วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เมณฑกกัณฑ์ - อิทธิพลวรรค - ๑๐. อิทธิพลทัสสนปัญหา ปัญหาว่าด้วยการแสดงกำลังแห่งอิทธิบาท

 

๑๐. อิทฺธิพลทสฺสนปญฺโห

๑๐. อิทธิพลทัสสนปัญหา

ปัญหาว่าด้วยการแสดงกำลังแห่งอิทธิบาท

๑๐. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา ตถาคตสฺส โข, อานนฺท, จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา พหุลีกตา ยานีกตา วตฺถุกตา อนุฏฺฐิตา ปริจิตา สุสมารทฺธา, โส อากงฺขมาโน, อานนฺท, ตถาคโต กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วาติฯ

ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อิทฺธิปาทา อิทธิบาททั้งหลาย[1] จตฺตาโร สี่ ตถาคตสฺส โข อันพระตถาคต ภาวิตา ทรงให้เจริญแล้ว[2] พหุลีกตา ทรงทำให้มากแล้ว[3] ยานีกตา กระทำให้เป็นดุจยานแล้ว[4] วตฺถุกตา ทรงกระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว[5] อนุฏฺฐิตา ทรงให้ตั้งมั่นแล้ว ปริจิตา ทรงสั่งสมไว้แล้ว สุสมารทฺธา ทรงปรารภดีแล้ว, โส ตถาคโต พระตถาคตนั้น อากงฺขมาโน เมื่อทรงหวัง ติฏฺเฐยฺย พึงดำรงอยู่ กปฺปํ วา ตลอด ๑ กัปป์หรือ[6], กปฺปาวเสสํ วา หรือว่า ตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัปป์[7] ดังนี้ (ภควตา) อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตไว้แล้ว.

พระเจ้ามิลินท์ รับสั่งตรัสถามว่า พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า ตถาคตสฺส โข อานนฺท จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา ฯเปฯ โส อากงฺขมาโน อานนฺท ตถาคโต กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วา[8] อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตได้เจริญแล้ว ได้ทำให้มากแล้ว ได้ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ได้ทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว,  อานนท์ ตถาคตนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป ดังนี้.


ปุน จ ภณิตํ อิโต ติณฺณํ มาสานํ อจฺจเยน ตถาคโต ปรินิพฺพายิสฺสตีติฯ

อนึ่ง วจนํ คำนี้ อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต ปรินิพฺพายิสฺสติ จักปรินิพพาน อจฺจเยน โดยล่วงไป มาสานํ แห่งเดือนทั้งหลาย ติณฺณํอิโต (กาลโต) ปฏฺฐาย จำเดิม แต่กาลนี้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตไว้ ปุน อีก ดังนี้.

และตรัสไว้อีกคำหนึ่งว่า อิโต ติณฺณํ มาสานํ อจฺจเยน ตถาคโต ปรินิพฺพายิสฺสติ[9] ล่วงไป ๓ เดือนนับแต่นี้ ตถาคตจักปรินิพพาน ดังนี้.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํ ตถาคตสฺส โข, อานนฺท, จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตาเป.กปฺปาวเสสํ วาติ, เตน หิ เตมาสปริจฺเฉโท มิจฺฉาฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า อิทํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อิทฺธิปาทา อิทธิบาททั้งหลาย จตฺตาโร สี่ ตถาคตสฺส โข อันพระตถาคต ภาวิตา ทรงให้เจริญแล้ว พหุลีกตา ทรงทำให้มากแล้ว ยานีกตา กระทำให้เป็นดุจยานแล้ว วตฺถุกตา ทรงกระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว อนุฏฺฐิตา ทรงให้ตั้งมั่นแล้ว ปริจิตา ทรงสั่งสมไว้แล้ว สุสมารทฺธา ปรารภดีแล้ว, โส ตถาคโต พระตถาคตนั้น อากงฺขมาโน เมื่อทรงหวัง ติฏฺเฐยฺย พึงดำรงอยู่ กปฺปํ วา ตลอด ๑ กัปป์หรือ, กปฺปาวเสสํ วา หรือว่า ตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัปป์ ดังนี้ (ภควตา) อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตไว้แล้ว ดังนี้ เตน หิ ถ้าอย่างนั้น เตมาสปริจฺเฉโท การกำหนดแห่งเดือนสาม มิจฺฉา เป็นอันผิด.

พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตได้เจริญแล้ว ฯลฯ หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป ดังนี้ จริงแล้วไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำพูดที่ตรัสกำหนดกาลไว้ ๓ เดือน  ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด.

 

ยทิ, ภนฺเต, ตถาคเตน ภณิตํ อิโต ติณฺณํ มาสานํ อจฺจเยน ตถาคโต ปรินิพฺพายิสฺสตีติ, เตน หิ ‘‘ตถาคตสฺส โข, อานนฺท, จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตาเป.กปฺปาวเสสํ วาติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า อิทํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต ปรินิพฺพายิสฺสติ จักปรินิพพาน อจฺจเยน โดยล่วงไป มาสานํ แห่งเดือนทั้งหลาย ติณฺณํอิโต ปฏฺฐาย จำเดิม แต่กาลนี้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตไว้" ดังนี้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ แม้คำนั้น อิติ ว่า อิทฺธิปาทา อิทธิบาททั้งหลาย จตฺตาโร สี่ ตถาคตสฺส โข อันพระตถาคต ภาวิตา ทรงให้เจริญแล้ว พหุลีกตา ทรงทำให้มากแล้ว ยานีกตา กระทำให้เป็นดุจยานแล้ว วตฺถุกตา ทรงกระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว อนุฏฺฐิตา ทรงให้ตั้งมั่นแล้ว ปริจิตา ทรงสั่งสมไว้แล้ว สุสมารทฺธา ทรงปรารภดีแล้ว, โส ตถาคโต พระตถาคตนั้น อากงฺขมาโน เมื่อทรงหวัง ติฏฺเฐยฺย พึงดำรงอยู่ กปฺปํ วา ตลอด ๑ กัปป์หรือ, กปฺปาวเสสํ วา หรือว่า ตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัปป์ ดังนี้ มิจฺฉา เป็นคำพูดที่ผิด.

พระคุณเจ้านาคเสน, ถ้าหากพระตถาคต ตรัสไว้ว่า “ล่วงไป ๓ เดือนนับแต่นี้ ตถาคตจักปรินิพพาน” ดังนี้ จริงไซร้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ตรัสไว้ว่า ดูกรอานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตได้เจริญแล้ว ฯลฯ หรือ ตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป” ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด.

 

นตฺถิ ตถาคตานํ อฏฺฐาเน คชฺชิตํฯ อโมฆวจนา พุทฺธา ภควนฺโต ตถวจนา อทฺเวชฺฌวจนาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห คมฺภีโร สุนิปุโณ ทุนฺนิชฺฌาปโย ตวานุปฺปตฺโต, ภินฺเทตํ ทิฏฺฐิชาลํ, เอกํเส ฐปย, ภินฺท ปรวาท’’นฺติฯ

คชฺชิตํ การตรัส อฏฺฐาเน ในสิ่งอันไม่ใช่ฐานะ ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย นตฺถิ ย่อมไม่มี. พุทฺธา ภควนฺโต พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย อโมฆวจนา ไม่ทรงมีพระวาจาไม่เหลวเปล่า ตถวจนา ทรงมีพระวาจาแท้จริง อเทฺววชฺฌวจนา ไม่ทรงมีพระวาจาอันเป็นไปสองอย่าง โหนฺติ ย่อมเป็น, อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง คมฺภีโร ลึกซึ้ง สุนิปุโณ ละเอียดอ่อนนัก ทุนฺนิชฺฌาปโย ขบคิดได้ยาก อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, ตฺวํ ขอท่าน ภินฺท จงทำลาย เอตํ ทิฏฺฐิชาลํ ซึ่งข่ายคือทิฏฐินี้, ฐปย ขอจงตั้งไว้ เอกํเส ในส่วนเดียว, ภินฺท ขอจงทำลาย ปรวาทํ ซึ่งวาทะของเจ้าลัทธิฝ่ายตรงข้าม เถิด" ดังนี้.

พระตถาคตทั้งหลาย ไม่ทรงมีอันตรัสไว้ในฐานะที่ไม่เป็นจริง.  พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทรงมีวาจาเหลวเปล่า ทรงมีพระวาจาแท้จริง ไม่ทรงมีพระวาจาเป็น ๒ อย่าง.  ปัญหาแม้นี้มี ๒ เงื่อน ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนนัก เห็นได้ยาก ตกถึงแก่ท่านแล้ว. ขอท่านจงทำลายข่ายคือทิฏฐิ. จงตั้งไว้ในส่วนเดียว. จงทำลายปรวาทะเสีย.

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา ตถาคตสฺส โข, อานนฺท, จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตาเป.กปฺปาวเสสํ วาติ, เตมาสปริจฺเฉโท จ ภณิโต, โส จ ปน กปฺโป อายุกปฺโป วุจฺจติฯ น, มหาราช, ภควา อตฺตโน พลํ กิตฺตยมาโน เอวมาห, อิทฺธิพลํ ปน มหาราช, ภควา ปริกิตฺตยมาโน เอวมาห ตถาคตสฺส โข, อานนฺท, จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตาเป.กปฺปาวเสสํ วาติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลถวายวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อิทฺธิปาทา อิทธิบาททั้งหลาย จตฺตาโร สี่ ตถาคตสฺส โข อันพระตถาคต ภาวิตา ทรงให้เจริญแล้ว พหุลีกตา ทรงทำให้มากแล้ว ยานีกตา กระทำให้เป็นดุจยานแล้ว วตฺถุกตา ทรงกระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว อนุฏฺฐิตา ทรงให้ตั้งมั่นแล้ว ปริจิตา ทรงสั่งสมไว้แล้ว สุสมารทฺธา ทรงปรารภดีแล้ว, โส ตถาคโต พระตถาคตนั้น อากงฺขมาโน เมื่อทรงหวัง ติฏฺเฐยฺย พึงดำรงอยู่ กปฺปํ วา ตลอด ๑ กัปป์หรือ, กปฺปาวเสสํ วา หรือว่า ตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัปป์ ดังนี้ (ภควตา) อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตแล้ว ดังนี้. และ เตมาสปริจฺเฉโท การกำหนดซึ่งเดือนสาม (ภควตา) อันพระผู้มีพระภาค ภณิโต ตรัสแล้ว, จ ปน ก็แล โส กปฺโป กัปนั้น อายุกปฺโป คือ อายุกัป ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุจฺจติ ย่อมตรัส, มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว เอวํ อย่างนี้ กิตฺตยมาโน เพราะทรงยกย่อง พลํ ซึ่งพระกำลัง อตฺตโน ของพระองค์ หามิได้, ปน แต่ว่า ภควา พระผู้มีพระภาค ปริกิตฺตยมาโน เมื่อทรงยกย่อง อิทฺธิพลํ กำลังแห่งอิทธิบาท อาห จึงตรัสแล้ว เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า  อานนฺท อานนท์ อิทฺธิปาทา อิทธิบาททั้งหลาย จตฺตาโร สี่ ตถาคตสฺส โข อันพระตถาคต ภาวิตา ทรงให้เจริญแล้ว ฯลฯ ติฏฺเฐยฺย พึงดำรงอยู่ กปฺปํ วา ตลอด ๑ กัปป์หรือ, กปฺปาวเสสํ วา หรือว่า ตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัปป์ ดังนี้

พระนาคเสน ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า อานนท์ อิทธิบาท ๔ พระตถาคตได้เจริญแล้ว ฯลฯ หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป ดังนี้จริง. และตรัสกำหนดกาลไว้ ๓ เดือนจริง. ก็แต่ว่า กัปที่ตรัสถึงนั้นคืออายุกัป. มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงตรัสอย่างนี้ หาใช่ว่าจะทรงยกย่องพระกำลัง (ความสามารถ) ของพระองค์เองไม่. ทว่า เมื่อจะทรงยกย่องกำลังแห่งอิทธิบาท จึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตได้เจริญแล้ว ฯลฯ หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป ดังนี้.

 

‘‘ยถา, มหาราช, รญฺโญ อสฺสาชานีโย ภเวยฺย สีฆคติ อนิลชโว, ตสฺส ราชา ชวพลํ ปริกิตฺตยนฺโต สเนคมชานปทภฏพลพฺราหฺมณคหปติกอมจฺจชนมชฺเฌ เอวํ วเทยฺยอากงฺขมาโน เม, โภ, อยํ หยวโร สาครชลปริยนฺตํ มหิํ อนุวิจริตฺวา ขเณน อิธาคจฺเฉยฺยาติ, น จ ตํ ชวคติํ ตสฺสํ ปริสายํ ทสฺเสยฺย, วิชฺชติ จ โส ชโว ตสฺส, สมตฺโถ จ โส ขเณน สาครชลปริยนฺตํ มหิํ อนุวิจริตุํฯ

มหาราช มหาบพิตร อสฺสาชานีโย ม้าตัวอาชาไนย รญฺโญ ของพระราชา สีฆคติ เป็นม้ามีการวิ่งเร็ว อนิลชโว เป็นม้ามีการแล่นไปดุจลม ภเวยฺย พึงเป็น, ราชา พระราชา ปริกิตฺตยนฺโต เมื่อทรงยกย่อง ชวพลํ กำลังแห่งการวิ่งไป ตสฺส แห่งม้านั้น วเทยฺย พึงตรัส สเนคมชานปทภฏพลพฺราหฺมณคหปติกอมจฺจชนมชฺเฌ ในท่ามกลางชุมชน พวกข้าราชการ พราหมณ์ คฤหบดี อำมาตย์ พร้อมทั้งพวกชาวนิคม ชาวชนบททั้งหลาย เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า โภ ท่านผู้เจริญ อยํ หยวโร ม้าประเสริฐ เม ของเรา อากงฺขมาโน เมื่อต้องการ อนุวิจริตฺวา เที่ยวไปแล้ว สาครชลปริยนฺตํ มหิํ สู่แผ่นดิน มีน้ำในทะเลเป็นที่สุด อาคจฺเฉยฺย พึงกลับมา อิธ ในที่นี้ ขเณน โดยครู่หนึ่ง ดังนี้, ทสฺเสยฺย พึงแสดง ชวคติํ ซึ่งการแล่นไปเร็ว ตํ นั้น ปริสายํ ในบริษัท ตสฺสํ นั้น หามิได้, อนึ่ง โส ชโว การแล่นไป นั้น ตสฺส ของม้านั้น วิชฺชติ ย่อมมีอยู่, และ โส ม้านั้น สมตฺโถ เป็นม้าที่สามารถ อนุวิจริตุํ เพื่อวิ่งไป มหิํ สู่แผ่นดิน สาครชลปริยนฺตํ มีน้ำในทะเลเป็นที่สุด ยถา ฉันใด,

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า พระราชาทรงมีม้าอาชาไนยที่วิ่งเร็ว ฝีเท้าจัด พระราชา เมื่อจะทรงยกย่องกำลังฝีเท้าของม้าอาชาไนยนั้น จึงรับสั่งในท่ามกลางชุมชน พวกข้าราชการ พราหมณ์ คฤหบดี อำมาตย์ พร้อมทั้งพวกชาวนิคม ชาวชนบททั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ม้าประเสริฐของเราตัวนี้,  ถ้ามันต้องการ มันก็ย่อมท่องเที่ยวไปยังแผ่นดินใหญ่จนจดขอบทะเล แล้วกลับมาถึงที่นี้ได้โดยฉับพลัน ดังนี้.  พระองค์มิได้ทรงทำฝีเท้าเร็วให้ปรากฏ (ให้เห็นกัน) ในบริษัทนั้น.  ก็ม้าอาชาไนยนั้นมีฝีเท้าเร็วจริง.  และม้าตัวนั้นก็มีความสามารถที่จะเที่ยวไปในแผ่นดินจนจดขอบทะเล แล้วกลับมาได้โดยพลันจริง อุปมาฉันใด. 

 

เอวเมว โข, มหาราช, ภควา อตฺตโน อิทฺธิพลํ ปริกิตฺตยมาโน เอวมาห,

มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว เอวํ อย่างนี้ ปริกิตฺตยมาโน เพราะทรงยกย่อง อิทฺธิพลํ ซึ่งกำลังแห่งอิทธิบาท อตฺตโน ของพระองค์ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

ขอถวายพระพร อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.  พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงยกย่องกำลังแห่งอิทธิบาทของพระองค์ จึงได้ตรัสอย่างนี้. 

 

ตมฺปิ เตวิชฺชานํ ฉฬภิญฺญานํ อรหนฺตานํ วิมลขีณาสวานํ เทวมนุสฺสานญฺจ มชฺเฌ นิสีทิตฺวา ภณิตํ ตถาคตสฺส โข, อานนฺท, จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ภาวิตา พหุลีกตา ยานีกตา วตฺถุกตา อนุฏฺฐิตา ปริจิตา สุสมารทฺธา, โส อากงฺขมาโน, อานนฺท, ตถาคโต กปฺปํ วา ติฏฺเฐยฺย กปฺปาวเสสํ วาติฯ

ตมฺปิ วจนํ พระดำรัสแม้นั้น อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ อิทฺธิปาทา อิทธิบาททั้งหลาย จตฺตาโร สี่ ตถาคตสฺส โข อันพระตถาคต ภาวิตา ทรงให้เจริญแล้ว พหุลีกตา ทรงทำให้มากแล้ว ยานีกตา กระทำให้เป็นดุจยานแล้ว วตฺถุกตา ทรงกระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว อนุฏฺฐิตา ทรงให้ตั้งมั่นแล้ว ปริจิตา ทรงสั่งสมไว้แล้ว สุสมารทฺธา ทรงปรารภดีแล้ว, โส ตถาคโต พระตถาคตนั้น อากงฺขมาโน เมื่อทรงหวัง ติฏฺเฐยฺย พึงดำรงอยู่ กปฺปํ วา ตลอด ๑ กัปป์หรือ, กปฺปาวเสสํ วา หรือว่า ตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัปป์ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค นิสีทิตฺวา ภณิตํ ทรงประทับตรัสแล้ว มชฺเฌ ในท่ามกลาง อรหนฺตานํ แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย เตวิชฺชานํ ผู้มีวิชชาสาม ฉฬภิญฺญานํ มีอภิญญาหก วิมลขีณาสวานํ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้วปราศจากมลทิน ด้วย เทวมนุสฺสานํ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วย.

ประทับตรัสคำนั้น ท่ามกลางพระอรหันต์ขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้ได้วิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่า อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตได้เจริญแล้ว ได้ทำให้มากแล้ว ได้ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ได้ทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว สั่งสมดีแล้ว ปรารภดีแล้ว.  อานนท์ ตถาคตนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือตลอดส่วนเหลือแห่งกัป ดังนี้.

 

วิชฺชติ จ ตํ, มหาราช, อิทฺธิพลํ ภควโต, สมตฺโถ จ ภควา อิทฺธิพเลน กปฺปํ วา ฐาตุํ กปฺปาวเสสํ วา, น จ ภควา ตํ อิทฺธิพลํ ตสฺสํ ปริสายํ ทสฺเสติ, อนตฺถิโก, มหาราช, ภควา สพฺพภเวหิ, ครหิตา จ ตถาคตสฺส สพฺพภวาฯ

มหาราช มหาบพิตร ก็ ตํ อิทฺธิพลํ กำลังแห่งอิทธิบาทนั้น ภควโต ของพระผู้มีพระภาค วิชฺชติ มีอยู่, และ ภควา พระผู้มีพระภาค สมตฺโถ ทรงเป็นผู้สามารถ ฐาตุํ เพื่อดำรงอยู่ กปฺปํ วา ตลอดหนึ่งกัป หรือ วา หรือว่า กปฺปาวเสสํ ตลอดส่วนแห่งกัปที่เหลือ, อนึ่ง ภควา พระผู้มีพระภาค ทสฺเสติ ทรงแสดงอยู่ ตํ อิทฺธิพลํ ซึ่งกำลังแห่งอิทธิบาท[10] ตสฺสํ ปริสายํ ในบริษัทนั้น หามิได้, มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค อนตฺถิโก ทรงเป็นผู้มีความต้องการหามิได้ สพฺพภเวหิ ด้วยภพทั้งปวง, และ สพฺพภวา ภพทั้งปวงทั้งหลาย ตถาคตสฺส อันพระตถาคต ครหิตา ทรงติเตียนแล้ว.

ขอถวายพระพร กำลังแห่งอิทธิบาทนั้น ของพระผู้มีพระภาคก็มีอยู่.  และพระผู้มีพระภาคก็ทรงสามารถที่จะดำรงอยู่ตลอดกัป หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัปด้วยกำลังแห่งอิทธิบาทได้.  แต่ว่า พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงทำกำลังแห่งอิทธิบาทนั้นให้ปรากฏในบริษัทนั้น. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้หาความต้องการด้วยภพทั้งปวงมิได้,  ทั้งภพทั้งปวงก็เป็นสิ่งที่พระตถาคตทรงติเตียนฯ

 

ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา เสยฺยถาปิ, ภิกฺขเว, อปฺปมตฺตโกปิ คูโถ ทุคฺคนฺโธ โหติฯ เอวเมว โข อหํ, ภิกฺขเว, อปฺปมตฺตกมฺปิ ภวํ น วณฺเณมิ อนฺตมโส อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปีติ อปิ นุ โข, มหาราช, ภควา สพฺพภวคติโยนิโย คูถสมํ ทิสฺวา อิทฺธิพลํ นิสฺสาย ภเวสุ ฉนฺทราคํ กเรยฺยา’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนัั้น อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คูโถ ก้อนคูถ อปฺปมตฺตโกปิ แม้มีปริมาณเล็กน้อย ทุคฺคนฺโธ เป็นธรรมชาติมีกลิ่นเหม็น โหติ ย่อมเป็น เสยฺยยถาปิ แม้ฉันใด, ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต น วณฺเณมิ มิได้สรรเสริญ ภวํ ซึ่งภพ อปฺปมตฺตกมฺปิ แม้เป็นภพเล็กน้อย อนฺตมโส โดยที่สุด อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ แม้มีปริมาณเท่ากับการดีดนิ้วหนึ่งขณะเลย[11] เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว ดังนี้ มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ทิสฺวา ทรงเห็นแล้ว สพฺพภวคติโยนิโย ซึ่งภพ คติและกำเนิดทั้ืงปวง คูถสมํ เสมอด้วยก้อนคูถ นิสฺสาย ทรงอาศัยแล้ว อิทฺธิพลํ ซึ่งกำลังแห่งอิทธิบาท กเรยฺย พึงกระทำ ฉนฺทราคํ ซึ่งความกำหนัดยินดี ภเวสุ ในภพทั้งหลาย อปิ นุ โข หรือหนอแล ดังนี้.

ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสความข้อนี้ไว้ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อปฺปมตฺตโกปิ คูโถ ทุคฺคนฺโธ โหติ ฯลฯ อนฺตมโส อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ[12] ภิกษุทั้งหลาย ก้อนคูถแม้เพียงก้อนเล็ก ๆ ก็เป็นของที่มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด.  ภิกษุทั้งหลาย ภพแม้เพียงนิดหน่อย โดยที่สุด แม้เพียงชั่วดีดนิ้วมือครั้งเดียว เราก็ไม่ขอสรรเสริญ ฉันนั้น ดังนี้.  ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคทรงเล็งเห็นภพ คติ โยนิทั้งปวง เสมอด้วยก้อนคูถแล้ว จะอาศัยกำลังแห่งอิทธิบาท ทำฉันทราคะให้เกิดในภพทั้งหลายหรือ ?”

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภควา พระผู้มีพระภาค ทิสฺวา ทรงเห็นแล้ว สพฺพภวคติโยนิโย ซึ่งภพ คติและกำเนิดทั้ืงปวง คูถสมํ เสมอด้วยก้อนคูถ นิสฺสาย ทรงอาศัยแล้ว อิทฺธิพลํ ซึ่งกำลังแห่งอิทธิบาท กเรยฺย พึงกระทำ ฉนฺทราคํ ซึ่งความกำหนัดยินดี ภเวสุ ในภพทั้งหลาย หามิได้ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ หามิได้ พระคุณเจ้า

 

 ‘‘เตน หิ, มหาราช, ภควา อิทฺธิพลํ ปริกิตฺตยมาโน เอวรูปํ พุทฺธสีหนาทมภินที’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลถวายแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค อภินฺทิ ทรงบันลือแล้ว พุทฺธสีหนาทํ ซึ่งพุทธสีหนาท เอวรูปํ มีอย่างนี้เป็นรูป ปริกิตฺตยมาโน เพราะทรงยกย่อง อิทฺธิพลํ ซึ่งกำลังแห่งอิทธิบาท ดังนี.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ยกย่องกำลังแห่งอิทธิบาท จึงทรงบรรลือพุทธสีหนาทที่เป็นอย่างนี้

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีแล้ว อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ วจนํ ซึ่งคำ ตยา วุตฺตํ อันท่านกล่าวแล้ว เอวํ อย่างนี้ ดังนี้

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับตามที่ท่านได้กล่าวมากระนี้ นี้”.

 

อิทฺธิพลทสฺสนปญฺโห ทสโมฯ

อิทฺธิพลทสฺสนปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับการแสดงกำลังแห่งอิทธิบาท  ทสโม ลำดับที่ ๑๐

นิฏฺฐิโต จบแล้ว

อิทธิพลทัสสนปัญหาที่ ๑๐ จบ



[1] ชื่อว่าอิทธิ โดยความหมายว่า เป็นผลสำเร็จ ชื่อว่าบาท โดยความหมายว่าเป็นเหตุเบื้องต้น. บาทแห่งอิทธิ คือ เหตุเบื้องต้นแห่งผลสำเร็จ ชื่อว่าอิทธิบาท มี ๔ อย่าง คือ ๑. ฉันทิทธิบาท (อิทธิบาทคือฉันทะ ความพอใจ) วิริยิทธิบาท (อิทธิบาทคือวิริยะ ความเพียร) จิตติทธิบาท (อิทธิบาทคือจิต) วิมังสิทธิบาท (อิทธิบาทคือวิมังสา ปัญญาตริตรอง) ก็สภาวธรรม ๔ อย่าง มีฉันทะเป็นต้น ชื่อว่าเป็นอิทธิบาท ก็ในคราวที่เจริญอธิกุศล คือสมถะหรือวิปัสสนา โดยพระโยคาวจรกระทำธรรม ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ให้เป็นธุระ คือให้ออกหน้า เป็นประธาน เป็นใหญ่ หมายความว่า มุ่งเจริญกุศลโดยมีความพอใจใคร่จะทำกิจนั้นเป็นใหญ่ หรือมีความเพียรในการทำกิจนั้นเป็นใหญ่ เป็นต้น.

[2] คำว่า ได้เจริญแล้ว คือทำให้เกิดได้แล้ว

[3] คำว่า ได้ทำให้มากแล้ว คือได้เพิ่มพูนแล้ว

[4] คำว่า ยานีกตา ตัดบทเป็น ยาน + กต ลง อีอาคมในท่ามกลาง เหมือนคำว่า กพฬีกาโร, มนสีกาโร, มนสีกโรติ, ตปฺปากฏีกโรติ, ทูรีภูโต, อพฺยยีภาโว  ด้วยสูตรว่า ตทมินาทีนี (นิรุตฺทีปนี, โมคฺ.๑/๔๗).  คำนี้มีวิเคราะห์เป็น ๒ นัย คือ  ๑. ตติยาตัปปุริสสมาสว่า ยานสทิสา (อิทฺธิปาทา) กตา ยานกตา อิทธิบาทอันเป็นดุจยานที่ประกอบไว้ดีแล้ว อันตถาคตทำไว้แล้ว หมายความว่า เป็นดังที่ยานที่ตระเตรียมไว้อย่างดีแล้ว พร้อมที่จะขึ้นได้ทุกขณะที่ปรารถนา ดังคัมภีร์อรรถกถาวินัยปิฎก ปริวาร อธิบายว่า ยานีกตายาติ สุยุตฺตยานสทิสาย กตาย (วิ.อ.๔/๑๘๔) บทว่า ยานีกตาย คือ เมตตา อันเป็นเช่นเดียวกับยานที่ตระเตรียมไว้ดีแล้ว อันภิกษุนั้นทำแล้ว. คัมภีร์ปาจิตติยโยชนาอธิบายเนื้อความนี้ว่า สุยุตฺตยานสทิสายาติ สุุฏฺฐุ ยุตฺเตน ยาเนน สทิสายฯ อิมินา ยานีกตายาติ เอตฺถ น ยํกิญฺจิ ยานํ วิย กตํ โหติ, อถ โข อิจฺฉิติจฺฉิตกฺขเณ อาโรหนียตฺตา สุยุตฺตยานํ วิย กตํ โหตีติ ทสฺเสติฯ บทว่า สุยุตฺตยานสทิสาย คือ อันเช่นเกียวกับยานที่ประกอบไว้ด้วยดี. ด้วยคำนี้ พระอรรถกถาจารย์แสดงว่า ในคำว่า ยานีกตา นี้ ภาวนาจะเป็นอันทำแล้วให้เป็นดุจยานอย่างใดอย่างหนึ่งก็หามิได้, แต่ที่จริง กระทำให้เป็นดุจยานที่ประกอบไว้ดีแล้ว เพราะเป็นยานอันควรขึ้นได้ในทุกขณะที่ปรารถนา. ๒. สัมภาวนบุพพบทกรรมธารยสมาส มีวิเคราะห์ว่า  ยุตฺตยานํ วิย กตาติ ยานีกตา (ที.อ.๒/๑๔) กระทำให้เป็นดุจยานที่เตรียมพร้อมแล้ว.  สำหรับความหมายที่ประสงค์ ถึงความชำนาญ มีกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในทุก ๆ สิ่งที่ต้องการ.

[5] คำว่า ได้ทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยแล้ว คือได้ทำให้เป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต.

[6] คำว่า ตลอดกัป ชื่อว่ากัป ในที่นี้ ได้แก่กำหนดอายุกาล คือประมาณอายุของมนุษย์ในครั้งนั้น ๆ. ก็ประมาณอายุ (อายุเฉลี่ย) ของมนุษย์ สูงสุดคืออสงไขยปี ต่ำสุดคือ ๑๐ ปี ในครั้งกาลแห่งพระศาสดาพระองค์นี้ ประมาณอายุของมนุษย์คือ ๑๐๐ ปี ผู้ใดอายุเกิน ๑๐๐ ปี ไปบ้างก็เล็กน้อย ไม่ถึง ๒๐๐ ปี เพราะฉะนั้น เพราะอานุภาพแห่งพระอิทธิบาทที่ได้ทรงเจริญแล้วเป็นต้น ถ้าหากพระองค์ทรงหวังก็ทรงพระชนม์ชีพอยู่ได้ตลอดกัป คือ ๑๐๐ พรรษา

[7] คำว่า หรือตลอดส่วนที่เหลือแห่งกัป ความว่า ในเวลานั้น พระองค์ทรงพระชนมายุ ๘๐ พรรษา กับมี ๑๐๐ ปี เพราะฉะนั้น ส่วนที่เหลืออยู่แห่งกัปคือ ๒๐ ปี ถ้าหากทรงหวัง ก็จะทรงมีพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีก ๒๐ พรรษา ครบกัป.

[8] ที.มหา. ๑๐/๑๖๗/๙๒, สํ.มหา. ๑๙/๘๒๒/๒๒๖-, องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๗๐/๒๕๖, ขุ.อุ. ๒๕/๕๑/๑๗๙๑๘๐.

[9] ที.มหา. ๑๐/๑๖๘/๙๕, สํ.มหา. ๑๙/๘๒๒/๒๒๙, องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๗๐/๒๕๘, ขุ.อุ. ๒๕/๕๑/๑๘๓-.

[10] ตํ อิทฺธิพลนฺติ เตน อิทฺธิพเลน ลภิตพฺพกปฺปกปฺปาวสฺสฏฺฐานํฯ

คำว่า ทรงแสดงซึ่งกำลังแห่งอิทธิบาทนั้น หมายถึง ทรงแสดงการดำรงอยู่ตลอดกัปหนึ่งหรือตลอดส่วนแห่งกัปที่เหลือ อันควรได้ด้วยกำลังแห่งอิทธิบาทนั้น. (มิลินทฏีกา)

[11] อนฺตมโส อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปีติ สพฺพนฺติเมน ปริจฺเฉเทน อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ กาลํ ปญฺจกฺขธสงฺขาตภวสฺส ปวตฺตนํ น วณฺเณมิ, อปฺปวตฺตนนิพฺพานเมว วณฺเณมีติ อธิปฺปาโยฯ

หมายความว่า เราตถาคตหาได้สรรเสริญความเป็นไปแห่งภพกล่าวคือขันธ์ ๕ ชั่วกาลแพียงการดีดนิ้ว ๑ ขณะเลย โดยกำหนดอันมีในที่สุด, อธิบายว่า เราสรรเสริญพระนิพพานอันมิได้เป็นไปต่างหากเล่า. (มิลินทฏีกา)

[12] องฺ. เอกก. มหาจุฬาเตปิฏก. ๒๐/๓๒๐/๓๖.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น