วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สูตรที่ ๑๗ (ต่อ) อันสืบเนื่องจากอุทาหรณ์ : บทพระสูตร

พระบาฬีที่มา
   ๒๘๐. ‘‘โส โข อหํภิกฺขเวอตฺตนา ชาติธมฺโม สมาโน ชาติธมฺเม อาทีนวํ วิทิตฺวา อชาตํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ ปริเยสมาโน อชาตํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ อชฺฌคมํอตฺตนา ชราธมฺโม สมาโน ชราธมฺเม อาทีนวํ วิทิตฺวา อชรํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ ปริเยสมาโน อชรํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ อชฺฌคมํอตฺตนา พฺยาธิธมฺโม สมาโน พฺยาธิธมฺเม อาทีนวํ วิทิตฺวา อพฺยาธิํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ ปริเยสมาโน อพฺยาธิํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ อชฺฌคมํอตฺตนา มรณธมฺโม สมาโน มรณธมฺเม   อาทีนวํ วิทิตฺวา อมตํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ อชฺฌคมํอตฺตนา โสกธมฺโม สมาโน โสกธมฺเม อาทีนวํ วิทิตฺวา อโสกํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ อชฺฌคมํอตฺตนา สํกิเลสธมฺโม สมาโน สํกิเลสธมฺเม อาทีนวํ วิทิตฺวา อสํกิลิฏฺฐํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ ปริเยสมาโน อสํกิลิฏฺฐํ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ อชฺฌคมํฯ ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ – ‘อกุปฺปา เม วิมุตฺติอยมนฺติมา ชาตินตฺถิ ทานิ ปุนพฺภโวติฯ
๒๘๑. ‘‘ตสฺส มยฺหํภิกฺขเวเอตทโหสิ – ‘อธิคโต โข มฺยายํ ธมฺโม คมฺภีโร ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโยฯ อาลยรามา โข ปนายํ ปชา อาลยรตา อาลยสมฺมุทิตาฯ อาลยรามาย  โข ปน  ปชาย อาลยรตาย อาลยสมฺมุทิตาย ทุทฺทสํ อิทํ ฐานํ ยทิทํ – อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปาโทฯ อิทมฺปิ โข ฐานํ ทุทฺทสํ ยทิทํ – สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหากฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํฯ
อหญฺเจว โข ปน ธมฺมํ เทเสยฺยํปเร จ เม น อาชาเนยฺยุํโส มมสฺส กิลมโถสา มมสฺส วิเหสาติฯ อปิสฺสุ มํภิกฺขเวอิมา อนจฺฉริยา คาถาโย ปฏิภํสุ ปุพฺเพ อสฺสุตปุพฺพา
กิจฺเฉน เม อธิคตํ            หลํ ทานิ ปกาสิตุํ;
ราคโทสปเรเตหิ              นายํ ธมฺโม สุสมฺพุโธฯ
ปฏิโสตคามิํ นิปุณํ,                  คมฺภีรํ ทุทฺทสํ อณุํ;
ราครตฺตา น ทกฺขนฺติ                 ตโมขนฺเธน อาวุฏา’’’ติ

ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย โส อหํ เรานั้น อตฺตนา ทั้งที่ ตนเอง ชาติธมฺโม เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา สมาโน มีอยู่ วิทิตฺวา ทราบชัดแล้ว อาทีนวํ ซึ่งโทษ ชาติธมฺเม ในธรรมมีความเกิดเป็นธรรมดา ปริเยสมาโน แสวงหาอยู่ นิพฺพานํ ซึ่งพระนิพพาน อชาตํ อันเป็นธรรมไม่เกิด อนุตฺตรํ อันยอดเยี่ยม โยคกฺเขมํ เป็นที่เกษมจากโยคะ อชฺฌคมํ ได้บรรลุแล้ว นิพฺพานํ ซึ่งนิพพาน อชาตํ อันเป็นธรรมไม่เกิด อนุตฺตรํ อันยอดเยี่ยม โยคกฺเขมํ เป็นที่เกษมจากโยคะ. โส อหํ เรานั้น ... ชราธมฺโม เป็นมีความแก่เป็นธรรมดา ...  อชฺฌคมํ ได้บรรลุแล้ว นิพฺพานํ ซึ่งนิพพาน อชรํ อันเป็นธรรมไม่แก่ ...,  พยาธิธมฺโม มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ... อพยาธึ อันเป็นธรรมไม่ป่วยไข้, มรณธมฺโม มีความตายเป็นธรรมดา ... อมตํ อันเป็นธรรมไม่ตาย, โสกธมฺโม มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... อโสกํ อันเป็นธรรมไม่เศร้าโศก, ... สํกิเลสธมฺโม มีความไม่สะอาดเป็นธรรมดา ... อชฺฌคมํ ได้บรรลุแล้ว นิพฺพานํ ซึ่งพระนิพพาน อสํกิลิฏฺฅํ อันเป็นธรรมหมดจด อนุตฺตรํ อันยอดเยี่ยม โยคกฺเขมํ ที่เกษมจากโยคะ. จ ปน ก็แล ฃาณํ ญาณ ทสฺสนํ อันเป็นทัสสนะ (คือปัจจเวกขณญาณ ญาณที่เกิดขึ้นในพระปฏิเวธสัทธรรม คือมรรค ผล นิพพานเป็นต้น ตามที่ได้บรรลุ) อุทปาทิ เกิดขึ้นแล้ว เม แก่เรา ว่า วิมุตฺติ วิมุตติคืออรหัตผล เม ของเรา อกุปฺปา  ไม่กำเริบ (คือไม่ถูกปฏิปักขธรรมให้หวั่นไหวและมีสิ่งที่ไม่หวั่นไหวคือนิพพานเป็นอารมณ์) อยํ ชาติ ชาติคือความเกิดนี้   อนฺติมา มีในที่สุดแห่งความเกิดทั้งปวง, ทานิ บัดนี้ ภโว ภพคือการเกิดขึ้น ปุน อีก นตฺถิ ย่อมไม่มี อิติ ดังนี้(หรืออีกนัยหนึ่ง ฃาณํ พระสัพพัญญุตญาณ ทสฺสนํ อันสามารถเห็นเญยธรรม(อริยสัจ)ทั้งสิ้นไม่เหลือ อุทปาทิ เกิดขึ้นแล้ว เม แก่เราฯ  ฃาณมฺปิ แม้ปัจจเวกขณญาณ (ญาณที่เกิดขึ้นในพระปฏิเวธสัทธรรม คือมรรค ผล นิพพานเป็นต้น ตามที่ได้บรรลุ) ว่า วิมุตฺติ วิมุตติคืออรหัตผล เม ของเรา อกุปฺปา ไม่กำเริบแล้ว  อยํ ชาติ ชาติคือความเกิดนี้ อนฺติมา มีในที่สุดแห่งความเกิดทั้งปวง, ทานิ บัดนี้ ภโว ภพคือการเกิดขึ้น ปุน อีก นตฺถิ ย่อมไม่มี อิติ ดังนี้ อุปฺปนฺนํ เกิดขึ้นแล้ว เม แก่เรา].
ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย เอตํ ปริวิตกฺกํ ความคิดนี้ ว่า อยํ ธมฺโม อริยสัจจธรรมนี้ เม อันเรา อธิคโต บรรลุแล้ว คมฺภีโร ลึกซึ้ง [เกนจิ ใครๆ] ทุทฺทโส ทุกฺเขน ทฏฺฐพฺโพ อาจเห็นได้ยาก [เกนจิ ใครๆ]  ทุรนุโพโธ ทุกฺเขน อวพุชฺฌิตพฺโพ อาจรู้ได้ยาก สนฺโต สงบ ปณีโต สูงส่ง (ปณีต ศัพท์มีอรรถ คือ (ก) ถูกนำไปสู่ความเป็นประธาน,      (ข) บริบูรณ์ไม่ต้องเจือปนด้วยธรรมอื่นอีก เนื่องจากมีความสงบและสูงส่ง เพราะทำความไม่อิ่มแก่ผู้บรรลุ ดุจโภชนะมีรสเลิศ อันเต็มเปี่ยมไปด้วยรสตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีอะไรปนเข้าไป  ที่สร้างความไม่อิ่มให้แก่ผู้บริโภค) อตกฺกาวจโร เป็นวิสัยแห่งปัญญา มิได้เป็นวิสัยแห่งการคิดเอง  นิปุโณ ละเอียด ปณฺฑิตเวทนีโย บัณฑิตเท่านั้นจะพึงรู้ได้. ปน แต่ อยํ ปชา หมู่สัตว์เหล่านี้ โข แล อาลยรามา เป็นผู้รื่นรมย์ด้วยกามอาลัยและตัณหาอาลัย [คือ กามอาลัย กามเป็นที่ให้สัตว์ยินดี และตัณหาอาลัย ตัณหาเป็นผู้ยินดี] อาลยรตา เป็นผู้ยินดีแล้วในกามอาลัย อาลยสมฺมุทิตา เป็นผู้บันเทิงแล้วในกามอาลัย โหนติ ย่อมเป็นฯ อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท ปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปัจจัยแห่งธรรม  (*อิทัปปัจจยตา ธรรมอันเป็นปัจจัยและความสามารถในการให้ผลของตนเกิดขึ้น *ปฏิจจสมุปบาท ธรรมเป็นเหตุให้ผลธรรมอาศัยเกิดขึ้นร่วมกันกับตน. คำว่า อิทัป..ปาทนี้ ได้แก่ปัจจยธรรมมีอวิชชาและสังขารเป็นต้น)  ยทิทํ โย อยํ นี้ใด, อิทํ ฅานํ  อยํ อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท ปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปัจจัยแห่งธรรมนี้ ทุทฺทสํ จึงเป็นฐานะซึ่ง - ปชาย หมู่สัตว์ อาลยรามาย ผู้ยินดีเพราะอาลัย อาลยรตาย ผู้ยินดีแล้วในกามอาลัย  อาลยสมฺมุทิตาย ผู้บันเทิงแล้วในกามอาลัย - รู้ได้ยาก.
ยทิทํยํ อิทํ นิพฺพานํ พระนิพพานนี้ อันใด สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นธรรมที่ระงับสังขารทั้งปวง สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง ตณฺหากฺขโย เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา วิราโค ธรรมอันคลายราคะ นิโรโธ เป็นที่ดับแห่งสังขารทั้งปวง, อิทํ ฐานํ นิพฺพานํ ปิ แม้พระนิพพานนี้ ทุทฺทสํ ที่หมู่สัตว์อาจเห็นได้ยากฯ 
โข ปน ก็แล อหํ ถ้าตถาคต เทเสยฺยํ แสดง ธมฺมํ ธรรม จ เอว และ ปเร ถ้าผู้อื่น น อาชาเนยฺยุํ ไม่เข้าใจ เม = มม ต่อเรา , โส สา เทสนา การแสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่รู้ นั้น กิลมโถ เป็นความลำบาก มม ของเรา อสฺส พึงเป็น, สา เทสนา การแสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่รู้นั้น วิเหสา เป็นการเบียดเบียน เม เรา อสฺส พึงเป็น,  ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย อปิสฺสุ แม้ คาถาโย คาถาทั้งหลาย อนจฺฉริยา = อนุอจฺฉริยา อันอัศจรรย์ [อน คื อนุ ไม่มีความหมายพิเศษ,  อีกนัยหนึ่ง คาถาโย คาถา อนจฺฉริยา  มีความอัศจรรย์ถึงความเจริญ (น มีอรรถเจริญ)] มยา ที่เรา อสฺสุตปุพฺพา ไม่เคยได้ยิน ปุพฺเพ ในกาลก่อน ปฏิภํสุ แจ่มแจ้งแล้ว (ต่อปฏิภาณญาณ) มํ = มม แห่งเรา อิติ ดังนี้ว่า
      ทานิ บัดนี้ หลํ [= อลํ พฺยตฺตํ] สมควรหรือ ปกาสิตุํ เพื่อแสดง อิทํ สจฺจธมฺมํ ซึ่งสัจจธรรม ๔ นี้  เม อันเรา อธิคตํ บรรลุแล้ว กิจฺเฉน โดยยาก,  [= โก อตฺโถ ประโยชน์อะไร เทสิเตน ด้วยการแสดงธรรม]  [หรืออีกนัยหนึ่ง อลํ นิปฺปโยชนํ ไร้ประโยชน์  ห เอกํเสน สิ้นเชิง), อยํ ธมฺโม สัจจธรรมนี้ ราคโทสปเรเตหิ อันชนผู้ถูกราคะโทสะจูงไป (หรือ ราคโทสปริผุฏฺเฐหิ  ถูกราคะโทสะอันเป็นดุจงูมีพิษซาบซ่าน แผ่ซ่านไป, ราคโทสอภิภูเตหิ ถูกราคะโทสะครอบงำ, ราคโทสานุคเตหิ หรือติดตามราคะโทสะไป) สุสมฺโพโธ จะรู้ถูกต้องด้วยตนเอง  ไม่ได้.
      ราครตฺตา บุคคลผู้กำหนัดด้วยราคะแล้ว ตโมขนฺเธน ถูกกองอวิชชา อาวุฏา หุ้มห่อไว้ น ทกฺขนฺติ ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยงเป็นต้น,  ปฏิโสตคามึ ซึ่งสัจจธรรมซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า ไม่เที่ยงเป็นต้นที่ทวนกระแสแห่งบุคคลผู้ถือเอาว่าเที่ยงเป็นต้น นิปุณํ ละเอียด คมฺภีรํ ลึกซึ้ง ทุทฺทสํ ไม่อาจจะเห็นได้ง่าย อณุํ ละเอียดลออ,  เมื่อไม่เห็นอย่างนี้ ใครจะสามารถให้เขาได้รู้ธรรมตามความเป็นจริงตามสภาพว่า ไม่เที่ยงเป็นต้นได้เล่า ฯ     
(ปาสราสิสุตฺต ม.มู ๒๘๐

คำอธิบายกัจจายนสูตรที่ ๑๗ ยเมทนฺตสฺสาเทโส

๑๗. ยเมทนฺตสฺสาเทโส
ความประสงค์
         เออันเป็นสระท้ายของบทจะถูกแปลงเป็น ย ในกรณี เอ เป็นสระตัวสุดท้ายของบท ๕ บทเหล่านี้ คือ เต เม เจ เก ปพฺพเต. นอกจากนี้ ไม่อาจทำได้ เช่น เนนาคตา. 
อุทาหรณ์
         อธิคโต โข มฺยายํ ตั้งบทว่า ยํ
         ๑. แยกพยัญชนะออกจากสระ ด้วยสูตรว่า ปุพฺพมโธ = มฺเอ + อยํ
         ๒. ย อักษร เป็นตัวเปลี่ยนของ เอ ด้วยสูตรนี้ = มฺยฺ + อยํ
         ๓. เพราะพยัญชนะ ย ที่ ยํ ข้างหลัง ทีฆะสระหน้า คือ อ ที่ อยํ ด้วยสูตรว่า ทีฆํ ในพยัญชนสนธิ = มฺยฺ + อายํ
         ๔. นำพยัญชนะประกอบสระหลังด้วยสูตรว่า นเย ปรํ ยุตฺเต = มฺยายํ
         อุทาหรณ์ว่า ตฺยาหํ [หํ] เอวํ วเทยฺยํ,  ตฺยาสฺส [สฺส] ปหีนา โหนฺติฯ ก็ทำตัวรูปตามนี้

อธิบายตัวสูตร, วุตติและอุทาหรณ์
ตัวสูตร
            สูตรนี้มีที่มาอย่างนี้ คือ เมื่อตัดบทว่า เม อยํ ดังนี้แล้ว ในสูตรว่า สรา สเร โลปํท่านกล่าวว่า การลบสระหน้า ย่อมมี เพราะมีสระหลัง, ถ้าเป็นอย่างนั้น สระหน้าทั้งหมด ย่อมเป็นอันลบไปเพราะสระหลังทั้งหมดหรือไร, ท่านอาจารย์กัจจายนะจึงแสดงสูตรนี้ไว้ เพื่อแสดงว่า สระหน้าทั้งปวง จะเป็นอันลบไปเพราะสระหลังทั้งปวงก็หามิได้.  โดยที่แท้แล้ว ในเพราะสระหลัง แม้เอ ที่เป็นสระหน้า ถูกเปลี่ยนเป็น ย ได้ เช่นกัน
         สูตรนี้กล่าวไว้ เพื่อแสดงว่า เพราะสระหลัง ย เป็นอาเทส แห่ง เอ ที่เป็นสระที่สุดของบทหน้า ย่อมมีในบางอุทาหรณ์.
         สูตรนี้มี ๓ บท คือ ยํ,  เอทนฺตสฺส,  อาเทโส. 
         บทว่า ยํ เป็น การิยะ.
         บทว่า เอทนฺตสฺส เป็น การีที่เป็นฉัฏฐีวิภัตติเล็งเอาอาเทส หมายความว่า บทนี้ ต้องแปลเข้ากับบทว่า ยํ ซึ่งเป็นอาเทส ว่า อาเทส แห่งเอ.
         บทว่า  อาเทโส เป็นวิเสสนะของบทว่า ยํ .
         สูตรนี้แปลว่า สเร ในเพราะสระ ปเร ข้างหลัง ยํ = ย อิติ รูปํ ยรูป อาเทโส เป็นอาเทศ  เอทนฺตสฺส  [=เอการสฺส ปทนฺตภูตสฺส] แห่งเออันเป็นที่สุดแห่งบท กฺวจิ ในบางอุทาหรณ์ โหติ ย่อมเป็น.  
         อาเทส หมายถึง ตัวที่ถูกกล่าวในตำแหน่งแห่งอาเทสี.  ในที่นี้ อาเทส คือ ย ส่วนอาเทสี คือ เอ.
         วิ. อาเทสิฏฺฅาเน ทิสฺสตีติ อาเทโส. อักษรที่ถูกแสดงในตำแหน่งแห่งอาเทสี.       [อา + ทิสี อุจฺจารณ กล่าว + ณ ปัจจัยกัมมสาธนะ] 
         อีกนัยหนึ่ง อุป อาคมฺม เทสียติ อุจฺจารียตีติ อาเทส. อักษรอันบุคคลย่อมแสดงโดยเข้าถึง หมายความว่า เข้าถึงที่อักษรเดิม.
         เรื่องนี้ พึงทราบว่า อาเทส เป็นการกลมกลืนเสียงที่เกิดจากการเชื่อมคำ โดยเปลี่ยนอักษรเดิมให้เป็นอักษรใหม่ เหมือนศัตรูที่ปราบข้าศึกของตนแล้ว ย่อมเข้าครอบครองที่อยู่ของเขา ส่วนอาคม คือ การแทรกเสียงเข้าไปในตำแหน่งที่ไม่เคยมีเสียงนั้นอยู่ เหมือนมิตรที่มาเยี่ยมหา.
         อนฺต ส่วนประกอบ วิ. อมติ อวยวภาเวน ปวตฺตตีติ อนฺโต  สิ่งที่เป็นไปโดยความเป็นอวัยวะ [อม คติ ไป+ต ปัจจัย ในกัตตุสาธนะ]. ในที่นี้ หมายถึง อักษรที่สุดแห่งบท ได้แก่ อักษรตัวสุดท้ายของบทหน้า
         เอทนฺต หมายถึง เอ อันเป็นอักษรที่สุด. วิ. อนฺโต จ โส เอ จาติ เอทนฺโต. เอ ด้วย เอ นั้น เป็นอักษรที่สุดด้วย ชื่อว่า เอทนฺต เออันเป็นอักษรที่สุด.  (กัมมธารยสมาส)ในที่นี้ ได้แก่ เอ อักษรท้ายบทเหล่านี้ คือ เต เม เก เจ ปพฺพเต เท่านั้น.
         อักษร ในบทว่า เอทนฺต นี้ เป็นอักษรอาคมลงมาเพื่อเลี่ยงโทษคือการปนกันระหว่างสระ ๒ ตัว คือ เอ และ อ.  
         ถามว่า ควรกล่าวว่า โย เอทนฺตสฺสาเทโส ดังนี้มิใช่หรือ เพราะมองหาอาเทศ, เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าว ยเมทนฺตสฺสาเทโส.
         ตอบว่า จริง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ เพื่อออกเสียงได้สะดวก.
         หมายความว่า ในตัวสูตรน่าจะกล่าวว่า โย เพราะมองหาบทวิเสสนะว่า            อาเทโส ซึ่งเป็นปุงลิงค์ จึงควรใช้ลิงค์ให้เสมอกัน. ไม่ควรจะกล่าวว่า ยํ ซึ่งเป็นนปุงสกลิงค์. ซึ่งก็ควรเป็นอย่างนั้น แต่เพื่อให้การสวดสาธยายสูตรเป็นไปอย่างสะดวก จึงเปลี่ยนเป็น ยํ นปุงสกลิงค์. ด้วยเหตุนี้ บทว่า ยํ ควรเพิ่มคำว่า รูปํ หรือ วจนํ เป็น ยํ วจนํ คำว่า ย, ยํ รูปํ รูป ว่า ย. แล้วประกอบความว่า ยํ วจนํ อาเทโส โหติ, หรือ ยํ รูปํ อาเทโส โหติ. คำว่า ย , หรือ รูปว่า ย เป็นอาเทศ (ของเออันเป็นที่สุดแห่งบท) ย่อมเป็น.
         อีกนัยหนึ่ง
         ถาม เมื่อกล่าวเพียงว่า ยเมการสฺสาเทโส ก็เป็นอันรู้ได้แล้วว่า เป็นอาเทศของ เอ เหตุไร จึงกล่าวเพิ่มว่า อนฺตสฺส.
            ตอบ อันนี้เพื่อให้รู้ได้ว่า เพราะ อ ข้างหลัง ยอักษรจะเป็นอาเทศได้ ตามสูตรนี้ ก็เฉพาะของศัพท์ที่มี เต เม ปพฺพเต เก เจ เป็นที่สุดเป็นต้นเท่านั้น ดังอุทาหรณ์ว่า ตฺยาสฺส (เต อสฺส), มฺยายํ (เม อยํ), ปพฺพตฺยาหํ (ปพฺพหํ) คนฺธมาทเน, กฺยาหํ (หํ), ยถานามํ ตถา จฺยสฺส (สฺส) .
         หมายความว่า กล่าวเพียง ยเมการสฺสาเทโส ก็น่าจะพอแล้ว. แต่ท่านกล่าวบทว่า อนฺตสฺส เข้ามาเพื่อให้ทราบความเพิ่มขึ้นอีกว่า เอ ที่จะถูกแทนที่ด้วย ย จะต้องเป็น เอ ท้ายบทว่า เต เม ปพฺพเต เก เจ เท่านั้น ตามอุทาหรณ์เหล่านั้น.
         คัมภีร์ปทรูปสิทธิ กล่าวว่า ย เป็นอาเทส แม้แห่ง เอ ที่เป็นที่สุดแห่งบทว่า เย.   ในเรื่องนี้ ควรทราบว่า บทที่ประกอบด้วย ย สังโยคว่า ยฺย แล้วสำเร็จรูปเป็น ยฺยสฺส ไม่มาในพระบาฬี เพราะออกเสียงไม่ต่างกัน เช่นในอุทาหรณ์ว่า อุยฺยานํ.   (ยฺยสฺส ตัดบทเป็น เย อสฺส เมื่อสำเร็จรูปตามนัยของคัมภีร์ปทรูปสิทธิจะเป็น ยฺยสฺส ข้อนี้ไม่ควรมี เพราะยอักษรสองตัว ออกเสียงเป็น ย ตัวเดียว เช่น อุยฺยานํ ออกเสียงว่า อุย - ยา นัง. ซึ่งต่างจากสังโยคอื่นอาจออกเสียงให้ต่างกันได้ คือ ออกเสียงกล้ำเช่น ทฺย เป็นต้น).           มีแต่ที่เป็นวิสัญโยค (คือ ไม่มีรูปเป็น ยฺยสฺส มีแต่ ยสฺส ที่มาจาก เย อสฺส เป็นต้น). เพราะในสุตบท (พระบาฬี) ที่อาจมีรูปเป็น ยฺย ทุกบทนั้น มีแต่รูปที่ไม่มีสังโยคเท่านั้นว่า ยสฺส (เย อสฺส) วิปฺปฏิสารชาติ จ, ยสฺสุ (เย อสฺสุ) มฃฺฃามิ  สมเณติ จ, อฃฺฃํ อิโต ยาภิวทนฺติ (เย อภิวทนฺติ) ธมฺมํ. (กัจจายนัตถทีปนี และ สัททนีติ สุตตมาลา สูตร ๔๓)
         กฺวจิ ตามมาจากสูตรว่า กฺวจาสวณฺณํ ลุตฺเต แสดงว่า อาเทศย นี้มีได้ในบางอุทาหรณ์.
         สเร ปเร ตามมาจากสูตรว่า สรา สเร โลปํ และ วา ปโร อสรูปา ตามลำดับ.

วุตติ
         เอการสฺส อนฺตภูตสฺส มีความประสงค์ดังนี้คือ
         ๑)  เพราะในตัวสูตรท่านกล่าวบทว่า เอทนฺตสฺส โดยไม่แยกแยะว่า เป็นสมาสใดระหว่างกัมมธารยสมาสหรือพหุพพีหิสมาส   ดังนั้น หากคิดว่า บทว่า เอทนฺต นี้เป็นพหุพพีหิสมาสว่า เอ อนฺโต ยสฺสาติ เอทนฺโต. เอ เป็นที่สุดของศัพท์ใด ศัพท์นั้นชื่อว่า เอทนฺโต มีเอเป็นที่สุด ด้วยเหตุนี้ เอทนฺต จึงหมายถึง ม ไม่ใช่ เอ เพราะพหุพพีหิสมาสมีอัญญปทัตถเป็นประธาน. 
          ถ้าจะถือเอาเป็นพหุพพีหิสมาสแล้ว อุทาหรณ์ว่า มฺยายํ เป็นต้น เมื่อตัดบทเป็น เม อยํ แล้ว ครั้นแยกพยัญชนะออกจากสระเป็น มฺเอ แล้ว ม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ บทว่า เม  เนื่องจากการตีความจากสมาสที่ว่า บทที่มีเอเป็นที่สุด ซึ่งหมายถึง มฺ เป็น ย ได้เช่นกัน  เพราะมีสระหลังคือเอเป็นนิมิต  เมื่อเป็นดังนี้ ท่านจึงกล่าวว่า เอการสฺส อนฺตภูตสฺส เอที่เป็นที่สุดบท เพื่อกำหนดให้เอเท่านั้นจะถูกแปลงเป็น ย โดยเป็นหลักการของสูตรเพื่อสำเร็จรูปว่า เอ ตาลุชะ เท่านั้น มี ยเป็นอาเทส เพราะ ย เป็นตาลุชะ โดยประสงค์ว่า บทว่า เอทนฺต นี้เป็นกัมมธารยสมาสว่า อนฺโต จ โส เอ จาติ เอทนฺโต ก็จะได้ความหมายดังที่ประสงค์.
         ๒) คำว่า เอการสฺส แสดงว่า  บทว่า เอ ในตัวสูตร มาจาก เอการ (เอ + การปัจจัย) แต่แสดงไว้โดยลบการปัจจัยไป เหลือเพียง เอ
         สเร ปเร เป็นบทที่ตามมาจากสูตรก่อนสู่สูตรนี้ โดยทำ สร ศัพท์ จากสูตรว่า สรา สเร โลปํ และ ปร ศัพท์ จากสูตรว่า วา ปโร อสรูปา ให้มีเนื้อความเชื่อมโยงกันดังนี้ สเร สระ ปเร ข้างหลัง. 
         กฺวจิ ถูกกล่าวไว้เนื่องด้วยเป็นบทที่ตามมา โดยประสงค์ว่า ในอุทาหรณ์ว่า เนนาคตา เป็นต้น เมื่อเอเป็นที่สุดบทและสระหลังคือ อ มีอยู่ ยอาเทส ก็มีไม่ได้ ตามสูตรนี้ เพราะกฺวจิศัพท์ห้ามไว้.
         อนฺตภูโต =  อนฺโต หุตฺวา ภูโต อนฺตภูโต แปลว่า (เออักษร) เป็นที่สุด
         ยการาเทโส = ย เอว ยกาโร ลงการปัจจัยในอรรถสกัตะ.  ยกาโร เอว อาเทโส  ย นั่นแหละ เป็นอาเทศ เรียกว่า ยอาเทส ยเป็นอาเทศ.

อุทาหรณ์
         อธิคโต โข ธมฺโม มฺยายํ (เม อยํ)
         วิธีการสำเร็จรูป
         วิธีการสำเร็จรูปที่แสดงไว้ในตัวสูตรนั้น โดยนัยที่มาในคัมภีร์นยาสะ.  แต่ยังมีอีกแนวคิดอื่นอีกดังนี้ ความเป็นทีฆะของบทว่า อยํ ควรสำเร็จได้ด้วยสูตรว่า ทีฆํ ในสรสนธินี้แหละ กรณีนี้หมายความว่า อ ที่ ย เป็นนิมิตให้ทีฆะ, หรือไม่ก็ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุฯ เนื่องจาก ย ข้างหลัง (ที่ อยํ) เป็นบทเดียวกับ อ จึงไม่ควรเป็นนิมิตให้ทีฆะโดยสูตรว่า ทีฆํ ในพยัญชนสนธิ. แต่อย่างไรก็ดี วิธีสำเร็จรูปที่มาในคัมภีร์นยาสะดีกว่า เพราะในอุทาหรณ์ว่า ปจฺจโย ปติ + อิ (ปตฺย ปจฺจ) แสดงความเป็น จฺจ ของ จ ข้างหลัง โดยการได้นิมิตตัวหน้า ในบทเดียวกันนั่นแหละ
        

         อุทาหรณ์ว่า เนนาคตา รูปนี้ไม่สำเร็จตามสูตรนี้ เพราะ กฺวจิ ศัพท์ห้ามไว้
         เนนาคตา ตัดบทว่า เน อนาคตา
         ๑) แยกพยัญชนะออกจากสระ ด้วยสูตรว่า ปุพฺพมโธ ฯ = นฺเ อนาคตา
         และเมื่อ ย จะเป็นอาเทสของ เอ  ด้วยสูตรนี้
         ๒) ลบสระหลังท้ายสระหน้า ด้วยสูตรว่า วา ปโร อสรูปา = นฺเ นาคตา
         ๓) นำพยัญชนะประกอบ ด้วยสูตรว่า นเย ปรํ ยุตฺเต = เนนาคตา
         อุทาหรณ์ว่า เนตฺถ ตัดบทว่า เน เอตฺถ
         ๑) แยกพยัญชนะออกจากสระ ด้วยสูตรว่า ปุพฺพมโธ ฯ = นฺเ เอตฺถ
         และเมื่อ ย จะเป็นอาเทสของ เอ  ด้วยสูตรนี้
         ๒) ลบสระหลังท้ายสระหน้า ด้วยสูตรว่า วา ปโร อสรูปา = นฺเ ตฺถ

         ๓) นำพยัญชนะประกอบ ด้วยสูตรว่า นเย ปรํ ยุตฺเต = เนตฺถ

กัจจายนไวยากรณ์แปล สูตรที่ ๑๗ ยเมทนฺตสฺสาเทโส

๑๗, ๑๙. ยเมทนฺตสฺสาเทโส
สเร ในเพราะสระ ปเร ข้างหลัง ยํ = ย อิติ รูปํ ยรูป อาเทโส เป็นอาเทศ (ตัวที่ถูกกล่าวในตำแหน่งแห่งอาเทสี ในที่นี้คือ เอ) เอทนฺตสฺส  [=เอการสฺส ปทนฺตภูตสฺส] แห่งเออันเป็นที่สุดแห่งบท กฺวจิ ในบางอุทาหรณ์ โหติ ย่อมเป็น.[1]
เอการสฺส อนฺตภูตสฺส สเร ปเร กฺวจิ การาเทโส โหติฯ
สเร ในเพราะสระ ปเร อันตั้งอยู่ข้างหลัง ยการาเทโส อ.อาเทสคือยอักษร เอการสฺส แห่งเอ อนฺตภูตสฺส อันเป็นที่สุดแห่งบท โหติ ย่อมมี กฺวจิ ในบางอุทาหรณ์

อธิคโต โข มฺยายํ ธมฺโม, ตฺยาหํ เอวํ วเทยฺยํ, ตฺยาสฺส ปหีนา โหนฺติฯ
 [อุทาหรณานิ อ.อุทาหรณ์ท. สิชฺฌนฺติ ย่อมสำเร็จ เอวํ อย่างนี้ อิติ คือ]
อธิคโต โข มฺยายํ อธิคโต โข มฺยายํ [เม อยํ], ตฺยาหํ เอวํ วเทยฺยํ,ตฺยาหํ [เต อหํ] เอวํ วเทยฺยํ, ตฺยาสฺส  ปหีนา โหนฺติ ตฺยาสฺส [เต อสฺส] ปหีนา โหนฺติฯ

กฺวจีติ กสฺมา? เนนาคตา, อิติ เนตฺถฯ
[โภ อาจริย ข้าแต่ท่านอาจารย์ผู้เจริญ] กฺวจิ อิติ ปทํ บทว่า กฺวจิ ในบางแห่ง                 [อาจริเยน ตยา อันท่าน ผู้อาจารย์ วุตฺตํ กล่าวไว้] กสฺมา เพราะเหตุไร?
[กฺวิจิ อิติ ปทํ บทว่า กฺวจิ มยา อันเรา วุตฺตํ กล่าวไว้ ฃาปนตฺถํ เพื่อให้ทราบ อิติ ว่า ปโยเคสุ ในตัวอย่างการใช้ ท. ว่า เนนาคตา เนนาคตา [เน อนาคตา], อิติ เนตฺถ อิติ เนตฺถ [น เอตฺถ] ปรสฺสรอนฺตภูตเอกาเร เมื่อสระหลังและเออักษรอันเป็นที่สุดแห่งบท สติปิ แม้มีอยู่ ยการาเทโส อ.อาเทศคือยอักษร น โหติ ย่อมไม่มี อิมินา สุตฺเตน ด้วยสูตรนี้   นิวาริตตตฺตา เพราะความที่ - ยการาเทสสฺส แห่งอาเทศคือยรูป  กฺวจิสทฺเทน อันกฺวจิศัพท์ -ห้ามไว้


[1]อีกนัยหนึ่ง สเร ในเพราะสระ ปเร อันตั้งอยู่ข้างหลัง อาเทโส อ.อาเทศ ยํ  [= ยํ อิติ รูปํ] คือ รูปว่า ย เอการสฺส แห่ง เอ อนฺตภูตสฺส อันเป็นที่สุดแห่งบท โหติ ย่อมมี กฺวจิ ในบางอุทาหรณ์.

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มิลินทปัญหา (๒) - โยนิโสมนสิการปัญหา

๗. โยนิโสมนสิการปฃฺโห
ปัญหาเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, โย น ปฏิสนฺทหติ, นนุ โส โยนิโส มนสิกาเรน น ปฏิสนฺทหตี’’ติ?
๗. ราชา พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน  ภนฺเต ผู้เจริญ, โย ปุคฺคโล บุคคลใด    น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ, โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น  น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ โยนิโส มนสิกาเรน เพราะโยนิโสมนสิการ นนุ ละหรือ ?" ดังนี้.
‘‘โยนิโส จ มหาราช, มนสิกาเรน ปฃฺฃาย จ อฃฺเฃหิ จ กุสเลหิ ธมฺเมหี’’ติฯ
เถโร พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น   น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ  โยนิโส  มนสิกาเรน จ เพราะโยนิโสมนสิการ ด้วย ปฃฺฃาย จ เพราะปัญญาด้วย ธมฺเมหิ ด้วยธรรมท. กุสเลหิ อันเป็นกุศล  อฃฺเฃหิ  เหล่าอื่น ด้วยดังนี้.[๑]
‘‘นนุ, ภนฺเต, โยนิโส มนสิกาโรเยว ปฃฺฃา’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยนิโส   มนสิกาโร โยนิโสมนสิการ เอว นั่นเทียว ปฃฺฃา เป็นปัญญา โหติ ย่อมเป็น นนุ  หรือ ?” ดังนี้.[๒]
‘‘น หิ, มหาราช, อฃฺโฃ มนสิกาโร, อฃฺฃา ปฃฺฃา, อิเมสํ โข, มหาราช, อเชฬกโคณมหึสโอฏฺฅคทฺรภานมฺปิ มนสิกาโร อตฺถิ, ปฃฺฃา ปน เตสํ นตฺถี’’ติฯ
เถโร พระเถระ อโวจ ได้ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร หิ ก็ โยนิโส มนสิกาโร  โยนิโสมนสิการ เอว นั่นเทียว ปฃฺฃา เป็นปัญญา โหติ ย่อมเป็น หามิได้,[๓] มนสิกาโร มนสิการ อฃฺโฃ เป็นอย่างอื่น,    ปฃฺฃา ปัญญา อฃฺฃา เป็นอย่างอื่น โหติ ย่อมเป็น, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร มนสิกาโร มนสิการ อตฺถิ ย่อมมี อเชฬกโคณมหึสโอฏฺฅคทฺรภานํปิ แม้แก่แกะ โค กระบือ อูฐ ลาท. อิเมสํ เหล่านี้ โข แล, ปน แต่ว่า  ปฃฺฃา ปัญญา นตฺถิ ย่อมไม่มี เตสํ ติรจฺฉานานํ แก่ดิรัจฉานเหล่านั้น” ดังนี้.[๔]
‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต  นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ ตฺวํ อ.ท่าน กลฺโล เป็นผู้ฉลาดเฉลียว อสิ ย่อมเป็นดังนี้



[๑] พระเจ้ามิลินท์สอบถามสืบต่อจากปัญหาที่แล้วว่า ผู้ที่ไม่ปฏิสนธิ จักมีเพราะโยนิโสมนสิการ โดยสำคัญว่า ธรรมอันเป็นเหตุไม่ปฏิสนธิ ได้แก่ โยนิโสมนสิการเท่านั้น. พระนาคเสนเถระอธิบายว่า โยนิโสมนสิการเป็นส่วนหนึ่ง อันที่จริงยังมีธรรมหลายประการ อาทิ ปัญญาและกุศลธรรมอื่นๆอันได้แก่ ศีลเป็นต้น ที่จะได้วิสัชชนาในปัญหาลำดับถัดจากนี้.
[๒] โยนิโสมนสิการ  ซึ่งพระเจ้ามิลินท์ยกมาเทียบกับปัญญา ในที่นี้ มีความหมายว่า การกระทำเข้าไว้ในใจ หรือ การใส่ใจต่ออารมณ์นั้นโดยถูกทาง ว่า ไม่งามเป็นต้น ในสิ่งที่ไม่งามเป็นต้น คือโดยเป็นเหตุให้เกิดกุศลมีปัญญาเป็นต้นได้ ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ (โยนิโส  โดยอุบาย,โดยเหตุหรือโดยถูกต้อง + มนสิการ การตั้งในใจ) ได้แก่ ปัญญาที่รู้แค่ท่องจำได้และตรึกตรอง (อุคฺคหมนสิการชานนกปฃฺฃา), ปัญญาชนิดนี้ มิใช่วิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา ที่ประสงค์เอาในที่นี้.
แต่พระเจ้ามิลินท์ถือเอาโยนิโสมนสิการ ที่เป็นเพียงการรู้โดยการท่องจำได้เป็นต้น ซึ่งคล้ายคลึงกับปัญญา  ว่าเป็นปัญญา โดยอาการ ๕ ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สทฺธารุจิอนุสฺสวอาการปริวิตกฺกทิฏฺฅินิชฺฌานกฺขนฺติเป็นต้น ความว่า สิ่งที่ถือเอาด้วยความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม การคิดตรึกตรอง ความรู้อันเกิดแต่การคิด อาจไม่มีจริงบ้าง แต่สิ่งที่ไม่ถือเอาด้วยอาการดังกล่าวอาจมีจริงบ้าง จึงไม่ควรถือสิ่งต่างๆ ด้วยอาการดังกล่าวว่า นี่เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า (จังกีสูตร ม.ม.๑๓/๔๒๘).  พระเจ้ามิลินท์ทรงตั้งปัญหานี้ไว้ เพื่อจะให้พระเถระวินิจฉัย.
[๓] พระเถระปฏิเสธว่า โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ปัญญา ดังนี้.  ก็โยนิโสมนสิการนี้ แม้จะมิได้เป็นปัญญาก็ตาม  แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดปัญญา ดังพระบาฬีอังคุตรนิกาย เอกกนิบาตว่า  นาหํ ภิกฺขเว อฃฺฃํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสามิ, เยน อนุปฺปนฺนา วา สมฺมาทิฏฺฅิ อุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนา วา สมฺมาทิฏฺฅิ ปวฑฺเฒติ, ยถยิทํ ภิกฺขเว โยนิโส มนสิกาโร.   ภิกษุท. เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้สักอย่างเดียว ที่เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น, หรือสัมมาทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้วได้เจริญขึ้น เหมือนอย่างโยนิโสมนสิการนี้นะภิกษุท. (ในพระบาฬีนี้ สัมมาทิฏฐิได้แก่ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิและมัคคสัมมาทิฏฐิ).และในคัมภีร์เปฏโกปเทสว่า  ทุเว เหตู ทุเว ปจฺจยา สาวกสฺส สมฺมาทิฏฺฐิยา อุปฺปาทาย ปรโต จ โฆโส   สจฺจานุสนฺธิ, อชฺฌตฺตญฺจ โยนิโส มนสิกาโร เป็นต้น ความว่า การเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ของสาวกมีปัจจัย๒ คือ ปรโตโฆสะ คือ เสียงเทสนา อันคล้อยตามสัจจะ จากผู้อื่นเป็นปัจจัยแก่สุตตมยีปัญญาและโยนิโสมนสิการเป็นภายใน เป็นปัจจัยแก่จินตามยีปัญญา (เปฏ. ๑).
ในบรรดาเหตุ ๒ ประการนั้น ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น) เป็นอย่างไร? ได้แก่ เทสนา โอวาท คำพร่ำสอน กถาว่าด้วยสัจจะ การเทศนาสัจจะ จากผู้อื่น. สัจจะมี ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค. คำแสดง คำชี้แจง คำไข คำอธิบาย การทำให้ตื้น การประกาศ ซึ่งสัจจะ ๔ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ปรโต โฆสะ เสียงจากผู้อื่นโยนิโสมนสิการอันเป็นภายใน เป็นอย่างไร? การไม่นำไปสู่อารมณ์ภายนอกแล้วกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในธรรมที่พระพุทธองค์แสดงแล้ว ชื่อว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย อันเป็นภายใน. อาการของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น ได้แก่ ช่องทาง,  วิธี หรืออุบาย. เปรียบเหมือนบุรุษ สีท่อนไม้แห้ง ปราศจากความชุ่มชื้น ด้วยไม้สีไฟอันแห้ง บนบก ก็ควรที่จะได้ไฟมา,  การที่บุรุษสีไม้แห้งด้วยไม้สีไฟที่แห้งอยู่บนบกเป็นเหตุแห่งการได้มาซึ่งไฟโดยถูกวิธี ฉันใด, พระสาวก  ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเทศนาอันไม่วิปริตต่อทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค , การกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเทศนานั้นของพระสาวกนั้น ก็ย่อมเป็นเหตุแห่งการบรรลุ ก็ฉันนั้น, นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ.
ปัญญาที่เกิดเพราะเสียงเทศนาจากผู้อื่น เรียกว่า สุตตมยีปัญญา ปัญญาที่มีสุตตะ (เสียงเทสนาอันคล้อยตามสัจจะ) เป็นปัจจัย, ปัญญาที่เกิดเพราะโยนิโสมนสิการภายใน เรียกว่า จินตามยีปัญญา ปัญญาที่มีการคิดใคร่ครวญเป็นปัจจัย.
[๔] พระเถระ กล่าวข้อความนี้ไว้ เพื่อแสดงว่า ใช่ว่ามนุษย์เท่านั้น จะมีโยนิโสมนสิการ กระทั่งดิรัจฉานก็สามารถมีได้ แต่จะมีวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญาหาได้ไม่ เรื่องนี้มีนกแขกเต้าที่มาในอรรถกถามหาสติปัฏฐานเป็นสาธก ดังต่อไปนี้    
นักฟ้อนรำผู้หนึ่ง   จับลูกนกแขกเต้าได้ตัวหนึ่ง   ฝึกสอนมันพูดภาษาคนแล้วตัวเองเที่ยวไปแสดงการฟ้อนรำในที่อื่น. นักฟ้อนรำผู้นั้น อาศัยสำนักของนางภิกษุณีอยู่ เวลาไปในที่อื่นๆ ลืมลูกนกแขกเต้าเสียสนิทแล้วไป.   เหล่าสามเณรีก็จับมันมาเลี้ยงตั้งชื่อมันว่า  พุทธรักขิต. วันหนึ่ง พระมหาเถรี เห็นมันจับอยู่ตรงหน้า   จึงเรียกมันว่า  พุทธรักขิต.  ลูกนกแขกเต้าจึงขานถามว่า อะไรจ๊ะ แม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงถามว่า  การใส่ใจภาวนาอะไร ๆ ของเจ้ามีบ้างไหม.  มันตอบว่า ไม่มีจ๊ะแม่เจ้า.  พระมหาเถรีจึงสอนว่า  ขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ในสำนักของพวกนักบวช   จะปล่อยตัวอยู่ไม่สมควร    ควรปรารถนาการใส่ใจบางอย่าง  แต่เจ้าไม่ต้องสำเหนียกอย่างอื่นดอก  จงท่องว่า   อัฏฐิ   อัฏฐิ ก็พอ.  ลูกนกแขกเต้านั้น  ก็อยู่ในโอวาทของพระเถรี ท่องว่า อัฏฐิ   อัฏฐิ  อย่างเดียวแล้วเที่ยวไป. วันหนึ่ง  ตอนเช้ามันจับอยู่ที่ยอดประตู  ผึ่งแดดอ่อนอยู่  แม่เหยี่ยวตัวหนึ่งก็เฉี่ยวมันไปด้วยกรงเล็บ.   มันส่งเสียงร้อง กิริ ๆ. เหล่าสามเณรี  ก็ร้องว่า "แม่เจ้า !พุทธรักขิตถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป  เราจะช่วยมัน"  ต่างคว้าก้อนดินเป็นต้น   ไล่ตามจนเหยี่ยวปล่อย.    เหล่าสามเณรีนำมันมาวางไว้ตรงหน้าพระมหาเถรี ๆ ถามว่า "พุทธรักขิตขณะถูกเหยี่ยวจับไปเจ้าคิดอย่างไร?".    ลูกนกแขกเต้าตอบว่า  "แม่เจ้า ไม่คิดอะไรๆ ดอก  คิดแต่เรื่องกองกระดูกเท่านั้นจ๊ะ แม่เจ้า ว่า กองกระดูกพากองกระดูกไป จักเรี่ยราดอยู่ในที่ไหนหนอ?".  พระมหาเถรี  จึงให้สาธุการว่า "สาธุ สาธุ พุทธรักขิต ! นั้นจักเป็นปัจจัยแห่งความสิ้นภพของเจ้า   ในกาลภายภาคหน้าแล".     
จะเห็นได้ว่า แม้ดิรัจฉานสามารถมนสิการกรรมฐานจนรู้ได้ว่า "นี้กระดูกๆ" เพียงเท่านี้ แต่จะทำให้สืบต่อจนถึงวิปัสสนาเป็นต้นนั้นไม่ได้เลย. พึงทราบว่า สำหรับดิรัจฉานทั้งหลายนั้น แม้ท่านจะกล่าวว่า ไม่มีปัญญา ก็ไม่ได้หมายเอาปัญญาทุกอย่าง แต่หมายเอาเฉพาะวิปัสสนาปัญญาและมัคคปัญญา เท่านั้น เพราะว่าปัญญาที่ต่ำกว่านั้น สัตว์เดรัจฉาน ก็สามารถทำให้เกิดได้ด้วยอาศัยโยนิโสมนสิการที่มีได้นั้นเป็นปัจจัย.