วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มิลินทปัญหา ๑๗.วิจารวรรค ที่ ๓ (ปัญหาที่ ๒) ปุริมโกฏิปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับที่สุดข้างต้น

๒. ปุริมโกฏิปญฺโห
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ยํ ปเนตํ พฺรูสิ ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายตีติ, ตสฺส โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ ‘‘ยถา, มหาราช, ปุริโส ปริตฺตํ [ปริปกฺกํ (ก.)] พีชํ ปถวิยํ นิกฺขิเปยฺย, ตโต องฺกุโร อุฏฺฐหิตฺวา อนุปุพฺเพน วุฑฺฒิํ วิรูฬฺหิํ เวปุลฺลํ อาปชฺชิตฺวา ผลํ ทเทยฺยฯ ตโต พีชํ คเหตฺวา ปุน โรเปยฺย, ตโตปิ องฺกุโร อุฏฺฐหิตฺวา อนุปุพฺเพน วุฑฺฒิํ วิรูฬฺหิํ เวปุลฺลํ อาปชฺชิตฺวา ผลํ ทเทยฺยฯ เอวเมติสฺสา สนฺตติยา อตฺถิ อนฺโต’’ติ? ‘‘นตฺถิ ภนฺเต’’ติฯ ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, อทฺธานสฺสาปิ ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายตี’’ติฯ
‘‘ภิยฺโย โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ ‘‘ยถา, มหาราช, กุกฺกุฏิยา อณฺฑํ ภเวยฺย, อณฺฑโต กุกฺกุฏี กุกฺกุฏิยา อณฺฑนฺติฯ เอวเมติสฺสา สนฺตติยา อตฺถิ อนฺโต’’ติ? ‘‘นตฺถิ ภนฺเต’’ติฯ ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, อทฺธานสฺสาปิ ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายตี’’ติฯ
‘‘ภิยฺโย โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ เถโร ปถวิยา จกฺกํ ลิขิตฺวา มิลินฺทํ ราชานํ เอตทโวจ ‘‘อตฺถิ, มหาราช, อิมสฺส จกฺกสฺส อนฺโต’’ติ? ‘‘นตฺถิ ภนฺเต’’ติฯ ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, อิมานิ จกฺกานิ วุตฺตานิ ภควตาจกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ, ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส, ผสฺสปจฺจยา เวทนา, เวทนาปจฺจยา ตณฺหา, ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ, อุปาทานปจฺจยา กมฺมํ, กมฺมโต ปุน จกฺขุํ ชายตีติฯ เอวเมติสฺสา สนฺตติยา อตฺถิ อนฺโต’’ติ? ‘‘นตฺถิ ภนฺเต’’ติฯ
‘‘‘โสตญฺจ ปฏิจฺจ สทฺเท จเป.มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ, ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส, ผสฺสปจฺจยา เวทนา, เวทนาปจฺจยา ตณฺหา, ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ, อุปาทานปจฺจยา กมฺมํ, กมฺมโต ปุน มโน ชายตีติฯ เอวเมติสฺสา สนฺตติยา อตฺถิ อนฺโต’’ติ? ‘‘นตฺถิ ภนฺเต’’ติฯ ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, อทฺธานสฺสาปิ ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายตี’’ติฯ
‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ปุริมโกฏิปญฺโห ทุติโยฯ

********

๒. ปุริมโกฏิปญฺโห
ปัญหาเกี่ยวกับที่สุดข้างต้น
๒. ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน ปน ตามที่ ตฺวํ พระคุณเจ้า พฺรูสิ กล่าว ยํ เอตํ (วจนํ) คำใดไว้ว่า โกฏิ ที่สุด ปุริมา เบื้องต้น อทฺธานสฺส ของธรรมอันประกอบด้วยกาล[๑] (ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อันเป็นกองทุกข์ เกวลลสฺส ทั้งหมด เอตสฺส นี้) น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ อิติ ดังนี้ ตฺวํ ขอพระคุณเจ้า กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ อุปมา ตสฺส (วจนสฺส) สำหรับคำนั้นเถิด อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อโวจ ได้ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า ปุริโส บุรุษ นิกฺขิเปยฺย[๒] พึงฝัง พีชํ ซึ่งเมล็ดพืช ปริตฺตํ เล็กน้อย[๓] ปถวิยํ ในพื้นดิน, องฺกุโร ต้นอ่อน อุฏฺฐหิตฺวา งอกขึ้นแล้ว ตโต (พีชโต) จากเมล็ดพันธ์นั้น อาปชฺชิตฺวา ถึงแล้ว วุฑฺฒิํ ซึ่งความเจริญ วิรูฬฺหิํ ซึ่งความงอกงาม เวปุลฺลํ ซึ่งความเติบโต อนุปุพฺเพน ตามลำดับ ทเทยฺย พึงให้ ผลํ ซึ่งผล. ปุริโส บุรุษ คเหตฺวา เก็บ พีชํ เมล็ดพันธ์ (ตโต ผลโต) จากผลนั้น โรเปยฺย แล้วพึงปลูก ปุน อีก, องฺกุโร ต้นอ่อน อุฏฺฐหิตฺวา งอกขึ้นแล้ว ตโตปิ พีชโต จากเมล็ดพืชแม้นั้น อาปชฺชิตฺวา ถึงแล้ว วุฑฺฒิํ ซึ่งความเจริญ วิรูฬฺหิํ ซึ่งความงอกงาม เวปุลฺลํ ซึ่งความใหญ่โต อนุปุพฺเพน ตามลำดับ ทเทยฺย พึงให้ ผลํ ซึ่งผล. (เอตมตฺถํ ตํ ปุจฺฉามิ) อาตมภาพจะทูลถามถึงเรื่องนี้กับมหาบพิตรว่า เอวํ = อิมินา ปรมฺปรสมฺพนฺธเนน ด้วยความสัมพันธ์สืบต่อกันนี้  อนฺโต ที่สุด สนฺตติยา ของการสืบทอดโดยความสัมพันธ์สืบต่อกันของเมล็ดพืช ต้นไม้ และผลที่เกิดขึ้น เอติสฺสา เช่นนี้ อตฺถิ มีอยู่หรือไม่ อิติ ดังนี้?[๔]
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า นตฺถิ ไม่มีหรอก ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โกฏิ ที่สุด ปุริมา ข้างต้น อทฺธานสฺสปิ แม้ของธรรมอันประกอบด้วยกาล น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ เอวเมว โข ฉันนั้น.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสว่า ตฺวํ ขอพระคุณเจ้า กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งอุปมา ภิยโย ให้ยิ่งขึ้น อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า อณฺฑํ ไข่ ภเวยฺย พึงเกิด กุกฺกุฏิยา จากไก่, กุกฺกุฏี ไก่ ภเวยฺย พึงเกิด อณฺฑโต จากไข่, อณฺฑํ ไข่ ภเวยฺย พึงเกิด กุกฺกุฏิยา จากไก่ อิติ เป็นดังนี้,  (เอตมตฺถํ ตํ ปุจฺฉามิ) อาตมภาพจะทูลถามถึงเรื่องนี้กับมหาบพิตรว่า เอวํ ด้วยการเกิดขึ้นอย่างสัมพันธ์สืบต่อกันนี้  อนฺโต ที่สุด สนฺตติยา ของการสืบทอดโดยความสัมพันธ์สืบต่อกันของแม่ไก่และไข่ เอติสฺสา เช่นนี้ อตฺถิ จะมีอยู่หรือ อิติ ดังนี้?
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า นตฺถิ ไม่มีหรอก ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โกฏิ ที่สุด ปุริมา ข้างต้น อทฺธานสฺสปิ แม้ของธรรมอันประกอบด้วยกาล น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ เอวเมว โข ฉันนั้น อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า ตฺวํ ขอพระคุณเจ้า กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งอุปมา ภิยฺโย ให้ยิ่งขึ้นไป อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ ลิขิตฺวา เขียนแล้ว จกฺกํ ซึ่งวงล้อ ปถวิยา บนพื้นดิน อโวจ ได้ทูลถามแล้ว เอตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ราชานํ กะพระราชา มิลินฺทํ พระนามว่ามิลินท์ อิติ ว่า  มหาราช มหาบพิตร อนฺโต ที่สุด อิมสฺส จกฺกสฺส ของวงล้อนี้ อตฺถิ มีอยู่หรือไม่ อิติ ดังนี้?.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า นตฺถิ ไม่มีหรอก ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อโวจ ทูลว่า มหาราช มหาบพิตร อิมานิ จกฺกานิ วงล้อเหล่านี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุตฺตานิ ตรัสแล้ว อิติ ว่า จกฺขุวิญฺญาณํ จักขุวิญญาณ ปฏิจฺจ อาศัย จกฺขุํ จักขุปสาท รูเป จ และรูปท.[๕], สงฺคติ[๖] = สงฺคติยา = สมาคเม เพราะการรวมตัวกัน ติณฺณํ แห่งธรรม ๓ คือ จักขุปสาท รูปารมณ์ วิญญาณ (จิต) ผสฺโส ผัสสะ (ชายติ)  จึงเกิด, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา เวทนา (ชายติ)  จึงเกิด, เวทนาปจฺจยา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตณฺหา ตัณหา (ชายติ)  จึงเกิด, ตณฺหาปจฺจยา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานํ อุปาทาน (ชายติ)  จึงเกิด, อุปาทานปจฺจยา เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย กมฺมํ กรรม (ชายติ)   จึงเกิด, กมฺมโต เพราะกรรม จกฺขุํ จักษุ ชายติ ย่อมเกิดขึ้น ปุน อีก เอวเมว โข ฉันนั้น. เอวํ ด้วยความเกี่ยวเนื่องสืบต่อกันนี้ อนฺโต ที่สุด สนฺตติยา ความสืบต่อที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างธรรมเหล่านี้ เอติสฺสา เช่นนี้ อตฺถิ มีอยู่หรือไม่? อิติ ดังนี้
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า นตฺถิ ไม่มีหรอก ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โกฏิ ที่สุด ปุริมา ข้างต้น อทฺธานสฺสปิ แม้ของธรรมอันประกอบด้วยกาล น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ เอวเมว โข ฉันนั้น อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อโวจ ทูลว่า โสตวิญฺญาณํ โสตวิญญาณ ปฏิจฺจ อาศัยแล้ว โสตํ จ โสตปสาท สทฺเท จ และเสียงท. อุปฺปชฺชติ ฯลฯ [๗]มโนวิญฺญาณํ มโนวิญญาณ ปฏิจฺจ อาศัย มนํ จ หทัยวัตถุ ธมฺเม จ และธรรมท. คือ อารมณ์อันวิญญาณ ๕ ไม่พึงรู้ได้ อุปฺปชฺชติ จึงเกิด. สงฺคติ = สงฺคติยา = สมาคเม ในเพราะการมารวมตัวกัน ติณฺณํ แห่งธรรมสามคือ หทัยวัตถุ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ (จิต) ผสฺโส ผัสสะ (ชายติ)  จึงเกิด, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา เวทนา (ชายติ)  จึงเกิด, เวทนาปจฺจยา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตณฺหา ตัณหา (ชายติ)   จึงเกิด, ตณฺหาปจฺจยา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานํ อุปาทาน (ชายติ)   จึงเกิด, อุปาทานปจฺจยา เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย กมฺมํ กรรม (ชายติ)   จึงเกิด, กมฺมโต เพราะกรรม มโน หทัยวัตถุ ชายติ จึงเกิดขึ้น ปุน อีก เอวเมว โข ฉันนั้น. เอวํ ด้วยความเกี่ยวเนื่องสืบต่อกันนี้ อนฺโต ที่สุด สนฺตติยา ความสืบต่อที่เกี่ยวเนื่องกันของธรรมเหล่านี้ เอติสฺสา อย่างนี้ อตฺถิ มีอยู่หรือไม่? อิติ ดังนี้
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า นตฺถิ ไม่มีหรอก ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โกฏิ ที่สุด ปุริมา ข้างต้น อทฺธานสฺสปิ แม้ของธรรมอันประกอบด้วยกาล น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ เอวเมว โข ฉันนั้น อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน ตฺวํ ท่าน กลฺโล เป็นผู้ฉลาด อสิ ย่อมเป็น อิติ ดังนี้.

ปุริมโกฏิปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับที่สุดข้างต้น
ทุติโย ที่ ๒ นิฏฺฐิโต จบแล้ว.

****************





[๑] ในที่นี้ แปลโดยอธิปเปตัตถนัย เพราะ อทฺธาน ศัพท์ ในที่นี้มิได้หมายเอา กาล หรือระยะทางตามคำศัพท์ แต่หมายถึง ธรรมที่เกิดขึ้นสืบต่ออย่างสัมพันธ์กันโดยเป็นเหตุและผลที่เป็นไปในกาลทั้งสาม.
[๒] นิ + ขิป ความหมายคือ วาง ดังนั้น นิกฺขิเปยฺย = ฐเปยฺย ในที่นี้แปลว่า ฝัง เพื่อให้เห็นกิริยาการเพาะปลูก.
[๓] นัยนี้แปล ปริตฺตํ เป็นวิเสสนะของ พีชํ. อีกนัยหนึ่ง แปล ปริตตฺตํ เป็นวิเสสนะของ นิกฺขิเปยฺย ดังนี้ว่า นิกฺขิเปยฺย พึงฝัง ... ปถวิยํ ในพื้นดิน ปริตฺตํ หน่อยหนึ่ง. บางฉบับเป็น ปริปกฺกํ แปลว่า เมล็ดแก่ ซึ่งเหมาะสมต่อเพาะปลูก.
[๔] ข้อความนี้เป็นคำตอบชนิด ปฏิปุจฉา คือ ย้อนถามให้ผู้ถามตอบก่อน เพื่อให้ผู้ถามเป็นฝ่ายตอบเอง.
[๕] ในที่นี้พระพุทธองค์ยกธรรม ๓ ประการคือ จักขุปสาท รูปารมณ์ และวิญญาณ อันเป็นปัจจัยที่ปรากฏชัดเท่านั้นมาแสดงไว้. ส่วนธรรมอื่น เช่น มนสิการ ความใส่ใจต่ออารมณ์นั้น อาโลก แสงสว่างก็เป็นปัจจัยแก่ผัสสะได้เช่นกัน. (สํ.นิ.ฎี. ๑๖/๔๔). การแสดงเช่นนี้ เรียกว่า อุปลักขณนัย  วิธีที่ยกปัจจัยบางประการมากล่าว แต่สามารถเชื่อมโยงไปปัจจัยอื่นๆ กล่าวคือ  มนสิการ ความใส่ใจต่ออารมณ์นั้น อาโลก แสงสว่าง เป็นต้น ก็ยังเป็นปัจจัยแก่ผัสสะได้เช่นกัน.
[๖] สงฺคติ เป็นบทปฐมาวิภัตติในอรรถสัตตมี และสัตตมีนี้มีอรรถนิมิตตะ คือ เป็นเหตุ. ดังอรรถกถานิทานวรรคสังยุต ขยายความว่า ติณฺณํ สงฺคติยา ผสฺโสฯ (สํ.นิ.อ.๑๖/๔๔) บทว่า สงฺคติ ผสฺโส คือผัสสะพึงเกิดขึ้น ในเพราะการรวมตัวกันแห่งธรรม ๓. ส่วนคัมภีร์มิลินทปัญหาอรรถกถา กล่าวว่า ถ้าเป็นปฐมาวิภัตติ จะได้ความหมายผิดไปจากสภาวะของผัสสะ กล่าวคือ หมู่แห่งธรรม ๓ ชื่อว่า ผัสสะ. ที่จริงผัสสะไม่ใช่กลุ่มธรรมเหล่านั้น แต่เกิดขึ้นเพราะธรรม ๓ นั้นรวมตัวกัน ดังพระบาฬีว่า “สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส” เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงเกิด.  อย่างไรก็ตาม มีข้อความในพระบาฬีสฬายตนสังยุตต์ ว่า อิเมสํ ติณฺณํ ธมฺมานํ สงฺคติ สนฺนิปาโต สมวาโย, อยํ วุจฺจติ จกฺขุสมฺผสฺโส (สํ.สฬา.๑๘/๙๓) ความรวมต้วกัน การประชุมกัน การอยู่ร่วมกัน แห่งธรรม ๓ ประการนี้ เรียกว่า จักขุสัมผัส. กรณีนี้ สงฺคติ เป็นปฐมาวิภัตติ.
[๗] ที่ละไว้ คือ ชิวหาวิญญาณ อาศัย ชิวหาปาทะ และรสารมณ์ท. ย่อมเกิดขึ้น, ฆานวิญญาณ อาศัย ฆานปสาทะ และคันธารมณ์ท. ย่อมเกิดขึ้น, กายวิญญาณ อาศัยกายปสาทะ และโผฏฐัพพารมณ์คือมหาภูตรูป ๓ ย่อมเกิดขึ้น และสำหรับโสตทวาร ผัสสะก็เกิดขึ้น เพราะการรวมตัวกันของธรรม ๓ มีสัททารมณ์เป็นต้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาพึงเกิดขึ้น, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาพึงเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานพึงเกิดขึ้น, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย กรรม พึงเกิดขึ้น เพราะกรรมเป็นปัจจัย จึงมีโสตะอีก. ดังนี้เป็นต้น และในทวารที่เหลืออีก ๓ ก็มีนัยนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น