วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

มัจจภายนปัญหา

 

๓. มจฺจุภายนาภายนปญฺโห

มจฺจุภายนาภายนปญฺโห

มัจจุภายนาภายนปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความกลัวและไม่กลัวต่อความตาย

***

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตาสพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโนติ, ปุน ภณิตํ อรหา สพฺพภยมติกฺกนฺโตติฯ กิํ นุ โข, ภนฺเต นาคเสน, อรหา ทณฺฑภยา ตสติ, นิรเย วา เนรยิกา สตฺตา ชลิตา กุถิตา ตตฺตา สนฺตตฺตา ตมฺหา ชลิตคฺคิชาลกา มหานิรยา จวมานา มจฺจุโน ภายนฺติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ตสนฺติ ย่อมหวาดหวั่น ทณฺฑสฺส ต่อการลงทัณฑ์[1], สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ปิ ก็ตรัสแล้ว, เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อรหา พระอรหันต์ อติกฺกนฺโต ก้าวล่วงแล้ว สพฺพภยํ ซึ่งความกลัวทั้งปวง ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ก็ตรัสไว้ ปุน อีก. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ อรหา พระอรหันต์ ตสติ ย่อมหวาดหวั่น ทณฺฑภยา แต่ภัยคือการลงทัณฑ์ กิํ นุ โข หรือหนอแล, วา อีกอย่างหนึ่ง สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย เนรยิกา ที่เกิดในนรก ชลิตา ลุกโพลงแล้ว กุถิตา ถูกเผาแล้ว ตตฺตา หมกไหม้แล้ว สนฺตตฺตา ไหม้เกรียมแล้ว นิรเย ในนรก จวมานา กำลังเคลื่อนย้าย มหานิรยา จากมหานรก ชลิตคฺคิชาลกา อันเปลวไฟลุกโพลงแล้ว ตมฺหา นั้น ภายนฺติ ยังกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย (กิํ นุ โข) หรือ. [2]

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า “สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่อการลงทัณฑ์, สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย” ดังนี้ ยังตรัสต่อไปอีกว่า “อรหา สพฺพภยมติกฺกนฺโต พระอรหันต์เป็นผู้ล่วงความกลัวต่อทุกสิ่งทุกอย่างได้แล้ว” ดังนี้.  พระคุณเจ้านาคเสน ผู้เป็นพระอรหันต์ยังหวาดหวั่นทัณฑภัยหรือ. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์นรกในนรก ผู้ถูกไฟนรกแผดเผาลุกโพลง หมกไหม้อยู่ กำลังเคลื่อนจากมหานรกที่เปลวไฟลุกโพลงอยู่นั้นยังกลัวต่อความตายอยู่หรือ.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํสพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโนติ, เตน หิ อรหา สพฺพภยมติกฺกนฺโตติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, ยทิ ถ้าว่า เอตํ วจนํ พระดำรัส นี้ อิติ ว่า สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ตสนฺติ ย่อมหวาดหวั่น ทณฺฑสฺส ต่อการลงทัณฑ์, สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ทรงรับสั่งแล้ว ไซร้, ยํ วจนํ พระดำรัส ใด อิติ ว่า อรหา พระอรหันต์ อติกฺกนฺโต ก้าวล่วงแล้ว สพฺพภยํ ซึ่งความกลัวทั้งปวง ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงรับสั่งแล้ว, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น มิจฺฉา เป็นคำพูดที่ผิด.

พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากพระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่อการลงทัณฑ์ สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย ดังนี้ จริงไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำว่า พระอรหันต์เป็นผู้ล่วงความกลัวต่อทุกสิ่งทุกอย่างได้แล้ว ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด.

 

ยทิ ภควตา ภณิตํ อรหา สพฺพภยมติกฺกนฺโตติ, เตน หิ สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโนติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

ยทิ หากว่า วจนํ พระดำรัส  อิติ ว่า อรหา พระอรหันต์ อติกฺกนฺโต ก้าวล่วงแล้ว สพฺพภยํ ซึ่งความกลัวทั้งปวง ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงรับสั่งแล้ว ไซร้, เตน หิ ถ้าเช่นนั้น ตํ ปิ วจนํ แม้พระดำรัสนั้น  อิติ ว่า สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ตสนฺติ ย่อมหวาดหวั่น ทณฺฑสฺส ต่อการลงทัณฑ์, สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้ มิจฺฉา ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด.

ถ้าหากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระอรหันต์ เป็นผู้ล่วงความกลัวต่อทุกสิ่งทุกอย่างได้แล้ว ดังนี้ จริงไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่อการลงทัณฑ์ สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด

 

อยํ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

อยํ ปญฺโห ปัญหานี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงชี้แจง ดังนี้.

ปัญหานี้ มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านจงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

 

‘‘เนตํ, มหาราช, วจนํ ภควตา อรหนฺเต อุปาทาย ภณิตํ สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโนติฯ ฐปิโต อรหา ตสฺมิํ วตฺถุสฺมิํ, สมูหโต ภยเหตุ อรหโตฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ตสนฺติ ย่อมหวาดหวั่น ทณฺฑสฺส ต่อการลงทัณฑ์, สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้ ภควตา พระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสแล้ว อุปาทาย ทรงหมายถึง[3] อรหนฺเต ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลาย หามิได้, อรหา พระอรหันต์ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ฐปิโต ทรงเว้นแล้ว ตสฺมิํ วตฺถุมฺหิ ในเรื่องนั้น, (หิ) เพราะว่า ภวเหตุ เหตุแห่งความกลัว อรหโต = อรหตา อันพระอรหันต์ สมูหโต ถอนขึ้นสิ้นแล้ว.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร คำว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่อการลงทัณฑ์ สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย ดังนี้ นี้ พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสหมายเอาพระอรหันต์ด้วย. ในเรื่องนั้น ต้องยกเว้นพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ถอนเหตุแห่งความกลัวได้แล้ว.

 

เย เต, มหาราช, สตฺตา สกิเลสา, เยสญฺจ อธิมตฺตา อตฺตานุทิฏฺฐิ, เย จ สุขทุกฺเขสุ อุนฺนตาวนตา, เต อุปาทาย ภควตา ภณิตํ สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโนติฯ

มหาราช มหาบพิตร เย เต สตฺตา จ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย สกิเลสา ผู้มีกิเลส, อตฺตานุทิฏฺฐิ อัตตานุทิฏฐิ[4] อธิมตฺตา มีประมาณยิ่ง เยสํ สตฺตานํ จ แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย, เย สตฺตา จ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย อุนฺนตาวนตา ฟูขึ้นแล้วและห่อเหี่ยวลง[5] สุขทุกฺเขสุ ในเพราะความสุขและความทุกข์ทั้งหลาย, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น อิติ ว่า สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ตสนฺติ ย่อมหวาดหวั่น ทณฺฑสฺส ต่อการลงทัณฑ์, สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงรับสั่งแล้ว อุปาทาย หมายถึง เต สตฺตา ซึ่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น.

ขอถวายพระพร บรรดาสัตว์ผู้มีกิเลสทั้งหลาย สัตว์เหล่าใด มีอัตตานุทิฏฐิ มีประมาณยิ่ง และสัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีความอ่อนไหวในสุขและทุกข์ พระผู้มีพระภาคทรงหมายเอาสัตว์เหล่านั้น ตรัสว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่อการลงทัณฑ์ สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย ดังนี้.

 

อรหโต, มหาราช, สพฺพคติ อุปจฺฉินฺนา, โยนิ วิทฺธํสิตา, ปฏิสนฺธิ อุปหตา, ภคฺคา ผาสุกา, สมูหตา สพฺพภวาลยา, สมุจฺฉินฺนา สพฺพสงฺขารา, หตํ กุสลากุสลํ, วิหตา อวิชฺชา, อพีชํ วิญฺญาณํ กตํ, ทฑฺฒา สพฺพกิเลสา, อติวตฺตา โลกธมฺมา, ตสฺมา อรหา น ตสติ สพฺพภเยหิฯ

มหาราช มหาบพิตร, สพฺพคติ คติคือภพที่เกิดทั้งปวง อรหโต = อรหตา อันพระอรหันต์ อุปจฺฉินฺนา ตัดขาดแล้ว[6], โยนิ กำเนิด อรหตา อันพระอรหันต์ วิทฺธํสิตา กำจัดแล้ว, ปฏิสนฺธิ ปฏิสนธิ อรหตา อันพระอรหันต์ อุปหตา เพิกแล้ว, ผาสุกา[7] ซี่โครงแห่งตัณหาคือกิเลสที่เหลือ อรหตา อันพระอรหันต์ ภคฺคา หักได้แล้ว, สพฺพภวาลยา ตัณหาอันเป็นเหตุติดข้องอยู่ในภพทั้งปวง อรหตา อันพระอรหันต์ สมูหตา ถอนขึ้นแล้ว, สพฺพสงฺขารา สังขารทั้งปวง อรหตา อันพระอรหันต์ สมุจฺฉินฺนา ทำลายแล้ว, กุสลากุสลํ กุศลและอกุศล อรหตา อันพระอรหันต์ หตํ ละได้แล้ว, อวิชฺชา อวิชชา อรหตา อันพระอรหันต์  วิหตา ละได้แล้ว, วิญฺญานํ วิญญาณกล่าวคือกุศลและอกุศล อรหตา อันพระอรหันต์  กตํ กระทำแล้ว อพีชํ ไม่ให้เป็นพืช (คือ เป็นเหตุแห่งปฏิสนธิ), สพฺพกิเลสา กิเลสทั้งปวง อรหตา อันพระอรหันต์ ทฑฺฒา เผาแล้ว, โลกธมฺมา โลกธรรม อรหตา อันพระอรหันต์  อติวตฺตา ก้าวล่วงแล้ว, ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อรหา พระอรหันต์ น ตสติ ย่อมไม่กล้ว สพฺพภเยหิ ต่อภัยทั้งปวง.

ขอถวายพระพร พระอรหันต์ตัดคติทั้งปวงได้แล้ว, กำจัดโยนิได้แล้ว, เพิกปฏิสนธิได้แล้ว, หักซี่โครงเรือนได้แล้ว, ถอนอาลัยในภพทั้งปวงได้แล้ว, ทำลายสังขารทั้งปวงได้แล้ว, ละกุศลและอกุศลได้แล้ว, พรากอวิชชาได้แล้ว, ทำวิญญาณให้ไม่มีพืชได้แล้ว, เผากิเลสทั้งปวงได้แล้ว, ก้าวล่วงโลกธรรมทั้งหลายได้แล้ว,  เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงไม่หวาดหวั่นภัยทั้งปวง.

 

‘‘อิธ, มหาราช, รญฺโญ จตฺตาโร มหามตฺตา ภเวยฺยุํ อนุรกฺขา ลทฺธยสา วิสฺสาสิกา ฐปิตา มหติ อิสฺสริเย ฐาเนฯ อถ ราชา กิสฺมิญฺจิเทว กรณีเย สมุปฺปนฺเน ยาวตา สกวิชิเต สพฺพชนสฺส อาณาเปยฺยสพฺเพว เม พลิํ กโรนฺตุ, สาเธถ ตุมฺเห จตฺตาโร มหามตฺตา ตํ กรณียนฺติฯ อปิ นุ โข, มหาราช, เตสํ จตุนฺนํ มหามตฺตานํ พลิภยา สนฺตาโส อุปฺปชฺเชยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร, ยถา เปรียบเหมือนว่า อิธ (โลเก) ในโลกนี้ มหามตฺตา มหาอำมาตย์ จตฺตาโรอนุรกฺขา เป็นองครักษ์ ลทฺธยสา มียศอันได้รับพระราชทานแล้ว วิสฺสาสิกา เป็นคนสนิท ภเวยฺยุํ พึงมี รญฺโญ ของพระราชา รญฺญา ผู้อันพระราชา ฐปิตา ทรงตั้งไว้ ฐาเน ในตำแหน่ง อิสฺสริเย อันยิ่งใหญ่, อถ ต่อมา กรณีเย ครั้นเมื่อมีพระราชกรณียกิจ กิสฺมิญฺจิเทว = กิสฺมิญฺจิ เอว บางอย่าง สมุปฺปนฺเน เกิดขึ้นแล้ว ราชา พระราชา อาณาเปยฺย สั่งบังคับแล้ว สพฺพชนสฺส ต่อประชาชนทั้งปวง ยาวตา เท่าที่มี สกวิชิเต ในแว่นแคว้นของพระองค์  อิติ ว่า  ชนา ประชาชน สพฺเพ ทั้งปวง เอว นั่นเทียว กโรนฺตุ จงกระทำ พลิํ ซึ่งพลีกรรม เม แก่เรา, มหามตฺตา นี่แนะท่านมหาอำมาตย์ จตฺตาโร ทั้ง ๔ ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย ตํ กรณียํ ยังกรณียกิจนั้น สาเธถ จงให้สำเร็จเถิด ดังนี้. มหาราช มหาบพิตร สนฺตาโส ความหวาดกลัว พลิภยา ต่อภัยคือพลีกรรม อุปฺปชฺเชยฺย พึงเกิดขึ้น เตสํ  (จตุนฺนํ มหามตฺตานํ) แก่มหาอำมาตย์ทั้ง ๔ กิํ นุ โข หรือหนอแล ดังนี้.

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า พระราชาในโลกนี้ ทรงมีมหาอำมาตย์อยู่ ๔ คน ซึ่งเป็นองค์รักษ์ ได้รับพระราชทานยศ เป็นผู้สนิทสนมกับพระราชา พระราชาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่.  ต่อมา เมื่อมีกรณียกิจบางอย่างเกิดขึ้น พระราชาก็ทรงออกพระราชโองการ ตรัสสั่งทุกคนเท่าที่มีในแว่นแคว้นของพระองค์ว่า ทุกคนเทียวจงทำพลีกรรมแก่เรา นี่แน่ะ ท่านมหาอำมาตย์ทั้ง ๔ ขอท่านจงจัดการทำกรณียกิจนั้นให้สำเร็จเถิด ดังนี้ ขอถวายพระพร มหาอำมาตย์ทั้ง ๔ นั้น พึงเกิดความหวาดหวั่นภัยคือพลีกรรมนั้นหรือไม่

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ สนฺตาโส ความหวาดกลัว พลิภยา ต่อภัยคือพลีกรรม น อุปฺปชฺเชยฺย ไม่พึงเกิดขึ้น เตสํ (จตุนฺนํ มหามตฺตานํ) แก่มหาอำมาตย์ทั้ง ๔ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ไม่เกิดหรอก พระคุณเจ้า

 

‘‘เกน การเณน มหาราชา’’ติฯ

เถโร พระนาคเสน ปุจฺฉิ ทูลถามแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สนฺตาโส ความหวาดกลัว พลิภยา ต่อภัยคือพลีกรรม น อุปฺปชฺเชยฺย พึงเกิดขึ้น เตสํ จตุนฺนํ มหามตฺตานํ แก่มหาอำมาตย์ทั้ง ๔ การเณน เพราะเหตุ เกน อะไร ดังนี้.

พระนาคเสน เพราะเหตุไรหรือ มหาบพิตร

 

‘‘ฐปิตา เต, ภนฺเต, รญฺญา อุตฺตมฏฺฐาเน, นตฺถิ เตสํ พลิ, สมติกฺกนฺตพลิโน เต, อวเสเส อุปาทาย รญฺญา อาณาปิตํ สพฺเพว เม พลิํ กโรนฺตูติฯ

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เต (จตฺตาโร มหามตฺตา) มหาอำมาตย์ทั้งหลาย เหล่านั้น รญฺญา อันพระราชา ฐปิตา ทรงตั้งไว้ อุตฺตมฏฺฐาเน ในตำแหน่งสูง, พลิ พลีกรรม นตฺถิ ย่อมไม่มี เตสํ (จตุนฺนํ มหามตฺตานํ) แก่มหาอำมาตย์เหล่านั้น, อิทํ วจนํ คำนี้ว่า ชนา ประชาชนทั้งหลาย สพฺเพ ทั้งปวง เอว นั่นเทียว กโรนฺตุ จงกระทำ พลิํ ซึ่งพลีกรรม เม แก่เรา ดังนี้ รญฺญา อันพระราชา อาณาปิตํ ทรงสั่งบังคับแล้ว อุปาทาย หมายเอา ชเน ซึ่งประชาชนทั้งหลาย อวเสเส ที่เหลือ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้า พวกอำมาตย์เหล่านั้น พระราชาทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งที่สูงส่ง พวกอำมาตย์เหล่านั้นไม่มีพลีกรรม พวกเขาเป็นผู้พ้นการทำพลีกรรม พระราชรับสั่งหมายเอาชนที่เหลือเท่านั้นว่า ทุกคนเทียว จงทำพลีกรรมแก่เรา

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, เนตํ วจนํ ภควตา อรหนฺเต อุปาทาย ภณิตํ, ฐปิโต อรหา ตสฺมิํ วตฺถุสฺมิํ, สมูหโต ภยเหตุ อรหโต, เย เต, มหาราช, สตฺตา สกิเลสา, เยสญฺจ อธิมตฺตา อตฺตานุทิฏฺฐิ, เย จ สุขทุกฺเขสุ อุนฺนตาวนตา, เต อุปาทาย ภควตา ภณิตํ สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโนติฯ ตสฺมา อรหา น ตสติ สพฺพภเยหี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร (โอปมฺมสมฺปฏิปาทานมิทํ ตยา เวทิตพฺพํ) คำเป็นเครื่อง ยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ อันมหาบพิตร พึงทราบ เอวํ ฉันนั้น แล, วจนํ พระดำรัส เอตํ นั่น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสแล้ว อุปาทาย ทรงหมายถึง อรหนฺเต ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลาย หามิได้, อรหา พระอรหันต์ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ฐปิโต ทรงยกเว้น วตฺถุสฺมิํ ในเรื่อง ตสฺมิํ นั้น , (หิ) เพราะว่า ภยเหตุ เหตุแห่งความกลัว อรหโต = อรหตา อันพระอรหันต์ สมูหโต ถอนสิ้นแล้ว. มหาราช มหาบพิตร เย เต สตฺตา จ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย สกิเลสา ผู้มีกิเลส, อตฺตานุทิฏฺฐิ อัตตานุทิฏฐิ อธิมตฺตา มีประมาณยิ่ง เยสํ สตฺตานํ จ แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย, เย สตฺตา จ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย อุนฺนตาวนตา ฟูขึ้นแล้วและห่อเหี่ยวลง สุขทุกฺเขสุ ในเพราะความสุขและความทุกข์ทั้งหลาย, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น อิติ ว่า สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ตสนฺติ ย่อมหวาดหวั่น ทณฺฑสฺส ต่อการลงทัณฑ์, สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงรับสั่งแล้ว อุปาทาย หมายถึง เต สตฺตา ซึ่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น, , ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อรหา พระอรหันต์ น ตสติ ย่อมไม่กล้ว สพฺพภเยหิ ต่อภัยทั้งปวง ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน,  คำนี้ พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสหมายเอาพระอรหันต์ด้วย, ในเรื่องนั้น ต้องยกเว้นพระอรหันต์, เพราะพระอรหันต์ถอนเหตุแห่งความกลัวได้แล้ว, ขอถวายพระพร บรรดาสัตว์ผู้มีกิเลสทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดมีอัตตานุทิฏฐิประมาณยิ่ง และสัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีความอ่อนไหวในสุขและทุกข์, พระผู้มีพระภาคทรงหมายเอาสัตว์เหล่านั้น ตรัสว่า สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่อการลงทัณฑ์ สัตว์ทั้งปวง ย่อมกลัวต่อความตายดังนี้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงไม่หวาดหวั่นภัยทั้งปวง

 

‘‘เนตํ, ภนฺเต นาคเสน, วจนํ สาวเสสํ, นิรวเสสวจนเมตํ สพฺเพติฯ ตตฺถ เม อุตฺตริํ การณํ พฺรูหิ ตํ วจนํ ปติฏฺฐาเปตุ’’นฺติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, เอตํ วจนํ คำนั้น น สาวเสสํ หาได้เป็นคำมีส่วนเหลือไม่, เอตํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า สพฺเพ ทั้งปวง ดังนี้ นิรวเสสวจนํ เป็นคำที่ไม่มีส่วนเหลือ. ตฺวํ ขอท่าน พฺรูหิ จงบอก การณํ ซึ่งเหตุ อุตฺตริํ อันยิ่ง เม แก่เรา ตํ วจนํ ปติฏฺฐาเปตุํ เพื่อยังคำนั้น ให้ตั้งอยู่ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน คำที่ตรัสไว้นี้ ไม่ใช่คำที่ยังไม่มีส่วนเหลือ,  คำว่า สัตว์ทั้งปวงนี้ เป็นคำที่หาส่วนเหลือมิได้, ขอท่านจงบอกเหตุในคำที่ตรัสไว้นั้น แก่ข้าพเจ้าให้ยิ่งอีกหน่อยเถิด ขอจงอธิบายคำที่ตรัสไว้นั้น ให้หนักแน่นเถิด

 

‘‘อิธ, มหาราช, คาเม คามสฺสามิโก อาณาปกํ อาณาเปยฺย เอหิ, โภ อาณาปก, ยาวตา คาเม คามิกา, เต สพฺเพ สีฆํ มม สนฺติเก สนฺนิปาเตหีติฯ โส สาธุ สามีติ สมฺปฏิจฺฉิตฺวา คามมชฺเฌ ฐตฺวา ติกฺขตฺตุํ สทฺทมนุสฺสาเวยฺย ยาวตา คาเม คามิกา, เต สพฺเพ สีฆสีฆํ สามิโน สนฺติเก สนฺนิปตนฺตูติฯ ตโต เต คามิกา อาณาปกสฺส วจเนน ตุริตตุริตา สนฺนิปติตฺวา คามสฺสามิกสฺส อาโรเจนฺติ สนฺนิปติตา, สามิ, สพฺเพ คามิกา, ยํ เต กรณียํ ตํ กโรหีติฯ

เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อิธ ในโลกนี้ คามสฺสามิโก นายบ้าน คาเม ในบ้าน อาณาเปยฺยํ พึงสั่ง อาณาปกํ ซึ่งบ่าวผู้ประกาศคำสั่ง อิติ ว่า อาณาปก ท่านผู้ประกาศคำสั่ง โภ ผู้เจริญ ตฺวํ ท่าน เอหิ จงมา, คามิกา ชาวบ้าน คาเม ในบ้าน อตฺถิ มีอยู่ ยาวตา ประมาณเท่าไร, ตฺวํ ท่าน เต คามิเก ยังชาวบ้านทั้งหลายเหล่านั้น สพฺเพ ทั้งหมด สนฺนิปาเตหิ จงให้ประชุมกัน สนฺติเก ที่สำนักงาน มม ของเรา สีฆํ โดยด่วน ดังนี้. โส อาณาปโก บ่าวผู้ประกาศคำสั่งนั้น สมฺปฏิจฺฉิตฺวา รับคำแล้ว วจเนน ด้วยคำ อิติ ว่า สาธุ รับทราบ  สามิ ครับนาย ดังนี้ ฐตฺวา จึงไปยืนแล้ว คามมชฺเฌ กลางหมู่บ้าน คามิเก ยังชาวบ้าน อนุสฺสาเวยฺย พึงให้ได้ยิน สทฺทํ ซึ่งเสียง  ติกฺขตฺตุํ สามครั้ง อิติ ว่า คามิกา ชาวบ้านทั้งหลาย คาเม ในบ้าน อตฺถิ มีอยู่ ยาวตา ประมาณเท่าไร, เต คามิเก ขอให้ชาวบ้านทั้งหลายเหล่านั้น สพฺเพ ทั้งหมด สนฺนิปตนฺตุ จงประชุมกัน สนฺติเก ที่สำนักงาน สามิโน ของนาย สีฆสีฆํ โดยรีบด่วน ดังนี้. ตโต ต่อมา เต คามิกา ชาวบ้านทั้งหลายเหล่านั้น ตุริตตุริตา ต่างเป็นผู้เร่งรีบ สนฺนิปติตฺวา มาประชุมกันแล้ว วจเนน ตามคำบอก อาณาปกสฺส ของบ่าวผู้รับคำสั่ง อาโรเจนฺติ จึงบอก คามสฺสามิกสฺส แด่นายหมู่บ้าน อิติ ว่า สามิ นายท่าน, สพฺเพ คามิกา ชาวบ้านทุกคน สนฺนิปติตา มาประชุมกันแล้ว,  ยํ กรณียํ กิจอันใด เต ของนายท่าน (อตฺถิ) มีอยู่, ตฺวํ ขอนายท่าน กโรหิ จงกระทำ ตํ กรณียํ ซึ่งกิจนั้นเถิดขอรับ ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร นายบ้านเป็นใหญ่ในหมู่บ้าน พึงสั่งบ่าวผู้ประกาศคำสั่งว่า “นี่แน่ะ นายผู้ประกาศคำสั่ง เธอจงไปบอกลูกบ้านทุกคนเท่าที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ให้รีบไปประชุมกันที่สำนักงานของฉันโดยเร็วเถิด”. บ่าวผู้ประกาศคำสั่งรับคำสั่งแล้วก็ไปยืนอยู่กลางหมู่บ้าน เปล่งเสียงให้ได้ยินถึง ๓ ครั้งว่า “ลูกบ้านทุกคนเท่าที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ขอจงไปประชุมกันที่สำนักงานของนายท่านโดยเร็วเถิด”. ต่อจากนั้น พอพวกลูกบ้านเหล่านั้นรีบไปประชุมกัน ที่สำนักงานของนายบ้านตามคำของบ่าวผู้ประกาศคำสั่ง แล้วแจ้งแก่นายบ้านว่า “นายท่าน ลูกบ้านทุกคนประชุมกันแล้ว ขอท่านจงทำกิจที่ควรทำเถิด ดังนี้. 

 

อิติ โส, มหาราช, คามสฺสามิโก กุฏิปุริเส สนฺนิปาเตนฺโต สพฺเพ คามิเก อาณาเปติ, เต จ อาณตฺตา น สพฺเพ สนฺนิปตนฺติ, กุฏิปุริสา[8] เยว สนฺนิปตนฺติ, ‘เอตฺตกา เยว เม คามิกาติ คามสฺสามิโก จ ตถา สมฺปฏิจฺฉติ, อญฺเญ พหุตรา อนาคตา อิตฺถิปุริสา ทาสิทาสา ภตกา กมฺมกรา คามิกา คิลานา โคมหิํสา อเชฬกา สุวานา, เย อนาคตา, สพฺเพ เต อคณิตา, กุฏิปุริเส เยว อุปาทาย อาณาปิตตฺตา สพฺเพ สนฺนิปตนฺตูติฯ

มหาราช มหาบพิตร โส คามสฺสมิโก นายบ้านนั้น กุฏิปุริเส ยังบุรษผู้ปรากฏแล้ว สนฺนิปาเตนฺโต เมื่อให้มาประชุมกัน ชื่อว่า อาณาเปติ ย่อมสั่งบังคับ  สพฺเพ คามิเก ซึ่งชาวบ้านทุกคน อิติ ด้วยประการฉะนี้, ก็ สพฺเพ เต คามิกา ชาวบ้านทุกคนเหล่านั้น อาณตฺตา อันนายบ้านนั้นบังคับแล้ว สนฺนิปตนฺติ ย่อมประชุมกัน หามิได้, กุฏิปุริสา บุรุษผู้ปรากฏแล้ว เอว เท่านั้น สนฺนิปตติ ย่อมประชุมกัน. อนึ่ง คามสฺสามิโก นายบ้าน สมฺปฏิจฺฉติ ย่อมรับรอง อิติ ว่า คามิกา ชาวบ้านทั้งหลาย เม ของเรา เอตฺตกา มีประมาณเท่านี้ เอว เท่านั้น ดังนี้ ตถา โดยประการนั้น, อญฺเญ คามิกา ชาวบ้านเหล่าอื่น คือ อิตฺถิปุริสา ชายหญิง ทาสิทาสา ทาสีและทาส, ภตกา คนรับใช้, คิลานา คนป่วย, โคมหิํสา วัวและกระบือ, อเชฬกา แพะและแก, สุวานา สุนัข อนาคตา ที่ยังไม่ได้มา พหุตรา มีจำนวนมากกว่า, เย ชนา ชนทั้งหลายเหล่าใด อนาคตา ที่ไม่ได้มา, สพฺเพ เต ชนา ชนทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวง คามสฺสามิเกน อันนายบ้าน อคณิตา ไม่ได้นับไว้, สพฺเพ สนฺนิปตนฺตุ อิติ (วจนสฺส คามสฺสามิเกน) อาณาปิตตฺตา เพราะความที่คำว่า ชนทั้งปวงจงประชุมกัน ดังนี้ อันนายบ้าน บังคับแล้ว อุปาทาย หมายเอา กุฏิปุริเส เอว ซึ่งบุรุษผู้ปรากฏเท่านั้น ดังนี้.

ขอถวายพระพร ก็เป็นอันว่า นายบ้านผู้นั้นได้สั่งลูกบ้านที่เป็นชายในเรือน (หัวหน้าเรือน) ทุกคนให้มาประชุม,  ก็ลูกบ้านทั้งหลายเหล่านั้น พอถูกสั่งแล้วก็หามาประชุมทุกคนไม่, เฉพาะพวกผู้ชายในเรือน (หัวหน้าเรือน) เท่านั้น ที่มาประชุม, และนายบ้าน ก็ยอมรับตามนั้นว่า ลูกบ้าน (ที่ต้องมาประชุม) ของเรา ก็มีเพียงเท่านั้น. หญิง ชาย ทาสหญิง ทาสชาย ลูกจ้าง กรรมกร คนเจ็บซึ่งเป็นลูกบ้านคนอื่น ๆ ตลอดจนโค กระบือ แพะ สุนัข ที่มิได้มาประชุมนั้น มีจำนวนมากกว่า นายบ้านมิได้นับเอา คนที่ไม่ได้มาทุกคนเหล่านั้นด้วย เพราะเหตุที่สั่งว่า ทุกคนจงมาประชุม นั้น หมายเอาเฉพาะพวกผู้ชายในเรือนเท่านั้น.

 

เอวเมว โข, มหาราช, เนตํ วจนํ ภควตา อรหนฺเต อุปาทาย ภณิตํ, ฐปิโต อรหา ตสฺมิํ วตฺถุสฺมิํ, สมูหโต ภยเหตุ อรหโต, เย เต, มหาราช, สตฺตา สกิเลสา, เยสญฺจ อธิมตฺตา อตฺตานุทิฏฺฐิ, เย จ สุขทุกฺเขสุ อุนฺนตาวนตา, เต อุปาทาย ภควตา ภณิตํ สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโนติฯ ตสฺมา อรหา น ตสติ สพฺพภเยหิฯ

มหาราช มหาบพิตร (โอปมฺมสมฺปฏิปาทานมิทํ ตยา เวทิตพฺพํ) คำเป็นเครื่อง ยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ อันมหาบพิตร พึงทราบ เอวํ เอว โข ฉันนั้น เหมือนกันแล. วจนํ พระดำรัส เอตํ นั่น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสแล้ว อุปาทาย ทรงหมายถึง อรหนฺเต ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลาย หามิได้, อรหา พระอรหันต์ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ฐปิโต ทรงยกเว้น วตฺถุสฺมิํ ในเรื่อง ตสฺมิํ นั้น, (หิ) เพราะว่า ภยเหตุ เหตุแห่งความกลัว อรหโต = อรหตา อันพระอรหันต์ สมูหโต ถอนสิ้นแล้ว. มหาราช มหาบพิตร เย เต สตฺตา จ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย สกิเลสา ผู้มีกิเลส, อตฺตานุทิฏฺฐิ อัตตานุทิฏฐิ อธิมตฺตา มีประมาณยิ่ง เยสํ สตฺตานํ จ แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย, เย สตฺตา จ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ด้วย อุนฺนตาวนตา ฟูขึ้นและห่อเหี่ยว สุขทุกฺเขสุ เพราะความสุขและความทุกข์ทั้งหลาย, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น อิติ ว่า สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ตสนฺติ ย่อมหวาดหวั่น ทณฺฑสฺส ต่อการลงทัณฑ์, สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงรับสั่งแล้ว อุปาทาย หมายถึง เต สตฺตา ซึ่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น, ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อรหา พระอรหันต์ น ตสติ ย่อมไม่กล้ว สพฺพภเยหิ ต่อภัยทั้งปวง ดังนี้.

ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คำนี้ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงหมายเอาพระอรหันต์ด้วย ในเรื่องนั้นต้องยกเว้นพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ถอนเหตุแห่งความกลัวได้แล้ว ขอถวายพระพร บรรดาสัตว์ผู้มีกิเลสทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดมีอัตตานุทิฏฐิประมาณยิ่ง และสัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีอ่อนไหวในสุขและทุกข์ พระผู้มีพระภาคทรงหมายเอาสัตว์เหล่านั้น ตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่อการถูกลงทัณฑ์ สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงไม่หวาดหวั่นต่อภัยทั้งปวง

 

‘‘อตฺถิ, มหาราช, สาวเสสํ วจนํ สาวเสโส อตฺโถ, อตฺถิ สาวเสสํ วจนํ นิรวเสโส อตฺโถ, อตฺถิ นิรวเสสํ วจนํ สาวเสโส อตฺโถ, อตฺถิ นิรวเสสํ วจนํ นิรวเสโส อตฺโถฯ เตน เตน อตฺโถ สมฺปฏิจฺฉิตพฺโพฯ

มหาราช มหาบพิตร, วจนํ คำพูด สาวเสสํ ที่มีส่วนเหลือ อตฺโถ อรรถ สาวเสโส มีส่วนเหลือ อตฺถิ มีอยู่, วจนํ คำพูด สาวเสสํ มีส่วนเหลือ อตฺโถ อรรถ นิรวเสโส ไม่มีส่วนเหลือ อตฺถิ มีอยู่, วจนํ คำพูด นิรวเสสํ มีส่วนเหลือ อตฺโถ อรรถ สาวเสโส มีส่วนเหลือ อตฺถิ มีอยู่, วจนํ คำพูด นิรวเสสํ ไม่มีส่วนเหลือ อตฺโถ อรรถ นิรวเสโส ไม่มีส่วนเหลือ อตฺถิ มีอยู่.  อตฺโถ อรรถ อันบัณฑิต สมฺปฏิจฺฉิตพฺโพ พึงรับรอง เตน เตน โดย คำพูดและอรรถทั้ง ๔ ประเภทนั้น[9].

ขอถวายพระพร คำพูดส่วนเหลือ อรรถมีส่วนเหลือก็มีอยู่ คำพูดมีส่วนเหลือ แต่อรรถหามีส่วนเหลือมิได้ ก็มีอยู่ คำพูดหาส่วนเหลือมิได้ แต่อรรถมีส่วนเหลือก็มีอยู่ คำพูดหาส่วนเหลือมิได้ อรรถก็หาส่วนเหลือมิได้ ก็มีอยู่ บัณฑิตพึงรับรองอรรถได้เพราะเหตุนั้น ๆ

 

‘‘ปญฺจวิเธหิ, มหาราช, การเณหิ อตฺโถ สมฺปฏิจฺฉิตพฺโพ อาหจฺจปเทน รเสน อาจริยวํเสน อธิปฺปายา การณุตฺตริยตายฯ เอตฺถ หิ อาหจฺจปทนฺติ สุตฺตํ อธิปฺเปตํฯ รโสติ สุตฺตานุโลมํฯ อาจริยวํโสติ อาจริยวาโทฯ อธิปฺปาโยติ อตฺตโน มติฯ การณุตฺตริยตาติ อิเมหิ จตูหิ สเมนฺตํ การณํฯ อิเมหิ โข, มหาราช, ปญฺจหิ การเณหิ อตฺโถ สมฺปฏิจฺฉิตพฺโพฯ เอวเมโส ปญฺโห สุวินิจฺฉิโต โหตี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร อตฺโถ อรรถ ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต สมฺปฏิจฺฉิตพฺโพ พึงรับรองได้ การเณหิ ด้วยเหตุทั้งหลาย ปญฺจวิเธหิ ๕ ประการ คือ อาหจฺจปเทน โดยอาหัจจบท รเสน โดยรส อาจริยวํเสน โดยอาจริยวังสะ อธิปฺปายา โดยอธิปปายะ การณุตฺตริยตาย โดยการณตตริยตา. หิ จะกล่าวโดยพิสดาร เอตฺถ ปญฺจวิธการเณสุ ในบรรดาเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น สุตฺตํ สุตตบท ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต อธิปฺเปตํ ประสงค์เอาแล้ว อิติ ว่าเป็น อาหจฺจปทํ อาหัจจบท. สุตตานุโลม คำพูดอนุโลมตามพระสูตร อิติ ชื่อว่า รส. อาจริยวาท คำสอนของอาจารย์ อิติ ชื่อว่า อาจริยวํโส อาจริยวังสะ. อตฺตโนมติ ความเห็นส่วนตัว อิติ ชื่อว่า อธิปฺปาโย อธิปายะ, การณํ เหตุ สเมนฺตํ ที่เสมอกัน อิเมหิ จตูหิ กับด้วยเหตุ ๔ ข้างต้น อิติ ชื่อว่า การณุตฺตริยตา[10]

ขอถวายพระพร บัณฑิตพึงรับรองอรรถได้โดยเหตุ ๕ อย่าง คือ โดยอาหัจจบท โดยรส โดยอาจริยวังสะ โดยอธิบาย โดยการณุตตริยตา. ในบรรดาเหตุ ๕ อย่างนั้น พระสูตรท่านประสงค์ว่าเป็น อาหัจจบท คำพูดอนุโลมตามพระสูตร ชื่อว่ารส วาทะของอาจารย์ ชื่อว่าอาจริยวังสะ มติของตน ชื่อว่าอธิบาย การณะ (เหตุที่ใช้อ้าง) ที่สำเร็จด้วยเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ ชื่อว่าการณุตตริยตา. ขอถวายพระพรมหาบพิตร บัณฑิตพึงรับรองอรรถได้โดยเหตุ ๕ อย่างเหล่านี้ แล ปัญหานั้น ชื่อว่าเป็นอันได้วินิจฉัยดีแล้ว ก็โดยประการอย่างนี้

 

‘‘โหตุ, ภนฺเต นาคเสน, ตถา ตํ สมฺปฏิจฺฉามิฯ ฐปิโต โหตุ อรหา ตสฺมิํ วตฺถุสฺมิํ, ตสนฺตุ อวเสสา สตฺตา, นิรเย ปน เนรยิกา สตฺตา ทุกฺขา ติพฺพา กฏุกา เวทนา เวทยมานา ชลิตปชฺชลิตสพฺพงฺคปจฺจงฺคา รุณฺณการุญฺญกนฺทิตปริเทวิตลาลปฺปิตมุขา อสยฺหติพฺพทุกฺขาภิภูตา อตาณา อสรณา อสรณีภูตา อนปฺปโสกาตุรา อนฺติมปจฺฉิมคติกา เอกนฺตโสกปรายณา อุณฺหติขิณจณฺฑขรตปนเตชวนฺโต ภีมภยชนกนินาทมหาสทฺทา สํสิพฺพิตฉพฺพิธชาลามาลากุลา สมนฺตา สตโยชนานุผรณจฺจิเวคา กทริยา ตปนา มหานิรยา จวมานา มจฺจุโน ภายนฺตี’’ติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, ตํ การณํ วุตฺตํ เหตุอันท่านกล่าวมาแล้ว นั้น โหตุ ก็เหมาะสมดี, อหํ ซึ่งข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ ตํ การณํ เหตุนั้น ตถา โดยประการนั้น. อรหา พระอรหันต์ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ฐปิโต ทรงงดเว้นไว้ ตสฺมิํ วตฺถุสฺมิํ ในกรณีนี้ โหตุ ก็ช่างเถิด, สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย อวเสสา ที่เหลือ ตสนฺตุ ย่อมสะดุ้งกลัว, ปน แต่ว่า เนรยิกา สตฺตา สัตว์ผู้เกิดในนรก นิรเย ในนรก เวทยมานา เมื่อเสวย เวทนา ซึ่งเวทนา ทุกฺขา อันเป็นทุกข์ ติพฺพา กล้าแข็ง กฏุกา เผ็ดร้อน ชลิตปชฺชลิตสพฺพงฺคปจฺจงฺคา มีอวัยวะใหญ่น้อยทั้งปวงอันไฟเผาลุกโพลงทั่ว รุณฺณการุญฺญกนฺทิตปริเทวิตลาลปฺปิตมุขา มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาร้องไห้ คร่ำครวญ ร่ำไร และบ่นเพ้ออย่างน่าสงสาร[11] อสยฺหติพฺพทุกฺขาภิภูตา ผู้อันทุกข์แข็งกล้าทนทานไม่ได้ครอบงำแล้ว อตาณา ไม่มีที่ต้านทาน อสรณา ไม่มีที่พึ่ง อสรณีภูตา เป็นผู้มีสิ่งอื่นอันไม่ใช่เป็นที่พึ่ง อนปฺปโสกาตุรา มีความเศร้าโศกอาดูรมิใช่น้อย อนฺติมปจฺฉิมคติกา มีคติต่ำทรามเป็นที่สุด เอกนฺตโสกปรายณา บ่ายหน้าไปหาความเศร้าโศกโดยส่วนเดียว อุณฺหติขิณจณฺฑขรตปนเตชวนฺโต[12] มีไฟนรกเป็นเครื่องแผดเผาที่ร้อนกล้าโหดร้าย ภีมภยชนกนินาทมหาสทฺทา มีเสียงดังกึกก้องก่อให้เกิดความหวาดกลัว สํสิพฺพิตฉพฺพิธชาลามาลากุลา  มีเปลวไฟ ๖ อย่างติดประสานเป็นพวงอยู่ สตโยชนานุผรณจฺจิเวคา เปล่งเปลวไฟร้อนกล้าแผ่ไปตลอดที่ ๑๐๐ โยชน์ สมนฺตา โดยรอบ จวมานา เมื่อเคลื่อน มหานิรยา จากมหานรก กทริยา ที่ทารุณ  ตปนา ร้อน ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย อีกหรือ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน ข้อที่สัตว์ทั้งหลายที่เหลือสะดุ้งกลัวในเรื่องนั้น ต้องยกเว้นพระอรหันต์นั้น ข้าพเจ้าก็ยอมรับตามอย่างที่ท่านกล่าวนั้นละ ก็แต่ว่า พวกสัตว์นรกทั้งหลายผู้เสวยทุกขเวทนากล้าแข็งเผ็ดร้อนอยู่ในนรก มีอวัยวะใหญ่น้อยทั้งปวงถูกไฟเผาลุกโพลง มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้คร่ำครวญบ่นเพ้ออยู่ มีทุกข์แรงกล้าเหลือทนครอบงำ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่พึ่ง เป็นผู้ที่สิ่งอื่นไม่อาจเป็นที่พึ่งให้ได้ มีความเศร้าโศกอาดูรมิใช่น้อย มีคติต่ำทรามเป็นที่สุด บ่ายหน้าไปหาความเศร้โศกโดยส่วนเดียว ถูกไฟแผดเผาร้อนกล้าโหดร้าย เปล่งเสียงดังฟังน่าสยดสยองน่ากลัว มีเปลวไฟ ๖ อย่างติดประสานเป็นพวงอยู่โดยรอบ เปล่งเปลวไฟร้อนกล้าแผ่ไปตลอดที่ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ เมื่อเคลื่อนจากมหานรกร้อนทารุณ ก็ยังกลัวความตายอีกหรือ ?”

 

‘‘อาม, มหาราชา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร, อาม ใช่, เต สัตว์นรกเหล่านั้น ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้.

พระนาคเสน ใช่ ยังกลัว มหาบพิตร

 

‘‘นนุ, ภนฺเต นาคเสน, นิรโย เอกนฺตทุกฺขเวทนีโย, กิสฺส ปน เต เนรยิกา สตฺตา เอกนฺตทุกฺขเวทนียา นิรยา จวมานา มจฺจุโน ภายนฺติ, กิสฺส นิรเย รมนฺตี’’ติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ, นิรโย นรก เอกนฺตทุกฺขเวทนีโย เป็นคติที่มีทุกข์อันพึงเสวยโดยส่วนเดียว นนุ มิใช่หรืิอ, ปน แต่ว่า สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย เนรยิกา ผู้เกิดอยู่ในนรก เต เหล่านั้น จวมานา เมื่อเคลื่อน นิรยา จากนรก เอกนฺตทุกฺขเวทนียา เป็นคติที่มีทุกข์อันพึงเสวยโดยส่วนเดียว ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย กิสฺส เพราะเหตุไร, รมนฺติ ย่อมยินดี นิรเย ในนรก กิสฺส[13] เพราะเหตุไร ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน นรกเป็นคติที่ต้องเสวยแต่ทุกข์โดยส่วนเดียวเท่านั้น มิใช่หรือ เพราะเหตุไร พวกสัตว์นรกเหล่านั้น เมื่อจะเคลื่อนจากนรก ซึ่งเป็นคติที่ต้องเสวยแต่ทุกข์โดยส่วนเดียว จึงยังกลัวตายเล่า ยังรื่นรมย์ในนรกหรือไร ?”

 

  ‘‘น เต, มหาราช, เนรยิกา สตฺตา นิรเย รมนฺติ, มุญฺจิตุกามาว เต นิรยาฯ มรณสฺเสว โส, มหาราช, อานุภาโว, เยน เตสํ สนฺตาโส อุปฺปชฺชตี’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเถระ อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย เนรยิกา ผู้เกิดในนรก เต เหล่านั้น มิได้ รมนฺติ รื่นรมย์อยู่ นิรเย ในนรก, เต สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น มุญฺจิตุกามา เป็นผู้ปรารถนาเพื่อหลุดพ้น เอว นั่นเทียว นิรยา จากนรก. มหาราช มหาบพิตร สนฺตาโส ความหวาดกลัว อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น เตสํ สตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เยน ด้วยอานุภาพใด, โส อานุภาโว อานุภาพนั้น อานุภาโว เป็นอานุภาพ มรณสฺส เอว แห่งความตาย นั่นเทียว ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร พวกสัตว์นรกเหล่านั้น หารื่นรมย์ในนรกไม่ พวกสัตว์เหล่านั้นมีแต่ความต้องการจะพ้นจากนรก ขอถวายพระพร ความตายนี้มีอานุภาพอันเป็นเหตุให้สัตว์เหล่านั้นเกิดความหวั่นกลัว

 

‘‘เอตํ โข, ภนฺเต นาคเสน, น สทฺทหามิ, ยํ มุจฺจิตุกามานํ จุติยา สนฺตาโส อุปฺปชฺชตีติ, หาสนียํ, ภนฺเต นาคเสน, ตํ ฐานํ, ยํ เต ปตฺถิตํ ลภนฺติ, การเณน มํ สญฺญาเปหี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, สนฺตาโส ความหวาดกลัว จุติยา แต่ความเคลื่อน อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด มุจฺจิตุกามานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประสงค์จะหลุดพ้นจากนรก ยํ ใด, อหํ ข้าพเจ้า ยังไม่ สทฺทหามิ เชื่อ เอตํ (มุจฺจิตุกามานํ  จุติยา สนฺตาสสฺส อุปฺปชฺชนํ) โข ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งความหวาดกลัวเพราะความเคลื่อนออกแห่งสัตว์นรกผู้ต้องการจะพ้นไปจากนรก นั้น ดอก, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สตฺตา สัตว์นรกทั้งหลาย ลภนฺติ ได้ ยํ ปตฺถิตํ ฐานํ ซึ่งสถานที่ใด อันปราถนาแล้ว, ตํ ฐานํ สถานที่นั้น หาสนียํ จึงเป็นที่ตั้งแห่งความหรรษา, ตฺวํ พระคุณเจ้า มํ ยังข้าพเจ้า สญฺญาเปหิ จงให้รับรู้ การเณน ด้วยเหตุผลเถิด ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน ข้อที่ว่าสัตว์นรกผู้ต้องการจะพ้นจากนรก ยังเกิดความหวั่นกลัวต่อการเคลื่อน (จากนรก) นี้ ข้าพเจ้าไม่เชื่อหรอก พระคุณเจ้านาคเสน ฐานะที่ว่านั้น น่าขัน ขอจงทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจด้วยเหตุผลเถิด

 

‘‘มรณนฺติ โข, มหาราช, เอตํ อทิฏฺฐสจฺจานํ ตาสนียฏฺฐานํ, เอตฺถายํ ชโน ตสติ จ อุพฺพิชฺชติ จฯ โย จ, มหาราช, กณฺหสปฺปสฺส ภายติ, โส มรณสฺส ภายนฺโต กณฺหสปฺปสฺส ภายติฯ โย จ หตฺถิสฺส ภายติเป.สีหสฺสเป.พฺยคฺฆสฺสเป.ทีปิสฺสเป.อจฺฉสฺสเป.ตรจฺฉสฺสเป.มหิํสสฺสเป.ควยสฺสเป.อคฺคิสฺสเป.อุทกสฺสเป.ขาณุกสฺสเป.กณฺฏกสฺส ภายติฯ โย จ สตฺติยา ภายติ, โส มรณสฺส ภายนฺโต สตฺติยา ภายติฯ มรณสฺเสว โส, มหาราช, สรสสภาวเตโช, ตสฺส สรสสภาวเตเชน สกิเลสา สตฺตา มรณสฺส ตสนฺติ ภายนฺติ, มุจฺจิตุกามาปิ, มหาราช, เนรยิกา สตฺตา มรณสฺส ตสนฺติ ภายนฺติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ ฐานํ โข ฐานะนี้ แล อิติ คือ มรณํ ความตาย ตาสนียฏฺฐานํ เป็นสถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความหวาดกลัว อทิฏฺฐสจฺจานํ แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัจจะอันไม่เห็นแล้ว, อยํ ชโน ชนนี้ ตสติ จ ย่อมหวาดกลัว ด้วย อุพฺพิชฺชติ จ ย่อมพรั่นพรึง เอตฺถ มรเณ ในความตายนี้. มหาราช มหาบพิตร โย ชโน ชนใด ภายติ ย่อมกลัว กณฺหสปฺปสฺส ต่องูเห่าดำ, โส ชโน ชนนั้น ภายนฺโต เมื่อกลัว มรณสฺส ต่อความตาย ภายติ ชื่อว่า ย่อมกลัว กณฺหสปฺปสฺส ต่องูเห่าดำ. โย ชโน ชนใด ภายติ ย่อมกลัว หตฺถิสฺส ต่อช้าง ฯลฯ สีหสฺส ต่อสีหะ ฯลฯ พฺยคฺฆสฺส ต่อเสือโคร่ง ฯลฯ ทีปิสฺส ต่อเสือเหลือง ฯลฯ อจฺฉสฺส ต่อหมีดำ ฯลฯ ตรจฺฉสฺส ต่อหมาไน ฯลฯ มหิํสสฺส ต่อกระบือ ฯลฯ ควยสฺส ต่อโค ฯลฯ อคฺคิสฺส ต่อไฟ ฯลฯ อุทกสฺส ต่อน้ำ ฯลฯ ขาณุกสฺส ต่อตอไม้ ฯลฯ กณฺฏกสฺส ต่อหนาม. โย จ ชโน และชนใด ภายติ ย่อมกลัว สตฺติยา ต่อหอกหลาว, โส ชโน ชนนั้น ภายนฺโต เมื่อกลัว มรณสฺส ต่อความตาย ภายติ ชื่อว่า ย่อมกลัว สตฺติยา ต่อหอกหลาว. มหาราช มหาบพิตร โส (เตโช) อานุภาพนั้น สรสสภาวเตโช เป็นอานุภาพอันเป็นสภาวะพร้อมทั้งรส[14] มรณสฺส เอว ของความตายนั่นเอง, สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย สกิเลสา ผู้ยังมีกิเลส ตสนฺติ ย่อมสะดุ้ง ภายนฺติ ย่อมกลัว มรณสฺส ต่อความตาย สรสสภาวเตเชน เพราะอานุภาพอันเป็นสภาวะพร้อมทั้งรส ตสฺส มรณสฺส แห่งความตายนั้น.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ชื่อว่าความตาย เป็นฐานะที่น่ากลัวสำหรับสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่เห็นสัจจะ คนเรานี้ ย่อมหวาดหวั่นพรั่นพรึงในความตายนี้ ขอถวายพระพร ผู้ใดกลัวงูเห่าดำ ผู้นั้นกลัวตาย จึงกลัวงูเห่าดำ ผู้ใดกลัวช้าง กลัวสีหะ กลัวเสือโคร่ง กลัวเสือเหลือง กลัวหมี กลัวหมาไน กลัวกระบือ กลัวโค กลัวไฟ กลัวน้ำ กลัวตอ กลัวหนาม และผู้ใดกลัวหอกหลาว ผู้นั้นกลัวตาย จึงกลัวหอกหลาว ขอถวายพระพร ข้อนั้นเป็นเดชานุภาพอันเป็นสภาวะพร้อมทั้งรสของความตาย เพราะเดชานุภาพอันเป็นสภาวะพร้อมทั้งรสของความตายนั้น สัตว์ผู้มีกิเลสทั้งหลายจึงหวาดหวั่น จึงกลัวต่อความตาย ขอถวายพระพร สัตว์นรกทั้งหลาย แม้ประสงค์จะพ้น (จากทุกข์) แต่ ย่อมหวาดหวั่น กลัวต่อความตาย

 

‘‘อิธ, มหาราช, ปุริสสฺส กาเย เมโท คณฺฐิ อุปฺปชฺเชยฺยฯ โส เตน โรเคน ทุกฺขิโต อุปทฺทวา ปริมุจฺจิตุกาโม ภิสกฺกํ สลฺลกตฺตํ อามนฺตาเปยฺยฯ ตสฺส วจนํ โส ภิสกฺโก สลฺลกตฺโต สมฺปฏิจฺฉิตฺวา ตสฺส โรคสฺส อุทฺธรณาย อุปกรณํ อุปฏฺฐาเปยฺย, สตฺถกํ ติขิณํ กเรยฺย, ยมกสลากา [ทหนสลากํ (ก.)] อคฺคิมฺหิ ปกฺขิเปยฺย, ขารลวณํ นิสทาย ปิสาเปยฺย, อปิ นุ โข, มหาราช, ตสฺส อาตุรสฺส ติขิณสตฺถกจฺเฉทเนน ยมกสลากาทหเนน ขารโลณปฺปเวสเนน ตาโส อุปฺปชฺเชยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร เมโท ต่อมไขมัน คณฺฐิ กลายเป็นฝี หุตฺวา เป็น อุปฺปชฺเชยฺย พึงเกิดขึ้น กาเย ในร่างกาย ปุริสสฺส ของบุรุษ อิธ ในโลกนี้. โส บุรุษนั้น ทุกฺขิโต เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งทุกข์ เตน โรเคน เพราะโรคนั้น ปริมุจฺจิตุกาโม เป็นผู้ประสงค์จะหลุดพ้น อุปทฺทวา จากอันตราย อามนฺตาเปยฺย ยังบุคคลให้เรียกมา ภิสกฺกํ ซึ่งหมอ สลฺลกตฺตํ ผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัด. โส ภิสกฺโก หมอ สลฺลกตฺโต ผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัดนั้น สมฺปฏิจฺฉิตฺวา ตอบรับ วจนํ ซึ่งคำเชิญ ตสฺส ของบุรุษนั้น อุปกรณํ ยังอุปกรณ์ อุปฏฺฐาเปยฺย พึงให้เข้าไปตั้งไว้ (จัดเตรียมอุปกรณ์ผ่าตัด) อุทฺธรณาย เพื่อการถอนขึ้น ตสฺส โรคสฺส ซึ่งโรคนั้น, กเรยฺย พึงกระทำ สตฺถกํ ซึ่งมีดผ่าตัด ติขิณํ ให้คม, ปกฺขิเปยฺย พึงใส่ อคฺคิมฺหิ ในไฟ ยมกสลากา ด้วยคีม, นิสทาย บดแล้ว ขารลวณํ ซึ่งเกลือ (อันป็นยา) รักษาแผล ปิสาเปยฺย พึงใส่ (ที่แผล). มหาราช มหาบพิตร ตาโส ความหวาดกลัว อุปฺปชฺเชยฺย พึงเกิดขึ้น ตสฺส อาตุรสฺส แก่คนไข้ที่กำลังย่ำแย่ นั้น ติขิณสตฺถกจฺเฉทเนน เพราะการผ่าตัดด้วยมีดคม ยมกสลากาทหเนน เพราะการทำแผลให้ไหม้ด้วยคีม ขารโลณปฺปเวสเนน เพราะการใส่ยาชะล้างแผล อปิ นุ โข บ้างหรือไม่ ดังนี้.

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า บุรุษบางคนในโลกนี้มีต่อมไขมันในร่างกายบวมเป็นต่อมฝีขึ้น เขาเป็นทุกข์เพราะโรคนั้น ต้องการจะพ้นจากอันตราย จึงไปเชิญหมอผ่าตัดมา หมอผ่าตัดรับคำเชิญของเขาแล้ว ก็จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการถอนโรคนั้น ลับมีดผ่าตัดให้คม เอาคีมลนไฟไว้ บดยาชะล้างแผลไว้ ขอถวายพระพร คนไข้ผู้กำลังย่ำแย่อยู่นั้น พึงเกิดความหวั่นกลัว (ต่อทุกขเวทนา) เพราะการผ่าตัดด้วยมีดคม เพราะการทำแผลให้ไหมด้วยคีม เพราะการใส่ยาชะล้างแผลขึ้นหรือไม่หนอ

 

‘‘อาม ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, โส ปุริโส บุรุษนั้น ตสติ ย่อมหวาดกลัว ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ใช่ พระคุณเจ้า เขาจะต้องเกิดความหวั่นกลัว

 

‘‘อิติ, มหาราช, ตสฺส อาตุรสฺส โรคา มุจฺจิตุกามสฺสาปิ เวทนาภยา สนฺตาโส อุปฺปชฺชติฯ เอวเมว โข, มหาราช, นิรยา มุจฺจิตุกามานมฺปิ เนรยิกานํ สตฺตานํ มรณภยา สนฺตาโส อุปฺปชฺชติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สนฺตาโส ความหวั่นกลัว อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ตสฺส อาตุรสฺส แก่คนไข้ผู้ย่ำแย่นั้น มุจฺจิตุกามสฺสาปิ ถึงจะต้องการพ้นไป โรคา จากโรค เวทนาภยา เพราะกลัวแต่เวทนา อิติ ด้วยประการฉะนี้ (ยถา) ฉันใด, สนฺตาโส ความหวั่นกลัว อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น สตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งหลาย เนรยิกานํ ผู้เกิดในนรก มุจฺจิตุกามานํปิ แม้ต้องการจะพ้น นิรยา จากนรก เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ก็เป็นอันว่า คนไข้ผู้กำลังย่ำแย่อยู่นั้น แม้ต้องการจะพ้นจากโรค จะต้องเกิดความหวั่นกลัวต่อเวทนา,   ขอถวายพระพร ข้อนี้ มีอุปมาฉันใด พวกสัตว์นรกทั้งหลาย แม้ว่าต้องการจะพ้นจากนรก ก็ยังเกิดความหวั่นกลัวมรณภัย ฉันนั้นเหมือนกัน

 

‘‘อิธ, มหาราช, ปุริโส อิสฺสราปราธิโก พทฺโธ สงฺขลิกพนฺธเนน คพฺเภ ปกฺขิตฺโต ปริมุจฺจิตุกาโม อสฺส, ตเมนํ โส อิสฺสโร โมเจตุกาโม ปกฺโกสาเปยฺยฯ อปิ นุ โข, มหาราช, ตสฺส อิสฺสราปราธิกสฺส ปุริสสฺส กตโทโส อหนฺติ ชานนฺตสฺส อิสฺสรทสฺสเนน สนฺตาโส อุปฺปชฺเชยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร อิธ ในโลกนี้ ปุริโส บุรุษ อิสฺสราปราธิโก ผู้กระทำผิดในท่านผู้เป็นใหญ่ พทฺโธ ถูกล่ามแล้ว ปกฺขิตฺโต ถูกจับขังไว้ คพฺเภ ในห้อง สงฺขลิกพนฺธเนน ด้วยทั้งเครื่องพันธนาการคือโซ่ตรวน อสฺส พึงเป็น ปริมุจฺจิตุกาโม ผู้ปรารถนาเพื่อพ้นไป, โส อิสฺสโร ท่านผู้เป็นใหญ่นั้น โมเจตุกาโม ผู้ประสงค์เพื่อปล่อย ปกฺโกสาเปยฺย พึงยังราชบุรุษให้เรียกมา ปุริสํ อิสฺสราปราธิกํ ซึ่งบุรุษผู้กระทำผิด ตเมนํ (ตํ + เอนํ) [15] นั้น. มหาราช มหาบพิตร ตสฺส อิสฺสราปราธิกสฺส ปุริสสฺส เมื่อบุรุษผู้กระทำผิดในท่านผู้เป็นใหญ่นั้น ชานนฺตสฺส รู้อยู่ อิติ ว่า อหํ เรา กตโทโส มีความผิดอันกระทำแล้ว ดังนี้ สนฺตาโส ความหวั่นกลัว อุปฺปชฺเชยฺย พึงเกิดขึ้น อิสฺสรทสฺสเนน เพราะการเห็นท่านผู้เป็นใหญ่ อปิ นุ โข บ้างหรือหนอ ดังนี้.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า บุรุษบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความผิดในท่านผู้เป็นใหญ่ พอถูกล่ามด้วยโซ่ตรวน ถูกขังไว้ในห้องขังแล้ว ก็พึงเป็นผู้ต้องการจะพ้นไป ท่านผู้เป็นใหญ่นั้น ก็ต้องการจะปล่อย จึงให้เรียกเขามา ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้มีความผิดในท่านผู้เป็นใหญ่ ผู้รู้อยู่ว่า เราได้ทำความผิดไว้ ดังนี้ นั้นก็จะเกิดความหวั่นกลัวต่อภัยคือท่านผู้เป็นใหญ่หรือไม่ ?”

 

‘‘อาม ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, โส ปุริโส บุรุษนั้น ตสติ ย่อมหวาดกลัว ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ใช่ พระคุณเจ้า เขาจะต้องเกิดความหวั่นกลัว

 

‘‘อิติ, มหาราช, ตสฺส อิสฺสราปราธิกสฺส ปุริสสฺส ปริมุจฺจิตุกามาสฺสาปิ อิสฺสรภยา สนฺตาโส อุปฺปชฺชติฯ เอวเมว โข, มหาราช, นิรยา มุจฺจิตุกามานมฺปิ เนรยิกานํ สตฺตานํ มรณภยา สนฺตาโส อุปฺปชฺชตี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร ตสฺส อิสฺสราปราธิกสฺส ปุริสสฺส เมื่อบุรุษผู้กระทำความผิดในท่านผู้เป็นใหญ่นั้น ปริมุจฺจิตุกามาสฺสาปิ ถึงจะปรารถนาเพื่อพ้นไป(จากเรือนจำ) สนฺตาโส ความหวาดกลัว อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น อิสฺสรภยา เพราะกลัวแต่ท่านผู้เป็นใหญ่ อิติ ด้วยประการฉะนีี้ (ยถา) ฉันใด, สนฺตาโส ความหวั่นกลัว อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น สตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งหลาย เนรยิกานํ ผู้เกิดในนรก มุจฺจิตุกามานํปิ แม้ต้องการจะพ้น นิรยา จากนรก เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ก็เป็นอันว่า บุรุษผู้มีความผิดในท่านผู้เป็นใหญ่นั้น แม้ว่าต้องการจะพ้นไป ก็ยังเกิดความหวั่นกลัวภัยจากท่านผู้เป็นใหญ่ ขอถวายพระพร ข้อนี้มีอุปมาฉันใด พวกสัตว์นรกทั้งหลาย แม้ว่าต้องการจะพ้นจากนรก ก็ยังเกิดความหวั่นกลัวมรณภัย ฉันนั้นเหมือนกัน

 

‘‘อปรมฺปิ, ภนฺเต, อุตฺตริํ การณํ พฺรูหิ, เยนาหํ การเณน โอกปฺเปยฺย’’นฺติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อหํ ข้าพเจ้า โอกปฺเปยฺย พึงปลงใจเขื่อ เยน การเณน เพราะเหตุใด, ตฺวํ ขอท่าน พฺรูหิ จงกล่าว การณํ ซึ่งเหตุ อุตฺตริํ ที่ยิ่งขึ้น อปรมฺปิ แม้อื่นอีก เถิด ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้า ขอจงบอกเหตุผลที่ยิ่งขึ้นไปแม้อย่างอื่นอีกเถิด ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ข้าพเจ้าปลงใจเชื่อได้

 

 ‘‘อิธ, มหาราช, ปุริโส ทฏฺฐวิเสน อาสีวิเสน ทฏฺโฐ ภเวยฺย, โส เตน วิสวิกาเรน ปเตยฺย อุปฺปเตยฺย วฏฺเฏยฺย ปวฏฺเฏยฺย, อถญฺญตโร ปุริโส พลวนฺเตน มนฺตปเทน ตํ ทฏฺฐวิสํ อาสีวิสํ อาเนตฺวา ตํ ทฏฺฐวิสํ ปจฺจาจมาเปยฺย, อปิ นุ โข, มหาราช, ตสฺส วิสคตสฺส ปุริสสฺส ตสฺมิํ ทฏฺฐวิเส สปฺเป โสตฺถิเหตุ อุปคจฺฉนฺเต สนฺตาโส อุปฺปชฺเชยฺยา’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อิธ ในโลกนี้ ปุริโส บุรุษ เป็นผู้ อาสีวิเสน[16] อันงู ทฏฺฐวิเสน[17] ทัฏฐวิเสะ ทฏฺโฐ กัดแล้ว ภเวยฺย พึงเป็น, โส ปุริโส บุรุษนั้น ปเตยฺย พึงล้มลง อุปฺปเตยฺย คว่ำลง วฏฺเฏยฺย กลิ้ง ปวฏฺเฏยฺย กลิ้งเกลือก เตน วิสวิกาเรน เพราะพิษวิการ (พิษที่แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย) นั้น อถ ต่อมา อญฺญตโร ปุริโส ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่ง อาเนตฺวา นำมาแล้ว อาสีวิสํ ซึ่งงู ทฏฺฐวิสํ ทัฏฐวิสะ ตํ ตัวนั้น มนฺตปเทน ด้วยมนต์ พลวนฺเตน มีกำลัง (มนต์ขลัง) ตํ ทฏฺฐวิสํ ยังงูทัฏฐวิเสะนั้น ปจฺจาจมาเปยฺย พึงให้ดูดกลับไป[18], มหาราช มหาบพิตร ปุริสสฺส เมื่อบุรุษนั้น วิสคตสฺส มีพิษไปแลัว (คือ มีพิษซึมซาบในตัว), สปฺเป เมื่องู ทฏฺฐวิเส ทัฏฐวิสะ ตสฺมิํ นั้น อุปคจฺฉนฺเต เลื้อยมาใกล้ โสตฺถิเหตุ เพราะเหตุแห่งความสวัสดี, สนฺตาโส ความหวั่นกลัว อุปฺปชฺเชยฺย พึงเกิดขึ้น อปิ นุ โข หรือหนอแล ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร บุรุษบางคนในโลกนี้ถูกงูพิษกัดเอา เพราะพิษที่แพร่กระจายไปนั้น เขาจึงล้มกลิ้งเกลือกอยู่ไปมา ลำดับนั้น บุรุษอีกคนหนึ่ง ให้บทมนต์ที่มีพลัง ชักนำงูพิษตัวนั้นมา บังคับให้ดูดพิษที่รอยกัดนั้นกลับคืนไป ขอถวายพระพร บุรุษผู้มีพิษงูซึมซาบอยู่นั้น เมื่องูพิษที่กัดนั้นเลื้อยเข้ามาใกล้ เพราะเหตุจะสร้างความสวัสดีให้ จะพึงเกิดความหวั่นกลัวขึ้นหรือไม่ ?”

 

‘‘อาม ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, สนฺตาโส ความหวั่นกลัว อุปฺปชฺเชยฺย พึงเกิดขึ้น ตสฺส ปุริสสฺส แก่บุรุษนั้น ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ใช่ละ พระคุณเจ้า เขาจะต้องเกิดความหวั่นกลัว

 

อิติ, มหาราช, ตถารูเป อหิมฺหิ โสตฺถิเหตุปิ อุปคจฺฉนฺเต ตสฺส สนฺตาโส อุปฺปชฺชติฯ เอวเมว โข, มหาราช, นิรยา มุจฺจิตุกามานมฺปิ เนรยิกานํ สนฺตานํ มรณภยา สนฺตาโส อุปฺปชฺชติฯ อนิฏฺฐํ, มหาราช, สพฺพสตฺตานํ มรณํ, ตสฺมา เนรยิกา สตฺตา นิรยา ปริมุจฺจิตุกามาปิ มจฺจุโน ภายนฺตี’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาราช อหิมฺหิ เมื่องู ตถารูเป ชนิดนี้ อุปคจฺฉนฺเต เลื้อยเข้าไปใกล้ โสตฺถิเหตุปิ แม้เพราะเหตุแห่งความสวัสดี สนฺตาโส ความหวั่นกลัว อุปฺปชฺชติ ยังเกิดขึ้นได้ อิติ ด้วยอาการอย่างนี้ (ยถา) ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร สนฺตาโส ความหวั่นกลัว อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น สตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งหลาย เนรยิกานํ ผู้เกิดในนรก มุจฺจิตุกามานํปิ แม้ต้องการจะพ้น นิรยา จากนรก เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว. มหาราช มหาบพิตร มรณํ ความตาย อนิฏฺฐํ เป็นสภาพอันไม่น่าปรารถนา สพฺพสตฺตานํ สำหรับสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย, ตสฺมา เพราะเหตุนั้น สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย เนรยิกา ผู้เกิดในนรก ปริมุจฺจิตุกามาปิ ถึงจะเป็นผู้ปรารถนาเพื่อพ้น นิรยา จากนรก ภายนฺติ ย่อมกลัว มจฺจุโน ต่อความตาย ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ก็เป็นอันว่า เมื่องูเห็นปานนั้นเลื้อยเข้ามาใกล้ เพราะเหตุจะสร้างความสวัสดีให้ บุรุษผู้นั้นยังเกิดความหวั่นกลัวได้ ข้อนี้อุปมาฉันใด พวกสัตว์นรกทั้งหลาย แม้ว่าต้องการจะพ้นจากนรก ก็ยังเกิดความหวั่นกลัวต่อมรณภัย ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร ความตายไม่เป็นที่น่าปรารถนาสำหรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เพราะฉะนั้น พวกสัตว์นรก แม้ว่าต้องการจะพ้นจากนรก ก็ยังกลัวตาย.

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีจริง, ยํ วจนํ คำใด ตยา วุตฺตํ ที่ท่านกล่าวแล้ว, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา โดยประการนั้น เอวํ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำพูดของท่าน ตามประการที่ท่านกล่าวมากระนี้ นี้.

 

มจฺจุภายนาภายนปญฺโห ตติโยฯ

มจฺจุภายนาภายนปญฺโห มัจจุภายนาภายนปัญหา

ตติโย ลำดับที่ ๓ นิฏฺฐิโต จบแล้วฯ

….



[1] ทณฺฑ ศัพท์ คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา อธิบายว่า การถูกทำร้ายมีการทุบตีเป็นต้น ส่วนนิสสยะฯลฯล้านนา อธิบายว่า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำร้าย ซึ่งเป็นเหตุแห่งการถูกทำร้าย. เมื่อเป็นเช่นนี้เป็นการถือเอาโดยการณูปจาระ กล่าวถึงผลหมายเอาเหตุ.

[2] สพฺพ ศัพท์ (ทั้งปวง) มี ๒ ชนิด คือ นิปฺปเทส ทั้งหมดชนิดรวมทุกสิ่งไม่เหลือสิ่งใดๆ และ สปฺปเทส ทั้งหมดแบบมีส่วนเหลือ ไม่ได้ถือทั้งหมดจริงๆ แต่ยกเว้นกลุ่มของสิ่งๆหนึ่งบางสิ่งที่มีจำนวนน้อย. สพฺพ ศัพท์ (ทั้งปวง) ในพระพุทธพจน์สองข้อความว่า สพฺเพ ตสนฺติ เป็นต้น และ สพฺเพ ภายนฺติ นี้ ความจริงแล้ว สพฺพ ศัพท์นี้ เป็นศัพท์ชนิด สปฺเปทส มีส่วนเหลือ ควรจะต้องยกเว้นบุคคลบางจำพวก เช่น พระขีณาสวะ ช้างอาชาไนย ม้าอาชาไนยเป็นต้น แต่พระเจ้ามิลินท์มีความสำคัญว่าเป็นสพฺพประเภท นิปฺปเทส ซึ่งหมายถึง สัตว์ทั้งปวง ไม่เว้นแม้แต่พระอรหันต์ ผู้หมดเหตุแห่งความหวาดกลัวแล้ว ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงตั้งข้อสังเกตว่าขัดแย้งกับพระพุทธพจน์อีกแห่งหนึ่งที่ตรัสถึงความไม่กลัวแห่งพระขีณาสพว่า พระอรหันต์ ก้าวล่วงความกลัวทุกชนิดแล้ว ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้พ้นภัยแล้วนั้นจักต้องกลัวต่อการลงทัณฑ์และความตายอีก เช่นเดียวกับสัตว์นรกที่กำลังเคลื่อนออกจากความทรมานในนิรยภูมินั้นยังจะกลัวต่อความตายอีก.

[3] อุปาทาย แปลโดยสัททัตถนัยว่า เข้าไปถือเอา แปลโดยโวหารัตถนัยว่า เป็นจุดประสงค์

[4] ความตามเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่า มีอัตตา ว่าเป็นอัตตา ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ.

[5] อุนฺนตาวนตา ตัดบทเป็น อุนฺนตา (อุ = อุทฺธํ + นม ธาตุในอรรถว่า น้อม + ต ปัจจัย) + โอนตา (อว + นม + ต) ความหมายคือ อุนฺนตา ฟูขึ้น ด้วยสภาพที่ดำรงอยู่โดยจิตอันฟูขึ้น เมื่อได้รับสุข และ โอนตา ห่อเหี่ยวลง ด้วยสภาพที่ย่อท้อเมื่อได้รับทุกข์. คำนี้แปลโดยโวหารัตถะว่า อ่อนไหว หมายถึง ไม่ยืนหยัดอยู่ในภาวะที่มั่นคง โดยความเป็นผู้ไม่สะทกสะท้านต่อความสุขและทุกข์. แต่เป็นผู้มีความอ่อนไหว คือ เมื่อได้เสวยสุขแม้เพียงเล็กน้อย ก็เกิดความยินดีเสียยิ่งนัก เมื่อได้เสวยทุกข์แม้เพียงเล็กน้อย ก็เกิดความเศร้าโศกเกินประมาณ

[6]  พระอรหันต์เป็นผู้ตัดคติ คือ ภูมิอันเป็นที่ไปของสัตว์ทั้งหลายได้แล้ว ทั้งสุคติภูมิ ทั้งทุคติภูมิ กำจัดโยนิ (กำเนิด) คือ อาการที่เกิด ๔ อย่าง มี ชลาพุชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ผู้เกิดในมดลูก) เป็นต้นได้แล้ว เพิกปฏิสนธิ คือ ถอนการปฏิสนธิในภพใหญ่ภพน้อยทั้งหลายได้แล้ว หักซี่โครงเรือนคือหักทำลายตัณหาและกรรมอันเป็นซี่โครงเรือนคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว ถอนอาลัย คือถอนตัณหาในภพทั้งปวงได้แล้ว ทำลายสังขารทั้งปวงคือธรรมทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งสังขารทั้งปวงได้แล้ว ละกุศลและอกุศลได้แล้ว โดยการตัดขาดอนุสัยทั้งหลายได้ พรากอวิชชาคือขจัดอวิชชา ด้วยการทำวิชชาคืออรหัตตมรรคญาณให้เกิดขึ้นได้แล้ว ทำวิญญาณไม่ให้มีพืช คือทำวิญญาณไม่ให้มีการสืบต่อด้วยอำนาจปฏิสนธิในภพใหม่ได้แล้ว เผากิเลสทั้งปวง ด้วยไฟคือพระอรหัตตมรรคญาณได้แล้ว ก้าวล่วงโลกธรรม มีลาภ เสื่อมลาภ เป็นต้น โดยประการที่ไม่อาจครอบงำ ทำให้หวั่นไหวด้วยความยินดียินร้ายได้แล้ว

[7] ผาสุกา ศัพท์เดิม หมายถึง กระดูกซี่โครง (ปา รักษา + สุ ปัจจัย + ก อาคม + อา อิตถีปัจจัย แปลง ป เป็น ผ) วิเคราะห์ว่า ปาตพฺพาติ รกฺขิตพฺพาติ ผาสุ, อวัยวะอันบุคคลควรรักษาไว้ (คือ เป็นอวัยวะที่สำคัญเพราะรักษาอวัยวะไว้ (สี.ฏี.๑/๘๖) ). ในที่นี้ เป็นรูปย่อของ กิเลสผาสุกา ซี่โครงคือกิเลส มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า ตัณหาเป็นผู้สร้างอัตภาพคืออุปาทานักขันธ์ เสมือนนายช่างผู้สร้างเรือน, กิเลสที่เหลือเปรียบเหมือนซี่โครงของตัณหานั้น อวิชชา เป็นเรือนยอดของอัตตภาพนั้น, อัตภาพเปรียบได้ดังกับเรือนที่นายช่างคือตัณหานั้นสร้างขึ้น (ขุ.ธ.๒๕/๑๕๔ (มหาจุฬาเตปิกํ) ชราวคฺค, ปฐมโพธิวตฺถุ) และอรรถกถา).

[8] มิลินทฏีกาแก้คำว่า กุฏิปุริส เป็น ปากฎปุริส บุรุษผู้ปรากฏ. คำว่า ผู้ปรากฏ นี้หมายถึง หัวหน้าครอบครัว.

[9] ๑. คำศัพท์แสดงความมีส่วนเหลือ ทั้งความหมายก็ยังมีส่วนที่เหลือ (สาวเสสํ วจนํ สาวเสโส อตฺโถ) เช่น

เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตาเส,

น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมิํ,

ปหาย มานุสํ เทหํ,

เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้วจักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์. (สํ.ส.๑๕/๑๒๑)

คำว่า เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตาเส ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แสดงเฉพาะการไม่ไปสู่อบายเพราะอาศัยการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะอย่างเดียว ซึ่งยังเว้นการถึงสรณะอีก ๒ คือ พระธรรมและพระสงฆ์. แม้ความหมายก็ยังได้ไม่ครบถ้วน เพราะการไม่ไปสู่อบายเป็นต้น จะอาศัยการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เท่านั้น หามิได้ แม้การถึงพระธรรมและพระสงฆ์ ก็จะเป็นเหตุแห่งการไม่ไปสู่อบายเช่นกัน เพราะฉะนั้น คำว่า พุทฺธํ สรณํ คตาเส ยังแสดงไว้ไม่ครบ แม้ความหมายก็ยังมีสว่นเหลืออีกด้วย.

๒. คำพูดแสดงความมีส่วนเหลือ แต่ความหมายไม่มีส่วนเหลือ  (สาวเสสํ วจนํ นิรวเสโส อตฺโถ) เช่น

โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ, อิเธว ขยมตฺตโน,

ปนฺนภารํ วิสญฺญุตํ, ตมหํ พฺรูหมิ พฺราหมณํ

เรากล่าวผู้ที่รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในธรรมวินัยนี้ มีภาระอันปลงแล้ว พรากแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ (ขุ.ธ.๒๕/๔๐๒ อัญญตรพราหมณวัตถุ)

คำว่า ทุกฺขสฺส ปชานาติ รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนจึงเป็นพราหมณ์ เป็นศัพท์ที่ยังมีส่วนเหลือ เพราะกล่าวเพียงนิโรธสัจจะ โดยเว้นสัจจะที่เหลืออีก ๓ แต่ความหมายคือ เมื่อรู้สัจจะอย่างใดอย่างหนึ่ง สัจจะที่เหลืออีก ๓ เป็นอันรู้ด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้สัจจะแม้ทั้ง ๔ จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์ ดังนั้น คำพูดแม้จะกล่าวถึงสัจจะไม่ครบถ้วน แต่ความหมายย่อมครบถ้วนโดยสภาวะ.

อีกตัวอย่างหนึ่ง

อปฺปมาโท ความไม่ประมาท

คำนี้ แสดงเพียงความไม่ประมาท แต่เนื้อความกว้างชวางครอบคลุมพระพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น คำว่า อปฺปมาท เป็นคำกล่าวที่ยังมีส่วนเหลือ แต่ความหมายไม่มีส่วนเหลือ.

๓. คำพูดแสดงความไม่มีเหลือ แต่ความหมายยังมีส่วนที่เหลือ (นิรวเสสํ วจนํ สาวเสโส อตฺโถ) เช่น

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน

สัตว์ทั้งหมดย่อมกลัวต่อทัณฑ์, สัตว์ทั้งหมดย่อมกลัวต่อความตาย. (ขุ.ธ.๒๕/๑๒๙)

คำว่า สพฺเพ แม้จะกล่าวถึงสัตว์ทุกจำพวก แต่อันที่จริงต้องเว้นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ถอนเหตุแห่งความกลัวได้หมดสิ้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงไม่กลัวต่อภัยใดๆ แม้แต่ความตาย.

๔. ศัพท์กล่าวความไม่มีส่วนเหลือ แม้ความหมายของศัพท์ก็ไม่มีส่วนเหลือ (นิรวเสสํ วจนํ นิรวเสโส อตฺโถ) เช่น

สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งหมด (ที.ม.๑๐/๙๐)

คำว่า สพฺพปาปสฺส แสดงถึงบาปทุกประเภท อันบุคคลไม่ควรกระทำ แม้ความหมายของศัพท์ ก็ตรงตามคำศัพท์จริงๆ เพราะไม่มีบาปใดๆที่ควรกระทำ.

อีกตัวอย่างหนึ่ง

สพฺพธมเมสุ อปฺปฏิหตญฺญาณํ พระญาณไม่มีอะไรกีดขวางในธรรมทั้งปวง..

ในตัวอย่างนี้ คำว่า สพฺพธมฺเมสุ ธรรมทั้งปวง เป็นคำศัพท์ที่แสดงถึงธรรมทุกประเภทที่มีอยู่ แม้ความหมายก็เป็นอันไม่มีส่วนเหลือ เพราะพระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ไม่ไม่มีอะไรขัดขวางในธรรมทั้งปวง.

[10] อาหัจจบท นี้ พึงทราบว่า พระพุทธพจน์ตลอดทั้ง ๓ ปิฎก ชื่อว่าสูตร อาหจฺจปทํ นาม เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ. (มิ.อ.) เพราะเป็นบทที่ชักมาอ้าง และในฏีกามิลินท์อธิบายว่า เป็นบทที่พระผู้มีพระภาคทำให้แจ้งแล้วด้วยพระสัพพัญญุตญาณจึงตรัสไว้ (อาหจฺจปทนฺติ ภควตา สพฺพญฺญุตญฺญาเณน วิเสเสตฺวา วุตฺตวจนํ (มิ.ฏี.) สุตตานุโลม (คำพูดอนุโลมตามพระสูตร) หมายถึง คำวินิจฉัยพุทธพจน์ที่เรียกว่า มหาปเทส คือ คำชี้แจงของท่านผู้ยิ่งใหญ่ หรือคำชี้แจงที่ยิ่งใหญ่ หรือที่น่าบูชามี ๔ อย่าง คือ (๑) พุทธาปเทส คำตรัสชี้แจงของพระพุทธเจ้า (๒) สังฆาปเทส คำชี้แจงของพระสงฆ์ (๓) พหุลาเถราปเทส คำชี้แจงของพระเถระหลายรูป (๔) เอกเถราปเทส คำชี้แจงของพระเถระรูปเดียว.  ในบรรดามหาปเทส ๔ อย่างนั้น ยกเว้นพุทธาปเทสแล้ว มหาปเทส ๓ ที่เหลือ บัณฑิตพึงเชื่อถือยอมรับ ก็ในเมื่อลงกันได้กับในพระสูตรนั่นเทียว ถ้าหากว่าลงกันไม่ได้ ก็ไม่พึงเชื่อถือ ยอมรับ. อนึ่ง คำอนุโลมตามพระสูตร คือ มหาปเทส ๔ นี้ ชื่อว่ารส เพราะอรรถว่า ทำให้ยินดี. วาทะของอาจารย์ (อาจริยวังสะ) ได้แก่ อรรถกถา (คำพูดอรรถาธิบายพระบาลี) อธิปปายะ ได้แก่ อัตตโนมัติ (มติของตน) หมายถึง ฎีกา (คำพูดทำอรรถกถาให้แจ้ง) ในที่นี้ เรียกฏีกาว่า อัตตโนมัติ เพราะเป็นคำอธิบายอรรถกถา. การณุตตริยตา  การณะที่เสมอกันกับเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้. เมื่อเทียบเคียงกับเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ เทียบเคียงกับพระสูตร เทียบเคียงกับคำอนุโลมตามพระสูตร เทียบเคียงกับวาทะของอาจารย์ เทียบเคียงกับมติของตนแล้ว ก็ลงกันได้ จึงจะรับรองว่าคำนั้น เป็นอรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์.

[11] ตัดบทเป็น รุณฺณ + การุญฺญกนฺทิตปริเทวิตลาลปฺปิต + มุขา. คำว่า มุขา คำเต็มว่า  อสฺสุมุขา มีความหมายว่า มีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตา เมื่อเข้าสมาสแล้วคำนี้จะมีความหมายว่า มีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตา โดยลบบทว่า อสฺส เป็นคำที่แสดงการร้องไห้จนน้ำตาไหล เพราะถึงความเศร้าโศก. อีกนัยหนึ่ง มุข แปลว่า ปาก แต่ในที่นี้แสดงการส่งเสียง โดยนัยนี้ แปลว่า สัตว์นรกเหล่านั้นร้องไห้และส่งเสียงร่ำไห้พร่ำเพ้อคร่ำครวญร่ำไรที่น่าสงสาร.

[12] เตช ศัพท์ มีความหมายว่า "ความคม, " ความร้อน, เปลวไฟ, ไฟ, แสงสว่าง; ความเปล่งปลั่ง, ความรุ่งโรจน์, ความโชติช่วง,ความงดงาม, พลัง, ความแข็งแรง, อำนาจ.  ในที่นี้หมายถึงไฟ.  พจน.ภูมิพโล อธิบายว่า เตชศัพท์เดิมมาก จาก ติช ธาตุ มีอรรถว่า คมหรือแทง  เช่น เตช ที่มีความหมายว่า เปลวไฟ หมายถึง เปลวไฟที่ร้อนแรงประดุจว่าจะทิ่มแทง.

อนึ่ง ปาฐะฉบับของไทยเป็น อุณฺหติขิณจณฺฑขรตปนเตชวนฺตา และในฉบับแปลของไทยทุกฉบับแปลเป็นวิเสสนะของ มหานิรยา ศัพท์ ซึ่งเป็นบทอปาทานในกิริยาว่า มุจฺจมานา.  เมื่อดูจากรูปศัพท์ทั้งสองฉบับแล้ว ควรเป็นวิเสสนะของ เนรยิกา สตฺตา เพราะบทที่ลง วนฺตุ ปัจจัย ในปฐมาวิภัตติ พหุวจนะมีรูปเป็น วนฺโต ก็มี วนฺตา ก็มี เช่น คุณวนฺโต คุณวนฺตา, ส่วนในปัญจมีวิภัตติ เกิดจากการแปลง สฺมา เป็น นา แล้วแปลง นา เป็น ตา เช่น คุณวตา หรือจะไม่แปลงเป็น นา คงรูปเป็น คุณวนฺตา คุณวนฺตสฺมา ตุณวนฺตมฺหา ก็มี ดังนั้น เมื่อถือเอาตามนัยปาฐะของไทย จะถือเอาตามที่ท่านแปลไว้ก็ได้ ในที่นี้ถือเอาตามฉบับฉัฏฐสังคายนา เพราะเห็นว่า ในที่นี้ท่านพรรณนาความเสวยทุกขเวทนาอันเกิดในมหานรกนั้น.

[13] กิสฺส ลง ฉัฏฐีวิภัตติในอรรถเหตุ ท้าย กิํ ปุจฉาสัพพนาม ดังนั้น คำนี้ จึงเป็นบทฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถเหตุ เมื่อเพิ่ม เหตุ ศัพท์เข้ามาจะเป็นรูปว่า กิสฺส เหตุ เพราะเหตุอะไร เหตุ ศัพท์ ลงปฐมาวิภัตติในอรรถเหตุ (ปทรูปสิทธิ.การก.ปัญจมีวิภัตตยัตถะ สูตร ๓๑๒. ทูรนฺติกทฺธฯลฯ.) ดังที่ท่านอธิบาย กิสฺส เหตุ ว่า กตเรน การเณน ดังนี้ ตํ กิสฺส เหตูติ ยํ มยา วุตฺตํ ‘‘วร’’นฺติ ตํ กิสฺส เหตุ, กตเรน การเณนาติ เจ? (ปาราชิก.อฏฺ.๑/๓๙)

[14] สรสสภาวเตโช หมายความว่า อานุภาพซึ่งเป็นสภาพมีกิจ ในทีนี้หมายถึง ความตายมีอานุภาพคือสภาวะมีหน้าที่ทำให้สัตว์หวาดกลัวเป็นอานุภาพ. บางฉบับเป็น สรสภาวเตโช พึงทราบว่า นานาปาฐะ. อีกนัยหนึ่ง ปาฐะว่า สรสภาวเตโช เมื่อศัพท์ต่างกัน อรรถย่อมเปลี่ยน ดังนั้น คำว่า สรสภาวเตโช หมายถึง อานุภาพอันเป็นภาวะที่มีหน้าที่ทำให้สัตว์หวาดกลัว.

[15] การใช้สรรพนามซ้ำกันสองบทนี้ ให้ยึดความหมายของสรรพนามบทหน้าเท่านั้น ดังนั้น คำสรรพนามว่า เอนํ (เอต + อํ) หรือ (อิม + อํ) ที่กล่าวตามหลัง ต สรรพนาม ในที่นี้ จึงไม่มีความหมายพิเศษ ไปกว่าความหมายของ ตสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า. เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงได้แปลเฉพาะความหมายของคำหน้า คือ ตํ เท่านั้น. พึงทราบว่า ในกรณีที่ เอต หรือ อิม นี้ หากใช้ตามตสรรพนามเช่นนี้ เรียกว่า เป็น อนฺวาเทส (แสดงซ้ำ) หรือ อนุกถน (กล่าวซ้ำ) มักจะแปลง เอต หรือ อิม เป็น เอน เพราะ อํวิภัตติ อยู่เบื้องหลัง เช่น ในคำว่า ตเมนํ ภิกฺขเว นิรยปาลา, ยตฺวาธิกรณเมนํ ภิกฺขุ (นิรุตฺติ.๒/๒๒๖).    

[16] อาสีวิส ตามอัตถบัญญัติ หมายถึงงู  แต่ที่ของสัททบัญญัติ หรือ สัททัปปวัตตินิมิต (เหตุเป็นไปของศัพท์ กล่าวคือ รูปวิเคราะห์) มีความหมายที่อาศัยอัตถะได้หลายนัย เช่น 

๑. มาจาก อาสุ + วิส = อาสีวิส. อาสุ นิบาต มีความหมายเท่ากับ สีฆํ รวดเร็ว 

อาสุ สีฆํ เอตสฺส วิสํ อาคจฺฉตีติ อาสีวิโสฯ

งู มีชื่อว่า อาสีวิสะ เพราะมีพิษแล่นไปเร็ว (วิ.อฏฺ.๑/๓๙).

อาสีวิสนฺติ สีฆเมว สกลสรีเร ผรณสมตฺถวิสํ

พิษซึ่งสามารถแล่นไปในสรีระทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า อาสีวิสํ. (วิ.ลงฺ.ฏี.๒๓๒)

[หมายความว่า บุคคลที่ถูกงูนั้น ขบกัดแล้ว พิษก็ย่อมมาเฉพาะบุคคลที่ถูกมันกัดนั้นอย่างเร็ว และถูกเป็น อาสี โดยนิรุตตินัย (นิรุตตินัย คือ วิธีการสำเร็จรูปตามคัมภีร์เก่าแก่ฝ่ายสันสกฤตซึ่งไม่มีสูตรไวยากรณ์อย่างแน่นอน โดยอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงคำศัพท์ได้แบบหลวมๆ ไม่เคร่งครัดเหมือนระบบไวยากรณ์ในยุคหลัง) (วินย.ฏี.๓๙).]

๒. มาจาก อา + สิตฺต (สิจ ธาตุ ในอรรถว่า รด + ตปัจจัย) + วิส

อาสิตฺตวิโสติปิ อาสีวิโส, สกลกาเย อาสิญฺจิตฺวา วิย ฐปิตวิโส ปรสฺส จ สรีเร อาสิญฺจนวิโสติ อตฺโถฯ

ชื่อว่า อาสีวิโส เพราะอรรถว่า มีพิษอันรดแล้ว. อธิบายว่า มีพิษอันรดลงไปในสรีระของบุคคลอื่น เหมือนดังมีพิษอันรดลงไปในกายทั้งสิ้นตั้งอยู่.

๓. มาจาก อสิต (อส ธาตุ ในอรรถว่า กลืนกิน + ต ปัจจัย) + วิส

อสิตวิโสติปิ อาสีวิโสฯ ยํ ยญฺหิ เอเตน อสิตํ โหติ ปริภุตฺตํ, ตํ วิสเมว สมฺปชฺชติ, ตสฺมา อสิตํ วิสํ เอตสฺสาติ อสิตวิโสติ วตฺตพฺเพ ‘‘อาสีวิโส’’ติ นิรุตฺตินเยน วุตฺตํฯ อสิสทิสวิโสติปิ อาสีวิโส,

ชื่อว่า อาสีวิโส เพราะอรรถว่า มีพิษอันกินแล้วก็มี. จริงอยู่ สิ่งใดๆ ย่อมเป็นอันงูนี้กินแล้ว คือ บริโภคแล้ว อาหารนั้นนั่นเอง ย่อมปรากฏว่าเป็นพิษไปอย่างแน่นนอ เพราะฉะนั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า อสิตวิโส เพราะอรรถว่า มีพิษอันกินแล้ว ท่านก็กล่าวโดยนิรุตตินัยว่า อาสีวิโส.

๔. มาจาก อสิ มีด + วิส

อสิ วิย ติขิณํ ปรสฺส มมฺมจฺเฉทนสมตฺถํ วิสํ เอตสฺสาติ อาสีวิโสติ วุตฺตํ โหติฯ

ชื่อว่า อาสีวิโส เพราะอรรถว่า มีพิษเช่นกับดาบ. มีอรรถาธิบายว่า ชื่อว่า อาสีวิโส เพราะอรรถว่า มีพิษสามารถตัดหนังของบุคคลอื่น เหมือนอย่างดาบอันคม.

๕. อาสี เขี้ยว + วิส

อาสีติ วา ทาฐา วุจฺจติ, ตตฺถ สนฺนิหิตวิโสติ อาสีวิโสฯ

อีกอย่างหนึ่ง เขี้ยว เรียกว่า อาสี. ชื่อว่า อาสีวิโส เพราะอรรถว่ มีพิษอันค้างอยู่ที่เขี้ยวนั้น.

(ตั้งแต่ความหมายที่ ๒ ถึงที่ ๕ วินย.ฏี.๒/๓๙)

ส่วนในอรรถกถาอาสีวิโสปมสูตร สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย แสดงวิเคราะห์ของคำนี้ไว้ ๓ ประการเช่นเดียวกับสารัตถทีปนี วินยฏีกานั้น แต่มีคำศัพท์ที่ใช้อธิบายต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

อาสิตฺตวิสาติปิ อาสีวิสา, อสิตวิสาติปิ อาสีวิสา, อสิสทิสวิสาติปิ อาสีวิสาฯ

ชื่อว่า  อาสีวิสา เพราะมีพิษที่รด ก็มี, เพราะมีพิษที่ลิ้ม ก็มี, เพราะมีพิษเช่นกับดาบก็มี. 

สกลกาเย อาสิญฺจิตฺวา วิย ฐปิตวิสา, ปรสฺส จ อตฺตโน สรีเร จ อาสิญฺจนวิสาติ อตฺโถฯ

ที่มีความหมายว่า อาสิตฺตวิสา เพราะมีพิษที่ดังเขารดน้ำ  ชโลมทั่วกาย และพิษที่รดลงที่กายของผู้อื่น.

ยํ ยํ เอเตหิ อสิตํ โหติ ปริภุตฺตํ, ตํ ตํ วิสเมว สมฺปชฺชติ, ตสฺมา อสิตํ วิสํ โหติ เอเตสนฺติ อาสีวิสา

ที่มีความหมายว่า อสิตวิสา เพราะมีความหมายว่า สิ่งใดๆอันงูเหล่านั้น ลิ้มแล้ว กินแล้ว สิ่งนั้นๆ ย่อมกลายเป็นพิษไปเพราะฉะนั้น  ที่ชื่อว่า   อสิตวิสา  เพราะสิ่งที่มันลิ้มกลายเป็นพิษ. 

อสิวิย ติขิณํ ปรมมฺมจฺเฉทนสมตฺถํ วิสํ เอเตสนฺติ อาสีวิสา

ที่มีความหมายว่า อสิสทิสวิสา เพราะพิษของงูเหล่านั้นคมกริบสามารถตัดขาดได้อย่างดีเหมือนดาบ.    (สํ.สฬา.อ.๒๓๘).

[17] ทฏฺฐวิส มาจาก ทฏฺฐ กัด + วิส แปลว่า งูชนิดที่มีพิษโดยการกัด นี้เป็นการบ่งแยกประเภทของงูโดยการปล่อยพิษอย่างหนึ่ง. คัมภีร์สฬายตนสังยุตตอรรถกถา กล่าวถึงการจำแนกงูเป็น ๑๖ จำพวก โดยจำแนกออกตามอาการของผู้ที่โดนพิษงูเป็น ๔ ชนิดใหญ่ๆ คือ งูกัฏฐมุขะ ทำให้ร่างกายของผู้ถูกกัดแข็งเหมือนท่อนไม้ งูปูติมุขะ ให้ร่างกายของผู้ถูกกัดมีน้ำหนองไหลเยิ้มเหมือนขนุนเน่า งูอัคคิมุขะ ทำให้ร่างกายของผู้ถูกกัดไหม้กระจายเหมือนกำขี้เถ้า งูสัตถมุขะ ทำให้ร่างกายของผู้ถูกกัดขาดเป็นช่องเหมือนสถานที่ถูกฟ้าผ่า. ในบรรดางู ๔ จำพวกนี้ แต่ละพวกแบ่งเป็น ๔ คือ ทัฏฐวิสะ งูที่มีพิษโดยการกัด ทิฏฐวิสะ งูที่มีพิษโดยการพบเห็น ผุฏฐวิสะ งูที่มีพิษโดยการถูกต้อง วาตวิสะ งูที่มีพิษที่ลม. รวมเป็น ๑๖ ประเภท. แม้ในวินยฏีกา (สารัตถทีปนีฏีกา ๒๕๑) กล่าวว่า งูพวกทัฏฐวิสะ นี้เป็นงูที่อยู่ในตระกูลงูใหญ่ ๔.

[18] ปจฺจาจมาเปยฺย ตัดบทเป็น ปติ + อา + จมุ ธาตุ (กินหรือกลืน) = คาย, พ่นออก, + ณาเป + เอยฺย รูปนี้ อา อุปสคค เป็นชนิดกลับความธาตุ (ธาตฺวาพาธอุปสคฺค) ส่วน ปติ เป็นอุปสัคกลับความของ อาจมุ ธาตุ นั้น, อา แสดงความที่งูนั้นคายพิษหรือพ่นจากเขี้ยวของตนเข้าไปในร่างกายมนุษย์ ต่อมางูนั้นได้ดูดพิษนั้นกลับคืนมา ดังนั้น ปติ จึงทำหน้าที่กลับความของอาจมุ นั้น.