วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565

เมณฑกกัณฑ์ - อเภชชวรรค - ๒. อพฺยากรณียปญฺโห ๒. อัพยากรณียปัญหา ปัญหาว่าด้วยสิ่งที่ไม่ควรพยากรณ์

 

๒. อพฺยากรณียปญฺโห

. อัพยากรณียปัญหา

ปัญหาว่าด้วยสิ่งที่ไม่ควรพยากรณ์

****

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา นตฺถานนฺท ตถาคตสฺส ธมฺเมสุ อาจริยมุฏฺฐีติ, ปุน จ เถเรน มาลุกฺยปุตฺเตน[๑] ปญฺหํ ปุฏฺโฐ น พฺยากาสิฯ เอโส โข, ภนฺเต นาคเสน, ปญฺโห ทฺวยนฺโต เอกนฺตนิสฺสิโต ภวิสฺสติ อชานเนน วา คุยฺหกรเณน วาฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อาจริยมุฏฺฐิ[๒] ธรรมอันกระทำไว้ในกำมือแห่งอาจารย์ ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย ตถาคตสฺส ของพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ตรัสแล้ว, และ ภควา พระผู้มีพระภาค ปุฏฺโฐ ผู้ - เถเรน อันพระเถระ มาลุกฺยปุตฺเตน ชื่อว่า มาลุกยบุตร - ถามแล้ว ปญฺหํ ซึ่งปัญหา น พฺยากาสิ ไม่ทรงพยากรณ์แล้ว ปุน อีก. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอโส โข ปญฺโห ปัญหานี้แล ทฺวยนฺโต มีส่วนสอง เอกนฺตนิสฺสิโต เป็นปัญหาอันอาศัยแล้วซึ่งส่วนเดียว[๓]  อาชานเนน วา โดยความไม่รู้ วา หรือ วา หรือว่า คุยฺหกรเณน โดยทรงกระทำให้เป็นธรรมถูกซ่อนไว้ ภวิสฺสติ จักเป็น.

. พระเจ้ามิลินท์ รับสั่งตรัสถามว่า พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า นตฺถานนฺท ตถาคตสฺส ธมฺเมสุ อาจริยมุฏฺฐิ อานนท์ กำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ตถาคต ดังนี้. และอีกครั้งหนึ่ง พระองค์พอพระมาลุงกยบุตรเถระทูลถามปัญหา ก็ไม่ตรัสพยากรณ์. พระคุณเจ้านาคเสน ปัญหานี้ จะต้องเป็นปัญหาที่อาศัยเหตุอย่างหนึ่งในเหตุ ๒ อย่าง (จึงไม่ตรัสพยากรณ์) คือไม่ตรัสพยากรณ์ เพราะไม่ทรงรู้ หรือไม่ก็เพราะจะทรงทำให้เป็นความลับ.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํ นตฺถานนฺท ตถาคตสฺส ธมฺเมสุ อาจริยมุฏฺฐีติ, เตน หิ เถรสฺส มาลุกฺยปุตฺตสฺส อชานนฺเตน น พฺยากตํฯ ยทิ ชานนฺเตน น พฺยากตํ, เตน หิ อตฺถิ ตถาคตสฺส ธมฺเมสุ อาจริยมุฏฺฐิฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ หากว่า วจนํ พระดำรัส อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อาจริยมุฏฺฐิ ธรรมอันกระทำไว้ในกำมือแห่งอาจารย์ ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย ตถาคตสฺส ของพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ตรัสแล้ว ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ปญฺหํ ปัญหา (ภควตา) อันพระผู้มีพระภาค อชานนฺเตน เมื่อไม่ทรงทราบ น พฺยากตํ จึงไม่ทรงพยากรณ์แล้ว เถรสฺส แก่พระเถระ มาลุกฺยปุตฺตสฺส ชื่อว่า มาลุกยบุตร.  ยทิ หากว่า ปญฺหํ ปัญหา (ภควตา) อันพระผู้มีพระภาค  ชานนฺเตน เมื่อทรงทราบ น พฺยากตํ (แต่)ไม่ทรงพยากรณ์แล้ว ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น อาจริยมุฏฺฐิ ธรรมอันกระทำไว้ในกำมือแห่งอาจารย์ ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย ตถาคตสฺส ของพระตถาคต อตฺถิ ย่อมมี. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้วโดยลำดับ ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ พึงคลี่คลาย [๔]ดังนี้.

พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า กำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ตถาคต ดังนี้จริงไซร้.  ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นอันว่า เพราะไม่ทรงรู้ จึงไม่ตรัสพยากรณ์แก่ท่านมาลุงกยบุตรเถระ. ถ้าหากว่าทรงรู้ ก็ยังไม่ตรัสพยากรณ์แก่ท่านพระมาลุงกยบุตรเถระ จริงไซร้. ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นอันว่า พระตถาคตยังทรงมีกำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลายอยู่.  ปัญหานี้ มี ๒ เงื่อน ถึงแก่ท่านตามลำดับ ท่านพึงทำลายข่ายคือทิฏฐิเถิด

 

 ‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา นตฺถานนฺท ตถาคตสฺส ธมฺเมสุ อาจริยมุฏฺฐีติ, อพฺยากโต จ เถเรน มาลุกฺยปุตฺเตน ปุจฺฉิโต ปญฺโห, ตญฺจ ปน น อชานนฺเตน น คุยฺหกรเณนฯ จตฺตาริมานิ, มหาราช, ปญฺหพฺยากรณานิฯ กตมานิ จตฺตาริ? เอกํสพฺยากรณีโย ปญฺโห วิภชฺชพฺยากรณีโย ปญฺโห ปฏิปุจฺฉาพฺยากรณีโย ปญฺโห ฐปนีโย ปญฺโหติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อาจริยมุฏฺฐิ ธรรมอันกระทำไว้ในกำมือแห่งอาจารย์ ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย ตถาคตสฺส ของพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ตรัสแล้ว, และ ปญฺโห ปัญหา เถเรน อันพระเถระ มาลุกฺยปุตฺเตน ชื่อว่า มาลุกยบุตร ปุจฺฉิโต ทูลถามแล้ว ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อพฺยากโต ไม่ทรงพยากรณ์แล้ว, จ ปน ก็แล ตํ ปญฺหํ ปัญหานั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อชานนฺเตน ไม่ทรงรู้อยู่ อพฺยากตํ ไม่ทรงพยากรณ์แล้ว หามิได้, อพฺพยากตํ ไม่ทรงพยากรณ์แล้ว คุยฺหกรเณน เพราะอันกระทำให้ซ่อนไว้ หามิได้. มหาราช มหาบพิตร ปญฺหพฺยากรณานิ การพยากรณ์ซึ่งปัญหาทั้งหลาย จตฺตาริอิมานิ เหล่านี้, ปญฺหพฺยากรณานิ การพยากรณ์ซึ่งปัญหาทั้งหลาย จตฺตาริ กตมานิ อะไรบ้าง? ปญฺหพฺยากรณานิ การพยากรณ์ซึ่งปัญหาทั้งหลาย จตฺตาริ อิมานิ เหล่านี้ อิติ คือ ปญฺโห ปัญหา เอกํสพฺยากรณีโย ชื่อว่า เอกังสพยากรณียะ (ปัญหาที่พึงพยากรณ์โดยส่วนเดียว), ปญฺโห ปัญหา วิภชฺชพฺยากรณีโย ชื่อว่า วิภัชชพยากรณียะ (ปัญหาที่พึงแยกแยะแล้วพยากรณ์), ปญฺโห ปัญหา ปฏิปุจฺฉาพฺยากรณีโย ชื่อว่า ปฏิปุจฉาพยากรณียะ (ปัญหาที่ย้อนถามแล้วพึงพยากรณ์), ปญฺโห ปัญหา ฐปนีโย ที่ชื่อว่า ฐปนียะ (ปัญหาที่พึงพักไว้).

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า อานนท์ กำมือแห่งอาจารย์ในธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ตถาคต ดังนี้ จริง,  แต่ว่า ข้อที่ไม่ตรัสพยากรณ์ปัญหาที่มาลุงกยบุตรเถระทูลถามนั้น ไม่ใช่เพราะไม่รู้ ไม่ใช่เพราะจะทรงทำให้เป็นความลับ.  ขอถวายพระพร ปัญหาพยากรณ์มี ๔ อย่างเหล่านี้ ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่างอะไรบ้าง ? คือ ๑.ปัญหาบางอย่าง เป็นเอกังสกรณียปัญหา (ปัญหาที่พึงพยากรณ์โดยส่วนเดียว).ปัญหาบางอย่าง เป็นวิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่พึงแยกแยะพยากรณ์).ปัญหาบางอย่าง เป็นปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่พึงย้อนถามเสียก่อนแล้วจึงพยากรณ์). ปัญหาบางอย่างเป็นฐปนียปัญหา (ปัญหาที่พึงพักไว้ คือพึงนิ่งเฉย) ดังนี้.

 

‘‘กตโม จ, มหาราช, เอกํสพฺยากรณีโย ปญฺโห? ‘รูปํ อนิจฺจนฺติ เอกํสพฺยากรณีโย ปญฺโห, ‘เวทนา อนิจฺจาติเป.… ‘สญฺญา อนิจฺจาติเป.… ‘สงฺขารา อนิจฺจาติเป.… ‘วิญฺญาณํ อนิจฺจ’’นฺติ เอกํสพฺยากรณีโย ปญฺโห, อยํ เอกํสพฺยากรณีโย ปญฺโหฯ

มหาราช มหาบพิตร ก็ ปญฺโห ปัญหา เอกํสพฺยากรณีโย ชื่อว่า เอกังสพยากรณียะ กตโม เป็นไฉน? (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า รูปํ อนิจฺจํ รูปไม่เที่ยง (กิํ) หรือ ดังนี้ เอกํสพฺยากรณีโย ปญฺโห เป็นเอกังสพยากรณียปัญหา. (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า เวทนา อนิจฺจา เวทนาไม่เที่ยง (กิํ) หรือ ฯลฯ (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า สญฺญา อนิจฺจา สัญญาไม่เที่ยง (กิํ) หรือ ฯลฯ (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า สงฺขารา อนิจฺจา สังขารไม่เที่ยง (กิํ) หรือ ฯลฯ (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า วิญฺญาณํ  อนิจฺจํ วิญญาณ ไม่เที่ยง (กิํ) หรือ ดังนี้ เอกํสพฺยากรณีโย ปญฺโห เป็นเอกังสพยากรณียปัญหา. (อยํ ปญฺโห) ปัญหานี้ เอกํสพฺยากรณีโย ปญฺโห คือ เอกังสพยากรณียปัญหา ดังนี้.[๕]

ขอถวายพระพร เอกังสพยากรณียปัญหา เป็นไฉน ?

ปัญหาว่า รูปไม่เที่ยงหรือ เป็นปัญหาที่พึงพยากรณ์โดยส่วนเดียว ปัญหาว่า เวทนาไม่เที่ยงหรือ ฯลฯ ปัญหาว่า สัญญาไม่เที่ยงหรือ ฯลฯ ปัญหาว่า สังขารไม่เที่ยงหรือ ฯลฯ ปัญหาว่าวิญญาณไม่เที่ยงหรือ เป็นปัญหาที่พึงพยากรณ์โดยส่วนเดียว นี้ชื่อว่า เอกังสพยากรณียปัญหา.

 

‘‘กตโม วิภชฺชพฺยากรณีโย ปญฺโห? ‘อนิจฺจํ ปน รูปนฺติ วิภชฺชพฺยากรณีโย ปญฺโห, ‘อนิจฺจา ปน เวทนาติเป.… ‘อนิจฺจา ปน สญฺญาติเป.… ‘อนิจฺจา ปน สงฺขาราติเป.… ‘อนิจฺจํ ปน วิญฺญาณนฺติ วิภชฺชพฺยากรณีโย ปญฺโห, อยํ วิภชฺชพฺยากรณีโย ปญฺโหฯ

ปญฺโห ปัญหา วิภชฺชพฺยากรณีโย ชื่อว่า วิภัชชพยากรณียะ กตโม เป็นไฉน? (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปน ก็ รูปํ รูป อนิจฺจํ (โหติ) เป็นสภาพไม่เที่ยง (กิํ)  หรือ[๖] ดังนี้ วิภชฺชพฺยากรณีโย  ปญฺโห เป็นวิภัชชพยากรณียปัญหา โหติ ย่อมเป็น, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปน ก็ เวทนา เวทนา อนิจฺจา  เป็นสภาพไม่เที่ยง โหติ ย่อมเป็น (กิํ)  หรือ ดังนี้, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปน ก็ สญฺญา สัญญา เวทนา อนิจฺจา  เป็นสภาพไม่เที่ยง โหติ ย่อมเป็น (กิํ)  หรือ ดังนี้, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปน ก็ สงฺขารา สังขารทั้งหลาย อนิจฺจา  เป็นสภาพไม่เที่ยง โหนฺติ ย่อมเป็น (กิํ)  หรือ ดังนี้, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปน ก็ วิญฺญาณํ วิญญาณ อนิจฺจํ เป็นสภาพไม่เที่ยง โหติ ย่อมเป็น (กิํ) หรือ ดังนี้ วิภชฺชพฺยากรณีโย ปญฺโห เป็นวิภัชชพยากรณียปัญหา, อยํ (ปญฺโห) ปัญหานี้ วิภชฺชพฺยากรณีโย ปญฺโห เป็นวิภัชชพยากรณียปัญหา ดังนี้.[๗]

วิภัชกรณียปัญหาเป็นไฉน ? ปัญหาว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงคือรูปหรือ เป็นปัญหาที่พึงแยกแยะพยากรณ์ ปัญหาว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงคือเวทนาหรือ ฯลฯ ปัญหาว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงคือสัญญาหรือ ฯลฯ ปัญหาว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงคือสังขารหรือ ฯลฯ ปัญหาว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงคือวิญญาณหรือ เป็นต้น เป็นปัญหาที่พึงแยกแยะพยากรณ์ นี้ชื่อว่า วิภัชชพยากรณียปัญหา.

 

กตโม ปฏิปุจฺฉาพฺยากรณีโย ปญฺโห?‘กิํ นุ โข จกฺขุนา สพฺพํ วิชานาตีติ อยํ ปฏิปุจฺฉาพฺยากรณีโย ปญฺโหฯ

ปญฺโห ปัญหา ปฏิปุจฺฉาพฺยากรณีโย ชื่อว่า ปฏิปุจฉาพยากรณียะ กตโม เป็นไฉน? (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปุคฺคโล บุคคล วิชานาติ ย่อมรู้ สพฺพํ ซึ่งสิ่งทั้งปวง จกฺขุนา ด้วยจักษุ  กิํ นุ โข หรือหนอ? ดังนี้ ปฏิปุจฺฉาพฺยากรณีโย ปญฺโห (โหติ) เป็นปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา, อยํ (ปญฺโห) ปัญหานี้ ปฏิปุจฺฉาพฺยากรณีโย ปญฺโห คือ ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา[๘].

ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหาเป็นไฉน ? ปัญหาว่า บุคคลรู้สิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ หรือ เป็นต้น เป็นปัญหาที่พึงย้อนถามเสียก่อนแล้ว จึงพยากรณ์. นี้ชื่อว่า ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา.

 

‘‘กตโม ฐปนีโย ปญฺโห? ‘สสฺสโต โลโกติ ฐปนีโย ปญฺโห, ‘อสสฺสโต โลโกติฯ อนฺตวา โลโกติฯ อนนฺตวา โลโกติฯ อนฺตวา จ อนนฺตวา จ โลโกติฯเนวนฺตวา นานนฺตวา โลโกติฯ ตํ ชีวํ ตํ สรีรนฺติฯ อญฺญํ ชีวํ อญฺญํ สรีรนฺติฯโหติ ตถาคโต ปรํ มรณาติฯ น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณาติฯ โหติ จ น จ โหติ ตถาคโต ปรํ มรณาติฯ เนว โหติ น น โหติ ตถาคโต ปรํ มรณาติ ฐปนีโย ปญฺโห, อยํ ฐปนีโย ปญฺโหฯ

ปญฺโห ปัญหา ฐปนีโย  ชื่อว่า ฐปนียะ กตโม เป็นไฉน? (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า โลโก โลกคือขันธ์ สสฺสโต เป็นสภาพยั่งยืน โหติ[๙] ย่อมเป็น (กิํ) หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) อิติ ว่า โลโก โลกคือขันธ์ อสสฺสโต เป็นสภาพไม่ยั่งยืน โหติ ย่อมเป็น (กิํ) หรือ ดังนี้ ปญฺโห เป็นปัญหา ฐปนีโย ชื่อว่า ฐปนียะ โหติ ย่อมเป็น, ปญฺโห ปัญหา อิติ ว่า โลโก โลกคือขันธ์ อนฺตวา (โหติ) เป็นสภาพมีที่สุด กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า โลโก โลกคือขันธ์ อนนฺตวา (โหติ) เป็นสภาพไม่มีที่สุด กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า โลโก โลกคือขันธ์ อนฺตวา (โหติ) เป็นสภาพมีที่สุด ก็มี อนนฺตวา (โหติ) เป็นสภาพไม่มีที่สุด ก็มี กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า โลโก โลกคือขันธ์ เนวนฺตวา (โหติ) เป็นสภาพมีที่สุดก็ไม่ใช่ นานนฺตวา (โหติ) เป็นสภาพไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่ กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ชีวํ ชีวะ ตํ ก็อันนั้น ตํ สรีรํ สรีระก็อันนั้น[๑๐] กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า อญฺญํ ชีวํ ชีวะก็อย่างหนึ่ง อญฺญํ สรีรํ สรีระก็อย่างหนึ่ง กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปรํ ในกาลภายหลัง มรณา จากความตาย ตถาคโต สัตว์ โหติ จะมีอีก กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปรํ ในกาลภายหลัง มรณา จากความตาย ตถาคโต สัตว์ โหติ จะไม่มีอีก กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปรํ ในกาลภายหลัง มรณา จากความตาย ตถาคโต สัตว์ โหติ จะมีอีก ด้วย, ปรํ ในกาลภายหลัง มรณา จากความตาย ตถาคโต สัตว์ โหติ จะไม่มีอีก จ  ด้วย กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, (ปญฺโห) ปัญหา อิติ ว่า ปรํ ในภายหลัง มรณา จากความตาย ตถาคโต สัตว์ โหติ จะมีอีก เอว นั่นเทียว หามิได้, ตถาคโต สัตว์ โหติ จะไม่มีอีก ก็ไม่ใช่ กิํ หรือ ดังนี้ ฐปนีโย ปญฺโห เป็นฐปนียปัญหา, อยํ (ปญฺโห) ปัญหานี้ ฐปนีโย ปญฺโห คือ ฐปนียปัญหา[๑๑].

ฐปนียปัญหาเป็นไฉน ? ปัญหาว่า โลกยั่งยืนหรือ เป็นปัญหาที่พึงพักไว้ ปัญหาว่า โลกไม่ยั่งยืนหรือ หรือว่า ว่า โลกมีที่สุดหรือ หรือว่า โลกไม่มีที่สุดหรือ ว่า โลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มีหรือ ว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่หรือ ว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ ว่า ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่งหรือ ว่า หลังจากตาย สัตว์จะมีอกีหรือ ว่า หลังจากตายสัตว์จะไม่มีอีกหรือ ว่า หลังจากตายสัตว์จะมีอีกก็ใช่ ไม่มีอีกก็ใช่หรือ ว่า หลังจากตาย สัตว์จะมีอีกก็ไม่ใช่ ไม่มีอีกก็ไม่ใช่หรือ ดังนี้เป็นต้น เป็นปัญหาที่พึงพักไว้ นี้ชื่อว่า ฐปนียปัญหา.

 

 ‘‘ภควา, มหาราช, เถรสฺส มาลุกฺยปุตฺตสฺส ตํ ฐปนียํ ปญฺหํ น พฺยากาสิฯ โส ปน ปญฺโห กิํ การณา ฐปนีโย? น ตสฺส ทีปนาย เหตุ วา การณํ วา อตฺถิ, ตสฺมา โส ปญฺโห ฐปนีโยฯ นตฺถิ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ อการณมเหตุกํ คิรมุทีรณ’’นฺติฯ

มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค น พฺยากาสิ ไม่ทรงพยากรณ์แล้ว ฐปนียํ ปญฺหํ ซึ่งฐปนียปัญหา ตํ นั้น เถรสฺส แก่พระเถระ มาลุกฺยปุตฺตสฺส ชื่อวา มาลุกยบุตร. ปน ก็ โส ปญฺโห ปัญหานั้น ฐปนีโย (โหติ) เป็นปัญหาถูกพักไว้ กิํ การณา เพราะเหตุไร, (หิ) เพราะว่า เหตุ วา เหตุหรือ, หรือว่า การณํ การณ์[๑๒] ทีปนาย เพื่อทรงตอบ ตสฺส ซึ่งปัญหานั้น น อตฺถิ มีอยู่หามิได้, ตสฺมา เพราะฉะนั้น โส ปญฺโห ปัญหานั้น ฐปนีโย โหติ จึงเป็นปัญหาที่พึงพักไว้. อุทีรณํ การเปล่ง คิรํ ซึ่งพระวาจา อการณํ อันไม่มีการณ์ อเหตุกํ อันไม่มีเหตุ พุทฺธานํ ภควนฺตานํ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้.

ขอถวายพระพร ปัญหาของท่านมาลุงกยบุตรเถระนั้นเป็นฐปนียปัญหา พระผู้มีพระภาคจึงไม่ตรัสพยากรณ์. ก็เพราะเหตุไรเล่า ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่พึงพักไว้ ตอบว่า ก็เหตุหรือการณ์ที่จะตรัสเฉลยปัญหานั้นไม่มี เพราะฉะนั้น ปัญหานั้นจึงเป็นปัญหาที่พึงพักไว้ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทรงมีการเปล่งพระวาจาอย่างปราศจากเหตุ ปราศจากการณ์แล

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ = สุนฺทรา ดีแล้ว อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น (ตยา วุตฺตํ) อันท่านกล่าวแล้ว ตถา โดยประการนั้น เอวํ อย่างนี้ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำพูดตามที่ท่านกล่าวมานี้

 

อพฺยากรณียปญฺโห ทุติโยฯ

อพฺยากรณียปญฺโห อัพยกรณียปัญหา ทุติโย ที่สอง (นิฏฺฐิโต) จบแล้ว

อัพพยากรณียปัญหาที่ ๒ จบ


 

 

 

 

 

 



[๑] ฉบับสีหลและสยาม ปาฐะเป็น มาลุงฺกฺยปุตฺเตน แม้ในพระบาฬีสังยุตนิกายเช่นกัน พึงทราบว่าเป็นพระเถระรูปเดียวกัน

[๒] อาจริยมุฏฺฐิ  เป็นสำนวนพูดหมายถึง ศิลปะ ความคิด ความเชื่อ หรือธรรมบางส่วน ที่อาจารย์มักซ่อนเป็นความลับโดยจะไม่บอกแก่ศิษย์บางคนในเวลาที่ตนยังเป็นหนุ่ม   แต่เมื่อตนใกล้ตายจึงยอมบอกแก่ศิษย์ที่ตนรักเท่านั้น.  นี้เป็นแนวคิดของศาสดาเจ้าลัทธิภายนอกศาสนา แต่พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงเป็นเช่นนั้น (ที.ม.อ.๑๖๕).  โดยธรรมได้แก่ ธัมมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ในธรรม หรือ มีธรรมอันตนพึงซ่อนไว้เป็นอารมณ์). มีวิเคราะห์ว่า อาจริยมุฏฺฐีติ อาจริยสฺส มุฏฺฐิกตธมฺโม แปลว่า ธรรมอันอาจารย์กระทำไว้ในกำมือ (สํ.นิทาน.ฏี. ๑๐ สุสิมสุตตวัณณนา).  คำนี้ อาจแปลตรงตามรูปศัพท์โดยตรงว่า กำมือของอาจารย์ พึงทราบว่ากรณีนี้เป็นสำนวนที่กล่าวถึงที่อยู่แต่หมายถึงสิ่งที่อยู่ในที่อาศัยนั้น (นิสสยูปจาระ). ในที่นี้พระเจ้ามิลินท์ทรงสำคัญว่า พระตถาคต หาได้ทรงเป็นสยัมภู มิได้ทรงเป็นสัพพัญญู, พระองค์นั้นก็ยังมีสิ่งที่ยังไม่รู้บางอย่าง, ย่อมทรงรู้เท่าที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์เท่านั้น, ไม่สามารถทำความรู้ให้เกิดได้มากกว่านั้น. ด้วยเหตุนี้ พระเจ้ามิลินท์จึงตั้งปัญหาถามว่า พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า กำมือแห่งอาจารย์ย่อมไม่มีแก่พระตถาคต ดังนี้เป็นต้น (มิลินทลีนัตถปกาสินี) หมายความว่า มิใช่พระองค์จะทรงปิดบัง แต่ไม่ทรงรู้จริง จึงไม่พยากรณ์.

[๓] ทฺวยนฺโต ปัญหามีส่วนสอง คือ (๑) เมื่อไม่รู้จึงไม่เฉลย  (อชานนฺเตน น พฺยากตํ) หรือ (๒) ไม่ทรงเฉลย เพราะกระทำให้ถูกซ่อนไว้ (คุยฺหกรเณน น พฺยากตํ). ฉบับสีหล ปาฐะเป็น ทฺวยโต โดยปาฐะนี้ โต ปัจจัยมีอรรถตติยาวิภัตติ (อรรถกรณะ) มิลินทปัญหาสำนวนล้านนา ประกอบความตามปาฐะนี้ว่า ทฺวยโต = ทฺวีหิ สมนฺนาคโต ปญฺโห ปัญหานี้ ประกอบด้วยส่วนสอง อชานนฺเตน วา คือ ด้วยส่วนที่พระพุทธเจ้าไม่รู้แล้วจึงไม่เฉลย, คุยฺหกรเณน วา คือ ด้วยกิริยาอันพระพุทธเจ้ากระทำกำบังลับไว้, (ทฺวยนฺเต) ในส่วนทั้งสองนี้ เอกนฺตนิสฺสิโต เป็นปัญหาอันอาศัยส่วนอย่างหนึ่ง  ภวิสฺสติ จักเป็น.ในมิลินทปัญหาอรรถกถาแก้ ทฺวยนฺโต เป็น ทฺวยนฺเต แสดงว่า ทฺวยนฺโต สมาสระหว่าง ทฺวย ศัพท์ (ส่วนทั้งสอง) และ อนฺโต  นิบาตอันมีอรรถสัตตมี แปลว่า  ภายใน ดังนั้น คำว่า ทฺวยนฺโต แปลว่า ภายในส่วนสองอย่าง. ข้อความนี้ แปลว่า เอกนฺตนิสฺสิโต เป็นปัญหาอันอาศัยส่วนอย่างหนึ่ง ทฺวยนฺเต ในส่วนสองอย่าง อาชานเนน โดยความไม่รู้ วา หรือ วา หรือว่า คุยฺหกรเณน โดยทรงกระทำให้ถูกซ่อนไว้.

[๔] นิพฺพาหิตพฺโพ มาจาก นิ + วห + ตพฺพ ตามที่มิลินทฏีกาไขความว่า นิพฺพาหิตพฺโพติ นิพฺเพเฐตพฺโพ กเถตพฺโพ (มิ.ฏี.ปฏิสัลลานปัญหา)ฯ ส่วนมิลินท.ล้านนาอธิบายว่า ควรกระทำไว้เป็นนิพพาหนมุขะ เป็นคลองอันจักนำเสียซึ่งมิจฉาวาทะภายหน้าเถิด.

[๕] ปัญหาที่ชื่อว่า เอกังสพยากรณียะ ต้องเป็นปัญหาที่ถามถึงสิ่งที่มีสภาวะอย่างเดียว ไม่เป็นอื่น เมื่อคำถามจบลงพึงเฉลยได้ทันทีว่า ใช่ หรือว่า ไม่ใช่ ว่า ถูกต้อง หรือว่า ไม่ถูกต้อง ว่า จริง หรือว่า ไม่จริง ว่า มีอย่างเดียว คือ, หรือว่า มี ๒ อย่าง คือเป็นต้น ตามที่เรื่องที่ถาม ไม่ต้องมีการแยกแยะ เป็นต้น. ในตัวอย่างที่แสดงไว้นี้ คำถามว่า (กิํ) รูปํ อนิจฺจํ  รูปขันธ์ ไม่เที่ยงหรือ? เป็นการถามถึงสามัญญลักษณะของสังขตธรรมมีรูปเป็นต้น ซึ่งมีสังขตลักษณะคืออนิจจตาเป็นต้นอย่างแน่นอน  ดังนั้น ผู้ถูกถามจึงต้องตอบโดยส่วนเดียวคือ รูปํ อนิจฺจํ รูปไม่เที่ยง.

[๖] นัยนี้แปลเท่าศัพท์ที่เห็น. คัมภีร์มิลินทปัญหาสำนวนล้านนา แนะให้แปลไว้ ๒ นัย โดยไขบทว่า ปน เป็น นาม ชื่อ และ ไขบทว่า รูปํ เป็น รูปํ เอว รูปเท่านั้น ประกอบความว่า (กิํ) รูปํ = รูปํ เอว อนิจฺจํ = อนิจฺจํ ปน. รูปํ เอว รูปธรรมเท่านั้น อนิจฺจํ นาม ชื่อว่า เป็นอนิจจะ กิํ หรือ?, นัยที่ ๒ ประกอบความว่า อนิจฺจํ นาม ชื่อว่า ธรรมชาติอันเป็นอนิจจะ รูปํ เอว คือ รูป กิํ หรือ?.

[๗] วิภัชชพยากรณียปัญหา เป็นปัญหาที่ไม่อาจเฉลยได้โดยส่วนเดียว แต่ต้องแยกแยะประเภทแห่งเนื้อความที่ถามก่อน เพราะมีหลายอย่าง ว่า มิใช่เฉพาะธรรมนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่เป็นอย่างนี้ แม้ธรรมอย่างอื่นก็เป็นอย่างนี้ได้เหมือนกัน เป็นต้น ในตัวอย่างนี้ คำถามที่ว่า สิ่งที่ไม่เที่ยง คือรูปหรือ จึงชื่อว่า วิภัชชพยากรณียปัญหา เพราะพึงแยกแยะเฉลยอย่างนี้ว่า สิ่งที่ไม่เที่ยง หาใช่เฉพาะรูปเท่านั้น เพราะแม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น.

[๘] ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ได้แก่ ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วพยากรณ์ เพราะคำถามบางอย่าง ผู้ถามมิได้ระบุถึงสิ่งที่ประสงค์จะรู้ให้แน่ชัดว่าคืออะไร เพราะสิ่งอื่นที่มีชื่อเดียวกับสิ่งนั้น มีหลายอย่าง ถ้าหากผู้ตอบไม่ย้อนถามให้มีการระบุให้แน่ชัดเสียก่อน ตอบไปทันทีที่ถาม เหมือนอย่างเอกังสพยากรณียปัญหา ก็อาจตอบไปไม่ตรงตามที่ผู้ถามประสงค์จะรู้ หรืออาจทำให้เขาเข้าใจผิด เพราะฉะนั้น จำต้องย้อนถามให้ผู้ถามระบุกให้ชัดเจนเสียก่อน. ในตัวอย่างนี้ คำถามว่า บุคคลรู้สิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ (ตา) หรือ ดังนี้ จึงชื่อว่าเป็นปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา เพราะสิ่งที่ชื่อว่าจักษุมีหลายอย่าง ประสาทตาก็ชื่อว่า จักษุ โดยความหมายว่าเป็นอุปกรณ์มองเห็นภาพ, ทิพยจักษุอภิญญา (ตาทิพย์) ก็ชื่อว่า จักษุ เพราะเห็นได้ชัดเจนดุจตาเทวดา, ปัญญาก็ชื่อว่า จักษุ โดยความหมายว่า มองเห็น คือรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง.  การที่จะตอบปัญหาตรงคำถาม จำต้องย้อนถามเสียก่อนว่า ท่านพูดถึงจักษุอะไรเล่า ถ้าหากเขาตอบว่า ปสาทจักษุ (ประสาทตา) ดังนี้แล้ว ก็จะตอบเขาได้ว่า ไม่ใช่หรอก ถ้าหากเขาตอบว่า ปัญญาจักษุ ดังนี้แล้ว ก็จะตอบเขาได้ว่า ใช่ ถูกต้อง ดังนี้ เป็นต้น.

[๙] คำว่า โลกไม่ยั่งยืนหรือ ความว่า หลังจากตาย โลกจะไม่ยั่งยืน คือจักขาดสูญ ไม่อุบัติในภพอื่นอีกหรือ. ส่วนคำว่า โลกมีที่สุด ก็มีความหมายเดียวกันกับคำว่า โลกไม่ยั่งยืน และคำว่า โลกไม่มีที่สุด ก็มีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่า โลกยั่งยืน แม้คำว่า จะมีอีกหรือ จะไม่มีอีกหรือ ก็อย่างนี้เหมือนกัน.

[๑๐] อัตตา ชื่อว่า ชีวะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเป็นอยู่ได้. ส่วนคำว่า สรีระ เป็นชื่อของขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้น คำถามว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ จึงมีความหมายว่า อัตตาอันไหน ขันธ์ ๕ ก็อันนั้นหรือ อัตตากับขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกันหรือ. คำถามว่า ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ก็มีความหมายว่า อัตตาอันไหน ขันธ์ ๕ จะเป็นอันนั้นด้วย ก็หาไม่หรือ อัตตากับขันธ์ ๕ เป็นคนละอย่างกันหรือ. แม้คำที่เหลือก็พึงทราบโดยนัยนี้เถิด.

[๑๑] ฐปนียพยากรณียปัญหา คือ ปัญหาที่พึงพักไว้ คือพึงนิ่งเฉย ไม่พึงพยากรณ์.  คำถามบางอย่าง เป็นคำถามที่ผู้ถาม ถามเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ โดยสำคัญว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงด้วยอำนาจแห่งมิจฉาทิฏฐิ เช่น คำถามเกี่ยวกับอัตตา สัตว์ บุคคล ผู้เสวยสุข เสวยทุกข์ และเกี่ยวกับความเป็นไปของอัตตา เป็นต้น.  คำถามเช่นนี้ ไม่ควรพยากรณ์ ไม่ควรตอบ ไม่ควรเฉลย. แต่ควรพักไว้ ควรนิ่งเฉยเสีย เพราะไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ นอกจากจะหาประโยชน์มิได้ ตามประการดังกล่าวมานี้แล้ว ยังเป็นเหตุเพิ่มพูนทิฏฐิให้มีกำลังมั่นคงยิ่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้น จึงเป็นคำถามที่พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสพยากรณ์ ดังนี้.

[๑๒] ทั้ง เหตุ ศัพท์ และ การณ ศัพท์ จึงเป็นไวพจน์กัน ดังนั้น เหตุนั่นแหละ ชื่อว่า การณ์ เพราะอรรถว่ากระทำ คือสร้างผล เพราะฉะนั้น. ฐปนียปัญหา เป็นปัญหาที่หาเหตุเพื่อตรัสพยากรณ์ไม่ได้. พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงพยากรณ์ปัญหา ย่อมทรงคำนึงถึงประโยชน์ที่บุคคลผู้สดับคำตรัสพยากรณ์นั้นจะพึงได้รับ ถ้าหากทรงพิจารณาแล้ว ทรงเล็งเห็นว่า เป็นปัญหาที่มีประโยชน์ ก็จะทรงปรารภประโยชน์นั้นเป็นเหตุ เพื่อตรัสพยากรณ์. ก็แต่ว่า ปัญหาที่เกี่ยวกับว่า โลกยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืน เป็นต้น เป็นปัญหาที่ไม่มีประโยชน์ จึงไม่มีเหตุเพื่ออันตรัสพยากรณ์.

[๑๓] สํ.นิ. มหาจุฬาเตปิฏก. ๑๖/๑๕๕/๒๑๒.