วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มิลินทปัญหา อัทธานวรรคที่ ๒ (๔) ปัญหาเกี่ยวกับการเสวยเวทนาของพระอรหันตบุคคลผู้ไม่มีปฏิสนธิ

๔. ปฏิสนฺทหนปุคฺคลเวทิยนปญฺโห[1]
ปัญหาเกี่ยวกับการเสวยเวทนาของพระอรหันตบุคคลผู้ไม่มีปฏิสนธิ ที่ ๔.

. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, โย น ปฏิสนฺทหติ, เวเทติ โส กิญฺจิ ทุกฺขํ เวทน’’นฺติ?
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้วว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ภนฺเต ผู้เจริญ โย = อรหา พระอรหันต์ใด น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่เกิดอีก โส = อรหา พระอรหันต์นััน เวเทติ ย่อมเสวย เวทนํ ซึ่งเวทนา ทุกฺขํ อันเป็นทุกข์ กิญฺจิ บางอย่าง หรือไม่? อิติ ดังนี้

เถโร อาห ‘‘กิญฺจิ เวเทติ, กิญฺจิ น เวเทตี’’ติฯ
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว ว่า โส อรหา พระอรหันต์น้้น เวเทติ ย่อมเสวย กิญฺจิ ซึ่งเวทนาบางอย่าง, น เวเทติ ย่อมไม่เสวย กิญฺจิ ซึ่งเวทนาบางอย่าง.

‘‘กิํ เวเทติ, กิํ น เวเทตี’’ติ?
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว ว่า โส อรหา พระอรหันต์นั้น เวเทติ ย่อมเสวย กิํ ซึ่งเวทนา อะไร น เวเทติ ย่อมไม่เสวย กิํ เวทนํ ซึ่งเวทนาอะไร?

‘‘กายิกํ, มหาราช, เวทนํ เวเทติ, เจตสิกํ เวทนํ น เวเทตี’’ติฯ
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว ว่า โส อรหา พระอรหันต์น้้น เวเทติ ย่อมเสวย กิญฺจิ ซึ่งเวทนา กายิกํ ทางกาย, น เวเทติ ย่อมไม่เสวย เวทนํ ซึ่งเวทนา เจตสิกํ ทางใจ.

‘‘กถํ, ภนฺเต, กายิกํ เวทนํ เวเทติ, กถํ เจตสิกํ เวทนํ น เวเทตี’’ติ?
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านพระนาคเสน โส อรหา พระอรหันต์น้้น เวเทติ ย่อมเสวย กิญฺจิ ซึ่งเวทนา กายิกํ ทางกาย กถํ ได้อย่างไร, น เวเทติ ย่อมไม่เสวย เวทนํ ซึ่งเวทนา เจตสิกํ ทางใจ กถํ ได้อย่างไร? อิติ ดังนี้.

‘‘โย เหตุ โย ปจฺจโย กายิกาย ทุกฺขเวทนาย อุปฺปตฺติยา, ตสฺส เหตุสฺส ตสฺส ปจฺจยสฺส อนุปรมา กายิกํ ทุกฺขเวทนํ เวเทติ, โย เหตุ โย ปจฺจโย เจตสิกาย ทุกฺขเวทนาย อุปฺปตฺติยา, ตสฺส เหตุสฺส ตสฺส ปจฺจยสฺส อุปรมา เจตสิกํ ทุกฺขเวทนํ น เวเทติฯ
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว ว่า โย เหตุ เหตุ อันใด, โย ปจฺจโย ปัจจัยอันใด อุปฺปตฺติยา แห่งการเกิดขึ้น ทุกฺขเวทนาย แห่งเวทนาอันเป็นทุกข์ กายิกาย อันเป็นไปทางกย, อนุปรมา เพราะการไม่ดับไป ตสฺส เหตุสฺส แห่งเหตุนั้น ตสฺส ปจฺจยสฺส แห่งปัจจยนั้น โส อรหา พระอรหันต์นั้น เวเทติ ย่อมเสวย ทุกฺขเวทนํ ซึ่งเวทนาอันเป็นทุกข์ กายิกํ อันเป็นไปทางกาย, โย เหตุ เหตุ อันใด, โย ปจฺจโย ปัจจัยอันใด อุปฺปตฺติยา แห่งการเกิดขึ้น ทุกฺขเวทนาย แห่งเวทนาอันเป็นทุกข์ เจตสิกาย อันเป็นไปทางใจ อุปรมา เพราะการดับไป ตสฺส เหตุสฺส แห่งเหตุนั้น ตสฺส ปจฺจยสฺส แห่งปัจจัยนั้น โส อรหา พระอรหันต์นั้น น เวเทติ ย่อมไม่เสวย ทุกฺขเวทนํ ซึ่งเวทนาอันเป็นทุกข์ เจตสิกํ อันเป็นไปทางใจ

ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา – ‘โส เอกํ เวทนํ เวเทติ กายิกํ น เจตสิก’’’นฺติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร เอตํ วจนํ ปิ แม้ความข้อนี้ว่า  โส พระอรหันต์นั้น เวเทติ ย่อมเสวย เวทนํ กายิกํ เวทนาอันเป็นไปทางกาย เอกํ อย่างเดียว น เวเทติ ย่อมไม่เสวย เวทนํ ซึ่งเวทนา เจตสิกํ อันเป็นไปทางใจ อิติ ดังนี้ ภควตา พระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ตรัสแล้ว อิติ ดังนี้.

‘‘ภนฺเต นาคเสน, โย ทุกฺขํ เวทนํ เวเทติ, กสฺมา โส น ปรินิพฺพายตี’’ติ?
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ท่านพระนาคเสน โย อรหา พระอหันต์ เวเทติ ย่อมเสวย เวทนํ ซึ่งเวทนา ทุกฺขํ อันเป็นทุกข์, กสฺมา เพราะเหตุไร โส พระอรหันต์นั้น น ปรินิพฺพายติ ย่อมไม่ปรินิพพาน อิติ ดังนี้.

‘‘นตฺถิ, มหาราช, อรหโต อนุนโย วา ปฏิโฆ วา, น จ อรหนฺโต อปกฺกํ ปาเตนฺติ ปริปากํ อาคเมนฺติ ปณฺฑิตาฯ
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว ว่า มหาราช มหาบพิตร อนุนโย [2]วา ความยินดี หรือ ปฏิโฆ วา หรือว่า ความไม่ชอบใจ อรหโต ของพระอรหันต์ นตฺถิ ย่อมไม่มี, อรหนฺโต พระอรหันต์ท. อปกฺกํ ยังขันธ์อันไม่สุกงอม น ปาเตนฺติ ย่อมไม่ให้ตกไป ปณฺฑิตา บัณฑิตท. ปริปากํ ยังความแก่รอบ อาคเมนฺติ ย่อมให้มาถึง.

ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, เถเรน สาริปุตฺเตน ธมฺมเสนาปตินา
นาภินนฺทามิ มรณํ,            นาภินนฺทามิ ชีวิตํ;
กาลญฺจ ปฏิกงฺขามิ,           นิพฺพิสํ ภตโก ยถาฯ
นาภินนฺทามิ มรณํ,            นาภินนฺทามิ ชีวิตํ;
กาลญฺจ ปฏิกงฺขามิ,           สมฺปชาโน ปติสฺสโต’’’ติฯ
มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ ข้อความนี้ว่า
อหํ เรา อภินนฺทามิ ย่อมไม่ยินดี มรณํ ซึ่งความตาย, น อภินนฺทามิ ย่อมไม่ยินดี ชีวิตํ ซึ่งความเป็นอยู่, อนึ่ง อหํ เรา ปฏิกงฺขามิ ย่อมหวังอยู่ กาลํ = มรณปตฺตกาลํ ซึ่งกาลอันถึงซึ่งความตาย[3]  ยถา เปรียบเหมือน ภตโก ลูกจ้าง ปฏิกงฺขนฺโต หวังอยู่ นิพฺพิสํ ซึ่งค่าจ้าง,
อหํ เรา อภินนฺทามิ ย่อมไม่ยินดี มรณํ ซึ่งความตาย, น อภินนฺทามิ ย่อมไม่ยินดี ชีวิตํ ซึ่งความเป็นอยู่, อนึ่ง อหํ เรา สมฺปชาโน ผู้มีสัมปชัญญะ ปติสฺสโต = อุปฏฺฐิตสติ  มีสติตั้งมั่น[4] ปฏิกงฺขามิ ย่อมหวังอยู่ กาลํ = มรณปตฺตกาลํ ซึ่งกาลอันถึงซึ่งความตาย 
อิติ ดังนี้ สาริปุตฺเตน อันพระสารีบุตร ธมฺมเสนาปตินา ผู้พระธรรมเสนาบดี ภาสิตํ ภาสิตไว้ [5]อิติ ดังนี้

‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา พระราชา อโวจ ตรัส อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน, ตฺวํ ท่าน อสิ เป็น กลฺโล ผู้สามารถแก้ปัญหา .

นปฺปปฏิสนฺทหนปุคฺคลเวทิยนปญฺโห จตุตฺโถฯ
นปฺปปฏิสนฺทหนปุคฺคลเวทิยนปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับการเสวยเวทนาของพระอรหันตบุคคลผู้ไม่มีการปฏิสนธิ จตุตฺโถ ที่สี่ (นิฏฺฐิโต) จบ



[1] อรรถกถามิลินทปัญหาเป็น นปฺปฏิสนฺธิปุคฺคลเวทิยนปญฺหา ในที่นี้แปลตามอรรถกถา
[2] อนุนย เป็นชื่อหนึ่งของความยินดีหรือโลภะ ดังคัมภีร์ธัมมสังคณีปกรณ์ว่า ๑๑๖๕  ตตฺถ กตโม โลโภ? โย ราโค สาราโค อนุนโย อนุโรโธ นนฺที นนฺทีราโค.  คัมภีร์อรรถกถาอรรถาธิบายว่า โลภะ ได้ชื่อว่า อนุนยะ เพราะเป็นสภาวะที่นำสัตว์ไป กล่าวคือ ทำให้กำหนัดเนืองๆ ในอารมณ์. (อภิ.อ. ๑/๑๐๖๕, ม.ฎี. ๒/๑๗๕)
[3] แปลโดยอธิปปายัตถะตามนัยอรรถกถามิลินท์.
[4] แปลตามนัยของเถรคาถาอัฏฐกถา (เถร.อ. ๘๕) ด้วยคำนี้ ปติสฺสโต หมายถึง ผู้มีสติมุ่งไปสู่อารมณ์เป็นนิตย์ ความว่า ดำรงสติอยู่กับอารมณ์กรรมฐานเนืองๆ.(ม.อ.๑/๑๙๔) อุปฏฺฐิตสฺสติ มีรูปวิเคราะห์ว่า อุปฏฺฐิตา สติ เอเตสนฺติ อุปฏฺฐิตสฺสติ บุคคลผู้มีสติอันเป็นไปตรงต่ออารมณ์ ชื่อว่า อุปฏฺฐิตสฺสตี (ตามที่อรรถกถาอธิบายตามพระบาฬี แต่ในที่นี้เป็นเอกพจน์จึงมีรูปว่า อุปฏฐิตสติ)
[5] เถรคา. ๖๕๔ คาถานี้ ในคัมภีร์ขุททกนิกายเถรคาถาแสดงว่า พระขทิรวนิยเถระ ผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวไว้ ไม่ใช่พระสารีบุตร. นอกจากนี้ยังเป็นภาษิตของพระสังกิจจเถระด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น