วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เมณฑกกัณฑ์ - อเภชชวรรค - ๑. ขุททานุขุททกปัญหา ปัญหาว่าด้วยสิกขาบทเล็กและสิกขาบทเล็กน้อย

๒. อเภชฺชวคฺโค

. อเภชชวรรค

๑. ขุทฺทานุขุทฺทกปญฺโห

๑. ขุททานุขุททกปัญหา

ปัญหาว่าด้วยสิกขาบทเล็กและสิกขาบทเล็กน้อย

***

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา อภิญฺญายาหํ, ภิกฺขเว, ธมฺมํ เทเสมิ โน อนภิญฺญายาติฯ ปุน จ วินยปญฺญตฺติยา เอวํ ภณิตํ อากงฺขมาโน, อานนฺท, สงฺโฆ มมจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ สมูหนตูติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, เอตํ พุทธวจนํ พระพุทธพจน์นี้ อิติ ว่า ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อภิญฺญาย รู้ยิ่งแล้ว เทเสมิ จึงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม, อนภิญฺญาย ไม่รู้ยิ่งแล้ว เทเสมิ แสดงอยู่ ธมฺมํ ซึ่งธรรม โน หามิได้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตแล้ว. อนึ่ง เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ สงฺโฆ สงฆ์ อากงฺขมาโน เมื่อต้องการ สมูหนฺตุ จงเพิกถอน สิกฺขาปทานิ ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อย อจฺจเยน โดยการล่วงไป มม แห่งเรา ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสแล้ว เอวํ อย่างนี้ วินยปญฺญตฺติยา ในพระวินัยบัญญัติ ปุน อีก.

พระเจ้ามิลินท์ รับสั่งตรัสถามว่า พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า อภิญฺายาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสสิ โน อนภิญฺาย[1] ภิกษุทั้งหลาย เรารู้แล้วจึงแสดงธรรม ไม่ใช่ยังไม่รู้ก็แสดงธรรม ดังนี้ และยังตรัสไว้ในพระวินัยบัญญัติ อย่างนี้อีกว่า อากงฺขมาโน อานนฺท สํโฆ มมจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ สมูหนตุ[2] อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์เมื่อต้องการ ก็จงเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหลายเถิด ดังนี้

 

กิํ นุ โข, ภนฺเต นาคเสน, ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ ทุปฺปญฺญตฺตานิ, อุทาหุ อวตฺถุสฺมิํ อชานิตฺวา ปญฺญตฺตานิ, ยํ ภควา อตฺตโน อจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ สมูหนาเปติ?

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ขุทฺทานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อย ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ทุปฺปญฺญตฺตานิ ทรงบัญญัติไว้ไม่ดี กิํ นุ โข หรือหนอแล, อุทาหุ หรือว่า ขุทฺทานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อย ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อชานิตฺวา ไม่ทรงทราบแล้ว ปญฺญตฺตานิ ทรงบัญญัติไว้ อวตฺถุสฺมิํ ในเพราะเรื่องอันไม่ใช่เหตุ (แห่งการบัญญัติ) ยํ = ยสฺมา เพราะเหตุใด, (ตสฺมา) เพราะเหตุนั้น  ภควา พระผู้มีพระภาค ภิกษุสงฺฆํ ยังหมู่แห่งภิกษุ สมูหนาเปติ ให้เพิกถอนอยู่ สิกฺขาปทานิ ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทกานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อย อจฺจเยน โดยการล่วงไป อตฺตโน แห่งพระองค์ ดังนี้.

พระคุณเจ้านาคเสน ข้อที่รับสั่งให้สงฆ์เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหลายได้ในคราวที่พระองค์ทรงล่วงลับไปแล้วนั้น เป็นเพราะสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหลายเป็นสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ไม่ดีหรือไร หรือว่า เป็นเพราะเมื่อยังไม่มีเรื่องเกิดขึ้น พระองค์ทรงบัญญัติไว้ เพราะไม่ทรงรู้เล่า ?

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํอภิญฺญายาหํ, ภิกฺขเว, ธมฺมํ เทเสมิ โน อนภิญฺญายาติ, เตน หิ อากงฺขมาโน, อานนฺท, สงฺโฆ มมจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ สมูหนตูติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า ยํ วจนํ พระดำรัสใด ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้แล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อภิญฺญาย รู้ยิ่งแล้ว เทเสมิ จึงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม, อนภิญฺญาย ไม่รู้ยิ่งแล้ว เทเสมิ แสดงอยู่ ธมฺมํ ซึ่งธรรม โน หามิได้ ดังนี้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น   ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น  อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ สงฺโฆ สงฆ์ อากงฺขมาโน เมื่อต้องการ สมูหนฺตุ จงเพิกถอน สิกฺขาปทานิ ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อย อจฺจเยน โดยการล่วงไป มม แห่งเรา ดังนี้ มิจฺฉา เป็นคำพูดผิด.

พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรารู้แล้วจึงแสดงธรรม ไม่ใช่ยังไม่รู้ก็แสดงธรรม ดังนี้ จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ตรัสไว้ว่า อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์เมื่อต้องการ ก็จงเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหลายเถิด ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด

 

ยทิ ตถาคเต วินยปญฺญตฺติยา เอวํ ภณิตํ อากงฺขมาโน, อานนฺท, สงฺโฆ มมจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ สมูหนตูติ เตน หิอภิญฺญายาหํ, ภิกฺขเว, ธมฺมํ เทเสมิ โน อนภิญฺญายาติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

ยทิ ถ้าว่า ยํ วจนํ พระดำรัสใด ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสแล้ว วินยปญฺญตฺติยา ในพระวินัยบัญญัติ เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ สงฺโฆ สงฆ์ อากงฺขมาโน เมื่อต้องการ สมูหนฺตุ จงเพิกถอน สิกฺขาปทานิ ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อย อจฺจเยน โดยการล่วงไป มม แห่งเรา ดังนี้ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น อิติ ว่า ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อภิญฺญาย รู้ยิ่งแล้ว เทเสมิ จึงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม, อนภิญฺญาย ไม่รู้ยิ่งแล้ว เทเสมิ แสดงอยู่ ธมฺมํ ซึ่งธรรม โน หามิได้ ดังนี้ มิจฺฉา เป็นคำพูดผิด.

ถ้าหากพระตถาคตตรัสไว้ในพระวินัยบัญญัติอย่างนี้ว่า อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์เมื่อต้องการก็จงเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหลายเถิด ดังนี้ จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรารู้แล้วจึงแสดงธรรม ไม่ใช่ไม่รู้ก็แสดงธรรม ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด

 

อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห สุขุโม นิปุโณ คมฺภีโร สุคมฺภีโร ทุนฺนิชฺฌาปโย, โส ตวานุปฺปตฺโต, ตตฺถ เต ญาณพลวิปฺผารํ ทสฺเสหี’’ติฯ

อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง สุขุโม อันสุขุม นิปุโณ ละเอียดอ่อน คมฺภีโร ลึกซึ้ง สุคมฺภีโร แสนลึกซึ้ง ทุนฺนิชฺฌาปโย อันบุคคลพึงคิดได้โดยยาก, โส ปญฺโห ปัญหานั้น อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, ตฺวํ ท่าน ทสฺเสหิ จงแสดง ญาณพลวิปฺผารํ ซึ่งการแผ่ไปแห่งกำลังของญาณ เต ของท่าน ตตฺถ ในปัญหานั้น ดังนี้.

ปัญหานี้มี ๒ เงื่อน สุขุมละเอียดอ่อน ลึกซึ้งแสนลึกซึ้ง มองเห็นยาก ปัญหานั้นตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านจงแสดงกำลังญาณที่แผ่ไพศาลของท่านเถิด

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา อภิญฺญายาหํ, ภิกฺขเว, ธมฺมํ เทเสมิ โน อนภิญฺญายาติ, วินยปญฺญตฺติยาปิ เอวํ ภณิตํ อากงฺขมาโน, อานนฺท, สงฺโฆ มมจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ สมูหนตูติ, ตํ ปน, มหาราช, ตถาคโต ภิกฺขู วีมํสมาโน อาห อุกฺกเลสฺสนฺติ นุ โข มม สาวกา มยา วิสฺสชฺชาปียมานา มมจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ, อุทาหุ อาทิยิสฺสนฺตีติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลวิสัชนาถวายแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อภิญฺญาย รู้ยิ่งแล้ว เทเสมิ จึงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม, อนภิญฺญาย ไม่รู้ยิ่งแล้ว เทเสมิ แสดงอยู่ ธมฺมํ ซึ่งธรรม โน หามิได้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตมฺปิ แม้ตรัสไว้แล้ว (จริง), วินยปญฺญตฺติยาปิ แม้ในพระวินัยบัญญัติ มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ สงฺโฆ สงฆ์ อากงฺขมาโน เมื่อต้องการ สมูหนฺตุ จงเพิกถอน สิกฺขาปทานิ ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อย อจฺจเยน โดยการล่วงไป มม แห่งเรา ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตมฺปิ แม้ตรัสไว้แล้ว (อีก), มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ ตถาคโต พระตถาคต อาห ตรัสแล้ว ตํ พระดำรัสนั้นวีมํสมาโน เพราะทรงทดสอบ ภิกฺขู ซึ่งภิกษุทั้งหลาย อิติ ว่า สาวกา สาวกทั้งหลาย มม ของเรา มยา ผู้อันเรา วิสฺสชฺชาปียมานา ปล่อยปละอยู่ (ได้รับอนุญาต) อุกฺกเลสฺสนฺติ จักเลิกล้ม  สิกฺขาปทานิ ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อย อจฺจเยน โดยการล่วงไป มม แห่งเรา อุทาหุ หรือว่า อาทิยิสฺสนฺติ จักเอื้อเฟื้อ นุ โข หรือหนอ ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เารู้แล้วจึงแสดงธรรม ไม่ใช่ยังไม่รู้ก็แสดงธรรม ดังนี้ จริง ตรัสไว้แม้ในพระวินัยบัญญัติอย่างนี้ว่า อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์เมื่อต้องการก็จงเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหลายเถิด ดังนี้ จริง ขอถวายพระพร พระตถาคต เมื่อจะทรงทดสอบภิกษุทั้งหลายว่า สาวกของเราเมื่อเราอนุญาตอยู่ พอเราล่วงลับไปแล้ว จักพากันเลิกล้มสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหลาย หรือว่าจะยังเอื้อเฟื้อกันอยู่หนอ ดังนี้ จึงได้ตรัสคำในพระวินัยบัญญัตินั้นไว้.

 

‘‘ยถา, มหาราช, จกฺกวตฺตี ราชา ปุตฺเต เอวํ วเทยฺย อยํ โข, ตาตา, มหาชนปโท สพฺพทิสาสุ สาครปริยนฺโต, ทุกฺกโร, ตาตา, ตาวตเกน พเลน ธาเรตุํ, เอถ ตุมฺเห, ตาตา, มมจฺจเยน ปจฺจนฺเต ปจฺจนฺเต เทเส ปชหถาติฯ อปิ นุ โข เต, มหาราช, กุมารา ปิตุอจฺจเยน หตฺถคเต ชนปเท สพฺเพ เต ปจฺจนฺเต ปจฺจนฺเต เทเส มุญฺเจยฺยุ’’นฺติ?

มหาราช มหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า ราชา พระราชา จกฺกวตฺตี ผู้จักรพรรดิ วเทยฺย พึงตรัส ปุตฺเต กะพระโอรสทั้งหลาย เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า ตาตา นี่แนะพ่อคุณ มหาชนปโท แว่นแคว้นใหญ่ อยํ นี้ สาครปริยนฺโต มีทะเลเป็นที่สุด สพฺพทิสาสุ ในทิศทั้งปวงทั้งหลาย, ตาตา พ่อคุณเอ๋ย ธาเรตุํ การรักษา (ตํ ชนปทํ) ซึ่งแว่นแคว้นนั้น พเลน ด้วยกำลัง ตาวตเกน มีประมาณเท่านั้น ทุกฺกโร เป็นของอันพวกเธอทำได้โดยยาก, ตุมฺเห เธอทั้งหลาย เอถ จงไปเถิด, ตาตา นี่แน่ะพ่อคุณเอ๋ย ตุมฺเห เธอทั้งหลาย ปชหถ จงละทิ้ง เทเส แว่นแคว้นทั้งหลาย ปจฺจนฺเต ปจฺจนฺเต อันเป็นชายแดนทุกแห่ง อจฺจเยน โดยอันล่วงไป มม แห่งเรา ดังนี้, มหาราช มหาบพิตร เต กุมารา พระราชบุตรทั้งหลายเหล่านั้น มุญฺเจยฺยุํ พึงสละ เทเส ประเทศทั้งหลาย ปจฺจนฺเต ปจฺจนฺเต อันเป็นชายแดนทุกแห่ง หตฺถคเต อันอยู่ในเงื้อมมือแห่งตน อจฺจเยน โดยอันล่วงไป ปิตุ แห่งพระราชบิดา อปิ นุ โข บ้างหรือหนอ ดังนี้.

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประสงค์จะทดสอบ จึงรับสั่งกับพระโอรสทั้งหลายอย่างนี้ว่า นี่แน่ะ พ่อคุณ แว่นแคว้นใหญ่หลวงนี้ไปสิ้นสุดที่มหาสมุทรตลอดทิศทั้งหลายทั้งปวง การที่พวกเจ้าอาศัยกำลังเพียงเท่านั้น รักษาแว่นแคว้นใหญ่นี้เอาไว้ เป็นข้อที่ทำได้ยาก เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว พวกเจ้าจงสละหัวเมืองชายแดนเสียบ้างเถิด ดังนี้ มหาบพิตร เมื่อพระราชนกสวรรคตแล้ว พวกราชกุมารเหล่านั้น ก็ยอมสละหัวเมืองชายแดนทั้งปวงที่อยู่ในเงื้อมมือตน ตามคำของพระราชนกหรือ ขอถวายพระพร

 

‘‘น หิ ภนฺเต, ราชโต[3], ภนฺเต, ลุทฺธตรา กุมารา รชฺชโลเภน ตทุตฺตริํ ทิคุณติคุณํ ชนปทํ ปริคฺคณฺเหยฺยุํ, กิํ ปน เต หตฺถคตํ ชนปทํ มุญฺเจยฺยุ’’นฺติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ เต ราชปุตฺตา พวกราชกุมารเหล่านั้น น มุญฺเจยฺยุํ ไม่พึงสละ เทเส ประเทศทั้งหลาย ปจฺจนฺเต ปจฺจนฺเต อันเป็นชายแดนทุกแห่ง หตฺถคเต อันอยู่ในเงื้อมมือแห่งตน อจฺจเยน โดยอันล่วงไป ปิตุ แห่งพระราชบิดา, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุมารา พวกราชกุมาร ลุทฺธตรา มีความปรารถนายิ่ง ราชโต กว่าพระราชา ปริคฺคณฺเหยฺยุํ พึงถืือเอา ชนปทํ ซึ่งแว่นแคว้น ตทุตฺตริํ อันยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทิคุณติคุณํ เป็นสองสามเท่า รชฺชโลเภน เพราะความโลภในรัชสมบัติ, ปน ก็ เต กุมารา พวกราชกุมารเหล่านั้น มุญฺเจยฺยุํ พึงสละ ชนปทํ ซึ่งแว่นแคว้น หตฺถคตํ ที่อยู่ในเงื้อมมือ กิํ เพราะเหตุไรเล่า ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ หามิได้ พระคุณเจ้า พวกราชกุมารเหล่านั้น มีแต่จะแสวงหาหัวเมืองชนบทให้มากยิ่งขึ้นไปกว่านั้นเป็นทวีคูณ เพราะความโลภต่อราชสมบัติ ไฉนจะยอมสละเมืองที่อยู่ในเงื้อมมืออยู่แล้วเล่า

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต ภิกฺขู วีมํสมาโน เอวมาหอากงฺขมาโน, อานนฺท, สงฺโฆ มมจฺจเยน ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ สมูหนตูติฯ ทุกฺขปริมุตฺติยา, มหาราช, พุทฺธปุตฺตา ธมฺมโลเภน อญฺญมฺปิ อุตฺตริํ ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ โคเปยฺยุํ, กิํ ปน ปกติปญฺญตฺตํ สิกฺขาปทํ มุญฺเจยฺยุ’’นฺติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลถวายแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต ตถาคต อาห ตรัสแล้ว ตํ พระดำรัสนั้น วีมํสมาโน เพราะทรงทดสอบ ภิกฺขู ซึ่งภิกษุทั้งหลาย อิติ ว่า สาวกา สาวกทั้งหลาย มม ของเรา มยา ผู้อันเรา วิสฺสชฺชาปียมานา ปล่อยปละอยู่ (ได้รับอนุญาต) อุกฺกเลสฺสนฺติ จักเลิกล้ม  สิกฺขาปทานิ ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันเล็กตามลำดับ อจฺจเยน โดยการล่วงไป มม แห่งเรา ดังนี้ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล. มหาราช มหาบพิตร พุทฺธปุตฺตา พระพุทธบุตรทั้งหลาย โคเปยฺยุํ พึงคุ้มครอง ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ ซึ่งร้อยแห่งสิกขาบทที่สองด้วยทั้งกึ่ง (จะเต็มจำนวนร้อยที่ ๒ กับอีกกึ่งของร้อย ก็คือ ๑๕๐ สิกขาบท)  อุตฺตริํ อันยิ่งขึ้นไป อญฺญมฺปิ แม้อื่นอีก ธมฺมโลเภน ด้วยความปรารถนาในธรรม ทุกฺขปริมุตฺติยา เพื่อความพ้นรอบจากทุกข์, มุญฺเจยฺยุํ พึงสละ สิกฺขาปทํ ซึ่งสิกขาบท ปกติปญฺญตฺตํ อันเป็นบัญญัติตามปกติ (คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยตะ ๒ นิสสัคคียปาจิตตย์ ๓๐ สุทธิกปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔  และอธิกรณสมถะ ๗) กิํ หรือ ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระตถาคตทรงประสงค์จะทดสอบภิกษุทั้งหลาย จึงรับสั่งอย่างนี้ว่า อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์เมื่อต้องการ ก็จงเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหลายเถิด ดังนี้ ขอถวายพระพร พระพุทธบุตรทั้งหลายมีแต่จะอบรมสิกขาบทอื่น ๆ ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นทวีคูณ เพราะมีความต้องการธรรมเพื่อความพ้นจากทุกข์ จะสละทิ้งสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ตามปกติได้อย่างไร

 

‘‘ภนฺเต นาคเสน, ยํ ภควา อาห ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานีติ, เอตฺถายํ ชโน สมฺมูฬฺโห วิมติชาโต อธิกโต สํสยปกฺขนฺโทฯ กตมานิ ตานิ ขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ, กตมานิ อนุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานีติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว ยํ วจนํ ซึ่งพระดำรัสใด อิติ ว่า สิกฺขาปทานิ สิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทกานุขุทฺทกานิ อันเล็กและอันน้อยตามลำดับ ดังนี้, อยํ ชโน ชนนี้ สมฺมูฬฺโห ไม่รู้แล้ว วิมติชาโต มีความสงสัยเกิดแล้ว สํสยปกฺขนฺโท แล่นไปสู่ความสงสัย อธิกโต โดยยิ่ง เอตฺถ ในคำนี้. สิกฺขาปทานิ สิกขาบททั้งหลาย ขุทฺทกานิ อันเล็ก ตานิ เหล่านั้น กตมานิ อะไรบ้าง, สิกฺขาปทานิ สิกขาบททั้งหลาย อนุขุทฺทกานิ อันเล็กตามลำดับ กตมานิ อะไรบ้าง ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน คำที่ตรัสไว้ว่า สิกขาบทเล็กน้อยดังนี้ ใด ในคำนี้ คนเขายังสับสนเกิดความข้องใจ สงสัยกันอยู่ว่า สิกขาบทเล็กน้อยเป็นไฉน

 

ทุกฺกฏํ, มหาราช, ขุทฺทกํ สิกฺขาปทํ, ทุพฺภาสิตํ อนุขุทฺทกํ สิกฺขาปทํ, อิมานิ ทฺเว ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ, ปุพฺพเกหิปิ, มหาราช, มหาเถเรหิ เอตฺถ วิมติ อุปฺปาทิตา, เตหิปิ เอกชฺฌํ น กโต,  ธมฺมสณฺฐิติปริยาเย ภควตา เอโส ปญฺโห อุปทิฏฺโฐติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลถวายวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ทุกฺกฏํ สิกขาบทที่เป็นทุกกฎ ขุทฺทกํ สิกฺขาปทํ ชื่อว่า สิกขาบทอันเล็ก, ทุพฺภาสิตํ สิกขาบทที่เป็นทุพภาษิต อนุขุทฺทกํ สิกฺขาปทํ ชื่อว่า สิกขาบทเล็กตามลำดับ, สิกฺขาปทานิ สิกขาบททั้งหลาย ทั้งหลาย เทฺว สอง อิมานิ เหล่านี้ ขุทฺทกานุขุทฺทกานิ ชื่อว่า สิกขาบทเล็กและสิกขาบทน้อยตามลำดับ, มหาราช มหาบพิตร วิมติ ความสงสัย ปุพฺพเกหิปิ สงฺคายนฺเตหิ มหาเถเรหิ อันพระมหาเถระทั้งหลายผู้สังคายนาแม้ในกาลก่อน อุปฺปาทิตา ให้เกิดขึ้นแล้ว เอตฺถ สิกฺขาปเทสุ ในสิกขาบทเหล่านี้, เอโส ปญฺโห ปัญหานี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อุปทิฏฺโฐ ทรงยกขึ้นแสดงไว้ (ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ อิติ) ว่าเป็นสิกขาบทเล็กและสิกขาบทเล็กตามลำดับ ธมฺมสณฺฐิติปริยาเย ในเหตุแห่งการตั้งอาบัติ[4]  (เอโส ปญฺโห) ปัญหานี้ เตหิปิ แม้อันพระเถระทั้งหลายเหล่านั้น น กโต ไม่ได้กระทำไว้ เอกชฺฌํ โดยความเป็นอันเดียวกัน ดังนี้[5].

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร สิกขาบทที่เป็นทุกกฏ ชื่อว่าเป็นสิกขาบทเล็ก สิกขาบทที่เป็นทุพภาษิต ชื่อว่าสิกขาบทน้อย. มหาบพิตร พระเถระแต่ครั้งก่อนก็เกิดความข้องใจในสิกขาบทเล็กน้อย ๒ อย่างเหล่านี้ นี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคทรงเล็งเห็นแล้ว แต่พระเถระเหล่านั้นก็ไม่ได้รวบรวมไว้ ในคราวทำสังคายนา

 

จิรนิกฺขิตฺตํ, ภนฺเต นาคเสน, ชินรหสฺสํ อชฺเชตรหิ โลเก วิวฏํ ปากฏํ กต’’นฺติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ชินรหสฺสํ ความลับของพระชินพุทธเจ้า จิรนิกฺขิตฺตํ ที่เก็บงำไว้นาน ตยา อันท่าน วิวฏฺํ เปิดเผยแล้ว กตํ กระทำแล้ว ปากฏํ ให้ปรากฏแล้ว โลเก ในโลก เอตรหิ ณ บัดนี้ อชฺช ในวันนี้ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน ข้อลี้ลับของพระชินเจ้าที่เก็บงำไว้นาน ได้ถูกท่านทำให้เปิดเผย ให้ปรากฏแล้วในโลก ในวันนี้

****

ขุทฺทานุขุทฺทกปญฺโห ปฐโม.

ขุทฺทานุขุทฺทกปญฺโห ขุททกานุขุททกปัญหา ปฐโม ที่ ๑ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

ขุททานุขุททกปัญหาที่ ๑ จบ

****

 



[1] องฺ. ติก. ๒๐/๑๒๖/๒๖๙

[2] วิ. จูฬ. /๔๔๑/๒๗๘, ที.มหา. ๑๐/๒๑๖/๑๓๕.

[3] ราชโต เป็นวิภัตตอปาทาน ใน ลุทฺธตรา.  ฉบับสีหล เป็น ราชาโน แปลตามฉบับนี้ จะได้ว่า ราชาโน พระราชาทั้งหลาย ลุทฺธตรา มีความปรารถนาเป็นยิ่งนัก.

[4] ธมฺม ศัพท์ ในที่นี้ หมายถึง อาบัติ,  สณฺฐิติ คือ ความตั้งอยู่, ธมฺมสณฺฐิติ คือ ตั้งอยู่เป็นธรรมคืออาบัติ, ปริยาย ศัพท์ มีอรรถการณ มีความหมายว่า ในเพราะเหตุแห่งการตั้งอยู่โดยความไม่ปะปนกับอาบัติที่ยกขึ้นสู่สังคีติ (มิ.อ).  ในนิสสยะฉบับล้านนาว่า ปริยาย มีอรรถ อเนกนฺตภาว ไม่แน่นอน และอธิบายข้อความนี้ว่า อาปตฺติสณฺฐิติยา อเนกนฺตภาเวน ด้วยภาวะอันเป็นอเนกันตะแห่งกิริยาอันตั้งอยู่แห่งอาบัติ (มิ.นิส.ล.๒/๑๓๔).,  ในมิลินทฏีกา แสดงว่า มีอรรถเทศนา หมายความว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ โดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งอยู่แห่งอาบัติ ดังที่ตรัสไว้ในพระบาฬีมหาวิภังค์ (๒/๒๔๔) ว่า "ยญฺจ ตตฺร อาปตฺติํ อาปนฺโน, ตญฺจ ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ แต่ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะสมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตามธรรม" (คือ ไม่ได้ทรงชี้ชัดว่าเป็นอาบัติในเพราะสิกขาบทใด แต่ให้ปรับอาบัติไปตามสมควรแห่งสิกขาบท คือ ที่ควรออกจากอาบัติด้วยการแสดงก็พึงแสดงอาบัติ, ที่ต้องออกจากอาบัติด้วยวุฏฐานวิธี ก็พึงอยู่กรรมนั้น). 

ข้อความว่า เตหิปิ เอกชฺฌํ น กโต ธมฺมสณฺฐิติปริยาเย ภควตา เอโส ปญฺโห อุปทิฏฺโฐติ ดังนี้นี้ มิลินทฏีกาอธิบายว่า อตฺตโน จิตฺตนิฏฺฐา เอกนฺตภาเวน น กตา. ธมฺมสณฺฐิติปริยาเยนาติ "ยญฺจ ตตฺร อาปตฺติํ อาปนฺโน, ตญฺจ ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ"ติ วุตฺตธมฺมสณฺฐิติปริยาเยน.  ปัญหาเหล่านั้น อันพระเถระ ๕๐๐ รูปที่ประชุมกันในคราวทำปฐมสังคายนา ไม่ให้สำเร็จด้วยความคิดแห่งตน  ทำโดยความเป็นอย่างแน่นอนว่า นี้เป็นอาบัติเล็ก นี้เป็นอาบัติน้อย. เอกชฺฌํ ศัพท์ แก้เป็น เอกนฺตภาเวน โดยความเป็นอย่างเดียว (คือ แน่นอน).

ในที่นี้แปลโดยนัยที่อรรถกถามิลินทปัญหาประกอบไว้ให้ ดังนี้ว่า

เอกชฺฌํ น กโตติ กตโม โส เอกชฺฌํ น กโต. ธมฺมสณฺฐิติปริยาเยติ สงฺคีติยา สมารุฬฺหสฺส ธมฺมสฺส อสมฺมิสฺสภาเวน สณฺฐิติยา การเณ. เอโส ปญฺโหติ ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานีติ เอโส ปญฺโห ภควตา อุปทิฏฺโฐ, โส ปญฺโห เตหิปิ เอกชฺฌํ น กโต

ปัญหาที่พระมหาเถระ ๕๐๐ รูปในคราวสังคายนาไม่ได้กระทำไว้โดยเป็นอันเดียวกัน คือ ปัญหาอะไร, ปัญหานั้น คือ ปัญหาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ว่าเป็นสิกขาบทเล็กและสิกขาบทเล็กตามลำดับ เพราะเหตุแห่งความไม่ปะปนกับอาบัติที่ขึ้นสู่สังคายนา, ปัญหานี้ พระเถระไม่ได้กระทำไว้โดยความเป็นอันเดียวกัน.

กิญฺจาปิ น กโต, อถ โข "กตมานิ ตานิ อาวุโส อุปาลิ ขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ, กตมานิ อนุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานีติ มหากสฺสเปน ปุจฺฉิโต. อุปาลิตฺเถเรน "ทุกฺกฏํ ภนฺเต กสฺสป ขุทฺทกํ สิกฺขาปทํ, ทุพฺภาสิตํ อนุขุทฺทกํ สิกฺขาปทฺ"ติ วิภชฺช ปญฺโห วิสฺสชฺชิโต.วิสฺสชิตปริโยสาเน เตหิปิ ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ ทุกฺกฏํ ขุทฺทกํ สิกฺขาปทํ, ทุพฺภาสิตํ อนุขุทฺทกํ สิกฺขาปทนฺติ วิภชฺช เอโส ปญฺโห สงฺคายิตุํ ยุตฺโตปิ น สงฺคายิตพฺโพ, ตสฺมา ตานิ ขุทฺทานุขุทฺทกานิ สิกฺขาปทานิ ทุกฺกฏํ ขุทฺทกํ, ทุพฺภาสิตํ อนุขุทฺทกนฺติ วินยปญฺญตฺติยํ น ทิสฺสนฺติ. (ขุทฺทานุขุทฺทกปญฺหํ ปฐมํ)

แม้จะไม่ได้กระทำไว้ก็จริง แต่กระนั้น พระอุบาลีเถระ ครั้นได้รับการสอบถามจากพระมหากัสสปเถระ จึงได้วิสัชนาแยกกันว่า “ทุกกฏสิกขาบทคือสิกขาบทเล็ก, ทุพภาษิตสิกขาบทคือสิกขเล็กตามลำดับ”. แม้ปัญหานั้นควรจะสวดร้อยกรองแยกกันโดยนัยดังกล่าวนั้น  แต่พระมหาเถระเหล่านั้นก็มิพึงสวดร้อยกรอง แม้ในเวลาที่สิ้นสุดลงแห่งการวิสัชนา (เหมือนอาบัติอื่น), เพราะเหตนั้น สิกขาบทเล็กและสิกขาบทเล็กตามลำดับเหล่านั้น ก็คือ สิกขาบทที่เป็นทุกกฏและสิกขาบทที่เป็นทุพภาษิต จึงไม่ปรากฏในพระวินัยบัญญัติ.

[5] คือ สิกขาบท ๒ อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในคราวที่บัญญัติสิกขาบทโดยแยกออกจากอาบัติ ๗ ประเภทมีปาราชิกเป็นต้น  ซึ่ง ๒ ประเภทนี้ นี้ พระมหาเถระ ๕๐๐ รูปนั้นไม่ได้ยกขึ้นสู่สังคายนาร่วมกับสิกขาบท ๗ กองนั้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น