วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๒. อภิธัมมัตถสังคหทีปนีฎีกา (๑)

๒. อธิบายกถาเริ่มปกรณ์ (๑)

คนฺถารมฺภกถาวณฺณนา
            ๑.  โภ อาจริย ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมติถาตฺยาทิวจนํ เอว อวตฺวา สมฺมาสมฺพุทฺธนฺติอาทิคาถา กิมตฺถํ อนุรุทฺธาจริเยน วุตฺตาติ โจทนา.   โภ โสตุชนรตนตฺตยปณามปณามารห-คุณกตฺตาปฏิญฺญาปฏิญฺญาตพฺพอภิเธยฺยกรณปฺปการปกรณาภิธานปโยชนานิ ทสฺเสตุ ํ  วุตฺตา.
อธิบายกถาเริ่มปกรณ์
            ๑. ท้วงว่า ท่านอาจารย์ผู้ประเสริฐ พระอนุรุทธาจารย์ไม่กล่าวคำอาทิว่า ตตฺถ  วุตฺตาภิธมฺมตฺถา อรรถแห่งพระอภิธรรม  อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระอภิธรรมนั้น แต่กล่าวคาถามีอาทิว่า  สมฺมาสมฺพุทธมตุลํ ข้าพเจ้า  (พระอนุรุทธาจารย์)  ขอถวายอภิวาท  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่ออะไร ?.
            ตอบว่า ท่านผู้เจริญ ที่ท่านกล่าวไว้ก็เพื่อจะแสดงการนอบน้อมพระรัตนตรัย ๑ คุณแห่งบุคคลผู้ควรนอบน้อม ๑ ผู้แต่ง ๑ การปฏิญญา (การรับรอง) ๑ คำหรือปกรณ์ที่พึงปฏิญญา ๑ เนื้อเรื่องที่จะพึงกล่าว ๑ วิธีการแต่ง ๑ ชื่อปกรณ์ ๑ และประโยชน์      ให้แก่ผู้ฟัง.

            ตตฺถ สมฺมาสมฺพุทธมตุลํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ อภิวาทิยาติ อิมินา รตนตฺตยปณามปณามรหคุเณ ทสฺเสติ.  กตฺตา ปน ภาสิสฺสนฺติ เอตฺถ สฺสามิวิภตฺติยา ทสฺสิโต. ภาสิสฺสนฺติ อิมินา ปฏิญฺญา ทสฺสิตา.  ปฏิญฺญาตพฺพํ ปน ภาสิสฺสนฺติ เอตฺถ ภาสธาตุสฺส สามตฺถิเยน ทสฺสิตพฺพํ.  อถวา อภิธมฺมตฺถสงฺคหนฺติ ปเทน ทสฺสิตํ.
        ในคำดังกล่าวนั้น แสดงการนอบน้อมพระรัตนตรัยและคุณแห่งบุคคลผู้ควรนอบน้อม ด้วยคำว่า สมฺมาสมฺพุทธมตุลํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ อภิวาทิย ขอถวายอภิวาท         พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้มีพระคุณอันหาผู้เปรียบปานมิได้ พร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่แห่งพระอริยสงฆ์อันสูงสุด
            แสดงผู้แต่งด้วย สฺสามิ วิภัตติ ในกิริยาบทว่า ภาสิสฺสํ ข้าพเจ้า ฯลฯ จักกล่าว นี้. แสดงการปฏิญญา ด้วยกิริยาบทนี้ว่า ภาสิสฺสํ ข้าพเจ้า ฯลฯ จักกล่าว.
ส่วน คำที่พึงปฏิญญา ได้แก่ คำที่พึงแสดงด้วยความสามารถแห่งภาส ธาตุ ในกิริยาบทนี้ว่า ภาสิสฺสํ ข้าพเจ้า ฯลฯ จักกล่าว.  หรืออีกนัยหนึ่ง แสดงไว้ด้วยบทว่า อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ (จักกล่าว)ปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะ.
อิมินา ปกรเณน ทสสิตา จตฺตาโร ปรมตฺถา อภิเธยฺยา นาม. จตุนฺนํ อภิธมฺมตฺถานํ เอกสฺมึเยว ปกรเณ สงฺคโห สมฺปิณฺเฑตฺวา คหณํ กรณปฺปกาโร นาม.  อภิธมฺมตฺถสงฺคหนฺติ ปกรณสฺส นามํ ปกรณาภิธานํ.
เนื้อเรื่องที่จะพึงกล่าว ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๔ ที่แสดงไว้ด้วยปกรณ์นี้. วิธีการแต่งปกรณ์ ได้แก่ การสงเคราะห์ คือรวบรวมถือเอาอรรถแห่งพระอภิธรรมทั้ง ๔ ไว้ในปกรณ์เดียวเท่านั้น. ชื่อแห่งปกรณ์ว่า อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นชื่อปกรณ์.

อิเม ตโย อตฺถา อภิธมฺมตถสงฺคหนฺติ ปเทน ทสฺสิตา.  กถํ ทสฺสิตา. อภิธมฺมตฺถานํ อิธ สงฺคเหตพฺพภาวทสฺสเนน เตสํ อภิธมฺมตฺถานํ สมุทิเตน อิมินา ปกรเณน   ปฏิปาเทตพฺพภาวทีปนโต อภิเธยฺโย ทสฺสิโต โหติ. จตุนฺนํ อภิธมฺมตฺถานํ เอกตฺถสงฺคยฺหกถนาการทีปนโต ปกรณปฺปกาโร ทสฺสิโต โหติ. อภิธมฺมตฺถสงฺคหนฺติ อตฺถานุคตสมญฺญาปริทีปนโต ปกรณาภิธานํ ทสฺสิตํ โหติ.
คำว่า อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ อภิธัมมัตสังคหะ ได้แสดงอรรถ ๓ ประการนี้. อย่างไร ? คือ
๑. ได้แสดงเนื้อเรื่องที่จะพึงกล่าว เพราะแสดงการที่อรรถแห่งพระอภิธรรมเหล่านั้น อันปกรณ์นี้ ที่เกิดขึ้นโดยแสดงการรวบรวมอรรถแห่งพระอภิธรรมไว้ในที่นี้ พึงให้ปรากฏ.
๒. ได้แสดงวิธีการแต่งปกรณ์ เพราะแสดงอาการคือกล่าวสงเคราะห์อรรถแห่งพระอภิธรรมทั้ง ๔ ไว้ในที่เดียว.
๓. ได้แสดงชื่อแห่งปกรณ์ เพราะแสดงสมญานามที่เป็นไปตามความหมายว่า อภิธัมมัตถสังคหะ (ปกรณ์ที่สงเคราะห์ รวบรวมอรรถแห่งพระอภิธรรม).

            ปโยชนํ ปน ทุวิธํ โหติ มุขฺยานุสงฺคิกวเสน. ตํ ทุวิธมฺปิ ปโยชนํ สงฺคหปเทน สามตฺถิยโต ทสฺสิตํ โหติ. กตมํ มุขฺยปโยชนํ ? สตฺตปฺปกรเณ นานานเยหิ วิตฺถารโต เทสิเต อภิธมฺมตฺเถ เอกสฺมึเยว อภิธมฺมตฺถสงฺคหปฺปกรเณ สงฺขิปิตฺวา คเหตฺวา กถนํ.  ตํ ปกรณํ อุคฺคหปริปุจฺฉาสวนธารณสชฺฌายนจินฺตนวเสน เตสํ อภิธมฺมตฺถานํ อนายาเสน สรูปาวโพธสฺส  สํสิชฺฌนํ มุขฺยปฺปโยชนํ นาม.
            สำหรับประโยชน์ก็มีสองอย่างเกี่ยวกับเป็นมุขยประโยชน์ (ประโยชน์โดยตรง)และอนุสังคิกประโยชน์ (ประโยชน์ที่มีโดยติดต่อสืบ ๆ กัน).
            มุขยประโยชน์ คือ การที่ย่ออรรถแห่งพระอภิธรรมที่ทรงแสดงไว้โดยพิสดารมีนัยต่าง ๆ ในพระอภิธรรมทั้ง ๗ ปกรณ์แล้วจับมากล่าวไว้ในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะปกรณ์เดียวเท่านั้น. ปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะนั้น ก็เป็นเหตุให้สำเร็จการหยั่งรู้สภาวะแห่งอรรถพระอภิธรรมเหล่านั้น เนื่องด้วยการเล่าเรียน สอบถาม สดับฟัง ทรงจำไว้ได้ สาธยาย ขบคิด ได้โดยไม่ยาก.

            กตมํ อนุสงฺคิกปโยชนํ ? ตํมูลิกาย ทิฏฐธมฺมิกสมฺปรายิกตฺถสิทฺธิยา อนายาเสน สํสิชฺฌนํ อนุสงฺคิกปโยชนํ  นาม.           
วุตฺตญฺหิ
                        ทิฏเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ            โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
                        อตฺถาภิสมยา ธีโร                    ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจตี ติ.

            อนุสังคิกประโยชน์ คือ การให้ความสำเร็จเป็นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ที่พึงได้ในโลกนี้) และสัมปรายิตกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ที่พึงได้รับในโลกหน้า) อันมีการหยั่งรู้สภาวะแห่งอรรถพระอภิธรรมนั้นเป็นมูล สำเร็จโดยไม่ยาก.
            สมดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ใน อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาตว่า
            ท่านเรียกบุคคลผู้เป็นปราชญ์ รู้ประโยชน์ ในทิฏฐธรรมและ
ที่เป็นไปในโลกอื่น ว่าเป็นบัณฑิต.[1]

            อิทํ วุตฺตํ โหติ, อภิธมฺมตฺถานํ เอกสฺมึเยว ปกรเณ อาจริเยน สงฺขิปิตฺวา คหเณ วิชฺชมาเน โสตูนํ ตุทคฺคหปริปุจฺฉาทิวเสน เตสํ อภิธมฺมตฺถานํ สรูปาวโพโธ โหติ.   ตทวโพธสฺส สมฺมาปฏิปตฺติยา ปริปูรณํ โหติ.  ตํ ปริปูเรนฺตสฺส ปริปุณฺณํ วต เม สีลนฺติ อวิปฺปฏิสาโร โหติ.  อวิปฺปฏิสาโร ปาโมชฺชตฺถาย โหติ.  ปาโมชฺชํ ปีติตฺถาย.  ปีติ     ปสฺสทฺธตฺถาย. ปสฺสทฺธิ สุขตฺถาย.  สุขํ สมาธตฺถาย.  สมาธิ ยถาภูตญาณทสฺสนตฺถาย.  ยถาภูตญาณทสฺสนํ นิพฺพิทตฺถาย.  นิพฺพิทา วิราคตฺถาย.  วิราโค วิมุตฺตฺถาย. วิมุตฺติ         วิมุตฺติญาณทสฺสนตฺถาย.  วิมุตฺติญาณทสฺสนํ อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย โหติ.
            มีอธิบายว่า เมื่อมีการถือเอาอรรถแห่งพระอภิธรรม อันอาจารย์ย่อไว้ในปกรณ์เดียวเท่านั้น ก็ย่อมมีการหยั่งรู้สภาวะแห่งอรรถของพระอภิธรรมเหล่านั้น แก่ผู้ศึกษา เกี่ยวกับการเรียนและสอบถามอรรถพระอภิธรรมเหล่านั้นได้.
        สัมมาปฏิบัติ ก็ย่อมเป็นอันบริบูรณ์แก่เธอผู้หยั่งรู้อรรถเหล่านั้นได้. เมื่อเธอให้สัมมาปฏิบัติบริบูรณ์นั้น ก็ไม่วิปปฏิสารด้วยคิดว่า ศีลเราบริบูรณ์หนอ. ความไม่วิปปฏิสารนั้น ก็เพื่อประโยชน์แก่ปราโมทย์.  ปราโมช ก็เพื่อประโยชน์ปีติ. ปีติ ก็เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ. ปัสสัทธิ ก็เพื่อประโยชน์แก่สุข. สุข ก็เพื่อประโยชน์แก่สมาธิ. สมาธิ ก็เพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ. ยถาภูตญาณทัสสนะ ก็เพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา. นิพพิทา ก็เพื่อประโยชน์แก่วิราคะ.  วิราคะ ก็เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ. วิมุตติ ก็เพื่อประโยชน์ แก่วิมุตติญาณทัสสนะ.  วิมุตติญาณทัสนะ ก็เพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน.
           
            ยทิ ทิฏฺเฐว ธมฺเม มคฺคผลาธิคโม น โหติ.  สมฺปราเย ภวโภคสมฺปตฺติอาทิปฏิลาโภ โหติ.  สติปิ มคฺคผลาธิคเม ยทิ ทิฏฺเฐว ธมฺเม อรหตฺตํ น สจฺฉิกโรติ.   ทุติยภวาทีสุ   สจฺฉิกโรติ โภคสมฺปตติอาทิปฏิลาโภ จ โหติ. 
            ถ้ายังไม่บรรลุมรรคผลในปัจจุบันเทียว ก็จะได้สมบัติมีภพและโภคะเป็นต้นในสัมปรายภพ. แม้ถ้ามีการบรรลุมรรคผล หากยังไม่แทงตลอดพระอรหัตต์ในปัจจุบันภพนั่นเอง ก็จะมีการแทงตลอดพระอรหัตต์ และได้โภคสมบัติเป็นต้นในภพที่สองเป็นต้น.


ตสฺมา ทุวิธปโยชนาธิคมาย อญฺญกิจฺจานิ อชฺฌุเปกฺขิตฺวา อภิธมฺมตฺถสงฺคหปฺ   -ปกรเณเยว อุคฺคหปริปุจฺฉาสวนธารณสชฺฌายนจินฺตนวเสน อติวิย โยโค กรณีโยติ.
เพราะฉะนั้น ครั้นเล็งเอากิจที่ควรรู้ทั่ว เพื่อบรรลุประโยชน์ทั้งสองประการนั้นแล้ว ความหมั่นเพียรในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะนั่นแหละ เกี่ยวกับการเรียน สอบถาม ฟัง ทรงจำ สาธยาย ขบคิด จัดเป็นกิจที่ควรกระทำอย่างยิ่ง.
           
            ตตฺถ รตนตฺตยปณาโม กสฺมา ทสฺสิโตติ โจทนา.  ยํ กิญฺจิ คนฺถํ สมารภิตุกาเมน   ตาวาจริเยน รตนตฺตยปณามํ กตฺวา ตพฺพิหตนฺตราเยน สมารภิตพฺโพติ กตฺวา ทสฺสิโต. เอตฺถ หิ ตพฺพิหตนฺตรายตา นาม ยถาปฏิญฺญาตตฺถาภินิปฺผาทนสมตฺถตา, สารรตนตฺตยปณาเมน โหติ.  รตนตฺตยปณาเมน หิ อนฺตรายวิโสธิเตน ปญฺญา พลวา      โหตีติ.

            ถามว่า เพราะเหตุไร จึงแสดงการนอบน้อมพระรัตนตรัยในปณามคาถานั้น
      ตอบว่า ที่แสดงการนอบน้อมไว้ เพราะธรรมดา อาจารย์ผู้ประสงค์จะเริ่มแต่งคัมภีร์ใด ๆ  ควรนอบน้อมพระรัตนตรัยเสียก่อน แล้วจะเป็นผู้ขจัดอันตรายได้ด้วยการนอบน้อมนั้น จึงเริ่มปกรณ์ได้.  จริงอยู่ ในเรื่องนี้ ธรรมดาแล้ว ความเป็นผู้มีอันตรายอันการนอบน้อมพระรัตนตรัยขจัดได้ ก็คือ การที่สามารถทำความมุ่งหวังที่ตนปฏิญญาไว้ให้สำเร็จได้ โดยการนอบน้อมพระรัตนตรัยเป็นสำคัญ.  อนึ่ง ปัญญา เป็นสภาพมีกำลัง ก็ด้วยการขจัดอันตรายได้ด้วยการนอบน้อมพระรัตนตรัย.

*******
(อ่านครั้งที่ ๓ ต่อ)




[1] อง. ปญฺจ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น