๕/๑. อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตํ (ป.)
๓๕.
เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ
วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเมฯ อถ โข สมฺพหุลา อุชฺฌานสญฺญิกา เทวตาโย
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺปํ เชตวนํ
โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิํสุ; อุปสงฺกมิตฺวา
เวหาสํ อฏฺฐํสุฯ
๕. อุชฌานสัญญิสูตร
ว่าด้วยพวกเทวดาผู้มุ่งหมายจะเพ่งโทษ
๓๕. เอกํ สมยํ สมัยหนึ่ง ภควา
พระผู้มีพระภาค วิหรติ ประทับอยู่ เชตวเน ในพระเชตวัน อาราเม
อันเป็นอาราม อนาถปิณฑิกสฺส ของอนาบิณฑิกเศรษฐี สาวตฺถิยํ เขตกรุงสาวัตถี. อถ
โข ในขณะนั้น รตฺติยา ในราตรีปฐมยาม
อภิกฺกนฺตาย ซึ่งผ่านไป เทวตาโย เทวดาทั้งหลาย อุชฺฌานสฃฺฃิกา
นามว่า อุชฌานสัญญี (มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ) พหุลา มากด้วยกัน อภิกฺกนฺตวณฺณา เป็นผู้มีรัศมีงดงามยิ่ง
เชตวนํ ยังพระเชตวัน เกวลกปฺปํ
ทั่วทั้งสิ้น โอภาเสตฺวา ให้สว่างไสวแล้ว, ภควา พระผู้มีพระภาค วิหรติ
ประทับอยู่ เยน = ยตฺถ ทิสาภาเค
ในส่วนแห่งทิศใด , อุปสงฺมึสุ เข้าไปแล้ว เตน =ตตฺถ = ตํ ทิสาภาคํ สู่ส่วนแห่งทิศนั้น, อุปสงฺกมิตฺวา
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว อุฏฺฅํสุ ได้ยืนแล้ว เวหาสํ = เวหาเส
ในอากาศ.
สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี. ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป
พวกเทวดาผู้มุ่งหมายจะเพ่งโทษจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ยืนอยู่ในอากาศ.
๕/๑.
อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา (อ.)
๓๕. ปญฺจเม
อุชฺฌานสญฺญิกาติ อุชฺฌานสญฺญี เทวโลโก นาม ปาฏิเยกฺโก
นตฺถิ, อิมา ปน เทวตา ตถาคตสฺส จตุปจฺจยปริโภคํ นิสฺสาย อุชฺฌายมานา
อาคตาฯ
อรรถกถาสูตรที่ ๑๕
คำว่า อุชฺฌานสฃฺฃิกา
อธิบายว่า ที่จริง ไม่มีเทวโลก นามว่า อุชฌานสัญญี แยกเป็นอีกแห่งหนึ่ง, แต่เพราะเทวดาเหล่านี้
อาศัยการใช้สอยปัจจัย ๔ ของพระตถาคต มาเพ่งโทษ.
ตาสํ กิร เอวํ อโหสิ –
กล่าวกันว่า
เทวดาเหล่านั้นคิดว่า
‘‘สมโณ
โคตโม ภิกฺขูนํ
ปํสุกูลจีวร-ปิณฺฑิยาโลป-รุกฺขมูลเสนาสนปูติมุตฺตเภสชฺเชหิ สนฺโตสสฺเสว ปริยนฺตการิตํ
วณฺเณติ, สยํ ปน ปตฺตุณฺณทุกูลโขมาทีนิ ปณีตจีวรานิ
ธาเรติ, ราชารหํ
อุตฺตมํ
โภชนํ ภุญฺชติ, เทววิมานกปฺปาย คนฺธกุฏิยา วรสยเน สยติ, สปฺปินวนีตาทีนิ เภสชฺชานิ ปฏิเสวติ, ทิวสํ
มหาชนสฺส ธมฺมํ เทเสติ, วจนมสฺส
อญฺญโต คจฺฉติ, กิริยา
อญฺญโต’’ติ
อุชฺฌายมานา อาคมิํสุฯ
เตน ตาสํ ธมฺมสงฺคาหกตฺเถเรหิ ‘‘อุชฺฌานสญฺญิกา’’ติ
นามํ คหิตํฯ
พระสมณโคดม พึงกระทำข้อกำหนด
สรรเสริญการกระทำที่ทรงกำหนด เพื่อความสันโดษด้วยผ้าบังสุกุล
ก้อนข้าวที่หามาได้จากการเที่ยวบิณฑบาต
รุกขมูลเสนาสนะ เภสัชที่ทำด้วยน้ำมูตรเน่าเท่านั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.แต่พระองค์เอง
กลับทรงจีวรประณีต อาทิ ผ้าปัฏฏุณณะ ผ้าทุกูลพัสตร์ และผ้าโขมพัสตร์,
เสวยโภชนะเลิศที่ควรเป็นพระกระยาหารของพระราชา, บรรทมบนที่นอนอันประเสริฐ ในพระคันธกุฎีซึ่งเปรียบดังเทพวิมาน,
เสวยเภสัชต่างๆ อาทิ เนยใส เนยข้น, ยามกลางวัน ทรงแสดงธรรมแก่มหาชน,
พระดำรัสของพระองค์ไปทางหนึ่ง, การกระทำไปอีกทางหนึ่ง ดังนี้แล้ว
จึงมาเพ่งโทษอยู่. พระธรรมสังคาหกเถระ ตั้งชื่อเทวดาพวกนั้นว่า “อุชฌานสัญญิกา”
แปลว่า เทวดาผู้หมายจะเพ่งโทษ ด้วยเหตุนั้น.
๕/๑.
อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา (ฏี.)
๓๕. อุชฺฌานวเสน ปวตฺตา สญฺญา เอเตสํ อตฺถิ, อุชฺฌานวเสน
วา สญฺชานนฺตีติ อุชฺฌานสญฺญีฯ
เทวดาเหล่านี้ ชื่อว่า
อุชฌานสัญญี เพราะมีความสำคัญหมาย ที่เป็นไปโดยเกี่ยวกับการเพ่งโทษ, อีกนัยหนึ่ง
เพราะเป็นผู้สำคัญหมายไว้โดยเกี่ยวกับการเพ่งโทษ.
การเยติ กตานํ ปริยนฺตํ การเยติ อตฺโถฯ
การเย
พึงกระทำ ความว่า พึงกระทำการกำหนดแก่ภิกษุทั้งหลายผู้กระทำ.
ปริยนฺตการิตนฺติ ปริจฺฉินฺนการิตํ ปริมิตวจนนฺติ อตฺโถฯ
ปริยนฺตการิตํ =
ปริจฺฉินฺนการิตํ (ทรงสรรเสริญ) การกระทำที่ทรงกำหนดแล้ว คือ
ถ้อยคำที่ทรงกำหนดแล้ว
ปํสุกูลาทิปฏิปกฺขนเยน ปตฺตุณฺณทุกุลาทิ วุตฺตํฯ
พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงผ้าปัตตุณณะ
ผ้าทุกุลพัสตร์เป็นต้น โดยหลักการอธิบายที่ตรงข้ามกับผ้าบังสุกุล.
นามํ
คหิตนฺติ เอเตน ‘‘อุชฺฌานสญฺญิกา’’ติ
เอตฺถ ก-สทฺโท สญฺญายนฺติ ทสฺเสติฯ
ด้วยคำว่า นามํ คหิตํ
พระธรรมสังคาหกเถระ ได้ตั้งชื่อว่า อุชฌานสัญญี นี้แสดงว่า ก อักษร ในคำว่า
อุชฺฌานสฃฺฃิก นี้ใช้ในความหมายว่า ชื่อ.
v
๕/๒. อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตํ (ป.)
เวหาสํ ฐิตา โข เอกา เทวตา ภควโต
สนฺติเก อิมํ คาถํ อภาสิ –
เอกา
เทวตา
เทวดาองค์หนึ่ง ฐิตา โข ยืนแล้ว เวหาสํ = เวหาเส ในอากาศ อภาสิ กล่าวแล้ว อิมํ คาถํ
ซึ่งคาถานี้ สนฺติเก ในสำนัก ภควโต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อิติ
ว่าดังนี้
‘‘อญฺญถา
สนฺตมตฺตานํ, อญฺญถา
โย ปเวทเย;
นิกจฺจ กิตวสฺเสว, ภุตฺตํ เถยฺเยน ตสฺส ตํฯ
‘‘ยญฺหิ
กยิรา ตญฺหิ วเท, ยํ
น กยิรา น ตํ วเท;
อกโรนฺตํ ภาสมานานํ, ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา’’ติฯ
โย
ปุคฺคโล บุคคลใด
ปเวทเย พึงประกาศ อตฺตานํ ซึ่งตน สนฺตํ ผู้มีอยู่ อญฺญถา
โดยอาการอย่างหนึ่ง อญฺญถา ไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง, ตํ [จตุนฺนํ ปจฺจยานํ ปริภุญฺชนํ] การบริโภคปัจจัย๔ นั้น ตสฺส [ปุคฺคลสฺส] ของบุคคลนั้น ภุตฺตํ ชื่อว่า เป็นการบริโภค เถยฺเยน โดยอาการแห่งขโมย นิกจฺจ
เพราะล่อลวง กิตวสฺส ภุตฺตํ ว เหมือนอย่างการบริโภคเนื้อนกของพรานนกเพราะล่อลวง
ฉะนั้น.
หิ
ที่จริง ปุคฺคโล บุคคล กยิรา พึงกระทำ ยํ กมฺมํ กรรมใด, วเท
พึงกล่าว ตํ กมฺมํ ซึ่งกรรมนั้น, น กยิรา ไม่กระทำ ยํ กมฺมํ ซึ่งกรรมใด, น วเท
ไม่พึงกล่าว ตํ กมฺมํ
ซึ่งกรรมนั้น, หิ เพราะว่า ปณฺฑิตา บัณฑิต ปริชานนฺติ สามารถกำหนดรู้
ปุคฺคลํ ซึ่งบุคคล ภาสมานานํ
ผู้กล่าว อกโรนฺตํ (แต่) ไม่กระทำ.
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ในอากาศได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลใด ตนเป็นอย่างหนึ่ง กลับประกาศให้เขารู้อีกอย่างหนึ่ง
บุคคลนั้น ชื่อว่า ลวงเขาบริโภคโดยความเป็นขโมย
เหมือนพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น.
ความจริง บุคคลทำกรรมใด
ควรพูดถึงกรรมนั้น ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึงกรรมนั้น. บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด.
๕/๒.
อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา (อ.)
อรรถกถา (ต่อ)
อญฺญถา
สนฺตนฺติ
อญฺเญนากาเรน ภูตํฯ นิกจฺจาติ
นิกติยา วญฺจนาย, วญฺเจตฺวาติ อตฺโถฯ
ข้อความว่า อฃฺฃถา สนฺตํ
คือ ความจริงที่อยู่โดยอาการอื่น.
คำว่า นิกจฺจ เพราะลวง
หมายถึง เพราะการล่อ, คือ การลวง ได้แก่ เพราะหลอก.
กิตวสฺเสวาติ
กิตโว วุจฺจติ สากุณิโกฯ โส หิ อคุมฺโพว สมาโน สาขปณฺณาทิ- ปฏิจฺฉาทเนน คุมฺพวณฺณํ ทสฺเสตฺวา
อุปคเต โมรติตฺติราทโย สกุเณ
มาเรตฺวา ทารภรณํ กโรติฯ อิติ
ตสฺส กิตวสฺส อิมาย วญฺจนาย
เอวํ วญฺเจตฺวา สกุณมํสโภชนํ วิย กุหกสฺสาปิ ปํสุกูเลน อตฺตานํ ปฏิจฺฉาเทตฺวา กถาเฉกตาย มหาชนํ วญฺเจตฺวา
ขาทมานสฺส วิจรโตฯ
คำว่า กิตวสฺเสว เป็นต้น
ความว่า
พรานนก (บุคคลผู้มีอาชีพฆ่านก) เรียกว่า
กิตวะ. จะเห็นได้ว่า พรานนก ตนเองไม่ใช่พุ่มไม้นั่นเทียว ก็ (แสร้ง) แสดงตนดุจพุ่มไม้
โดยเอากิ่งไม้ใบไม้เป็นต้นพรางตัว ฆ่านก ที่เข้ามาใกล้ เช่นนกยูง นกกระทาเป็นต้น
เลี้ยงดูบุตรภรรยา. เพราะเหตุนี้ การบริโภคของบุคคลผู้หลอกลวงนั้น
เอาผ้าบังสุกุลบังตนลวงมหาชนเที่ยวบริโภคอยู่ เพราะตนมีวาทศิลป์ดี (ฉลาดพูด) ประหนึ่งว่า
พรานนกล่อลวงนกด้วยพฤติกรรมหลอกลวงทำนองนี้แล้วกินเนื้อของมัน ฉะนั้น.
ภุตฺตํ
เถยฺเยน ตสฺส ตนฺติ สพฺโพปิ ตสฺส จตุปจฺจยปริโภโค เถยฺเยน ปริภุตฺโต
นาม โหตีติ เทวตา ภควนฺตํ สนฺธาย วทติฯ
เทวดา กล่าวข้อความว่า ภุตฺตํ
เถยฺเยน ตสฺส ตํ การบริโภคของบุคคลผู้หลอกลวงนั้น ชื่อว่า
การบริโภคโดยอาการที่ขโมย หมายถึงองค์พระผู้มีพระภาค ว่า
การบริโภคปัจจัยสี่แม้ทั้งหมดของบุคคลผู้หลอกลวงนั้น ชื่อว่า
เป็นการบริโภคโดยความเป็นขโมย.
ปริชานนฺติ ปณฺฑิตาติ
อยํ การโก วา อการโก วาติ ปณฺฑิตา ชานนฺติฯ อิติ ตา เทวตา ‘‘ตถาคตาปิ มยเมว ปณฺฑิตา’’ติ
มญฺญมานา เอวมาหํสุฯ
ข้อความว่า ปริชานนฺติ
ปณฺฑิตา บัณฑิตสามารถแยกแยะ หมายความว่า บัณฑิต ย่อมรู้จักว่า
“ผู้นี้เป็นผู้ทำ, หรือเป็นผู้ไม่ทำ (ตามที่พูด)”. ด้วยประการดังนี้ เป็นอันเทวดาพวกนั้นสำคัญตนอยู่ว่า
“พวกเราเท่านั้น แม้ที่มาโดยประการอย่างนั้น เป็นบัณฑิต” จึงกล่าวทำนองนี้ .
๕/๒. อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา (ฏี.)
อญฺเญนากาเรน
ภูตนฺติ
อตฺตนา ปเวทิยมานาการโต อญฺเญน อสุทฺเธน อากาเรน วิชฺชมานํ อุปลพฺภมานํ อตฺตานํฯ
ข้อความว่า อญฺเญนากาเรน
ภูตํ หมายความว่า (ประกาศ) ตนเองซึ่งมีอยู่ คือ ปรากฏโดยอาการที่ไม่หมดจด ซึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งจากอาการที่ตนเที่ยวประกาศอยู่.
วญฺเจตฺวาติ
ปลมฺเภตฺวาฯ
วญฺเจตฺวา
แก้เป็น ปลมฺเภตฺวา ล่อลวง
ตสฺส กุหกสฺสฯ
ตสฺส บุคคลนั้น
หมายถึง กุหกสฺส ผู้หลอกลวง
ตํ จตุนฺนํ ปจฺจยานํ ปริภุญฺชนํฯ
ตํ
หมายถึง
ปริภุญฺชนํ คือ การบริโภคปัจจัย ๔.
ปริชานนฺตีติ
ตสฺส ปฏิปตฺติํ
ปริจฺฉิชฺช ชานนฺติฯ
ปริชานนฺติ
กระจายบทเป็น ปริจฺฉิชฺช ชานนฺติ แปลว่า
บัณฑิตกำหนดจับข้อปฏิบัติของผู้โกหกนั้นก็จะรู้ได้.
การโกติ
สมฺมาปฏิปตฺติยา กตฺตา, สมฺมาปฏิปชฺชิตาติ อตฺโถฯ
การโก
ผู้กระทำ หมายถึง ผู้กระทำซึ่งการปฏิบัติชอบ/ถูกต้องตามธรรม. ความก็ว่า
ผู้ปฏิบัติถูกธรรม.
v
๕/๓. อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตํ (ป.)
ภควา
พระผู้มีพระภาค อาห ตรัส อิมา
คาถาโย พระคาถาเหล่านี้ อิติ
ว่าดังนี้
‘‘น ยิทํ ภาสิตมตฺเตน, เอกนฺตสวเนน วา;
อนุกฺกมิตเว สกฺกา, ยายํ
ปฏิปทา ทฬฺหา;
ยาย ธีรา ปมุจฺจนฺติ, ฌายิโน มารพนฺธนาฯ
‘‘น เว ธีรา ปกุพฺพนฺติ, วิทิตฺวา โลกปริยายํ;
อญฺญาย นิพฺพุตา ธีรา, ติณฺณา โลเก วิสตฺติก’’นฺติฯ
อิทํ
= อยํ ปฏิปทา
ปฏิปทานี้ น สกฺกา อันใครๆไม่อาจ อนุกฺกมิตเว เพื่อหยั่งลง ภาสิตมตฺเตน
วา ด้วยเพียงการกล่าว, เอกนฺตสวเนน วา หรือด้วยเพียงการฟังอย่างเดียว.ยา
อยํ ปฏิปทา คือ ปฏิปทานี้ ทฬฺหา อันมั่นคง,
[เย] ธีรา ธีรชนเหล่าใด ฌายิโน
มีความเพ่งพินิจ ปมุจฺจนฺติ หลุดพ้น มารพนฺธนา จากบ่วงมาร ยาย
ปฏิปทาย ด้วยปฏิปทาใด, [เต
ธีรา] ธีรชนเหล่านั้น น สกฺกา ไม่อาจ ปฏิปชฺชิตุ ปฏิบัติ
ตํ ปฏิปทํ ปฏิปทานั้น
ภาสิตมตฺเตน จ เพียงการพูด, สวนมตฺเตน จ และการฟัง.
[เย] ธีรา
ธีรชนเหล่าใด
วิทิตฺวา รู้แจ้ง โลกปริยายํ ความดำเนินไปของโลก อญฺญาย ตรัสรู้ [จตุสจฺจธมฺเม]
สัจจธรรม
๔ นิพฺพุตา ดับกิเลสแล้ว ติณฺณา
ข้ามพ้น วิสฺสตฺติกํ ตัณหาเป็นเครื่องข้อง โลเก
ในโลก, เต ธีรา บัณฑิตนั้น น
ปกุพฺพนฺติ ย่อมไม่ประพฤติตน เอวํ เยี่ยงนี้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ใครๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟังอย่างเดียว
ผู้มีปัญญาทั้งหลายมีความเพียรเพ่งพินิจ ย่อมพ้นจากเครื่องผูกของมารด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้.
ผู้มีปัญญาทั้งหลาย
ทราบความเป็นไปของโลกรู้ชัด
ดับกิเลสได้แล้ว
ข้ามพ้นตัณหาเป็นเครื่องข้องในโลกแล้วย่อมไม่พูดโดยแท้.
๕/๓.
อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา (อ.)
อถ ภควา นยิทนฺติอาทิมาหฯ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถามีอาทิว่า
นยิทํ
ตตฺถ
ในพระคาถานั้น
มีอรรถาธิบายดังนี้
ยายํ
ปฏิปทา ทฬฺหาติ
อยํ ธมฺมานุธมฺมปฏิปทา ทฬฺหา ถิราฯ
ข้อความว่า ยายํ ปฏิปทา
ทฬฺหา ความว่า ปฏิปทานี้ คือ ปฏิปทาอันเป็นธรรมที่เหมาะสมต่อธรรมคือนิพพาน
ที่หนักแน่น มั่นคง.
ยาย ปฏิปทาย
ธีรา ปณฺฑิตา อารมฺมณูปนิชฺฌาเนน ลกฺขณูปนิชฺฌาเนน จาติ ทฺวีหิ ฌาเนหิ ฌายิโน มารพนฺธนา ปมุจฺจนฺติ, ตํ
ปฏิปทํ ภาสิตมตฺเตน วา สวนมตฺเตน วา โอกฺกมิตุํ ปฏิปชฺชิตุํ น
สกฺกาติ อตฺโถฯ
ธีรชน คือ
บัณฑิต ผู้มีการพินิจ โดยพินิจอารมณ์และพินิจลักษณะ ย่อมหลุดพ้น จากบ่วงมาร
ด้วยปฏิปทาใด, หมายความว่า ธีรชนนั้น
ไม่สามารถเข้าถึงคือปฏิบัติปฏิปทานั้นเพียงการกล่าวหรือการฟัง.
น
เว ธีรา ปกุพฺพนฺตีติ
ธีรา ปณฺฑิตา วิทิตฺวา โลกปริยายํ สงฺขารโลกสฺส อุทยพฺพยํ ญตฺวา จตุสจฺจธมฺมญฺจ
อญฺญาย กิเลสนิพฺพาเนน นิพฺพุตา โลเก วิสตฺติกํ ติณฺณา เอวํ น กุพฺพนฺติ,
มยํ
เอวรูปานิ น กเถมาติ อตฺโถฯ
ข้อความว่า น เว ธีรา
ปกุพฺพนฺติ ธีรชน จะประพฤติเยี่ยงนี้หามิได้
ความว่า ธีรชน คือ บัณฑิต
ครั้นได้รู้ความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งโลกคือสังขารและตรัสรู้สัจจธรรม ๔ แล้ว
ชื่อว่า เป็นผู้ดับ เพราะการดับกิเลส เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลก
ย่อมไม่ประพฤติเยี่ยงนี้ คำว่า ไม่ประพฤติเยี่ยงนี้ หมายความว่า
พวกเราจะไม่กล่าวคำพูดเห็นปานนี้.
๕/๓.
อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา (ฏี.)
อิทนฺติ
ลิงฺควิปลฺลาเสน วุตฺตํ, อยนฺติ อตฺโถฯ
บทว่า อิทํ ท่านกล่าวโดยลิงควิปัลลาส
คือ เปลี่ยนลิงค์, อันที่จริง คือ อยํ.
ธมฺมานุธมฺมปฏิปทาติ
นิพฺพานธมฺมสฺส อนุจฺฉวิกตาย อนุธมฺมภูตา
ปฏิปทาฯ
ธมฺมานุธมฺมปฏิปทา
กระจายบทและมีความหมายว่า ปฏิปทา อันเป็นธรรมที่เหมาะสม
เพราะเหมาะสมต่อธรรมคือนิพพาน.
ปฏิปกฺขวิธมเน อสิถิลตาย ทฬฺหาฯ
ปฏิปทานี้
ชื่อว่า มั่นคง เพราะไม่ย่อหย่อนในการทำลายปฏิปักขธรรม.
ภาสิตมตฺเตน
จ สวนมตฺเตน จาติ
เอตฺถ จ-สทฺโท
วิเสสนิวตฺติอตฺโถฯ เตน
ภาสิตสฺส สุตสฺส จ สมฺมาปฏิปตฺติวิเสสํ นิวตฺเตติฯ
จ ศัพท์
ในข้อความว่า ภาสิตมตฺเตน จ สวนมตฺเตน
จ เพียงการพูดและการฟัง
มีความหมายเกี่ยวกับปฏิเสธความเฉพาะ. ด้วย จ ศัพท์
จึงปฏิเสธสัมมาปฏิบัติประเภทที่เป็นการพูดและฟัง.
โลกปริยายนฺติ
โลกสฺส ปริวิธมนํ อุปฺปาทนิโรธวเสน สงฺขารานํ ปราวุตฺติํฯ
เตนาห ‘‘สงฺขารโลกสฺส อุทยพฺพย’’นฺติฯ สฺวายมตฺโถ สจฺจปฏิเวเธเนว โหตีติ อาห ‘‘จตุสจฺจธมฺมญฺจ อญฺญายา’’ติฯ
คำว่า โลกปริยายํ ความดำเนินไปของโลก
หมายถึง การแตกทำลายแห่งโลก กล่าวคือ ความดำเนินไปข้างหน้า (ปราวุตฺติํ) แห่งสังขารทั้งหลาย
เกี่ยวกับความเกิดขึ้นและดับไป. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า สงฺขารโลกสฺส อุทยพฺพยํ
รู้ความเกิดขึ้นและเสื่อมไปแห่งโลกคือสังขาร. เนื้อความนี้ ย่อมมี เพราะแทงตลอดสัจจะเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว (ต่อไป) ว่า จตุสจฺจธมฺมญฺจ อญฺญาย และตรัสรู้สัจจธรรม
๔ ประการ.
เอวํ
น กุพฺพนฺตีติ
อตฺตนิ วิชฺชมานมฺปิ คุณํ อนาวีกโรนฺโต ‘‘ยถา
ตุมฺเห วทถ, เอวํ น
กุพฺพนฺตี’’ติ อวิชฺชมานตํ พฺยากโรตีติ อตฺโถฯ
ข้อความว่า เอวํ น
กุพฺพนฺติ ย่อมไม่ประพฤติเยี่ยงนี้ ความว่า ธีรชน ไม่เปิดเผยคุณ
ถึงจะมีอยู่ในตน ย่อมชื่อว่า เปิดเผย ความที่ข้อครหานั้นไม่มี ดังนี้ว่า
“พวกท่านกล่าวโดยประการใด, ธีรชน หาได้ประพฤติ โดยประการเช่นนั้นไม่”
v
๕/๔. อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตํ (ป.)
อถ โข ตา เทวตาโย ปถวิยํ ปติฏฺฐหิตฺวา ภควโต ปาเทสุ สิรสา นิปติตฺวา ภควนฺตํ เอตทโวจุํ –
อถ
โข
ในขณะนั้น ตา เทวตาโย พวกเทวดาเหล่านั้น ปติฏฺฐหิตฺวา ยืนแล้ว ปถวิยํ
ที่พื้นดิน นิปติตฺวา หมอบแล้ว ปาเทสุ แทบพระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค
สิรสา ด้วยเศียรเกล้า, นิปติตฺวา ครั้นหมอบแล้ว เอตํ อโวจุํ
ได้กราบทูล เอตํ วจนํ คำนั้น ภควนฺตํ กะพระผู้มีพระภาค อิติ
ว่า ดังนี้
‘‘อจฺจโย
โน, ภนฺเต, อจฺจคมา
ยถาพาลํ ยถามูฬฺหํ ยถาอกุสลํ, ยา
มยํ ภควนฺตํ อาสาเทตพฺพํ
อมญฺญิมฺหาฯ ตาสํ โน, ภนฺเต, ภควา อจฺจยํ อจฺจยโต ปฏิคฺคณฺหาตุ อายติํ สํวรายา’’ติฯ
ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อจฺจโย ความผิด อจฺจคมา เป็นไปครอบงำ โน=อมฺเห พวกข้าพระองค์, ยถาพาลํ ซึ่งล้วนโง่เขลา,
ยถามูฬฺหํ งมงาย, ยถาอกุสลํ ไม่ฉลาด ยา มยํ พวกข้าพระองค์เหล่าใด
อมญฺญิมฺหา สำคัญแล้ว ภควนฺตํ ซึ่งผู้มีพระภาค อาสาเทตพฺพํ ว่าเป็นผู้อันเราพึงเสียดสี. ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภควา
ขอพระผู้มีพระภาค ปฏิคฺคณฺหาตุ จงรับ อจฺจยํ
ซึ่งความผิด อจฺจยโต โดยความเป็นโทษ ตาสํ โน=อมฺหากํ ของข้าพระองค์เหล่านั้น สํวราย
เพื่อความระมัดระวัง อายติํ สืบไป.
ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นลงมายืนอยู่บนพื้นดิน
หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ได้กระทำความผิด เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา
พวกข้าพระองค์ได้สำคัญผิดว่า พระผู้มีพระภาคอันพวกเราพึงรุกราน, ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์ เพื่อสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
v
๕/๔.
อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา (อ.)
ปถวิยํ
ปติฏฺฐหิตฺวาติ
อยุตฺตํ อมฺเหหิ กตํ, อการกเมว
มยํ การกวาเทน สมุทาจริมฺหาติ ลชฺชมานา มหาพฺรหฺมนิ วิย ภควติ คารวํ ปจฺจุปฏฺฐเปตฺวา อคฺคิกฺขนฺธํ วิย
ภควนฺตํ ทุราสทํ กตฺวา ปสฺสมานา อากาสโต
โอตริตฺวา
ภูมิยํ ฐตฺวาติ อตฺโถฯ
ปถวิยํ
ปติฏฺฐหิตฺวา
ยืนบนพื้นดิน ความว่า เทวดาเหล่านั้น ละอายว่า เราได้ทำกรรมไม่สมควร,
ได้โพนทนาพระองค์ผู้มิได้ทำความผิดนั่นเทียวว่าเป็นผู้ทำความผิด ดังนี้แล้ว
จึงตั้งความเคารพในพระผู้มีพระภาคดุจเคารพท้าวมหาพรหม
กระทำพระผู้มีพระภาคให้เป็นผู้ถูกเบียดเบียนได้ยาก เหมือนกองไฟ เมื่อเห็นโทษอยู่
จึงลงจากอากาศแล้วยืนบนแผ่นดิน.
อจฺจโยติ
อปราโธฯ โน,
ภนฺเต, อจฺจาคมาติ อมฺเห อติกฺกมฺม
อภิภวิตฺวา ปวตฺโตฯ อาสาเทตพฺพนฺติ
ฆฏฺฏยิตพฺพํฯ ตา กิร เทวตา ภควนฺตํ กาเยน วาจายาติ ทฺวีหิปิ
ฆฏฺฏยิํสุฯ
ตถาคตํ อวนฺทิตฺวา อากาเส ปติฏฺฐมานา กาเยน ฆฏฺฏยิํสุ, กิตโวปมํ
อาหริตฺวา นานปฺปการกํ อสพฺภิวาทํ วทมานา วาจาย ฆฏฺฏยิํสุฯ
ตสฺมา อาสาเทตพฺพํ อมญฺญิมฺหาติ อาหํสุฯ
อจฺจโย แก้เป็น อปราโธ
คือ ความผิด.
ข้อความว่า โน ภนฺเต
อจฺจาคมา ความว่า ความผิดบีบคั้น คือเป็นไปครอบงำข้าพระองค์อยู่อย่างนั้น.
อาสาเทตพฺพํ
คือ
ฆฏฏยิตพฺพํ หมายถึง พึงถูกกระทบกระทั่ง. ว่ากันว่า เทวดาพวกนั้น ได้กระทบกระทั่งพระผู้มีพระภาค
ทั้งกายและวาจา. คือ มิได้ถวายบังคมพระตถาคต เมื่อยืนอยู่ในอากาศ ชื่อว่า กระทบกระทั่งพระผู้มีพระภาคด้วยกาย,
เมื่อนำอุปมาด้วยคนล่อลวง กล่าววาจาหยาบคายนานัปประการ ชื่อว่า
กระทบกระทั่งด้วยวาจา. เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาเหล่านั้น จึงกราบทูลว่า “อาสาเทตพฺพํ
อมฃฺฃิมฺหา พวกข้าพระองค์สำคัญพระองค์ว่าสมควรจะถูกข่มเหง”
ปฏิคฺคณฺหาตูติ
ขมตุฯ อายติํ
สํวรายาติ อนาคเต สํวรณตฺถาย, ปุน
เอวรูปสฺส อปราธสฺส โทสสฺส อกรณตฺถายฯ
ปฏิคฺคณฺหาตุ
= ขมตุ แปลว่า ขอทรงอด
(กลั้นซึ่งความผิดนั้น)
อายติํ
สํวราย
เพื่อสังรวมต่อไป = อนาคเต สํวรณตฺถาย แปลว่า
เพื่อความระมัดระวังในอนาคต หมายความ
เพื่อประโยชน์แก่การไม่ทำความผิดเยี่ยงนี้อีก.
๕/๔.
อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา (ฏี.)
อการกเมวาติ
โทสํ อการกเมวฯ อจฺจยสฺส ปฏิคฺคณฺหนํ
นาม อธิวาสนํ, เอวํ โส เทสเกน เทสิยมาโน ตโต วิคโต นาม
โหติฯ เตนาห ‘‘ปฏิคฺคณฺหาตูติ
ขมตู’’ติฯ
บทว่า อการกเมว
ผู้ไม่กระทำ หมายถึง ไม่กระทำความผิดนั่นเทียว.
ชื่อว่า การรับความผิด
ได้แก่ ความอดกลั้นต่อความผิดนั้น, เมื่อเป็นอย่างนี้ ความผิดนั้นนั้น
อันบุคคลผู้แสดง แสดงอยู่ ชื่อว่า ไปปราศจากผู้แสดงความผิดนั้น เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงอธิบายว่า คำว่า จงรับ หมายถึง
จงอด (คือ อดทนอดกลั้น) โทษ.
v
๕/๕. อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตํ
(ป.)
อถ โข ภควา สิตํ
ปาตฺวากาสิฯ
อถ
โข ครั้งนั้น
ภควา พระผู้มีพระภาค
อกาสิ ได้กระทำแล้ว สิตํ ซึ่งการแย้มพระโอษฐ์ ปาตุ ให้ปรากฏ.
[ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์แล้ว]
อถ โข
ตา เทวตาโย ภิยฺโยโสมตฺตาย อุชฺฌายนฺติโย เวหาสํ อพฺภุคฺคญฺฉุํฯ เอกา เทวตา ภควโต
สนฺติเก อิมํ คาถํ อภาสิ –
อถ
โข
ครั้งนั้น ตา เทวตาโย เทวดาเหล่านั้น อุชฺฌายนฺติโย เมื่อจะยกโทษ ภิยฺโยโสมตฺตาย โดยประมาณยิ่ง
อพฺภุคฺคฃฺฉุ เหาะขึ้นไปแล้ว เวหาสํ สู่อากาศ อภาสิ จึงกราบทูล อิมํ คาถํ ซึ่งคาถานี้ สนฺติเก
ในสำนัก ภควโต พระผู้มีพระภาค อิติ ว่า ดังนี้
‘‘อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ, โย เจ น ปฏิคณฺหติ;
โกปนฺตโร โทสครุ, ส
เวรํ ปฏิมุญฺจตี’’ติฯ
โย
ปุคฺคโล
บุคคลใด โกปนฺตโร มีความโกรธเกิดภายใน โทสครุ ทำความโกรธให้เป็นใหญ่ น
ปฏิคฺคณฺหาติ ไม่ยอมรับ อจฺจยํ
ความผิด เทสยนฺตีนํ ของผู้แสดงความผิด, โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น ปฏิมุฃฺจติ ย่อมผูก เวรํ
ซึ่งเวร
[เมื่อเราขอโทษอยู่
หากบุคคลใดไม่ยอมยกโทษให้ ยังมีความโกรธอยู่ภายใน มีความแค้นเคืองหนัก บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมผูกเวร]
‘‘อจฺจโย
เจ น วิชฺเชถ, โนจิธาปคตํ สิยา;
เวรานิ น จ สมฺเมยฺยุํ, เกนีธ กุสโล
สิยา’’ติฯ
เจ หาก
อจฺจโย ความผิด น วิชฺเชถ ไม่พึงมี, จ = เจ อิธ
หาก อปคตํ=อปราโธ ความผิด โน
สิยา ไม่พึงมี, เจ หาก เวรานิ
เวรทั้งหลาย น สมฺเมยฺยุํ
ไม่พึงสงบ, กุสโล = อนวชฺโช บุคคลผู้ไม่มีโทษ
ภเวยฺย พึงมี อิธ เกน (การเณน) เพราะเหตุไร?
[หากโทษไม่มี
ความผิดไม่มี และเวรทั้งหลาย ไม่สงบ, บุคคลเป็นผู้ไม่มีโทษได้อย่างไร]
‘‘กสฺสจฺจยา น วิชฺชนฺติ, กสฺส นตฺถิ อปาคตํ;
โก น สมฺโมหมาปาทิ, โก จ ธีโร สทา
สโต’’ติฯ
อจฺจยา=อจฺจโย ความผิด กสฺส
ของใคร น วิชฺชนฺติ = วิชฺชติ
ย่อมไม่มี, อปคตํ =
อปราโธ
โทษ นตฺถิ ย่อมไม่มี กสฺส แก่ใคร, โก ใคร น อาปาทิ ไม่ถึงแล้ว สมฺโมหํ
ซึ่งความลุ่มหลง, โก ใคร สโต มีสติ ธีโร มีปัญญา สทา
เป็นนิตย์.
[ใครบ้างไม่มีโทษ ใครบ้างไม่มีความผิด ใครบ้างไม่ถึงความลุ่มหลงในโลกนี้ ใครเป็นผู้มีปัญญา มีสติในกาลทุกเมื่อเล่า.]
ภควา
พระผู้มีพระภาค อโวจ ได้ตรัสแล้ว อิมา คาถาโย พระคาถาเหล่านี้ว่า
‘‘ตถาคตสฺส พุทฺธสฺส, สพฺพภูตานุกมฺปิโน;
ตสฺสจฺจยา น วิชฺชนฺติ, ตสฺส นตฺถิ อปาคตํ;
โส
น สมฺโมหมาปาทิ, โสว ธีโร สทา สโต’’ติฯ
อจฺจยา=อจฺจโย ความผิดพลาด ตสฺส
ตถาคตสฺส พุทฺธสฺส ของพระตถาคตพุทธเจ้า สพฺพภูตานุกมฺปิโน
ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง น
วิชฺชนฺติ = น วิชฺชติ
ย่อมไม่มี, อปาคตํ ความผิด ตสฺส พุทฺธสฺส ของพระพุทธเจ้า นตฺถิ ย่อมไม่มี,
โส พุทฺโธ พระพุทธเจ้า น อาปาทิ
ไม่ถึง สมฺโมหํ ความลุ่มหลง,
โสว พระพุทธเจ้าเท่านั้น ธีโร มีปัญญา สโต มีสติ สทา
เป็นนิตย์.
‘‘อจฺจยํ
เทสยนฺตีนํ, โย
เจ น ปฏิคณฺหติ;
โกปนฺตโร โทสครุ,
ส เวรํ ปฏิมุญฺจติ;
ตํ เวรํ นาภินนฺทามิ, ปฏิคฺคณฺหามิ
โวจฺจย’’นฺติฯ
เจ
หากว่า โย ปุคฺคโล บุคคลใด น ปฏิคนฺหติ ไม่ยอมรับ อจฺจยํ
ซึ่งความผิด เทสยนฺตีนํ ของบุคคลผู้แสดงอยู่, โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น โกปนฺตโร
ซึ่งในใจยังโกรธอยู่, โทสครุ ยังโกรธหนักหนา ปฏิมุฃฺจติ ชื่อว่า ผูก เวรํ
เวร, อหํ เราตถาคต น อภินนฺทามิ มิได้ปรารถนา ตํ เวรํ เวร, ปฏิคฺคณฺหามิ
ยอมรับ อจฺจยํ ความผิด โว ของพวกเธอ.
[อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ]
v
๕/๕. อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา
(อ.)
สิตํ ปาตฺวากาสีติ
อคฺคทนฺเต ทสฺเสนฺโต ปหฏฺฐาการํ ทสฺเสสิฯ กสฺมา?
ตา
กิร เทวตา น สภาเวน ขมาเปนฺติ, โลกิยมหาชนญฺจ
สเทวเก โลเก อคฺคปุคฺคลํ ตถาคตญฺจ เอกสทิสํ กโรนฺติฯ อถ ภควา ‘‘ปรโต
กถาย อุปฺปนฺนาย พุทฺธพลํ ทีเปตฺวา ปจฺฉา
ขมิสฺสามี’’ติ
สิตํ ปาตฺวากาสิฯ
สิตํ ปาตฺวากาสิ พระผู้มีพระภาค
ทรงแย้มพระโอษฐ์แล้ว หมายความว่า
หากพระองค์ทรงแสดงพระทนต์ประเสริฐ แสดงว่าทรงแสดงอาการที่ยินดี . เหตุไรจึงทรงแสดงอาการที่ยินดี? ได้ยินว่า เทวดานี้ มิได้มีความจริงใจ
ให้พระผู้มีพระภาคทรงอภัย,
มิหนำซ้ำยังกระทำมหาชนผู้เป็นโลกิยบุคคลให้เท่าเทียมกับพระตถาคตผู้ทรงเป็นอัครบุคคลในมนุษย์และเทวดา.
ขณะนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “เมื่อมีผู้อื่นพูดจบแล้ว เราตถาคตจักแสดงกำลังแห่งพระพุทธเจ้าแล้วจึงยกโทษให้”
ดังนี้ จึงทรงแย้มพระโอษฐ์.
ภิยฺโยโส
มตฺตายาติ อติเรกปฺปมาเณนฯ
ภิยฺโยโส
มตฺตาย
หมายถึง อติรกปฺปมาเณน แปลว่า โดยประมาณยิ่ง (รุกรานมากขึ้น)
อิมํ
คาถํ อภาสีติ
กุปิโต เอส อมฺหากนฺติ มญฺญมานา
อภาสิฯ
อิมํ
คาถํ อภาสิ เทวดากล่าวคาถานี้
เพราะสำคัญว่า พวกเราทำพระตถาคตให้กริ้วแล้ว.
น
ปฏิคณฺหตีติ
น ขมติ นาธิวาเสติฯ
น
ปฏิคฺคณฺหติ
ไม่ยอมรับ หมายถึง ไม่อดกลั้น คือ ไม่งดโทษ.
โกปนฺตโรติ
อพฺภนฺตเร อุปฺปนฺนโกโปฯ
โกปนฺตโร
หมายถึง
ผู้มีความโกรธเกิดขึ้นภายใน.
โทสครูติ
โทสํ ครุํ
กตฺวา
อาทาย วิหรนฺโตฯ
โทสครุ
หมายถึง ผู้ถือความโกรธให้เป็นใหญ่อยู่ (ยังคงโกรธอยู่, ไม่เลิกโกรธ)
ส
เวรํ ปฏิมุญฺจตีติ
โส เอวรูโป คณฺฐิกํ ปฏิมุญฺจนฺโต วิย ตํ เวรํ อตฺตนิ ปฏิมุญฺจติ
ฐเปติ, น ปฏินิสฺสชฺชตีติ อตฺโถฯ
ส
เวรํ ปฏิมุญฺจติ ความว่า บุคคลเห็นปานนั้น ย่อมผูก คือว่า ตั้งเวรนั้นในตน
เหมือนผูกปมไว้ หมายความว่า ไม่สลัดออก.
อจฺจโย
เจ น วิชฺเชถาติ
สเจ อจฺจายิกกมฺมํ น ภเวยฺยฯ
อจฺจโย
จ น วิชฺเชถ หมายถึง
หากว่า ไม่มีการกระทำโดยหุนหัน,
โน
จิธาปคตํ สิยาติ
ยทิ อปราโธ นาม น ภาเวยฺยฯ
โน จิธาปคตํ สิยา ความว่า
หากว่า ความโกรธ ไม่พึงมีไซร้, (กรณีนี้ อปคตํ=อปราโธ)
เกนีธ
กุสโล สิยาติ
ยทิ เวรานิ น สมฺเมยฺยุํ, เกน
การเณน กุสโล ภเวยฺยฯ
เกนีธ กุสโล สิยา คือว่า
ถ้าเวรทั้งหลายยังไม่สงบ, ความไม่มีโทษ พึงมีเพราะเหตุใด?
กสฺสจฺจยาติ คาถาย กสฺส อติกฺกโม นตฺถิ? กสฺส
อปราโธ นตฺถิ? โก สมฺโมหํ นาปชฺชติ? โก
นิจฺจเมว ปณฺฑิโต นามาติ อตฺโถ? อิมํ
กิร คาถํ ภณาปนตฺถํ ภควโต สิตปาตุกมฺมํฯ ตสฺมา อิทานิ เทวตานํ พุทฺธพลํ ทีเปตฺวา ขมิสฺสามีติ ตถาคตสฺส พุทฺธสฺสาติอาทิมาหฯ
ในคาถาเป็นต้นว่า กสฺสจฺจยา
มีความหมายโดยสรุปว่า กสฺส อติกฺกโม นตฺถิ แปลว่า ความล่วงเกิน (ต่อผู้อื่น) ของบุคคลใดย่อมไม่มี,
ความผิดของผู้ใดก็ไม่มี, ใครเล่าไม่ถึงความลุ่มหลง,
ใครเป็นผู้มีปัญญาตลอดไป? ได้ยินว่า การแย้มพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค
เพื่อจะให้เทวดากล่าวคาถานี้ขึ้น. เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระคาถาอาทิว่า ตถาคตสฺส พุทฺธสฺส ดังนี้ไว้ โดยพระดำริว่า
“บัดนี้ เราตถาคตจักแสดงกำลังพระพุทธเจ้าแล้วจึงให้อภัยแก่พวกเทวดา”
ตตฺถ
บทว่า ตถาคต
เป็นต้นมีความหมายดังต่อไปนี้.
ตถาคตสฺสาติ
ตถา อาคโตติ เอวมาทีหิ การเณหิ ตถาคตสฺสฯ
พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า
ตถาคต เพราะเหตุต่างๆ อาทิ ตถา อาคโต เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น.
พุทฺธสฺสาติ
จตุนฺนํ สจฺจานํ พุทฺธตฺตาทีหิ การเณหิ
วิโมกฺขนฺติกปณฺณตฺติวเสน เอวํ ลทฺธนามสฺสฯ
พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า
พุทฺธ อย่างนี้ เนื่องด้วยบัญญัติที่เกิดภายหลังจากการบรรลุอริยผล
เพราะเหตุต่างๆอาทิ ความเป็นผู้ตรัสรู้สัจจธรรม ๔ ประการ.
อจฺจยํ
เทสยนฺตีนนฺติ
ยํ วุตฺตํ ตุมฺเหหิ ‘‘อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ…เป.… ส
เวรํ ปฏิมุญฺจตี’’ติ, ตํ
สาธุ วุตฺตํ, อหํ ปน ตํ เวรํ นาภินนฺทามิ
น ปตฺถยามีติ อตฺโถฯ
อจฺจยํ
เทสยนฺตีนํ เมื่อท่านแสดงโทษ
(ขอโทษ) ความว่า ท่านกล่าวคำใดไว้ว่า “อจฺจยนฺตํ ฯปฯ ปฏิมุฃฺจติ” คำนั้นก็ดีแล้ว,
แต่เราตถาคตมิได้ยินดี คือ ปรารถนาเวรนั้นเลย.
ปฏิคฺคณฺหามิ
โวจฺจยนฺติ ตุมฺหากํ อปราธํ ขมามีติฯ
เรายอมรับโทษนั้น หมายถึง
เราอดทนได้ต่อโทษของท่าน
ปญฺจมํฯ
อรรถกถาอุชฌานสัญญีสูตรที่
๕ จบ
v
ฎีกาอุชฌานสัญญีสูตรที่
๕
สภาเวนาติ
สภาวโตฯ
สภาเวน
= สภาวโต แปลว่า
โดยสภาพของตน
เอกสทิสนฺติ
ปเรสํ จิตฺตาจารํ ชานนฺตมฺปิ อชานนฺเตหิ สห เอกสทิสํ กโรนฺตาฯ
คำว่า เอกสทิสํ เสมอกัน
ความว่า พวกเทวดา เมื่อกระทำบุคคล ผู้รู้ความเป็นไปของจิตของผู้อื่นให้เสมอกับผู้ไม่รู้
(จิตของผู้อื่น).
ปรโตติ
ปจฺฉาฯ
ปรโต
มีความหมายเท่ากับ
ปจฺฉา แปลว่า ภายหลัง.
กถาย อุปฺปนฺนายาติ
‘‘กสฺสจฺจยา น วิชฺชนฺตี’’ติอาทิกถาย
ปวตฺตมานาย ‘‘ตถาคตสฺส พุทฺธสฺสา’’ติอาทินา พุทฺธพลํ พุทฺธานุภาวํ
ทีเปตฺวาฯ
กถาย
อุปฺปนฺนาย เมื่อถ้อยคำของผู้อื่นเกิดขึ้น ภายหลัง ความว่า เมื่อถ้อยคำอาทิ
กสฺสจฺยา น วิชฺชนฺติ ดังนี้เกิดขึ้นแล้ว, เราตถาคตจักแสดงพุทธานุภาพ โดยนัยอาทิ
ตถาคตสฺส พุทฺธสฺส แล้วจึงให้อภัยแก่พวกเทวดา
ขมิสฺสามีติ
อจฺจยเทสนํ ปฏิคฺคณฺหิสฺสามิฯ ตปฺปฏิคฺคโห หิ อิธ ขมนนฺติ
อธิปฺเปตํ, สตฺถา ปน สพฺพกาลํ ขโม เอวฯ
ขมิสฺสามิ อดโทษ
ความว่า ตถาคตจักยอมรับการแสดงโทษ (ของเทวดานั้น). เพราะการยอมรับการแสดงโทษนั้น หมายถึง
การอดโทษ. แต่พระศาสดาทรงเป็นผู้อดทนตลอดกาลทั้งปวงนั่นเทียว.
โกโป อนฺตเร จิตฺเต เอตสฺสาติ โกปนฺตโรฯ
โกปนฺตโร มีรูปวิเคราะห์ว่า
โกโป อนฺตเร จิตฺเต เอตสฺสาติ โกปนฺตโร แปลว่า
บุคคลผู้มีความโกรธภายใน คือ ในจิต.
โทโส ครุ ครุกาตพฺโพ
อสฺสาติ โทสครุฯ
โทสครุ มีรูปวิเคราะห์ว่า
โทโส ครุ ครุกาตพฺโพ อสฺสาติ โทสครุ แปลว่า บุคคลผู้มีความโกรธอันตนพึงกระทำให้เป็นใหญ่.
‘‘ปฏิมุจฺจตี’’ติ
วา ปาโฐ, อยเมว อตฺโถฯ
บทว่า ปฏิมุฃฺจติ
บางฉบับมีปาฐะเป็น ปฏิมุจฺจติ มีคำแปลเหมือนกัน.
อจฺจายิกกมฺมนฺติ
สหสา อนุปธาเรตฺวา กิริยาฯ
อจฺจายิกกมฺม
ได้แก่ การไม่ใคร่ครวญแล้วกระทำโดยทันที (การกระทำโดยหุนหันพลันแล่น
ด้วยอำนาจความโกรธ)
โน จิธาติ
โน เจ อิธฯ
โน
จิธ ตัดบทเป็น
โน เจ อิธ
อิธาติ
นิปาตมตฺตํฯ
อิธ
เป็นเพียงนิบาต
ไม่มีความหมาย ไม่ต้องแปล
อปคตํ อปนีตํฯ โทโส โน เจ สิยา, เตน
ปริยาเยน ยทิ อปราโธ นาม น ภเวยฺยาติฯ
อปคตํ
แก้เป็น อปนีตํ แปลตามศัพท์ว่า นำออกไป ความหมายว่า หากไม่พึงมีโทษ. เพราะเหตุนั้น ถ้าหากขึ้นชื่อว่าความผิด
ไม่พึงมี.
น
สมฺเมยฺยุํ น วูปสเมยฺยุํฯ
น
สมฺเมยฺยุํ แก้เป็น
น วูปสเมยฺยุํ
แปลว่า ไม่พึงเข้าไปสงบ
กุสโลติ
อนวชฺโชฯ
กุสโล
ในที่นี้มีความหมายว่า อนวชฺโช ความไม่มีโทษ
ธีโร
สโตติ
ปททฺวเยน วฏฺฏฉินฺทํ อาหฯ
ท่านอาจารย์กล่าวถึงบุคคลผู้มีวัฏฏะอันขาดแล้วด้วยสองบทว่า
ธีโร สโต
โก
นิจฺจเมว ปณฺฑิโต นามาติ อตฺโถติ ‘‘กสฺสจฺจยา’’ติอาทิกาย ปุจฺฉาคาถาย อตฺโถฯ
ข้อความในอรรถกถาว่า โก
นิจฺจเมว ปณฺฑิโต นามาติ อตฺโถ เป็นความหมายของคาถาที่เทวดาถามมีอาทิว่า
กสฺสจฺจยา
ทีฆมชฺฌิมสํวณฺณนาสุ ตถาคต-สทฺโท วิตฺถารโต
สํวณฺณิโตติ อาห ‘‘เอวมาทีหิ
การเณหิ ตถาคตสฺสา’’ติฯ
ในอรรถกถาทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย
ท่านได้พรรณนาเกี่ยวกับตถาคตศัพท์ไว้โดยละเอียด เพราะฉะนั้น ท่านจึงแนะนำว่า เอวมาทีหิ
การเณหิ ตถาคตสฺส ชื่อว่า ตถาคต เพราะเหตุเป็นต้นอย่างนี้คือ.
พุทฺธตฺตาทีหีติ อาทิ-สทฺเทน
‘‘โพเธตา ปชายา’’ติอาทินา นิทฺเทเส อาคตการณานิ
สงฺคยฺหนฺติฯ
คำว่า พุทฺธตฺตาทีหิ
เพราะความเป็นผู้ตรัสรู้สัจจธรรม ๔ ประการเป็นต้น นี้ รวมเหตุเป็นไป (สัททัปปวัตตินิมิต) แห่ง
พุทฺธ ศัพท์ ที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทสเป็นอาทิว่า “โพเธตา ปชาย
ผู้ทำให้สัตว์ได้ตรัสรู้” .
วิโมกฺขํ วุจฺจติ อริยมคฺโค, ตสฺส อนฺโต อคฺคผลํ, ตตฺถ
ภวา ปณฺณตฺติ, ตสฺสา วเสนฯ.
คำว่า วิโมกฺขนฺติกปณฺณตฺติ
มีความหมายตามศัพท์ดังนี้
วิโมกฺข
คือ
อริยมรรค, + อนฺต ที่สุด ของอริยมรรคนั้น คือ อรหัตตผล (ผลอันเลิศ), + อิก
(ภวา) มีในที่สุดคืออรหัตตผลแห่งอริยมรรค+ ปณฺณตฺติ บัญญัติ. รวมเป็นคำแปลว่า
บัญญัติที่มีในที่สุดแห่งอริยมรรค (เพราะเมื่อได้อริยมรรคแล้วจึงได้บัญญัติว่า
พุทฺธ) .
เอวํ พุทฺธพลํ ทีเปติฯ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพุทธานุภาพอย่างนี้.
อิทานิ ขิตฺตํ สงฺเขเปน
สํหราปิตํ โหตีติ ทสฺเสติฯ
บัดนี้ พระอรรถกถาจารย์แสดงว่า
เนื้อความที่ตรัสไว้อย่างกระจาย เป็นอันถูกรวบรวมโดยสังเขป.
อุชฺฌานสญฺญิสุตฺตวณฺณนา
นิฏฺฐิตาฯ
ฎีกาอุชฌานสัญญีสูตร จบ
v
สากุณิก
บุคลลผู้ฆ่านกเลี้ยงชีพ สกุณ + ณิก ในความหมายว่า เลี้ยงชีพ สกุณํ หนฺตฺวา ชีวตีติ
สากุณิโก บุคคลผู้ฆ่านกเลี้ยงชีพ ชื่อว่า สากุณิก. (ปท.๓๗๕ มายูนมาคโม ฐาเน).
ส่วนคำว่า กิตว หมายถึง คนขี้โกง หรือ คนหลอกลวง
ก็มี นักเลงการพนัน ก็มี (ธาน.๑๓๗, ๕๓๑) ในที่นี้ ท่านเรียกพรานนกว่า กิตวะ เพราะเหตุที่มีพฤติกรรมล่อลวงของคนโกง.
แปลและประกอบความโดยนัยของอรรถกถา
และฎีกา. อีกนัยหนึ่ง
เอาประโยคแรกเป็นประโยค ต, ส่วน๒ ประโยค
ท้ายเป็นประโยค ย ดังนี้. ยา อยํ ปฏิปทา ปฏิปทานี้ใด ทฬฺหา อันมั่นคง, [เย]
ธีรา บัณฑิต ฌายิโน ผู้มีความเพ่งพินิจ ปมุจฺจนฺติ ย่อมหลุดพ้น มารพนฺธนา
จากบ่วงมาร ยาย ปฏิปทาย ด้วยปฏิปทาใด, [เต
ธีรา] บัณฑิตเหล่านั้น น สกฺกา ไม่อาจ
อนุกฺกมิตเว เพื่อหยั่งลง อิทํ=อิมํ
ปฏิปทํ
สู่ปฏิปทานี้ ภาสิตมตฺเตน วา ด้วยเพียงการกล่าว, เอกนฺตสวเนน วา
หรือด้วยเพียงการฟังอย่างเดียว.