วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565

เมณฑกกัณฑ์ -อเภชชวรรค - ๖. อปุญฺญปญฺโห

๖. อปุญฺญปญฺโห

. อปุญญปัญหา

ปัญหาว่าด้วยเรื่องบาป

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ตุมฺเห ภณถ โย อชานนฺโต ปาณาติปาตํ กโรติ, โส พลวตรํ อปุญฺญํ ปสวตีติฯ ปุน จ ภควตา วินยปญฺญตฺติยา ภณิตํ อนาปตฺติ อชานนฺตสฺสาติฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, อชานิตฺวา ปาณาติปาตํ กโรนฺโต พลวตรํ อปุญฺญํ ปสวติ, เตน หิ อนาปตฺติ อชานนฺตสฺสาติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ อนาปตฺติ อชานนฺตสฺส, เตน หิ อชานิตฺวา ปาณาติปาตํ กโรนฺโต พลวตรํ อปุญฺญํ ปสวตีติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ทุรุตฺตโร ทุรติกฺกโม ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

[] มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตุมฺเห พวกท่าน ภณถ กล่าวอยู่ อิติ ว่า โย บุคคลใด อชานนฺโต เมื่อไม่รู้ กโรติ ย่อมกระทำ ปาณาติปาตํ ซึ่งปาณาติบาต, โส บุคคลนั้น ปสวติ ย่อมได้รับ อปุญฺญํ บาป[๑] พลวตรํ มีกำลังแรงกว่า ดังนี้. อนึ่ง เอตํ วจนํ พระดำรัส นี้ อิติ ว่า อนาปตฺติ ความไม่มีแห่งอาบัติ   อชานนฺตสฺส แห่งภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ อตฺถิ ย่อมมี[๒] ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้ วินยปญฺญตฺติยา ในวินัยบัญญัติ ปุน อีก ดังนี้. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า ปุคฺคโล บุคคล อชานิตฺวา ไม่รู้แล้ว กโรนฺโต เมื่อกระทำ ปาณาติปาตํ ซึ่งปาณาติบาต ปสวติ ย่อมได้รับ อปุญฺญํ ซึ่งบาป พลวตรํ แรงกว่า, เตนหิ ถ้าเช่นนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า อนาปตฺติ ความไม่มีแห่งอาบัติ   อชานนฺตสฺส แห่งภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ อตฺถิ ย่อมมี ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิดไป. ยทิ ถ้าหาก อนาปตฺติ ความไม่มีแห่งอาบัติ   อชานนฺตสฺส แห่งภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ อตฺถิ ย่อมมี ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้, ตมฺปิ วจนํ พระดำรัส แม้นั้น มิจฺฉา เป็นอันผิดไป. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง ทุรุตฺตโร ข้ามขึ้นได้ยาก, ทุรติกฺกโม ก้าวผ่านได้อย่างยากเย็น อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงมาเถิด ดังนี้.

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา โย อชานนฺโต ปาณาติปาตํ กโรติ, โส พลวตรํ อปุญฺญํ ปสวตีติฯ ปุน จ วินยปญฺญตฺติยา ภควตา ภณิตํ อนาปตฺติ อชานนฺตสฺสาติฯ ตตฺถ อตฺถนฺตรํ อตฺถิฯ กตมํ อตฺถนฺตรํ? อตฺถิ, มหาราช, อาปตฺติ สญฺญาวิโมกฺขา, อตฺถิ อาปตฺติ โนสญฺญาวิโมกฺขาฯ ยายํ, มหาราช, อาปตฺติ สญฺญาวิโมกฺขา, ตํ อาปตฺติํ อารพฺภ ภควตา ภณิตํ อนาปตฺติ อชานนฺตสฺสา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระพุทธดำรัสนี้ อิติ ว่า โย บุคคลใด อชานนฺโต เมื่อไม่รู้ กโรติ ย่อมกระทำ ปาณาติปาตํ ซึ่งปาณาติบาต, โส บุคคลนั้น ปสวติ ย่อมได้รับ อปุญฺญํ บาป พลวตรํ มีกำลังแรงกว่า ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้แล้ว (จริง), อนึ่ง เอตํ วจนํ พระดำรัส นี้ อิติ ว่า อนาปตฺติ ความไม่มีแห่งอาบัติ   อชานนฺตสฺส แห่งภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ อตฺถิ ย่อมมี ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้ วินยปญฺญตฺติยา ในวินัยบัญญัติ ปุน อีก ดังนี้. ตตฺถ ในคำที่ตรัสไว้นั้น อตฺถนฺตรํ ความหมายอื่น อตฺถิ มีอยู่. อตฺถนฺตรํ ความหมายอื่น กตมํ เป็นอย่างไร. มหาราช มหาบพิตร อาปตฺติ อาบัติ สญฺญาวิโมกฺขา[๓] ชนิดสัญญาวิโมกข์  อตฺถิ มีอยู่, อาปตฺติ อาบัติ โนสญฺญาวิโมกฺขา ชนิดโนสัญญาวิโมกข์ อตฺถิ มีอยู่[๔]. มหาราช มหาบพิตร ยา อยํ อาปตฺติ อาบัติใด สญฺญาวิโมกฺขา เป็นอาบัติขนิดสัญญาวิโมกข์, วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อนาปตฺติ ความไม่มีแห่งอาบัติ   อชานนฺตสฺส แห่งภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ อตฺถิ ย่อมมี ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสแล้ว อารพฺภ ทรงหมายถึง ตํ อาปตฺติํ ซึ่งอาบัติ ชนิดนั้น ดังนี้[๕].

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ,ยํ วจนํ คำใด ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว ยถา โดยประการใด,  อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ยอมรับ เอตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา โดยประการนั้น เอวํ อย่างนี้ ดังนี้.

อปุญฺญปญฺโห ฉฏฺโฐฯ

อปุญฺญปญฺโห  ปัญหาว่าด้วยเรื่องบาป

ฉฏฺโฐ ลำดับที่ ๖ นิฏฺฐิโต จบ.

 



[๑] อปุญฺญ มีวิเคราะห์ว่า น ปุญฺญํ อปุญฺญํ ธรรมชาติที่เป็นตรงข้ามกับบุญ ชื่อว่า บาป. น มีอรรถวิรุทฺธ ตรงข้าม เหมือนคำว่า อกุสล. ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถนัย.

[๒] นิสสยะล้านนา อธิบายเป็น อนาปตฺติ = อาปตฺติโทโส  โทษคืออาบัติ อชานนฺตสฺส แห่งภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ น = นตฺถิ ย่อมไม่มี.

[๓] คำว่า สัญญาวิโมกขา อาบัติประเภทสัญญาวิโมกข์ ได้แก่ สจิตตกาบัติ อาบัติที่มีจิตคิดล่วง. อาบัติ เพราะแม้รู้อยู่ว่าเป็นอาบัติ ก็มีจิตคิดล่วง หากไม่รู้ ไม่มีจิตคิดล่วง ก็ไม่เป็นอาบัติ. ชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ เพราะมีการพ้นได้ด้วยสัญญา คือ ความสำคัญว่า เป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัตินั่นแหละ อจิตตกาบัติ อาบัติที่ไม่มีจิตคิดล่วง คือ แม้ไม่รู้ ไม่มีจิตคิดล่วง ก็เป็นอาบัติ ชื่อว่าโนสัญญาวิโมกข์ (ไม่ใช่สัญญาวิโมกข์). สัญญาวิโมกข์ มาจากคำบาลีว่า สญฺญาวิโมกฺขํ (สิกฺขาปทํ) สิกขาบทที่มีความพ้นจากอาบัติด้วยความไม่มีแห่งสัญญาคือความหมายใจจะล่วงละเมิด.  ตัดบทเป็น สญฺญา = วีติกฺกมสญฺญา ความหมายใจจะล่วงละเมิด + อภาว ไม่มี + วิโมกฺข ความพ้น. เมื่อประกอบเป็นบทแล้วได้รูปเป็น สญฺญาวิโมกฺข โดยลบบทว่า อภาว ไป มีวิเคราะห์เป็นมัชเฌโลปพหุพพีหิสมาสว่า สฺญาย อภาเวน วิโมกฺโข อสฺสาติ สฺญาวิโมกฺขํ สิกขาบทที่ ชื่อว่า สัญญาวิโมกข์ เพราะมีความพ้นได้ด้วยไม่มีสัญญาคือความคิดล่วงละเมิด. อีกนัยหนึ่ง สญฺญาย = วีติกฺกมสญฺญาย อภาโว สญฺญา  ความไม่มีแห่งสัญญาคือความหมายจะล่วงละเมิดสิกขาบท ชื่อว่า สญฺญา. สญฺญาย =วีติกฺกมสญฺญาย วิโมกฺโข เอตายาติ สญฺญาวิโมกฺขา. ความพ้นเสียจากอาบัตินี้ เพราะไม่มีความสำคัญหมายว่าจะก้าวล่วงสิกขาบท เหตุนั้น อาบัตินี้ ชื่อว่า สัญญา นัยนี้ ตัดบทเป็น สญฺญา = สญฺญาภาว + วิโมกฺข + เอตาย เป็นอัญญบท และมี อาปตฺติ เป็นอัญญปทัตถะ เป็นสมาสชนิด ปัญจมีพหุพพีหิสมาสโดยมีอุตฺตรปทโลปฉัฏฐีตัปปุริสสมาสเป็นท้อง. บทว่า สญฺญา เป็น อุตฺตรปทโลปฉัฏฐีตัปปุริสสมาส ฉัฏฐีตัปปุริสสมาสที่ลบบทหลังคือ อภาว.  แทนที่จะกล่าวว่า สญฺญาภาโว แต่ก็กล่าวว่า สญฺญา เพียงบทเดียว เหมือนคำว่า รูปภโว ชื่อว่า รูป.

[๔] สัญญาวิโมกข์และโนสัญญาวิโมกข์ทั้งสองนี้เป็นชื่อของสิกขาบทที่เกิดจากการจัดประเภทเพราะการหลุดพ้นด้วยไม่มีและมีเจตนาจะล่วงละเมิด.

สัญญาวิโมกข์ คือ ประเภทสิกขาบท หากภิกษุไม่มีจิตจะล่วงละเมิดซึ่งจะพ้นจากการต้องอาบัติ (อาบัติ คือ ความผิดฐานล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นๆ).  แยกคำภายในศัพท์นี้เป็น  ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือ สัญญา + อภาวะ +  วิโมกข์.  สัญญา หมายถึง ความหมายใจ, ความจงใจ หรือมีความคิด แต่คำว่า สัญญา ในที่นี้เป็นคำที่กร่อนมาจาก วีติกกมนสัญญา คือ ความคิดจะล่วงละเมิดสิกขาบทบัญญัติ. วิโมกข์ หมายถึง ความพ้นไป. คำว่า วิโมกข์ โดยทั่วไปอาจหมายถึง ความพ้นจากกิเลสได้ แต่ในที่นี้เจาะจงเอาความพ้นไปจากการต้องอาบัติเหตุที่ล่วงละเมิดสิกขาบท. อภาวะ  หมายถึง ความไม่มี. คำว่า ไม่มี ประกอบด้วยวิภัตติที่มีความหมายว่า เพราะ คือ เพราะไม่มีความหมายใจ. อนึ่ง คำว่า อภาวะ นี้จะไม่แสดงไว้ในคำศัพท์ เพื่อย่อคำให้สั้นลง ตามกระบวนการทางไวยากรณ์. เมื่อรวมสามคำนี้เข้าด้วยกัน คำว่า สัญญาวิโมกข์ มีความหมายว่า สิกขาบทที่มีความพ้นไปไม่ต้องอาบัติ เพราะไม่มีความคิดจะล่วงละเมิด คือเป็น สิกขาบทชนิดที่ไม่ต้องอาบัติ หากไม่มีความคิดจะล่วงละเมิดนั่นเอง เช่น ในปฐมปาราชิกสิกขาบทว่า เป็นสัญญาวิโมกข์  เพราะพ้นด้วยไม่มีกามสัญญา  ซึ่งปฏิสังยุตด้วยเมถุนจริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า  ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้สึกไม่ยินดี. (หมายความว่า ภิกษุที่พ้นไปจากอาบัติ คือ จะไม่เป็นผู้ต้องอาบัตินี้ หากไม่มีความสำคัญว่าจะเสพเมถุน) และในทุติยปาราชิกสิกขาบทว่าเป็นสัญญาวิโมกข์   เพราะพ้นด้วยไม่มีสำคัญว่า เราจะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ (โดยทำนองเดียวกัน หากไม่มีความสำคัญหรือตั้งใจว่า จะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ก็จะพ้นไปจากความเป็นผู้ต้องอาบัติข้อนี้) ...

โนสัญญาวิโมกข์ คือ สิกขาบทนอกจากสัญญาวิโมกข์ กล่าวคือ สิกขาบทชนิดที่แม้ไม่มีความคิดจะล่วงละเมิด และไม่รู้ก็ต้องอาบัติ เช่น ในสุราปานสิกขาบทที่ ๑ แห่งสุราปานวรรค ปาจิตติยกัณฑ์ แสดงไว้ว่า เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะดื่มสุราและเมรัย. (วิ.มหาวิ.๒/๕๗๖) และในอรรถกถาแห่งสิกขาบทนี้ อธิบายว่า สิกขาบทนี้เป็นโนสัญญาวิโมกข์ และอจิตตกะ เพราะแม้ไม่รู้ว่า เป็นสุรา และไม่มีจิตคิดล่วงละเมิดสิกขาบท กระทั่งสงสัยว่าจะเป็นสุราหรือไม่ หากดื่มเข้าไปก็เป็นอาบัติ ดังนั้น ไม่ว่าจะตั้งใจก็ตาม ไม่ตั้งใจก็ตาม สงสัยอยู่ก็ตาม หากดื่มเป็นอาบัติทั้งสิ้น แต่ถ้าไม่ใช่น้ำเมา ด้วย หากตั้งใจดื่ม ก็ไม่เป็นอาบัติ  ดังที่ในพระบาฬีนั้น แสดงว่า น้ำเมา  ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา  ดื่ม  ต้องอาบัติปาจิตตีย์.  น้ำเมา ภิกษุสงสัย  ดื่ม  ต้องอาบัติปาจิตตีย์.  น้ำเมา  ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา  ดื่ม  ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ไม่ใช่น้ำเมา  ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา  ดื่ม  ไม่ต้องอาบัติ.

สัญญาวิโมกข์เป็นสจิตตกะ, โนสัญญาวิโมกข์เป็นอจิตตกะ. สัญญาวิโมกข์ มีส่วนสัมพันธ์กับสิกขาบทชนิดที่มีความตั้งใจจะล่วงละเมิดจะมีความผิด ที่เรียกว่า สจิตตกะ สิกขาบทที่จะต้องอาบัติหากมีที่มีความคิดจะล่วงละเมิดโดยตรง เพราะฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่า สิกขาบทประเภทสัญญาวิโมกข์ ก็คือ สิกขาบทประเภทสจิตตกะ. สิกขาบทโนสัญญาวิโมกข์ ก็มีส่วนสัมพันธ์กับสิกขาบทชนิดอจิตตกะนั่นเอง เพราะฉะนั้น โนสัญญาวิโมกข์สิกขาบท ก็ได้แก่ อจิตตกะสิกขาบท. ดังพระบาฬีปริวารอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาวิโมกข์กับสจิตตกะเป็นต้นไว้ว่า อาบัติเป็นสัญญาวิโมกข์ มีอยู่, อาบัติมิใช่สัญญาวิโมกข์มีอยู่ (วิ.ปริวาร.๘/๙๔๓). อาบัติเป็นสจิตตกะ   เป็นสัญญาวิโมกข์  อาบัติเป็นอจิตตกะ  เป็นโนสัญญาวิโมกข์. (อรรถกถาวินัยปิฎก ปริวาร   ๑๐๐๖). และในอรรถกถาวินัยปิฏก มหาวิภังค์ อธิบายว่า แม้บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น  สิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์ก็มี ที่เป็นโนสัญญาวิโมกข์ก็มี. ในสิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์และโนสัญญาวิโมกข์เหล่านั้น  สิกขาบทใด ได้องค์คือจิตด้วย. สิกขาบทนั้น เป็นสัญญาวิโมกข์,นอกนี้  เป็นโนสัญญาวิโมกข์. (อรรถกถาวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ๑/๗๘).

[๕] เรื่องนี้สรุปได้ว่า ประเด็นที่ว่าคนฆ่าสัตว์ โดยไม่รู้ว่าเป็นบาป ย่อมได้บาปมากนั้น หมายความว่า คนที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาปนั้น ย่อมไม่มีความละอายหรือความกลัวต่อบาป จึงยินดีในบาปแล้วทำบาปอย่างเต็มที่ ก็ย่อมจะได้บาปอย่างเต็มที่เปรียบเหมือนคนไม่รู้ว่าถ่านมีไฟร้อน จึงจับถ่านร้อนเต็มมือย่อมจะถูกไฟไหม้มากกว่า ส่วนคนที่รู้ว่าเป็นถ่านร้อน เขาจะจับถ่านด้วยความระมัดระวัง ให้เป็นอันตรายแก่มือน้อยที่สุด. ส่วนในเรื่องเกี่ยวกับวินัยบัญญัติ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิกขาบทที่มีอาบัตินั้น ทรงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) สัญญาวิโมกข์ หมายถึง สิกขาบทที่ไม่มีอาบัติ (ความผิด) หากภิกษุล่วงละเมิดโดยไม่รู้ตัว ( สัญญา = ความรู้สึกตัว + วิโมกข์ = พ้น ) ดังนั้น ที่ตรัสว่า ภิกษุกระทำกรรมชั่ว โดยไม่รู้ตัว ไม่ต้องอาบัตินั้น ทรงหมายถึง อาบัติประเภทสัญญาวิโมกข์ ) (๒) คือ โนสัญญาวิโมกข์ ได้แก่ สิกขาบทที่ยังมีอาบัติที่แม้ไม่รู้ตัวขณะที่กระทำ เช่น การดื่มสุรา แม้ไม่รู้ว่าเป็นสุรา ดื่มเข้าไปก็ต้องอาบัติ เพราะฉะนั้น กรณีทั้ง ๒ จึงมีจุดมุ่งหมายต่างกัน กรณีแรกใช้กับคนทั่วไป กรณีหลังใช้กับพระวินัยของพระภิกษุเท่านั้น.

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565

ปัญหาที่ ๕ ในอเภชชวรรค เมณฑกปัญหา : พุทธลาภันตรายปัญหา ปัญหาว่าด้วยอันตรายแห่งลาภของพระพุทธเจ้า

 

๕. พุทฺธลาภนฺตรายปญฺโห

๕. พุทธลาภันตรายปัญหา

ปัญหาว่าด้วยอันตรายแห่งลาภของพระพุทธเจ้า

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ตุมฺเห ภณถ ลาภี ตถาคโต จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปฺปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานนฺติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย ภณถ กล่าวอยู่ อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต ลาภี ทรงเป็นผู้มีปกติได้ จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปฺปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ ซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร (เครื่องบริขารคือยาอันเป็นปัจจัยสำหรับคนไข้) ดังนี้.  

 

ปุน จ ตถาคโต ปญฺจสาลํ พฺราหฺมณคามํ ปิณฺฑาย ปวิสิตฺวา กิญฺจิเทว อลภิตฺวา ยถาโธเตน ปตฺเตน นิกฺขนฺโตติฯ

อนึ่ง ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย ภณถ กล่าวอยู่ ปุน อีก อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต ปวิสิตฺวา เสด็จเข้าไปแล้ว พฺราหฺมณคามํ สู่หมู่บ้านพราหมณ์ ปญฺจสาลํ ชื่อว่า ปัญจสาละ ปิณฺฑาย เพื่อบิณฑบาต อลภิตฺวา ไม่ทรงได้แล้ว กิญฺจิเทว ซึ่งอะไรๆนั่นเทียว นิกฺขนฺโต เสด็จออกแล้ว ปตฺเตน ด้วยทั้งบาตร ยถาโธเตน ตามที่ทรงล้างแล้ว[1] ดังนี้.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต ลาภี จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปฺปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ, เตน หิ ปญฺจสาลํ พฺราหฺมณคามํ ปิณฺฑาย ปวิสิตฺวา กิญฺจิเทว อลภิตฺวา ยถาโธเตน ปตฺเตน นิกฺขนฺโตติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า ตถาคโต พระตถาคต ลาภี ทรงเป็นผู้มีปกติได้ จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปฺปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ ซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร (จริงไซร้), เตนหิ ถ้าอย่างนั้น[2] ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต ปวิสิตฺวา เสด็จเข้าไปแล้ว พฺราหฺมณคามํ สู่หมู่บ้านพราหมณ์ ปญฺจสาลํ ชื่อว่า ปัญจสาละ ปิณฺฑาย เพื่อบิณฑบาต อลภิตฺวา ไม่ทรงได้แล้ว กิญฺจิเทว ซึ่งอะไรๆนั่นเทียว นิกฺขนฺโต เสด็จออกแล้ว ปตฺเตน ด้วยทั้งบาตร ยถาโธเตน ตามที่ทรงล้างแล้ว ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิดไป.

ยทิ ปญฺจสาลํ พฺราหฺมณคามํ ปิณฺฑาย ปวิสิตฺวา กิญฺจิเทว อลภิตฺวา ยถาโธเตน ปตฺเตน นิกฺขนฺโต, เตน หิ ลาภี ตถาคโต จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปฺปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานนฺติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

ยทิ ถ้าหากว่า ตถาคโต พระตถาคต ปวิสิตฺวา เสด็จเข้าไปแล้ว พฺราหฺมณคามํ สู่หมู่บ้านพราหมณ์ ปญฺจสาลํ ชื่อว่า ปัญจสาละ ปิณฺฑาย เพื่อบิณฑบาต อลภิตฺวา ไม่ทรงได้แล้ว กิญฺจิเทว ซึ่งอะไรๆนั่นเทียว นิกฺขนฺโต เสด็จออกแล้ว ปตฺเตน ด้วยทั้งบาตร ยถาโธเตน ตามที่ทรงล้างแล้ว ดังนี้ (เป็นความจริงแล้วไซร้), เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ คำแม้นั้น อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต ลาภี ทรงเป็นผู้มีปกติได้ จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปฺปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ ซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ดังนี้ มิจฺฉา เป็นอันผิดไป.

 

อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห สุมหนฺโต ทุนฺนิพฺเพโฐ ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง สุมหนฺโต ยิ่งใหญ่นัก ทุนฺนิพฺเพโฐ แก้ได้ยาก อนุปฺปตฺโต ตกถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ พึงแก้ไขเถิด" ดังนี้.[3]

 

 ‘‘ลาภี, มหาราช, ตถาคโต จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปฺปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ, ปญฺจสาลญฺจ พฺราหฺมณคามํ ปิณฺฑาย ปวิสิตฺวา กิญฺจิเทว อลภิตฺวา ยถาโธเตน ปตฺเตน นิกฺขนฺโต, ตญฺจ ปน มารสฺส ปาปิมโต การณา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต ลาภี ทรงเป็นผู้มีปกติได้ จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปฺปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ ซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร, แต่ว่า ยํ ปวิสิตฺวา เสด็จเข้าไปแล้ว พฺราหฺมณคามํ สู่หมู่บ้านพราหมณ์ ปญฺจสาลํ ชื่อว่า ปัญจสาละ ปิณฺฑาย เพื่อบิณฑบาต อลภิตฺวา ไม่ทรงได้แล้ว กิญฺจิเทว ซึ่งอะไรๆนั่นเทียว นิกฺขนฺโต เสด็จออกแล้ว ปตฺเตน ด้วยทั้งบาตร ยถาโธเตน ตามที่ทรงล้างแล้ว ยํ ใด. จ ปน ก็แล ตํ (กิญฺจิเทว อลพฺภมานตํ) การที่ทรงไม่ได้ ซึ่งอะไรๆนััั่นเทียวนั้น (โหติ) ย่อมมี การณา เพราะเหตุ (กรณสฺส) แห่งการกระทำ มารสฺส แห่งมาร ปาปิมโต ผู้มีบาป ดังนี้.

 

 ‘‘เตน หิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควโต คณนปถํ วีติวตฺตกปฺเป [คณนปถวีติวตฺเต กปฺเป (สี.)] อภิสงฺขตํ กุสลํ กินฺติ นิฏฺฐิตํ, อธุนุฏฺฐิเตน มาเรน ปาปิมตา ตสฺส กุสลสฺส พลเวคํ [ตํ กุสลพลเวควิปฺผารํ (สี.)] กินฺติ ปิหิตํ, เตน หิ, ภนฺเต นาคเสน, ตสฺมิํ วตฺถุสฺมิํ ทฺวีสุ ฐาเนสุ อุปวาโท อาคจฺฉติ, กุสลโตปิ อกุสลํ พลวตรํ โหติ, พุทฺธพลโตปิ มารพลํ พลวตรํ โหตีติ, เตน หิ รุกฺขสฺส มูลโตปิ อคฺคํ ภารตรํ โหติ, คุณสมฺปริกิณฺณโตปิ ปาปิยํ พลวตรํ โหตี’’ติฯ

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เตน หิ ถ้าอย่างนั้น กุสลํ กุศล ภควโต=ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อภิสงฺขตํ ทรงสร้างไว้ วีติวตฺตกปฺเป สิ้นกัปเป็นอันมากที่พ้น[4] คณนปถํ ซึ่งหนทางที่จะนับ นิฏฺฐิตํ เป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว กินฺติ[5], พลเวคํ เรี่ยวแรงและกำลัง ตสฺส กุสลสฺส แห่งกุศลนั้น มาเรน อันมาร ปาปิมตา ผู้มีบาป อธุนา อุฏฺฐิเตน ซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่นานนี้ ปิหิตํ ปิดกั้นไว้ กินฺติ = เกน การเณน เพราะเหตุไร.  ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เตนหิ ถ้่าอย่างนั้น ตสฺมิํ วตฺถุสฺมิํ ในเรื่องนั้น อุปวาโท การตำหนิ อาคจฺฉติ ย่อมมาถึง ฐาเนสุ ในฐานะทั้งหลาย ทฺวีสุ ๒ อย่าง อิติ คือ อกุสลํ อกุศล พลวตรํ เป็นธรรมชาติมีกำลัง กุสลโตปิ แม้กว่ากุศล โหติ ย่อมเป็น, มารพลํ กำลังแห่งมาร พลวตรํ เป็นธรรมมีกำลังมากกว่า พุทฺธพลโตปิ แม้กว่ากำลังของพระพุทธเจ้า โหติ ย่อมเป็น, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น อคฺคํ ยอด ภารตรํ เป็นธรรมชาติหนักกว่า มูลโตปิ แม้กว่าโคน รุกฺขสฺส ของต้นไม้ โหติ ย่อมเป็น, ปาปิยํ คนมีความชั่ว พลวตรํ เป็นผู้มีกำลังมากกว่า คุณสมฺปริกิณฺณโตปิ แม้กว่าผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม โหติ ย่อมเป็น ดังนี้.

 

‘‘, มหาราช, ตาวตเกน กุสลโตปิ อกุสลํ พลวตรํ นาม โหติ, น พุทฺธพลโตปิ มารพลํ พลวตรํ นาม โหติฯ อปิ เจตฺถ การณํ อิจฺฉิตพฺพํฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อกุสลํ อกุศล พลวตรํ นาม ชื่อว่าเป็นธรรมชาติมีกำลังกว่า กุสลโตปิ แม้กว่ากุศล โหติ ย่อมเป็น ตาวตเกน เพราะเหตุเพียงเท่านั้น หามิได้, มารพลํ กำลังแห่งมาร พลวตรํ นาม ชื่อว่า เป็นธรรมชาติมีกำลังกว่า พุทฺธพลโตปิ แม้กว่ากำลังแห่งพระพุทธเจ้า โหติ ย่อมเป็น ตาวตเกน เพราะเหตุเพียงเท่านั้น หามิได้. อปิจ ก็แต่ว่า การณํ เหตุ เอตฺถ ในเรื่องนี้ ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต อิจฺฉิตพฺพํ พึงปรารถนา. 

 

‘‘ยถา, มหาราช, ปุริโส รญฺโญ จกฺกวตฺติสฺส มธุํ วา มธุปิณฺฑิกํ วา อญฺญํ วา อุปายนํ อภิหเรยฺย, ตเมนํ รญฺโญ ทฺวารปาโล เอวํ วเทยฺย อกาโล, โภ, อยํ รญฺโญ ทสฺสนาย, เตน หิ, โภ, ตว อุปายนํ คเหตฺวา สีฆสีฆํ ปฏินิวตฺต, ปุเร ตว ราชา ทณฺฑํ ธาเรสฺสตีติ [มา เต ราชา ทณฺฑํ ปาเปยฺยาติ (สี.)]ฯ ตโต โส ปุริโส ทณฺฑภยา ตสิโต อุพฺพิคฺโค ตํ อุปายนํ อาทาย สีฆสีฆํ ปฏินิวตฺเตยฺย, อปิ นุ โข โส, มหาราช, ราชา จกฺกวตฺตี ตาวตเกน อุปายนวิกลมตฺตเกน ทฺวารปาลโต ทุพฺพลตโร นาม โหติ, อญฺญํ วา ปน กิญฺจิ อุปายนํ น ลเภยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือน ปุริโส บุรษผู้หนึ่ง อภิหเรยฺย พึงนำมา มธุํ วา ซึ่งน้ำผึ้ง บ้าง มธุปิณฺฑิกํ วา ซึ่งก้อนน้ำตาล[6] บ้าง อญฺญํ อุปายนํ[7] วา ของกำนัลอย่างอื่น บ้าง รญฺโญ เพื่อพระราชา, ทฺวารปาโล คนเฝ้าประตูวัง รญฺโญ ของพระราชา วเทยฺย พึงกล่าว ตํ เอนํ[8] กะบุรุษผู้นั้น อิติ ว่า โภ แน่ะท่านบุรุษ อยํ เวลา เวลานี้ อกาโล ไม่ใช่กาลที่เหมาะสม ทสฺสนาย เพื่อเข้าเฝ้า รญฺโญ ซึ่งพระราชา, โภ แน่ะท่านบุรุษ เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตฺวํ ท่าน คเหตฺวา จงถือเอา อุปายนํ ซึ่งของกำนัล ปฏินิวตฺต กลับไป สีฆสีฆํ ให้เร็วๆ, ปุเร ก่อน ราชา พระเจ้าแผ่นดิน ธาเรสฺสติ จักทรงไว้ ทณฺฑํ ซึ่งการลงโทษ ตว แก่ท่าน[9] ดังนี้. ตโต ต่อมา โส ปุริโส บุรุษนั้น ตสิโต หวาดกลัวแล้ว อุพฺพิคฺโค สะดุ้งแล้ว ทณฺฑภยา แต่ภัยคือการลงโทษ อาทาย ถือเอา ตํ อุปายนํ ซึ่งของกำนัลนั้น ปฏินิวตฺเตยฺย พึงกลับไป สีฆสีฆํ อย่างเร็ว, มหาราช มหาบพิตร โส ราชา พระราชา จกฺกวตฺตี ผู้ทรงเป็นพระจักรพรรดิ พระองค์นั้น ทุพฺพลตโร นาม จะเป็นอันทรงพระนามว่า มีพระกำลังด้อยกว่า ทวารปาลโต กว่าบุรุษผู้เฝ้าประตู อุปายนวิกลมตฺตเกน เหตุเพียงเครื่องกำนัลที่พร่องไป ตาวตเกน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้, วา บ้าง, ปน ก็ วา หรือว่า น ลเภยฺย ไม่พึงทรงได้ กญฺจิ อุปายนํ ซึ่งของกำนัลอะไรๆ สักอย่างหนึ่ง อญฺญํ อย่างอื่น อปิ นุ โข บ้างหรือไร ดังนี้.[10]

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, อิสฺสาปกโต โส, ภนฺเต, ทฺวารปาโล อุปายนํ นิวาเรสิ, อญฺเญน ปน ทฺวาเรน สตสหสฺสคุณมฺปิ รญฺโญ อุปายนํ อุเปตี’’ติ

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอตํ ข้อนั้น น โหติ ย่อมมี หามิได้, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส ทฺวารปาโล คนเฝ้าประตูนั้น อิสฺสาปกโต ถูกความริษยาครอบงำแล้ว นิวาเรสิ จึงห้าม อุปายนํ ซึ่งของกำนัล, ปน แต่ว่า (โส ปุริโส) บุรุษคนนั้น อุเปติ ย่อมน้อมเข้าไป อุปายนํ ซึ่งของกำนัล สตสหสฺสคุณมฺปิ แม้มีจำนวนร้อยเท่าพันเท่า ทฺวาเรน ทางประตู อญฺเญน อื่น ดังนี้.

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, อิสฺสาปกโต มาโร ปาปิมา ปญฺจสาลเก พฺราหฺมณคหปติเก อนฺวาวิสิ, อญฺญานิ ปน อเนกานิ เทวตาสตสหสฺสานิ อมตํ ทิพฺพํ โอชํ คเหตฺวา อุปคตานิ ภควโต กาเย โอชํ โอทหิสฺสามาติ ภควนฺตํ นมสฺสมานานิ ปญฺชลิกานิ ฐิตานี’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกันแล มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป อิสฺสาปกโต ถูกความริษยาครอบงำ อนฺวาวิสิ จึงดลใจ[11] พฺราหฺมณคหปติเก ซึ่งพราหมณ์และคฤหบดี ปญฺจสาลเก ชาวบ้านปัญจาละ, ปน แต่ว่า เทวตาสตสหสฺานิ เทวดานับเป็นแสนองค์ อญฺญานิ เหล่าอื่ืน อเนกานิ เป็นอันมาก คเหตฺวา ถือเอา โอชํ ซึ่งโอชะ ทิพฺพํ เป็นทิพย์ อมตํ อันอมตะ[12] อุปคตานิ เข้าไป (จินฺตเนน) ด้วยคิด อิติ ว่า มยํ เราทั้งหลาย โอทหิสฺสาม จักโปรย โอชํ ซึ่งโอชะ กาเย บนพระวรกาย ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้, ฐิตานิ จึงยืน ปญฺชลิกานิ ประนมมือ นมสฺสมานานิ นมัสการอยู่ ดังนี้.

 

‘‘โหตุ, ภนฺเต นาคเสน, สุลภา ภควโต จตฺตาโร ปจฺจยา โลเก อุตฺตมปุริสสฺส, ยาจิโตว ภควา เทวมนุสฺโสหิ จตฺตาโร ปจฺจเย ปริภุญฺชติ, อปิ จ โข ปน มารสฺส โย อธิปฺปาโย, โส ตาวตเกน สิทฺโธ, ยํ โส ภควโต โภชนสฺส อนฺตรายมกาสิฯ เอตฺถ เม, ภนฺเต, กงฺขา น ฉิชฺชติ, วิมติชาโตหํ ตตฺถ สํสยปกฺขนฺโทฯ น เม ตตฺถ มานสํ ปกฺขนฺทติ, ยํ ตถาคตสฺส อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส สเทวเก โลเก อคฺคปุคฺคลวรสฺส กุสลวรปุญฺญสมฺภวสฺส อสมสมสฺส อนุปมสฺส อปฺปฏิสมสฺส ฉวกํ ลามกํ ปริตฺตํ ปาปํ อนริยํ วิปนฺนํ มาโร ลาภนฺตรายมกาสี’’ติฯ

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปจฺจยา ปัจจัย จตฺตาโร สี่ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค อุตฺตมปุริสสฺส ผู้ทรงเป็นบุรุษเลิศ โลเก ในโลก สุลภา เป็นของหาได้ง่าย โหตุ จงยกไว้, ภควา พระผู้มีพระภาค เทวมนุสฺเสหิ ผู้ที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยาจิโต ว ครั้นทูลอ้อนวอนแล้วเท่านั้นแหละ ปริภุญฺชติ จึงทรงใช้สอย ปจฺจเย ซึ่งปัจจัย จตฺตาโร ๔, อปิ จ โข แต่ทว่า โย อธิปฺปาโย ความประสงค์อันใด มารสฺส แห่งมาร, โส อธิปฺปาโย ความประสงค์อันนั้น สิทฺโธ สำเร็จแล้ว ตาวตเกน ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ยํ คือ โส มาโร มารนั้น อกาสิ ได้กระทำแล้ว อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย โภชนสฺส แก่โภชนะ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค. ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กงฺขา ความสงสัย เอตฺถ ในเรื่องนี้ เม ของข้าพเจ้า น ฉิชฺชติ ยังไม่ขาดไป, อหํ ข้าพเจ้า วิมติชาโต ยังคงเกิดความลังเล สํสยปกฺขนฺโท จึงถลำไปในความสงสัย ตตฺถ ในกรณีนี้อยู่. มานสํ ใจ เม ของข้าพเจ้า น ปกฺขนฺทติ ยังไม่แล่นดิ่งไป ตตฺถ ในเรื่องนั้น, ยํ คือ การที่ มาโร มาร อกาสิ ได้กระทำแล้ว ลาภนฺตรายํ ซึ่งอันตรายแก่ลาภ ฉวกํ ซึ่งสกปราก ลามกํ ชั่วช้า ปริตฺตํ ต่ำต้อย ปาปํ เลวทราม อนริยํ ไม่ใช่ของประเสริฐ วิปนฺนํ อันผิดพลาด ตถาคตสฺส แก่พระตถาคต อรหโต ผู้องค์อรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อคฺคปุคฺคลวรสฺส ทรงเป็นบุคคลประเสริฐสุดสูงส่ง โลเก ในโลก สเทวเก พร้อมทั้งเทวโลก กุสลวรปุญฺญสมฺภวสฺส ทรงสมภพแต่กุศลและบุญอันประเสริฐ อสมสมสฺส ผู้ทรงเสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้หาบุคคลผู้เสมอเหมือนมิได้ อนุปมสฺส ทรงหาบุคคลที่เปรียบเทียบไม่ได้ อปฺปฏิสมสฺส ทรงเป็นผู้ที่จะมีบุคคลเท่าเทียมมิได้ ดังนี้.

 

 ‘‘จตฺตาโร โข, มหาราช, อนฺตรายา อทิฏฺฐนฺตราโย อุทฺทิสฺส กตนฺตราโย อุปกฺขฏนฺตราโย ปริโภคนฺตราโยติฯ

เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อนฺตรายา อันตราย จตฺตาโร โข ๔ ประการ คือ อทิฏฺฐนฺตราโย อทิฏฐอันตราย, อุทฺทิสฺส กตนฺตราโย อุทิสสกตอันตราย อุปกฺขฏนฺตราโย อุปักขฏันตราย ปริโภคนฺตราโย ปริโภคอันตราย[13].

 

ตตฺถ กตโม อทิฏฺฐนฺตราโย? อโนทิสฺส อทสฺสเนน อนภิสงฺขตํ โกจิ อนฺตรายํ กโรติ กิํ ปรสฺส ทินฺเนนาติ, อยํ อทิฏฺฐนฺตราโย นามฯ

ตตฺถ ในอันตรายทั้ง ๔ เหล่านั้น อทิฏฺฐนฺตราโย อทิฏฐอันตราย กตโม เป็นอย่างไร? คือ ปุคฺคโล บุคคล โกจิ บางคน (จินฺเตตฺวา) คิดแล้ว อิติ ว่า กิํ ประโยชน์อะไร ทินฺเนน ด้วยทานอ้นเขาให้แล้ว ปรสฺส แก่คนอื่น ดังนี้ กโรติ ย่อมกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย อนภิสงฺขตํ ต่อทานที่เขาไม่ได้ตกแต่งไว้[14]  อโนทิสฺส โดยไม่เจาะจง (ปฎิคฺคาหกํ) ซึ่งปฏิคาหก อทสฺสเนน เพราะยังไม่พบ(ปฏิคาหก), อยํ อันตรายนี้ อทิฏฺฐนฺตราโย นาม ชื่อว่า อทิฏฐอันตราย (อันตรายต่อทานที่ไม่พบปฏิคาหก).

 

 ‘‘กตโม อุทฺทิสฺส กตนฺตราโย? อิเธกจฺจํ ปุคฺคลํ อุปทิสิตฺวา อุทฺทิสฺส โภชนํ ปฏิยตฺตํ โหติ, ตํ โกจิ อนฺตรายํ กโรติ, อยํ อุทฺทิสฺส กตนฺตราโย นามฯ

อุทฺทิสฺส กตนฺตราโย อุททิสสกตอันตราย กตโม เป็นอย่างไร? โภชนํ โภชนะ ปฏิยตฺตํ ที่ตระเตรียมไว้ อุปทิสิตฺวา เข้าไประบุ ปุคฺคลํ ซึ่งบุคคล เอกจฺจํ  บางคน อุทฺทิสฺส โดยเจาะจง อิธ ในโลกนี้ โหติ มีอยู่, โกจิ บุคคคลบางคน กโรติ ย่อมกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย ตํ ต่อโภชนะนั้น, อยํ อันตรายนี้ อุทฺทิสฺส กตนฺตราโย นาม ชื่อว่า อุททิสสกตอันตราย (อันตรายต่อทานที่กระทำโดยเจาะจงบุคคล).

 

 ‘‘กตโม อุปกฺขฏนฺตราโย? อิธ ยํ กิญฺจิ อุปกฺขฏํ โหติ อปฺปฏิคฺคหิตํ, ตตฺถ โกจิ อนฺตรายํ กโรติ, อยํ อุปกฺขฏนฺตราโย นามฯ

อุปกฺขฏนฺตราโย อุปักขฏอันตราย กตโม เป็นอย่างไร?. ยํ กิญฺจิ โภชนํ โภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง อุปกฺขฏํ อันเขาตระเตรียมไว้ อปฺปฏิคฺคหิตํ อันปฏิคาหกยังไม่ได้รับไว้ โหติ มีอยู่ อิธ ในโลกนี้, โกจิ บางคน กโรติ ย่อมกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย ตตฺถ ในโภชนะนั้น, อยํ อันตรายนี้ อุปกฺขฏนฺตราโย นาม ชื่อว่า อุปักขฏอันตราย (อันตรายต่อโภชนะที่ตระเตรียมไว้แล้วด้วยการทำให้แคลงใจ)

 

 ‘‘กตโม ปริโภคนฺตราโย? อิธ ยํ กิญฺจิ ปริโภคํ, ตตฺถ โกจิ อนฺตรายํ กโรติ, อยํ ปริโภคนฺตราโย นามฯ

ปริโภคนฺตราโย ปริโภคอันตราย กตโม เป็นอย่างไร?. ยํ กิญฺจิ ปริโภคํ การบริโภคอย่างใดอย่าง อิธ ในโลกนี้ (โหติ) มีอยู่, โกจิ บางคน กโรติ ย่อมกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย ตตฺถ ในการบริโภคนั้น, อยํ อันตรายนี้ ปริโภคนฺตราโย นาม ชื่อว่า ปริโภคอันตราย (อันตรายต่อการบริโภค โดยการใช้คำพูดติเตียนทำความกลัดกลุ้มให้เกิดขึ้น).

 

อิเม โข, มหาราช, จตฺตาโร อนฺตรายาฯ

มหาราช มหาบพิตร อนฺตราย อันตราย จตฺตาโร ๔ อย่าง อิเม โข เหล่านี้แล.

‘‘ยํ ปน มาโร ปาปิมา ปญฺจสาลเก พฺราหฺมณคหปติเก อนฺวาวิสิ, ตํ เนว ภควโต ปริโภคํ น อุปกฺขฏํ น อุทฺทิสฺสกตํ, อนาคตํ อสมฺปตฺตํ อทสฺสเนน อนฺตรายํ กตํ, ตํ ปน เนกสฺส ภควโต เยว, อถ โข เย เต เตน สมเยน นิกฺขนฺตา อพฺภาคตา, สพฺเพปิ เต ตํ ทิวสํ โภชนํ น ลภิํสุ, นาหํ ตํ, มหาราช, ปสฺสามิ สเทวเก โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย, โย ตสฺส ภควโต อุทฺทิสฺส กตํ อุปกฺขฏํ ปริโภคํ อนฺตรายํ กเรยฺยฯ สเจ โกจิ อิสฺสาย อุทฺทิสฺส กตํ อุปกฺขฏํ ปริโภคํ อนฺตรายํ กเรยฺย, ผเลยฺย ตสฺส มุทฺธา สตธา วา สหสฺสธา วาฯ

ปน ก็แต่ว่า มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป อนฺวาวิสิ ดลใจแล้ว พฺราหฺมณคหปติเก ซึ่งพราหมณ์และคฤหบดี ปญฺจสาลเก ชาวบ้านปัญจาสาละ ยํ ใด, ตํ การดลใจนั้น มาเรน กตํ อันมารกระทำแล้ว ปริโภคํ[15] ให้เป็นอันตรายในการบริโภค ภควโต แก่พระผู้มีพระภาค เนว[16] หามิได้, มาเรน กตํ อันมารกระทำแล้ว อุปกฺขฏํ ให้เป็นอันตรายในการตระเตรียมโภชนะซึ่งปฏิคาหกยังไม่ได้รับ ภควโต เพื่อพระผู้มีพระภาค หามิได้, มาเรน กตํ อันมารกระทำแล้ว อุทฺทิสฺสกตํ ให้เป็นอันตรายในโภชนะที่เขาจัดเตรียมไว้ โดยเจาะจง ภควโต แก่พระผู้มีพระภาค หามิได้, (แต่) อนาคตํ การไม่เสด็จมา (ภควโต) ของพระผู้มีพระภาค อสมฺปตฺตํ การไม่เสด็จถึง (ภควโต) ของพระผู้มีพระภาค มาเรน กตํ อันมารกระทำแล้ว อนฺตรายํ ให้เป็นอันตราย (ภควโต) อทสฺสเนน เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงปรากฏ[17], ปน ก็ ตํ การณํ เหตุนั้น โหติ ย่อมมี ภควโต แก่พระผู้มีพระภาค เอกสฺส เพียงพระองค์เดียว เอว เท่านั้น หามิได้, อถ โข ที่แท้แล้ว เย เต สมณพฺราหฺมณา พวกสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่าใด นิกฺขนฺตา ออกมาแล้ว อพฺภาคตา = สมฺปตฺตา มาถึงแล้ว, สพฺเพปิ เต สมณพฺราหฺมณา สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งสิ้น น ลภิํสุ ก็ไม่ได้ โภชนํ ซึ่งโภชนะ ตํทิวสํ ในวันนั้น, มหาราช มหาบพิตร อหํ อาตมภาพ น ปสฺสามิ ยังไม่เห็น โย บุคคลผู้ใด โลเก ในโลกมนุษย์ สเทวเก พร้อมทั้งเทวโลก สมารเก ทั้งมารโลก สพฺรหฺมเก ทั้งพรหมโลก ปชาย ในหมู่สัตว์ สสฺสมณพฺราหฺมณิยา พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ สเทวมนุสฺสาย อีกทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย กเรยฺย[18] ที่สามารถกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย อุทฺทิสฺส กตํ กับทานที่กระทำโดยเจาะจง ภควโต แด่พระผู้มีพระภาค ตสฺส พระองค์นั้น, อุปกฺขฏํ กับทานที่ตระเตรียมไว้ ภควโต สำหรับพระผู้มีพระภาค ตสฺส พระองค์นั้น, ปริโภคํ กับการบริโภค ตสฺส ภควโต ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น, สเจ ถ่้าหากว่า โกจิ บุคคลผู้ใด กเรยฺย พึงกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย อุทฺทิสฺส กตํ กับทานที่กระทำโดยเจาะจง ภควโต แด่พระผู้มีพระภาค ตสฺส พระองค์นั้น, อุปกฺขฏํ กับทานที่ตระเตรียมไว้ ภควโต สำหรับพระผู้มีพระภาค ตสฺส พระองค์นั้น, ปริโภคํ กับการบริโภค ตสฺส ภควโต ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น อิสฺสาย ด้วยความริษยา ไซร้, มุทฺธา ศีรษะ ตสฺส ของผู้นั้น ผเลยฺย ควรจะแตกไป สตธา วา เป็นร้อยเสี่ยง, วา หรือ สหสฺสธา เป็นพันเสี่ยง.

 ‘‘จตฺตาโรเม, มหาราช, ตถาคตสฺส เกนจิ อนาวรณียา คุณาฯ กตเม จตฺตาโร? ลาโภ, มหาราช, ภควโต อุทฺทิสฺส กโต อุปกฺขโฏ น สกฺกา เกนจิ อนฺตรายํ กาตุํ; สรีรานุคตา, มหาราช, ภควโต พฺยามปฺปภา น สกฺกา เกนจิ อนฺตรายํ กาตุํ; สพฺพญฺญุตํ, มหาราช, ภควโต ญาณรตนํ น สกฺกา เกนจิ อนฺตรายํ กาตุํ; ชีวิตํ, มหาราช, ภควโต น สกฺกา เกนจิ อนฺตรายํ กาตุํฯ อิเม โข, มหาราช, จตฺตาโร ตถาคตสฺส เกนจิ อนาวรณียา คุณา, สพฺเพเปเต, มหาราช, คุณา เอกรสา อโรคา อกุปฺปา อปรูปกฺกมา อผุสานิ กิริยานิฯ อทสฺสเนน, มหาราช, มาโร ปาปิมา นิลียิตฺวา ปญฺจสาลเก พฺราหฺมณคหปติเก อนฺวาวิสิฯ

 

มหาราช มหาบพิตร คุณา คุณทั้งหลาย จตฺตาโร ๔ ประการ อิเม เหล่านี้ ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต เกนจิ อันใครๆ อนาวรณียา ไม่พึงขัดชวางได้. จตฺตาโร ๔ ประการ กตเม เป็นอย่างไร. มหาราช มหาบพิตร ลาโภ ลาภ อุปกฺขโฏ อันทายกตระเตรียม กโต จัดทำไว้ อุทฺทิสฺส อุทิส ภควโต พระผู้มีพระภาค เกนจิ อันใครๆ น สกฺกา ไม่อาจ กาตุํ ทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย[19] (คือ ขัดขวาง), มหาราช มหาบพิตร พฺยามปฺปภา พระรัศมีที่แผ่ไปมีประมาณ ๑ วา  สรีรานุคตา ที่ติตตามทั่วพระวรกาย ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เกนจิ อันใครๆ น สกฺกา ไม่อาจ กาตุํ ทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย, มหาราช มหาบพิตร ญาณรตนํ ญาณประเสริฐ สพฺพญฺญุตํ คือ พระสัพพัญญุตญาณ[20] ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เกนจิ อันใครๆ น สกฺกา ไม่อาจ กาตุํ ทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย, มหาราช มหาบพิตร ชีวิตํ พระชนม์ชีพ ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เกนจิ อันใครๆ น สกฺกา ไม่อาจ กาตุํ ทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย, มหาราช มหาบพิตร อิเม โข จตฺตาโร คุณา คุณทั้ง ๔ ประการนี้ ตถาคตสฺส ของพระตถาคต เกนจิ อันใครๆ อนาวรณียา ไม่พึงขัดขวางได้, มหาราช มหาบพิตร คุณา พระคุณทั้งหลาย สพฺเพปิ แม้ทั้งสิ้น เอเต เหล่านี้ เอกรสา มีคุณสมบัติเดียวกัน[21] อโรคา มีความป่วยหามิได้ อกุปฺปา ไม่กำเริบแล้ว อปรูปกฺกมา จะมีผู้อื่นก้าวล่วงมิได้ กิริยานิ เป็นกิริยา อผุสานิ (เกนจิ) อันใครๆ ไม่พึงถูกต้องได้[22]. มหาราช มหาบพิตร มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป นิลียิตฺวา แอบ อนฺวาวิสิ เข้าดลใจแล้ว พฺราหฺมณคหปติเก ซึ่งพราหมณ์และคฤหบดี ปญฺจสาลเก ชาวหมู่บ้านปัญจาละ (ภควโต) อทสฺสเนน โดยประสงค์จะมิให้พระผู้มีพระภาคทรงเห็น.

 

 ‘‘ยถา, มหาราช, รญฺโญ ปจฺจนฺเต เทเส วิสเม อทสฺสเนน นิลียิตฺวา โจรา ปนฺถํ ทูเสนฺติฯ ยทิ ปน ราชา เต โจเร ปสฺเสยฺย, อปิ นุ โข เต โจรา โสตฺถิํ ลเภยฺยุ’’นฺติ?

มหาราช มหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า เทเส ที่ประเทศ ปจฺจนฺเต ชายแดน รญฺโญ ของพระราชา โจรา พวกโจร นิลียิตฺวา แอบแล้ว วิสเม ที่ลุ่มดอน อทสฺสเนน ไม่ให้เห็น ทูเสนฺติ จึงทำร้าย ปนฺถํ คนเดินทาง. ปน ก็ ยทิ ถ้าว่า ราชา พระราชา ปสฺเสยฺย พึงเห็น โจเร ซึ่งโจรทั้งหลาย แล้วไซร้, เต โจรา พวกโจรเหล่านั้น ลเภยฺยุํ พึงได้รับ โสตฺถิํ ซึ่งความปลอดภัย อปิ นุ โข หรือไม่ ดังนี้.

 

 ‘‘น หิ, ภนฺเต, ผรสุนา ผาลาเปยฺย สตธา วา สหสฺสธา วา’’ติฯ

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ โจรา พวกโจร ไม่พึงได้รับ โสตฺถิํ ซึ่งความปลอดภัยดอก, โส ราชา พระราชาพระองค์นั้น (ตํ โจรา คาหาเปตฺวา พึงรับสั่งให้จับโจรนั้นมา) ผาลาเปยฺย ให้ตัด ผรสุนา ด้วยขวาน สตธา โดยร้อยส่วน วา บ้าง, สหสฺสธา โดยพันส่วน วา บ้าง ดังนี้.[23]

 

 เอวเมว โข, มหาราช, อทสฺสเนน มาโร ปาปิมา นิลียิตฺวา ปญฺจสาลเก พฺราหฺมณคหปติเก อนฺวาวิสิฯ

มหาราช มหาบพิตร มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป นิลียิตฺวา แอบ (ภควโต) อทสฺสเนน โดยประสงค์จะมิให้พระผู้มีพระภาคทรงเห็น อนฺวาวิสิ เข้าไปดลใจแล้ว พฺราหฺมณคหปติเก ซึ่งพราหมณ์และคฤหบดี ปญฺจสาลเก ชาวหมู่บ้านปัญจาละ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

 ‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, อิตฺถี สปติกา อทสฺสเนน นิลียิตฺวา ปรปุริสํ เสวติ, เอวเมว โข, มหาราช, อทสฺสเนน มาโร ปาปิมา นิลียิตฺวา ปญฺจสาลเก พฺราหฺมณคหปติเก อนฺวาวิสิฯ ยทิ, มหาราช, อิตฺถี สามิกสฺส สมฺมุขา ปรปุริสํ เสวติ, อปิ นุ โข สา อิตฺถี โสตฺถิํ ลเภยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร วา ปน อีกอย่างหนึ่ง ยถา เปรียบเหมือนว่า อิตฺถี หญิง สปติกา ที่มีสามี วา นิลียิตฺวา แอบ อทสฺสเนน ไม่ให้สามีเห็น เสวติ ย่อมคบ ปรปุริสํ ซึ่งชายอื่น, มหาราช มหาบพิตร มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป นิลียิตฺวา แอบแล้ว อทสฺสเนน ไม่ให้พระผู้มีพระภาคทรงเห็น อนฺวาวิสิ เข้าไปดลใจแล้ว พฺราหฺมณคหปติเก ซึ่งพราหมณ์และคฤหบดี ปญฺจสาลเก ชาวหมู่บ้านปัญจาละ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล. มหาราช มหาบพิตร ยทิ ถ้าหากว่า อิตฺฺถี หญิง เสวติ ย่อมคบ ปรปุริสํ ซึ่งชายอื่น สมฺมุขา ต่อหน้า สามิกสฺส แห่งสามี แล้วไซร้, สา อิตฺถี หญิงนั้น ลเภยฺย พึงได้ โสตฺถิํ ซึ่งความสวัสดี อปิ นุ โข บ้างหรือหนอ? ดังนี้.

 

 ‘‘น หิ, ภนฺเต, หเนยฺยาปิ ตํ, ภนฺเต, สามิโก วเธยฺยาปิ พนฺเธยฺยาปิ ทาสิตฺตํ วา อุปเนยฺยา’’ติฯ

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ สา อิตฺถี หญิงนั้น ไม่พึงได้รับ โสตฺถิํ ซึ่งความปลอดภัยดอก, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, สามิโก สามี วเธยฺยาปิ พึงฆ่าบ้าง พนฺเธยฺยาปิ พึงจองจำบ้าง อุปเนยฺย พึงนำไป ทาสิตฺตํ สู่ความเป็นทาสี วา บ้าง ดังนี้.

 

 ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, อทสฺสเนน มาโร ปาปิมา นิลียิตฺวา ปญฺจสาลเก พฺราหฺมณคหปติเก อนฺวาวิสิฯ ยทิ, มหาราช, มาโร ปาปิมา ภควโต อุทฺทิสฺส กตํ อุปกฺขฏํ ปริโภคํ อนฺตรายํ กเรยฺย, ผเลยฺย ตสฺส มุทฺธา สตธา วา สหสฺสธา วา’’ติฯ

เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป นิลียิตฺวา แอบแล้ว อทสฺสเนน ไม่ให้พระผู้มีพระภาคทรงเห็น อนฺวาวิสิ เข้าไปดลใจแล้ว พฺราหฺมณคหปติเก ซึ่งพราหมณ์และคฤหบดี ปญฺจสาลเก ชาวหมู่บ้านปัญจาละ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล, ยทิ ถ้าหากว่า มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป กเรยฺย พึงกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งการขัดขวาง โภชนํ กับโภชนะ กตํ อันเขากระทำแล้ว อุทฺทิสฺส อุทิศ (ภควโต) แด่พระผู้มีพระภาค, โภชนํ กับโภชนะ อุปกฺขฏํ อันเขาตระเตรียมไว้ ภควโต เพื่อพระผู้มีพระภาค, ปริโภคํ ซึ่งการบริโภค ภควโต ของพระผู้มีพระภาคแล้วไซร้, มุทฺธา ศีรษะ ตสฺส ของมารนั้น ผเลยฺย ควรจะแตกไป สตธา วาเป็นร้อยเสี่ยง, วา หรือ สหสฺสธา เป็นพันเสี่ยง ดังนี้.

 

 ‘‘เอวเมตํ, ภนฺเต นาคเสน, โจริกาย กตํ มาเรน ปาปิมตา, นิลียิตฺวา มาโร ปาปิมา ปญฺจสาลเก พฺราหฺมณคหปติเก อนฺวาวิสิฯ สเจ โส, ภนฺเต, มาโร ปาปิมา ภควโต อุทฺทิสฺส กตํ อุปกฺขฏํ ปริโภคํ อนฺตรายํ กเรยฺย, มุทฺธา วาสฺส ผเลยฺย สตธา วา สหสฺสธา วา, กาโย วาสฺส ภุสมุฏฺฐิ วิย วิกิเรยฺย, สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป นิลียิตฺวา แอบแล้ว อทสฺสเนน ไม่ให้พระผู้มีพระภาคทรงเห็น อนฺวาวิสิ เข้าไปดลใจแล้ว พฺราหฺมณคหปติเก ซึ่งพราหมณ์และคฤหบดี ปญฺจสาลเก ชาวหมู่บ้านปัญจาละ (ยํ) ใด, เอตํ นั่น มาเรน อันมาร กตํ กระทำแล้ว โจริกาย โดยกรรมของพวกโจร เอวํ อย่างนี้, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สเจ ถ้าว่า มาโร มาร ปาปิมา ผู้มีบาป กเรยฺย พึงกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งการขัดขวาง โภชนํ กับโภชนะ กตํ อันเขากระทำแล้ว อุทฺทิสฺส อุทิศ (ภควโต) แด่พระผู้มีพระภาค, อุปกฺขฏํ อันเขาตระเตรียมไว้ ภควโต เพื่อพระผู้มีพระภาค, ปริโภคํ ซึ่งการบริโภค ภควโต ของพระผู้มีพระภาคแล้วไซร้, มุทฺธา ศีรษะ ตสฺส ของมารนั้น ผเลยฺย ควรจะแตกไป สตธา วาเป็นร้อยเสี่ยง, วา หรือ สหสฺสธา เป็นพันเสี่ยง, กาโย กาย อสฺส ของมารนั้น วิกิเรยฺย พึงกระจัดกระจาย วิย เหมือนกับ ภุสมุฏฺฐิ กำแห่งขึ้เถ้า วิกิรนฺโต กระจัดกระจายอยู่  ดังนี้, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ งดงามจริง, ยํ วจนํ คำใด ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว ยถา โดยประการใด อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ ซึ่งคำนั้น ตว ของท่าน ตถา โดยประการนั้น เอวํ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.

 

พุทฺธลาภนฺตรายปญฺโห ปญฺจโมฯ

พุทฺธลาภนฺตรายปญฺโห

ปัญหาว่าด้วยอันตรายแห่งลาภของพระพุทธเจ้า

ปญฺจโม ลำดับที่ ๕ นิฏฺฐิโต จบแล้ว



[1] ยถาโธเตน ตามที่ทรงล้างแล้ว หมายถึง มีบาตรเปล่า ไม่ได้บรรจุอาหารไรๆ เหมือนบาตรที่ล้างเสร็จใหม่ๆ.

[2] เตนหิ ศัพท์  จัดเป็นนิบาตประเภทนิปาตสมุทายะ วากยสัมพันธ์ไทยเรียกว่า วิภัตติปฏิรูปกะ แปลว่า นิบาตที่มีรูปเหมือนนามวิภัตติ.   ตัดบทเป็น เตน + หิ มีความหมายเท่ากับ (๑) อุยฺโยชน เหมือนคำว่า อิงฺฆ (๒) ตสฺสาธิปฺปายนิทสฺสน แสดงความประสงค์ให้ปรากฏ (๓) การณ เหตุ  (๔) นิปาตมตฺต เป็นแค่นิบาต ไม่ต้องแปล.  โบราณาจารย์ของไทย นิยมแปลว่า ถ้าอย่างนั้น เหมือนกันทั้ง ๔ ความหมาย อย่างไรก็ตาม อาจใช้คำแปลอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงความประสงค์ของผู้กล่าวบท.  ในที่นี้มีอรรถว่า การณ คือ เพราะได้ตรัสไว้อย่างนั้น คำต่อไปนี้จึงผิด.อนึ่ง ในคัมภีร์มิลินทปัญหาเขียนแยกกันเป็น เตน หิ, แต่ปทานุกรมติปิฎกปาลิเมียนมาร์ เขียนรวมกันเป็น เตนหิ  และแสดงการตัดบทเป็น เตน + หิ อย่างไรก็ตาม  ควรเขียนติดกัน เพื่อกันความสับสนระหว่างบทว่า เตน ที่มาจาก ต + นา วิภัตติ บทหนึ่งและ หิ นิบาต.

[3] พระเจ้ามิลินท์ทรงแคลงพระทัยว่า ตามปกติพระพุทธองค์จะไม่ขาดลาภใดๆเลย แต่ไฉนในคราวที่เสด็จไปยังหมู่บ้านปัญจาละจึงไม่ได้รับปัจจัยใดๆ เหตุนั้น พระพุทธพจน์ ๒ แห่งที่แสดงถึงเรื่องนี้ขัดแย้งกัน ควรวินิจฉัยให้ได้ว่า มีเหตุการณ์เดียวที่ถูกต้อง.

[4] แปลโดยโวหารัตถนัยว่า หมดหนทางจะนับ วีติวตฺต แยกเป็น วิ + อติ +วตฺต ล่วงพ้นไป. ปาฐะสีหลเป็น คณนปถวีติวตฺเต กปฺเป ตลอดกับที่พ้นหนทางจะนับ.

[5] กินฺติ เป็นนิบาตประเภทนิปาตสมุทายะ ตัดบทเป็น กิํ + อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถตติยาวิภัตติ (รูปสิทธิ)  ความหมายเท่ากับคำว่า เกน (กิํ + นา)  เพราะฉะนั้น พึงเพิ่มวิเสสยะตามควร ในที่นี้. อนึ่งมีนิบาตอีกศัพท์ที่มีรูปคล้ายกัน คือ กินฺตุ ซึ่งมีอรรถอปฺปมตฺตวิเสสปุจฺฉา ถามถึงความแตกต่างกันนิดหน่อย (นีติ.สุตฺต) หมายความว่า เป็นคำที่ถามถึงสองสิ่งที่คล้ายกัน ว่ามีความต่างกันอย่างไร? เช่น น ปเนสา วิจิกิจฺฉาสงฺขาตา กงฺขาติ, กินฺตุ? ปญฺญตฺติอชานนํ นาม ก็ความสงสัยนั้น หาได้เป็นความสงสัยกล่าวคือวิจิกิจฉาไม่, ถามว่า ต่างกันอย่างไร, ตอบว่า เป็นความไม่รู้สิกขาบทบัญญัติ. (พุทฺฺธวํ.อฏฺ.๖๕) คัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา กล่าวถึง กินฺตุ นิบาตว่า กินฺตุอิติ อปฺปมตฺตวิเสสปุจฺฉายํ. กินฺตุ วิปากานีติ นานากรณํ เช่น ถามถึงสิ่งที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น ที่ว่า กินฺตุ วิปากานิ วิบากทั้งหลายมีความต่างกันอย่างไร ดังนี้ หมายถึง อะไรเป็นความต่างกัน.

[6] ฉบับมหามกุฏ แปลว่า รวงผึ้ง.

[7] เครื่องบรรณาการ  ๖ : อุปทา,  ปาภต,  อุปายน,  อุกฺโกจ,  ปณฺณาการ,  ปเหณก (ธาน.๓๕๖)

[8] ตเมนํ ตัดบทเป็น ตํ + เอนํ.  เอนํ ศัพท์ มาจาก อิม ศัพท์ เมื่ออยู่หลังสรรพนามตัวหน้า แปลง เอต เป็น เอนํ. คัมภีร์นิรุตติทีปนีเรียกฐานะในการแปลงเป็น เอนํ นี้ว่า อนฺวาเทส การแสดงซ้ำ หมายถึง ใช้ เอต สัพพนามตามหลัง ต สัพพนาม. อนึ่ง ในกรณีที่สรรพนามใช้คู่กันสองคำ พึงทราบว่า มีความหมายเฉพาะคำหน้าเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้แปลเฉพาะ ต สรรพนามเท่านั้นว่า ซึ่งบุรุษนั้น ส่วน เอนํ ไม่ต้องแปล. แม้ทุติยาวิภัตติในที่นี้ เป็นกรรมรอง เรียกว่า อกถิตกรรม ไม่ใช่กรรมที่ถูกกิริยากล่าวถึงโดยตรง มีอายตนิบาตว่า กะหรือกับ.

[9] นัยนี้แปลโดยสัททัตถนัย เพราะ ในที่ประกอบด้วย ธร ธาตุ ที่เป็นจุราทิคณะ จักต้องเรียกหาสัมปทาน ซึ่งในที่นี้ ตว เป็นสัมปทานะของ ธาเรสฺสติ. (ดูรูปสิทธิสูตรที่ ๓๐๓ เพิ่มเติม.  แต่ความหมายที่ง่าย คือ พระราชา จักทรงลงอาชญาแก่ท่าน.

[10] ด้วยคำว่า ตาวตเกน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือ พระนาคเสนสื่อความหมายว่า พระราชามีพระกำลังด้อยกว่าคนเฝ้าประตู เพราะเหตุที่ของกำลังมีจำนวนน้อยลง เท่านั้น ก็หามิได้, แม้พระราชาก็จะมิทรงได้ของกำลังอย่างอื่นอีกก็หามิได้ ด้วยเหตุเท่านี้ คือ การที่คนเฝ้าประตูห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าเฝ้าพระราชา

[11] อนฺวาวิสิ กระจายศัพท์ได้ว่า อนุ + อา + วิส เข้าไป + อี อัชชัตตนี. ตามศัพท์หมายถึง เข้าไปครอบงำ อา มีอรรถว่า ทั่ว, ทุกทาง ดังอรรถกถาอธิบายศัพท์นี้ที่มีรูปของ ตปัจจัยว่า อาวฏฺฏิตา (ม.อ.๒/๓๑๖) ทำให้หมุนวน ซึ่งก็สื่อความหมายว่า, ทำให้งวยงง หลงลืม ด้วยเหตุนี้ ในที่นี้แปลตามโวหารัตถะว่า ดลใจ ให้ลืม

[12] อมตะ ในที่นี้มิได้หมายถึพระนิพพาน แต่หมายถึง อาหารที่เป็นของทิพย์ ซึ่งเทวดาทั้งหลายถือว่า เป็นของไม่ตายเหมือนพวกเขาที่เรียกตนเองว่า อมร นั่นเอง.

[13] คำว่า อันตราย ความว่า ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่านาในระหว่าง อธิบายว่า ขัดขวางเป็นอุปสรรค พระเถระหมายเอาอันตรายแห่งโภชนะเท่านั้น จึงกล่าวว่า อันตรายมี ๔ อย่าง คือ อทิฏฐันตราย ดังนี้ เป็นต้น

ในอันตราย ๔ อย่างนั้น คำว่า อทิฏฐันตราย ได้แก่ อันตรายแห่งโภชนะที่เขาตระเตรียมไว้ ยังไม่เห็นตัวผู้รับ ยังไม่ทราบว่าผู้รับเป็นใคร สมณพราหมณ์ผู้ใดมาถึง ก็จะถวายให้ มอบให้แก่สมณพราหมณ์ผู้นั้น ไม่เจาะจงบุคคล บุคคลบางคนทำอันตรายแก่โภชนะ คือ ทำการขัดขวางไม่ให้โภชนะนั้นตกถึงมือผู้รับ โดยกล่าวแก่ทายกผู้จะถวายว่า ประโยชน์อะไรแก่การเที่ยวให้แก่คนอื่นเล่า ผู้ไม่ใช้เรี่ยวแรง ไม่ใช้ความพยายามของตนเอง เกียจคร้านในกิจเกี่ยวกับการไถ การหว่าน เป็นต้น สมควรที่ผู้อื่นจะต้องคอยเลี้ยงดูหรือ อย่างนี้เป็นต้น อันตรานี้ ชื่อว่าอทิฏฐันตราย

คำว่า อุททิสสกอตันตราย แปลว่า อันตรายแห่งโภชนะที่เขาตระเตรียมไว้เจาะจงบุคคล ความว่า โภชนะนั้นเป็นโภชนะที่เขาตระเตรียมไว้โดยเจาะจง คือ ระบุตัวบุคคลผู้รับว่า จะถวายให้แก่บุคคลผู้นี้ และผู้นี้เท่านั้น บุคคลบางคนทำการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นรับผู้นั้นได้โภชนะนั้น ด้วยคำพูดติเตียนผู้รับ เช่นอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นคนทุศีล ประพฤติเลวทราม ท่านจักให้แก่คนเช่นนี้หรือดังนี้เป็นต้น อันตรายนี้ชื่อว่า อุททิสสกตันตราย

คำว่า อุปักขฏันตราย ได้แก่ โภชนะที่เขาตระเตรียมไว้ให้ ซึ่งผู้รับมาถึงแล้ว แต่ยังมิได้รับ บุคคลบางคนทำการขัดขวางโภชนะนั้น ด้วยคำพูดติเตียนตามนัยที่ได้กล่าวแล้ว อันตรายนี้ ชื่อว่าอุปักขฏันตราย

คำว่า ปริโภคันตราย แปลว่า อันตรายแห่งการบริโภค ความว่า ผู้รับได้รับโภชนะนั้นแล้วกำลังจะบริโภค บุคคลบางคนทำอันตราย คือ ทำการขัดขวางการบริโภค ด้วยคำพูดตำหนิผู้รับบ้าง ตำหนิโภชนะนั้นนั่นแหละบ้าง ตำหนิผู้ให้บ้าง ผู้รับได้ยินแล้ว เกิดความเสียใจ ความกลัดกลุ้มใจ ไม่อาจบริโภคโภชนะนั้นได้ อันตรายนี้ชื่อว่า ปริโภคันตราย

[14] นัยนี้แปลเป็นอรรถสัมปทาน ในกริยาว่า กโรติ พึงทราบว่า เป็นการแปลโดยโวหารัตถนัย. หากแปลโดยสัททัตถนัย ต้องเป็นอรรถอกถิตกรรมว่า กโรติ ย่อมกระทำ อนฺตรายํ ซึ่งอันตราย อนภิสงฺขตํ กับทานที่เขาไม่ได้ตกแต่งไว้. แม้ในอันตรายที่เหลืออีก ๓ ต่อไปก็มีนัยนี้. อนึ่ง ข้อนี้หมายความว่า เป็นทานที่ยังไม่ได้จัดเตรียมไว้เลย เหตุที่ยังไม่มีผู้รับมาปรากฏ และไม่เจาะจงผู้หนึ่งผู้ใด อีกด้วย. อนึ่ง บทว่า อนภิสงฺขตํ ฉบับไทยเป็น อภิสงฺขตํ เมื่อถือเอาปาฐะฉบับไทย ก็จะต้องแปลว่า ซึ่งทานอันเขาตกแต่งไว้ อโนทิสฺส อย่างไม่เจาะจง (ปฏิคฺคาหกํ) ซึ่งปฏิคาหก อทสฺสเนน เพราะยังไม่ปรากฏ.

[15] ปริโภคํ อุปกฺขฏํ และอุทฺทิสฺสกตํ เป็นรูปย่อของ ปริโภคนฺตรายํ, อุปกฺขฏนฺตรายํ, อุทฺทิสฺสกตนฺตรายํ. บทนี้เป็นบทลงทุติยาวิภัตติในอรรถวิกติกรรมใน กตํ.

[16] เนว (น + เอว) เป็นนิปาตสมุทายะ คือ นิบาตตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปที่รวมกลุ่มกัน มีความหมายเท่ากับ น นิบาต, นิยมเรียงนิบาตคู่นี้ไว้ต้นประโยค ในกรณีที่มี น นิบาตอีกหลายคำตามมา เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องแปลอรรถของเอว ว่า หามิได้นั่นเทียว คงแปลอรรถของ น นิบาตตามปกติ.

[17] คำว่า ก็ข้อที่มารผู้มีบาป ดลใจพวกพราหมณ์คฤหบดี ชาวบ้านปัญจสาละใด ข้อนั้นจะเป็นอันมารได้ทำอันตรายการบริโภคของพระผู้มีพระภาค ก็หาไม่ ดังนี้ เป็นต้น มีอรรถาธิบาย ในบรรดาอันตราย ๔ อย่าง มารแม้ว่าทำอันตรายได้ ก็ไม่อาจทำอันตราย ๓ อย่าง คือ ปริโภคันตราย อุปักขฏันตราย และอุททิสสกตันตราย แก่พระผู้มีพระภาคได้ ทำได้เฉพาะอทิฏฐันตรายเท่านั้น เพราะในสมัยนั้น พวกพราหมณ์คฤหบดีเหล่านั้น ตระเตรียมโภชนะไว้ไม่เจาะจงบุคคลผู้รับ ยังไม่ทราบก่อนเลยว่า พระผู้มีพระภาคจะเสด็จมา และพระองค์ก็ยังไม่ได้เสด็จมา หรือยังเสด็จมาไม่ถึง

[18] สัตตมีวิภัตติในที่นี้มีอรรถสตฺติ สามารถ ดูรายละเอียดในนิรุตติทีปนีสูตรว่า ๕๗๙. สตฺตารเหสฺเวยฺยาที ลงสัตตมีวิภัตติในอรรถสามารถและเหมาะสมเป็นต้น.

[19] ในที่นี้ การดลใจของมารนั้น ชือว่า เป็นอันตราย ชนิดอทิฏฐอันตราย เนื่องจากขัดขวางต่อทานที่ยังไม่จัดทำไว้ โดยทายกนั้นไม่ได้คาดหวังถึงผู้รับว่าเป็นใคร  เหตุที่ยังไม่มีปฏิคาหกปรากฏ. สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้านั้น มารทำได้เพียง ดลใจไม่ให้ชาวบ้านปัญจาละระลึกถึงพระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ตระเตรียมภัตตาหารไว้เพื่อถวาย. ส่วนโภชนะที่เหลืออีก ๓  มีสถานะเป็นลาภของพระองค์ เพราะเป็นสิ่งที่ทรงได้มาแล้ว ดังนั้น ใครๆไม่อาจทำอันตรายให้ได้เลย.

อนึ่ง อนฺตราย ศัพท์ เป็นปุงลิงค์ มีวิเคราะห์ได้ ๓ นัย คือ

(ก) จุติปฏิสนฺธีนมนฺตเร อยตีติ อนฺตราโย ธรรมชาติที่เป็นไปในระหว่างแห่งจุติและปฏิสนธิ ชื่อว่า อันตราย, อนฺตร = ระหว่าง + อย คติมฺหิ ในอรรถว่าไปหรือถึง + อปัจจัย มีอรรถกัตตา. รูปนี้ มีความหมายตามสัททปวัตตินิมิต คือ สิ่งที่เกิดขึ้นได้ในชาติหนึ่งๆ แต่ตามโลกโวหารคือ อุปสรรค ที่กีดขวางความสำเร็จ.

(ข) จุติปฏิสนฺธีนํ อนฺตเร อายนฺติ อาตปนฺติ อเนนาติ อนฺตราโย สิ่งที่ทำให้เดือดร้อนระหว่างจุติกับปฏิสนธิ ชื่อว่า อนฺตราย รูปนี้ อย ธาตุ มีอรรถ ตาปน เดือดร้อน +  อ ปัจจัยมีอรรถกรณะ

(ค) การิยสิทฺธิ อนฺตรํ พฺยวธานํ อยติ คมยตีติ อนฺตราโย ธรรมชาติที่ทำให้ความสำเร็จผลถึงระหว่าง (ไม่ต่อเนื่อง) คือ ชะงักลง. รูปนี้ อนฺตร ศัพท์ มีอรรถพฺยวิธาน คั่นจังหวะ และ อย ธาตุ ในอรรถว่า ถึง + ณ ปัจจัยในอรรถกรรม. จากวิเคราะห์นี้ อนฺตราย จึงหมายถึง สิ่งที่ให้ถึงการหยุดชะงัก กล่าวคือ กีดขวางไม่ให้การกระทำเกิดผลได้. (ธาน.ฏี.๗๖๕).

[20] นัยนี้แปล ญาณรตน ศัพท์โดยอธิปเปตัตถะ อนึ่ง ชื่อว่า รตน  เพราะอรรถว่า มีค่ามาก, เป็นของคู่กับชนผู้ยิ่งใหญ่, หายาก, ประเสริฐ ดังนั้น แปลโดยสัททัตถนัยได้ว่า พระญาณที่เป็นดุจรัตนะ.

[21] คำว่า มีรสเป็นอันเดียวกัน คือ มีสมบัติเกี่ยวกับความเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ขัดขวางมิได้ เสมอเหมือนกัน

[22] คำว่า เป็นกิริยาที่ใคร ๆ สัมผัสมิได้ คือ เป็นกิริยาที่ใคร ๆ ผู้ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อาจสัมผัส แตะต้อง ด้วยอำนาจการเห็นประจักษ์ได้ เพราะเป็นพุทธวิสัย.

[23] การใช้สำนวนแบบนี้เรียกว่า มิคปทวลัญชนัย วิธีการแสดงเหมือนการติดตามรอยเท้าเนื้อ คือ เมื่อเห็นรอยเท้าเนื้อ ก็ย่อมรู้ได้ว่า ทางนี้ย่อมเป็นทางเดินของเนื้อ แม้เว้นระยะทางตรงกลางบ้าง ฉนใด, แม่การที่พระราชารับสั่งให้เอาขวานตัดโจรเหล่านั้นได้ ก็จะต้องจับตัวมาก่อน เพราะฉะนั้น ข้อความว่า ตํ โจรํ คาหาเปตฺวา รับให้จับตัวโจรมา แม้ในบาฬีไม่ได้แสดงไว้ ก็เป็นอันทราบได้ว่า ละไว้ ในฐานะที่เข้าใจกัน.