๖. ปิณฺฑปาตมหปฺผลปญฺโห
ปัญหาว่าด้วยความมีผลมากแห่งบิณฑบาต
***
๖. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ธมฺมสงฺคีติการเกหิ เถเรหิ –
‘‘‘จุนฺทสฺส ภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา,
กมฺมารสฺสาติ เม สุตํ;
อาพาธํ สมฺผุสี ธีโร,
ปพาฬฺหํ มารณนฺติก’นฺติฯ
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ ข้อความนี้ ธมฺมสงฺคีติการเกหิ เถเรหิ อันพระเถระทั้งหลายผู้กระทำสังคายนาทั้งหลาย ภาสิตมฺปิ ก็ได้กล่าวแล้ว อิติ ว่า อิติ = เอวํ วจนํ ข้อความอย่างนี้ เม = มยา อันข้าพเจ้า สุตํ สดับแล้ว[1]. ภควา พระผู้มีพระภาค ธีโร ผู้ทรงมีพระปรีชา ภุญฺชิตฺวา ครั้นทรงเสวยแล้ว ภตฺตํ ซึ่งภัตตาหาร จุนฺทสฺส กมฺมารปุตฺตสฺส ของนายจุนทะกัมมารบุตร สมฺผุสี ได้รับ อาพาธํ ซึ่งพระอาพาธ ปพาฬฺหํ หนัก มรณนฺติกํ จวนเจียนจะปรินิพพาน (อันมีในที่ใกล้แห่งความตาย) ดังนี้. [2]
‘‘ปุน จ ภควตา ภณิตํ ‘ทฺเวเม, อานนฺท, ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จฯ กตเม ทฺเว? ยญฺจ ปิณฺฑปาตํ ปริภุญฺชิตฺวา ตถาคโต อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธิํ อภิสมฺพุชฺฌิ, ยญฺจ ปิณฺฑปาตํ ปริภุญฺชิตฺวา ตถาคโต อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายติฯ อิเม ทฺเว ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา, อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จา’ติฯ
จ แต่ วจนํ พระพุทธดำรัส ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ได้ทรงภาษิตแล้ว ปุน อีก อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต[3] เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย[4] มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง, ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว กตเม คืออะไร?, ตถาคโต พระตถาคต ปริภุญฺชิตฺวา เสวยแล้ว ปิณฺฑปาตํ ซึ่งบิณฑบาต ยํ จ ใด ด้วย อภิสมฺพุชฺฌิ ทรงตรัสรู้แล้ว สมฺมาสมฺโพธิํ ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ อนุตฺตรํ อันยิ่ง[5], ตถาคโต พระตถาคต ปริภุญฺชิตฺวา เสวยแล้ว ปิณฺฑปาตํ ซึ่งบิณฑบาต ยํ จ ใด ด้วย ปรินิพฺพายติ ย่อมเสด็จปรินิพพาน นิพฺพานธาตุยา อนุปาทิเสสาย ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ[6]. ปิณฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้[7].
ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควโต จุนฺทสฺส ภตฺตํ ภุตฺตาวิสฺส[8] ขโร อาพาโธ อุปฺปนฺโน, ปพาฬฺหา จ เวทนา ปวตฺตา มารณนฺติกา, เตน หิ ‘ทฺเวเม, อานนฺท, ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จา’ติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า อาพาโธ พระอาพาธ ขโร แรงกล้า ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ภุตฺตาวิสฺส ผู้เสวยแล้ว ภตฺตํ ซึ่งภัตตาหาร จุนฺทสฺส ของนายจุนทะ อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว, จ และ เวทนา เวทนา ปพาฬฺหา ที่สาหัส มารณนฺติกา ที่จวนเจียนจะปรินิพพาน ปวตฺตา ก็เป็นไปแล้ว[9] (จริงแล้วไซร้), เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ ถ้อยคำใด (ภณิตํ) ที่ตรัสไว้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง, ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว กตเม คืออะไร?, ตถาคโต พระตถาคต ปริภุญฺชิตฺวา เสวยแล้ว ปิณฺฑปาตํ ซึ่งบิณฑบาต ยํ จ ใด ด้วย อภิสมฺพุชฺฌิ ทรงตรัสรู้แล้ว สมฺมาสมฺโพธิํ ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ อนุตฺตรํ อันยิ่ง, ตถาคโต พระตถาคต ปริภุญฺชิตฺวา เสวยแล้ว ปิณฺฑปาตํ ซึ่งบิณฑบาต ยํ จ ใด ด้วย ปรินิพฺพายติ ย่อมเสด็จปรินิพพาน นิพฺพานธาตุยา อนุปาทิเสสาย ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ปิณฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น มิจฺฉา ก็ย่อมไม่ถูกต้อง.
ยทิ ทฺเวเม ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จ, เตน หิ ภควโต จุนฺทสฺส ภตฺตํ ภุตฺตาวิสฺส ขโร อาพาโธ อุปฺปนฺโน, ปพาฬฺหา จ เวทนา ปวตฺตา มารณนฺติกาติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ
ยทิ ถ้าหากว่า ปิณฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้ (จริงแล้วไซร้), เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ คำนั้น อิติ ว่า อาพาโธ พระอาพาธ ขโร แรงกล้า ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ภุตฺตาวิสฺส ผู้เสวยแล้ว ภตฺตํ ซึ่งภัตตาหาร จุนฺทสฺส ของนายจุนทะ อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นแล้ว, จ และ เวทนา เวทนา ปพาฬฺหา ที่สาหัส มารณนฺติกา ที่จวนเจียนจะปรินิพพาน ปวตฺตา ก็เป็นไปแล้ว ดังนี้, มิจฺฉา ย่อมไม่ถูกต้อง.
กิํนุ โข, ภนฺเต นาคเสน, โส ปิณฺฑปาโต วิสคตตาย มหปฺผโล, โรคุปฺปาทกตาย มหปฺผโล, อายุวินาสกตาย มหปฺผโล, ภควโต ชีวิตหรณตาย มหปฺผโล? ตตฺถ เม การณํ พฺรูหิ ปรวาทานํ นิคฺคหาย, เอตฺถายํ ชโน สมฺมูฬฺโห โลภวเสน อติพหุํ ขายิเตน โลหิตปกฺขนฺทิกา อุปฺปนฺนาติฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ โส ปิณฺฑปาโต บิณฑบาตนั้น มหปฺผโล เป็นธรรมชาติมีผลมาก วิสคตตาย เพราะความเป็นยาพิษ กิํ นุ โข หรือหนอแล, มหปฺผโล เป็นธรรมชาติมีผลมาก โรคุปฺปาทกตาย เพราะความเป็นธรรมชาติยังโรคให้เกิดขึ้น กิํ นุ โข หรือหนอแล, มหปฺผโล เป็นธรรมชาติมีผลมาก อายุวินาสกตาย เพราะความเป็นธรรมธรรมชาติให้ถึงความพินาศแห่งอายุ กิํ นุ โข หรือหนอแล, มหปฺผโล เป็นธรรมชาติมีผลมาก ชีวิตหรณตาย เพราะความเป็นธรรมชาตินำไปซึ่งชีวิต กิํ นุ โข หรือหนอแล?. ตฺวํ ขอท่าน พฺรูหิ จงบอก การณํ ซึ่งเหตุ ตตฺถ ในเรื่องนั้น เม แก่ข้าพเจ้า นิคฺคหาย เพื่อข่ม ปรวาทานํ ซึ่งปรปวาทะ,เอตฺถ ในเรื่องนี้ อยํ ชโน ชนนี้ สมฺมูฬฺโห เป็นผู้เข้าใจผิด จินฺตเนน ด้วยคิด อิติ ว่า โลหิตปกฺขนฺทิกา โรคถ่ายเป็นเลือด อุปฺปนฺนา เกิดขึ้นแล้ว ขายิเตน (อาหาเรน) เพราะพระกระยาหาร (ตถาคเตน) อันพระตถาคต เสวยแล้ว อติพหุํ มากเกิน โลภวเสน ด้วยอำนาจแห่งความอยาก ดังนี้. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้
‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ธมฺมสงฺคีติการเกหิ เถเรหิ –
‘‘‘จุนฺทสฺส ภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา, กมฺมารสฺสาติ เม สุตํ;
อาพาธํ สมฺผุสี ธีโร, ปพาฬฺหํ มารณนฺติก’นฺติฯ
‘‘ภควตา จ ภณิตํ ‘ทฺเวเม, อานนฺท, ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จฯ กตเม ทฺเว? ยญฺจ ปิณฺฑปาตํ ปริภุญฺชิตฺวา ตถาคโต อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธิํ อภิสมฺพุชฺฌิ, ยญฺจ ปิณฺฑปาตํ ปริภุญฺชิตฺวา ตถาคโต อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายติ [ปรินิพฺพายิ (สี.)], อิเม ทฺเว ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา, อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จา’ติฯ
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ ข้อความนี้ ธมฺมสงฺคีติการเกหิ เถเรหิ อันพระเถระทั้งหลายผู้กระทำสังคายนาทั้งหลาย ภาสิตมฺปิ ก็ได้กล่าวแล้ว อิติ ว่า อิติ = เอวํ วจนํ ข้อความอย่างนี้ เม = มยา อันข้าพเจ้า สุตํ สดับแล้ว. ภควา พระผู้มีพระภาค ธีโร ผู้ทรงมีพระปรีชา ภุญฺชิตฺวา ครั้นทรงเสวยแล้ว ภตฺตํ ซึ่งภัตตาหาร จุนฺทสฺส กมฺมารปุตฺตสฺส ของนายจุนทะกัมมารบุตร สมฺผุสี ได้รับ อาพาธํ ซึ่งพระอาพาธ ปพาฬฺหํ หนัก มรณนฺติกํ จวนเจียนจะปรินิพพาน ดังนี้ (เป็นความจริง). จ และ วจนํ พระพุทธดำรัส ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ได้ทรงภาษิตแล้ว อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง, ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว กตเม คืออะไร?, ตถาคโต พระตถาคต ปริภุญฺชิตฺวา เสวยแล้ว ปิณฺฑปาตํ ซึ่งบิณฑบาต ยํ จ ใด ด้วย อภิสมฺพุชฺฌิ ทรงตรัสรู้แล้ว สมฺมาสมฺโพธิํ ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ อนุตฺตรํ อันยิ่ง, ตถาคโต พระตถาคต ปริภุญฺชิตฺวา เสวยแล้ว ปิณฺฑปาตํ ซึ่งบิณฑบาต ยํ จ ใด ด้วย ปรินิพฺพายติ ย่อมเสด็จปรินิพพาน นิพฺพานธาตุยา อนุปาทิเสสาย ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ปิณฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้ (ก็เป็นความจริง).
‘‘โส ปน ปิณฺฑปาโต พหุคุโณ อเนกานิสํโสฯ เทวตา, มหาราช, หฏฺฐา ปสนฺนมานสา ‘อยํ ภควโต ปจฺฉิโม ปิณฺฑปาโต’ติ ทิพฺพํ โอชํ สูกรมทฺทเว อากิริํสุฯ ตญฺจ ปน สมฺมาปากํ ลหุปากํ [พหุปากํ (สี.)] มนุญฺญํ พหุรสํ ชฏฺฐรคฺคิเตชสฺส หิตํฯ น, มหาราช, ตโตนิทานํ ภควโต โกจิ อนุปฺปนฺโน โรโค อุปฺปนฺโน, อปิ จ, มหาราช, ภควโต ปกติทุพฺพเล สรีเร ขีเณ อายุสงฺขาเร อุปฺปนฺโน โรโค ภิยฺโย อภิวฑฺฒิฯ
ปน ก็ โส ปิณฺฑปาโต บิณฑบาตนั้น พหุคุโณ มีคุณมาก อเนกานิสํโส มีอานิสงส์มิใช่น้อย. มหาราช มหาบพิตร เทวตา เทวดา หฏฺฐา ผู้บันเทิง ปสนฺนมานสา มีใจเลื่อมใสอยู่ จินฺเตตฺวา คิดแล้ว อิติ ว่า อยํ ปิณฺฑปาโต บิณฑบาตนี้ ปิณฺฑปาโต เป็นบิณฑบาต ปจฺฉิโม ครั้งสุดท้าย โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ อากิริํสุ จึงโปรยปรายแล้ว โอชํ ซึ่งโอชา ทิพฺพํ อันเป็นทิพย์ สูกรมทฺทเว ในพระกระยาหารสูกรมัททวะ[10]. จ ปน ก็แล ตํ สูกรมทฺทวํ พระกระยาหารสูกรมัททวะนั้น สมฺมาปากํ สุกดีแล้ว ลหุปากํ ย่อยง่าย พหุรสํ มีรสมาก มนุญฺญํ น่าชื่นใจ หิตํ เกื้อกูลแล้ว ชฏฺฐรคฺคิเตชสฺส[11] แก่เตโชธาตุย่อยอาหาร. มหาราช มหาบพิตร โรโค โรค โกจิ ไรๆ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อนุปฺปนฺโน ที่ยังไม่เกิด อุปฺปนฺโน ได้เกิดขึ้นแล้ว ตโตนิทานํ เพราะมีอาหารนั้นเป็นเหตุ น หามิได้. มหาราช มหาบพิตร อปิ จ อนึ่งเล่า สรีเร เมื่อพระสรีระ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ปกติทุพฺพเล เป็นพระสรีระมีอันทรามกำลังตามปกติ สนฺเต มีอยู่, อายุสงฺขาเร เมื่ออายุสังขาร ขีเณ สิ้นไปแล้ว, โรโค โรค อุปฺปนฺโน อันเกิดขึ้นแล้ว อภิวฑฺฒิ เจริญขึ้น ภิยฺโย อย่างยิ่ง.
‘‘ยถา, มหาราช, ปกติยา ชลมาโน อคฺคิ อญฺญสฺมิํ อุปาทาเน ทินฺเน ภิยฺโย ปชฺชลติ, เอวเมว โข, มหาราช, ภควโต ปกติทุพฺพเล สรีเร ขีเณ อายุสงฺขาเร อุปฺปนฺโน โรโค ภิยฺโย อภิวฑฺฒิฯ
มหาราช มหาบพิตร อคฺคิ ไฟ ชลมาโน ลุกโพลงอยู่ ปกติยา ตามปกติ, อุปาทาเน เมื่อเชื้อ อญฺญสฺมิํ อื่น ทินฺเน อันบุคคลเติมอยู่ ปชฺชลติ ย่อมลุกโพลง ภิยฺโย ยิ่งขึ้นไป ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร สรีเร เมื่อพระสรีระ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ปกติทุพฺพเล เป็นพระสรีระมีอันทรามกำลังตามปกติ สนฺเต มีอยู่, อายุสงฺขาเร เมื่ออายุสังขาร ขีเณ สิ้นไปแล้ว, โรโค โรค อุปฺปนฺโน อันเกิดขึ้นแล้ว อภิวฑฺฒิ เจริญขึ้น ภิยฺโย อย่างยิ่ง เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกัน แล.
‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, โสโต ปกติยา สนฺทมาโน อภิวุฏฺเฐ มหาเมเฆ ภิยฺโย มโหโฆ อุทกวาหโก โหติ, เอวเมว โข, มหาราช, ภควโต ปกติทุพฺพเล สรีเร ขีเณ อายุสงฺขาเร อุปฺปนฺโน โรโค ภิยฺโย อภิวฑฺฒิฯ
มหาราช มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า โสโต กระแสน้ำ สนฺทมาโน ที่ไหลไปอยู่ ปกติยา ตามปกติ, มหาเมเฆ เมื่อฝนห่าใหญ่ อภิวุฏฺเฐ ตกลงมา อุทกวาหโก เป็นแม่น้ำใหญ่[12] มโหโฆ เป็นห้วงน้ำใหญ่ โหติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, สรีเร เมื่อพระสรีระ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ปกติทุพฺพเล เป็นพระสรีระมีอันทรามกำลังตามปกติ สนฺเต มีอยู่, อายุสงฺขาเร เมื่ออายุสังขาร ขีเณ สิ้นไปแล้ว, โรโค โรค อุปฺปนฺโน อันเกิดขึ้นแล้ว อภิวฑฺฒิ เจริญขึ้น ภิยฺโย อย่างยิ่ง เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกัน แล.
‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, ปกติยา อภิสนฺนธาตุ กุจฺฉิ อญฺญสฺมิํ อชฺโฌหริเต ภิยฺโย อายเมยฺย [อามเยยฺย (สี.)], เอวเมว โข, มหาราช, ภควโต ปกติทุพฺพเล สรีเร ขีเณ อายุสงฺขาเร อุปฺปนฺโน โรโค ภิยฺโย อภิวฑฺฒิ, นตฺถิ, มหาราช, ตสฺมิํ ปิณฺฑปาเต โทโส, น จ ตสฺส สกฺกา โทสํ อาโรเปตุ’’นฺติฯ
มหาราช มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า กุจฺฉิ ท้อง อภิสนฺนธาตุ มี(วาโย)ธาตุอันหมักหมมแล้ว (ท้องอืด) ปกติยา ตามปกติ, อาหาเร เมื่ออาหาร อญฺญสฺมิํ อย่างอื่น อชฺโฌหริเต อันบุคคลกลืนเข้าไป อายเมยฺย ก็จะพึงอืด ภิยฺโย โดยยิ่ง ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร สรีเร เมื่อพระสรีระ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ปกติทุพฺพเล เป็นพระสรีระมีอันทรามกำลังตามปกติ สนฺเต มีอยู่, อายุสงฺขาเร เมื่ออายุสังขาร ขีเณ สิ้นไปแล้ว, โรโค โรค อุปฺปนฺโน อันเกิดขึ้นแล้ว อภิวฑฺฒิ เจริญขึ้น ภิยฺโย อย่างยิ่ง เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกัน แล. มหาราช มหาบพิตร โทโส ความผิด ตสฺมิํ ปิณฺฑปาเต ในบิณฑบาตรนั้น นตฺถิ ย่อมไม่มี, เกนจิ อันครๆ น สกฺกา ไม่อาจ อาโรเปตุํ เพื่อยกขึ้น โทสํ ซึ่งโทษ ตสฺส ปิณฺฑปาตสฺส แห่งบิณฑบาตนั้น.
‘‘ภนฺเต นาคเสน, เกน การเณน เต ทฺเว ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จา’’ติ?
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว เต เหล่านั้น สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง เกน การเณน เพราะเหตุไรเล่า ดังนี้.
‘‘ธมฺมานุมชฺชนสมาปตฺติวเสน, มหาราช, เต ทฺเว ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จา’’ติฯ
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง ธมฺมานุมชฺชนสมาปตฺติวเสน ด้วยอำนาจแห่งสมาบัติที่มีการตามพิจารณาธรรม
‘‘ภนฺเต นาคเสน, กตเมสํ ธมฺมานํ อนุมชฺชนสมาปตฺติวเสน เต ทฺเว ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จา’’ติ?
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง อนุมชฺชนสมาปตฺติวเสน ด้วยอำนาจแห่งสมาบัติที่มีการตามพิจารณา ธมฺมานํ ธรรมทั้งหลาย กตเมสํ เหล่าใดหรือ? ดังนี้.
‘‘นวนฺนํ, มหาราช, อนุปุพฺพวิหารสมาปตฺตีนํ อนุโลมปฺปฏิโลมสมาปชฺชนวเสน เต ทฺเว ปิณฺฑปาตา สมสมผลา สมวิปากา อติวิย อญฺเญหิ ปิณฺฑปาเตหิ มหปฺผลตรา จ มหานิสํสตรา จา’’ติฯ
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปิณฺฑปาตา บิณฑบาต เทฺว สองคราว อิเม เหล่านี้ สมสมผลา มีผลเท่าๆกัน สมวิปากา มีวิบากเท่ากัน มหปฺผลา มีผลมาก จ ด้วย มหานิสํสตรา มีอานิสงส์มาก จ ด้วย ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาต อญฺเญหิ เหล่าอื่น อติวิย เป็นอย่างยิ่ง อนุโลมปฺปฏิโลมสมาปชฺชนวเสน ด้วยอำนาจแห่งการเข้าทั้งโดยอนุโลมและโดยปฏิโลม อนุปุพฺพวิหารสมาปตฺตีนํ ซึ่งอนุปุพพวิหารสมาบัติ นวนฺนํ ๙ อย่าง [13]ดังนี้.
‘‘ภนฺเต นาคเสน, ทฺวีสุ เยว ทิวเสสุ อธิมตฺตํ ตถาคโต นวานุปุพฺพวิหารสมาปตฺติโย อนุโลมปฺปฏิโลมํ สมาปชฺชี’’ติ?
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตถาคโต พระตถาคต สมาปชฺชิ ทรงเข้าแล้ว นวานุปุพฺพวิหารสมาปตฺติโย ซึ่งอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ อย่าง อธิมตฺตํ ซึ่งมีปริมาณมากยิ่ง อนุโลมปฺปฏิโลมํ โดยอนุโลม และปฏิโลม ทฺวีสุเยว ทิวเสสุ ในเวลาเพียง ๒ วัน เท่านั้น หรือ ดังนี้.
‘‘อาม, มหาราชา’’ติฯ
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อาม ใช่ ดังนี้
‘‘อจฺฉริยํ, ภนฺเต นาคเสน, อพฺภุตํ ภนฺเต นาคเสนฯ ยํ อิมสฺมิํ พุทฺธกฺเขตฺเต อสทิสํ ปรมทานํ, ตมฺปิ อิเมหิ ทฺวีหิ ปิณฺฑปาเตหิ อคณิตํฯ อจฺฉริยํ, ภนฺเต นาคเสน, อพฺภุตํ, ภนฺเต นาคเสนฯ ยาว มหนฺตา นวานุปุพฺพวิหารสมาปตฺติโย, ยตฺร หิ นาม นวานุปุพฺพวิหารสมาปตฺติวเสน ทานํ มหปฺผลตรํ โหติ มหานิสํสตรญฺจฯ
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ อจฺฉริยํ น่าอัศจรรย์เสียจริง, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ อพฺภุตํ ไม่เคยมีมาก่อน. ยํ ทานํ ทานใด ปรมทานํ เป็นทานยิ่งใหญ่ อสทิสํ หาทานชนิดอื่นเหมือนมิได้ อิมสฺมิํ พุทฺธกฺเขตฺเต ในพุทธเขตนี้, ตมฺปิ ทานแม้ชนิดนั้น ปุคฺคเลน อันบุคคล อคณิตํ ไม่คิดเทียบ อิเมหิ ทฺวีหิ ปิณฺฑปาเตหิ กับบิณฑบาต ๒ คราวนี้ได้เลย. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ อจฺฉริยํ น่าอัศจรรย์เสียจริง, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ อพฺภุตํ ไม่เคยมีมาก่อน. ยาว เท่า นวานุปุพฺพวิหารสมาปตฺติโย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ อย่าง มหนฺตา เป็นของยิ่งใหญ่, ยตฺร = ยสฺมา การณา เพราะเหตุใด ตสฺมา เพราะเหตุนั้น ทานํ ทาน มหปฺผลตรํ มาเป็นทานมีผลมาก มหานิสํสตรญฺจ และเป็นทานมีอานิสงส์มาก นวานุปุพฺพวิหารสมาปตฺติวเสน ด้วยอำนาจแห่งอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ หินาม = อจฺฉริยํ อย่างน่าอัศจรรย์ โหติ ย่อมเป็น
สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีแล้ว เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ, ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.
ปิณฺฑปาตมหปฺผลปญฺโห
ปิณฑปาตมหัปผลปัญหา
ฉฏฺโฐ ลำดับที่ ๖ นิฏฺฐิโต จบแล้วฯ
*****
[1] ในฏีกามหาปรินิพพานสูตร กล่าวว่า การใช้คำว่า สุตํ นี้เป็นเพียงถ้อยคำที่ได้สดับมา คือ เป็นเพียงถ้อยคำของผู้อื่น. อันที่จริง พระผู้มีพระภาค ได้เกิดอาพาธหนัก เพราะโภชนะเป็นปัจจัยหามิได้ (ที.ม.ฏี.๑๙๐). อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร ก็กล่าวว่า การกำเริบแห่งพระอาพาธ มิได้เป็นการเสวยสูกรมัททวะแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะกรรมได้โอกาสส่งผล. อันที่จริง การได้อาหารชั้นดีอย่างสูกรมัททวะนี้ กลับเป็นเหตุให้เวทนาที่เกิดขึ้นนั้นเบาบางลง, ซึ่งถ้าหากมิได้เสวยแล้ว อาพาธที่จักเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคในคราวนี้ ก็จักกำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น. จะเห็นได้ว่า หลังจากที่แสวยแล้ว พระอาพาธทุเลาลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งสามารถเสด็จดำเนินเท้าไปยังกุสินาราได้. (ที.ม.อ.๑๙๐) ส่วนในมิลินทปัญหา ท่านแสดงเหตุผลไว้อีกหลายประการ ดังที่พระเถระได้วิสัชนาไว้ต่อไป.
[2] ที.มหา. มหาจุฬาเตปิฏก ๑๐/๑๙๐/๑๑๓
[3] คำว่า บิณฑบาต ในที่นี้หมายถึงบุญ คือ ทาน ซึ่งมีบิณฑบาตนั้นเป็นอารมณ์ (ที.ม.ฏี.๑๙๗)
[4] การที่บิณฑบาตทั้งสองคราวนี้มีผลมากเสมอกันนั้น เพราะเหตุดังนี้ คือ
๑. มีผลมากเสมอกันด้วยอำนาจแห่งสมาบัติที่มีการพิจารณาธรรมตามลำดับ (ธมฺมานํ อนุมชฺชนสมาปตฺติวเสน) คือ การเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติ คือ สมาบัติอันเป็นธรรมเป็นที่อยู่ ที่พึงเข้าตามลำดับ ๙ อย่าง ได้แก่ รูปฌานสมาบัติ ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ มีอากิญจัญญายตนะ เป็นต้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ๑ มีจำนวนมากมาย คำนวนได้ประมาณสองล้านสี่แสนโกฏิขณะจิต (ดูวิธีคำนวนในฏีกามหาปรินิพพานสูตร ที.ฏี.๒/๑๙๗ และวิสุทธิมรรคมหาฏีกา. วิสุทฺธิ.ฏี.๒/๗๐๗) ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม ภายใน ๒ วันเท่านั้น.
๒. เสมอกันเพราะเป็นเหตุให้ปรินิพพานทั้ง ๒ ครั้ง คือ ในคราวที่นางสุชาดา ที่ถวายข้าวมธุปายาส เสด็จปรินิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน และ ในคราวที่นายจุนทกัมมารบุตร ที่ถวายสูกรมัททวะ เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน.
๓.เสมอกันเพราะการระลึกถึงแห่งทายก คือ นางสุชาดา และ นายจุนทกัมมารบุตร ซึ่งมีปีติโสมนัสดีใจที่บิณฑบาตทานของตนมีคุณยิ่งใหญ่ (มิลินทปัญหาสำนวนล้านนา) กล่าวคือ นางสุชาดา ครั้นได้ถวายข้าวมธุปายาสนั้นแด่พระโพธิสัตว์โดยที่สำคัญว่าเป็นเทวดา ในเวลาต่อมา ครั้นได้ทราบข่าวหลังจากที่ทรงตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณ ว่า "ท่านผู้นี้ไม่ใช่รุกขเทวดาอย่างแน่นอน, ท่านเป็นพระโพธิสัตว์, เมื่อฉันบิณฑบาตนั้นแล้วจึงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ, พระองค์จะทรงดำรงชีพให้เป็นไปได้ถึงเจ็ดสัปดาห์ด้วยบิณฑบาตนั้นอย่างแน่นอน”. เมื่อนางสดับความจริงนั้นแล้วจึงรำลึกว่า “เป็นลาภของเราหนอ” ดังนี้ พลันเกิดปีติและโสมนัสอย่างแรงกล้า. นี่เป็นการรำลึกของนางสุชาดา ในคราวที่ทรงตรัสรู้, ท่านจุนทะก็เช่นกัน เมื่อท่านได้สดับข่าวภายหลังจากการเสด็จปรินิพพานแล้วว่า “เป็นอันว่า เราได้ถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้ายแล้วจริงๆ, ที่สุดแห่งธรรม (คือนิพพาน) เราได้ถือเอาแล้ว, พระศาสดาเสวยบิณฑบาตของเราแล้วทรงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ดังนี้ จึงรำลึกเนืองๆว่า เราได้ลาภหนอ ดังนี้ โสมนัสแรงกล้า จึงเกิดขึ้น. สองคราวนี้มีผลเสมอกันด้วยการระลึกว่า “เราได้ลาภแล้ว” ด้วยประการฉะนี้ (เรียบเรียงจากอรรถกถาและฏีกามหาปรินิพพานสูตร ข้อ ๑๙๗). เรื่องนี้ ทานทั้งสองครั้ืงนั้น มีผลมากเท่ากันโดยประการทั้ง ๓ นี้ มิใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง (ที.ม.ฏี.๑๙๗) (ทั้ง ๓ นี้มีมาในอรรถกถามหาปรินิพพานสูตร แต่ในมิลินทปัญหาแสดงไว้เพียงข้อแรก)
[5] บิณฑบาตที่พระตถาคตได้บริโภคแล้วก็ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้แก่ ข้าวมธุปายาส ที่นางสุชาดาน้อมเข้าไปทูลถวายพระโพธิสัตว์ผู้ทรงเลิกล้มการบำเพ็ญทุกกรกิริยาใหม่ ๆ ซึ่งพอพระองค์ได้เสวยแล้ว ก็เป็นเหตุให้พระวรกายของพระองค์กระปรี้กระเปร่า ช่วยให้ทรงปรารภความเพียรได้ด้วยดี จนกระทั่งได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[6] บิณฑบาตที่ตถาคตบริโภคแล้ว ก็ได้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ บิณฑบาต คือ สูกรมัททวะของนายจุนทกัมมารบุตรนั่นแหละ ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้เสวยแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดพระกำลัง พระอาพาธทุเลาลงไปบ้าง พระเวทนาที่แรงกล้าก็ลดน้อยถอยลงไปบ้าง จนพทรงสามารถเสด็จเดินทางไปถึงเมืองกุสินาราได้แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนั้น ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อันเป็นนิพพานธาตุที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่ คือ สงบระงับขันธ์ที่จะพึงเกิดในภพใหม่.
[7] ที.มหา. มหาจุฬาเตปิฏก ๑๐/๑๙๗/๑๒๐
[8] [ภุญฺชิตฺวา (สี.)]
[9] แม้พระอานนทเถระจะกล่าวไว้อย่างนี้ว่า อถ โข ภควโต จุนทสส ฯเปฯ มรณนติกา[9] หลังจากพระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารของนายจุนทกัมมารบุตร ได้เกิดอาการพระประชวนอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส จวนเจียนจะปรินิพพาน ดังนี้ก็ตาม ท่านพระอานนท์ก็มิได้หมายความว่า สูกรมัททวะที่นายจุนทกัมมารบุตรถวายนั้น เป็นเหตุให้ทรงเกิดอาพาธหนัก เกิดโรคลงพระโลหิต ทำให้พระองค์ต้องเสด็จดับขันธปรินิพพานในที่สุด ท่านเพียงแต่หมายความว่า เมื่อได้เสวยอาหารของนายจุนทะแล้ว พระอาพาธที่ทรงมีอยู่ก่อน เกิดกำเริบขึ้นมา แทบว่าจะทรงดับขันธปรินิพพาน เพราะเหตุที่เสวยเข้าไปใหม่ๆ เท่านั้น ถึงอย่างไรอาหารนี้ก็ช่วยให้พระองค์ทรงมีพระกำลังวรกาย เสด็จดำเนินไปจนถึงเมืองกุสินาราได้
[10] สูกรมัททวะ ได้แก่ เนื้อสุกรโทนที่วัยไม่อ่อนเกินไป ไม่แก่เกินไป เป็นที่ทราบกันว่า เนื้อสุกรที่ว่านั้น เป็นเนื้อที่อ่อนนุ่ม และละเอียด อธิบายว่า นายจุนทกัมมารบุตรตระเตรียม คือให้เขาปรุงสูกรมัททวะนั้นให้เป็นอย่างดี ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า คำว่า สูกรมัททวะ นี้ เป็น เป็นชื่อของวิธีปรุงน้ำต้ม (น้ำซุบ) ที่ประกอบด้วยโครส ๕ อย่าง (มีนมสดเป็นต้น) สำหรับข้าวสุกที่อ่อนนุ่ม อีกพวกหนึ่ง กล่าวว่า ภัตอันมีวิธีปรุงรสอันมาในคัมภีร์รสายนเวท ชื่อว่าสูกรมัททวะ ดังนี้ นายจุนทกัมมารบุตร ได้ตระเตรียมสูกรมัททวะนั้นไว้ เพราะคิดว่า พระผู้มีพระภาคอาจจะไม่มีการปรินิพพาน ก็เทวดาทั้งหลายในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ พร้อมทั้งทวีปบริวาร ๒,๐๐๐ ได้โปรยปรายทิพยโอชะลงไปบนสูกรมัททวะนั้น ดังนี้. ก็สูกรมัททวะนั้น นายจุนทกัมมารบุตรได้ตระเตรียมไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคทรงมีพระอาพาธหนักโดยเฉพาะ จึงเป็นภัตรที่ไม่เหมาะสมแก่การที่ภิกษุอื่นจะพึงฉัน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสไว้ว่า ยนฺเต จุนฺท สูกรมทฺทวํ ฯเปฯ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริวิส[10] ท่านจุนทะ ท่านจงอังคาสเราด้วยสูกรมัททวะที่ท่านตระเตรียมไว้ จงอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยของเคี้ยวของฉันอย่างอื่นที่ตระเตรียมไว้ ดังนี้ (มหาปรินิพพานสูตรอรรถกถา)
[11] ชฏฺฐรคฺคิเตชสฺส ตัดบทเป็น ชฏฺฐรคฺคิ + เตช แปลว่า เตโชธาตุคือไฟที่เผาผลาญอาหารในท้อง. ชฏฺฐ ศัพท์ มีอรรถว่า กุจฺฉิ ท้อง มาจาก ชน ธาตุ + อร ปัจจัย วิเคราะห์ว่า ชายตีติ ชฏฺฐรํ, กุจฺฉิ. (ณฺวาทิ.๑๖๑) ศัพท์ที่มีอรรถว่าท้อง คือ กุจฺฉิ, คหณี, คพฺภ, ปิจิณฺฑ, ธุฏฺฐร, ตุนฺท และชฏฺฐร. บางอาจารย์กล่าวว่า ปาฐะโบราณเป็น ชฏร แต่ในปัจจุบันเป็นรูปสังโยคว่า ชฏฺฐร. (มิลินทลีนัตถปกาสินี)
[12] วาหก มาจาก วห ธาตุ + ณฺวุ หมายถึง สิ่งที่นำไป (หรือทำให้นำไป), ในที่สมาสกับ อุทก (ห้วงน้ำ) ศัพท์ ความหมายจำกัดว่า,กระแสน้ำ หรือ แม่น้ำ ดังฏีกาสารัตถทีปนีอธิบายว่า อุทกวาหกาติ อุทกมาติกํ (สารตฺถ.๒/๔๑๑). แม่น้ำ ชื่อว่า อุทกวาหก. แต่ในบางบริบท หมายถึง แม่น้ำสายใหญ่.
[13] อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ อย่าง คือ สมาบัติอันเป็นธรรมเป็นที่อยู่ ที่พึงเข้าตามลำดับ ๙ อย่าง ได้แก่ รูปฌานสมาบัติ ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ มีอากิญจัญญายตนะ เป็นต้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ๑.
[14] ยตฺร หิ นาม มาจาก ยตฺร + หิ + นาม เป็นกลุ่มนิบาต ส่องความหมายว่า สิ่งที่กล่าวถึงในประโยคก่อนนั้นน่าอัศจรรย์. ในคำนี้ ยตฺร เป็นนิบาตมีรูปแห่งยศัพท์สัตตมีวิภัตติ เรียกว่า วิภัตติปติรูปกนิบาต แต่ก็มีความหมายได้หลายวิภัตติ ตามเนื้อความที่มาในที่นั้นๆ และเป็นวิเสสนะของบทนามที่เพ่งถึง. นาม ศัพท์เป็นนิบาตที่ส่องความหมายว่าอัศจรรย์ (วิมฺยตฺโถหรืออจฺฉริยตฺโถ). หิ ศัพท์ เป็นนิบาตประเภทไม่มีความหมาย (อนตฺถโก) นาม ศัพท์ เท่านั้นที่ส่องอรรถอัศจรรย์ (ที.ม.ฏี.๒/๑๓ มหาปทานสุตฺตฏีกา. แต่ในวากยสัมพันธ์ ท่านกล่าวว่า "ยตฺร ใช้เป็นสัพพนามในอรรถ ย ศัพท์ ท่านแก้ความเป็นปฐมาวิภัตติเป็นต้นตามความในที่มานั้นๆ, เป็นวิเสสนะของบทนามนามที่เพ่งถึง, หินาม พึงใช้เป็นนิบาต เรียกชื่อวา วิมฺยตฺโถ หรืออจฺฉริยตฺโถ (ความเดียวกัน)" (วากย.๒/๕ หน้า ๒๑๓).ในที่นี้ มีอรรถปัญจมีวิภัตติ ในอรรถเหตุ. โบราณาจารย์ไทย ให้แปลว่า มา..ไรเล่า ดังนี้ว่า อนุปุพฺพ ฯลฯ ๙ มหนฺตา เป็นของยิ่งใหญ่ เพราะทาน มาเป็นทานมีผลมาก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอนุปุพพวิหาร ๙ นี้ ไรเล่า