่วบ้าง ก็ด้วยอำนาจของอุปทานมีกามุปาทานเป็นต้นนั้น เมื่อทำกรรมต่างๆเสร็จสิ้นแล้ว กรรมนั้นอันมีตัณหาเป็นปัจจัย ก็จะเพาะพันธ์เป็นภพชาติ อีกต่อไปเรื่อยๆ.
            เรื่องนี้บัณฑิตพึงนำพระสูตรนี้มาสาธก
            พระอานนท์เถระทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า “ภพ”, ภพนั้น ย่อมมีด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระเจ้าข้า
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าไม่มีกรรมอันเป็นเหตุให้กามธาตุ (กามภพ) สุกงอม, กามภพจะปรากฏได้หรือไม่ อานนท์”
          พระอานนท์ทูลตอบว่า “ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า”
        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ฉะนี้แล อานนท์, กรรมเปรียบเหมือนนา (เพราะกุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นที่ตั้งของความเจริญงอกงามคือวิญญาณ เหมือนนาเป็นที่เพาะพันธุ์พืชให้เจริญงอกงาม), วิญญาณเปรียบเหมือนพันธุ์พืช (เพราะวิญญาณพร้อมกรรมเป็นความเจริญงอกงามเหมือนพืชที่งอกงามในนาซึ่งเกิดร่วมกัน), ตัณหา เปรียบเหมือนน้ำ (เพราะตัณหาประคับประคองและให้เอิบอิ่มเหมือนน้ำที่ไม่ให้นาและพ้นธุพืชแห้งแล้งและค้ำจุนให้เจริญงอกงาม). เมื่อสัตว์เป็นผู้ถูกอวิชชากั้นไว้มิให้กุศลธรรมงอกงาม, ถูกตัณหาร้อยรัดไว้ มีอยู่, วิญญาณ (วิญญาณที่เกิดร่วมกับกรรม) ย่อมเป็นอันตั้งอยู่แล้ว (หมายถึง ทำให้กรรมเป็นไปแล้วชักปฏิสนธิมาให้) ในธาตุชั้นต่ำ (คือ ในกามภพ) ความเกิดในภพใหม่อีกย่อมมีสืบต่อไปอานนท์ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุนี้อย่างนี้แล. (อัง. ติก ล. ๓๔ ข. ๕๑๗ น. ๔๒๔)
       แม้ปฏิจจสมุปบาท โดยเฉพาะที่ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีกรรมภพ เพราะกรรมภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯ บัณฑิตก็ควรศึกษาเพิ่มเติม

[๕] พระเถระไม่ยอมรับว่าท่านจักปฏิสนธิหรือไม่ แต่เลี่ยงตอบว่า ถ้ามีกิเลสก็ปฏิสนธิ ถ้าหมดกิเลสก็ไม่ปฏิสนธิ เพื่อแสดงว่า การที่พูดว่า หมดกิเลส ก็คือเป็นพระขีณาสพ ที่นับเป็นอุตตริมนุสสธรรมประการหนึ่ง ซึ่งมีพุทธบัญญัติมิให้ภิกษุบอก แม้ว่าจะมีอยู่ในตนก็ตาม.

[๖] คำว่า กลฺโล มีหลายอรรถ คือ ฉลาด, สามารถ, ถูกต้อง, สดชื่น.  ในที่นี้ อรรถกถามิลินทปัญหา ให้แปลว่า กลฺยาโณ คือ ดีแล้ว กล่าวคือ ยุตฺตํ ถูกต้องแล้ว ถือเอาความได้ว่า พระคุณเจ้าวิสัชนาได้ดีแล้ว สมควรแล้ว. ฏีกามิลินท์ว่า กลฺโลสีติ พฺยากรณฃาเณน เฉโกสิ, องฺคุตฺตรฏีกายํ พฺยากรเณ สมตฺโถฯ ปฏิพโลติปิ วตฺตุ วฏฺฏติเยวาติฯ ได้แก่ ฉลาดหลักแหลมด้วยปัญญาญาณรู้จักแก้ปัญหา กล่าวคือ มีความสามารถในการแก้ปัญหา. พึงทราบว่า เมื่อสนทนาปัญหาหนึ่งๆจบแล้ว พระเจ้ามิลินท์จะตรัสยกย่องพระนาคเสนเถระด้วยคำนี้แทบทุกครั้งไป.


********

3 ความคิดเห็น:

  1. มิลินทปัญหาแปล แบบคำต่อคำ

    ตอบลบ
  2. เจริญพร..ท่านอาจารย์ Sompob ขออนุญาตนำไปศึกษา ..แปลยกสัพท์พยัญชนะ แจ่มแจ้ง/ชัดเจนยิ่งนัก...สาธุ อนุโมทามิ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นมัสการพระคุณเจ้าขอรับ ด้วยความยินดียิ่ง ขอรับกระผม

      ลบ