วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

๒. ธัมมวินยปฏิจฉันนาปฏิจฉันนปัญหา ปัญหาว่าด้วยวินัยที่ทรงปิดบังและไม่ทรงปิดบัง


๒. ธมฺมวินยปฏิจฺฉนฺนาปฏิจฺฉนฺนปญฺโห

. ธัมมวินยปฏิจฉันนาปฏิจฉันนปัญหา

ปัญหาว่าด้วยวินัยที่ทรงปิดบังและไม่ทรงปิดบัง

***

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตาตถาคตปฺปเวทิโต, ภิกฺขเว, ธมฺมวินโย วิวโฏ วิโรจติ โน ปฏิจฺฉนฺโนติฯ ปุน จ ปาติโมกฺขุทฺเทโส เกวลญฺจ วินยปิฏกํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ชินสาสเน ยุตฺตํ วา ปตฺตํ วา สมยํ ลเภถ, วินยปณฺณตฺติ วิวฏา โสเภยฺยฯ เกน การเณน? เกวลํ ตตฺถ สิกฺขา สํยโม นิยโม สีลคุณอาจารปณฺณตฺติ อตฺถรโส ธมฺมรโส วิมุตฺติรโสฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํ ตถาคตปฺปเวทิโต, ภิกฺขเว, ธมฺมวินโย วิวโฏ วิโรจติ โน ปฏิจฺฉนฺโนติ, เตน หิ ปาติโมกฺขุทฺเทโส เกวลญฺจ วินยปิฏกํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนนฺติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ปาติโมกฺขุทฺเทโส เกวลญฺจ วินยปิฏกํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ, เตน หิ ตถาคตปฺปเวทิโต, ภิกฺขเว, ธมฺมวินโย วิวโฏ วิโรจติ โน ปฏิจฺฉนฺโนติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธมฺมวินโย ธรรมวินัย ตถาคตปฺปเวทิโต อันพระตถาคตทรงประกาศแล้ว วิวโฏ อันบุคคลเปิดเผยแล้ว วิโรจติ ย่อมรุ่งเรือง สมฺปฏิจฺฉนฺโน อันบุคคลปกปิดแล้ว โน วิโรจติ ย่อมไม่รุ่งเรือง ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้, จ ก็ (เอตํ วจนํ) พระดำรัสนี้ (อิติ) ว่า ก็ ปาติโมกฺขุทฺเทโส จ การแสดงพระปาติโมกข์ ด้วย วินยปิฏกํ พระวินัยปิฎก เกวลํ จ ทั้งสิ้นด้วย  ปิหิตํ ทรงปิดไว้แล้ว ปฏิจฺฉนฺนํ กำบังไว้แล้ว[1]ดังนี้ (ภควตา) อันพระผู้มีพระภาค (ภณิตํ) ยังตรัสไว้ ปุน อีก,  ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ลเภถ พึงได้ สมยํ ซึ่งความรู้ ยุตฺตํ วา อันถูกต้อง ปตฺตํ วา หรือที่ตนบรรลุแล้ว ชินสาสเน ในพระศาสนาของพระชินเจ้า ไซร้, วินยปณฺณตฺติ พระวินัยบัญญัติ เตหิ ภิกฺขูหิ อันภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น วิวฏา เปิดเผยแล้ว โสเภยฺย พึงงดงาม. ตํ ข้อนั้น โหติ ย่อมมี เกน การณน เพราะเหตุอะไร?,  สิกฺขา สิกขา สํยโม ความสำรวม นิยโม ความสังวร สีลคุณอาจารปณฺณตฺติ ศีลคุณอาจารและบัญญัติ อตฺถรโส อรรถรส ธมฺมรโส ธรรมรส วิมุตฺติรโส วิมุตติรส โหติ ย่อมมี ตตฺถ ในพระวินัยบัญญัตินั้น เกวลํ ล้วนๆ, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธมฺมวินโย ธรรมวินัย ตถาคตปฺปเวทิโต อันพระตถาคตทรงประกาศแล้ว วิวโฏ อันบุคคลเปิดเผยแล้ว วิโรจติ ย่อมรุ่งเรือง สมฺปฏิจฺฉนฺโน อันบุคคลปกปิดแล้ว โน วิโรจติ ย่อมไม่รุ่งเรือง ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ได้ทรงภาษิตแล้ว (จริง) ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า ปาติโมกฺขุทฺเทโส จ การแสดงพระปาติโมกข์ ด้วย วินยปิฏกํ พระวินัยปิฎก เกวลํ จ ทั้งสิ้นด้วย  ปิหิตํ ทรงปิดไว้แล้ว ปฏิจฺฉนฺนํ กำบังไว้แล้ว ดังนี้, ตํ วจนํ พระดำรัสนัั้น มิจฺฉา ผิด, ยทิ ถ้าว่า ปาติโมกฺขุทฺเทโส จ การแสดงพระปาติโมกข์ ด้วย วินยปิฏกํ พระวินัยปิฎก เกวลํ จ ทั้งสิ้นด้วย  ปิหิตํ ทรงปิดไว้แล้ว ปฏิจฺฉนฺนํ กำบังไว้แล้ว เตน หิ ถ้าอย่างนั้น พระดำรัส ตมฺปิ แม้นั้น อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธมฺมวินโย ธรรมวินัย ตถาคตปฺปเวทิโต อันพระตถาคตทรงประกาศแล้ว วิวโฏ อันบุคคลเปิดเผยแล้ว วิโรจติ ย่อมรุ่งเรือง สมฺปฏิจฺฉนฺโน อันบุคคลปกปิดแล้ว โน วิโรจติ ย่อมไม่รุ่งเรือง ดังนี้ มิจฺฉา ก็ผิด. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

 [๒] พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า ตถาคตปฺปเวทิโต ภิกฺขเว ธมฺมวินโย วิวโฏ วิโรจติ โน ปฏิจฺฉนฺโน[2] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เปิดเผยไม่ปิดบัง จึงรุ่งเรือง และยังมีคำกล่าวไว้อีกแห่งหนึ่งว่า ปาติโมกฺขุทฺเทโส เกวลญฺจ วินยปิฏกํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ[3] ปาติโมกขุทเทส และพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น เป็นของที่พระผู้มีพระภาคทรงปิดแล้ว บังแล้ว ดังนี้ พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า ภิกษุทั้งหลายพึงได้ความรู้ที่ถูกต้อง หรือความรู้ที่ตนบรรลุในพระศาสนาของพระชินเจ้า ไซร้ พระวินัยบัญญัติที่ภิกษุเหล่านั้นเปิดเผย จะพึงงดงาม เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า สิกขา ความสำรวม ความควบคุมตนเอง สีลคุณ อาจารบัญญัติ อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ย่อมมีอยู่ในพระวินัยบัญญัตินั้นทั้งสิ้น พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เปิดเผย ไม่ปิดบัง จึงรุ่งเรือง ดังนี้ จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า ปาฏิโมกขุทเทสและพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น เป็นของที่พระผู้มีพระภาคทรงปิดแล้ว บังแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่า ปาฏิโมกขุทเทสและพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น เป็นของที่พระผู้มีพระภาคทรงปิดแล้ว บังแล้ว จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น แม้คำที่ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ภิกษุเปิดเผย ไม่ปิดบังไว้ จึงรุ่งเรือง ปิดไว้ไม่รุ่งเรือง ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ปัญหาแม้ข้อนี้ ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านพึงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตาตถาคตปฺปเวทิโต, ภิกฺขเว, ธมฺมวินโย วิวโฏ วิโรจติ โน ปฏิจฺฉนฺโนติฯ ปุน จ ปาติโมกฺขุทฺเทโส เกวลญฺจ วินยปิฏกํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ, ตญฺจ ปน น สพฺเพสํ, สีมํ กตฺวา ปิหิตํฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธมฺมวินโย ธรรมวินัย ตถาคตปฺปเวทิโต อันพระตถาคตทรงประกาศแล้ว วิวโฏ อันบุคคลเปิดเผยแล้ว วิโรจติ ย่อมรุ่งเรือง[4] สมฺปฏิจฺฉนฺโน อันบุคคลปกปิดแล้ว โน วิโรจติ ย่อมไม่รุ่งเรือง ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้,จ ก็ (เอตํ วจนํ) พระดำรัสนี้ (อิติ) ว่า ก็ ปาติโมกฺขุทฺเทโส จ การแสดงพระปาติโมกข์[5] ด้วย วินยปิฏกํ พระวินัยปิฎก เกวลํ จ ทั้งสิ้น[6]ด้วย  ปิหิตํ ทรงปิดไว้แล้ว ปฏิจฺฉนฺนํ กำบังไว้แล้ว[7]ดังนี้ (ภควตา) อันพระผู้มีพระภาค (ภณิตํ) ยังตรัสไว้ ปุน อีก, จ ปน ก็แต่ว่า ตํ ทฺวยํ ปาติโมกขุทเทสและพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น ๒ ประการนั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิตํ ทรงปิดกั้นไว้ สพฺเพสํ ปริสานํ สำหรับบริษัททั้งหมด ก็หามิได้, (หิ) โดยที่แท้ ปิหิตํ ทรงปิดกั้นไว้ สีมํ กตฺวา โดยกระทำให้เป็นเขตแดน.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ภิกษุเปิดเผย ไม่ปิดบังไว้ จึงรุ่งเรือง ดังนี้ จริง และยังมีคำกล่าวไว้อีกว่า ปาติโมกขุทเทส และพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น เป็นของที่พระผู้มีพระภาคทรงปิดแล้ว บังแล้ว ดังนี้ จริง ก็แ่ว่า ปาติโมกขุทเทส และพระวินัยปิฎกทั้งสิ้นนั้น พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงปิดไว้ ตลอดที่ทุกแห่ง แต่ปิดโดยทรงกระทำให้เป็นสีมา (เขตแดน)

‘‘ติวิเธน, มหาราช, ภควตา ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโต, ปุพฺพกานํ ตถาคตานํ วํสวเสน ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโต, ธมฺมสฺส ครุกตฺตา ปิหิโต, ภิกฺขุภูมิยา ครุกตฺตา ปิหิโตฯ

มหาราช มหาบพิตร ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา โดยกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน ติวิเธน เพราะเหตุ ๓ ประการ (คือ) ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา โดยกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน วํสวเสน โดยเกี่ยวกับเป็นวงศ์ ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย ปุพฺพกานํ ผู้มีในกาลก่อน, ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว ครุกตฺตา เพราะความที่แห่ง ... ธมฺมสฺส พระธรรม ... เป็นของควรเคารพ, ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส ภควตา อันพระผู้มีพระภาค  ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว ครุกตฺตา เพราะความที่แห่ง ... ภิกฺขุภูมิยา ภูมิแห่งภิกษุ ... เป็นของควรเคารพ

ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ ๑.ทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา เพราะเกี่ยวกับเป็น (การรักษา) วงศ์ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย แต่กาลก่อน ๒. ทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา เพราะความที่พระธรรมเป็นของควรเคารพ ๓. ทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา เพราะภูมิแห่งภิกษุเป็นภูมิที่ควรเคารพ

‘‘กถํ ปุพฺพกานํ ตถาคตานํ วํสวเสน ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโต, เอโส วํโส, มหาราช, สพฺเพสํ ปุพฺพกานํ ตถาคตานํ ยทิทํ ภิกฺขุมชฺเฌ ปาติโมกฺขุทฺเทโส อวเสสานํ ปิหิโตฯ

ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา โดยกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน วํสวเสน โดยเกี่ยวกับเป็นวงศ์ ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย ปุพฺพกานํ ผู้มีในกาลก่อน กถํ อย่างไร?, มหาราช มหาบพิตร ปาติโมกฺขุทฺเทโส การแสดงพระปาติโมกข์ ภิกฺขุมชฺเฏ ในท่ามกลางแห่งภิกษุ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค  ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว อวเสสานํ ปริสานํ สำหรับบริษัททั้งหลาย ที่เหลือ ยทิทํ = โย เอโส นี้ใด, เอโส ปาติโมกฺขุทฺเทโส การแสดงพระปาติโมกข์ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค  ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว  อวเสสานํ ปริสานํ สำหรับบริษัททั้งหลาย ที่เหลือ นั้น วํโส เป็นวงศ์ ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย ปุพฺพกานํ ผู้มีในกาลก่อน[8]

พระผู้มีพระภาคทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา เพราะเกี่ยวกับเป็น (การรักษา) วงศ์ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย อย่างไร ? ขอถวายพระพร ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงปาติโมกขุทเทสในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย ปิดไว้สำหรับคนที่เหลือนี้ จัดว่าเป็นวงศ์ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย แต่กาลก่อนทุกพระองค์

ยถา, มหาราช, ขตฺติยานํ ขตฺติยมายา ขตฺติเยสุ เยว จรติ, เอวเมตํ ขตฺติยานํ โลกสฺส ปเวณี อวเสสานํ ปิหิตาฯ เอวเมว โข, มหาราช, เอโส วํโส สพฺเพสํ ปุพฺพกานํ ตถาคตานํ ยทิทํ ภิกฺขุมชฺเฌ ปาติโมกฺขุทฺเทโส อวเสสานํ ปิหิโตฯ

มหาราช มหาบพิตร ขตฺติยมายา ขัตติยมายา (เรื่องที่รู้กันเฉพาะในหมู่พวกกษัตริย์) ขตฺติยานํ แห่งกษัตริย์ทั้งหลาย จรติ ย่อมเป็นไป ขตฺติเยสุเยว เฉพาะในกษัตริย์ทั้งหลายเท่านั้น, (ขตฺติยมายาย ขตฺติเยสุเยว จรณํ) ความเป็นไปเฉพาะในกษัตริย์ทั้งหลายแห่งขัตติยมายา เอตํ นั้น ปเวณี เป็นประเพณี โลกสฺส แห่งชนชาวโลก ขตฺติยานํ ผู้เป็นกษัตริย์ทั้หลาย ขตฺตเยหิ อันกษัตริย์ทั้งหลาย ปิหิตา ปกปิดแล้ว อวเสสานํ ชนานํ สำหรับชนทั้งหลายที่เหลือ ยถา ฉันใด ปาติโมกฺขุทฺเทโส การแสดงพระปาติโมกข์ ภิกฺขุมชฺเฏ ในท่ามกลางแห่งภิกษุ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค  ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว อวเสสานํ ปริสานํ สำหรับบริษัททั้งหลาย ที่เหลือ ยทิทํ = โย เอโส นี้ใด, เอโส ปาติโมกฺขุทฺเทโส การแสดงพระปาติโมกข์ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค  ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว  อวเสสานํ ปริสานํ สำหรับบริษัททั้งหลาย ที่เหลือ นั้น วํโส เป็นวงศ์ ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย ปุพฺพกานํ ผู้มีในกาลก่อน เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ขัตติยมายา (เรื่องที่รู้กันเฉพาะในหมู่พวกกษัตริย์) แห่งพวกกษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไป ก็เฉพาะในหมู่กษัตริย์ทั้งหลายเท่านั้น เรื่องนี้เป็นประเพณีของชาวโลกกษัตริย์ ที่ปิดไว้สำหรับคนที่เหลือ ฉันใด ขอถวายพระพร ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงปาติโมกขุทเทส ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย ปิดไว้สำหรับบุคคลที่เหลือนี้ ก็เป็นวงศ์ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย แต่กาลก่อนทุกพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, มหิยา คณา วตฺตนฺติ, เสยฺยถิทํ, มลฺลา อโตณา ปพฺพตา ธมฺมคิริยา พฺรหฺมคิริยา นฏกา นจฺจกา ลงฺฆกา ปิสาจา มณิภทฺทา ปุณฺณพทฺธา จนฺทิมสูริยา สิริเทวตา กาลิเทวตา, สิวา วสุเทวา ฆนิกา อสิปาสา ภทฺทิปุตฺตาติ, เตสํ เตสํ รหสฺสํ เตสุ เตสุ คเณสุ เยว จรติ, อวเสสานํ ปิหิตํฯ เอวเมว โข, มหาราช, เอโส วํโส สพฺเพสํ ปุพฺพกานํ ตถาคตานํ ยทิทํ ภิกฺขุมชฺเฌ ปาติโมกฺขุทฺเทโส อวเสสานํ ปิหิโตฯ เอวํ ปุพฺพกานํ ตถาคตานํ วํสวเสน ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโตฯ

มหาราช มหาบพิตร วา อีกอย่างหนึ่ง ปน เปรียบเหมือนว่า  คณา คณะ (หมู่แห่งบุคคล) ทั้งหลาย วตฺตนฺติ ย่อมดำเนินไป มหิยา บนแผ่นดิน เสยฺยถีทํ = เสยฺยถา พวกไหน, เอโส = เอตา คณะเหล่านั้น อิติ คือ มลฺลา พวกมัลละ อโตณา พวกอโตณะ ปพฺพตา พวกปัพพตะ ธมฺมคิริยา พวกธรรมคิริยะ พฺรหฺมคิริยา พวกพรหมคิริยะ นฏกา พวกนฏกะ นจฺจกา พวกนัจจะ ลงฺฆกา พวกลังฆกะ ปิสาจา พวกปีสาจะ มณิภทฺทา พวกมณีภัททะ ปุณฺณพทฺธา พวกปุณณพัทธะ จนฺทิมสูริยา พวกจันทิมสุริยะ สิริเทวตา พวกสิริเทวดา กาลิเทวตา พวกกาลิเทวดา สิวา พวกสิวะ วสุเทวา พวกวสุเทวะ ฆนิกา พวกฆนิกาะ อสิปาสา พวกอสิปาสะ ภทฺทิปุตฺตา พวกภัททิปุตตะ,  รหสฺสํ คำลับ เตสํ เตสํ ของชนทั้งหลายเหล่านั้น ๆ [9]จรติ ย่อมเป็นไป เตสุ เตสุ คเณสุเยว ในคณะนั้นๆเท่านั้น, รหสฺสํ คำลับ เตหิ คเณหิ อันคณะทั้งหลายเหล่านัน ปิหิตํ ปกปิดแล้ว ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ปาติโมกฺขุทฺเทโส การแสดงพระปาติโมกข์ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค  ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา ทรงกระทำแล้ว สีมํ ให้เป็นเขตแดน นั้น วํโส เป็นวงศ์ ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย ปุพฺพกานํ ผู้มีในกาลก่อน เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า บนแผ่นดิน มีคนเป็นไปอยู่หลายพวก คือ พวกมัลละ พวกอโตณะ พวกปัพพตะ พวกธรรมกิริยะ พวกพรหมคิริยะ พวกนฏกะ พวกนัจจกะ พวกลังฆกะ พวกปิสาจะ พวกมณิภัททะ พวกปุณณพัทธะ พวกจันทิมสูริยะ พวกสิริเทวดา พวกกาลิเทวดา พวกสิวะ พวกวสุเทวะ พวกฆนิกะ พวกอสิปาสะ พวกภัททิปุตตะ คำลับเฉพาะประจำพวกนั้น ๆ ก็ย่อมใช้กันในคนพวกนั้น ๆ เท่านั้น ปิดไว้สำหรับพวกที่เหลือ ฉันใด ขอถวายพระพร ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงปาติโมกขุทเทส ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย ปิดไว้สำหรับบุคคลที่เหลือนอกนี้ โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา ก็เป็นวงศ์ของพระตถาคตทั้งหลาย แต่กาลก่อนทุกพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยกระทำให้เป็นสีมา เพราะเกี่ยวกับเป็นวงศ์ของพระตถาคตทั้งหลาย ตามประการดังกล่าวนี้

‘‘กถํ ธมฺมสฺส ครุกตฺตา ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโต? ธมฺโม, มหาราช, ครุโก ภาริโย, ตตฺถ สมฺมตฺตการี อญฺญํ อาราเธติ, ตํ ตตฺถ ปรมฺปราสมฺมตฺตการิตาย ปาปุณาติ, น ตํ ตตฺถ ปรมฺปราสมฺมตฺตการิตาย ปาปุณาติ, มา จายํ สารธมฺโม วรธมฺโม อสมฺมตฺตการีนํ หตฺถคโต โอญฺญาโต อวญฺญาโต หีฬิโต ขีฬิโต ครหิโต ภวตุ, มา จายํ สารธมฺโม วรธมฺโม ทุชฺชนคโต โอญฺญาโต อวญฺญาโต หีฬิโต ขีฬิโต ครหิโต ภวตูติฯ เอวํ ธมฺมสฺส ครุกตฺตา ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโตฯ

ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา ทรงกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน ครุกตฺตา เพราะความที่แห่ง ... ธมฺมสฺส พระธรรม ... เป็นของควรเคารพ กถํ เป็นอย่างไร?, มหาราช มหาบพิตร ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา ทรงกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน จินตเนน ด้วยทรงดำริ อิติ ว่า ธมฺโม พระธรรม ครุโก เป็นของควรเคารพ[10] ภาริโย เป็นของควรตระหนัก, สมฺมตฺตการี บุคคลผู้มีปกติกระทำด้วยดี ตตฺถ ในพระธรรมนั้น อญฺญํ ชื่อว่า ยังคนอื่น อาราเธติ ย่อมให้โปรดปราน, ปุคฺคโล บุคคล ปาปุณาติ ย่อมเข้าถึง ตํ พระธรรมนั้น ปรมฺปราสมฺมตฺตการิตาย เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้มีปกติทำด้วยดีอย่างสืบเนื่อง ตตฺถ ในพระธรรมนั้น, น ปาปุณาติ ย่อมไม่เข้าถึง ตํ พระธรรมนั้น อปรมฺปราสมฺมตฺตการิตาย เพราะความที่แห่งตนมิได้เป็นผู้มีปกติทำด้วยดีอย่างสืบเนื่อง ตตฺถ ในพระธรรมนั้น, สารธมฺโม พระธรรมที่เป็นสาระ วรธมฺโม พระธรรมที่่เป็นของประเสริฐ อยํ นี้ มา ภวตุ จงอย่าเป็น หตฺถคโต สิ่งที่อยู่ในมือ อสมฺมตฺตารีนํ แห่งบุคคลผู้มีปกติไม่กระทำด้วยดี โอญฺญาโต ถูกดูถูก อวญฺญาโต ถูกดูหมิ่น หีฬิโต ถูกรังเกียจ ขีฬิโต ถูกเหยียดหยาม ครหิโต ถูกติเตียน, สารธมฺโม พระธรรมที่เป็นสาระ วรธมฺโม พระธรรมที่่เป็นของประเสริฐ อยํ นี้ มา ภวตุ จงอย่าเป็น ทุชฺชนคโต สิ่งที่อยู่ในคนชั่ว โอญฺญาโต ถูกดูถูก อวญฺญาโต ถูกดูหมิ่น หีฬิโต ถูกรังเกียจ ขีฬิโต ถูกเหยียดหยาม ครหิโต ถูกติเตียน ดังนี้. ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา ทรงกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน ครุกตฺตา เพราะความที่แห่ง ... ธมฺมสฺส พระธรรม ... เป็นของควรเคารพ เอวํ อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา เพราะความที่พระธรรมเป็นของควรเคารพอย่างไร ? ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า พระธรรมเป็นของควรเคารพ เป็นของควรตระหนัก ผู้คอยทำตามโดยชอบในพระธรรมนั้น ย่อมทำผู้อื่นให้โปรดปรานได้ บุคคลย่อมบรรลุพระธรรมนั้น เพราะความเป็นผู้คอยทำตาม โดยชอบติดต่อกันในพระธรรมนั้น ไม่ พระธรรมที่เป็นสาระ พระธรรมที่ประเสริฐนี้ ขอจงอย่าได้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ที่ไม่คอยทำตามโดยชอบ ให้คนทั้งหลายดูถูก ดูหมิ่น ติเตียน เหยียดหยาม ตำหนิเอาได้เลย พระธรรมที่เป็นสาระ พระธรรมที่ประเสริฐนี้ ขออย่าตกถึงแก่คนชั่ว ให้คนทั้งหลายดูถูก ดูหมิ่น ติเตียน เหยียดหยาม ตำหนิเอาได้เลย ดังนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา เพราะความที่พระธรรมเป็นของควรเคารพ ตามประการดังกล่าวมานี้

‘‘ยถา, มหาราช, สารวรปวรอภิชาตชาติมนฺตรตฺตโลหิตจนฺทนํ นาม สวรปุรมนุคตํ โอญฺญาตํ อวญฺญาตํ หีฬิตํ ขีฬิตํ ครหิตํ ภวติ, เอวเมว โข, มหาราช, มา จายํ สารธมฺโม วรธมฺโม ปรมฺปราอสมฺมตฺตการีนํ หตฺถคโต โอญฺญาโต อวญฺญาโต หีฬิโต ขีฬิโต ครหิโต ภวตุ, มา จายํ สารธมฺโม วรธมฺโม ทุชฺชนคโต โอญฺญาโต อวญฺญาโต หีฬิโต ขีฬิโต ครหิโต ภวตูติฯ เอวํ ธมฺมสฺส ครุกตฺตา ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโต

มหาราช มหาบพิตร นาม ธรรมดา สารวรปวรอภิชาตชาติมนฺตรตฺตโลหิตจนฺทนํ จันทร์แดงที่มีแก่นประเสริฐยอดเยี่ยมควรแก่ผู้มีชาติเป็นอภิชาติ อนุคตํ ครั้นแพร่ไปแล้ว สวรปุรํ สู่เมืองคนป่าเถื่อนแล้ว ภวติ ย่อมเป็น โอญฺญาตํ สิ่งที่คนทั้งหลายดูถูก อวญฺญาตํ ดูหมิ่น หีฬิตํ รังเกียจ ขีฬิโต เหยียดหยาม ครหิตํ ตำหนิ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา ทรงกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน จินตเนน ด้วยทรงดำริ อิติ ว่า สารธมฺโม พระธรรมที่เป็นสาระ วรธมฺโม พระธรรมที่่เป็นของประเสริฐ อยํ นี้ มา ภวตุ จงอย่าเป็น หตฺถคโต สิ่งที่อยู่ในมือ อสมฺมตฺตารีนํ แห่งบุคคลผู้มีปกติไม่กระทำด้วยดี โอญฺญาโต ถูกดูถูก อวญฺญาโต ถูกดูหมิ่น หีฬิโต ถูกรังเกียจ ขีฬิโต ถูกเหยียดหยาม ครหิโต ถูกติเตียน, สารธมฺโม พระธรรมที่เป็นสาระ วรธมฺโม พระธรรมที่่เป็นของประเสริฐ อยํ นี้ มา ภวตุ จงอย่าเป็น ทุชฺชนคโต สิ่งที่อยู่ในคนชั่ว โอญฺญาโต ถูกดูถูก อวญฺญาโต ถูกดูหมิ่น หีฬิโต ถูกรังเกียจ ขีฬิโต ถูกเหยียดหยาม ครหิโต ถูกติเตียน ดังนี้ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา ทรงกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน ครุกตฺตา เพราะความที่แห่ง ... ธมฺมสฺส พระธรรม ... เป็นของควรเคารพ เอวํ อย่างนี้.

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ธรรมดาจันทร์แดงที่มีแก่นประเสริฐ ยอดเยี่ยม ควรแก่ผู้มีชาติเป็นอภิชาติ พอแพร่ไปยังเมืองคนป่าเถื่อนแล้ว ก็ย่อมเป็นของที่คนทั้งหลายดูถูก ดูหมิ่น ติเตียน เหยียดหยาม ตำหนิเอาได้ ฉันใด ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาค ก็ทรงดำริว่า พระธรรมที่เป็นสาระ พระธรรมที่ประเสริฐนี้ ขอจงอย่าได้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ที่ไม่ค่อยทำตามโดยชอบ ให้คนทั้งหลายดูถูก ดูหมิ่น ติเตียน เหยียดหยาม ตำหนิเอาได้เลย พระธรรมที่เป็นสาระ พระธรรมที่ประเสริฐนี้ ขอจงอย่าถึงแก่คนชั่ว ให้คนทั้งหลายดูถูก ดูหมิ่น ติเตียน เหยียดหยาม ตำหนิเอาได้เลย ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงกระทำให้เป็นสีมา เพราะความที่พระธรรมเป็นของควรเคารพ ตามประการดังกล่าวมานี้

‘‘กถํ ภิกฺขุภูมิยา ครุกตฺตา ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโต, ภิกฺขุภาโว โข, มหาราช, โลเก อตุลิโย อปฺปมาโณ อนคฺฆิโย, น สกฺกา เกนจิ อคฺฆาเปตุํ ตุเลตุํ ปริเมตุํ, มายํ เอวรูเป ภิกฺขุภาเว ฐิโต โลเกน สมสโม ภวตูติ ภิกฺขูนํ เยว อนฺตเร ปาติโมกฺขุทฺเทโส จรติฯ

ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา ทรงกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน ครุกตฺตา เพราะความที่แห่ง ... ภิกฺขุภูมิยา ภูมิแห่งภิกษุ ...  เป็นของควรเคารพ[11] กถํ อย่างไร?, มหาราช มหาบพิตร ภิกฺขุภาโว โข ภิกขุภาวะ อตุลิโย ไม่พึงช่างไม่ได้ อปฺปมาโณ หาประมาณมิได้ อนคฺฆิโย ไม่พึงนับค่าได้, เกนจิ อันใครๆ น สกฺกา ไม่อาจ อคฺฆาเปตุํ เพื่อยังภิกขุภาวะนั้นให้มีค่าได้ ตุเลตุํ เพื่อชั่งภิกขุภาวะนั้นได้ ปริเมตุํ เพื่อเปรียบเทียบซึ่งภิกขุภาวะนั้นได้, ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว จินฺตเนน ด้วยทรงดำริว่า ปุคฺคโล บุคคล ฐิโต ผู้ดำรงอยู่ ภิกฺขุภาเว ในภิกขุภาวะ เอวรูเป เห็นปานนี้ มา ภวตุ จงอย่าเป็น สมสโม ผู้เสมอเหมือน  โลเกน ด้วยชาวโลก ดังนี้ ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส จรติ ย่อมเป็นไป อนฺตเร ในภายใน ภิกฺขูนํเยว แห่งภิกษุทั้งหลายเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงทำให้เป็นสีมา เพราะภูมิแห่งภิกษุเป็นภูมิที่ควรเคารพอย่างไร ? ขอถวายพระพร ภิกขุภาวะเป็นภาวะที่ไม่อาจชั่งได้ ไม่อาจประมาณได้ ไม่อาจนับค่าได้ในโลก ใคร ๆ ไม่อาจนับค่าได้ ไม่อาจชั่งได้ ไม่อาจประมาณได้ บุคคลที่ดำรงอยู่ในภิกขุภาวะเห็นปานนี้ ย่อมเป็นผู้ที่หาชาวโลกเสมอเหมือนมิได้ เพราะเหตุนั้น พระปาติโมกขุทเทส ย่อมเป็นไปในระหว่างภิกษุทั้งหลายเท่านั้น

ยถา, มหาราช, โลเก วรปวรภณฺฑํ วตฺถํ วา อตฺถรณํ วา คชตุรงฺครถสุวณฺณรชตมณิมุตฺตาอิตฺถิรตนาทีนิ วา วิชิตกมฺมสูรา วา สพฺเพ เต ราชานมุปคจฺฉนฺติ, เอวเมว โข, มหาราช, ยาวตา โลเก สุคตาคมปริยตฺติอาจารสํยมสีลสํวรคุณา, สพฺเพ เต ภิกฺขุสงฺฆมุปคตา ภวนฺติฯ เอวํ ภิกฺขุภูมิยา ครุกตฺตา ปาติโมกฺขุทฺเทโส สีมํ กตฺวา ปิหิโต’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร วรปวรภณฺฑํ ทรัพย์สินอันประเสริฐยอดเยี่ยม โลเก ในโลก วตฺถํ วา (คือ) ผ้า ก็ดี อตฺถรณํ วา เครื่องปูลาด ก็ดี คชตุรงฺครถสุวณฺณรชตมณิมุตฺตาอิตฺถิรตนาทีนิ วา (ธนานิ) ทรัพย์ทั้งหลายมีม้า ช้าง รถ ทองเงิน แก้วมณี แก้วมุกดา นางแก้ว เป็นต้นก็ดี วิชิตกมฺมสูรา วา บุคคลชั้นนำในราชอาณาจักร ก็ดี,  สพฺเพ เต ทรัพย์สินทั้งหมดเหล่านั้น อุปคจฺฉนฺติ ย่อมเข้าถึง ราชานํ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร สุคตาคมปริยตฺติอาจารสํยมสีลสํวรคุณา คุณทั้งหลาย คือ อาคม ปริยัติ อาจาระ ความสำรวม ศีลสังวรของพระสุคตเจ้า โลเก ในโลก ยาวตา มีประมาณเท่าใด สพฺเพ เต คุณทั้งหมดเหล่านั้น ภวนฺติ ย่อมเป็น อุปคตา ของเข้าถึง ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล. ปาติโมกฺขุทฺเทโส พระปาติโมกขุทเทส  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปิหิโต ทรงปิดกั้นไว้แล้ว กตฺวา ทรงกระทำ สีมํ ให้เป็นเขตแดน ครุกตฺตา เพราะความที่แห่ง ... ภิกฺขุภูมิยา ภูมิแห่งภิกษุ ...  เป็นของควรเคารพ เอวํ มีประการดังกล่าวมานี้.

ขอถวายพระพร มหาบพิตร เปรียบเหมือนว่า ทรัพย์สินอันประเสริฐยอดเยี่ยมในโลก คือ ผ้าก็ดี เครื่องปูลาดก็ดี ม้า ช้าง รถ ทองเงิน แก้วมณี แก้วมุกดา นางแก้ว เป็นต้นก็ดี กัมมสูระ (?) ที่ทรงพิชิตได้ก็ดี ทรัพย์สินทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมควรแก่พระราชา ฉันใด ขอถวายพระพร คุณทั้งหลาย คือ อาคม ปริยัติ อาจาระ ความสำรวม ศีลสังวร ของพระสุคตเจ้า คุณทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมเป็นของควรแก่ภิกษุสงฆ์ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคทรงปิดพระปาติโมกขุทเทส โดยทรงทำให้เป็นสีมา เพราะภูมิแห่งภิกษุเป็นภูมิที่ควรเคารพ ตามประการดังกล่าวมานี้

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.    

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้า นาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตามที่ท่านกล่าวมานี้

ธมฺมวินยปฏิจฺฉนฺนาปฏิจฺฉนฺนปญฺโห ทุติโยฯ

ธมฺมวินยปฏิจฺฉนฺนาปฏิจฺฉนฺนปญฺโห ธัมมวินยปฏิจฉันนาปฏิจฉันนปัญหา

ทุติโย ลำดับที่ ๒ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

ธัมมวินยปฏิจฉันนาปฏิจฉันนปัญหาที่ ๒ จบ



[1] คำนี้คิดว่า ท่านคงหมายถึงพระบาฬีนี้ว่า "น ภิกฺขเว สคหฏฺฐาย ปริสาย ปาติโมกฺขํ อุทฺทิสิตพฺพํ, โย อุทฺทิเสยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส. เกี่ยวกับเรื่องนี้ การสวดพระปาติโมกข์ พึงเว้นจากคฤหัสต์ โดยกระทำคฤหัสต์เหล่านั้นไว้ภายนอกสังฆหัตถบาส.

[2] วิ.. มหาจุฬาเตปิฎก ๘/๓๒๓/๒๖๖

[3] วิ.มหา. มหาจุฬาเตปิฎก ๔/๑๕๔/๑๖๒-

[4] คำว่า เปิดเผยจึงรุ่งเรือง คือ เปิดเผย ได้แก่ ประกาศแสดง จึงรุ่งเรือง คือ จึงแผ่ไพศาล ตั้งอยู่ได้ ก็ธรรมวินัยที่เปิดได้ มี ๔ อย่าง คือ .เอกโตวิวฏะ เปิดเผยได้เฉพาะฝ่ายเดียว .อุภโตวิวฏะ เปิดเผยได้ ๒ ฝ่าย . อัตถโตวิวฏะ เปิดเผยได้โดยอรรถาธิบาย . สัพพัตถกโตวิวฏะ เปิดเผยได้ในที่ทั้งปวง. ใน ๔ อย่างนั้น สิกขาบทที่เป็นสาธารณะ กล่าวคือ ทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุหรือภิกษุณี แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ที่ต้องประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งมีอาบัติที่ต้องแสดง ชื่อว่า เอกโตวิวฏะ. ส่วนสิกขาบทที่เป็นสาธารณะที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณีทั้ง ๒ ฝ่าย ชื่อว่า อุภโตวิวฏะ. คุณธรรมที่ได้รับชื่อว่า อัตถโตวิวฏะ เพราะเปิดเผยได้โดยคำอรรถาธิบายเท่านั้น. พระไตรปิฎกอันเป็นพระพุทธวจนะ ชื่อว่า สัพพัตถกวิวฏะ เพราะเปิดเผยได้ในที่ทั้งปวง. คำว่า เปิดเผยจึงรุ่งเรือง นี้ ตรัสหมายเอาธรรมวินัยที่เป็นสัพพัตถกวิวฏะ เป็นสำคัญ

[5] คำว่า ปาติโมกขุทเทส ได้แก่ คำอุเทส คือ ที่ทรงยกขึ้นแสดงไว้เป็นปาติโมกข์ คือ เป็นประมุข เป็นประธาน หรือเป็นเบื้องต้น แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มี ๒ อย่าง คือ . โอวาทปาติโมกขุทเทส  . อาณาปาติโมกขุทเทส. ใน ๒ อย่างนั้น พระคาถาที่ว่า ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ฯเปฯ สพฺพปาปสฺส อกรณํ ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง ฯลฯ การไม่ทำบาปทั้งปวง เป็นต้น ชื่อว่าโอวาทปาติโมกขุทเทส ส่วนสิกขาบทบัญญัติที่มาในฐานะอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีอาบัติไม่ต้องฟังพระปาติโมกข์ ภิกษุรูปใดบ้าง ภิกษุรูปนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า อาณาปาติโมกขุทเทส

[6] หมายความว่า ทรงปิดแล้ว บังแล้ว พระวินัยปิฎกทั้งสิ้น แก่ บุคคล ๒๑ จำพวก มีพวกคฤหัสถ์เป็นต้น พร้อมทั้งภิกษุผู้ต้องอาบัติตามพระดำรัสที่ว่า ภิกษุไม่พึงแสดงปาติโมกข์แก่บริษัท ที่มีพวกคฤหัสถ์ ภิกษุรูปใดแสดง ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติทุกกฏ ดังนี้ เป็นต้น อันบัณฑิตพึงทราบความทั้งหมดได้ในพระวินัยมหาวรรค

[7] คำนี้คิดว่า ท่านคงหมายถึงพระบาฬีนี้ว่า "น ภิกฺขเว สคหฏฺฐาย ปริสาย ปาติโมกฺขํ อุทฺทิสิตพฺพํ, โย อุทฺทิเสยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส. เกี่ยวกับเรื่องนี้ การสวดพระปาติโมกข์ พึงเว้นจากคฤหัสต์ โดยกระทำคฤหัสต์เหล่านั้นไว้ภายนอกสังฆหัตถบาส.

[8] คำนี้ พระเถระกล่าวหมายเอาโอวาทปาติโมกขุทเทส ซึ่งพระตถาคตทั้งหลายแต่กาลก่อนทุก ๆ พระองค์จะต้องทรงยกขึ้นแสดง ในท่ามกลางภิกษุบริษัทที่ไม่ปะปนด้วยบริษัทอื่น แม้พระตถาคตวงศ์นี้ ก็ทรงปฏิบัติอย่างนี้แหละ เพราะเกี่ยวกับทรงประสงค์จะรักษาวงศ์ คือ ประเพณีของพระตถาคตแต่กาลก่อนเหล่านั้น

[9] คำว่า คำลับประจำพวกนั้น คือ เป็นลำดับที่ใช้กันอยู่ รู้กันอยู่แต่เฉพาะในพวกนั้น ๆ เท่านั้น ปิดไว้ ไม่เปิดเผยแก่พวกที่เหลือ เพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบพวกที่เป็นข้าศึก ที่อาจปลอมเข้ามาเป็นพวก เป็นต้น

[10] คำว่า เพราะความที่พระธรรมเป็นของควรเคารพ คือ เพราะความที่พระโลกุตตรธรรมทั้งหลาย เป็นของที่ภิกษุควรเคารพ คือ ควรตระหนักว่า เป็นสิ่งประเสริฐสูงส่ง ซึ่งภิกษุจะมีอันบรรลุธรรมนั้นได้ ก็เพราะมีความเคร่งครัดในพระปาติโมกข์ ประชุมฟังพระปาติโมกข์ภายในสีมาเป็นประจำทุกวัน ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ นั่นเทียว

[11] คำว่า เพราะภูมิแห่งภิกษุเป็นภูมิที่ควรเคารพ ความว่า เพราะภูมิคือฐานะแห่งภิกษุเป็นฐานะที่ควรเคารพยิ่งกว่าฐานะแห่งบริษัทอื่น มีฐานะแห่งภิกษุณีเป็นต้น

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566

๔. สัพพัญญุตญาณวรรค หมวดว่าด้วยสัพพัญญุตญาณ ๑. อิทธิกัมมวิปากปัญหา ปัญหาว่าด้วยฤทธิ์และการเผล็ดผลของกรรม

 

๔. สพฺพญฺญุตญาณวคฺโค

๔. สพฺพญฺญุตญาณวคฺโค

. สัพพัญญุตญาณวรรค

หมวดว่าด้วยสัพพัญญุตญาณ

***

๑. อิทฺธิกมฺมวิปากปญฺโห

. อิทธิกัมมวิปากปัญหา

ปัญหาว่าด้วยฤทธิ์และการเผล็ดผลของกรรม

***

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา เอตทคฺคํ, ภิกฺขเว, มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ อิทฺธิมนฺตานํ ยทิทํ มหาโมคฺคลฺลาโนติฯ ปุน จ กิร โส ลคุเฬหิ ปริโปถิโต ภินฺนสีโส สญฺจุณฺณิตฏฺฐิมํสธมนิฉินฺนปริคตฺโต ปรินิพฺพุโต [1]ฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, เถโร มหาโมคฺคลฺลาโน อิทฺธิยา โกฏิํ คโต, เตน หิ ลคุเฬหิ โปถิโต ปรินิพฺพุโตติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ลคุเฬหิ ปริโปถิโต ปรินิพฺพุโต, เตน หิ อิทฺธิยา โกฏิํ คโตติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ กิํ น สมตฺโถ อิทฺธิยา อตฺตโน อุปฆาตํ อปนยิตุํ, สเทวกสฺสปิ โลกสฺส ปฏิสรณํ ภวิตุํ อรโหติ? อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยํ อิทํ (ขนฺธปญฺจกํ) ขันธปัญจกะนี้ใด มหาโมคฺคลฺลาโน คือ มหาโมคคัลลานะ, เอตํ (ขนฺธปญฺจกํ) ขันธปัญจกะนั้น อคฺคํ เป็นยอด ภิกฺขูนํ แห่งภิกษุทั้งหลาย  สาวกานํ ผู้เป็นสาวก มม ของเรา อิทฺธิมนฺตานํ ผู้มีฤทธิ์[2] ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้, แต่ กิร ยังได้ยิน ปุน อีกว่า โส มหาโมคฺคลฺลาโน พระมหาโมคคัลลานะนั้น โจเรหิ อันโจรทั้งหลาย ปริโปถิโต ทุบตีแล้ว ลคุเฬหิ ด้วยกระบองทั้งหลาย ภินฺนสีโส มีศีรษะแตกแล้ว สญฺจุณฺณิตฏฺฐิมํสธมนิฉินฺนปริคตฺโต[3] มีกระดูก, เนื้อ, เอ็น แหลกละเอียดและร่างกายฉีกขาด ปรินิพฺพุโต ปรินิพพานแล้ว. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า เถโร มหาโมคฺคลฺลาโน พระมหาโมคคัลลานะ ผู้พระเถระ คโต ถึงแล้ว โกฏิํ ซึ่งยอด อิทฺธิยา แห่งฤทธิ์ จริงไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า  โส มหาโมคฺคลฺลาโน พระมหาโมคคัลลานะนั้น โจเรหิ อันโจรทั้งหลาย ปริโปถิโต ทุบตีแล้ว ลคุเฬหิ ด้วยกระบองทั้งหลาย ปรินิพฺพุโต ปรินิพพานแล้ว ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา ผิด, ยทิ ถ้าว่า โส มหาโมคฺคลฺลาโน พระมหาโมคคัลลานะนั้น โจเรหิ อันโจรทั้งหลาย ปริโปถิโต ทุบตีแล้ว ลคุเฬหิ ด้วยกระบองทั้งหลาย ปรินิพฺพุโต ปรินิพพานแล้ว ดังนี้ จริงไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น , ตมฺปิ วจนํ คำแม้นั้น อิติ ว่า  เถโร มหาโมคฺคลฺลาโน พระมหาโมคคัลลานะ ผู้พระเถระ คโต ถึงแล้ว โกฏิํ ซึ่งยอด อิทฺธิยา แห่งฤทธิ์ ดังนี้ มิจฺฉา ผิด, โส พระเถระนั้น น สมตฺโถ ไม่สามารถ อปนยิตุํ เพื่อขจัด อุปฆาตํ ซึ่งการทำร้าย อตฺตโน แห่งตน อิทฺธิยา ด้วยฤทธิ์ กิํ หรือ, โส พระเถระนั้น อรโห ควร ภวิตุํ เพื่อเป็น ปฏิสรณํ ที่ต้านภัย โลกสฺส แห่งมนุษย์ สเทวกสฺสปิ แม้ทั้งเทวดา กิํ ได้หรือ ดังนี้,  อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

[] พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ อิทฺธิมนฺตานํ ยทิทํ มหาโมคฺคลฺลาโน[4] ภิกษุทั้งหลาย พระมหาโมคคัลลานะเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเราผู้มีฤทธิ์มาก ดังนี้ และยังได้ยินอีกเรื่องหนึ่งว่า พระมหาโมคคัลลานะนั้น ถูกพวกโจรใช้ไม้ค้อนทุบตีเอาจนศีรษะแตก กระดูก เนื้อ เส้นเอ็นแหลกละเอียด ร่างกายฉีกขาด จนท่านปรินิพพาน พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า พระมหาโมคคัลลานะถึงยอดแห่งฤทธิ์ จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า ท่านถูกพวกโจรใช้ไม้ค้อนทุบตีเอาจนปรินิพพาน ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่า ท่านถูกพวกโจรใช้ไม้ค้อนทุบตีเอาจนปรินิพพาน จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า ท่านเป็นผู้ถึงยอดแห่งฤทธิ์ ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ท่านไม่สามารถใช้ฤทธิ์ขจัดการทำร้ายตัวท่านได้หรือไร ท่านควรจะเป็นที่พึ่งของชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาได้ ไม่ใช่หรือ ปัญหาแม้ข้อนี้ ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านพึงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา เอตทคฺคํ, ภิกฺขเว, มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ อิทฺธิมนฺตานํ ยทิทํ มหาโมคฺคลฺลาโนติฯ อายสฺมา จ มหาโมคฺคลฺลาโน ลคุฬหโต ปรินิพฺพุโต, ตญฺจ ปน กมฺมาธิคฺคหิเตนา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยํ อิทํ (ขนฺธปญฺจกํ) ขันธปัญจกะนี้ใด มหาโมคฺคลฺลาโน คือ มหาโมคคัลลานะ, เอตํ (ขนฺธปญฺจกํ) ขันธปัญจกะนั้น อคฺคํ เป็นยอด ภิกฺขูนํ แห่งภิกษุทั้งหลาย  สาวกานํ ผู้เป็นสาวก มม ของเรา อิทฺธิมนฺตานํ ผู้มีฤทธิ์ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ทรงภาษิตไว้ จริง, และ อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน พระมหาโมคคัลลานะ ผู้มีอายุ โจเรหิ อันโจรทั้งหลาย ปริโปถิโต ทุบตีแล้ว ลคุเฬหิ ด้วยกระบองทั้งหลาย ภินฺนสีโส มีศีรษะแตกแล้ว สญฺจุณฺณิตฏฺฐิมํสธมนิฉินฺนปริคตฺโต มีกระดูก, เนื้อ, เอ็น แหลกละเอียดและร่างกายฉีกขาด ปรินิพฺพุโต ปรินิพพานแล้ว ก็เป็นความจริง, จ ปน ก็แต่ว่า ตํ การณํ เหตุนั้น อตฺถิ ย่อมมี กมฺมาธิคฺคหิเตน เพราะถูกกรรมครอบงำ (อยู่ภายในอำนาจกรรม[5])ดังนี้

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระมหาโมคคัลลานะเลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์มาก ดังนี้ จริง และท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ถูกพวกโจรใช้ไม้ค้อนทุบตีเอาจนปรินิพพาน จริง ก็แต่ว่า ข้อนั้น ย่อมเป็นไปเพราะกรรมที่ฉกฉวยโอกาส

 

‘‘นนุ, ภนฺเต นาคเสน, อิทฺธิมโต อิทฺธิวิสโยปิ กมฺมวิปาโกปิ ทฺเว อจินฺติยา, อจินฺติเยน อจินฺติยํ อปนยิตพฺพํฯ ยถา นาม, ภนฺเต, เกจิ ผลกามา กปิตฺเถน กปิตฺถํ โปเถนฺติ, อมฺเพน อมฺพํ โปเถนฺติ, เอวเมว โข, ภนฺเต นาคเสน, อจินฺติเยน อจินฺติยํ โปถยิตฺวา อปเนตพฺพ’’นฺติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เทฺว ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ๒ คือ อิทฺธิวิสโยปิ ทั้งวิสัยแห่งฤทธิ์ อิทฺธิมโต ของผู้มีฤทธิ์  กมฺมวิปาโกปิ อีกทั้งวิบากแห่งกรรม (การเผล็จผลแห่งกรรม) อจินฺติยา เป็นอจินไตย (เรื่องอันใครๆไม่พึงคิด)[6], อจินฺติยํ อจินไตย อจินฺติเยน อันอจินไตย อปนยิตพฺพํ พึงขจัดได้ นนุ มิใช่หรือ[7]. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ,  เกจิ ผลกามา ชนทั้งหลายบางพวก ผู้ปรารถนาผลไม้ โปเถนฺติ ย่อมตี กปิตฺถํ ซึ่งผลมะขวิด กปิตฺเถน ด้วยกิ่งมะขวิด, โปเถนฺติ ย่อมตี อมฺพํ ซึ่งผลมะมวง อมฺเพน ด้วยกิ่งมะม่วง ยถา นาม  ชื่อ ฉันใด, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ อจินฺติยํ อจินไตยปุคฺคเลน อันบุคคล อปเนตพฺพํ พึงขจัด อจินฺตเยน ด้วยอจินไตย เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว ดังนี้

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน ธรรม ๒ อย่าง คือ อิทธิวิสัย วิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ ๑ การเผล็ดผลของกรรม ๑ เป็นเรื่องอจินไตย (ไม่ควรคิดมิใช่) หรือ สิ่งที่เป็นอจินไตย ก็ต้องใช้สิ่งที่เป็นอจินไตยขจัด พระคุณเจ้า เปรียบเหมือน บุคคลบางพวก ต้องการผลไม้ ย่อมใช้กิ่งมะขวิด ตีผลมะขวิด ย่อมใช้กิ่งมะม่วงฟาดผลมะม่วง ฉันใด พระคุณเจ้านาคเสน พระเถระก็ควรใช้สิ่งที่เป็นอจินไตยตีขจัดสิ่งที่เป็นอจินไตย ฉันนั้น

 

 ‘‘อจินฺติยานมฺปิ, มหาราช, เอกํ อธิมตฺตํ พลวตรํ, ยถา, มหาราช, มหิยา ราชาโน โหนฺติ สมชจฺจา, สมชจฺจานมฺปิ เตสํ เอโก สพฺเพ อภิภวิตฺวา อาณํ ปวตฺเตติฯ เอวเมว โข, มหาราช, เตสํ อจินฺติยานํ กมฺมวิปากํ เยว อธิมตฺตํ พลวตรํ, กมฺมวิปากํ เยว สพฺเพ อภิภวิย อาณํ ปวตฺเตติ, กมฺมาธิคฺคหิตสฺส อวเสสา กิริยา โอกาสํ น ลภนฺติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อจินฺติยานมฺปิ แม้บรรดาสิ่งที่เป็นอจินไตยทั้งหลาย เอกํ อจินฺติยํ อจินไตยเรื่องเดียว อธิมตฺตํ มีประมาณยิ่ง พลวตรํ มีกำลังยิ่ง, มหาราช มหาบพิตร ราชาโน พระราชาทั้งหลาย มหิยา บนแผ่นดิน สมชจฺจา ผู้มีพระชาติเสมอกัน โหนฺติ มีอยู่, สมชจฺจานมฺปิ บรรดาพระราชาผู้ทรงมีพระชาติเสมอกันทั้งหลาย เตสํ เหล่านั้น เอโก พระราชาพระองค์เดียวเท่านั้น อาณํ ยังพระราชอำนาจ  ปวตฺเตติ ย่อมให้เป็นไป อภิภวิตฺวา ทรงครอบงำ สพฺเพ ซึ่งพระราชาเหล่านั้นทั้งปวง ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เตสํ อจินฺติยานํ บรรดาสิ่งที่เป็นอจินไตยทั้ืงหลาย เหล่านั้น กมฺมวิปากํ วิบากแห่งกรรมเท่านั้น อธิมตฺตํ มีประมาณยิ่ง พลวตรํ มีกำลังแรงกว่า, กมฺมวิปากํเยว วิบากแห่งกรรมนั่นแหละ อาณํ ยังอำนาจ ปวตฺเตติ ย่อมให้เป็นไป อภิภวิย ครอบงำ สพฺเพ อจินฺติเย ซึ่งอจินไตยทั้งหลายทั้งปวง, กมฺมาธิคฺคหิตสฺส ปุคฺคลสฺส เมื่อบุคคลผู้อันกรรมครอบงำอยู่[8] กิริยา กรรม อวเสสา ที่เหลือ น ลภนฺติ ย่อมไม่ได้ โอกาสํ ซึ่งโอกาส เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล[9].

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร สิ่ง ๒ อย่างแม้เป็นสิ่งอจินไตย (ไม่ควรคิดด้วยกัน) แต่อย่างหนึ่ง มีประมาณยิ่ง มีกำลังยิ่งกว่า ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า บรรดาพระราชา แม้เป็นผู้มีชาติเสมอกันเหล่านั้น พระราชาองค์หนึ่ง ทรงใช้พระราชอำนาจครอบงำพระราชานอกนี้ทุกพระองค์ได้ ฉันใด ขอถวายพระพร บรรดาสิ่งที่เป็นอจินไตยเหล่านั้น การเผล็ดผลของกรรมนั่นเทียว มีประมาณยิ่ง มีกำลังยิ่งกว่า การเผล็ดผลของกรรมนั่นเทียว ย่อมทำอำนาจให้เป็นไปครอบงำสิ่งที่เป็นอจินไตยได้ทุกอย่าง เมื่อบุคคลูกกรรมครอบงำแล้ว กิจควรทำที่เหลือย่อมไม่ได้โอกาส ฉันนั้น

 

‘‘อิธ ปน, มหาราช, โกจิ ปุริโส กิสฺมิญฺจิเทว ปกรเณ อปรชฺฌติ, น ตสฺส มาตา วา ปิตา วา ภคินี วา ภาตโร วา สขี วา สหายกา วา ตายนฺติ, อถ โข ราชา เยว ตตฺถ อภิภวิย อาณํ ปวตฺเตติฯ กิํ ตตฺถ การณํ? อปราธิกตาฯ เอวเมว โข, มหาราช, เตสํ อจินฺติยานํ กมฺมวิปากํ เยว อธิมตฺตํ พลวตรํ, กมฺมวิปากํ เยว สพฺเพ อภิภวิย อาณํ ปวตฺเตติ, กมฺมาธิคฺคหิตสฺส อวเสสา กิริยา โอกาสํ น ลภนฺติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน เปรียบเหมือนว่า อิธ ในโลกนี้ โกจิ ปุริโส บุรุษบางคน อปรชฺฌติ ทำความผิด ปกรเณ ในกฏหมาย[10] กิสฺมิญฺจิเทว บางอย่างเท่านั้น, มาตา วา มารดา ก็ดี ปิตา วา บิดา ก็ดี ภคินี วา พี่สาว ก็ดี ภาตโร วา พี่ชาย ก็ดี สขี วา มิตร ก็ดี สหายกา วา สหาย ก็ดี ตสฺส ของบุรุษนั้น ตายนฺติ ย่อมป้องกัน หามิได้, อถ โข แท้ที่จริงแล้ว ราชาเยว พระราชาเท่านั้น อาณํ ยังพระราชอำนาจ ปวตฺเตติ ย่อมให้ทรงเป็นไป อภิภวิย ครอบงำ ตตฺถ ในเพราะความผิดนั้นได้. การณํ เหตุ กิํ อะไรเล่า ตตฺถ ในเพราะเรื่องนั้น โหติ ย่อมมี, อปราธิกตา เพราะความที่ ... ตสฺส ปุริสสฺส แห่งบุรุษนั้น เป็นผู้กระทำผิด ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เตสํ อจินฺติยานํ บรรดาสิ่งที่เป็นอจินไตยทั้ืงหลาย เหล่านั้น กมฺมวิปากํ วิบากแห่งกรรมเท่านั้น อธิมตฺตํ มีประมาณยิ่ง พลวตรํ มีกำลังแรงกว่า, กมฺมวิปากํเยว วิบากแห่งกรรมนั่นแหละ อาณํ ยังอำนาจ ปวตฺเตติ ย่อมให้เป็นไป อภิภวิย ครอบงำ สพฺเพ อจินฺติเย ซึ่งอจินไตยทั้งหลายทั้งปวง, กมฺมาธิคฺคหิตสฺส ปุคฺคลสฺส เมื่อบุคคลผู้อันกรรมครอบงำอยู่ กิริยา กรรม อวเสสา ที่เหลือ น ลภนฺติ ย่อมไม่ได้ โอกาสํ ซึ่งโอกาส เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล,

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนวา บุรุษบางคนในโลกนี้ ทำความผิดกฎหมายบางอย่างเท่านั้น มารดาของเขาก็ดี บิดาของเขาก็ดี พี่น้องหญิงก็ดี พี่น้องชายก็ดี มิตรก็ดี สหายก็ดี ก็ช่วยป้องกันไม่ได้ แต่ทว่า ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น พระราชานั่นเทียว จะทรงใช้อำนาจครอบงำเขาได้ ถามว่า อะไรเป็นเหตุในเรื่องนั้นเล่า ตอบว่า คือความเป็นคนทำผิดของเขา ฉันใด ขอถวายพระพร บรรดาสิ่งที่เป็นอจิตไตยเหล่านั้น การเผล็ดผลของกรรมนั่นเทียว มีประมาณยิ่ง มีกำลังยิ่งกว่า การเผล็ดผลของกรรมนั่นเทียว ย่อมทำอำนาจให้เป็นไปครอบงำสิ่งที่เป็นอจินไตยได้ทุกอย่าง เมื่อบุคคลถูกกรรมครอบงำแล้ว กิจควรทำที่เหลือ ย่อมไม่ได้โอกาส ฉันนั้นเหมือนกัน

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, มหิยา ทวฑาเห สมุฏฺฐิเต ฆฏสหสฺสมฺปิ อุทกํ น สกฺโกติ นิพฺพาเปตุํ, อถ โข อคฺคิ เยว ตตฺถ อภิภวิย อาณํ ปวตฺเตติฯ กิํ ตตฺถ การณํ? พลวตา เตชสฺสฯ เอวเมว โข, มหาราช, เตสํ อจินฺติยานํ กมฺมวิปากํ เยว อธิมตฺตํ พลวตรํ, กมฺมวิปากํ เยว สพฺเพ อภิภวิย อาณํ ปวตฺเตติ, กมฺมาธิคฺคหิตสฺส อวเสสา กิริยา โอกาสํ น ลภนฺติ, ตสฺมา, มหาราช, อายสฺมโต มหาโมคฺคลฺลานสฺส กมฺมาธิคฺคหิตสฺส ลคุเฬหิ โปถิยมานสฺส อิทฺธิยา สมนฺนาหาโร นาโหสี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร วา อีกอย่างหนึ่ง ปน เหมือนอย่างว่า ทวฑาเห เมื่อไฟป่า สมุฏฺฐิเต ลุกฮือขึ้น มหิยา เหนือแผ่นดิน อุทกํ น้ำ ฆฏสหสฺสมฺปิ ตั้งพันหม้อ น สกฺโกติ ย่อมไม่อาจ นิพฺพาเปตุํ เพื่อให้ดับ, อถ โข แท้ที่จริงแล้ว อคฺคิเยว ไฟนั่นแหละ อาณํ ยังอำนาจ ปวตฺเตติ ให้เป็นไป อภิภวิย ครอบงำ ตตฺถ ในที่นั้น, การณํ เหตุ กิํ อะไรเล่า ตตฺถ ในเพราะเรื่องนั้น โหติ ย่อมมี, พลวตา เพราะความมีกำลังมาก เตชสฺส แห่งไฟ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เตสํ อจินฺติยานํ บรรดาสิ่งที่เป็นอจินไตยทั้ืงหลาย เหล่านั้น กมฺมวิปากํ วิบากแห่งกรรมเท่านั้น อธิมตฺตํ มีประมาณยิ่ง พลวตรํ มีกำลังแรงกว่า, กมฺมวิปากํเยว วิบากแห่งกรรมนั่นแหละ อาณํ ยังอำนาจ ปวตฺเตติ ย่อมให้เป็นไป อภิภวิย ครอบงำ สพฺเพ อจินฺติเย ซึ่งอจินไตยทั้งหลายทั้งปวง, กมฺมาธิคฺคหิตสฺส ปุคฺคลสฺส เมื่อบุคคลผู้อันกรรมครอบงำอยู่ กิริยา กรรม อวเสสา ที่เหลือ น ลภนฺติ ย่อมไม่ได้ โอกาสํ ซึ่งโอกาส เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล, มหาราช มหาบพิตร ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อายสฺมโต มหาโมคฺคลฺลานสฺส เมื่อพระมหาโมคคัลลานะ ผู้มีอายุ กมฺมาธิคฺคหิตสฺส อันกรรมครอบงำแล้ว โจเรหิ อันโจรทั้งหลาย โปถิยมานสฺส ทุบอยู่ ลคุเฬหิ ด้วยไม้กระบองทั้งหลาย สมนฺนาหาโร การประมวลมา อิทฺธิยา แห่งฤทธิ์ น อโหสิ ไม่ได้มีแล้ว ดังนี้.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า เมื่อไฟป่า ลุกฮือขึ้นมาเหนือแผ่นดิน น้ำสักพันหม้อก็ไม่อาจจะใช้ดับไฟได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฟนั่นแหละย่อมทำอำนาจให้เป็นไปครอบงำสถานที่นั้น อะไรเป็นเหตุในข้อนั้นเล่า ? ตอบว่า คือความที่ไฟมีกำลัง (ยิ่งกว่า) นั่นเอง ฉันใด ขอถวายพระพร บรรดาสิ่งที่เป็นอจินไตยเหล่านั้น การเผล็ดผลของกรรมนั่นเทียว มีประมาณยิ่ง มีกำลังยิ่งกว่า การเผล็ดผลของกรรมนั่นเทียว ย่อมทำอำนาจให้เป็นไปครอบงำสิ่งที่เป็นอจินไตยทุกอย่าง เมื่อบุคคคลถูกกรรมครอบงำแล้ว กิจควรทำที่เหลือ ย่อมไม่ได้โอกาส ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร เพราะฉะนั้น เมื่อท่านพระโมคคัลลานะเถระผู้ถูกกรรมครอบงำ พอถูกพวกโจรใช้ไม้ค้อนทุบตีเอา จึงมิได้มีการแผลงฤทธิ์

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตามที่ท่านกล่าวมากระนี้ นี้

***

อิทฺธิกมฺมวิปากปญฺโห ปฐโมฯ

อิทฺธิกมฺมวิปากปญฺโห อิทธิกัมมวิปากปัญหา ปฐโม ลำดับที่ ๑ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

อิทธิกัมมวิปากปัญหาที่ ๑ จบ

***



[1] [ธมนิมชฺชปริกตฺโต (สี. ปี.), ธมฺมนิมิญฺชปริคตฺโต (สฺยา.)]

[2] อีกนัยหนึ่ง แปลไขให้ตรงตามลิงค์แห่งบทประธาน ยทิทํ = โย อยํ ภิกฺขุ ภิกษุใด, มหาโมคฺคลฺลาโน คือ มหาโมคคัลลานะ , เอตํ = เอโส ภิกฺขุ ภิกษุนั่น มหาโมคฺคลฺลาโน คือ มหาโมคคัลลานะ อคฺคํ = อคฺโค เป็นยอด ภิกฺขูนํ แห่งภิกษุทั้งหลาย สาวกานํ ผู้เป็นสาวก มม ของเรา อิทฺธิมนฺตานํ ผู้มีฤทธิ์ ดังนี้.

[3] เป็นพหุพพีหิสมาส และ มีทวันทสมาส ตติยาพหุพพีหิสมาสเป็นท้องโดยตัดบทเป็น สญฺจุณฺณิตอฏฺฐิมํสธมนิ + ฉินฺนปริคตฺโต มีกระดูก เนื้อ และเอ็น อันแหลกละเอียด และ มีร่างกายฉีกขาดแล้ว.

[4] อง.เอกก. มหาจุฬาเตปิฏก ๒๐/๑๙๐/๒๓

[5] อธิคฺคหิต หมายถึง ถูกยึดไว้ภายใน, ครอบงำ หรือตกอยู่ภายใต้อำนาจ ในกรณีนี้ พระมหาโมคคัลลานะ แม้มีฤทธิ์ สามารถหนีโจร กำจัดภัยจากโจร ได้ก็จริง แต่อยู่ภายใต้อำนาจกรรม ถูกกรรมยึดไว้ภายใน ครอบงำ จึงปรินิพพานเพราะการทุบตีของโจรทั้งหลาย.

[6] คำว่า สิ่งที่เป็นอจินไตย ได้แก่ สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่าง คือ ๑. พุทธวิสัย (วิสัยคือพระปรีชาสามารถในอันหยั่งรู้ธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้า) ๒. ฌานวิสัย (วิสัยแห่งฌาน ๓. กรรมวิบาก (การเผล็ดผลของกรรม) ๔. โลกจินตา (ความคิดเกี่ยวกับเรื่องโลก) ดังนี้ ผู้ใดไปหมกมุ่นครุ่นคิดเข้า ก็จะเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า

[7] พระเจ้ามิลินท์ทรงเสนอความคิดเห็นว่า อจินไตยทั้งสองประการนี้สามารถลบล้างกันได้ เพราะฉะนั้น พระมหาโมคคัลลานะเป็นเอตทัคคบุคคลในผู้มีฤทธิ์ น่าจะใช้ฤทธิ์ ข่มการเผล็จผลแห่งกรรมได้ เหมือนใช้กิ่งมะม่วงตัดก้านมะม่วงเพื่อเอาผล.

[8] เพราะอปราปรเวทนียกรรม (กรรมที่มีวิบากอันพึงเสวย ได้ในชาติต่อ ๆ ไป) ที่ท่านทำไว้ในอดีตชาตินานแล้ว คอยติดตามให้ผลอยู่ในเมื่อได้โอกาส เมื่อโอกาสนี้มาถึงแล้ว ก็ฉกฉวยเอาโอกาสนั้น เผล็ดผลเกี่ยวกับทำให้พระเถระต้องถูกโจรทุบตีเอาจนถึงแก่ปรินิพพาน มีเรื่องว่า ในอดีตชาติก่อนหน้านี้ นานนักหนาแล้ว พระเถระได้เกิดเป็นคนหนุ่ม ผู้มีภรรยาแต่จะอิดหนาระอาใจและรังเกียจมารดาผู้ตาบอดของท่าน ท่านถูกภรรยายุยงให้กำจัดบิดามารดาของตน แล้วก็เห็นคล้อยตาม จึงทำทีว่าพวกโจรปล้น ในคราวที่เดินทางไปกับบิดามารดา ใช้โอกาสนี้กำจัดบิดามารดาของตนเสีย กรรมข้อนี้ เป็นเหตุให้ท่านเสวยทุกข์ในนรก พ้นจากนรกแล้ว เศษกรรมข้อนี้ก็คอยตามให้ผลอยู่ มาในชาติปัจจุบันได้โอกาสเข้า ก็ฉกฉวยโอกาสนั้น เผล็ดผลเป็น อุปัจเฉทกรรม (กรรมตัดรอน) แม้ว่าท่านเป็นผู้มีฤทธิ์ และประสงค์จะใช้ฤทธิ์ป้องกัน ก็ไม่อาจทำฤทธิ์ให้เกิดขึ้นมาป้องกันได้

[9] พระนาคเสน แย้งว่า อจินไตยทั้งสองนั้น กำลังแห่งกรรม เป็นเลิศ เพราะฉะนั้น จึงมีอำนาจเหนืออจินไตยที่เหลือ ดังนั้น เมื่อเวลาผลแห่งกรรมที่เคยทำไว้มาถึง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำฤทธิ์ต่างๆเพื่อห้ามกำลังกรรมนั้น ไม่มีโอกาสเลย เหมือนพระราชาทั้งหลาย แม้มีพระชาติเสมอกัน แต่มีเพียงหนึงพระองค์ที่มีเดชานุภาพมาก เท่านั้นสามารถข่มพระราชาที่เหลือได้.

[10] ปกรณ ศัพท์มีอรรถ ๕ คือ ๑) เรื่องอันเป็นเหตุ (อํ.อฏฺ.๓/๑๗๑), ๒) คัมภีร์(ปฏิสํ.อฏฺ.๑/๗), ๓) ข้อธรรม (สี.ฏี.๑/๑๐๙), ๔) ข้อกำหนดโดยความเป็นเหตุซึ่งมีลักษณะตามที่กล่าวไว้ (อนุฏี.๓/๒๕๓) ๕) สังคีตชนิดหนึ่ง (ที.ฏี.๓/๑๓๒). ส่วน พจน.ภูมิพโล ให้ความหมายของ ปกรณ ศัพท์ ๓ ความหมาย คือ (๑) การประกอบ, วรรค (พูดถึงกฏหมาย)ที่รับรองอย่างใดอย่างหนึ่ง. (๒) โอกาส (๓) คำอธิบาย, การจัด, งานประพันธ์, หนังสือ, ชื่อหนังสือเช่น มิลินทปกรณ์, เนตติปกรณ์เป็นต้น ดังนั้น ในที่นี้ มีความหมายว่า กฏหมาย.