วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

๑๗. เมณฑกกัณฑ์ - อิทธิพลวรรค - ๗.สัทธัมมอันตรธานปัญหา

 

๗. สทฺธมฺมนฺตรธานปญฺโห

 

. สัทธัมมันตรธานปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

 

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ  สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติฯ ปุน จ ปรินิพฺพานสมเย สุภทฺเทน ปริพฺพาชเกน ปญฺหํ ปุฏฺเฐน ภควตา ภณิตํอิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ, อเสสวจนเมตํ, นิสฺเสสวจนเมตํ, นิปฺปริยายวจนเมตํฯ

 

๗. มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ  คำนี้  ภควตา  พระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตไว้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้[1]. และ ปรินิพฺพานสมเย ในสมัยปรินิพพาน ปญฺหํ ปัญหา ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ผู้ - สุภทฺเทน ปริพฺพาชเกน อันสุภัททปริพพาชก ปุฏฺเฐน ทูลถามแล้ว ภณิตํ ก็ตรัสไว้ ปุน อีก อิติ ว่า ก็ สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้[2],  เอตํ พุทฺธวจนํ พระพุทธพจน์นี้ อเสสวจนํ เป็นพระดำรัสอันไม่มีส่วนเหลือ โหติ ย่อมเป็น, เอตํ พุทฺธวจนํ พระพุทธพจน์นี้ นิสฺเสสวจนํ เป็นพระดำรัส มีส่วนเหลือหมดแล้ว โหติ ย่อมเป็น, เอตํ พุทฺธวจนํ พระพุทธพจน์นี้ นิปฺปริยายวจนํ เป็นพระดำรัสโดยตรง โหติ ย่อมเป็น.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคเตน ภณิตํ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติ, เตน หิ อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

 

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ผิว่า เอตํ วจนํ คำนี้ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสไว้แล้วไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ที่ว่า โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา ผิด.

 

ยทิ ตถาคเตน ภณิตํ อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ, เตน หิ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

 

ยทิ ผิว่า วจนํ คำ อิติ ที่ว่า โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสไว้ แล้วไซร้ , เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ แม้คำนั้น อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้ มิจฺฉา ก็จะต้องผิด[3].

 

อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห คหนโตปิ คหนตโร พลวโตปิ พลวตโร คณฺฐิโตปิ คณฺฐิตโร, โส ตวานุปฺปตฺโต, ตตฺถ เต ญาณพลวิปฺผารํ ทสฺเสหิ มกโร วิย สาครพฺภนฺตรคโต’’ติฯ

 

อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง[4] คหนตโร เป็นของยุ่งยิ่งกว่ายุ่ง พลวตโร มีกำลังยิ่งแม้กว่าปัญหาที่มีกำลัง คณฺฐิตโร เป็นปมยิ่งกว่าเป็นปม, โส ปญฺโห ปัญหานั้น อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, ตฺวํ ท่าน ทสฺเสหิ จงแสดง ญาณพลวิปฺผารํ ซึ่งพลังแห่งการแผ่ไพศาลแห่งญาณ เต ของท่าน ตตฺถ = ตสฺมิํ ปญฺเห ในปัญหานั้น วิย ดุจ มกโร มังกร สาครพฺภนฺตรคโต ผู้อยู่ภายในสาคร (ทสฺเสนฺโต) แสดงอยู่ (ญาณพลวิปฺปผารํ) พลังแห่งความแผ่ไปไพศาลแห่งกำลัง (ตสฺมิํ มหาสาคเร) ในมหาสาครนั้น ดังนี้. [5]

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติฯ ปรินิพฺพานสมเย จ สุภทฺทสฺส ปริพฺพาชกสฺส ภณิตํ อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ  คำนี้  ภควตา  พระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ก็ทรงภาษิตไว้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้, และ ปรินิพฺพานสมเย ในสมัยปรินิพพาน เอตํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ก็ตรัสไว้ สุภทฺทสฺส ปริพฺพานชกสฺส แก่สุภัททปริพพาชก ดังนี้.

 

ตญฺจ ปน, มหาราช, ภควโต วจนํ นานตฺถญฺเจว โหติ นานาพฺยญฺชนญฺจ, อยํ สาสนปริจฺเฉโท, อยํ ปฏิปตฺติ ปริทีปนาติ ทูรํ วิวชฺชิตา เต อุโภ อญฺญมญฺญํฯ ยถา, มหาราช, นภํ ปถวิโต ทูรํ วิวชฺชิตํ, นิรยํ สคฺคโต ทูรํ วิวชฺชิตํ, กุสลํ อกุสลโต ทูรํ วิวชฺชิตํ, สุขํ ทุกฺขโต ทูรํ วิวชฺชิตํฯ เอวเมว โข, มหาราช, เต อุโภ อญฺญมญฺญํ ทูรํ วิวชฺชิตาฯ

 

มหาราช มหาบพิตร จ ปน ก็แล ตํ วจนํ คำนั้น นานตฺถํ เจว มีเนื้อความต่างกัน ด้วย, นานาพยญฺชนํ จ และมีพยัญชนะต่างกัน โหติ ย่อมเป็น, อุโภ วาจา แม้คำทั้งสอง เต เหล่านั้น ทูรํ ห่างกัน วิวชฺชิตา เว้นขาดจากกัน อญฺญมญฺญํ ซึ่งกันและกัน อิติ คือ อยํ วาจา พระดำรัสนี้ สาสนปริจฺเฉโท เป็นคำกำหนดพระศาสนา, อยํ วาจา คำพูดนี้ ปฏิปตฺติปริทีปนา เป็นคำพูดแสดง(ยกย่อง)การปฏิบัติ. มหาราช มหาบพิตร นภํ ท้องฟ้า ทูรํ วิวชฺชิตํ แยกไกลห่างแล้ว ปถวิโต จากแผ่นดิน, นิรยํ นรก ทูรํ วิวชฺชิตํ แยกไกลห่างแล้ว สคฺคโต จากสวรรค์, กุสลํ กุศล ทูรํ วิวชฺชิตํ แยกไกลห่างแล้ว อกุสลโต จากอกุศล, สุขํ สุข ทูรํ วิวชฺชิตํ แยกไกลห่างแล้ว ทุกฺขโต จากทุกข์ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เต อุโภ วาจา วาจาทั้งหลาย ๒ เหล่านั้น ทูรํ วิวชฺชิตา แยกไกลห่างแล้ว อญฺญมญฺญํ ซึ่งกันและกัน ดังนี้.

 

‘‘อปิ จ, มหาราช, มา เต ปุจฺฉา โมฆา อสฺส, รสโต เต สํสนฺทิตฺวา กถยิสฺสามิ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติ ยํ ภควา อาห, ตํ ขยํ ปริทีปยนฺโต เสสกํ ปริจฺฉินฺทิ, วสฺสสหสฺสํ, อานนฺท, สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย, สเจ ภิกฺขุนิโย น ปพฺพาเชยฺยุํฯ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติฯ อปิ นุ โข, มหาราช, ภควา เอวํ วทนฺโต สทฺธมฺมสฺส อนฺตรธานํ วา วเทติ อภิสมยํ วา ปฏิกฺโกสตี’’ติ?

 

มหาราช มหาบพิตร อปิ จ อย่างไรก็ตาม ปุจฺฉา คำรับสั่งถาม เต ของมหาบพิตร มา โมฆา อย่าเป็นของเสียเปล่า อสฺส พึงเป็น, อหํ อาตมภาพ กถยิสฺสามิ จักถวายพระพร สํสนฺทิตฺวา เทียบเคียง เต แก่พระองค์ รสโต โดยความหมาย [6] อิติ ว่า ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว ยํ วจนํ ซึ่งพระดำรัสใด อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ทานิ บัดนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ ปญฺจ วสฺสตานิ เอว เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดังนี้, โส ภควา พระผู้มีพระภาค ปริทีปยนฺโต เมื่อจะทรงแสดง ขยํ ซึ่งความสิ้นไปแห่งพระสัทธรรมอันควรต่อการดำรงอยู่ตลอด ๕๐๐ ปีแรก ตํ = เตน วจเนน พระดำรัสนั้น [7] ปริจฺฉินฺทิ จึงทรงกำหนด เสสกํ ซึ่งขณะแห่งการดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรม ตลอด ๕๐๐ ปีหลัง ที่เหลือ (เอวํ) อย่างนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ สเจ หากว่า ภิกฺขุนิโย ภิกษุนีทั้งหลาย น ปพฺพเชยฺยุํ ไม่พึงบวช ไซร้, สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ติฏฺเฐยฺย พึงดำรงอยู่ วสฺสสหสฺสํ ตลอดพันปี, อานนฺท อานนท์ ทานิ ต่อไปนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ วสฺสสตานิ ตลอดร้อยแห่งปีทั้งหลาย ปญฺเจว ๕ เท่านั้น ดังนี้. มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค วทนฺโต เมื่อตรัส เอวํ อย่างนี้ วเทติ ชื่อว่า ตรัส อนฺตรธานํ ซึ่งอันตรธาน สทฺธมฺมสฺส แห่งพระสัทธรรม วา หรือว่า ปฏิกฺโกสติ ทรงคัดค้านอยู่ อภิสมยํ ซึ่งอภิสมัย (ความตรัสรู้) อปิ นุ โข หรือ หนอ แล ดังนี้[8].

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ หามิได้ ดังนี้.

 

‘‘นฏฺฐํ, มหาราช, ปริกิตฺตยนฺโต เสสกํ ปริทีปยนฺโต ปริจฺฉินฺทิฯ ยถา, มหาราช, ปุริโส นฏฺฐายิโก สพฺพเสสกํ คเหตฺวา ชนสฺส ปริทีเปยฺย เอตฺตกํ เม ภณฺฑํ นฏฺฐํ, อิทํ เสสกนฺติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ภควา นฏฺฐํ ปริทีปยนฺโต เสสกํ เทวมนุสฺสานํ กเถสิ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติฯ ยํ ปน, มหาราช, ภควตา ภณิตํ ปญฺเจว ทานิ, อานนฺท, วสฺสสตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสตีติ, สาสนปริจฺเฉโท เอโสฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ปริกิตฺตยนฺโต เมื่อทรงประกาศ นฏฺฐํ ซึ่งอายุพระศาสนาส่วนที่เสื่อมหายแล้ว ปริทีปยนฺโต ปริจฺฉินฺทิ ชื่อว่า ทรงแสดงกำหนด เสสกํ ซึ่งอายุพระศาสนาส่วนที่เหลือ. มหาราช มหาบพิตร ปุริโส บุรุษ นฏฺฐายิโก ผู้มีทรัพย์อันหายไปแล้ว คเหตฺวา ถือเอา สพฺพเสสกํ ซึ่งทรัพย์ส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมด ปริทีเปยฺย พึงแสดง ชนสฺส แก่ชนอื่น อิติ ว่า ภณฺฑํ ของ เม ของข้าพเจ้า เอตฺตกํ เท่านี้, อิทํ ภณฺฑํ ของ นี้ เสสกํ เป็นของที่เหลืออยู่ ดังนี้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ปริทีปยนฺโต เมื่อทรงแสดง นฏฺฐํ ซึ่งอายุแห่งพระศาสนาที่เสื่อมหายแล้ว กเถสิ ชื่อว่า ตรัสแล้ว เสสกํ ซึ่งอายุพระศาสนาที่เหลืออยู่ เทวมนุสฺสานํ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อิติ ว่า  อานนฺท อานนท์ ทานิ ต่อไปนี้ สทฺธมฺโม พระสัทธรรม ฐสฺสติ จักดำรงอยู่ วสฺสสตานิ ตลอดร้อยแห่งปีทั้งหลาย ปญฺเจว ๕ เท่านั้น ดังนี้ ฉันนั้นนั่นเทียว.

 

‘‘ยํ ปน ปรินิพฺพานสมเย สุภทฺทสฺส ปริพฺพาชกสฺส สมเณ ปริกิตฺตยนฺโต อาห อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ, ปฏิปตฺติปริทีปนา เอสา, ตฺวํ ปน ตํ ปริจฺเฉทญฺจ ปริทีปนญฺจ เอกรสํ กโรสิฯ ยทิ ปน เต ฉนฺโท, เอกรสํ กตฺวา กถยิสฺสามิ, สาธุกํ สุโณหิ มนสิกโรหิ อวิกฺขิตฺตมานโสฯ

 

ปน ส่วน ภควา พระผู้มีพระภาค ปริกิตฺตฺยนฺโต เมื่อทรงยกย่อง สมเณ ซึ่งสมณะทั้งหลาย สุภทฺทสฺส ปริพฺพาชกสฺส แก่สุภัททปริพพาชก อาห จึงตรัส ยํ วจนํ ซึ่งพระดำรัสใด ปรินิพฺพานสมเย ในสมัยใกล้ปรินิพพาน อิติ ว่า สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้, เอสา วาจา พระดำรัส นั่น ปฏิปตฺติปริทีปนา เป็นคำแสดง(ยกย่อง)การปฏิบัติ, ปน ก็ ตฺวํ ขอพระองค์ กโรสิ จงทรงกระทำ ตํ ปริจฺเฉทญฺจ ซึ่งการกำหนดอายุพระศาสนา นั้นด้วย ปริทีปนญฺจ ซึ่งการแสดงยกย่องการปฏิบัติ ด้วย เอกรสํ ให้มีเนื้อความเดียวกันเถิด. ปน ก็ ยทิ ถ้าว่า ฉนฺโท ความพอพระทัย เต ของพระองค์ (อตฺถิ) มีอยู่ ไซร้, อหํ อาตมภาพ กถยิสฺสามิ จักถวายพระพร กตฺวา ทำ เอกรสํ ให้มีเนื้อความเดียวกัน[9], ตฺวํ ขอพระองค์ อวิกฺขิตฺตมานโส จงมีพระทัยไม่ซัดส่าย สุโณหิ  ทรงสดับ, มนสิกโรหิ ใส่ใจ สาธุกํ ด้วยดีเถิด.

 

‘‘อิธ, มหาราช, ตฬาโก ภเวยฺย นวสลิลสมฺปุณฺโณ สมฺมุขมุตฺตริยมาโน ปริจฺฉินฺโน ปริวฏุมกโต, อปริยาทิณฺเณ เยว ตสฺมิํ ตฬาเก อุทกูปริ มหาเมโฆ อปราปรํ อนุปฺปพนฺโธ อภิวสฺเสยฺย, อปิ นุ โข, มหาราช, ตสฺมิํ ตฬาเก อุทกํ ปริกฺขยํ ปริยาทานํ คจฺเฉยฺยา’’ติ?

 

มหาราช มหาบพิตร อิธ ในโลกนี้ ตฬาโก สระ ปริวุฏํ กโต อันเขาขุดให้เป็นวงกลม นวสลิลสมฺปุณฺโณ มีน้ำใหม่อันเต็มแล้ว ปริจฺฉินฺโน กำหนดแล้ว สมฺมุขมุตฺตริยมาโน ให้สูงเสมอขอบปาก ภเวยฺย พึงเป็น, ตสฺมิํ ตฬาเก เมื่อสระนั้น อปริยาทิณฺเณ (อุทเก) เอว มีน้ำยังไม่หมดแล้วนั่นเทียว,  มหาเมโฆ เมฆใหญ่ อภิวสฺเสยฺย ยังฝนให้ตกอยู่ อุทกูปริ[10] เหนือน้ำ อนุปฺปพนฺโธ อย่างสืบเนื่อง อปราปรํ ติดต่อกัน, มหาราช มหาบพิตร อุทกํ น้ำ ตสฺมิํ ตฬาเก ในสระนั้น คจฺเฉยฺย พึงถึง ปริกฺขยํ ซึ่งความสิ้นไป ปริยาทานํ ซึ่งความหมดไป อปิ นุ โข หรือ หนอ แล ดังนี้.

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็  อุทกํ น้ำ ตสฺมิํ ตฬาเก ในสระนั้น คจฺเฉยฺย พึงถึง ปริกฺขยํ ซึ่งความสิ้นไป ปริยาทานํ ซึ่งความหมดไป หามิได้ ดังนี้.

 

‘‘เกน การเณน มหาราชา’’ติ?

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เกน การเณน เพราะเหตไร อุทกํ น้ำ ตสฺมิํ ตฬาเก ในสระนั้น คจฺเฉยฺย ไม่พึงถึง ปริกฺขยํ ซึ่งความสิ้นไป ปริยาทานํ ซึ่งความหมดไป ดังนี้.

 

‘‘เมฆสฺส, ภนฺเต, อนุปฺปพนฺธตายา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนุปฺปพนฺธตาย เพราะความที่ เมฆสฺส แห่งฝน (ตก)ติดต่อสืบเนื่องกัน ดังนี้.

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ชินสาสนวรสทฺธมฺมตฬาโก อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติวิมลนวสลิลสมฺปุณฺโณ อุตฺตริยมาโน ภวคฺคมภิภวิตฺวา ฐิโตฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร (โอปมฺมสมฺปฏิปาทานมิทํ ตยา เวทิตพฺพํ) คำเป็นเครื่อง ยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ อันมหาบพิตร พึงทราบ เอวํ ฉันนั้น,   ชินสาสนวรสทฺธมฺมตฬาโก สระใหญ่คือ พระสัทธรรมอันเป็นพระศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติวิมลนวสลิลสมฺปุณฺโณ อันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำใหม่ที่สะอาดปราศจากมลทิน คือ อาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลาย ฐิโต ดำรงอยู่ อภิภวิตฺวา ครอบงำ ภวคฺคํ ภวัคคพรหม อุตฺตริยมาโน สูงส่งอยู่.

 

ยทิ ตตฺถ พุทฺธปุตฺตา อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติเมฆวสฺสํ อปราปรํ อนุปฺปพนฺธาเปยฺยุํ อภิวสฺสาเปยฺยุํฯ เอวมิทํ ชินสาสนวรสทฺธมฺมตฬาโก จิรํ ทีฆมทฺธานํ ติฏฺเฐยฺย, อรหนฺเตหิ โลโก อสุญฺโญ ภเวยฺย, อิมมตฺถํ ภควตา สนฺธาย ภาสิตํ อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติฯ

 

ยทิ ผิว่า พุทฺธปุตฺตา (ภิกฺขู) ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตร อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติเมฆวสฺสํ ยังเมฆฝน คืออาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ อนุปฺปพนฺธาเปยฺยุํ พึงให้สืบเนื่องบ่อยๆ อภิวสฺสาเปยฺยุํ พึงให้ตกมา  อปราปรํ ติดต่อกัน, อิทํ (อาจาราทิกเมฆสวสฺสํ อปราปรํ อนุปฺปพนฺธาปนํ อภิวสฺสาปนํ) การทำให้เมฆฝนคืออาจารคุณเป็นต้นให้สืบเนื่อง ให้ตกอยู่ติดต่อกัน นี้ เอวํ อย่างนี้ ไซร้, ชินสาสนวรสทฺธมฺมตฬาโก สระใหญ่ คือพระสัทธรรมอันเป็นศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า ติฏฺเฐยฺย ดำรงอยู่ จิรํ เนิ่นนาน ทีฆมทฺธานํ ตลอดกาลนาน, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่างเปล่า อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ ภเวยฺย พึงเป็น, อิทํ วจนํ พระดำรัส นี้ อิติ ว่า สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ภาษิตไว้ สนฺธาย ทรงหมายถึง อิมํ อตฺถํ ซึ่งความหมายนี้ ดังนี้.

 

‘‘อิธ ปน, มหาราช, มหติ มหาอคฺคิกฺขนฺเธ ชลมาเน อปราปรํ สุกฺขติณกฏฺฐโคมยานิ อุปสํหเรยฺยุํ, อปิ นุ โข โส, มหาราช, อคฺคิกฺขนฺโธ นิพฺพาเยยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ มหาอคฺคิกฺขนฺเธ เมื่อกองไฟใหญ่ ชลมาเน ลุกโพลงอยู่ มหติ บนแผ่นดิน อิธ นี้, ชนา ชนทั้งหลาย อุปสํหเรยฺยุํ พึงสุม(พึงนำมารวมกัน, ประมวลมา, ใส่เพิ่มอีก) สุกฺขติณกฏฺฐโคมยานิ ซึ่งหญ้าแห้ง ไม้แห้ง ก้อนโคมัย อปราปรํ ติดต่อกัน, มหาราช มหาบพิตร โส อคฺคิกฺขนฺโธ กองไฟใหญ่นั้น นิพฺพาเยฺยย พึงมอดดับไป อปิ นุ โข หรือหรือแล ดังนี้.

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, ภิยฺโย ภิยฺโย โส อคฺคิกฺขนฺโธ ชเลยฺย, ภิยฺโย ภิยฺโย ปภาเสยฺยา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ โส อคฺคิกฺขนฺโธ กองไฟใหญ่นั้น นิพฺพาเยฺยย พึงมอดดับไป หามิได้, โส อคฺคิกฺขนฺโธ กองไฟใหญ่นั้น ชเลยฺย พึงลุกโพลง ภิยฺโย ภิยฺโย ยิ่งๆขึ้นไป, ปภาเสยฺย พึงส่องแสง ภิยฺโย ภิยฺโย ยิ่งๆขึ้นไป ดังนี้

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ชินสาสนวรมฺปิ อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติยา ชลติ ปภาสติฯ

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร (โอปมฺมสมฺปฏิปาทานมิทํ ตยา เวทิตพฺพํ) คำเป็นเครื่อง ยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ อันมหาบพิตร พึงทราบ เอวํ ฉันนั้น, ชินสาสนวรมฺปิ แม้พระศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า ชลติ ก็ลุกโพลง (รุ่งเรือง) อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติยา ด้วยอาจารคุณ ศีลคุณ และข้อปฏิบัติ ปภาสติ ส่องสว่างไป ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ.

 

ยทิ ปน, มหาราช, ตทุตฺตริํ พุทฺธปุตฺตา ปญฺจหิ ปธานิยงฺเคหิ สมนฺนาคตา สตตมปฺปมตฺตา ปทเหยฺยุํ, ตีสุ สิกฺขาสุ ฉนฺทชาตา สิกฺเขยฺยุํ, จาริตฺตญฺจ สีลํ สมตฺตํ ปริปูเรยฺยุํ, เอวมิทํ ชินสาสนวรํ ภิยฺโย ภิยฺโย จิรํ ทีฆมทฺธานํ ติฏฺเฐยฺย, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ อิมมตฺถํ ภควตา สนฺธาย ภาสิตํ อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติฯ

 

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ ยทิ ถ้าว่า พุทฺธปุตฺตา (ภิกฺขู) ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพุทธบุตร สมนฺนาคตา เป็นผู้ประกอบพร้อม ปญฺจหิ ปธานิยงฺเคหิ ด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ อปฺปมตฺตา ไม่ประมาท ปทเหยฺยุํ พึงบากบั่น สตตํ เป็นประจำ, ฉนฺทชาตา เป็นผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว สิกฺเขยฺยุํ พึงศึกษา ตีสุ สิกฺขาสุ ในสิกขาทั้งหลาย ๓,  สีลํ (วาริตฺตํ) ยังศีลคือวาริตศีล จาริตฺตํ จ ศีลคือจาริตศีล ปริปูเรยฺยุํ พึงให้บริบูรณ์ ไซร้ (ยถา) โดยประการใด, อิทํ ชินสาสนวรํ  พระศาสนาของชินเจ้าอันประเสริฐนี้ ติฏฺเฐยฺย  พึงดำรงอยู่ ภิยฺโย ภิยฺโย โดยยิ่งๆขึ้นไป ทีฆมทฺธานํ ตลอดกาลยาว จิรํ นาน เอวํ โดยประการนั้น, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น, อิทํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ก็ สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ตรัสแล้ว สนฺธาย ทรงหมายเอา อิมมตฺถํ ซึ่งเนื้อความนี้ อิติ ด้วยประการฉะนี้.

 

‘‘อิธ ปน, มหาราช, สินิทฺธสมสุมชฺชิตสปฺปภาสวิมลาทาสํ สณฺหสุขุมเครุกจุณฺเณน อปราปรํ มชฺเชยฺยุํ, อปิ นุ โข, มหาราช, ตสฺมิํ อาทาเส มลกทฺทมรโชชลฺลํ ชาเยยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร ปุคฺคโล บุคคล อิธ ในโลกนี้ มชฺเชยฺยุํ พึงลูบไล้ สินิทฺธสมสุมชฺชิตสปฺปภาสวิมลาทาสํ กระจกที่ได้ขัดไว้เกลี้ยงเกลาใสแวววาว สณฺหสุขุมเครุกจุณฺเณน ด้วยผงดินสอพองที่ละเอียดอ่อน อปราปรํ ไปเรื่อยๆ, มหาราช มหาบพิตร มลกทฺทมรโชชลฺลํ เปลือกตม ขี้ฝุ่น ขี้ไคล อันเป็นมลทิน ชาเยยฺย พึงเกิดขึ้น ตสฺมิํ อาทาเส ที่กระจกนั้น อปิ นุ โข หรือ หนอ แล ดังนี้?.

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, อญฺญทตฺถุ วิมลตรํ เยว ภเวยฺยา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ มลกทฺทมรโชชลฺลํ เปลือกตม ขี้ฝุ่น ขี้ไคล อันเป็นมลทิน ชาเยยฺย พึงเกิดขึ้น ตสฺมิํ อาทาเส ที่กระจกนั้น หามิได้, อญฺญทตฺถุ แท้ที่จริงแล้ว ตํ อาทาสํ กระจกนั้น วิมลตรํเยว เป็นอันปราศจากมลทินยิ่ง ๆ ขึ้นไปเท่านั้น ดังนี้

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ชินสาสนวรํ ปกตินิมฺมลํ พฺยปคตกิเลสมลรโชชลฺลํ,

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอวเมว โข อุปมาฉันใดอุปมัยก็ฉันนั้น ชินสาสนวรํ พระศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า ปกตินิมฺมลํ ที่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีมลทินตามปกติ พฺยปคตกิเลสมลรโชชลฺลํ พึงเป็นพระศาสนาอันปราศจากขี้ฝุ่น ขี้ไคล อันเป็นมลทินคือกิเลส ภเวยฺย พึงเป็น,

 

ยทิ ตํ พุทฺธปุตฺตา อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติสลฺเลขธุตคุเณน ชินสาสนวรํ สลฺลกฺ, เอวมิทํ ชินสาสนวรํ จิรํ ทีฆมทฺธานํ ติฏฺเฐยฺย, อสุญฺโญ จ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติ อิมมตฺถํ ภควตา สนฺธาย ภาสิตํ อิเม จ, สุภทฺท, ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺสาติฯ ปฏิปตฺติมูลกํ, มหาราช, สตฺถุสาสนํ ปฏิปตฺติการณํ ปฏิปตฺติยา อนนฺตรหิตาย ติฏฺฐตี’’ติฯ

ยทิ ถ้าหากว่า พุทฺธปุตฺตา (ภิกฺขู) ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพุทธบุตร สลฺลกฺเขยฺยุํ พึงขัดเกลา ตํ ชินสาสนวรํ ศาสนาประเสริฐของพระชินวรพุทธเจ้า อาจารสีลคุณวตฺตปฏิปตฺติสลฺเลขธุตคุเณน คุณเครื่องขัดเกลากิเลสเครื่องกำจัดกิเลส คืออาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติ ไซร้, เอวํ (สนฺเต) เมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ อิทํ ชินสาสนวรํ  พระศาสนาของชินเจ้าอันประเสริฐนี้ ติฏฺเฐยฺย  พึงดำรงอยู่ ทีฆมทฺธานํ ตลอดกาลยาว จิรํ นาน, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น, อิทํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ก็ สุภทฺท สุภัททะ อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ วิหเรยฺยุํ พึงอยู่ สมฺมา โดยชอบ ไซร้, โลโก โลก อสุญฺโญ ไม่พึงว่าง อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ อสฺส พึงเป็น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ตรัสแล้ว สนฺธาย ทรงหมายเอา อิมมตฺถํ ซึ่งเนื้อความนี้ อิติ ด้วยประการฉะนี้. มหาราช มหาบพิตร  สตฺถุสาสนํ พระศาสนาของพระศาสดา ปฏิปตฺติมูลกํ มีการปฏิบัติเป็นรากเหง้า ปฏิปตฺติการณํ มีการปฏิบัติเป็นเหตุ, ปฏิปตฺติยา เมื่อการปฏิบัติ อนนฺตรหิตาย ยังไม่อันตรธานไป, ติฏฺฐติ ก็ย่อมดำรงอยู่ได้ ดังนี้

 

‘‘ภนฺเต นาคเสน, ‘สทฺธมฺมนฺตรธานนฺติ ยํ วเทสิ, กตมํ ตํ สทฺธมฺมนฺตรธาน’’นฺติ?

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตฺวํ ท่าน วเทสิ กล่าวถึง ยํ วจนํ ซึ่งคำใด อิติ ว่า สทฺธมฺมนฺตรธานํ อันตรธานแห่งสัทธรรม ดังนี้, ตํ สทฺธมฺมนฺตรธานํ อันตรธานแห่งสัทธรรม นั้น กตมํ อะไรบ้าง ดังนี้.

 

 ‘‘ตีณิมานิ, มหาราช, สาสนนฺตรธานานิฯ กตมานิ ตีณิ? อธิคมนฺตรธานํ ปฏิปตฺตนฺตรธานํ ลิงฺคนฺตรธานํ, อธิคเม, มหาราช, อนฺตรหิเต สุปฺปฏิปนฺนสฺสาปิ ธมฺมาภิสมโย น โหติ, ปฏิปตฺติยา อนฺตรหิตาย สิกฺขาปทปญฺญตฺติ อนฺตรธายติ, ลิงฺคํเยว ติฏฺฐติ, ลิงฺเค อนฺตรหิเต ปเวณุปจฺเฉโท โหติ, อิมานิ โข, มหาราช, ตีณิ อนฺตรธานานี’’ติฯ

 

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สาสนนฺตรธานานิ อันตรธานแห่งสัทธรรม ตีณิอิมานิ เหล่านี้. สาสนนฺตรธานานิ อันตรธานแห่งสัทธรรม ตีณิกตมานิ มีอะไรบ้าง?, คือ อธิคมนฺตรธานํ  อธิคมอันตรธาน (ความเลือนหายแห่งอธิคม)ปฏิปตฺตนฺตรธานํ ปฏิปัตติอันตรธาน  (ความเลือนหายแห่งการปฏิบัติ) ลิงฺคนฺตรธานํ ลิงคอันตรธาน (ความเลือนหายแห่งเครื่องหมายแสดงเพศภิกษุ), มหาราช มหาบพิตร อธิคเม เมื่ออธิคม อนฺตรหิเต อันตรธานแล้ว, ธมฺมาภิสมโย การตรัสรู้ธรรม น โหติ

ก็จะไม่มี สุปฺปฏิปนฺนสฺสาปิ แก่ภิกษุ แม้ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี, ปฏิปตฺติยา เมื่อปฏิบัติ อนฺตรหิตาย อันตรธานแล้ว  สิกฺขาปทปญฺญตฺติ สิกขาบทบัญญัติ อนฺตรธายติ ย่อมอันตรธาน, ลิงฺคํเยว ลิงคะเท่านั้น ติฏฺฐติ ย่อมตั้งอยู่, ลิงฺเค เมื่อลิงคะ อนฺตรหิเต อันตรธานแล้ว ปเวณุปจฺเฉโท ความตัดขาดไปแห่งประเพณี (ความสืบต่อแห่งเพศบรรพชิต) โหติ ย่อมมี,มหาราช มหาบพิตร อนฺตรธานานิ อันตรธาน ตีณิอิมานิ เหล่านี้ โขแล.

 

‘‘สุวิญฺญาปิโต, ภนฺเต นาคเสน, ปญฺโห, คมฺภีโร อุตฺตานีกโต, คณฺฐิ ภินฺโน, นฏฺฐา ปรวาทา ภคฺคา นิปฺปภา กตา, ตฺวํ คณิวรวสภมาสชฺชาติฯ

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปญฺโห ปัญหา ตยา อันท่าน มมํ ยังข้าพเจ้า สุวิญฺญาปิโต ให้เข้าใจดีแล้ว ปญฺโห ปัญหา คมฺภีโร อันลึกซึ้ง ตยา อันท่าน อุตฺตานีกโต ทำให้ตื้นแล้ว, คณฺฐิ ขอด ตยา อันท่าน ภินฺโน ทำลายแล้ว, ปรวาทา ปรวาทะ ตยา อันท่าน ภคคา หักราน นฏฺฐา ให้พินาศแล้ว, กตา กระทำแล้ว นิปฺปภา ให้หมดรัศมีไป, ตฺวํ ท่าน อาสชฺชา เข้าถึงแล้ว คณิวรวสภํ ความเป็นผู้องอาจในหมู่คณะอันประเสริฐแล้ว ดังนี้.

 

สทฺธมฺมนฺตรธานปญฺโห สตฺตโมฯ

 

สทฺธมฺมนฺตรธานปญฺโห

ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

สตฺตโม ลำดับที่ ๗ นิฏฺฐิโต จบ



[1] อัง.อัฏฐก.๒๓/๕๒ โคตมีสูตร

[2] ที.ม.๑๐/๑๓๙ คำว่า พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ หมายถึง เมื่อพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น บอกเหตุกล่าวคือปฏิปทาเบื้องต้นแห่งการบรรลุพระโสดาบันเป็นต้น แก่ผู้อื่น กระทำให้บุคคลอื่นนั้นเป็นผู้ดำรงอยู่ในโสดาบัตติมรรคเป็นต้น แม้บุคคลผู้ปุถุชน ผู้เจริญวิปัสนาอยู่ บอกกัมมัฏฐานซึ่งตนชำนาญดีแล้วแก่ผู้อื่น กระทำให้ผู้อื่นั้นให้เป็นผู้ปรารภ... เพื่อโสดาปัตติมรรค ก็ชื่อว่า ภิกษุเหล่านี้อยู่โดยชอบ. ความหมายโดยสรุปคือ บอกสอนต่อๆกันโดยไม่ขาดสาย พระศาสนาเป็นอันไม่ว่างจากพระอรหันต์เหตุที่มีการสืบทอดคำสอนกันมานั่นเอง (ที.ม.อฏฺ.๒๑๔)

 

[3] ก็สำหรับคำที่ตรัสไว้ในที่ ๒ แห่งนั้น ถ้าหากคำหนึ่งถูก คำที่เหลือก็ต้องผิด เพราะเมื่อทรงกำหนดอายุพระศาสนาไว้ว่าจักดำรงอยุ่ต่อไปได้เพียง ๕๐๐ ปีอย่างนี้ บุคคลจะบรรลุเป็นพระอรหันต์กันได้ก็ชั่วระยะตราบเท่าที่พระศาสนานี้ยังดำรงอยู่ได้ คือ ๕๐๐ ปีเท่านั้น หลังจากนั้นก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะไม่มีพระศาสนาเป็นที่ตั้งอาศัย ด้วยว่า การตรัสรู้ธรรมสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล แม้ทั้ง ๔ จำพวก มีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มีในธรรมวินัยอื่น ในศาสนาอื่น มีเฉพาะธรรมวินัยนี้ ในพระศาสนานี้เท่านั้น ข้อนี้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อิเธว สุภทฺท สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ สุภัททะ สมณะที่ ๑ (พระโสดาบัน) มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ (พระสกทาคามี) ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น พ้น ๕๐๐ ปีนั้นไปแล้ว เมื่อไม่มีธรรมวินัยนี้แล้ว เมื่อไม่มีพระศาสนานี้แล้ว เพราะอันตรธานเสื่อมหายไปหมดสิ้นแล้ว ก็ย่อมไม่มีใคร ๆ ที่ปฏิบัติสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในโลกนี้ โลกก็เป็นอันว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมขัดแย้งกับคำที่ตรัสว่า สุภัททะ ภิกษุเหล่านี้พึงเป็นอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะเป็นอันไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้ เพราะคำนี้แสดงให้ทราบว่า การจะบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มิได้เนื่องอยู่กับระยะเวลาเหมือนคำก่อน ทว่าเนื่องอยู่กับการปฏิบัติเท่านั้น อย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงเป็นอยู่โดยชอบ คือยังปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกันอยู่ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เมื่อขัดแย้งกันอยู่ ก็ย่อมกล่าวได้ว่า หากยอมรับคำหนึ่งถูกต้อง ก็ไม่อาจยอมรับอีกคำที่เหลือว่าถูกต้องได้ (คำอธิบายของอ.ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์).

[4] พระบาฬีสองแห่งไม่สมกันด้วยพยัญชนะ, แต่ความหมายของสองพระบาฬีนั้นแม้จะถูกแสดงไว้ด้วยคำพูดที่ต่างกัน แต่ก็เป็นการกำหนดพระศาสนาด้วยกันทั้งคู่ คือ  คำหนึ่งกำหนดอายุศาสนา ว่า พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้สิ้น๕๐๐ ปี, คำหนึ่ง กำหนดอายุศาสนาว่า โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ ดังนั้น ในอรรถกถาอธิบายว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงถือเอาความประสงค์ของพวกมิจฉาวาทะมาแสดงมิจฉาวาทะมาเป็นประเด็นว่า พระบาฬีแรกเป็นการกำหนดอายุพระศาสนาเพียง ๕๐๐ ปี ถูกบาฬีหลังที่กำหนดอายุศาสนาไม่มีกำหนด ซึ่งต่างฝ่ายก็คัดค้านกัน (มิลินท.อฏ.).

[5] ในอรรถกถามิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ยกความคิดเห็นของเหล่ามิจฉาวาทะมาเป็นประเด็นในครั้งนี้ ซึ่งพระองค์เกรงว่า ต่อไปภายภาคหน้าจะเกิดความลังเลสงสัยแก่สิกขกามบุคคลอีก จึงมีพระราชปุจฉาไต่ถามพระนาคเสนเถระ เพื่อแก้ปัญหาแก่พวกมิจฉาวาทะนั้น และการซักถามปัญหานี้ เป็นอุบาย จะเป็นการให้นัยให้ภิกษุอนาคตถือเป็นแนวปฏิบัติต่อการให้อุปสมบทภิกษุนี ถือเป็นนัยให้ถือปฏิบัติแก่อนุชนสืบไป โดยเฉพาะเรื่องแนวทางการให้อุปสมบทภิกษุนี.

[6] ในอภิธาน.คาถา ๘๐๓ แสดง รส ศัพท์มี ๙ อรรถ มี ทรฺว ของเหลวเป็นต้น แต่ในที่นี้มีอรรถว่า อตฺถ ความหมาย (มิลินฺท.อฏฺ.)

[7] ประกอบคำแปลตามที่มิลินทฏีกาแนะนำไว้ ดังนี้ว่า ตํ ขยํ ปริทีปยนฺโตติ เตน วจเนน ปุพฺพปญฺจวสฺสสตปฺปมาณฏฺฐานารห-สทฺธมฺมกฺขยํ ปริทีปยนฺโตฯ เสสกํ ปริจฺฉินฺทีติ เสสกํ ปจฺฉิมปญฺจวสฺสสตํ สทฺธมฺมติฏฺฐนกฺขณํ ปริจฺฉินฺทิฯ ตํ ทีปนาการํ ปริจฺฉินฺทนาการญฺจ ทสฺเสนฺโต วสฺสสตํ สหสฺสนฺติอาทิมาหฯ

[8] พระนาคเสนแสดงพระบาฬีที่พระองค์ตรัสว่า ถ้าไม่มีภิกษุนีพระสัทธรรมจะตั้งอยู่ถึง ๑๐๐๐ ปี (โดยพระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทาปัตตะ) แต่บัดนี้ตั้งอยู่เพียง ๕๐๐ ปี เพราะการอุปสมบทเป็นภิกษุนี กรณีนี้ เป็นการแสดงอายุพระศาสนาที่ยังเหลืออยู่ หาได้ปฏิเสธการบรรลุธรรมแต่อย่างใด เพราะการบรรลุธรรมอยู่กับการสอนบอกต่อแนวการปฏิบัติอริยมรรค.

[9] อรรถกถามิลินท.อธิบายว่า ตฺวํ ปน ตนฺติ ตฺวํ ปน มหาราช มิจฺฉาวาทีนํ มเตน ตํ. ปริจฺเฉทญฺจาติ สาสนปริจฺเฉทญฺจ. ปริทีปนญฺจาติ ปฏิปตฺติปริทีปนญฺจ. เอกรสํ กโรสีติ อตฺถโต เอกํ กโรสิ. เอกรสํ กตฺวาติ อตฺถโต เอกํ กริตฺวา, ยทิ ปน เต มหาราช ฉนฺโท อสฺส อหํ เอเกกาย ปฏิปตฺติยา กิเลเสหิ เจว วฏฺฏทุกฺเขหิ จ วิมุตฺติยา อตฺถโต เอกํ กตฺวา กถยิสฺสามีติ วุตฺตํ โหติ. (มิลินฺท.อฏฺ.) หมายความว่า ขอให้พระองค์จงประมวลความเข้าใจผิดของเหล่ามิจฉาวาทะนั้นให้มีความหมายสอดคล้องเดียวกัน, ถึงอาตมภาพก็จะสรุปให้เป็นอันเดียวกันโดยรสแห่งวิมุตติจากกิเลสและวัฏฏทุกข์ด้วยการปฏิบัติอย่างเดียวเท่านั้น.

[10] อุทกูปริ ตัดเป็น อุทก + อุปริ วิเคราะห์เป็นอัพยยีภาวสมาสว่า อุปริ อุทกสฺส ในที่เบื้องบนแห่งน้ำ ชื่อว่า อุทกูปริ. ถือเป็นรูปพิเศษ เพราะตามปกติควรเป็น นิปาตปุพพกอัพยยีภาวสมาสว่า อุปรูทก แต่ในที่นี้สลับหน้าและหลังกัน.

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เมณฑกกัณฑ์ อิทธิพลวรรคที่ ๑ ปัญหาที่ ๖. คัพภาวักกันติปัญหา ปัญหาว่าด้วยการเกิดขึ้นของสัตว์ในครรภ์

๖. คพฺภาวกฺกนฺติปญฺโห

 

. คัพภาวักกันติปัญหา

ปัญหาว่าด้วยการเกิดขึ้นของสัตว์ในครรภ์

****

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา ติณฺณํ โข ปน, ภิกฺขเว, สนฺนิปาตา คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหติ, อิธ มาตาปิตโร จ สนฺนิปติตา โหนฺติ, มาตา จ อุตุนี โหติ, คนฺธพฺโพ จ ปจฺจุปฏฺฐิโต โหติ, อิเมสํ โข, ภิกฺขเว, ติณฺณํ สนฺนิปาตา คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหตีติ, อเสสวจนเมตํ, นิสฺเสสวจนเมตํ, นิปฺปริยายวจนเมตํ, อรหสฺสวจนเมตํ, สเทวมนุสฺสานํ มชฺเฌ นิสีทิตฺวา ภณิตํ,

 

๖. มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัส ปิ แม้นี้ อิติ ว่า ปน ก็ โข แล ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย อวกฺกนฺติ[1] ความเกิดขึ้น คพฺภสฺส แห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์[2] โหติ ย่อมมี สนฺนิปาตา เพราะการประชุมกัน[3] ติณฺณํ (การณานํ) แห่งเหตุทั้งหลาย ๓ คือ มาตาปิตโร มารดาและบิดาทั้งหลาย อิธ ในโลกนี้ สนฺนิปติตา เป็นผู้อยู่ร่วมกัน[4] โหนฺติ  ย่อมเป็น ด้วย, มาตา มารดา อุตุนี เป็นหญิงมีระดู[5] โหติ ย่อมเป็น ด้วย, คนฺธพฺโพ สัตว์ผู้มาถึงครรภ์[6] ปจฺจุปฏฺฐิโต เป็นผู้ปรากฏแล้ว[7] โหติ ย่อมเป็น ด้วย, ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย อวกฺกนฺติ การเกิดขึ้น คพฺภสฺส แห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ โหติ ย่อมมี สนฺนิปาตา เพราะการประชุมกัน ติณฺณํ (การณานํ) แห่งเหตุทั้งหลาย ๓ อิเมสํ เหล่านี้ โข แล ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ทรงภาษิตแล้ว, เอตํ วจนํ พระดำรัสนั่น อเสสวจนํ เป็นพระดำรัสหาส่วนเหลือมิได้ โหติ ย่อมเป็น, เอตํ วจนํ พระดำรัสนั่น นิสฺเสสวจนํ เป็นพระดำรัสอันมีส่วนเหลือออกแล้ว โหติ ย่อมเป็น, เอตํ วจนํ พระดำรัสนั่น นิปฺปริยายวจนํ เป็นพระดำรัสอันตรัสไว้โดยตรง โหติ ย่อมเป็น, เอตํ วจนํ พระดำรัสนั่น อรหสฺสวจนํ เป็นพระดำรัสอันไม่มีความเร้นลับ โหติ ย่อมเป็น, (เอตํ วจนํ) พระดำรัสนั่น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค นิสีทิตฺวา ประทับนั่ง ภณิตํ ทรงภาษิตแล้ว มชฺเฌ ในท่ามกลาง สเทวมนุสฺสานํ โลกานํ แห่งชาวโลกที่เป็นไปพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,

 

อยญฺจ ทฺวินฺนํ สนฺนิปาตา คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ ทิสฺสติ, ทุกูเลน ตาปเสน ปาริกาย ตาปสิยา อุตุนิกาเล ทกฺขิเณน หตฺถงฺคุฏฺเฐน นาภิ ปรามฏฺฐา, ตสฺส เตน นาภิปรามสเนน สามกุมาโร นิพฺพตฺโตฯ มาตงฺเคนาปิ อิสินา พฺราหฺมณกญฺญาย อุตุนิกาเล ทกฺขิเณน หตฺถงฺคุฏฺเฐน นาภิ ปรามฏฺฐา, ตสฺส เตน นาภิปรามสเนน มณฺฑพฺโย นาม มาณวโก นิพฺพตฺโตติฯ

 

แต่ว่า อวกฺกนฺติ การเกิดขึ้น คพฺภสฺส แห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ สนฺนิปาตา เพราะการประชุมกัน ทฺวินฺนํ แห่งเหตุทั้งหลายสอง (เว้นการร่วมกันแห่งมารดากับบิดา) ทิสฺสติ ย่อมถูกเห็น (ย่อมปรากฏ) คือ นาภิ สะดือ ทุกูเลน ตาปเสน อันทุกูลดาบส ปรามฏฺฐา ลูบแล้ว หตฺถงฺคุฏฺเฐน ด้วยนิ้วหัวแม่มือ ทกฺขิเณน ข้างขวา ปาริกาย ตาปสิยา อุตุนิกาเล ในกาลแห่งปาริกาตาปสี เป็นหญิงมีระดู, สามกุมาโร สามกุมาร นิพฺพตฺโต เกิดแล้ว เตน นาภิปรามสเนน ด้วยการลูบสะดือนั้น ตสฺส แห่งดาบสชื่อว่า ทุกูละนั้น, นาภิ สะดือ มาตงฺเคนาปิ อิสินา แม้อันมาตังคฤาษี ปรามฏฺฐา ลูบแล้ว หตฺถงฺคุฏฺเฐน ด้วยนิ้วหัวแม่มือ ทกฺขิเณน ข้างขวา พฺราหฺมณกญฺญาย อุตุนิกาเล ในกาลแห่งนางพราหมณกัญญา เป็นหญิงมีระดู, มณฺฑพฺโย มาณวโก มัณฑัพยมานพ นิพฺพตฺโต เกิดแล้ว เตน นาภิปรามสเนน ด้วยการลูบสะดือนั้น ตสฺส แห่งฤาษีชื่อว่า มาตังคะนั้น อิติ ด้วยประการฉะนี้.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํ ติณฺณํ โข ปน, ภิกฺขเว, สนฺนิปาตา คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหตีติฯ เตน หิ สาโม จ กุมาโร มณฺฑพฺโย จ มาณวโก อุโภปิ เต นาภิปรามสเนน นิพฺพตฺตาติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

 

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ผิว่า เอตํ วจนํ พระดำรัสนั่น ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย ปน ก็ โข แล อวกฺกนฺติ ความเกิดขึ้น คพฺภสฺส แห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ โหติ ย่อมมี สนฺนิปาตา เพราะการประชุมกัน ติณฺณํ (การณานํ) แห่งเหตุทั้งหลาย ๓ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตแล้ว ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น วจนํ พระดำรัส อิติ ว่า เต ชนา ชนทั้งหลายเหล่านั้น อุโภปิ แม้ทั้งสอง คือ สาโม กุมาโร จ สามกุมาร ด้วย, มณฺฑพฺโย มาณวโก จ มัณฑพยมานพ ด้วย นิพฺพตฺตา เกิดแล้ว นาภิปรามสเนน ด้วยการลูบสะดือ ดังนี้ ยํ อันใด, ตํ วจนํ พระดำรัส นั้น มิจฺฉา ผิด.

 

ยทิ, ภนฺเต, ตถาคเตน ภณิตํ สาโม จ กุมาโร มณฺฑพฺโย จ มาณวโก นาภิปรามสเนน นิพฺพตฺตา’’ติ, เตน หิ ติณฺณํ โข ปน, ภิกฺขเว, สนฺนิปาตา คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหตีติ ยํ วจนํ, ตมฺปิ มิจฺฉาฯ

 

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยทิ ผิว่า วจนํ พระดำรัส อิติ ว่า เต ชนา ชนทั้งหลายเหล่านั้น อุโภปิ แม้ทั้งสอง คือ สาโม กุมาโร จ สามกุมาร ด้วย, มณฺฑพฺโย มาณวโก จ มัณฑพยมานพ ด้วย นิพฺพตฺตา เกิดแล้ว นาภิปรามสเนน ด้วยการลูบสะดือ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตแล้ว ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย ปน ก็ โข แล อวกฺกนฺติ ความเกิดขึ้น คพฺภสฺส แห่งสัตว์ผู้มาถึงครรภ์ โหติ ย่อมมี สนฺนิปาตา เพราะการประชุมกัน ติณฺณํ (การณานํ) แห่งเหตุ ๓ ดังนี้, ตมฺปิ วจนํ พระดำรัส แม้นั้น มิจฺฉา ผิด.

 

อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห สุคมฺภีโร สุนิปุโณ วิสโย พุทฺธิมนฺตานํ, โส ตวานุปฺปตฺโต, ฉินฺท วิมติปถํ, ธาเรหิ ญาณวรปฺปชฺโชต’’นฺติฯ

 

อยมฺปิ (ปญฺโห) ปัญหาแม้นี้ ปญฺโห เป็นปัญหา โกฏิโก มีที่สุด (เงื่อน) อุภโต โดยส่วนสอง สุคมฺภีโร แสนลึกซึ้ง สุนิปุโณ แสนละเอียด วิสโย เป็นวิสัย พุทฺธิมนฺตานํ แห่งบุคคลผู้มีความรู้ทั้งหลาย โหติ ย่อมเป็น, โส ปญฺโห ปัญหานั้น อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, ตฺวํ ขอท่าน ฉินฺท จงตัด วิมติปถํ ซึ่งคลองแห่งความสงสัย, ธาเรหิ จงทรงไว้ (จงชู) ญาณวรปชฺโชตํ ซึ่งประทีปอันลุกโพลงทั่วแล้วคือญาณอันประเสริฐ ดังนี้.

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา ติณฺณํ โข ปน, ภิกฺขเว, สนฺนิปาตา คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหติ, อิธ มาตาปิตโร จ สนฺนิปติตา โหนฺติ, มาตา จ อุตุนี โหติ, คนฺธพฺโพ จ ปจฺจุปฏฺฐิโต โหติ, เอวํ ติณฺณํ สนฺนิปาตา คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหตีติฯ ภณิตญฺจ สาโม จ กุมาโร มณฺฑพฺโย จ มาณวโก นาภิปรามสเนน นิพฺพตฺตา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัส ปิ แม้นี้ อิติ ว่า ปน ก็ โข แล ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย อวกฺกนฺติ ความเกิดขึ้น คพฺภสฺส แห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ โหติ ย่อมมี สนฺนิปาตา เพราะการประชุมกัน ติณฺณํ (การณานํ) แห่งเหตุทั้งหลาย ๓ คือ มาตาปิตโร มารดาและบิดาทั้งหลาย อิธ ในโลกนี้ สนฺนิปติตา เป็นผู้ร่วมกัน โหนฺติ  ย่อมเป็น ด้วย, มาตา มารดา อุตุนี เป็นหญิงมีระดู โหติ ย่อมเป็น ด้วย, คนฺธพฺโพ สัตว์ผู้ควรมาถึงครรภ์ ปจฺจุปฏฺฐิโต เป็นผู้ปรากฏแล้ว โหติ ย่อมเป็น ด้วย, อวกฺกนฺติ ความเกิดขึ้น คพฺภสฺส แห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ โหติ ย่อมมี สนฺนิปาตา เพราะการประชุมกัน ติณฺณํ (การณานํ) แห่งเหตุทั้งหลาย ๓ เอวํ ฉะนี้, อนึ่ง เอตํ วจนมฺปิพระดำรัสแม้นี้ อิติ ว่า สาโม กุมาโร จ สามกุมาร ด้วย, มณฺฑพฺโย มาณวโก จ มัณฑพยมานพ ด้วย นิพฺพตฺตา เกิดแล้ว นาภิปรามสเนน ด้วยการลูบสะดือ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตแล้ว ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, ภนฺเต นาคเสน, เยน การเณน ปญฺโห สุวินิจฺฉิโต โหติ, เตน การเณน มํ สญฺญาเปหี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ปญฺโห ปัญหา ตยา สุวินิจฺฉิโต เป็นปัญหาอันท่านวินิจฉัยด้วยดี เยน การเณน ด้วยเหตุใด, ตฺวํ ท่าน มํ ยังข้าพเจ้า สญฺญาเปหิ จงให้เข้าใจ เตน การเณน โดยเหตุนั้น เถิด ดังนี้

 

‘‘สุตปุพฺพํ ปน ตยา, มหาราช, สํกิจฺโจ จ กุมาโร อิสิสิงฺโค จ ตาปโส เถโร จ กุมารกสฺสโป อิมินา นาม เต นิพฺพตฺตา’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ เอตํ (วตฺถุ) เรื่องนี้ (อิติ) ว่า เต ปุคฺคลา บุคคลทั้งหลาย เหล่านั้น อิติ คือ สํกิจฺโจ จ กุมาโร สังกิจจกุมาร ด้วย, อิสิสิงฺโค จ ตาปโส อิสิสิงคดาบส ด้วย, เถโร จ กุมารกสฺสโป พระกุมารกัสสปเถระ ด้วย นิพฺพตฺตา นาม ชื่อว่าเป็นผู้เกิดแล้ว อิมินา ด้วยเหตุนี้ โหนฺติ ย่อมเป็น (ดังนี้)  ตยา อันมหาบพิตร สุตปุพฺพํ ฟังมาแล้วในกาลก่อน หรือ ดังนี้.

 

‘‘อาม, ภนฺเต, สุยฺยติ, อพฺภุคฺคตา เตสํ ชาติ, ทฺเว มิคเธนุโย ตาว อุตุนิกาเล ทฺวินฺนํ ตาปสานํ ปสฺสาวฏฺฐานํ อาคนฺตฺวา สสมฺภวํ ปสฺสาวํ ปิวิํสุ, เตน ปสฺสาวสมฺภเวน สํกิจฺโจ จ กุมาโร อิสิสิงฺโค จ ตาปโส นิพฺพตฺตาฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, วตฺถุ เรื่อง เตสํ ชนานํ แห่งชนทั้งหลายเหล่านั้น สุยฺยติ อันเรา ได้ยินมาอยู่, ชาติ การเกิด เตสํ ชนานํ แห่งบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น อพฺภุคฺคตา ฟุ้งขจรแล้ว, มิคเธนุโย นางเนื้อและแม่โค เทฺว สอง อาคนฺตฺวา มาแล้ว ปสฺสาวฏฺฐานํ สู่ที่เป็นที่ถ่ายปัสสาวะ ปิวิํสุ ดื่มแล้ว ปสฺสาวํ ซึ่งปัสสาวะ สสมฺภวํ อันเป็นไปกับด้วยน้ำส้มภวะ (อสุจิ) ทฺวินฺนํ ตาปสานํ แห่งดาบสทั้งหลายสอง อุตุนิกาเล ในกาลแห่งตนเป็นสัตว์มีระดู ตาว ก่อน, สํกิจฺโจ จ กุมาโร สังกิจจกุมาร ด้วย อิสิสิงฺโค จ ตาปโส อิสิสิงคาดาบส ด้วย นิพฺพตฺตา เกิดแล้ว เตน ปสฺสาวสมฺภเวน ด้วยน้ำสัมภวะในน้ำปัสสาวะฯ

 

เถรสฺส อุทายิสฺส ภิกฺขุนุปสฺสยํ อุปคตสฺส รตฺตจิตฺเตน ภิกฺขุนิยา องฺคชาตํ อุปนิชฺฌายนฺตสฺส สมฺภวํ กาสาเว มุจฺจิฯ อถ โข อายสฺมา อุทายิ ตํ ภิกฺขุนิํ เอตทโวจ คจฺฉ ภคินิ, อุทกํ อาหร อนฺตรวาสกํ โธวิสฺสามีติฯ อาหรยฺย อหเมว โธวิสฺสามีติฯ ตโต สา ภิกฺขุนี อุตุนิสมเย ตํ สมฺภวํ เอกเทสํ มุเขน อคฺคเหสิ, เอกเทสํ องฺคชาเต ปกฺขิปิ, เตน เถโร กุมารกสฺสโป นิพฺพตฺโตติ เอตํ ชโน อาหา’’ติฯ

 

เถรสฺส อุทายิสฺส เมื่อพระอุทายีเถระ[8] อุปคตสฺส เข้าไปแล้ว ภิกฺขุนุปสฺสยํ สู่สำนักของภิกษุนีทั้งหลาย อุปนิชฺฌายนฺตสฺส เพ่งดูอยู่ องฺคชาติํ ซึ่งองคชาติ ภิกฺขุนิยา ของนางภิกษุนี รตฺตจิตฺเตน ด้วยจิตอันกำหนัดแล้ว มุจฺจิ ปล่อยแล้ว สมฺภวํ ซึ่งน้ำสัมภวะ กาสาเว ที่ผ้ากาสาวพัสตร์  (คือ เปื้อนผ้า...). อถ โข ลำดับนั้น อายสฺมา อุทายิ ท่านพระอุทายี อโวจ ได้กล่าวแล้ว เอตํ วจนํ ซึ่งคำนี้ ตํ ภิกฺขุนิํ กะนางภิกษุนีนั้น อิติ ว่า ภคินิ น้องหญิง ตฺวํ เธอ คจฺฉถ จงไป, ตฺวํ เธอ อาหร จงนำมา อุทกํ ซึ่งน้ำ, อหํ อาตมา โธวิสฺสามิ จักซัก อนฺตรวาสกํ ซึ่งผ้าอันตรวาสก ดังนี้. สา ภิกฺขุนี นางภิกษุนีนั้น อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า อยฺย พระผู้เป็นเจ้า ตฺวํ ขอท่าน อาหร จงนำมา (อนฺตรวาสกํ) ซึ่งผ้าอันตรวาสก, อหํ ดิฉัน เอว นั่นเทียว โธวิสฺสามิ จักซัก (ตํ อนฺตรวาสกํ) ซึ่งผ้าอันตรวาสกนั้น ดังนี้. ตโต ต่อมา สา ภิกฺขุนี นางภิกษุนีนั้น อคฺคเหสิ ได้ถือเอาแล้ว ตํ สมฺภวํ ซึ่งน้ำสัมภวะ อุตุนิสมเย ในสมัยแห่งตนเป็นผู้หญิงมีระดู เอกเทสํ ส่วนหนึ่ง มุเขน ด้วยปาก (ใช้ปากรับ...), ปกฺขิปิ ใส่แล้ว เอกเทสํ ส่วนหนึ่ง องฺคชาเต ในองคชาติ, เถโร กุมารกสฺสโป พระกุมารกัสสปเถระ นิพฺพตฺโต เกิดแล้ว เตน การเณน เพราะเหตุนั้น ชโน ชน อาห กล่าวแล้ว เอตํ (ปวตฺติํ) ซึ่งเรื่องนั้น ด้วยประการฉะนี้

 

‘‘อปิ นุ โข ตฺวํ, มหาราช, สทฺทหสิ ตํ วจน’’นฺติ?

นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตฺวํ สทฺทหสิ เชื่อแล้ว ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น อปิ นุ โข หรือหนอแล ดังนี้.

 

‘‘อาม ภนฺเต, พลวํ ตตฺถ มยํ การณํ อุปลภาม, เยน มยํ การเณน สทฺทหาม อิมินา การเณน นิพฺพตฺตา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, อหํ ข้าพเจ้า อุปลภาม ย่อมได้รับ การณํ ซึ่งเหตุผล พลวํ อันหนักแน่น ตตฺถ ในเรื่องนั้น, มยํ = อหํ สทฺทหาม = สทฺทหามิ ย่อมเชื่อถือ เยน การเณน โดยเหตุผล ใด, (เต ชนา) ชนทั้งหลายเหล่านั้น นิพฺพตฺตา เกิดแล้ว อิมินา การเณน ด้วยเหตุนี้ ดังนี้.

 

‘‘กิํ ปเนตฺถ, มหาราช, การณ’’นฺติ?

นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ กิํ การณํ เหตุอะไร (โหติ จะมี) เอตฺถ ปวตฺติมฺหิ ในเรื่องนี้ ดังนี้.

 

‘‘สุปริกมฺมกเต, ภนฺเต, กลเล พีชํ นิปติตฺวา ขิปฺปํ สํวิรุหตี’’ติ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พีชํ เมล็ดพันธ์พืช นิปติตฺวา อันตกลงแล้ว กลเล ในดินชุ่ม สุปริกมฺมกเต มีการตระเตรียมดีอันบุคคลกระทำแล้ว สํวิรุหติ ย่อมงอกงามดี ขิปฺปํ ได้รวดเร็ว หรือ ? ดังนี้.

 

‘‘อาม มหาราชา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อาม เจริญพร พีชํ เมล็ดพันธ์พืช นิปติตฺวา อันตกลงแล้ว กลเล ในดินชุ่ม สุปริกมฺมกเต มีการตระเตรียมดีอันบุคคลกระทำแล้ว สํวิรุหติ ย่อมงอกงามดี ขิปฺปํ ได้รวดเร็ว ดังนี้.

 

‘‘เอวเมว โข, ภนฺเต, สา ภิกฺขุนี อุตุนี สมานา สณฺฐิเต กลเล[9] รุหิเร ปจฺฉินฺนเวเค ฐิตาย ธาตุยา ตํ สมฺภวํ คเหตฺวา ตสฺมิํ กลเล ปกฺขิปิ, เตน ตสฺสา คพฺโภ สณฺฐาสิ, เอวํ ตตฺถ การณํ ปจฺเจม เตสํ นิพฺพตฺติยา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอวเมว โข อุปไมยเป็นเครื่องยังอุปมานั้นให้ถึงพร้อม ฉันนั้นแล, สา ภิกฺขุนี นางภิกษุนีนั้น อุตุนี เป็นหญิงมีระดู สมานา มีอยู่, กลเล เมื่อผนังมดลูก สณฺฐิเต  ตั้งอยู่พร้อมแล้ว,  รุหิเร เมื่อโลหิต (ประจำเดือน)  ปจฺฉินฺนเวเค มีกระแสอันขาดแล้ว (เวลาเลือดประจำเดือนหมด) ธาตุยา เมื่อธาตุ (คือไข่สำหรับอสุจิผสม) ฐิตาย ตั้งอยู่แล้ว,คเหตฺวา ถือเอาแล้ว ตํ สมฺภวํ ซึ่งน้ำสัมภวะนั้น ปกฺขิปิ ใส่ไปแล้ว ตสฺมิํ กลเล ในผนังมดลูกนั้น, คพฺโภ สัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ตสฺสา แห่งนางภิกษุนีนั้น สณฺฐาสิ จึงตั้งขึ้นแล้ว เตน เพราะเหตุนั้น, มยํ ข้าพเจ้า ปจฺเจม ย่อมเชื่อ การณํ ซึ่งเหตุ นิพฺพตฺติยา แห่งการเกิดขึ้น เตสํ ชนานํ แห่งชนทั้งหลายเหล่านั้น ตตฺถ ปวตฺติมฺหิ ในเรื่องนั้น เอวํ อย่างนี้ ดังนี้.

 

‘‘เอวเมตํ, มหาราช, ตถา สมฺปฏิจฺฉามิ, โยนิปฺปเวเสน คพฺโภ สมฺภวตีติฯ

 

นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ยํ วุตฺตํ คำที่มหาบพิตรตรัสแล้ว ใด, เอตํ วจนํ คำนั้น โหติ ย่อมมี เอวํ อย่างนั้น, โย คพฺโภ สัตว์ผู้ควรมาถึงครรภ์ใด สมฺภวติ ย่อมเกิดขึ้น (ปสฺสาวมคฺเคน สมฺภวํ) นิปฺปเวเสน โดยการยังน้ำสัมภวะให้เข้าไปในปัสสาวมรรค  (ยถา) โดยประการใด, อหํ อาตมภาพ สมฺปฏิจฺฉามิ ขอรับรอง สมฺภวการณํ ซึ่งเหตุแห่งการตั้งครรภ์ ตสฺส คพฺภสฺส แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ตถา โดยประการนั้น ดังนี้.

 

สมฺปฏิจฺฉสิ ปน, ตฺวํ มหาราช, เถรสฺส กุมารกสฺสปสฺส คพฺภาวกฺกมน’’นฺติ?

 

มหาราช มหาบพิตร ปน แต่ว่า ตฺวํ พระองค์ สมฺปฏิจฺฉสิ ยอมรับอยู่ คพฺภาวกฺกมนํ ซึ่งการเกิดขึ้นในครรภ์ เถรสฺส กุมารกสฺสปสฺส แห่งพระกุมารกัสปเถระ หรือไม่ ดังนี้

 

‘‘อาม ภนฺเต’’ติฯ

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่ ดังนี้.

 

‘‘สาธุ, มหาราช, ปจฺจาคโตสิ มม วิสยํ, เอกวิเธนปิ คพฺภาวกฺกนฺติํ กถยนฺโต มมานุพลํ ภวิสฺสสิ, อถ ยา ปน ตา ทฺเว มิคเธนุโย ปสฺสาวํ ปิวิตฺวา คพฺภํ ปฏิลภิํสุ, ตาสํ ตฺวํ สทฺทหสิ คพฺภสฺสาวกฺกมน’’นฺติ?

นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สาธุ ดีละ, ตฺวํ มหาบพิตร ปจฺจาคโต เป็นผู้กลับมาแล้ว วิสยํ สู่วิสัย (แนวทางความคิด) มม ของอาตมภาพ อสิ ย่อมเป็น, ตฺวํ มหาบพิตร กถยนฺโต (อันอาตมภาพ) ให้ตรัสอยู่ คพฺภาวกฺกนฺติํ ซึ่งการเกิดในครรภ์ เอกวิเธนปิ แม้โดยวิธิีหนึ่ง อนุพลํ ก็จักเป็นอันเพิ่มกำลัง มม แก่อาตมภาพ ภวิสฺสสิ จักเป็น, อถ ทีนั้น ปน ก็ ยา ตา เทฺว มิคเธนุโย เนื้อและแม่โคทั้งหลาย ๒ เหล่านั้น ใด ปิวิตฺวา ดื่มแล้ว ปสฺสาวํ ซึ่งปัสสาวะ ปฏิลภิํสุ ได้เฉพาะแล้ว คพฺภํ ซึ่งสัตว์ผู้ควรมาถึงครรภ์, ตฺวํ มหาบพิตร สทฺทหสิ ย่อมทรงเชื่อ คพฺภสฺสาวกฺกมนํ ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ตาสํ แห่งเนื้อและแม่โคทั้งหลาย เหล่านั้น หรือ ? ดังนี้

 

‘‘อาม, ภนฺเต, ยํ กิญฺจิ ภุตฺตํ ปีตํ ขายิตํ เลหิตํ, สพฺพํ ตํ กลลํ โอสรติ, ฐานคตํ วุฑฺฒิมาปชฺชติฯ ยถา, ภนฺเต นาคเสน, ยา กาจิ สริตา นาม, สพฺพา ตา มหาสมุทฺทํ โอสรนฺติ, ฐานคตา วุฑฺฒิมาปชฺชนฺติฯ เอวเมว โข, ภนฺเต นาคเสน, ยํ กิญฺจิ ภุตฺตํ ปีตํ ขายิตํ เลหิตํ, สพฺพํ ตํ กลลํ โอสรติ, ฐานคตํ วุฑฺฒิมาปชฺชติ, เตนาหํ การเณน สทฺทหามิ มุขคเตนปิ คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหตี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, ยํ กิญฺจิ วตฺถุ ส่ิงใดสิ่งหนึ่ง (ปุคฺคเลน) อันบุคคล ภุตฺตํ กินแล้ว ปีตํ ดื่มแล้ว ขายิตํ เคี้ยวกินแล้ว เลหิตํ ลิ้มแล้ว, สพฺพํ ตํ วตฺถุ สิ่งนั้นทั้งหมด โอสรติ ย่อมหยั่งลง ตํ กลลํ สู่กลละคือผนังมดลูกนั้น, ฐานคตํ วตฺถุ วัตถุนั้น อันถึงแล้วซึ่งสถานที่ อาปชฺชติ ย่อมถึง วุฑฺฒิํ ซึ่งความเจริญ. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยา กาจิ (นที) แม่น้ำทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง สริตา นาม ชื่อว่าไหลไปแล้ว, สพฺพา ตา แม่น้ำทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด โอสรนฺติ ย่อมหยั่งลง มหาสมุทฺทํ สู่มหาสมุทร, นทิโย แม่น้ำเหล่านั้น ฐานคตา อันถึงฐานะแล้ว อาปชฺชนฺติ ย่อมถึง วุฑฺฒิํ ซึ่งความเจริญ ยถา ฉันใด, ยํ กิญฺจิ วตฺถุ ส่ิงใดสิ่งหนึ่ง ภุตฺตํ อันบุคคลกินแล้ว ปีตํ ดื่มแล้ว ขายิตํ เคี้ยวกินแล้ว เลหิตํ ลิ้มแล้ว, สพฺพํ ตํ สิ่งนั้นทั้งหมด โอสรติ ย่อมหยั่งลง ตํ กลลํ สู่กลละคือผนังมดลูกนั้น, ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น  ฐานคตํ อันถึงแล้วซึ่งสถานที่ อาปชฺชติ ย่อมถึง วุฑฺฒิํ ซึ่งความเจริญ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล, อวกฺกนฺติ การเกิดขึ้น คพฺภสฺส แห่งบุคคลผู้ควรถึงซึ่งครรภ์ โหติ ย่อมมี  ปสฺสาวสมฺภเวน ด้วยน้ำสัมภวะอันปนอยู่ในปัสสาวะ มุขคเตนปิ แม้เข้าไปแล้วทางปาก เยน การเณน เพราะเหตุใด, อหํ ข้าพเจ้า สทฺทหามิ ย่อมเชื่อ เตน การเณน  เพราะเหตุนั้น ดังนี้

 

 ‘‘สาธุ, มหาราช, คาฬฺหตรํ อุปคโตสิ มม วิสยํ, มุขปาเนนปิ ทฺวยสนฺนิปาโต ภวติฯ สํกิจฺจสฺส จ, มหาราช, กุมารสฺส อิสิสิงฺคสฺส จ ตาปสสฺส เถรสฺส จ กุมารกสฺสปสฺส คพฺภาวกฺกมนํ สมฺปฏิจฺฉสี’’ติ?

 

นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สาธุ ดีละ ตฺวํ มหาบพิตร อุปคโต เป็นผู้เข้าไปแล้ว วิสยํ สู่วิสัย มม ของอาตมภาพ คาฬฺหตรํ อย่างแน่นหนามากขึ้น อสิ ย่อมเป็น, ทฺวยสนฺนิปาโต การประชุมกันแห่งเหตุ ๒ คือ (มาตา จ อุตุนี, คพฺโภ ปจฺจุปฏฺฐิโต)  มารดาเป็นหญิงมีระดู ด้วย, สัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ตั้งอยู่ใกล้แล้ว ด้วย) ภวติ ย่อมมี มุขปาเนนปิ (สห) กับ แม้ด้วยการดื่ม (ปัสสาวะอันเจือด้วยสัมภวะ) ทางปาก.[10] ตฺวํ ขอมหาบพิตร สมฺปฏิจฺฉสิ จงทรงยอมรับ คพฺภาวกฺกมนํ ซึ่งการเกิดขึ้นในครรภ์ สํกิจฺจสฺส กุมารสฺส จ แห่งสังกิจจกุมาร ด้วย, อิสิสิงฺคสฺส จ ตาปสสฺส แห่งดิสิสิงคดาบส ด้วย, เถรสฺส จ กุมารกสฺสปสฺส แห่งพระกุมารกัสสปเถระ ด้วย ดังนี้.

 

‘‘อาม, ภนฺเต, สนฺนิปาโต โอสรตี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, สนฺนิปาโต การประชุมกัน (ทฺวินฺนํ แห่งเหตุทั้งหลาย ๒ สห พร้อม มุขปาเนนปิ แม้ด้วยการดื่มสัมภวะทางปาก โอสรติ ย่อมหยั่งลง (ย่อมรวมกันเป็นเหตุแห่งการตั้งครรภ์ ๓ อย่าง) ดังนี้.

 

‘‘สาโมปิ, มหาราช, กุมาโร มณฺฑพฺโยปิ มาณวโก ตีสุ สนฺนิปาเตสุ อนฺโตคธา, เอกรสา เยว ปุริเมน, ตตฺถ การณํ วกฺขามิฯ

มหาราช มหาบพิตร สาโมปิ กุมาโร แม้กุมารสามะ มณฺฑพฺโยปิ มาณวโก แม้มัณฑัพยมานพ อนฺโตคธา เป็นผู้หยั่งลงสู่ภายใน สนฺนิปาเตสุ ในการประชุมกัน ตีสุ ๓, เอกรสา เอว เป็นผู้มีอาการเดียวกัน นั่นเทียว โหนฺติ ย่อมเป็น, อหํ อาตมภาพ วกฺขามิ จักกล่าว การณํ ซึ่งเหตุ ตตฺถ ในเรื่องนั้น  (เตสํ ทฺวินฺนํ ชนานํ ติณฺณํ สนฺนิปาตานํ อนฺโตคธภาเว)  ในความที่แห่งชนทั้งหลายสองเหล่านั้น หยั่งลงสู่ภายใน แห่งการประชุมกัน ๓ อย่าง  (สามวตฺถุนา) โดยเรื่องแห่งกุมารสามะ ปุริเมน เป็นเบื้องต้น[11].

 

ทุกูโล , มหาราช, ตาปโส ปาริกา จ ตาปสี อุโภปิ เต อรญฺญวาสา อเหสุํ ปวิเวกาธิมุตฺตา อุตฺตมตฺถคเวสกา, ตปเตเชน ยาว พฺรหฺมโลกํ สนฺตาเปสุํ

มหาราช มหาบพิตร อุโภปิ เต ชนา ชนทั้งสองเหล่านั้น คือ  ทุกูโล จ ตาปโส ทุกูลดาบส ด้วย ปาริกา จ ตาปสี ปาริกาดาบสหญิง ด้วย อรญฺญวาสา เป็นผู้อยู่ในป่า ปวิเวกาธิมุตฺตา มีจิตน้อมไปในวิเวก อุตฺตมตฺถคเวสกา เป็นผู้แสวงหาประโยชน์สูงสุด อเหสุํ ได้มีแล้ว, เต ชนา ชนทั้งหลายเหล่านั้น (โลกํ) ยังโลกสวรรค์ ยาว พรหมโลกํ[12] = พฺรหฺมโลกา เพียงไร แต่พรหมโลก สนฺตาเปสุํ ให้ร้อนรนแล้ว ตปเตเชน ด้วยเดชแห่งตบะ.

 

เตสํ ตทา สกฺโก เทวานมินฺโท สายํ ปาตํ อุปฏฺฐานํ อาคจฺฉติฯ โส เตสํ ครุกตเมตฺตตาย อุปธาเรนฺโต อทฺทส อนาคตมทฺธาเน ทฺวินฺนมฺปิ เตสํ จกฺขูนํ อนฺตรธานํ, ทิสฺวา เต เอวมาห เอกํ เม, โภนฺโต, วจนํ กโรถ, สาธุ เอกํ ปุตฺตํ ชเนยฺยาถ, โส ตุมฺหากํ อุปฏฺฐาโก ภวิสฺสติ อาลมฺพโน จาติฯ

 

ตทา ในกาลนั้น สกฺโก เทวานมินฺโท ท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพ อาคจฺฉติ เสด็จมาอยู่ อุปฏฺฐานํ สู่ที่เป็นที่บำรุง เตสํ แห่งชนทั้งหลายสองเหล่านั้น สายํ ทั้งในเวลาเย็น ปาตํ ทั้งในเวลาเช้า. โส สกฺโก เทวานมินฺโท ท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพนั้น อุปธาเรนฺโต เมื่อทรงใคร่ครวญ อทฺทส ได้เห็นแล้ว อนฺตรธานํ ซึ่งการอันตรธานไป (ความเสื่อมหายไป) เตสํ จกฺขูนํ แห่งจักษุทั้งหลาย ทฺวินฺนมฺปิ ชนานํ แห่งชนทั้งหลายแม้สอง  ครุกเมตฺตตาย เพราะความที่ (อตฺตโน) แห่งตน เป็นผู้มีความเป็นมิตฺรอันทรงกระทำแล้วอย่างหนักแน่น เตสํ ต่อชนทั้งหลายเหล่านั้น. ทิสฺวา ครั้งทรงเห็นแล้ว อาห ตรัสแล้ว เต กะชนทั้งหลายสองเหล่านั้น เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า โภนฺโต ท่านผู้เจริญ ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย กโรถ จงกระทำ วจนํ ซึ่งคำพูด เอกํ คำหนึ่ง เม ของข้าพเจ้า, ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย เอกํ ปุตฺตํ ยังบุตรหนึ่งคน ชเนยฺยาถ พึงให้เกิด สาธุ เป็นการดี, โส บุตรนั้น อุปฏฺฐาโก จักเป็นผู้บำรุง (จ) ด้วย อาลมฺพมโน จ จักเป็นบุคคลเป็นยึดเหนี่ยว ด้วย ตุมฺหากํ แห่งท่านทั้งหลาย ภวิสฺสติ จักเป็น ดังนี้.

 

อลํ, โกสิย, มา เอวํ ภณีติฯ เต ตสฺส ตํ วจนํ น สมฺปฏิจฺฉิํสุฯ

เต เทฺว ชนา ชนทั้งหลายสองเหล่านั้น อาหํสุ กล่าวแล้ว อิติ ว่า โกสิย ท่านท้าวโกสีย์  อลํ อย่าเลย, ตฺวํ ท่าน มา ภณิ อย่าได้กล่าวแล้ว เอวํ อย่างนี้ ดังนี้. น สมฺปฏิจฺฉิํสุ ไม่ยอมรับแล้ว ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตสฺส สกฺกสฺส ของท้าวสักกะนั้น.

 

อนุกมฺปโก อตฺถกาโม สกฺโก เทวานมินฺโท ทุติยมฺปิเป.ตติยมฺปิ เต เอวมาห เอกํ เม, โภนฺโต, วจนํ กโรถ, สาธุ เอกํ ปุตฺตํ ชเนยฺยาถ, โส ตุมฺหากํ อุปฏฺฐาโก ภวิสฺสติ อาลมฺพโน จาติฯ

สกฺโก เทวานมินฺโท ท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพ อนุกมฺปโก ผู้มีพระทัยอนุเคราะห์ อตฺถกาโม ผู้ทรงปรารถนาประโยชน์ อาห ตรัสแล้ว เต กะชนทั้งหลายสองเหล่านั้น ทุติยมฺปิ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ, ตติยมฺปิ แมัครั้งที่ ๓ เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า โภนฺโต ท่านผู้เจริญ ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย กโรถ จงกระทำ วจนํ ซึ่งคำพูด เอกํ คำหนึ่ง เม ของข้าพเจ้า, ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย เอกํ ปุตฺตํ ยังบุตรหนึ่งคน ชเนยฺยาถ พึงให้เกิด สาธุ เป็นการดี, โส บุตรนั้น อุปฏฺฐาโก จักเป็นผู้บำรุง (จ) ด้วย อาลมฺพมโน จ จักเป็นบุคคลเป็นยึดเหนี่ยว ด้วย ตุมฺหากํ แห่งท่านทั้งหลาย ภวิสฺสติ จักเป็น ดังนี้.

 

ตติยมฺปิ เต อาหํสุ อลํ, โกสิย, มา ตฺวํ โข อมฺเห อนตฺเถ นิโยเชหิ, กทายํ กาโย น ภิชฺชิสฺสติ, ภิชฺชตุ อยํ กาโย เภทนธมฺโม, ภิชฺชนฺติยาปิ ธรณิยา ปตนฺเตปิ เสลสิขเร ผลนฺเตปิ อากาเส ปตนฺเตปิ จนฺทิมสูริเย เนว มยํ โลกธมฺเมหิ มิสฺสยิสฺสาม, มา ตฺวํ อมฺหากํ สมฺมุขภาวํ อุปคจฺฉ, อุปคตสฺส เต เอโส วิสฺสาโส, อนตฺถจโร ตฺวํ มญฺเญติฯ

 

เต เทฺว ชนา ชนทั้งหลายสองเหล่านั้น อาหํสุ กล่าวแล้ว ตติยมฺปิ แม้ครั้งที่ ๓ อิติ ว่า โกสิย ท่านท้าวโกสีย์  อลํ อย่าเลย, ตฺวํ ท่าน มา นิโยเชหิ จงอย่าชักชวน อมฺเห ซึ่งเราทั้งหลาย อนตฺเถ ในสิ่งอันมิใช่ประโยชน์, อยํ กาโย กายนี้ น ภิชฺชิสฺสติ จักไม่แตกไป กทา เสียเมื่อไร, อยํ กาโย กายนี้ เภทนธมฺโม มีอันแตกไปเป็นธรรมดา โหติ ย่อมเป็น, ธรณิยา เมื่อแผ่นดิน ภิชฺชนฺติยาปิ แม้แตกไปอยู่, เสลสิขเร เมื่อภูเขาอันล้วนแล้วศิลา ปตนฺเตปิ แม้ล้มลงอยู่, อากาเส เมื่ออากาศ ผลนฺเตปิ แม้แยกอยู่, จนฺทิมสูริเย เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์ ปตนฺเตปิ แม้ตกไปอยู่, มยํ เราทั้งหลาย มิสฺสยิสฺสามิ จักไม่เจือ โลกธมฺเมหิ ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย, ตฺวํ ท่าน มา อย่า อุปคจฺฉ จงเข้าไป สมฺมุขภาวํ สู่ความมีในที่เฉพาะหน้า (อย่ามาพบหน้า) อมฺหากํ ของเราทั้งหลาย, เต เมื่อท่าน อุปคตสฺส  เข้าใกล้ชิดแล้ว เอโส วิสฺสาโส ความคุ้นเคยนั่น ภวติ ย่อมเกิด[13], ตฺวํ ท่าน มญฺเญ เห็นจะ อนตฺถจโร เป็นผู้ประพฤติอนัตถะ อสิ ย่อมเป็น ดังนี้.

 

ตโต สกฺโก เทวานมินฺโท เตสํ มนํ อลภมาโน ครุกโต ปญฺชลิโก ปุน ยาจิ ยทิ เม วจนํ น อุสฺสหถ กาตุํ, ยทา ตาปสี อุตุนี โหติ ปุปฺผวตี, ตทา ตฺวํ, ภนฺเต, ทกฺขิเณน หตฺถงฺคุฏฺเฐน นาภิํ ปรามเสยฺยาสิ, เตน สา คพฺภํ ลจฺฉติ, สนฺนิปาโต เยเวส คพฺภาวกฺกนฺติยาติฯ

ตโต ลำดับนั้น สกฺโก เทวานมินฺโท ท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพ อลภมาโน เมื่อไม่ทรงได้ มนํ ซึ่งใจ เตสํ ชนานํ แห่งชนทั้งหลายเหล่านั้น ครุกโต เป็นผู้กระทำซึ่งความเครพ ปญฺชลิโก เป็นผู้ประคองอัญชลี ยาจิ ทูลอ้อนวอน ปุน อีก อิติ ว่า ยทิ ผิว่า ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย น อุสฺสหถ ไม่อาจ กาตุํ เพื่อกระทำ วจนํ ซึ่งคำพูด เม ของข้าพเจ้าได้ ไซร้, ยทา ในกาลใด ตาปสี ท่านดาบสหญิง อุตุนี เป็นหญิงมีระดู ปุปฺผวตี เป็นหญิงมีประจำเดือน โหติ ย่อมเป็น, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตทา ในกาลนั้น ตฺวํ ท่าน ปรามเสยฺยาสิ พึงลูบ นาภิํ ซึ่งสะดือ หตฺถงฺคุฏฺเฐน ด้วยนิ้วหัวแม่มือ ทกฺขิเณน ข้างขวา, เตน เพราะเหตุนั้น สา ตาปสี ท่านดาบสหญิง ลจฺฉติ จักได้ คพฺภํ ซึ่งสัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์, เอส (นาภิปรามโส) การลูบสะดือนั้น เอว นั่นเทียว สนฺนิปาโต เป็นการร่วมกัน คพฺภาวกฺกนฺติยา เพื่อการเกิดในครรภ์ ดังนี้.

 

สกฺโกมหํ, โกสิย, ตํ วจนํ กาตุํ, น ตาวตเกน อมฺหากํ ตโป ภิชฺชติ, โหตูติ สมฺปฏิจฺฉิํสุฯ

เต ชนา ชนทั้งหลายเหล่านั้น สมฺปฏิจฺฉิํสุ ยอมรับแล้ว วจเนน ด้วยคำ อิติ ว่า โกสิย ท่านท้าวโกสีย์ อหํ เรา สกฺโกมิ สามารถ กาตุํ เพื่ออันกระทำ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น, ตโป ตบะ อมฺหากํ ของเราทั้งหลาย ภิชฺชติ ย่อมไม่แตกไป ตาวตเกน กมฺเมน ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, (เอวํ กมฺมํ) โหตุ ขอการกระทำอย่างนี้ จงมีเถิด (ช่างมันเถิด) ดังนี้.

 

ตาย จ ปน เวลาย เทวภวเน อตฺถิ เทวปุตฺโต อุสฺสนฺนกุสลมูโล ขีณายุโก อายุกฺขยปฺปตฺโต ยทิจฺฉกํ สมตฺโถ โอกฺกมิตุํ อปิ จกฺกวตฺติกุเลปิฯ อถ สกฺโก เทวานมินฺโท ตํ เทวปุตฺตํ อุปสงฺกมิตฺวา เอวมาห เอหิ โข, มาริส, สุปภาโต เต ทิวโส, อตฺถสิทฺธิ อุปคตา, ยมหํ เต อุปฏฺฐานมาคมิํ, รมณีเย เต โอกาเส วาโส ภวิสฺสติ, ปติรูเป กุเล ปฏิสนฺธิ ภวิสฺสติ, สุนฺทเรหิ มาตาปิตูหิ วฑฺเฒตพฺโพ, เอหิ เม วจนํ กโรหีติ ยาจิฯ ทุติยมฺปิเป.ตติยมฺปิ ยาจิ สิรสิ ปญฺชลิกโตฯ

 

จ ปน ก็แล ตาย เวลาย ในเวลานั้น เทวปุตฺโต เทพบุตร (เอโก) องค์หนึ่ง อุสฺสนฺนกุสลมูโล ผู้มีกุศลมูลอันหนาขึ้นแล้ว ขีณายุโก มีอายุสิ้นแล้ว อายุกฺขยปฺปตฺโต ถึงความสิ้่นไปแห่งอายุ อตฺถิ มีอยู่ เทวภวเน ในเทวโลก, โส เทวปุตฺโต เทพบุตรนั้น สมตฺโถ เป็นผู้สามารถ โอกฺกมิตุํ อปิ แม้เพื่อหยั่งลง จกฺกวตฺติกุเลปิ แม้ในตระกุลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์ ยทิจฺฉกํ ตามที่ตนประสงค์ โหติ ย่อมเป็น. อถ ครั้งนั้น สกฺโก เทวานมินฺโท ท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพ อุปสงฺกมิตฺวา เข้าไปหาแล้ว ตํ เทวปุตฺตํ ซึ่งเทพบุตรองค์นั้น อาห กล่าวแล้ว เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า มาริส ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ตฺวํ ท่าน เอหิ โข จงไปเถิด, ทิวโส วัน เต ของท่าน สุปภาโต สว่างไสวดีแล้ว, อตฺถสิทฺธิ ความสำเร็จประโยชน์ อุปคตา ไปใกล้แล้ว, วาโส การอยู่ โอกาเส ในโอกาส รมณีเย อันน่ารื่นรมย์ ภวิสฺสติ จักมี เต แก่ท่าน,  ปฏิสนฺธิ การไปเกิด กุเล ในตระกูล ปติรูเป อันเหมาะสม ภวิสฺสติ จักมี, ตฺวํ ท่าน มาตาปิตูหิ สุนฺทเรหิ อันมารดาและบิดา ผู้ดีงาม วฑฺเฒตพฺโพ พึงให้เจริญเติบโต, ตฺวํ ท่าน กโรหิ จงกระทำ วจนํ ซึ่งคำ เม ของเรา, ยํ นี่คือการที่ อหํ เรา อาคมิํ มาแล้ว อุปฏฺฐานํ สู่ที่บำรุง เต ของท่าน ดังนี้,  ปญฺชลิกโต เป็นผู้มีอัญชลีอันทรงประคองแล้ว สิรสิ เหนือศีรษะ หุตฺวา เป็น ยาจิ ทูลอ้อนแล้ว ทุติยมฺปิ แม้ครั้งที่ ๒ .... ยาจิ ทูลอ้อนวอนแล้ว ตติยมฺปิ แม้ครั้งที่ ๓.

 

ตโต โส เทวปุตฺโต เอวมาห กตมํ ตํ, มาริส, กุลํ, ยํ ตฺวํ อภิกฺขณํ กิตฺตยสิ ปุนปฺปุนนฺติฯ

 

ตโต ต่อมา โส เทวปุตฺโต เทพบุตรนั้น อาห กล่าวแล้ว เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า มาริส ท่านผู้เหมือนเรา (ซึ่งเทวดาผู้นิรทุกข์เช่นกัน) ตฺวํ ท่าน กิตฺตยสิ ย่อมชมเชย อภิกฺขณํ เนืองๆ ปุนปฺปุนํ บ่อยๆ ยํ กุลํ ซึ่งตระกูลใด, ตํ กุลํ ตระกูลนั้น กตมํ เหล่าไหน  ดังนี้.

 

 ‘ทุกูโล จ ตาปโส ปาริกา จ ตาปสีติฯ

โส สกฺโก ท้าวสักกะนั้น อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า (ตํ กุลํ) ตระกูลนั้น คือ ทุกูโล จ ตาปโส ทุกูลดาบส ด้วย ปาริกา จ ตาปสี ดาบสหญิงปาริกา ด้วย ดังนี้.

 

โส ตสฺส วจนํ สุตฺวา ตุฏฺโฐ สมฺปฏิจฺฉิ สาธุ, มาริส, โย ตว ฉนฺโท, โส โหตุ, อากงฺขมาโน อหํ, มาริส, ปตฺถิเต กุเล อุปฺปชฺเชยฺยํ, กิมฺหิ กุเล อุปฺปชฺชามิ อณฺฑเช วา ชลาพุเช วา สํเสทเช วา โอปปาติเก วาติ?

 

โส เทวปุตฺโต เทพบุตรนั้น สุตฺวา ครั้นได้สดับแล้ว วจนํ ซึ่งพระดำรัส ตสฺส ของท้าวสักกะนั้น ตุฏฺโฐ ยินดีแล้ว สมฺปฏิจฺฉิ รับคำแล้ว อิติ ว่า มาริสะ ท่านผู้นิรทุกข์ สาธุ ดีละ ฉนฺโท ความปรารถนา ตว ของพระองค์  โย อันใด, โส ฉนฺโท ความปรารถนานั้น โหตุ จงมีเถิด, มาริส ท่านผู้นิรทุกข์ อหํ หม่อมฉัน อากงฺขมาโน หวังอยู่ อุปฺปชฺเชยฺยุํ พึงบังเกิด กุเล ในตระกูล ปตฺถิเต อันพระองค์ทรงปรารถนาแล้ว, อหํ หม่อมฉัน อุปฺปชฺชามิ จะบังเกิด กิมฺหิ กุเล ในตระกูลไหน คือ  อณฺฑเช วา ในตระกูลอันเป็นอัณฑชะ หรือ, ชลาพุเช วา หรือ ว่าในตระกูลที่เป็นชลาพุชะ, สํเสทเช วา หรือ ตระกูลที่เป็นสังเสทชะ โอปปาติเก วา ว่า หรือ ในตระกูลที่เป็นโอปปาติกะ ดังนี้.

 

ชลาพุชาย, มาริส, โยนิยา อุปฺปชฺชาหีติฯ

สกฺโก ท้าวสักกะ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ตฺวํ ท่าน อุปฺปชฺชาหิ จงเกิด โยนิยา ในกำเนิด ชลาพุยา อันเป็นชลาพุชะ ดังนี้.

 

อถ สกฺโก เทวานมินฺโท อุปฺปตฺติทิวสํ วิคเณตฺวา ทุกูลสฺส ตาปสสฺส อาโรเจสิ อสุกสฺมิํ นาม ทิวเส ตาปสี อุตุนี ภวิสฺสติ ปุปฺผวตี, ตทา ตฺวํ, ภนฺเต, ทกฺขิเณน หตฺถงฺคุฏฺเฐน นาภิํ ปรามเสยฺยาสีติฯ

อถ ครั้งนั้น สกฺโก เทวานมินฺโท ท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพ วิคเณตฺวา ทรงนับแล้ว อุปฺปตฺติทิวสํ ซึ่งวันเป็นที่เกิด อาโรเจสิ บอกแจ้งแล้ว ทุกูลสฺส ตาปสสฺส แก่ทุกูลดาบส อิติ ว่า ทิวเส ในวัน อสุกสฺมินาม ชื่อโน้น ตาปสี ท่านดาบสหญิง อุตุนี จักเป็นหญิงมีระดู ปุปฺผวดี จักเป็นหญิงมีประจำเดือน ภวิสฺสติ จักเป็น, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตทา ในกาลนั้น ตฺวํ ขอท่าน ปรามเสยฺยาสิ พึงลูบ นาภิํ ซึ่งสะดือ หตฺถงฺคุฏฺเฐน ด้วยนิ้วหัวแม่มือ ทกฺขิเณน ข้างขวา ดังนี้

 

ตสฺมิํ, มหาราช, ทิวเส ตาปสี จ อุตุนี ปุปฺผวตี อโหสิ, เทวปุตฺโต จ ตตฺถูปโค ปจฺจุปฏฺฐิโต อโหสิ, ตาปโส จ ทกฺขิเณน หตฺถงฺคุฏฺเฐน ตาปสิยา นาภิํ ปรามสิ, อิติ เต ตโย สนฺนิปาตา อเหสุํ, นาภิปรามสเนน ตาปสิยา ราโค อุทปาทิ, โส ปนสฺสา ราโค นาภิปรามสนํ ปฏิจฺจ มา ตฺวํ สนฺนิปาตํ อชฺฌาจารเมว มญฺญิ, อูหสนมฺปิ สนฺนิปาโต, อุลฺลปนมฺปิ สนฺนิปาโต, อุปนิชฺฌายนมฺปิ สนฺนิปาโต, ปุพฺพภาคภาวโต ราคสฺส อุปฺปาทาย อามสเนน สนฺนิปาโต ชายติ, สนฺนิปาตา โอกฺกมนํ โหตีติฯ

 

มหาราช มหาบพิตร ตสฺมิํ ทิวเส ในวันนั้น ตาปสี ท่านดาบสหญิง อุตุนี ได้เป็นหญิงมีระดู ปุปฺผวตี ได้เป็นหญิงมีประจำเดือน ด้วย อโหสิ ได้เป็นแล้ว, เทวปุตฺโต  เทวบุตร อุปโค ได้เป็นผู้เข้าไป ตตฺถ ในที่นั้น ด้วย อโหสิ ได้เป็นแล้ว, ตาปโส ท่านดาบส ปรามสิ ลูบแล้ว นาภิํ ซึ่งสะดือ ตาปสิยา ของดาบสหญิง หตฺถงฺคุฏฺเฐน ด้วยนิ้วหัวแม่มือ ทกฺขิเณน ข้างขวา ด้วย, สนฺนิปาตา ประชุมทั้งหลาย ตโย สาม เต เหล่านั้น อเหสุํ ได้มีแล้ว อิติ ด้วยประการฉะนี้, ราโค ราคะ ความกำหนัด อุทปาทิ ได้เกิดขึ้นแล้ว ตาปสิยา แก่ดาบสหญิง นาภิปรามสเนน ด้วยการลูบสะดือ, ปน ก็ โส ราโค ความกำหนัดนั้น นาภิปรามสนํ ซึ่งการลูบสะดือ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ตสฺสา ตาปสิยา แก่ดาบสหญิง ปฏิจฺจ เพราะอาศัย, ตฺวํ มหาบพิตร มา มญฺญิ อย่าทรงสำคัญแล้ว สนฺนิปาตํ ซึ่งการร่วมกัน[14] อชฺฌาจารํ เอว คือ อัชฌาจาร (การเสพเมถุน) เท่านั้น, อูหสนมฺปิ[15] แม้การหัวเราะ สนฺนิปาโต ก็เป็นการร่วมกัน, อุลฺลปนมฺปิ แม้การพูดกัน สนฺนิปาโต ก็เป็นการร่วมกันได้, อุปนิชฺฌายนมฺปิ แม้การจ้องมองกัน สนฺนิปาโต ก็เป็นการร่วมกัน, สนฺนิปาโต ความประชุมกัน ชายติ ย่อมเกิด อามสเนน ด้วยการลูบ อุปฺปาทาย เพื่อความเกิดขึ้น ราคสฺส แห่งราคะ ปุพฺพภาคภาวโต โดยความเป็นเหตุในเบื้องต้น, โอกฺกมนํ การหยั่งลง โหติ ย่อมมี สนฺนิปาตา เพราะการประชุมกัน อิติ ด้วยประการฉะนี้ แล.

 

‘‘อนชฺฌาจาเรปิ, มหาราช, ปรามสเนน คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ ยถา, มหาราช, อคฺคิ ชลมาโน อปรามสโนปิ อุปคตสฺส สีตํ พฺยปหนฺติ, เอวเมว โข, มหาราช, อนชฺฌาจาเรปิ ปรามสเนน คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ

 

มหาราช มหาบพิตร คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ โหติ ย่อมมี ปรามสเนน ด้วยการลูบ อนชฺฌาจาเรปิ แม้ในที่ไม่มีอัชฌาจาร (เสพเมถุน). มหาราช มหาบพิตร, ยถา เปรียบเหมือนว่า อคฺคิ ไฟ ชลมาโน อันลุกโพลงอยู่ พฺยปหนฺติ ย่อมทำลาย สีตํ ซึ่งความหนาวเย็น อุปคตสฺส แก่บุคคลผู้เข้าใกล้ อปรามสโนปิ แม้ไม่มีการสัมผัสเลย ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เอวเมว โข คำอุปไมยเป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกันแล, คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ โหติ ย่อมมี ปรามสเนน ด้วยการลูบ อนชฺฌาจาเรปิ แม้ในที่ไม่มีอัชฌาจาร.

 

‘‘จตุนฺนํ, มหาราช, วเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติ กมฺมวเสน โยนิวเสน กุลวเสน อายาจนวเสน, อปิ จ สพฺเพเปเต สตฺตา กมฺมสมฺภวา กมฺมสมุฏฺฐานา

มหาราช มหาบพิตร คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ โหติ ย่อมมี สตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งหลาย วเสน ด้วยอำนาจ การณานํ แห่งเหตุทั้งหลาย จตุนฺนํ ๔ คือ กมฺมวเสน ด้วยอำนาจแห่งกรรม, โยนิวเสน ด้วยอำนาจแห่งกำเนิด, กุลวเสน ด้วยอำนาจแห่งตระกูล, อายาจนวเสน ด้วยอำนาจแห่งการอ้อนวอน, อปิ จ อนึ่ง สพฺเพปิ เอเต สตฺตา แม้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เหล่านี้ กมฺมสมฺภาวา มีกรรมเป็นแดนเกิด กมฺมสมุฏฺฐานา มีกรรมเป็นสมุฏฐาน.

 

‘‘กถํ, มหาราช, กมฺมวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติ? อุสฺสนฺนกุสลมูลา, มหาราช, สตฺตา ยทิจฺฉกํ อุปฺปชฺชนฺติ ขตฺติยมหาสาลกุเล วา พฺราหฺมณมหาสาลกุเล วา คหปติมหาสาลกุเล วา เทเวสุ วา อณฺฑชาย วา โยนิยา ชลาพุชาย วา โยนิยา สํเสทชาย วา โยนิยา โอปปาติกาย วา โยนิยาฯ

มหาราช มหาบพิตร คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดในครรภ์ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย กมฺมวเสน ด้วยอำนาจแห่งกรรม โหติ ย่อมมี กถํ อย่างไร? มหาราช มหาบพิตร สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย อุสฺสนฺนกุสลมูลา ผู้มีกุศลมูลหนาแน่นแล้ว[16] อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น ยทิจฺฉิกํ ตามที่ปรารถนา คือ ขตฺติยมหาสาลกุเล วา ในตระกูลแห่งขัตติยมหาศาล หรือ พฺราหฺมณมหาสาลกุเล วา หรือว่า ในตระกูลแห่งพราหมณ์มหาศาล คหปติมหาสาลกุเล วา หรือ ในตระกูลแห่งคฤหบดีมหาศาล เทเวสุ วา หรือว่า ในหมู่เทวดาทั้งหลาย อณฺฑชาย วา โยนิยา ในกำเนิด อันเป็นอัณฑชะ  หรือ,  ชลาพุชาย โยนิยา วา หรือว่า ในกำเนิด อันเป็นชลาพุชะ, สํเสทชาย วา โยนิยา ในกำเนิด อันเป็นสังเสทชะ หรือ, โอปปาติกาย วา โยนิยา หรือว่า ในกำเนิด อันเป็นโอปปาติกะ.

 

ยถา, มหาราช, ปุริโส อฑฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค ปหูตชาตรูปรชโต ปหูตวิตฺตูปกรโณ ปหูตธนธญฺโญ ปหูตญาติปกฺโข ทาสิํ วา ทาสํ วา เขตฺตํ วา วตฺถุํ วา คามํ วา นิคมํ วา ชนปทํ วา ยํ กิญฺจิ มนสา อภิปตฺถิตํ, ยทิจฺฉกํ ทฺวิคุณติคุณมฺปิ ธนํ ทตฺวา กิณาติ,

มหาราช มหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า ปุริโส บุรุษ อฑฺโฒ ผู้มั่งคั่ง มหทฺธโน มีทรัพย์มาก มหาโภโค มีโภคะมาก ปหูตวิตฺตูปกรโณ มีอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมากพอ ปหูตธนธญฺโญ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากพอ ปหูตญาติปกฺโข มีบุคคลฝ่ายที่เป็นญาติเพียงพอ กิณาติ ย่อมซื้อ อภิปตฺถิตํ สิ่งที่ตนปรารถนาแล้ว ยํ กิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ  ทาสิํ วา ซึ่งทาสี หรือ ทาสํ วา หรือว่า ซึ่งทาส เขตฺตํ วา ซึ่งนา หรือ วตฺถุํ วา หรือว่า ซึ่งไร่, คามํ วา ซึ่งบ้านหรือ, นิคมํ วา หรือว่า ซึ่งนิคม ชนปทํ วา หรือว่า ซึ่งชนบท ทตฺวา โดยให้ ธนํ ซึ่งทรัพย์ ทวิคุณติคุณมฺปิ แม้สองเท่าหรือสามเท่า ยทิจฺฉิกํ ตามที่ประสงค์ มนสา ด้วยใจ ฉันใด,

 

เอวเมว โข, มหาราช, อุสฺสนฺนกุสลมูลา สตฺตา ยทิจฺฉกํ อุปฺปชฺชนฺติ ขตฺติยมหาสาลกุเล วา พฺราหฺมณมหาสาลกุเล วา คหปติมหาสาลกุเล วา เทเวสุ วา อณฺฑชาย วา โยนิยา ชลาพุชาย วา โยนิยา สํเสทชย วา โยนิยา โอปปาติกาย วา โยนิยาฯ

มหาราช มหาบพิตร สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย อุสฺสนฺนกุสลมูลา ผู้มีกุศลมูลหนาแน่นแล้ว อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น ยทิจฺฉิกํ ตามที่ปรารถนา คือ ขตฺติยมหาสาลกุเล วา ในตระกูลแห่งขัตติยมหาศาล หรือ พฺราหฺมณมหาสาลกุเล วา หรือว่า ในตระกูลแห่งพราหมณ์มหาศาล คหปติมหาสาลกุเล วา หรือ ในตระกูลแห่งคฤหบดีมหาศาล เทเวสุ วา หรือว่า ในหมู่เทวดาทั้งหลาย อณฺฑชาย วา โยนิยา ในกำเนิด อันเป็นอัณฑชะ  หรือ,  ชลาพุชาย โยนิยา วา หรือว่า ในกำเนิด อันเป็นชลาพุชะ, สํเสทชาย วา โยนิยา ในกำเนิด อันเป็นสังเสทชะ หรือ, โอปปาติกาย วา โยนิยา หรือว่า ในกำเนิด อันเป็นโอปปาติกะ เอวํ เอว โข ฉันนั้น นั่นเทียว แล.

 

เอวํ กมฺมวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ

 

คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย กมฺมวเสน ด้วยอำนาจแห่งกรรม โหติ ย่อมมี เอวํ ด้วยประการฉะนี้.

 

‘‘กถํ โยนิวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติ?

คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย โยนิวเสน ด้วยอำนาจแห่งโยนิ[17] โหติ ย่อมมี กถํ อย่างไร?

 

กุกฺกุฏานํ, มหาราช, วาเตน คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ พลากานํ เมฆสทฺเทน คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ สพฺเพปิ เทวา อคพฺภเสยฺยกา สตฺตา เยว, เตสํ นานาวณฺเณน คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ

มหาราช มหาบพิตร คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ กุกฺกุฏานํ แห่งไก่ป่าทั้งหลาย โหติ ย่อมมี วาเตน ด้วยลม. คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ พลากานํ แห่งนกกระยาง โหติ ย่อมมี เมฆสทฺเทน ด้วยเสียงร้องแห่งเมฆ (เสียงฟ้าร้อง). เทวา เทวดา สพฺเพปิ แม้ทั้งปวง สตฺตา เป็นสัตว์ อคพฺภเสยฺยกา ผู้นอนครรภ์หามิได้ เอว นั่นเทียว โหนฺติ ย่อมเป็น,  คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ เตสํ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น โหนฺติ ย่อมมี นานาวณฺเณน โดยอาการต่างๆกัน.

 

ยถา, มหาราช, มนุสฺสา นานาวณฺเณน มหิยา จรนฺติ, เกจิ ปุรโต ปฏิจฺฉาเทนฺติ, เกจิ ปจฺฉโต ปฏิจฺฉาเทนฺติ, เกจิ นคฺคา โหนฺติ, เกจิ ภณฺฑู โหนฺติ เสตปฏธรา, เกจิ โมฬิพทฺธา โหนฺติ, เกจิ ภณฺฑู กาสาววสนา โหนฺติ, เกจิ กาสาววสนา โมฬิพทฺธา โหนฺติ, เกจิ ชฏิโน วากจีรธรา โหนฺติ, เกจิ จมฺมวสนา โหนฺติ, เกจิ รสฺมิโย นิวาเสนฺติ, สพฺเพเปเต มนุสฺสา นานาวณฺเณน มหิยา จรนฺติ, เอวเมว โข, มหาราช, สตฺตา เยว เต สพฺเพ, เตสํ นานาวณฺเณน คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ เอวํ โยนิวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ

 

มหาราช มหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลาย จรนฺติ ย่อมเที่ยวไป มหิยา บนแผ่นดิน นานาวณฺเณน โดยอาการต่างๆกัน, เกจิ บางพวก ปฏิจฺฉาเทนฺติ ย่อมปิดไว้ ปุรโต แค่ข้างหน้า, เกจิ บางพวก ปฏิจฺฉาเทนฺติ ย่อมปิด ปจฺฉโต ข้างหลัง, เกจิ บางพวก นคฺคา เป็นผู้เปลือย โหนฺติ ย่อมเป็น, เกจิ บางพวก ภณฺฑู เป็นผู้โล้น เสตปฏธรา นุ่งผ้าขาว โหนฺติ ย่อมเป็น, เกจิ บางพวก โมฬิพทฺธา เป็นผู้มุ่นมวยผม โหนฺติ ย่อมเป็น, เกจิ บางพวก ภณฺฑู เป็นผู้โล้น กาสววสนา นุ่งห่มผ้ากาสายะ โหนฺติ ย่อมเป็น, เกจิ บางพวก โมฬิพทฺธา เป็นผู้มุ่นมวยผม กาสววสนา ผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะ โหนฺติ ย่อมเป็น, เกจิ บางพวก ชฏิโน มีชฎา วากจีรธรา ทรงจีวรเปลือกไม้ โหนฺติ ย่อมเป็น, เกจิ บางพวก จมฺมวสนา นุ่งห่มหนังสัตว์ โหนฺติ ย่อมเป็น, เกจิ บางพวก นิวาเสนฺติ ย่อมนุ่งห่ม รสฺมิโย ซึ่งบังเหียน โหนฺติ ย่อมเป็น. มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลาย สพฺเพเปเต แม้เหล่านี้ทั้งปวง จรนฺติ ย่อมเที่ยวไป มหิยา บนแผ่นดิน นานาวณฺเณน โดยอาการต่างๆกัน ฉันใด, สพฺเพ สตฺตา เอว สัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวงเหล่านี้ นั่นเทียว เอวํ เอว โข ก็เป็นฉันนั้นนั่นเทียว โหนฺติ ย่อมเป็น, คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ เตสํ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น โหนฺติ ย่อมมี นานาวณฺเณน โดยอาการต่างๆกัน.

 

เอวํ โยนิวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ

คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย โยนิวเสน ด้วยอำนาจแห่งโยนิ โหติ ย่อมมี เอวํ ด้วยประการฉะนี้.

 

‘‘กถํ กุลวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติ? กุลํ นาม, มหาราช, จตฺตาริ กุลานิ อณฺฑชํ ชลาพุชํ สํเสทชํ โอปปาติกํฯ ยทิ ตตฺถ คนฺธพฺโพ ยโต กุโตจิ อาคนฺตฺวา อณฺฑเช กุเล อุปฺปชฺชติ, โส ตตฺถ อณฺฑโช โหติเป.ชลาพุเช กุเลเป.สํเสทเช กุเลเป.โอปปาติเก กุเล อุปฺปชฺชติ, โส ตตฺถ โอปปาติโก โหติฯ เตสุ เตสุ กุเลสุ ตาทิสา เยว สตฺตา สมฺภวนฺติฯ

 

คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย กุลวเสน ด้วยอำนาจแห่งตระกูล โหติ ย่อมมี กถํ อย่างไร. มหาราช มหาบพิตร จตฺตาริ กุลานิ ตระกูลทั้งหลาย ๔[18]คือ อณฺฑชํ ตระกูลที่เป็นอัณฑชะ, ชลาพุชํ ตระกูลที่เป็นลาพุชะ, สํเสทชํ ตระกูลที่เป็นสังเสทชะ, โอปปาติกํ ตระกูลที่เป็นโอปปาติกะ กุลํ นาม ชื่อว่า ตระกูล. ยทิ ผิว่า คนฺธพฺโพ สัตว์ผู้ควรมาถึงครรภ์ อาคนฺตฺวา มาแล้ว ยโต กุโตจิ แต่ที่ใดที่หนึ่ง อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น อณฺฑเช กุล ตระกูลอันเป็นอัณฑชะ, โส คนฺธพฺโพ สัตว์ผู้ควรถึงครรภ์นั้น อณฺฑโช เป็นอัณฑชะ ตตฺถ ภเว ในภพนั้น โหติ ย่อมเป็น. ... อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ชลาพุเช กุเล ในตระกูลที่เป็นชลาพุชะ ... อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น สงฺเสทเช กุเล ในตระกูลที่เป็นสังเสทชะ ... อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น โอปปาติเก กุเล ในตระกูลที่เป็นโอปปาติกะ, โส คนฺธพฺโพ สัตว์ผู้ควรมาถึงครรภ์ นั้น โอปปาติโก เป็นโอปปาติกะ ตตฺถ ภเว ในภพนั้น โหติ ย่อมเป็น. สตฺตา เอว สัตว์ทั้งหลายนั่นเทียว ตาทิสา เป็นสัตว์ที่เหมือนกันนั่นเทียว เตสุ เตสุ กุเลสุ ในตระกูลทั้งหลายเหล่านั้นๆ สมฺภวนฺติ ย่อมเป็น.

 

ยถา, มหาราช, หิมวติ เนรุปพฺพตํ เย เกจิ มิคปกฺขิโน อุเปนฺติ, สพฺเพ เต สกวณฺณํ วิชหิตฺวา สุวณฺณวณฺณา โหนฺติ, เอวเมว โข, มหาราช, โย โกจิ คนฺธพฺโพ ยโต กุโตจิ อาคนฺตฺวา อณฺฑชํ โยนิํ อุปคนฺตฺวา สภาววณฺณํ วิชหิตฺวา อณฺฑโช โหติเป.ชลาพุชํเป.สํเสทชํเป.โอปปาติกํ โยนิํ อุปคนฺตฺวา สภาววณฺณํ วิชหิตฺวา โอปปาติโก โหติ,

มหาราช มหาบพิตร เย เกจิ มิคปกฺขิโน เนื้อและนกทั้งหลาย อุเปนฺติ เข้าถึงอยู่ เนรุปพฺพตํ ซึ่งภูเขาสิเนรุ หิมวติ ในป่าหิมพานต์, เต มิคปกฺขิโน เนื้อและนกทั้งหลายเหล่านั้น สพฺเพ ทั้งปวง วิชหิตฺวา ละแล้ว สกวณฺณํ ซึ่งผิวพรรณอันเป็นของตน สุวณฺณวณฺณา มีผิวพรรณดังผิวพรรณแห่งทอง โหนฺติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร โย โกจิ คนฺธพฺโพ สัตว์ผู้ควรมาถึงครรภ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อาคนฺตฺวา มาแล้ว ยโต กุโตจิ จากที่ใดที่หนึ่ง อุปคนฺตฺวา ครั้นเข้าถึงแล้วเกิดขึ้น  อณฺฑชํ โยนิํ ซึ่งกำเนิดอันเป็นอันฑชะ วิชหิตฺวา ละแล้ว สภาววณฺณํ ซึ่งรูปร่างอันมีอยู่แห่งตน อณฺฑโช เป็นสัตว์ที่เป็นอัณฑชะ   โหติ ย่อมเป็น. ... ชลาพุชํ เป็นสัตว์ที่เป็นชลาพุชะ ... สงฺเสทชํ  เป็นสัตว์ที่เป็นสังเสทชะ ... อุปคนฺตฺวา เข้าถึงแล้ว โอปปาติกํ โยนิํ ซึ่งกำเนิดอันเป็นโอปปาติกะ วิชหิตฺวา ละแล้ว สภาววณฺณํ ซึ่งรูปร่างที่มีอยู่ของตน โอปปาติโก เป็นสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ โหติ ย่อมเป็น เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล.

 

เอวํ กุลวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ

คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย กุลวเสน ด้วยอำนาจแห่งตระกูล โหติ ย่อมมี เอวํ ด้วยประการฉะนี้.

 

‘‘กถํ อายาจนวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติ? อิธ, มหาราช, กุลํ โหติ อปุตฺตกํ พหุสาปเตยฺยํ สทฺธํ ปสนฺนํ สีลวนฺตํ กลฺยาณธมฺมํ ตปนิสฺสิตํ, เทวปุตฺโต จ อุสฺสนฺนกุสลมูโล จวนธมฺโม โหติฯ อถ สกฺโก เทวานมินฺโท ตสฺส กุลสฺส อนุกมฺปาย ตํ เทวปุตฺตํ อายาจติ ปณิเธหิ, มาริส, อสุกสฺส กุลสฺส มเหสิยา กุจฺฉินฺติฯ โส ตสฺส อายาจนเหตุ ตํ กุลํ ปณิเธติฯ

คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย อายจนวเสน ด้วยอำนาจแห่งขอร้อง โหติ ย่อมมี กถํ อย่างไร? มหาราช มหาบพิตร อิธ โลเก ในโลกนี้ กุลํ ตระกูล อปุตฺตกํ เป็นตระกูลไม่มีบุตร พหุสาปเตยฺยํ มีทรัพย์สมบัติมาก สทฺธํ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ปสนฺนํ มีความเลื่อมใส สีลวนฺตํ มีศีล กลฺยาณธมฺมํ มีกัลยาณธรรม ตปนิสฺสิตํ อาศัยแล้วซึ่งตบะ โหติ ย่อมเป็น, อนึ่ง เทวปุตฺโต เทพบุตร อุสฺสนฺนกุสลมูโล มีกุศลมูลหนาแน่น จวนธมฺโม ผู้จะต้องเคลื่อนเป็นธรรมดา โหติ มีอยู่. อถ ครั้งนั้น สกฺโก ท้าวสักกะ เทวานมินฺโท ผู้จอมแห่งเทพ อนุกมฺปาย เพื่ออนุเคราะห์ ตสฺส กุลสฺส แก่ตระกูลนั้น อายจติ ย่อมตรัสร้องขอ ตํ เทวปุตฺตํ ซึ่งเทวบุตรนั้น อิติ ว่า มาริส ท่านผู้นิรทุกข์ ตฺวํ ขอท่าน ปณิเธหิ จงตั้งความปรารถนา กุจฺฉิํ ซึ่งท้อง มเหสิยา แห่งพระมเหสิ ตสฺส กุลสฺส แห่งตระกูลนั้น ดังนี้. โส เทวปุตฺโต เทวบุตรนั้น ปณิเธติ ย่อมตั้งความปรารถนา กุลํ ซึ่งตระกูล ตํ นั้น อายาจนเหตุ เพราะเหตุแห่งการตรัสร้องขอ ตสฺส สกฺกสฺส แห่งท้าวสักกะนั้น.

 

ยถา, มหาราช, มนุสฺสา ปุญฺญกามา สมณํ มโนภาวนียํ อายาจิตฺวา เคหํ อุปเนนฺติ, อยํ อุปคนฺตฺวา สพฺพสฺส กุลสฺส สุขาวโห ภวิสฺสตีติฯ

มหาราช มหาบพิตร มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลาย ปุญฺญกามา ผู้ต้องการด้วยบุญ อายาจิตฺวา ขอร้องแล้ว สมณํ ซึ่งสมณะ มโนภาวนียํ ผู้อันตนมีใจยกย่อง อุปเนนฺติ ย่อมนำเข้าไป เคหํ สู่เรือน จินฺตเนน ด้วยอันคิดว่า อยํ สมโณ สมณะนี้ อุปคนฺตฺวา ครั้นเข้าไปแล้ว สุขาวโห จักเป็นนำมาซึ่งความสุข กุลสฺส แก่ตระกูล สพฺพสฺส ทั้งปวง ภวิสฺสติ จักเป็น ดังนี้ ยถา ฉันใด

 

เอวเมว โข, มหาราช, สกฺโก เทวานมินฺโท ตํ เทวปุตฺตํ อายาจิตฺวา ตํ กุลํ อุปเนติฯ

 

มหาราช มหาบพิตร สกฺโก เทวานมินฺโท ท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพ อายาจิตฺวา ทรงร้องขอแล้ว ตํ เทวปุตฺตํ ซึ่งเทวบุตรนั้น อุปเนติ ย่อมนำเข้าไป ตํ กุลํ สู่ตระกูลนั้น เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล.

 

เอวํ อายาจนวเสน สตฺตานํ คพฺภาวกฺกนฺติ โหติฯ

คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย อายาจนวเสน ด้วยอำนาจแห่งการร้องขอ โหติ ย่อมมี เอวํ ด้วยประการฉะนี้.

 

 

‘‘สาโม, มหาราช, กุมาโร สกฺเกน เทวานมินฺเทน อายาจิโต ปาริกาย ตาปสิยา กุจฺฉิํ โอกฺกนฺโตฯ สาโม, มหาราช, กุมาโร กตปุญฺโญ, มาตาปิตโร สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา, อายาจโก สกฺโก, ติณฺณํ เจโตปณิธิยา สาโม กุมาโร นิพฺพตฺโตฯ อิธ, มหาราช, นยกุสโล ปุริโส สุกฏฺเฐ อนูปเขตฺเต พีชํ โรเปยฺย, อปิ นุ ตสฺส พีชสฺส อนฺตรายํ วิวชฺเชนฺตสฺส วุฑฺฒิยา โกจิ อนฺตราโย ภเวยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร สาโม กุมาโร สามกุมาร สกฺเกน เทวานมินฺเทน อันท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพ อายาจิโต ทรงร้องขอแล้ว โอกฺกนฺโต หยั่งลงแล้ว กุจฺฉิํ สู่ครรภ์ ปาริกาย ตาปสิยา ของท่านดาบสหญิง ชื่อว่า ปาริกา. มหาราช มหาบพิตร สาโม กุมาโร สามกุมาร กตปุญฺโญ เป็นผู้มีบุญอันทำแล้ว มาตาปิตโร มารดาและบิดา สีลวนฺโต เป็นผู้มีศีล กลฺยาณธมฺมา มีกัลยาณธรรม (โหนฺติ) ย่อมเป็น, สกฺโก ท้าวสักกะ อายาจโก ผู้ทรงร้องขอ อตฺถิ มีอยู่, สาโม กุมาโร สามกุมาร นิพฺพตฺโต จึงเกิดแล้ว เจโตปณิธิยา เพราะการตั้งความปรารถนาแห่งใจ ติณฺณํ ชนานํ ของชนทั้งหลาย ๓. มหาราช มหาบพิตร ปุริโส บุรุษ นยกุสโล ผู้ฉลาดในอุบายเครื่องนำไป อิธ ในโลกนี้ โรเปยฺย พึงปลูก พีชํ ซึ่งพืช อนูปเขตฺเต ในนาอันมีน้ำเพียงพอ[19] สุกฏฺเฐ อันไถไว้ดีแล้ว.  ปุริสสฺส เมื่อบุรุษ นยกุสลสฺส ผู้ฉลาดในอุบายเครื่องนำไป วิวชฺเชนฺตสฺส เว้นอยู่ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย พีชสฺส แห่งพืช ตสฺส นั้น, โกจิ อนฺตราโย อันตรายไรๆ ภเวยฺย พึงมี วุฑฺฒิยา ต่อความเจริญ อปิ นุ โข บ้างหรือ หนอ ดังนี้.

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, นิรุปฆาตํ พีชํ ขิปฺปํ สํวิรุเหยฺยา’’ติฯ

 

ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, น โกจิ อนฺตราโย อันตรายไรๆ น ภเวยฺย ไม่พึงมี, พีชํ พืช นิรุปฆาตํ อันอันตรายไรๆไม่เข้าไปเบียดเบียน สํวิรุเหยฺย พึงเจริญงอกงามด้วยดี ขิปฺปํ เร็วพลัน ดังนี้.

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, สาโม กุมาโร มุตฺโต อุปฺปนฺนนฺตราเยหิ ติณฺณํ เจโตปณิธิยา นิพฺพตฺโตฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สาโม กุมาโร สามกุมาร มุตฺโต พ้นแล้ว อุปฺปนฺนนฺตราเยหิ จากอันตรายอันเกิดขึ้นแล้วทั้งปวง นิพฺพตฺโต เกิดแล้ว เจโตปณิธิยา เพราะการตั้งความปรารถนาแห่งใจ ติณฺณํ ชนานํ แห่งชนทั้งหลาย ๓ เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล.

 

‘‘อปิ นุ โข, มหาราช, สุตปุพฺพํ ตยา อิสีนํ มโนปโทเสน อิทฺโธ ผีโต มหาชนปโท สชโน สมุจฺฉินฺโน’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร มหาชนปโท ชนบทใหญ่ สชโน มีประชาชนมาก อิทฺโธ รุ่งเรือง ผีโต มั่งคั่ง สมุจฺฉินโน ต้องเป็นอันขาดสูญไป โหติ ย่อมเป็น มโนปโทเสน เพราะการประทุษร้ายแห่งใจ (โกรธ) อิสีนํ แห่งฤาษีทั้งหลาย ตยา อันมหาบพิตร สุตปุพฺพํ ฟังแล้วในกาลก่อน อปิ นุ โข บ้างหรือ หนอ ดังนี้.

 

‘‘อาม, ภนฺเต, สุยฺยติฯ มหิยา ทณฺฑการญฺญํ มชฺฌารญฺญํ กาลิงฺคารญฺญํ มาตงฺคารญฺญํ, สพฺพํ ตํ อรญฺญํ อรญฺญภูตํ, สพฺเพเปเต ชนปทา อิสีนํ มโนปโทเสน ขยํ คตา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, ตํ การณํ เหตุการณ์นั้น มยา อันเรา สุยฺยติ  ฟังมาอยู่, สพฺพํ ฐานํ สถานที่ ตํ นั้น ทั้งหมด มหิยา บนแผ่นดิน อรญฺญํ เป็นป่า อรญฺญภูตํ กลายเป็นป่าไป คือ ทณฺฑการญฺญํ ปาชื่อทัณฑกะ มชฺฌารญฺญํ ปาชื่อเมชฌะ กาลิงฺคารญฺญํ ปาชื่อกาลิงคะ มาตงฺคารญฺญํ ปาชื่อมาตังคะ, สพฺเพปิ เอเต ชนปทา ชนบททั้งหลายเหล่านั้น สพฺเพปิ แม้ทั้งปวง คตา ถึงแล้ว ขยํ ซึ่งความสิ้นไป มโนปโทเสน เพราะความประทุษร้ายแห่งใจ อิสีนํ แห่งฤาษีทั้งหลาย ดังนี้.[20]

 

‘‘ยทิ, มหาราช, เตสํ มโนปโทเสน สุสมิทฺธา ชนปทา อุจฺฉิชฺชนฺติ, อปิ นุ โข เตสํ มโนปสาเทน กิญฺจิ นิพฺพตฺเตยฺยา’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ยทิ ผิว่า ชนปทา ชนบททั้งหลาย สุสมิทฺธา ซึ่งมีความมั่งคั่งดี อุจฺฉิชฺชนฺติ ย่อมมลายสูญสิ้นไป มโนปโทเสน เพราะความประทุษร้ายแห่งใจ เตสํ อิสีนํ แห่งฤาษีทั้งหลายเหล่านั้น ไซร้, กิญฺจิ สิ่งใดๆ นิพฺพตฺเตยฺย พึงบังเกิด มโนปสาเทน เพราะความยินดีแห่งใจ เตสํ อิสีนํ แห่งฤาษีทั้งหลาย เหล่านั้น อปิ นุ โข หรือ หนอ แล ดังนี้?

 

‘‘อาม ภนฺเต’’ติฯ

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, กิญฺจิ สิ่งใดๆ นิพฺพตฺเตยฺย พึงบังเกิด มโนปสาเทน เพราะความยินดีแห่งใจ เตสํ อิสีนํ แห่งฤาษีทั้งหลาย เหล่านั้นได้ ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, มหาราช, สาโม กุมาโร ติณฺณํ พลวนฺตานํ เจโตปสาเทน นิพฺพตฺโต อิสินิมฺมิโต เทวนิมฺมิโต ปุญฺญนิมฺมิโตติฯ เอวเมตํ, มหาราช, ธาเรหิฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตน หิ ถ้าอย่างนั้น สาโม กุมาโร สามกุมาร อิสินิมฺมิโต ผู้อันฤาษีนิรมิตรแล้ว เทวนิมฺมิโต ผู้อันเทวดานิรมิตแล้ว ปุญฺญนิมฺมิโต ผู้อันบุญเนรมิตแล้ว นิพฺพตฺโต เกิดแล้ว เจโตปสาเทน เพราะความเลื่อมใสแห่งใจ ติณฺณํ พลวนฺตานํ แห่งชนทั้งหลาย ๓ ผู้มีพลานุภาพมาก  ดังนี้แหละ. มหาราช มหาบพิตร ตฺวํ ขอมหาบพิตร ธาเรหิ จงทรงไว้ เอตํ วจนํ ซึ่งถ้อยคำนี้ เอวํ ด้วยประการฉะนี้ เถิด.

 

‘‘ตโยเม, มหาราช, เทวปุตฺตา สกฺเกน เทวานมินฺเทน อายาจิตา กุลํ อุปฺปนฺนาฯ กตเม ตโย? สาโม กุมาโร มหาปนาโท กุสราชา, ตโยเปเต โพธิสตฺตา’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร เทวปุตฺตา เทวบุตรทั้งหลาย ตโยอิเม เหล่านี้ สกฺเกน เทวานมินฺเทน อันท้าวสักกะ ผู้จอมแห่งเทพ อายาจิตา ทรงร้องขอแล้ว อุปฺปนฺนา อุบัติขึ้นแล้ว กุลํ สู่ตระกูล. เทวปุตฺตา เทวบุตรทั้งหลาย ตโยอิเม เหล่านี้ กตเม เหล่าไหน? สาโม กุมาโร สามกุมาร, มหาปนาโท พระเจ้ามหาปนาทะ, กุสราชา พระเจ้ากุสลราชา, เทวปุตฺตา เทวบุตรทั้งหลาย ตโย ปิ แม้ทั้ง ๓ เอเต เหล่านี้ โพธิสฺตา เป็นพระโพธิสัตว์ โหนฺติ ย่อมเป็น ดังนี้.

 

‘‘สุนิทฺทิฏฺฐา, ภนฺเต นาคเสน, คพฺภาวกฺกนฺติ, สุกถิตํ การณํ, อนฺธกาโร อาโลโก กโต, ชฏา วิชฏิตา, นิจฺฉุทฺธา ปรวาทา, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

 

 

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ คพฺภาวกฺกนฺติ การเกิดขึ้นในครรภ์ ตยา อันท่าน สุนิทฺทิฏฺฐา แสดงไขดีแล้ว, การณํ เหตุผล ตยา อันท่าน สุกถิตํ กล่าวไว้ดีแล้ว, อนฺธกาโร ความมืด ตยา อันท่าน กโต กระทำแล้ว อาโลโก ให้เป็นแสงสว่าง, ชฏา ชัฏ ตยา อันท่าน วิชฏิตา ถางได้วิเศษแล้ว, ปรวาทา วาทะแห่งมิจฉาทิฏฐิฝ่ายอื่น ตยา อันท่าน นิจฺฉุทฺธา ถอนขึ้นแล้ว, ยํ วจนํ คำใด ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ วจนํ ซึ่งคำนี้ ตถา โดยประการนั้น เอวํ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.

 

คพฺภาวกฺกนฺติปญฺโห ฉฏฺโฐฯ

 

***

คพฺภาวกฺกนฺติปญฺโห คัพภาวักกันติปัญหา

ฉฏฺโฐ ที่ นิฏฺฐิโต จบ

 



[1] ในที่นี้แปลโดยอธิปปายัตถะ ตามบริบทที่หมายถึงการเกิดขึ้นของสัตว์ แม้อวกฺกนฺติ จะมีคำแปลตามศัพท์ว่า การก้าวลง ก็จริง แต่ในที่นี้ประสงค์สัตว์ที่เกิด  ตามที่อรรถกถาอธิบายว่า อวกฺกนฺติ โหตีติ นิพฺพตฺติ โหติฯ (ม.อฏฺ.๑/๔๐๘)

[2] คพฺภ ในที่นี้มีความหมายว่า สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ (ม.มู.อฏฺ.๔๐๘ ตัณหาสังขยสูตร) แต่ในบางแห่งหมายถึง ครรภ์มารดา.

[3] สนฺนิปาต ศัพท์ หมายความว่า ความหยั่งลงพร้อมกัน, ความพร้อมเพรียงกัน.

[4]  มารดาและบิดามีจิตกำหนัด สัมผัสกายกัน โดยการร่วมประกอบในเมถุนธรรมเป็นต้น.

[5] ระดู ในที่นี้ ได้แก่ สมัยที่สัตว์อาจบังเกิดในครรภ์ได้ เพราะการร่วมกันนั้นนั่นแหละ ความว่า ได้แก่สมัยก่อนหน้าที่ไข่จะแก่สุกไปจนถึงคราวเกิดโลหิตหลั่งไหลออกมาทางช่องกำเนิด เป็นสมัยที่เมื่อมารดาและบิดาร่วมกัน แม้เพียงครั้งเดียวแล้วก็จะเป็นเขต เป็นโอกาสที่สัตว์จะถือปฏิสนธิในครรภ์นั้นได้ ตลอดถึง ๗ วัน นับแต่วันที่ได้ร่วมกันนั้น.

[6] คำว่า คนฺธพฺพ มีความหมาย ๒ ประการ คือ (๑) สัตว์ผู้ควรมาถึงครรภ์ = คมุ ธาตุ (ไป) + ตพฺพ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ เมื่อสำเร็จเป็นรูปว่า คนฺตพฺพ แล้ว ให้แปลง ต ใน ตพฺพ เป็น ธ จึงได้รูปว่า คนฺธพฺพ. (๒) สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม = คนฺธ บทหน้า (กรรม) + อพฺพ ธาตุ (เป็นไป) + อ ปัจจัยในกัตตุสาธนะ ดังในฏีกาวินัยสารัตถทีปนีว่า คนฺธพฺโพติ ตตฺรูปคสตฺโต, คนฺตพฺโพติ วุตฺตํ โหติ. ต-การสฺส ธ-กาโร กโตติ ทฏฐพฺพํ. อถ วา คนฺธนโต อุปฺปชฺชนคติยา นิมิตฺตุปฏฐาเนน สูจนโต ทีปนโต คนฺโธติ ลทฺธนาเมน ภวคามิกมฺมุนา อพฺพติ ปวตฺตตีติ คนฺธพฺโพ, ตตฺถ อุปฺปชฺชนกสตฺโต. (สารตฺถ.ฏีกา ๒/๓๖/๑๖) คำว่า คนฺธพฺโพ (สัตว์ผู้ควรมาถึงครรภ์) คือ สัตว์ผู้เข้าถึงครรภ์นั้น ความหมายคือ ผู้มาถึง พึงทราบว่าแปลง ต อักษรเป็น ธ อักษร. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์โลกผู้เป็นไปตามกรรมที่ไปสู่ภพซึ่งได้รับชื่อว่า คันธะ เพราะแสดงไว้ตามการปรากฏของนิมิตแห่งภพที่จะเกิดขึ้น ชื่อว่า คันธัพพะ หมายถึง สัตว์โลกผู้จะไปเกิดในครรภ์นั้น

[7] ได้แก่ มีสัตว์ผู้หนึ่งซึ่งได้ทำกรรมอันจะเป็นเหตุให้เกิดเป็นสัตว์ในครรภ์สิ้นอายุขัย เคลื่อนจากภพนั้น ๆ แล้วถือปฏิสนธิในท้องมารดาผู้นั้น โดยเกี่ยวกับเป็นผู้เหมาะสม ต่อการที่สัตว์ผู้นั้นจะใช้เป็นที่อาศัยเสวยผลของกรรม ราวกะว่ายืนอยู่ในที่ใกล้ มองดูการร่วมกันแห่งมารดาบิดา รอโอกาสของตนอยู่ฉะนั้น.

[8] พระอุทายีมีจิตกำหนัดเพ่งจ้ององคชาตของนางภิกษุณีรูปหนึ่งซึ่งเคยเป็นภรรยาของตนสมัยครองเรือน. เกี่ยวกับความเกิดขึ้นแห่งพระกุมารกัสสปเถระนั้น ในอรรถกถาธรรมบท กล่าวไว้แตกต่างจากที่ปรากฏในปัญหานี้อย่างนี้ว่ามีเรื่องว่า ธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่ง เมื่อถึงวัยสาวก็รบเร้ามารดาบิดาขอบวชเป็นภิกษุณี มารดาบิดาไม่อนุญาต ทั้งยังผูกไว้กับการครองเรือนด้วยการให้ทำการวิวาห์กับบุตรของเศรษฐีผู้หนึ่ง หญิงนี้อยู่ในสกุลสามีได้ไม่นานนักก็ตั้งครรภ์ แต่หล่อนไม่ทราบว่า เวลานี้ตนตั้งครรภ์ ตั้งแต่แรกเข้ามาอยู่ในสกุลนี้ก็รบเร้าสามีขอบวชอยู่เรื่อยมา ในที่สุดมาถึงเวลานี้ สามีก็ยินยอมพาไปบวชที่สำนักของภิกษุณีซึ่งเป็นพวกของพระเทวทัต บวชอยู่ในสำนักนี้ได้ไม่นาน พอครรภ์แก่ท้องใหญ่ขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายในสำนักนั้นก็ทราบความ จึงนำตัวไปแจ้งให้พระเทวทัตทราบ พระเทวทัตกลัวเสียชื่อเสียง จึงให้ขับไล่ออกไปเสียจากสำนัก พระภิกษุณีรูปนี้จึงบ่ายหน้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องของตนให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงพระมหากรุณา จึงรับสั่งขอร้องให้ชนผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลาย คือพระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถปิณฑิกคฤหบดี และนางวิสาขา ได้ช่วยกันตรวจสอบครรภ์ของภิกษุณีรูปนี้ แล้วให้แจ้งผลการตรวจแก่ท่านพระอุบาลีเถระทราบ พระเถระจึงประกาศยืนยันความบริสุทธิ์ของภิกษุณีรูปนี้ท่ามกลางบริษัท ๔ ภิกษุณีรูปนี้ก็สามารถครองเพศบรรพชิตได้ต่อไป อยู่ในสำนักพระภิกษุณีได้ไม่นานถึงกำหนดก็คลอดบุตรชาย พระเจ้าปเสนธิโกศลรับสั่งให้พนักงานนำไปเลี้ยงดูที่พระราชนิเวศน์. ทารกน้อยได้การตั้งชื่อว่า กุมารกัสสปะ ต่อมาก็ได้บวชในพระพุทธศาสนา เป็นพระเถระที่มีอานุภาพมาก พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเลิศทางแสดงธรรมได้วิจิตร. เรื่องของพระกุมารกัสสปเถระที่ปรากฏอยู่ในอรรถกถาธรรมบทเป็นอย่างนี้.

[9] กลละคือตัวอ่อนระยะแรกของมนุษย์ในครรภ์ แต่ในที่นี้หมายถึง ผนังมดลูกที่สมบูรณ์อยู่ในระยะที่เหมาะสำหรับการตั้งครรภ์ ตามที่ในคัมภีร์ฏีกากล่าวว่า เป็นโลหิตสีแดงเรื่อๆ มีสีคล้ายกลละนั้น ซึ่งสะสมตัวไว้สำหรับตัวอ่อนที่จะฝังตัว. กลลํ โอสรตีติ อิทํ มาตุยา ปิฏฺฐิกณฺฏกนาภีนํ มชฺฌฏฺฐานภูเต คพฺภปติฏฺฐานารหฏฺฐาเน สนฺนิจิตํ ปฏิกลลสทิสํ มนฺทรตฺตโลหิตํ สนฺธาย วุตฺตํ, น กลลรูปํฯ (มิลินฺท.ฏี)

[10] เพิ่มปาฐเสสะว่า มุขปาเนนปิ ทฺวยสนฺติปาโต ภวตีติ มุขปาเนนปิ สห มาตา จ อุตุนี คพฺโภ ปจฺจุปฏฺฐิโตติ ทฺวยสนฺนิปาโต ภวติฯ เข้ามาตามที่มิลินทฏีกาแนะนำ และข้อนี้หมายความว่า เหต ๒ นั้น พร้อมกับการดื่มสัมภวะเข้าทางปาก จึงเป็นเหตุ ๓ ที่ทำให้มีการตั้งครรภ์. อย่างไรก็ตาม หากถือเอาสุทธปาฐะในมิลินทปัญหาโดยไม่เพิ่มปาฐเสสะ ก็จะมีความหมายว่า แม้มีการประชุมการพร้อมเพรียงกันแห่งเหตุ ๒ อย่างเท่านั้น ก็ยังมีการก้าวลงสู่ครรภ์ได้ จะกล่าวไปใยถึงการประชุมกันแห่งเหตุถึง ๓ อย่างเล่า อธิบายว่า การแสดงเหตุไว้ ๓ อย่าง เป็นการแสดงอย่างอุกกฤษฏ์ หรือเกี่ยวกับว่าโดยมาก. แม้เหตุ ๒ อย่างนั้น ก็เป็นเหตุที่เนื่องอยู่ในเหตุ ๓ อย่างนั้นแหละ ไม่ใช่เหตุ ๒ อย่าง อย่างอื่นอันนอกไปจากเหตุ ๓ อย่างเหล่านั้น.

[11] ในที่นี้เพิ่มบทที่ขาดไปตามนัยของมิลินทฏีกา ที่ว่า ปุริเมน ตตฺถ การณํ วกฺขามีติ ปุริเมน สามวตฺถุนา เตสํ ทฺวินฺนํ ติณฺณํ สนฺนิปาตานํ อนฺโตคธภาเว การณํ ยุตฺติวจนํ กเถสฺสามิฯ จะเล่าเรื่องเฉพาะบุคคลลำดับที่ ๑ คือ สามกุมารเป็นตัวอย่างเท่านั้น.  

[12] ฉบับไทย ปาฐะเป็น ยาว พฺรหฺมโลกา.

[13] อีกนัยหนึ่ง, เพิ่ม อุปคมนภาโว เป็นวิสเสยะของ เอโส ดังนี้ว่า เอโส (สมฺมุขีภาโว) ความมีในที่เฉพาะหน้า  นั่น อุปคตสฺส เต ของพระองค์ ผู้เข้ามา วิสฺสาโส จะเป็นความคุ้นเคย ภวติ จะเป็น,

[14] สนฺนิปาต ศัพท์ โดยทั่วไปแปลว่า การประชุมกัน, การรวมตัว ซึ่งในเรื่องนี้ ก็คือ การประชุมกันแห่งเหตุ ๓ คือ มารดามีระดู มารดาและบิดาร่วมกันคือเสพเมถุน (มนุษย์) และ มีสัตว์ที่จะมาเกิดปรากฏขึ้น.  แต่เนื้อเรื่องช่วงนี้ หมายถึง การร่วมกันที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอัชฌาจารกล่าวคือเมถุนนั่นเอง ดังที่พระนาคเสนอธิบายว่า มา ตฺวํ สนฺนิปาตํ อชฺฌาจารเมว มญฺญิ ขอพระองค์อย่าทรงสำคัญการร่วมกันนั้นว่าเป็นอัชฌาจารเลย.

[15] อูหสน ฉบับมหามกุฏและนิสสสยสำนวนล้านนา แปลว่า การถูกต้อง, แต่ในพจน.ภูมิพโล แปลว่า การหัวเราะ, เยาะเย้ย.

[16] คือสัตว์ผู้ทำกรรมที่มีธรรม ๓ อย่าง คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ เป็นมูล คือเป็นรากเหง้าไว้อย่างหนาแน่น หนักแน่น มีกำลัง. หมายความว่า ทำกุศลกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้น ที่เป็นอย่างอุกกฤษฏ์ไว้แล้ว สั่งสมไว้ดีแล้วนั่นเอง.

[17] โยนิ ในที่นี้ มีความหมายว่า กำเนิด คือ อาการที่เกิด  มี ๔ อย่าง คือ () อัณฑชโยนิ  กำเนิดแห่งสัตว์ผู้เกิดในไข่ อย่างนกทั้งหลายเป็นต้น () ชลาพุชโยนิ  กำเนิดแห่งสัตว์ผู้เกิดในมดลูก อย่างมนุษย์ส่วนมากเป็นต้น () สังเสทชโยนิ  กำเนิดแห่งสัตว์ผู้เกิดในที่ชื้นแฉะ อย่างหนอนหรือแมลงบางชนิด () โอปปาติกโยนิกำเนิดแห่งสัตว์ผู้ผุดเกิดทันที คือเคลื่อนจากภพก่อนแล้วก็บังเกิดได้เองฉับพลันทันที อย่างเทวดาทั้งหลายเป็นต้น.

[18]  โยนิ คือ กำเนิด ๔ เหล่านี้ ท่านเรียกว่า ตระกูล”.

[19] อนูปเขตฺเต ตัดบทเป็น อนูป พื้นที่มีน้ำขัง (น้ำมาก, เพียงพอ) + เขตฺต นา. คัมภีร์มัชฌิมฏีกา อธิบายว่า อนูปเขตฺเตติ อชงฺคเล อุทกสมฺปนฺเน ผลวิเสสํ ปจฺจาสีสนฺตา (ม.ฏี.๓/๓๔) คำว่า อนูปเขตฺต คือ ชนทั้งหลายหวังอยู่ ซึ่งผลพิเศษ ในที่ไม่ใช่พื้นที่ดอน คือ มีน้ำสมบูรณ์. อนูป ศัพท์ ในที่นี้ เป็นชื่อของสถานที่มีน้ำขังอยู่ พบว่า อยู่ในกลุ่มเเดียวกับศัพท์ที่แสดงความหมายนี้อีก ๓ ศัพท์ คือ  อนูป, สลิลปฺปาย, กจฺฉ (ธาน.๑๘๗) ฏีกาอภิธานตัดบทเป็น อนุ  + อาป และวิเคราะห์ว่า อนุคตา อาปา อตฺราติ อนูโป, อาปสฺส อาทิโน อุตฺตํฐ ปรโลโป วา. แหล่งน้ำชื่อว่า อนูป เพราะเป็นที่มีน้ำขังอยู่, แปลง อา ที่อาป เป็น อุ, อีกนัยหนึ่ง ลบอาที่อาปเสีย แล้วทีฆะสระหน้า (อนุ + อุป = อนูป). อนึ่ง ฉบับไทย ปาฐะเป็น สุเขตฺเต วีชํ โรเปยฺย.  พึงหว่าน ซึ่งพันธ์พืข ในนาที่มีสภาพสมบูรณ์ดี.

[20] อาม  ภนฺเต  สุยฺยามิ  ทณฺฑการญฺญํ  เมชฺฌารญฺญํ  กาลิงฺคารญฺญํ มาตงฺคารญฺญํ  สพฺพนฺตํ  อรญฺญภูตนฺติ  สพฺเพ  เต  นาครา  ชานปทา  อิสีนํ  มโนปโทเสน ขยํ  ปตฺตาติ. ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, อาม ใช่, อหํ ข้าพเจ้า สุยฺยามิ ฟังมาอยุ่, สพฺพํ ตํ ฐานํ ที่ทั้งปวง อรญฺญภูตํ กลายเป็นป่าไป คือ ทณฺฑการญฺญํ ป่าชื่อทัณฑกะ มชฺฌารญฺญํ ป่าชื่อเมชฌะ กาลิงฺคารญฺญํ ป่าชื่อกาลิงคะ มาตงฺคารญฺญํ ป่าชื่อมาตังคะ, ชานปทา ชาวชนบท นาครา ผู้อยู่ในเมือง สพฺเพ เต เหล่านั้นแม้ทั้งปวง ปตฺตา ถึงแล้ว ขยํ ความพินาศไป มโนปโทเสน เพราะความประทุษร้ายแห่งใจ อิสีนํ แห่งฤาษีทั้งหลายเหล่านั้น อิติ ด้วยประการฉะนี้.