วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มิลินทปัญหา (๒) - โยนิโสมนสิการปัญหา

๗. โยนิโสมนสิการปฃฺโห
ปัญหาเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, โย น ปฏิสนฺทหติ, นนุ โส โยนิโส มนสิกาเรน น ปฏิสนฺทหตี’’ติ?
๗. ราชา พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน  ภนฺเต ผู้เจริญ, โย ปุคฺคโล บุคคลใด    น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ, โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น  น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ โยนิโส มนสิกาเรน เพราะโยนิโสมนสิการ นนุ ละหรือ ?" ดังนี้.
‘‘โยนิโส จ มหาราช, มนสิกาเรน ปฃฺฃาย จ อฃฺเฃหิ จ กุสเลหิ ธมฺเมหี’’ติฯ
เถโร พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น   น ปฏิสนฺทหติ ย่อมไม่ปฏิสนธิ  โยนิโส  มนสิกาเรน จ เพราะโยนิโสมนสิการ ด้วย ปฃฺฃาย จ เพราะปัญญาด้วย ธมฺเมหิ ด้วยธรรมท. กุสเลหิ อันเป็นกุศล  อฃฺเฃหิ  เหล่าอื่น ด้วยดังนี้.[๑]
‘‘นนุ, ภนฺเต, โยนิโส มนสิกาโรเยว ปฃฺฃา’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยนิโส   มนสิกาโร โยนิโสมนสิการ เอว นั่นเทียว ปฃฺฃา เป็นปัญญา โหติ ย่อมเป็น นนุ  หรือ ?” ดังนี้.[๒]
‘‘น หิ, มหาราช, อฃฺโฃ มนสิกาโร, อฃฺฃา ปฃฺฃา, อิเมสํ โข, มหาราช, อเชฬกโคณมหึสโอฏฺฅคทฺรภานมฺปิ มนสิกาโร อตฺถิ, ปฃฺฃา ปน เตสํ นตฺถี’’ติฯ
เถโร พระเถระ อโวจ ได้ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร หิ ก็ โยนิโส มนสิกาโร  โยนิโสมนสิการ เอว นั่นเทียว ปฃฺฃา เป็นปัญญา โหติ ย่อมเป็น หามิได้,[๓] มนสิกาโร มนสิการ อฃฺโฃ เป็นอย่างอื่น,    ปฃฺฃา ปัญญา อฃฺฃา เป็นอย่างอื่น โหติ ย่อมเป็น, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร มนสิกาโร มนสิการ อตฺถิ ย่อมมี อเชฬกโคณมหึสโอฏฺฅคทฺรภานํปิ แม้แก่แกะ โค กระบือ อูฐ ลาท. อิเมสํ เหล่านี้ โข แล, ปน แต่ว่า  ปฃฺฃา ปัญญา นตฺถิ ย่อมไม่มี เตสํ ติรจฺฉานานํ แก่ดิรัจฉานเหล่านั้น” ดังนี้.[๔]
‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต  นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ ตฺวํ อ.ท่าน กลฺโล เป็นผู้ฉลาดเฉลียว อสิ ย่อมเป็นดังนี้



[๑] พระเจ้ามิลินท์สอบถามสืบต่อจากปัญหาที่แล้วว่า ผู้ที่ไม่ปฏิสนธิ จักมีเพราะโยนิโสมนสิการ โดยสำคัญว่า ธรรมอันเป็นเหตุไม่ปฏิสนธิ ได้แก่ โยนิโสมนสิการเท่านั้น. พระนาคเสนเถระอธิบายว่า โยนิโสมนสิการเป็นส่วนหนึ่ง อันที่จริงยังมีธรรมหลายประการ อาทิ ปัญญาและกุศลธรรมอื่นๆอันได้แก่ ศีลเป็นต้น ที่จะได้วิสัชชนาในปัญหาลำดับถัดจากนี้.
[๒] โยนิโสมนสิการ  ซึ่งพระเจ้ามิลินท์ยกมาเทียบกับปัญญา ในที่นี้ มีความหมายว่า การกระทำเข้าไว้ในใจ หรือ การใส่ใจต่ออารมณ์นั้นโดยถูกทาง ว่า ไม่งามเป็นต้น ในสิ่งที่ไม่งามเป็นต้น คือโดยเป็นเหตุให้เกิดกุศลมีปัญญาเป็นต้นได้ ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ (โยนิโส  โดยอุบาย,โดยเหตุหรือโดยถูกต้อง + มนสิการ การตั้งในใจ) ได้แก่ ปัญญาที่รู้แค่ท่องจำได้และตรึกตรอง (อุคฺคหมนสิการชานนกปฃฺฃา), ปัญญาชนิดนี้ มิใช่วิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา ที่ประสงค์เอาในที่นี้.
แต่พระเจ้ามิลินท์ถือเอาโยนิโสมนสิการ ที่เป็นเพียงการรู้โดยการท่องจำได้เป็นต้น ซึ่งคล้ายคลึงกับปัญญา  ว่าเป็นปัญญา โดยอาการ ๕ ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สทฺธารุจิอนุสฺสวอาการปริวิตกฺกทิฏฺฅินิชฺฌานกฺขนฺติเป็นต้น ความว่า สิ่งที่ถือเอาด้วยความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม การคิดตรึกตรอง ความรู้อันเกิดแต่การคิด อาจไม่มีจริงบ้าง แต่สิ่งที่ไม่ถือเอาด้วยอาการดังกล่าวอาจมีจริงบ้าง จึงไม่ควรถือสิ่งต่างๆ ด้วยอาการดังกล่าวว่า นี่เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า (จังกีสูตร ม.ม.๑๓/๔๒๘).  พระเจ้ามิลินท์ทรงตั้งปัญหานี้ไว้ เพื่อจะให้พระเถระวินิจฉัย.
[๓] พระเถระปฏิเสธว่า โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ปัญญา ดังนี้.  ก็โยนิโสมนสิการนี้ แม้จะมิได้เป็นปัญญาก็ตาม  แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดปัญญา ดังพระบาฬีอังคุตรนิกาย เอกกนิบาตว่า  นาหํ ภิกฺขเว อฃฺฃํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสามิ, เยน อนุปฺปนฺนา วา สมฺมาทิฏฺฅิ อุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนา วา สมฺมาทิฏฺฅิ ปวฑฺเฒติ, ยถยิทํ ภิกฺขเว โยนิโส มนสิกาโร.   ภิกษุท. เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้สักอย่างเดียว ที่เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น, หรือสัมมาทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้วได้เจริญขึ้น เหมือนอย่างโยนิโสมนสิการนี้นะภิกษุท. (ในพระบาฬีนี้ สัมมาทิฏฐิได้แก่ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิและมัคคสัมมาทิฏฐิ).และในคัมภีร์เปฏโกปเทสว่า  ทุเว เหตู ทุเว ปจฺจยา สาวกสฺส สมฺมาทิฏฺฐิยา อุปฺปาทาย ปรโต จ โฆโส   สจฺจานุสนฺธิ, อชฺฌตฺตญฺจ โยนิโส มนสิกาโร เป็นต้น ความว่า การเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ของสาวกมีปัจจัย๒ คือ ปรโตโฆสะ คือ เสียงเทสนา อันคล้อยตามสัจจะ จากผู้อื่นเป็นปัจจัยแก่สุตตมยีปัญญาและโยนิโสมนสิการเป็นภายใน เป็นปัจจัยแก่จินตามยีปัญญา (เปฏ. ๑).
ในบรรดาเหตุ ๒ ประการนั้น ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น) เป็นอย่างไร? ได้แก่ เทสนา โอวาท คำพร่ำสอน กถาว่าด้วยสัจจะ การเทศนาสัจจะ จากผู้อื่น. สัจจะมี ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค. คำแสดง คำชี้แจง คำไข คำอธิบาย การทำให้ตื้น การประกาศ ซึ่งสัจจะ ๔ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ปรโต โฆสะ เสียงจากผู้อื่นโยนิโสมนสิการอันเป็นภายใน เป็นอย่างไร? การไม่นำไปสู่อารมณ์ภายนอกแล้วกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในธรรมที่พระพุทธองค์แสดงแล้ว ชื่อว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย อันเป็นภายใน. อาการของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น ได้แก่ ช่องทาง,  วิธี หรืออุบาย. เปรียบเหมือนบุรุษ สีท่อนไม้แห้ง ปราศจากความชุ่มชื้น ด้วยไม้สีไฟอันแห้ง บนบก ก็ควรที่จะได้ไฟมา,  การที่บุรุษสีไม้แห้งด้วยไม้สีไฟที่แห้งอยู่บนบกเป็นเหตุแห่งการได้มาซึ่งไฟโดยถูกวิธี ฉันใด, พระสาวก  ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเทศนาอันไม่วิปริตต่อทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค , การกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเทศนานั้นของพระสาวกนั้น ก็ย่อมเป็นเหตุแห่งการบรรลุ ก็ฉันนั้น, นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ.
ปัญญาที่เกิดเพราะเสียงเทศนาจากผู้อื่น เรียกว่า สุตตมยีปัญญา ปัญญาที่มีสุตตะ (เสียงเทสนาอันคล้อยตามสัจจะ) เป็นปัจจัย, ปัญญาที่เกิดเพราะโยนิโสมนสิการภายใน เรียกว่า จินตามยีปัญญา ปัญญาที่มีการคิดใคร่ครวญเป็นปัจจัย.
[๔] พระเถระ กล่าวข้อความนี้ไว้ เพื่อแสดงว่า ใช่ว่ามนุษย์เท่านั้น จะมีโยนิโสมนสิการ กระทั่งดิรัจฉานก็สามารถมีได้ แต่จะมีวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญาหาได้ไม่ เรื่องนี้มีนกแขกเต้าที่มาในอรรถกถามหาสติปัฏฐานเป็นสาธก ดังต่อไปนี้    
นักฟ้อนรำผู้หนึ่ง   จับลูกนกแขกเต้าได้ตัวหนึ่ง   ฝึกสอนมันพูดภาษาคนแล้วตัวเองเที่ยวไปแสดงการฟ้อนรำในที่อื่น. นักฟ้อนรำผู้นั้น อาศัยสำนักของนางภิกษุณีอยู่ เวลาไปในที่อื่นๆ ลืมลูกนกแขกเต้าเสียสนิทแล้วไป.   เหล่าสามเณรีก็จับมันมาเลี้ยงตั้งชื่อมันว่า  พุทธรักขิต. วันหนึ่ง พระมหาเถรี เห็นมันจับอยู่ตรงหน้า   จึงเรียกมันว่า  พุทธรักขิต.  ลูกนกแขกเต้าจึงขานถามว่า อะไรจ๊ะ แม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงถามว่า  การใส่ใจภาวนาอะไร ๆ ของเจ้ามีบ้างไหม.  มันตอบว่า ไม่มีจ๊ะแม่เจ้า.  พระมหาเถรีจึงสอนว่า  ขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ในสำนักของพวกนักบวช   จะปล่อยตัวอยู่ไม่สมควร    ควรปรารถนาการใส่ใจบางอย่าง  แต่เจ้าไม่ต้องสำเหนียกอย่างอื่นดอก  จงท่องว่า   อัฏฐิ   อัฏฐิ ก็พอ.  ลูกนกแขกเต้านั้น  ก็อยู่ในโอวาทของพระเถรี ท่องว่า อัฏฐิ   อัฏฐิ  อย่างเดียวแล้วเที่ยวไป. วันหนึ่ง  ตอนเช้ามันจับอยู่ที่ยอดประตู  ผึ่งแดดอ่อนอยู่  แม่เหยี่ยวตัวหนึ่งก็เฉี่ยวมันไปด้วยกรงเล็บ.   มันส่งเสียงร้อง กิริ ๆ. เหล่าสามเณรี  ก็ร้องว่า "แม่เจ้า !พุทธรักขิตถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป  เราจะช่วยมัน"  ต่างคว้าก้อนดินเป็นต้น   ไล่ตามจนเหยี่ยวปล่อย.    เหล่าสามเณรีนำมันมาวางไว้ตรงหน้าพระมหาเถรี ๆ ถามว่า "พุทธรักขิตขณะถูกเหยี่ยวจับไปเจ้าคิดอย่างไร?".    ลูกนกแขกเต้าตอบว่า  "แม่เจ้า ไม่คิดอะไรๆ ดอก  คิดแต่เรื่องกองกระดูกเท่านั้นจ๊ะ แม่เจ้า ว่า กองกระดูกพากองกระดูกไป จักเรี่ยราดอยู่ในที่ไหนหนอ?".  พระมหาเถรี  จึงให้สาธุการว่า "สาธุ สาธุ พุทธรักขิต ! นั้นจักเป็นปัจจัยแห่งความสิ้นภพของเจ้า   ในกาลภายภาคหน้าแล".     
จะเห็นได้ว่า แม้ดิรัจฉานสามารถมนสิการกรรมฐานจนรู้ได้ว่า "นี้กระดูกๆ" เพียงเท่านี้ แต่จะทำให้สืบต่อจนถึงวิปัสสนาเป็นต้นนั้นไม่ได้เลย. พึงทราบว่า สำหรับดิรัจฉานทั้งหลายนั้น แม้ท่านจะกล่าวว่า ไม่มีปัญญา ก็ไม่ได้หมายเอาปัญญาทุกอย่าง แต่หมายเอาเฉพาะวิปัสสนาปัญญาและมัคคปัญญา เท่านั้น เพราะว่าปัญญาที่ต่ำกว่านั้น สัตว์เดรัจฉาน ก็สามารถทำให้เกิดได้ด้วยอาศัยโยนิโสมนสิการที่มีได้นั้นเป็นปัจจัย.  

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทความพิเศษ : ปรมาณูในทางพระพุทธศาสนาคืออะไร

เรื่อง ปรมาณูในทางพระพุทธศาสนาคืออะไร
       เคยเขียนไว้ในเวบไซส์ลานธรรมเสวนา "เรื่องปรมาณู"
http://larndham.net/index.php?showtopic=30642&st=73
           ประเด็นที่ถกเถียงในเวบไซส์นั้น คือ
  •  ท่านผู้หนึ่งเปิดประเด็นว่า เชื้อของมารดา บิดา เป็นกลละ อันเป็นรูปปรมาณู และผลจากการเกิดปฏิสนธิ  ไม่ว่าจะเรียกว่า ไซโกต  หรือ กลลก็ตาม  เท่ากับว่า ในขณะนั้นต้องมี จิต  เจตสิก  และกรรมชรูป  
  • มีผู้ท้วงว่า  นเมื่อ ไซโกต หรือ กลละรูปเอง ขนาดประมาณ0.15มม.... ขนาดเท่านี้ ตาเปล่ามองลำบากครับ แต่ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเห็นแน่ๆ แต่รูปปรมาณูที่กล่าวถึง ขนาดมิติ ประมาณ 10มม. หารด้วย 82300000 คือ ประมาณ .0000001 มม..... ขนาดเท่านี้ ตาเปล่ามองไม่เห็นแน่ๆ และ กล้องจุลทรรศน์ก็มองไม่เห็นเช่นกัน แล้ว กลละรูป จะไปกลายเป็นรูปปรมาณู ที่ทั้งตาเปล่ามองไม่เห็น และ กล้องจุลทรรศน์ก็ส่องไม่เห็นไปได้อย่างไรครับ??? 
     v
            จากกระทู้นี้ พบว่า มีประเด็นหนึ่งที่น่าจะเป็นเงื่อนงำให้คิด คือ ปรมาณู หรือ ที่เรียกว่า รูปปรมาณู นั่นได้แก่อะไร และในทางศาสนาได้นำศัพท์หรือหน่วยวัดนี้มากล่าวถึงหรือไม่ ?
            ก่อนอื่นต้องขอโอกาสเพื่อนๆชาวลานธรรมอย่าได้เห็นว่ากระผมเป็นนักอภิธรรมอะไรๆเลย ความจริง พระอภิธรรมปิฎกก็คงเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระไตรปิฎก ธรรมที่มีในพระอภิธรรมก็มีอยู่ในพระสูตร และที่ปรากฏในพระสูตร ก็มีอยู่ในพระอภิธรรมเหมือนกัน ต่างกันเพียงว่าแสดงไปเพียงคนละนัยเท่านั้น
            เนื่องจากเนื้อหาของกระทู้นี้เป็นไปในฝ่ายแห่งธรรมอันเป็นสภาวธรรม และสภาวธรรมนี้มีกล่าวไว้ในพระอภิธรรมปิฎกเป็นส่วนใหญ่ เพราะในปิฏกนี้ จะแสดงธรรมส่วนนี้ไว้อย่างครบถ้วนเพื่อระบุธรรมที่กำลังเป็นไปในขณะหนึ่งๆ ส่วนพระสุตตันตปิฎก จะมีข้อความเกี่ยวกับรูปธรรมนี้ก็เพียง มหาภูตรูปและอุปทายรูป เท่านั้น เพราะเป็นพระพุทธวจนะที่เน้นไปในทางให้ผู้ฟังปฏิบัติตนตรงต่อกิจที่ควรทำในสภาวะนั้นๆ  ดังนั้น กระผมจึงขอนำธรรมที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาสาธกเพื่อให้เหมาะสมแก่วาระแห่งปรมาณูรูป            
v
            เรื่องปรมาณู นี้พบที่ท่านกล่าวไว้ในปกรณ์สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์ ฌานวิภังค์ไว้ ตอนหนึ่งว่า
             มาตรา  (ประมาณ)    มีดังนี้.
                   ๑.  ชื่อว่า  ปรมาณู                ๒.  ชื่อว่า  อณู
                   ๓.  ชื่อว่า  ตัชชารี                 ๔.  ชื่อว่า  รถเรณู
                   ๕.  ชื่อว่า  ลิกขา                   ๖.  ชื่อว่า  โอกา (อูกา)
                   ๗.  ชื่อว่า  ธัญญมาส             ๘.  ชื่อว่า  อังคุละ
                   ๙.  ชื่อว่า  วิทัตถิ                  ๑๐.  ชื่อว่า  รตนะ
                  ๑๑.  ชื่อว่า  ยัฏฐิ                    ๑๒.  ชื่อว่า  อุสภะ
                  ๑๓.  ชื่อว่า  คาวุต                  ๑๔.  ชื่อว่า  โยชน์
           แปลว่า  บรรดาชื่อเหล่านั้น  ชื่อว่า  ปรมาณู เป็นส่วนแห่งอากาศ(อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้  เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ) ไม่มาสู่คลองแห่งตาเนื้อ  ย่อมมาสู่คลองแห่งทิพยจักษุเท่านั้น.  ชื่อว่า  อณู คือรัศมีแห่งพระอาทิตย์ที่ส่องเข้าไปตามช่องฝา  ช่องลูกดาล  เป็นวงกลม ๆ ด้วยดี ปรากฏ  หมุนไปอยู่.   ชื่อว่า  ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น)  เพราะเจาะที่ทางโค  ทางมนุษย์  และทางล้อแล้วปรากฏพุ่งไปเกาะที่ข้างทั้งสอง. ชื่อว่า  รถเรณู (ละอองรถ)  ย่อมติดอยู่ที่รถนั้น ๆ   นั่นแหละ.   ชื่อว่า  ลิกขา (ไข่เหา)   เป็นต้นปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.
           ก็ในคำเหล่านั้น  พึงทราบประมาณดังนี้ 
๓๖  ปรมาณู                            ประมาณ                      ๑  อณู
๓๖  อณู                                                                       ๑  ตัชชารี
๓๖  ตัชชารี                                                                  ๑  รถเรณู
๓๖  รถเรณู                                                                  ๑  ลิกขา 
๗   ลิกขา                                                                     ๑   โอกา  
๗  โอกา                                                                      ๑  ธัญญมาส
๗  ธัญญมาส                                                               ๑  อังคุละ 
๑๒  อังคุละ                                                                 ๑  วิทัตถิ 
๑๒  วิทัตถิ                                                                   ๑  รัตนะ
๗  รตนะ                                                                     ๑  ยัฏฐิ  
๒๐  ยัฏฐิ                                                                     ๑  อุสภะ  
๘๐  อุสภะ                                                                   ๑  คาวุต
๔  คาวุต                                                                      ๑  โยชน์
๑๐,๐๖๘  โยชน์                                                          ๑  ภูเขาสิเนรุราช.

            ในปกรณ์อภิธานัปปทีปิกาคาถาที่ ๑๙๔ ก็แสดงไว้เช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งฏีกาของปกรณ์นี้อธิบายไว้ว่า
            ๑๙๔-๑๙๖ปรมาณูนํ ฉตฺตึส เอโก อณุ นามอณุโตปิ อณุตรตฺตา ปรโม อณุอณุโต วา ปรโมติ ปรมาณุฯลฯ
            แปลความว่า
            ๓๖ ส่วน ของปรมาณู เป็น ๑ อณู,  ปรมาณู ได้แก่ อณู เพราะเป็นสิ่งที่เล็กที่ยิ่งกว่าอณู หรือ เป็นส่วนที่เหนือกว่าอณูฯ

        และในปกรณ์สังขยาปกาสกะ กล่าวถึงปรมาณู ดังนี้ว่า
            ปรมาณู หมายถึง ละอองที่ละเอียด ควรแก่อารมณ์ ของทิพยจักษุ หาเป็นอารมณ์ของประสาทจักษุไม่ "
        คัมภีร์สังขยาปกาสฏีกาได้วิเคราะห์แยกศัพท์อธิบายเพิ่มเติมว่า "ละออง ใดของทิพยจักษุญาณเป็นละอองที่ละเอียดเล็กเหลือเกิน ไม่ควรแก่ อารมณ์ ของจักษุวิญญาณที่อาศัยอยู่ในประสาทจักษุเลย ธุฬีนั้นชื่อว่า ปรมาณู
       โดยนัยนี้ก็คือ ปรมาณูเป็นสิ่งที่ละเอียดเกินกว่าตามนุษย์จะ มองเห็นได้ เกินว่าวิสัยอินทรีย์ของมนุษย์ ท่านใช้คำว่า "เป็นส่วนเท่า อากาศ" ไม่เป็นอารมณ์ของมังสจักษุ เป็นอารมณ์ของทิพย์จักษุเท่านั้น
            คำว่า "ธุฬี" นั้นหมายถึง "ย่อมไหว" คือ ย่อมฟุ้งด้วยลม ดังนั้น ธุฬีที่ ละเอียดยิ่งกว่าอณู ชื่อว่า "ปรมาณู"
            ข้อพึงสังเกตก็คือ คำและความหมายของหน่วยในส่วนเล็กละเอียดที่สุดแสดงนัย แห่งความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง ไม่คงตัว และเปลี่ยนแปร ไปตามเหตุปัจจัย
            อณู เป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่กว่าปรมาณูด้วยขนาด 36 เท่า
            ตัชชารี ท่านบอกว่า ธุฬีใดยังวัตถุนั้นๆ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของตนให้คร่ำคร่า ด้วยการกระทำที่เศร้าหมอง เรียกว่า "ตัชชารี" ประกอบด้วยคำ "ชร" หมายถึง ความคร่ำคร่า คือธรรมชาติที่นำไปสู่ความเสื่อมวัยหรือที่ เรียกว่า ฝุ่น ขนาดของตัชชารีเท่ากับ 36 อณู
            รถเรณู มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกเป็นลักษณะของละอองฝุ่นที่เกิดจากรถวิ่ง ฝุ่น ละเอียดที่ปลิวไปในขณะรถวิ่งนั้น จึงเรียกว่ารถเรณู มีขนาดเท่ากับ 36 ตัชชารี
            ลิกขา หมายถึง "ไข่เหา" มีขนาด 36 เท่าของรถเรณู เป็นละอองที่เห็นได้แม้ ด้วยปกติจักษุ
            อูกา หรือ โอกา หมายถึง "ตัวเหา" มีขนาดเป็น 7 เท่า ของไข่เหา
            ธัญญมาสะ หมายถึง ข้าวเปลือก คือขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นจากตัวเหา จะเป็น ขนาดของข้าวเปลือก ด้วยความสัมพันธ์ว่า ตัวเหา (อูกา) ตัว มีขนาดเท่ากับความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งเมล็ด
            อังคุลี โดยศัพท์ หมายถึง "กิ่งแห่งแขน" ก็คือนิ้ว มีขนาดเท่ากับ เมล็ด ข้าวเปลือก เมล็ด
            วิทัตถิ ท่านวิเคราะห์ว่า "นิ้วหัวแม่มือพร้อมทั้งนิ้วก้อยอันบุคคลย่อมกางออก คือว่าย่อมเหยียดออก" หมายถึง คืบ โดยขนาดของวิทัตถิ (คืบ) นั้น เท่ากับ 12 อังคุลี (นิ้ว)
            หัตถะ เป็นส่วนที่ใหญ่ขึ้นมาอีก (ภาษาไทย เรียกว่า ศอก) ท่านบอกว่า
หรือ "รตนะ" "หัตถะ" และ "รตนะ" โดยความหมายเป็นอันเดียวกัน รตนะ หมายถึง "บุคคลย่อมยินดี คือว่าเล่นด้วยวัตถุนั้น" ส่วน หัตถะ หมายถึง "บุคคลย่อมหัวเราะร่าเริงด้วยวัตถุนั้น" ขนาดของหัตถะ หรือรตนะ (ศอก) เท่ากับ วิทัตถิ (คืบ)
            พยามะ มีความหมายว่า "ขนาดของแขนที่บุคคลเหยียดออกไป" หรือ วฺยาม พระสิริมังคลาจารย์ ยังได้ยกมติของพระโมคคัลลานาจารย์ มากล่าว ไว้ด้วยว่า "แขน ข้างพร้อมทั้งมือกางออกแล้วในข้างทั้งสองชื่อว่า พยามะ" ก็คือว่า มีขนาดเป็น เท่าของหัตถะ หมายถึงศอก เป็น วา
            อุสภะ คือโค อุสภะในที่นี้เป็นเสียงร้องของโคทั้งหลาย มีขนาดระยะเท่ากับ 25 พยามะ (วา) สำหรับหน่วยอุสภะนี้ยังมีหน่วยแยกออกไป มี ชื่อ ทีเกี่ยวข้องคือ "สรูสภะ", "พลูสภะ" และ "สรีรูสภะ"
        1. สรูสภะ หมายถึงเสียงของโคจ่าฝูง (อุสภะ) ที่เปล่งอยู่ดังออก ไปไกลเท่าใด ขนาดของความไกลที่ถือเอาเสียงของ โคจ่าฝูงเป็นประมาณนั้นเรียก สรูสภะ มีขนาด เท่ากับ 1000 หัตถะ (ศอก)
        2. พลูสภะ เป็นระยะที่เกิดจากการคำนวณด้วยกำลังกายของ โคจ่าฝูงที่โลดแล่นไป พลูสภะ เท่ากับ 14 หัตถะ (ศอก) (พลูสภะ มีความหมายว่าเป็นแรงโค ทำนอง เดียวกับแรงม้าในปัจจุบัน)
       3. สรีรูสภะ เป็นระยะที่เกิดจากการคำนวณด้วยสรีระ คือโดยขนาด ของโคจ่าฝูง ตัวที่เหยียดคอและหางออก สรีรูสภะ เท่ากับ ศอก
             คาวุต ยังคงมีความหมายเป็นระยะอันเนื่องมาจากเสียงร้องของโคคือเป็น "ระยะ (คาวุต,คาวี) ทางที่วางกำหนดแน่นอนซึ่งประมาณจากระหว่างเสียงร้องของโคทั้ง หลาย" มีขนาด คาวุตะ เท่ากับ 80 อุสภะ หรือเท่ากับ 80 x 25 = 2000 วา
           โยชนะ มีขนาดเท่ากับ คาวุตะ หรือเท่ากับ 8000 วา ซึ่งถ้าใช้เณฑ์ของหน่วย (โยชน์) ปัจจุบันว่า วาประมาณเท่ากับ เมตรแล้ว หนึ่งโยชน์จะมีค่าเท่ากับ 16,000 เมตร หรือเท่ากับ 16 กิโลเมตร นั่นเอง
            สำหรับหน่วยวัดระยะที่มีอีก แบบนั้น จะเริ่มต้นจากปรมาณูเหมือนกัน มาต่างกันตรง หัตถะ (ศอก) ถึงคาวุตะ มีคำเรียกหน่วยดังนี้
            กรีสะ ท่านให้ความหมายว่า "ชื่อว่ากรีสะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ชาวนาย่อม ทำการงาน มีการไถและการหว่านเป็นต้นในที่นั้น" กรีสะมีระยะเท่ากับ 125 หัตถะ (ศอก)
            โกสะ พระสิริมังคลาจารย์ยกมติต่างๆ มาแสดงว่า บางมติโกสะหมายถึงธนูที่ ขึ้นสายแล้ว บางมติก็ว่าธนูที่ยังไม่ขึ้นสาย หนึ่งโกสะ เท่ากับ 500 ชั่วธนู และ โกสะเป็น คาวุตะ ท่านยังอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ พระวินัยด้วยว่า เสนาสนะสุดท้ายที่ตั้งอยู่ 500 ชั่วธนู ถือว่าเป็นเสนาสนะ ป่า
          ทัณฑะ หมายถึงไม้วัด หรือไม้เท้า มีขนาดยาวเท่ากับ ศอก และ 20 ทัณฑะ ยาวเท่ากับ อุสภะ
            อัพภันตระ ท่านให้ความหมายว่า "พื้นที่ซึ่งวัดในร่วมใน คือว่าในส่วนภายใน คือว่า ไม่ใช่ส่วนภายนอก ชื่อว่า อัพภันตระ" และขยายความต่อไปว่า "บุคคลยืนแล้วหรือนั่งแล้วในที่ใดๆที่บุคคลนั้นยืนแล้วหรือว่านั่งแล้วนั้น วัดโดยรอบ มีประมาณ 28 พยามะ (วา) ที่นั้นชื่อว่าอัพภันตระ" ซึ่งความ หมายนี้น่าสนใจในคำนิยามมาก เพราะเสมือนบ่งถึงเส้นรอบวงของวง กลม ที่มีคนเป็นศูนย์กลาง มีเส้นรอบวงเท่ากับ 28 วา คำนี้จึงนอกจาก จะแทนระยะทางของเส้นรอบวง ดังกล่าวแล้ว ยังมีนัยะแห่งพื้นที่อีกด้วย อาจเป็นพื้นที่วงกลม หรือพื้นที่สี่เหลี่ยมที่มีด้านทุกด้านรวมกันได้ 28 วา นั้น

ปรมาณู
            กรณีปรมาณู จุดเริ่มต้นแห่งการเชื่อมโยง ปรมาณูเป็นชื่อหน่วยวัดความยาวหรือระยะทางที่เล็กละเอียดที่สุด และที่ปรมาณูนี้เองเป็นสภาวะเชื่อมต่อระหว่างโลกที่ตามองเห็นกับแดนแห่งจิตใจ ดังนั้นเมื่อสำรวจดูระบบหน่วยวัดระยะทาง ตั้งแต่ปรมาณูที่เล็กละเอียดในระดับที่ตามองไม่เห็น แต่ต้องใช้ สมรรถภาพทางจิตเท่านั้นจึงจะสัมผัสได้ ไปจนถึงระดับหน่วยขนาดที่มองเห็นได้ จนถึงไกลระดับโยชน์นั้น เมื่อ โยชน์ ประมาณเท่ากับ 1.6 กิโลเมตร (โยชน์ = 8000 วา = 16,000 เมตร)
            จะสามารถคำนวณจากอัทธาสังขยาได้ว่า
        4.424511652 x 10(14) ปรมาณู = โยชน์ หรือ ปรมาณู = 0.036 x 10(-9) เมตรหรือ ปรมาณู = 0.036 นาโนเมตร (nm = 10(-9) m)ในขณะที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แสดงการคำนวณหารัศมีของอะตอมของธาตุไฮโดรเจน ซึ่งเป็นขนาดของอะตอมที่เล็กที่สุด ตามทฤษฎีของ Bohr ได้รัศมีของไฮโดรเจน rH = 0.053 นาโนเมตร(ค่านี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Bohr's radius) ค่า 0.036x10(-9) และ 0.053x10(-9) แม้จะแตกต่างกัน แต่ถือว่าอยู่ใน order เดียวกัน คือในลำดับความละเอียด ขนาด 10(-9) เมตรเหมือนกัน
            ยิ่งกว่านั้นยังมีข้อน่าสังเกตบางประการคือ
        1. การที่สังคมไทยรับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์จากตะวันตกเข้ามา และแปลคำว่า "atom" ด้วยคำว่า "ปรมาณู" มีประเด็นศึกษาว่า ความหมายของ atom นั้น หมายถึง indivisible คือสิ่งซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีกแล้ว เรียกว่า atom ดังรากศัพท์ของ atom จากภาษาฝรั่งเศสว่า atom ; ภาษาละตินว่า atomus ; ภาษากรีกว่า atomos แปลว่า indivisible ซึ่งสมัยหนึ่งเชื่อกันว่ามีสิ่งที่เล็กละเอียดที่สุดที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดหลักของสายวิทยาศาสตร์กายภาพ ที่มองโลกแบบคตินิยมลดทอน (reductionism) คือคิดว่าในโลกแห่งวัตถุจะต้องประกอบไปด้วยอนุภาคเล็กที่สุดจนไม่สามารถแบ่งแยกได้ แต่ต่อมาก็พบว่าใน atom ยังประกอบไปด้วยอนุภาคมูลฐานอีกมาก เช่น electron proton neutron และลึกลงไปใน electron, protron, neutron ก็ประกอบไปด้วยอนุภาคมูลฐานยิ่งกว่าอีกมากมายจนกระทั่งถึง quark ที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ คำว่า atom คือ indivisible นี้ จึงไม่เป็นความจริงและไม่สื่อความจริง เพราะที่จริงมัน divisible ดั้งนั้นการศึกษา atom ในปัจจุบันเป็นการศึกษาในความหมายที่ว่ามันเป็นสิ่งที่แบ่งแยกได้ไปแล้ว ไม่ได้ใช่ความหมายเดิม
            ยิ่งไปกว่านั้นอนุภาคขนาดเล็ก เช่น electron แทนที่จะมีคุณสมบัติเป็นอนุภาค คือเป็นวัตถุอย่างเดียว กลับแสดงคุณสมบัติของความเป็นคลื่นออกมาด้วย ซึ่งคุณสมบัติของความเป็นอนุภาคกับความเป็นคลื่นนั้นในความรู้เดิมถือว่าเป็นคนละเรื่อง คนละธรรมชาติเลยทีเดียว
        2. ด้วยเหตุนี้ "ปรมาณู" จึงมีความหมายแตกต่างจาก "atom" อย่างสิ้นเชิงความรู้ใหม่ในทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มองเห็นว่า โลกแห่งวัตถุขนาดเล็ก ที่ตามนุษย์ธรรมดา (ประสาทจักษุ) มองไม่เห็นนั้น เป็นโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง เป็นโลกแห่งความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง อันสอดคล้องกับโลกทัศน์ที่ปรากฏในคำว่า "ธุฬี"" ที่พระสิริมังคลาจารย์ อรรถาธิบายว่า "ย่อมไหว" และในคำว่า "ชร" อันหมายถึง "ความคร่ำคร่า คือ ธรรมชาติที่นำไปสู่ความเสื่อมวัย"
            ในขณะที่การจะรู้เข้าใจ atom เกิดขึ้นได้ก็ด้วยการหาแบบจำลอง (model) ทางคณิตศาสตร์ มาอธิบายผลการทดลอง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์อย่าง Sir Athur Eddington เรียกวิธีนี้ว่าเป็นการศึกษา a shadow world of symbols คือศึกษา "โลกแห่งสัญลักษณ์ที่เป็นเพียงเงา" เท่านั้น
            แต่ปรมาณูที่เป็นคำเดิมนี้สามารถรู้เข้าใจด้วยคุณลักษณะทางจิต อันได้ชื่อว่า เหนือประสาทจักษุ และจากปรมาณู มาเป็นอณูนั้น ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมต่อระหว่างแดนทางจิต มายังโลกแห่งวัตถุ อันประสาทสัมผัสพิสูจน์ได้ จะเห็นว่าหน่วยในมาตราการวัดระยะทางนี้ มีคุณภาพของหน่วยไปพร้อมกับความเป็นปริมาณ มีความสัมพันธ์กันอย่างถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการอิงอาศัยกันของรูปธรรมกับนามธรรมนี่คือธรรมชาติที่ต้องเป็นไปเช่นนั้น

(หมายเหตุ นำข้อมูลจากปกรณ์สังขยาปกาสกและสังขยาปกาสกฏีกานี้ ข้าพเจ้ายังไม่พบต้นฉบับบาลี โดยนำมาจากบทความเรื่อง "สังขยาปกาสกฏีกา อุปกรณ์แห่งการหยั่งถึงความจริง จากโลกวิทยาศาสตร์พุทธศาสนา โดย ประมวล เพ็งจันทร์และชัชวาล ปุญปัน ที่ปรากฏในเว็บไซส์ มหาวิทยาลัยหลังเที่ยงคืน" มาประกอบเพื่อการศึกษาร่วมกัน)

            จากวิชาการของวิทยาศาสตร์ดังที่ปรากฏในบทความข้างต้น จะสามารถนำขนาดและความเป็นไปของของปรมาณูมาเปรียบเทียบได้กับรูปธรรมแต่ละประเภทดังที่ท่านแสดงไว้ในรูปกัณฑ์ คัมภีร์ธัมมสังคณีปกรณ์ อภิธรรมปิฎกหรือไม่ โปรดพิจารณาข้อความในคัมภีร์ดังต่อไปนี้
        
           [๕๐๗]  สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ  ๕  
           ปฐวีธาตุอาโปธาตุเตโชธาตุวาโยธาตุ  และรูปที่เป็นอุปาทา สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ  ๕  อย่างนี้.     
           [๕๑๕]  รูปเป็นอุปาทา  นั้นไฉน  ?
           จักขายตนะ    โสตายตนะ    ฆานายตนะ    ชิวหายตนะ     กายายตนะ รูปายตนะ  สัททายตนะ   คันธายตนะ   รสายตนะ   อิตถินทรีย์   ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์  กายวิญญัติ  วจีวิญญัติ   อากาสธาตุ   รูปลหุตา  รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา  รูปอุปจยะ  รูปสันตติ             รูปชรตา  รูปอนิจจตา  กพฬิงการาหาร.
            รูปเหล่านี้ทั้งหมด เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นกลุ่มๆ เป็นไปพร้อมกัน เป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่กันและกัน ดังในปกรณ์ปัฏฐานแสดงว่า มหาภูตรูป    เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย    ด้วยอำนาจ ของสหชาตปัจจัย และว่า "มหาภูตรูป ๔   เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน     ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย"  และที่เกิดพร้อมกัน ก็เป็นไปโดยความเป็นหมู่ ดังข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาเป็นต้นว่า มีสันตติรูปที่เป็นประธาน ๓ กลุ่ม คือ วัตถุทสกะ ๑   กายทสกะ ๑    ภาวทสกะด้วยอำนาจอิตถินทรีย์ของหญิงและด้วยอำนาจปุริสินทรีย์ของชาย ๑  บรรดาสันตติรูปทั้ง  ๓  กลุ่มเหล่านั้น  รูปนี้   คือ วัตถุรูป  ๑  มหาภูตรูป  ๔ เป็นที่อาศัยของวัตถุรูปนั้น  และวรรณะ  คันธะ รสะโอชา  รวม ๔ ที่อาศัยมหาภูตรูปนั้น  และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า วัตถุทสกะ (วิภังคอรรถกถา รูปขันธ์นิทเทส)
        และในบรรดารูปที่เกิดเป็นกลุ่มๆเหล่านั้น ในแต่ละขณะๆ เกิดได้หลายกลุ่มพร้อมกัน แต่ละกลุ่มนั้น อย่างน้อยที่เกิด รูปที่เกิดพร้อมกันจะต้องมีอยู่อย่างน้อย ๘ รูป คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณณะ คันธะ รสะ โอชา ที่ไม่อาจพรากจากกันได้ ท่านเรียกชื่อกลุ่มรูปเหล่านี้ว่า สุทธัฏฐกะ กลุ่มรูป ๘ รูปล้วน หรือ จะเรียกว่า อวินิพโภครูป ก็ได้ หมายถึง กลุ่มรูป ๘ นี้จะเป็นไปไม่แยกออกจากกัน ดังที่ปรากฏในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะว่ากลาป ๒๑ ประการ  มีความเป็นไปร่วมกัน  เกิดที่เดียวกัน ดับที่เดียวกัน  และมีที่อาศัยอันเดียวกัน  ชื่อว่ารูปกลาป (หมวดรูป)  (และว่า รูปทั้ง ๘ อย่าง  คือ  วรรณะ  (สี)  คันธะ  (กลิ่น) รส  โอชะ  และภูตรูปทั้ง ๔ ชื่อ อวินิพโภครูปฯ  (และว่า)  ส่วนอวินิพโภครูป  ชื่อว่าสุทธัฏฐกะฯ
            ด้วยเหตุนี้จากหลักฐานทางวิชาการทางฝ่ายโลกนั้นที่วิจัยหน่วยของวัตถุให้ละเอียดลงไปเท่าไรๆ ก็ยังค้นพบส่วนที่เล็กลงไปได้เรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อพิจารณาดูจากคัมภีร์ฝ่ายศาสนา ท่านได้แสดงความเป็นไปของรูปธรรมจากส่วนที่หยาบที่สุดไปจนถึงหน่วยที่เล็กที่สุด จนถึงหน่วยสุดท้ายที่ไม่อาจแยกออกต่อไปได้ ท้ายที่สุดแล้ว ได้แก่ มหาภูตรูปแต่ละรูปมีปฐวีธาตุเป็นต้นนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบของรูปทุกประเภท  ดังนั้น จากวิชาการทางโลกก็คงเป็นการยืนยันวิชาการแห่งรูปธรรมในฝ่ายศาสนาได้เป็นอย่างดีฯ
            ที่นี้จะวกเข้าสู่ปัญหาของ กลลรูปว่า เป็นปรมาณูรูปหรือไม่ดังที่มีเพื่อนๆชาวลานธรรมตั้งข้อสังเกตกัน
            กลลรูป เมื่อกล่าวตามลักษณะของรูปร่างสัณฐานดังที่ทราบกันแล้วนั้น เมื่อกล่าวโดยความเป็นไปที่เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวข้างต้นนั้นแล้ว ได้แก่สภาพอันเป็นที่ประชุมกันแห่งกลาป ๓ ประการ ดังที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรม วิภังคปกรณ์แสดงว่า
        
            ในสันตติรูปเล็กน้อยอย่างนี้   ยังมีสันตติรูปที่เป็นประธาน ๓ กลุ่ม คือ วัตถุทสกะ ๑   กายทสกะ ๑    ภาวทสกะด้วยอำนาจอิตถินทรีย์ของหญิงและด้วยอำนาจปุริสินทรีย์ของชาย ๑  บรรดาสันตติรูปทั้ง  ๓  กลุ่มเหล่านั้น  รูปนี้   คือ วัตถุรูป  ๑  มหาภูตรูป  ๔ เป็นที่อาศัยของวัตถุรูปนั้น  และวรรณะ  คันธะ รสะโอชา  รวม ๔ ที่อาศัยมหาภูตรูปนั้น  และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า วัตถุทสกะ,   รูปนี้คือ  กายประสาท  ๑  มหาภูตรูป  ๔   ซึ่งเป็นที่อาศัยของกายประสาทนั้น  วรรณะ คันธะ  รสะ โอชา  ๔  ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น  และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า กายทสกะ, รูปนี้คือ  อิตถีภาวะ  ของหญิง  และปุริสภาวะของชาย ๑ มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยภาวรูปนั้น  วรรณะ  คันธะ  รสะ  โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น    และชีวิต รูป ๑ ชื่อว่า  ภาวทสกะ.  กรรมชรูป  (รูปเกิดแต่กรรม)  ในปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์  กำหนดโดยสูงสุดมี  ๓๐   ถ้วน   ชื่อว่า  รูปขันธ์  ด้วยประการฉะนี้.ก็เวทนาที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต  ชื่อว่า  เวทนาขันธ์    สัญญา ...   ชื่อว่าสัญญาขันธ์   สังขาร...  ชื่อว่า    สังขารขันธ์    ปฏิสนธิจิต    ชื่อว่าวิญญาณขันธ์   ขันธ์  ๕   ในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์  เป็นสภาพบริบูรณ์แล้ว ด้วยประการฉะนี้
            ดังนั้น พอสรุปได้ว่า รูปที่เกิดในขณะปฏิสนธิประกอบไปด้วยรูป ๓๐ รูป ซึ่งพอจัดกลุ่มได้ ๓ กลุ่ม คือ
            ๑)  วัตถุทสกะ ซึ่งมีหน่วยเล็กย่อยลงไป ๑๐ คือ วัตถุรูป (ในที่นี้ได้แก่ หทยวัตถุ กล่าวคือ ที่อาศัยของปฏิสนธิวิญญาณที่จะมาตั้งขึ้น ซึ่งอาจพัฒนาเป็นหทยมังสะหรือเนื้อหัวใจ ตามนัยของฝ่ายศาสนา หรือ เป็นสมองตามนัยของการแพทย์ปัจจุบัน) คือ ปฐวี เตโช อาโป วาโย วัณณะ คันธะ รสะ โอชา ชีวิตรูป
            ๒) กายทสกะ ซึ่งมีหน่วยเล็กย่อยลงไป ๑๐ รูป คือ กายปสาทรูป ส่วนที่เหลือ คงเป็นเช่นเดียวกับ วัตถุทสกะข้างต้นนั้น
            ๓) วัตถุทสกะ ซึ่งมีหน่วยเล็กย่อยลงไป ๑๐ รูป คือ ภาวรูป (คือ ความเป็นชาย หรือ หญิง อันใดอันหนึ่ง) ส่วนที่เหลือคงเป็นเช่นเดียวกับสองกลุ่มข้างต้นนั้นฯ
            จากข้อสรุปของอรรถกถานี้ แสดงให้เห็นว่า แม้กลลรูปที่ว่าเล็กนั้น ยังประกอบขึ้นด้วยกลาปทั้งสาม ดังนั้น กลลรูปที่ตรัสไว้ยังไม่ใช่รูปปรมาณู เพราะแม้ปัจจุบันยังสามารถมองเห็นได้ด้วยจักขุวิญญาณ โดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์อันเป็นเครื่องมือที่เสริมสมรรถนะในการเห็นให้แก่จักขุปสาทนั่นเอง

            อย่างไรก็ดี ก็เพราะความรวมก็เป็นความย่อย แม้ความย่อยก็เป็นความรวม เมื่อกล่าวโดยความรวม กลลรูปแม้จะไม่ใช่ปรมาณู ก็ตาม, แต่กระนั้น ปฐวีธาตุเป็นต้น อันเป็นองค์ย่อยที่ประกอบเป็นกลลรูป จะมีลักษณะของปรมาณู ที่ว่า ปรมาณู หมายถึง เป็นส่วนแห่งอากาศ และว่า ละอองที่ละเอียด ควรแก่อารมณ์ ของทิพยจักษุ หาเป็นอารมณ์ของประสาทจักษุไม่ ได้หรือไม่ ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตควรตรองหาความสมเหตุสมผลแล้วถือเอาเถิด       
           
            พึงทราบ ความเป็นไปได้ของเรื่องดังกล่าวโดยอาคมและยุตติ คือความสมเหตุสมผล ถูกต้อง (โดยนัยที่มาในคัมภีร์ปรมัตถมัญชุสา วิสุทธิมรรคมหาฏีกา)
            อาคม หมายถึง ความสมเหตุสมผลหรือความถูกต้องที่ได้มาจากพระไตรปิฎกอันเป็นพระพุทธวจนะตรงๆ
            ยุตติ หมายถึง ความสมเหตุสมผลได้มาจากสภาวะหรืออัตถะที่ปรากฏได้ แม้จะไม่มีพระบาลีกล่าวถึงไว้ก็ตาม
            ดังนั้น แม้ไม่มีพระบาลีที่ตรัสถึงตรงๆว่า ปฐวีเป็นต้นเหล่านั้น มีขนาดเท่าใด แต่ก็อาศัยนัยที่ตรัสไว้ในปกรณ์ธัมมสังคณีเป็นต้นข้างต้นและปัฏฐานอาทิว่า  มหาภูตรูป    เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย    ด้วยอำนาจ ของสหชาตปัจจัย และว่า "มหาภูตรูป ๔   เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน     ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย" 
            ก็แล ความที่รูปธรรมแต่ละประการที่ปรากฏอยู่และยังมีความสัมพันธ์กันโดยเป็นปัจจัยแก่กันและกันอย่างนี้ เว้นพระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก ใครเล่าจะแสดงรูปธรรมแยกประเภทได้โดยประจักษ์เช่นนี้
             ********************************************
บทสรุป
        ด้วยเหตุที่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่ควรตอบแบบวิภัชชพยากรณ์ (แยกแยะเนื้อความของปัญหาแล้วตอบ) ดังนั้น จึงพอสรุปคำตอบได้ดังนี้
            ๑) ถ้ากล่าวถึงกลลรูปซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งองค์ย่อยกล่าวคือปฐวีธาตุเป็นต้นโดยนัยแห่งธรรมที่ปรากฏโดยความรวม (อัตถบัญญัติ) กลลรูป ไม่ใช่ปรมาณูรูป เพราะสามารถมองเห็นได้ด้วยอำนาจแห่งจักขุวิญญาณและทิพยจักษุญาณ
            ๒) ก็เพราะความรวม เป็นที่ประชุมแห่งองค์ย่อย ดังนั้น องค์ย่อยกล่าวคือปฐวีธาตุเป็นต้นนั่นเอง จัดเป็นปรมาณูรูปได้ เพราะการที่จะทราบได้ว่า มีรูปอะไรบ้างที่ประกอบขึ้นเป็นกลละ ต้องอาศัยทิพยจักษุญาณอันเป็นพระญาณอย่างหนึ่งของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ

            จากกรณีที่ได้เสวนากันนี้ จะเกิดประโยชน์และมีข้อคิดสะกิดใจอย่างไรนั้น ขอส่งท้ายด้วยพระพุทธวจนะที่ว่า
            ดูก่อนมาลุงกยบุตร    เปรียบเหมือนบุรุษต้องศรอันอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา  มิตร  อมาตย์  ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้นพึงไปหานายแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมาผ่า    บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า   เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า   เป็นกษัตริย์   พราหมณ์   แพศย์    หรือศูทร. . .   มีชื่อว่าอย่างนี้   มีโคตรอย่างนี้. . .   สูงต่ำหรือปานกลาง . . .   ดำขาวหรือผิวสองสี . . .  อยู่บ้าน   นิคม   หรือนครโน้น   เพียงใด    เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น    บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า    เรายังไม่รู้จักธนูที่ใช้ยิงเรานั้นว่าเป็นชนิดมีแล่งหรือเกาทัณฑ์ . . .  สายที่ยิงเรานั้นเป็นลายทำด้วยปอผิวไม้ไผ่   เอ็น   ป่านหรือเยื่อไม้   ลูกธนูที่ยิงเรานั้น   ทำด้วยไม้ที่เกิดเองหรือไม้ ปลูก   หางเกาทัณฑ์ที่ยิงเรานั้น  เขาเสียบด้วยขนปีกนกแร้ง  นกตะกรุม  เหยี่ยวนกยูง   หรือนกชื่อว่า   สิถิลหนุ   [คางหย่อน] . . .   เกาทัณฑ์นั้นเขาพันด้วยเอ็นวัว    ควาย    ต่างหรือลิง. . .    ลูกธนที่ยิงเรานั้น    เป็นชนิดอะไร    ดังนี้เพียงใด   เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น   ดูก่อนมาลุงกยบุตร   บุรุษนั้นพึงรู้ข้อนั้นไม่ได้เลย โดยที่แท้  บุรุษนั้นพึงทำกาละไป  ฉันใด  ดูก่อนมาลุงกยบุตรบุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า     พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐นั้น ฯ ล ฯ  แก่เราเพียงใด  เราจักไม่พระพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงนั้น     ข้อนั้นตถาคตไม่พยากรณ์เลย    โดยที่แท้    บุคคลนั้นพึงทำกาละไป ฉันนั้น.ฯปฯ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์   ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์   ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย  เพื่อความคลายกำหนัด   เพื่อความดับ   เพื่อความสงบ   เพื่อความรู้ยิ่ง   เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน   เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น    ดูก่อนมาลุงกยบุตร  อะไรเล่าที่เราพยากรณ์    ดูก่อนมาลุงกยบุตร  ความเห็นว่า  นี้ทุกข์   นี้เหตุให้เกิดทุกข์นี้ความดับทุกข์  นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  ดังนี้   เราพยากรณ์   ก็เพราะ เหตุไร  เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น  เพราะข้อนั้น    ประกอบด้วยประโยชน์    เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์  เป็นไปเพื่อความหน่าย   เพื่อความคลายกำหนัด  เพื่อความดับ    เพื่อความสงบ    เพื่อความรู้ยิ่ง     เพื่อความตรัสรู้     เพื่อนิพพานเหตุนั้นเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น(มาลุงกยปุตตโอวาทสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ล. ๒ ภ. ๑ น. ๒๙๘ ฉบับแปลของมหามกุฎฯ )
และว่า
            ดูก่อนมาคัณฑิยะ   ถ้าเช่นนั้น    ท่านควรคบสัตบุรุษ    เพราะเมื่อใด ท่านคบสัตบุรุษ   เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ   เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม   เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม   ท่านจักรู้เอง   เห็นเองว่า    โรค    ฝี    ลูกศร    คืออันนี้  โรค  ฝี ลูกศร   จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้   เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ   ภพจึงดับ เพราะภพดับ  ชาติจึงดับ  เพราะชาติดับ  ชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส  อุปายาสก็ดับ  ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้   ย่อมมีด้วยประการฉะนี้. (มาคัณฑิยสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ล. ๒ ภ. ๑ น. ๕๐๐ ฉบับแปลของมหามกุฏฯ)


จบบทความเรื่อง ปรมาณูในทางพระพุทธศาสนาคืออะไร
  
v