วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๒. นมักการฎีกา อธิบายคำว่า สุคตํ ในคาถาที่ ๑

ตตฺถ สุคตนฺติ โสภนคมนตฺตา สุนฺทรํ ฐานํ คตตฺตา สมฺมา คตตฺตา จ สุคโต.  โส หิ โสภนํ อริยมคฺเคน คจฺฉตีติ สุคโตติ วุจฺจติ.  สุปุพฺโพ คมุ ธาตุ ต. สุ สทฺโท โสภนตฺโถ.  อริยมคฺคคมเนน ปริสุทฺธํ อนวชฺชํ เขมํ ทิสํ อสชฺชมาโน คโตติ อตฺโถ.
จะแสดงอรรถาธิบายสืบไป. คำว่า สุคตํ พระสุคตเจ้า ได้แก่ พระผู้เสด็จไปดีแล้ว เพราะเสด็จไปดี เพราะเสด็จไปสู่สถานที่ดี และเพราะเสด็จไปโดยชอบ. เป็นความจริงว่า พระพุทธเจ้านั้น บัณฑิตได้ขนานนามพระองค์ว่า สุคต เพราะทรงเสด็จไปดี ทางอริยมรรค. มี สุ เป็นบทหน้า คมุ ธาตุ ในการไป ลง ต ปัจจัย.  สุ ศัพท์ มีอรรถว่า ดีงาม. มีอรรถาธิบายว่า ทรงเป็นผู้ไม่ติดขัด เสด็จไปยังทิศ อันบริสุทธิ์ ปราศจากโทษ เกษม โดยทางไปคืออริยมรรค.
 
ตญฺจ  คมนํ  ทุวิธํ  โหติ  กายคมนํ,  ญาณคมนญฺจาติ.   ตตฺถ  ภควโต    เวเนยฺยชนุปสงฺกมนํ เอเกนฺเตน เตสํ หิตสุขาย นิปฺผาทนโต โสภนํ กาเยน คมนํ กายคมนํ นาม.  สยมฺภูญาเณน ปน สกลมฺปิ โลกํ ปริญฺญาภิสมยวเสน ปริชานนโต[1] ญาเณน คมนํ ญาณคมนํ นาม.  อิธ ปน ญาณคมนํ อธิปฺเปตํ.  องฺคุตฺตรฏีกายํ ปน โสภนํ คตํ คมนํ    เอตสฺสาติ สุคโตติ วุตฺตํ.
การไปมีอยู่ ๒ ประการ คือ กายคมนํ การไปด้วยกาย ๑  ญาณคมนํ คือ การไปด้วยพระญาณ ๑.  และในการไปทั้ง ๒ ประการนั้น การเสด็จเข้าไปสู่มวลเวไนยชน ของพระผู้มีพระภาค เป็นการเสด็จไปที่ดีงามทางกาย เพราะทรงให้สำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์เหล่านั้น โดยส่วนเดียว ชื่อว่า กายคมนํ การไปด้วยกาย.  แต่ การไปด้วยญาณ ชื่อว่า ญาณคมนํ การไปด้วยญาณ เพราะได้กำหนดรู้ โลกทั้งสิ้น ด้วยพระสยัมภูญาณ ด้วยอำนาจปริญญาภิสมัย (การตรัสรู้ธรรมคือการกำหนดรู้). ในที่นี้ประสงค์เอาการไปด้วยญาณ.  แต่ในฏีกาอังคุตรนิกายว่า ชื่อว่า พระสุคต เพราะอรรถว่า ทรงมีการเสด็จไปที่งดงาม.

สุนฺทรํ ฐานํ คจฺฉตีติ สุคโตติ จ วุจฺจติ.  อารมฺมณกรณวเสน อมตํ นิพฺพานํ    คโตติ อตฺโถ.
ทรงพระนามว่า สุคต เพราะเสด็จไปสู่ฐานะอันดีงาม. หมายความว่า ทรงเสด็จไปสู่พระนิพพาน อันอมตะ เกี่ยวกับว่า ทรงทำให้เป็นอารมณ์

สมฺมา อวิปรีตํ เจส คจฺฉตีติ สุคโตติ วุจฺจติ .  สุสทฺโท สมฺมาสทฺทตฺโถ.  เตน เตน มคฺเคน เย กิเลสา ปหีนา. เต กิเลเส น ปุเนติ น ปจฺเจติ น ปจฺจาคจฺฉตีติ อตฺโถ. 
อนึ่ง บัณฑิตขนานพระนามว่า สุคต เพราะพระพุทธองค์นี้ ทรงเสด็จไปโดยชอบ ไม่วิปริต ผันแปร. คำว่า สุ มีความหมายแห่ง สัมมา ศัพท์ ที่แปลว่า โดยชอบ (ไม่ผันแปร). หมายความว่า กิเลสเหล่าใด ถูกอริยมรรคละขาดแล้ว ก็มิได้ทรงคืน ไม่ทรงกลับ ไม่ทรงหวนมาสู่อีกกิเลสเหล่านั้นอีกเลย.
        
อถวา สมฺมา อาคจฺฉตีติ สุคโตติ จ วุจฺจติ. ทีปงฺกรปาทมูลโต ปภุติ ยาว โพธิมณฺฑา ตาว สมตึสปารมิปูริกาย[2] สมฺมาปฏิปตฺติยา สพฺพโลกสฺส หิตสุขเมว กโรนฺโต สสฺสตํ อุจฺเฉทํ กามสุขํ อตฺตกิลมถญฺจาติ อิเม จนฺเต อนุปคจฺฉนฺโต อาคโตติ อตฺโถ.
อีกนัยหนึ่ง ทรงขนานพระนามว่า สุคต เพราะย่อมเสด็จมาโดยชอบ. จริงอย่างนั้น พระองค์ เมื่อทรงสร้างแต่ประโยชน์และความสุขแก่ชาวโลกทั้งปวง ด้วยสัมมาปฏิบัติ  อันจะสร้างบารมี ๓๐ ประการให้บริบูรณ์ นับตั้งแต่เบื้องบาทของพระทีปังกรพุทธเจ้า ตราบจนถึงโพธิมณฑล ก็ไม่ทรงเข้าใกล้ส่วนสุดเหล่านี้ คือ สัสสทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ กามสุขและอัตตกิลมถะ  ทรงเสด็จมาแล้ว.

ตํ สุคตํ พุทฺธํ นเม นมามีติ สมฺพนฺโธ.
มีการเชื่อมความ(ที่ขาดไป) ว่า ข้าพเจ้า ขอถวายนมัสการ พระพุทธเจ้า ผู้เสด็จไปดีแล้ว พระองค์นั้น.


(ยังมีต่อ)


[1] ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาเป็น ปริชานนฺโต เมื่อถือเอานัยนี้ ควรแปลว่า เมื่อทรงกำหนดรู้ ...
[2] ในวิสุทธิมรรคเป็น สมตึสปารมีปูริตาย เมื่อถือเอานัยนี้ ควรแปลว่า โดยความเป็นผู้กระทำบารมี ๓๐ ให้บริบูรณ์แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น