วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

๒. อเภชชวรรค ๔. มัจจุปาสมุตติปัญหา ปัญหาว่าด้วยความหลุดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ

๔. มจฺจุปาสมุตฺติปญฺโห

. มัจจุปาสมุตติปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความหลุดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า

น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ

ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส

น วิชฺชตี โส ชคฺคติปฺปเทโส

ยตฺถฏฺฐิโก มุจฺเจยฺย มจฺจุปาสา[๑]

สเจ ถ้าว่า โกจิ สัตว์ไรๆ (ฐิโตปิ) แม้ดำรงอยู่แล้ว อนฺตลิกฺเข ในอากาศ น มุจฺเจยฺย ไม่พึงพ้น มจฺจุปาสา จากบ่วงแห่งมัจจุ วา หรือ, วา หรือว่า (ฐิโตปิ) แม้ดำรงอยู่แล้ว สมุทฺทมชฺเฌ ในท่ามกลางมหาสมุทร น มุจฺเจยฺย ไม่พึงพ้น มจฺจุปาสา จากบ่วงแห่งมัจจุ, หรือว่า ปวิสฺส = ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว วิวรํ สู่ช่อง ปพฺพตานํ แห่งภูเขาทั้งหลาย (ฐิโตปิ) แม้ดำรงอยู่แล้ว น มุจฺเจยฺย ไม่พึงพ้น มจฺจุปาสา จากบ่วงแห่งมัจจุ โส สตฺโต สัตว์นั้น ฐิโต ดำรงอยู่แล้ว ยตฺถ ในที่ใด มุจฺเจยฺย พึงพ้น มจฺจุปาสา จากบ่วงแห่งความตาย, โส ชคฺคติปฺปเทโส[๒] ภูมิประเทศนั้น น วิชฺชตี ย่อมไม่มี ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตไว้แล้ว.

 

‘‘ปุน ภควตา ปริตฺตา จ อุทฺทิฏฺฐาฯ เสยฺยถิทํ, รตนสุตฺตํ เมตฺตสุตฺตํ ขนฺธปริตฺตํ โมรปริตฺตํ ธชคฺคปริตฺตํ อาฏานาฏิยปริตฺตํ องฺคุลิมาลปริตฺตํฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, อากาสคโตปิ สมุทฺทมชฺฌคโตปิ ปาสาทกุฏิเลณคุหาปพฺภารทริพิลคิริ วิวรปพฺพตนฺตรคโตปิ น มุจฺจติ มจฺจุปาสา, เตน หิ ปริตฺตกมฺมํ มิจฺฉาฯ ยทิ ปริตฺตกรเณน มจฺจุปาสา ปริมุตฺติ ภวติ, เตน หิ น อนฺตลิกฺเขเป.มจฺจุปาสาติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห คณฺฐิโตปิ คณฺฐิตโร ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

อนึ่ง ปริตฺตา ปริตรทั้งหลาย ภควตา อันพระผูมีพระภาค อุทฺทิฏฺฐา ทรงแสดงไว้ ปุน อีก, เสยฺยถีทํ ได้แก่ รตนสุตฺตํ รตนสูตร เมตฺตสุตฺตํ เมตตาสูตร ขนฺธปริตฺตํ ขันธปริต โมรปริตฺตํ โมรปริตร, ธชคฺคปริตฺตํ ธชัคคปริต, อาฏานาฏิยปริตฺตํ อาฏานาฏิยปริตร, องฺคุลิมาลปริตฺตํ อังคุลิมาลปริตร. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า สตฺโต สัตว์ อากาสคโตปิ แม้เป็นผู้ไปในอากาศ ก็ดี, สมุททมชฺฌคโตปิ แม้เป็นผู้ไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ดี ปาสารท กุฏิ เลณ คุหา ปพฺภาร ทริ พิล คิริวิวร ปพฺพตนฺตรคโตปิ แม้เป็นผู้ไปในปราสาท กระท่อม ที่เร้น ถ้ำ เงื่อมเขา ซอกเขา ปล่อง และระหว่างภูเขา น มุจฺจติ ย่อมไม่พ้น มจฺจุปาสา จากบ่วงแห่งความตาย ไซร้, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ปริตฺตกมฺมํ การทำ (คือสวด)พระปริตร มิจฺฉา เป็นอันผิด. ยทิ ถ้าหากว่า ปริมุตตฺติ การหลุดพ้น มจฺจุปาสา จากบ่วงแห่งความตาย ภวติ จะมีได้ ปริตฺตกรเณน ด้วยการสวดพระปริตรไซร้, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ แม้คำว่า สเจ ถ้าว่า โกจิ สัตว์ไรๆ ปวิสฺส = ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว อนฺตลิกฺเข ในอากาศ น มุจฺเจยฺย ไม่พึงพ้น มจฺจุปาสา จากบ่วงแห่งมัจจุ วา หรือ ฯลฯ โส ชคฺคติปฺปเทโส ภูมิประเทศนั้น น วิชฺชตี ย่อมไม่มี ดังนี้ มิจฺฉา เป็นอันผิดไป. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ อุภโต โกฏิโก มีที่สุด โดยส่วนสอง คณฺฐตโร เป็นเงื่อมปม คณฺฐิโตปิ แม้กว่าปม อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ พึงแถลงไข เถิด ดังนี้

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช ภควตา น อนฺตลิกฺเขเป.มจฺจุปาสาติ, ปริตฺตา จ ภควตา อุทฺทิฏฺฐา, ตญฺจ ปน สาวเสสายุกสฺส วยสมฺปนฺนสฺส อเปตกมฺมาวรณสฺส, นตฺถิ, มหาราช, ขีณายุกสฺส ฐิติยา กิริยา วา อุปกฺกโม วาฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถวายพระพรวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า สเจ ถ้าว่า โกจิ สัตว์ไรๆ ปวิสฺส = ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว อนฺตลิกฺเข ในอากาศ น มุจฺเจยฺย ไม่พึงพ้น มจฺจุปาสา จากบ่วงแห่งมัจจุ วา หรือ ฯลฯ โส ชคฺคติปฺปเทโส ภูมิประเทศนั้น น วิชฺชตี ย่อมไม่มี ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตไว้แล้ว.อนึ่ง ปริตฺตา ปริตรทั้งหลาย ภควตา อันพระผูมีพระภาค อุทฺทิฏฺฐา ก็ยังได้ทรงแสดงไว้, ก็ ตํ ปริตฺตอุทฺทิสนํ การยกพระปริตรขึ้นแสดงนั้น โหติ ย่อมมี ปุคฺคลสฺส เพื่อบุคคลผู้มีอายุเหลืออยู่ วยสมฺปนฺนสฺส มีความสมบูรณ์ด้วยวัย อเปตกมฺมาวรณสฺส ผู้มีกัมมาวรณ์ปราศไป[๓], มหาราช มหาบพิตร กิริยา วา การกระทำ หรือ อุปปกฺกโม วา หรือว่า ความพยายาม ฐิติยา เพื่อการดำรงอยู่ (ชีวิตสฺส) ของชีวิต ขีณายุกสฺส แห่งบุคคลผู้มีอายุสิ้นแล้ว นตฺถิ ย่อมไม่มีดังนี้.

 

‘‘ยถา มหาราช มตสฺส รุกฺขสฺส สุกฺขสฺส โกฬาปสฺส นิสฺเนหสฺส อุปรุทฺธชีวิตสฺส คตายุสงฺขารสฺส กุมฺภสหสฺเสนปิ อุทเก อากิรนฺเต อลฺลตฺตํ วา ปลฺลวิตหริตภาโว วา น ภเวยฺยฯ เอวเมว โข, มหาราช, เภสชฺชปริตฺตกมฺเมน นตฺถิ ขีณายุกสฺส ฐิติยา กิริยา วา อุปกฺกโม วา, ยานิ ตานิ, มหาราช, มหิยา โอสธานิ เภสชฺชานิ, ตานิปิ ขีณายุกสฺส อกิจฺจกรานิ ภวนฺติฯ สาวเสสายุกํ, มหาราช, วยสมฺปนฺนํ อเปตกมฺมาวรณํ ปริตฺตํ รกฺขติ โคเปติ, ตสฺสตฺถาย ภควตา ปริตฺตา อุทฺทิฏฺฐาฯ

มหาราช มหาบพิตร เปรียบเหมือนว่า รุกฺขสฺส เมื่อต้นไม้ มตสฺส อันตายแล้ว สุกฺขสฺส อันแห้งแล้ว โกฬาปสฺส อันผุ นิสฺเนหสฺส ปราศจากยาง อุปรุทฺธชีวิตสฺส มีชีวิตอันดับแล้ว คตายุสงฺขารสฺส มีอายุแห่งสังขารอันถึงแล้ว อุทเก เมื่อน้ำ อากิรนฺเต อันบุคคลราดรดอยู่ กุมฺภสหสฺเสนปิ แม้ด้วยพันแห่งหม้อ, อลฺลตฺตํ วา ความเป็นต้นไม้สด หรือว่า, ปลฺลวิตหริตภาโว วา หรือว่า ความเป็นต้นไม้มีใบอ่อนและเป็นของชุ่มเขียว น ภเวยฺย ไม่พึงมี ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร กิริยา วา การกระทำ หรือ, อุปกฺกโม วา หรือว่า ความพยายาม ฐิติยา เพื่อการดำรงอยู่ (ชีวิตสฺส) แห่งชีวิต ขีณายุกสฺส แห่งบุคคลผู้มีอายุสิ้นแล้ว เภสชฺชปริตฺตกมฺเมน ด้วยยาและการกระทำพระปริตร นตฺถิ ย่อมไม่มี เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล, มหาราช มหาบพิตร โอสธานิ โอสถทั้งหลาย เภสชฺชานิ ยาทั้งหลาย มหิยา บนแผ่นดิน ยานิ ตานิ นั้นเหล่าใด, ตานิปิ แม้โอสถและยาทั้งหลายเหล่านั้น อกิจฺจกรานิ เป็นของไม่กระทำกิจที่ควรทำ ขีณายุกสฺส แห่งบุคคลผู้มีอายุสิ้นแล้ว ภวนฺติ ย่อมเป็น. มหาราช มหาบพิตร ปริตฺตํ พระปริตร รกฺขติ ย่อมรักษา โคเปติ ย่อมคุ้มครอง ปุคฺคลํ ซึ่งบุคคล สาวเสสยุกํ ผู้ยังมีอายุเหลืออยู่ วยสมฺปนฺนํ มีวัยอันถึงพร้อมแล้ว อเปตกมฺมาวรณํ มีกรรมาวรณ์อันไปปราศแล้ว, ปริตฺตา พระปริตร ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อุทฺทิฏฺฐา ทรงยกขึ้นแสดงแล้ว อตถาย เพื่อประโยชน์ ตสฺส ปุคฺคลสฺส แก่บุคคลนั้น.

 

‘‘ยถา, มหาราช, กสฺสโก ปริปกฺเก ธญฺเญ มเต สสฺสนาเฬ อุทกปฺปเวสนํ วาเรยฺย, ยํ ปน สสฺสํ ตรุณํ เมฆสนฺนิภํ วยสมฺปนฺนํ, ตํ อุทกวฑฺฒิยา วฑฺฒติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ขีณายุกสฺส เภสชฺชปริตฺตกิริยา ฐปิตา ปฏิกฺขิตฺตา, เย ปน เต มนุสฺสา สาวเสสายุกา วยสมฺปนฺนา, เตสํ อตฺถาย ปริตฺตเภสชฺชานิ ภณิตานิ, เต ปริตฺตเภสชฺเชหิ วฑฺฒนฺตี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร ธญฺเญ เมื่อข้าวเปลือก ปริปกฺเก สุกแล้ว สสฺสนาเฬ เมื่อต้นข้าว มเต ตายแล้ว กสฺสโก ชาวนา วาเรยฺย พึงห้าม อุทกปฺปเวสนํ ซึ่งการเข้าไปแห่งน้ำ, ปน แต่ว่า สสฺสํ ข้าวกล้า ตรุณํ ต้นอ่อน เมฆสนฺนิภํ อันอาศัยฝน วยสมฺปนฺนํ สมบูรณ์ด้วยวัย ยํ ใด,ตํ สสฺสํ ข้าวกล้านั้น วฑฺฒติ ย่อมเจริญ อุทกวฑฺฒิยา ด้วยความเพิ่มแห่งน้ำ ยถา ฉันใด. มหาราช มหาบพิตร เภสชฺชปริตฺตกิริยา ยาและการกระทำพระปริตร ฐปิตา ที่ตั้งไว้ ขีณายุกสฺส แห่งบุคคลผู้มีอายุสิ้นแล้ว ปฏิกฺขิตฺตา ทรงปฏิเสธแล้ว, ปน แต่ เย เต มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลายเหล่าใด สาวเสสายุกา มีอายุยังเหลืออยู่ วยสมฺปนฺนา ถึงพร้อมแล้วด้วยวัย, ปริตฺตเภสชฺชานิ พระปริตรและยา ภณิตา อันพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสแล้ว อตฺถาย เพื่อประโยชน์ เตสํ ปุคฺคลานํ แก่บุคคลเหล่านั้น,  เต ปุคฺคลา บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น วฑฺฒนฺติ ย่อมเจริญ ปริตฺตเภสชฺเชหิ ด้วยพระปริตรและยาทั้งหลาย เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

 

‘‘ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ขีณายุโก มรติ, สาวเสสายุโก ชีวติ, เตน หิ ปริตฺตเภสชฺชานิ นิรตฺถกานิ โหนฺตี’’ติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้า ขีณายุโก ผู้อายุสิ้นแล้ว มรติ ย่อมตาย, สาวเสสา ผู้มีอายุเหลืออยู่ ชีวติ ย่อมเป็นอยู่ ไซร้, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ปริตฺตเภสชฺชานิ พระปริตรและยาทั้งหลาย นิรตฺถกานิ เป็นอันเปล่าประโยชน์ โหนฺติ ย่อมเป็น ดังนี้.

‘‘ทิฏฺฐปุพฺโพ ปน ตยา, มหาราช, โกจิ โรโค เภสชฺเชหิ ปฏินิวตฺติโต’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ โกจิ โรโค โรคไรๆ เภสชฺเชหิ อันยาทั้งหลาย ปฏินิวตฺโต ให้กลับคืน ตยา อันมหาบพิตร ทิฏฺฐปุพฺโพ ทรงเห็นแล้วในกาลก่อน หรือไม่? ดังนี้.

 

‘‘อาม, ภนฺเต, อเนกสตานิ ทิฏฺฐานี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อเนกสตานิ โรคานิ โรคนับร้อยชนิด เภสชฺเชหิ อันยาทั้งหลาย ปฏินิวตฺตานิ ให้กลับคืน มยา อันเรา ทิฏฺฐานิ ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, มหาราช, ‘ปริตฺตเภสชฺชกิริยา นิรตฺถกาติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉา ภวตี’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า ปริตฺตเภสชฺชกิริยา กิจอันพึงทำด้วยปริตรและยา นิรตฺถกา เป็นอันไร้ประโยชน์ ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิด ภวติ ย่อมเป็น ดังนี้.

 

‘‘ทิสฺสนฺติ, ภนฺเต นาคเสน, เวชฺชานํ อุปกฺกมา, เตน เตสํ อุปกฺกเมน โรโค ปฏินิวตฺตตี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เภสชฺชปานานุเลปา การให้ดื่มและการทายา อุปกฺกมา อันเป็นความพยายาม เวชฺชานํ แห่งหมอทั้งหลาย ทิสฺสนฺติ ปรากอยู่ให้เห็น, เตน เพราะเหตุนั้น โรโค โรค ปฏินิวตฺตติ ย่อมคลายคืน อุปกฺกเมน เพราะการตั้งใจทำงาน เตสํ เวชชานํ แห่งหมอทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้.

 

‘‘ปริตฺตานมฺปิ, มหาราช, ปวตฺตียมานานํ สทฺโท สุยฺยติ, ชิวฺหา สุกฺขติ, หทยํ พฺยาวฏฺฏติ, กณฺโฐ อาตุรติฯ เตน เตสํ ปวตฺเตน สพฺเพ พฺยาธโย วูปสมนฺติ, สพฺพา อีติโย อปคจฺฉนฺตีติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร สทฺโท เสียง ปริตฺตานมฺปิ แม้แห่งพระปริตรทั้งหลาย ปวตฺตียมานานํ อันบุคคลให้เป็นไปอยู่ อญฺเญหิ ปุคฺคเลหิ อันบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่น สุยฺยติ ย่อมได้ยิน, ชิวฺหา ลิ้น (หมายถึง น้ำลายที่ลิ้นแห้ง) สุกฺขติ ย่อมแห้งไป, หทยํ หัวใจ พฺยาวฏฺฏติ ย่อมเต้นแรง (เหนื่อย), กณฺโฐ คอ อาตุรติ ย่อมระบม, พฺยาธโย ความเจ็บป่วย สพฺเพ ทั้งปวง วูปสมนฺติ ย่อมสงบไป, อีติโย เสนียดจัญไร สพฺพา ทั้งปวง อปคจฺฉนฺติ ย่อมปราศจากไป เตน ปวตฺเตน เพราะความเป็นไปนั้น เตสํ ปริตฺตานํ แห่งปริตรทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้

 

‘‘ทิฏฺฐปุพฺโพ ปน ตยา, มหาราช, โกจิ อหินา ทฏฺโฐ มนฺตปเทน วิสํ ปาตียมาโน วิสํ จิกฺขสฺสนฺโต อุทฺธมโธ อาจมยมาโน’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร โกจิ ปุคคโล บุคคลไร อหินา อันงู ทฏฺโฐ กัดแล้ว วิสํ ยังพิษ ปาตียมาโน ให้ตกไปอยู่ วิสํ ยังพิษ จิกฺขสฺสนฺโต ให้พินาศอยู่ วิสํ ยังพิษ อาจมยมาโน ย่อมให้สำรอกออก อุทฺธมโธ ทั้งบนและล่าง ตยา อันมหาบพิตร ทิฏฺฐปุพฺโพ เคยเห็นบ้างไหม? ดังนี้

 

‘‘อาม, ภนฺเต, อชฺเชตรหิปิ ตํ โลเก วตฺตตี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่ เอตรหิปิ แม้บัดนี้ ตํ กรณํ การกระทำนั้น วตฺตติ ยัังเป็นไป โลเก ในโลก อขฺช มาถึงวันนี้ ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, มหาราช, ‘ปริตฺตเภสชฺชกิริยา นิรตฺถกาติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉา ภวติฯ กตปริตฺตญฺหิ, มหาราช, ปุริสํ ฑํสิตุกาโม อหิ น ฑํสติ, วิวฏํ มุขํ ปิทหติ, โจรานํ อุกฺขิตฺตลคุฬมฺปิ น สมฺภวติ, เต ลคุฬํ มุญฺจิตฺวา เปมํ กโรนฺติ, กุปิโตปิ หตฺถินาโค สมาคนฺตฺวา อุปรมติ, ปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธปิ อุปคนฺตฺวา นิพฺพายติ, วิสํ หลาหลมฺปิ ขายิตํ อคทํ สมฺปชฺชติ, อาหารตฺถํ วา ผรติ, วธกา หนฺตุกามา อุปคนฺตฺวา ทาสภูตา สมฺปชฺชนฺติ, อกฺกนฺโตปิ ปาโส น สํวรติ [น สํจรติ (สี.)]

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า ปริตฺตเภสชฺชกิริยา กิจอันพึงทำด้วยปริตรและยา นิรตฺถกา เป็นอันไร้ประโยชน์ ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิด ภวติ ย่อมเป็น ดังนี้. มหาราช มหาบพิตร หิ แท้ที่จริง อหิ งู ฑํสิตุกาโม หากอยากกัด น ฑํสติ ก็ไม่กัด ปุริสํ ซึ่งบุรุษ กตปริตฺตํ ผู้ได้ร่ายพระปริตรแล้ว, ปิทหติ ย่อมหุบ มุขํ ซึ่งปาก วิวฏํ ที่อ้าออก, อุกฺขิตฺตลคุฬมฺปิ แม้ไม้ค้อนอันยกขึ้นแล้ว โจรานํ แห่งโจรทั้งหลาย น สมฺภวติ ย่อมไม่มี, เต โจรา พวกโจร มุญจิตฺวา ทิ้งแล้ว ลคุฬํ ซึ่งค้อน กโรนฺติ ย่อมกระทำ เปมํ ซึ่งความรัก, หตฺถินาโค ช้างตัวประเสริฐ กุปิโตปิ แม้กำลังดุร้าย สมาคนฺตฺวา มาประขิดตัวแล้ว อุปรมติ ย่อมสงบระงับ (เชื่อง), ปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธปิ แม้กองไฟใหญ่ที่กำลังลุกโชติช่วง อุปคนฺตฺวา ลามมาใกล้ตัวแล้ว นิพฺพายติ ย่อมดับ, วิสํ ยาพิษ หลาหลํ ปิ แม้แรงกล้า เตน ขายิตํ อันบุรุษนั้น กลืนแล้ว สมฺปชฺชติ ย่อมกลาย อคทํ เป็นยาแก้พิษ, วา หรือว่า ผรติ ย่อมแผ่ไป อาหารตฺถํ เพื่อเป็นอาหาร, วธกา ข้าศึกทั้งหลาย หนฺตุกามา ประสงค์จะกำจัด อุปคฺนฺตฺวา มาถึงแล้ว ทาสภูตา กลายเป็นทาส สมฺปชฺชติ ไปเสีย. ปาโส บ่วง อกฺกนฺตํ ปิ แม้อันบุรุษนั้น เหยียบแล้ว น สํวรติ ย่อมไม่ผูกรัด.

 

‘‘สุตปุพฺพํ ปน ตยา, มหาราช, ‘โมรสฺส กตปริตฺตสฺส สตฺตวสฺสสตานิ ลุทฺทโก นาสกฺขิ ปาสํ อุปเนตุํ, อกตปริตฺตสฺส ตํ เยว ทิวสํ ปาสํ อุปเนสี’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ (อิทํ วตฺถุ) เรื่องเล่านี้  (อิติ) ว่า โมรสฺส เมื่อนกยูง กตปริตฺตสฺส มีปริตรอันทำแล้ว ลุทฺทโก นายพราน น อสกฺขิ ไม่ได้อาจแล้ว อุปเนตุํ เพื่ออันนำไป ปาสํ สู่บ่วง สตฺตวสฺสตานิ สิ้น ๗๐๐ ปี, (แต่) โมรสฺส เมื่อนกยูง อกตปริตฺตสฺส มีปริตรอันไม่ได้ทำแล้ว ตํเยว ทิวสํ ในวันนั้นนั่นเทียว อุปเนสิ ได้นำไป ปาสํ สู่บ่วง ดังนี้ ตยา อันมหาบพิตร สุตปุพฺพํ เคยได้ยินแล้วหรือ? ดังนี้.

 

‘‘อาม, ภนฺเต, สุยฺยติ, อพฺภุคฺคโต โส สทฺโท สเทวเก โลเก’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่ โส สทฺโท กิตติศัพท์นั้น อพฺภุคฺคโต ขจรขจายไป โลเก ในโลก สเทวเก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, มหาราช ปริตฺตเภสชฺชกิริยา นิรตฺถกาติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉา ภวติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า ปริตฺตเภสชฺชกิริยา กิจอันพึงทำด้วยปริตรและยา นิรตฺถกา เป็นอันไร้ประโยชน์ ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิด ภวติ ย่อมเป็นต้น ดังนี้.

 

‘‘สุตปุพฺพํ ปน ตยา, มหาราช, ‘ทานโว ภริยํ ปริรกฺขนฺโต สมุคฺเค ปกฺขิปิตฺวา คิลิตฺวา กุจฺฉินา ปริหรติ, อเถโก วิชฺชาธโร ตสฺส ทานวสฺส มุเขน ปวิสิตฺวา ตาย สทฺธิํ อภิรมติ, ยทา โส ทานโว อญฺญาสิ, อถ สมุคฺคํ วมิตฺวา วิวริ, สห สมุคฺเค วิวเฏ วิชฺชาธโร ยถากามํ [เยน กามํ (ก.)] ปกฺกามี’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ (อิทํ วตฺถุ) เรื่องเล่านี้  (อิติ) ว่า ทานโว ทานพ ปริรกฺขนฺโต เมื่อเก็บรักษา ภริยํ ซึ่งภรรยา ปกฺขิตฺวา ใส่เข้าไปแล้ว สมุคฺเค ในหีบ คิิลิตฺวา กลืนแล้ว ปริหรติ รักษาไว้ กฺุจฺฉินา ด้วยท้อง. อถ ต่อมา วิชฺชาธร มีวิชชาธร เอโก ตนหนึ่ง ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว มุเขน ทางปาก ตสฺส ทานวสฺส ของทานพ อภิรมติ ย่อมสมสู่ สทฺธิํ กับ ตาย ภริยาย ด้วยภริยาของทานพนั้น. ยทา ในกาลใด โส ทานโว ทานพนั้น อญฺญาสิ ได้รู้แล้ว, อถ ในกาลนั้น วมิตฺวา จึงสำรอกแล้ว สมุคฺคํ ซึี่งหีบ วิวริ เปิดออกแล้ว, วิชฺชาธโร วิชชาธร ปกฺกามิ หนีไปแล้ว ยถากามํ ตามที่ปรารถนา ส พร้อมกันกับ สมุคฺเค ในเวลาที่หีบ วิวเฏ ถูกเปิดออก ดังนี้.

 

‘‘อาม, ภนฺเต, สุยฺยติ, อพฺภุคฺคโต โสปิ สทฺโท สเทวเก โลเก’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่, อิทํ วตฺถุ เรื่องนี้ มยา อันเรา สุยฺยติ เคยได้ฟังมา.  โส สทฺโท กิตติศัพท์นั้น อพฺภุคฺคโต ขจรขจายไป โลเก ในโลก สเทวเก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้.

 

‘‘นนุ โส, มหาราช, วิชฺชาธโร ปริตฺตพเลน [มนฺตพเลน (?)] คหณา มุตฺโต’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร โส วิชฺชาธโร วิชชาธรนั้น มุตฺโต พ้นแล้ว คหณา จากการถูกจับ ปริตฺตพเลน ด้วยกำลังแห่งปริตร นนุ มิใช่หรือ ? ดังนี้.

 

‘‘อาม ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่ ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, มหาราช, อตฺถิ ปริตฺตพลํฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ปริตฺตพลํ กำลังแห่งปริตร อตฺถิ มีอยู่ ดังนี้.

 

‘‘สุตปุพฺพํ ปน ตยา, มหาราช, ‘อปโรปิ วิชฺชาธโร พาราณสิรญฺโญ อนฺเตปุเร มเหสิยา สทฺธิํ สมฺปทุฏฺโฐ [สํสฏฺโฐ (สี.)] คหณปฺปตฺโต สมาโน ขเณน อทสฺสนํ คโต มนฺตพเลนา’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ อิทํ เรื่องนี้ (อิิติ) ว่า วิชฺชาธโร วิชชาธร อปโรปิ แม้อื่นอีก สมฺปทุฏฺโฐ สมสู่ สทฺธิํ กับ มเหสิยา ด้วยพระมเหษี อนฺเตปุเร ภายในเมือง พาราณสิรญฺโญ ของพระเจ้าพาราณสี คหณปฺปตฺโต สมาโน พอถึงการถูกจับเท่านั้น อทสฺสนํ คโต หายตัวไปแล้ว อทสฺสนํ ขเณน โดยขณะนั้นทันที มนฺตพเลน ด้วยกำลังมนต์ (ดังนี้) ตยา อันมหาบพิตร สุตปุพฺพํ เคยฟังมาแล้ว หรือไม่ดังนี้.

 

‘‘อาม, ภนฺเต, สุยฺยตี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่ อิทํ วตฺถุ เรื่องนี้ มยา อันเรา สุยฺยติ ย่อมเคยได้ฟัง ดังนี้.

 

‘‘นนุ โส, มหาราช, วิชฺชาธโร ปริตฺตพเลน คหณา มุตฺโต’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร โส วิชฺชาธโร วิชชาธรนั้น มุตฺโต พ้นแล้ว คหณา จากการจับตัว นนุ มิใช่หรือ ดังนี้.

 

‘‘อาม ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่ ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, มหาราช, อตฺถิ ปริตฺตพล’’นฺติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ปริตฺตพลํ กำลังแห่งปริตร อตฺถิ มีอยู่ ดังนี้.

 

‘‘ภนฺเต นาคเสน, ‘กิํ สพฺเพ เยว ปริตฺตํ รกฺขตีติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปริตฺตํ พระปริตร รกฺขติ ย่อมรักษา สพฺเพเยว ซึ่งชนทั้งหลาย ทั้งปวง นั่นเทียว กิํ หรือ ดังนี้.

 

‘‘เอกจฺเจ, มหาราช, รกฺขติ, เอกจฺเจ น รกฺขตี’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปริตฺตํ พระปริตร รกฺขติ ย่อมรักษา เอกจฺเจ ซึ่งชนทั้งหลาย บางพวก, รกฺขติ ย่อมไม่รักษา เอกจฺเจ ซึ่งชนทั้งหลาย บางพวก ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, ภนฺเต นาคเสน, ปริตฺตํ น สพฺพตฺถิก’’นฺติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ปริตฺตํ พระปริตร  สพฺพตฺถิกํ มีประโยชน์สำหรับทุกคน หามิได้ ดังนี้.

 

‘‘อปิ นุ โข, มหาราช, โภชนํ สพฺเพสํ ชีวิตํ รกฺขตี’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร โภชนํ โภชนะ รกฺขติ ย่อมรักษา ชีวิตํ ซึี่งชีวิต สพฺเพสํ ของชนทั้งหลายทั้งปวง อปิ นุ โข หรือไร ดังนี้.

 

‘‘เอกจฺเจ, ภนฺเต, รกฺขติ, เอกจฺเจ น รกฺขตี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โภชนํ โภชนะ รกฺขติ ย่อมรักษา เอกจฺเจ ซึ่งชนทั้งหลาย บางพวก, น รกฺขติ ย่อมไม่รักษา เอกจฺเจ ซึ่งชนทั้งหลาย บางพวก ดังนี้.

 

‘‘กิํ การณา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตํ ข้อนั้น กิํ การณา เพราะเหตุไร หรือ ดังนี้.

 

‘‘ยโต, ภนฺเต, เอกจฺเจ ตํ เยว โภชนํ อติภุญฺชิตฺวา วิสูจิกาย มรนฺตี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยโต เพราะว่า เอกจฺเจ ชนทั้งหลายบางพวก อติภุญชิตฺวา บริโภคเกินแล้ว ตํเยว โภชนํ ซึ่งอาหารนั้นนั่นเท่ียวแล้ว มรนฺติ ย่อมตาย วิสูจิกาย เพราะโรคท้องร่วง ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, มหาราช, โภชนํ น สพฺเพสํ ชีวิตํ รกฺขตี’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตนหิ ถ้าอย่างนั้น โภชนํ โภชนะ น รกฺขติ ย่อมไม่รักษา ชีวิตํ ซึ่งชีวิต สพฺเพสํ ซึี่งขนทั้งหลายทั้งปวง ดังนี้.

 

‘‘ทฺวีหิ, ภนฺเต นาคเสน, การเณหิ โภชนํ ชีวิตํ หรติ อติภุตฺเตน วา อุสฺมาทุพฺพลตาย วา, อายุททํ, ภนฺเต นาคเสน, โภชนํ ทุรุปจาเรน ชีวิตํ หรตี’’ติฯ

 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน  ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ อาม ใช่ โภชนํ โภชนะ หรติ ย่อมนำไป ซีวิตํ ซึี่งชีวิต การเณหิ เพราะเหตุทั้งหลาย ทฺวีหิ สองอย่าง  อติภุตฺเตน วา คือ เพราะอาหารที่บริโภคเกิน บ้าง อุสุมาทุพฺพลตาย วา คือ เพราะไฟธาตุมีกำลังน้อย บ้าง ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ โภชนํ โภชนะ อายุททํ อันให้ซึ่งอายุ หรติ ย่อมนำไป ชีวิตํ ซึ่งชีวิต ทุรุปจาเรน เพราะความปฏิบัติอันเป็นเหตุที่ไม่ดี ดังนี้.

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ปริตฺตํ เอกจฺเจ รกฺขติ, เอกจฺเจ น รกฺขติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปริตฺตํ พระปริตร รกฺขติ ย่อมรักษา เอกจฺเจ ซึ่งชนทั้งหลาย บางพวก, น รกฺขติ ย่อมไม่รักษา เอกจฺเจ ซึ่งชนทั้งหลาย บางพวก เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว ดังนี้.

 

‘‘ตีหิ, มหาราช, การเณหิ ปริตฺตํ น รกฺขติ กมฺมาวรเณน, กิเลสาวรเณน, อสทฺทหนตายฯ สตฺตานุรกฺขณํ, มหาราช, ปริตฺตํ อตฺตนา กเตน อารกฺขํ ชหติ, ยถา, มหาราช, มาตา ปุตฺตํ กุจฺฉิคตํ โปเสติ, หิเตน อุปจาเรน ชเนติ, ชนยิตฺวา อสุจิมลสิงฺฆาณิกมปเนตฺวา อุตฺตมวรสุคนฺธํ อุปลิมฺปติ, โส อปเรน สมเยน ปเรสํ ปุตฺเต อกฺโกสนฺเต วา ปหรนฺเต วา ปหารํ เทติฯ เต ตสฺส กุชฺฌิตฺวา ปริสาย อากฑฺฒิตฺวา ตํ คเหตฺวา สามิโน อุปเนนฺติ, ยทิ ปน ตสฺสา ปุตฺโต อปรทฺโธ โหติ เวลาติวตฺโตฯ อถ นํ สามิโน มนุสฺสา อากฑฺฒยมานา ทณฺฑมุคฺครชาณุมุฏฺฐีหิ ตาเฬนฺติ โปเถนฺติ, อปิ นุ โข, มหาราช, ตสฺส มาตา ลภติ อากฑฺฒนปริกฑฺฒนํ คาหํ สามิโน อุปนยนํ กาตุ’’นฺติ?

มหาราช มหาบพิตร ปริตฺตํ พระปริตร น รกฺขติ ย่อมไม่รักษา การเณหิ เพราะเหตุทั้งหลาย ตีหิอิติ คือ กมฺมาวรเณน กรรมเป็นเครื่องกั้น, กิเลสาวรเณน กิเลสเป็นเครื่องกั้น[๔] อสทฺทหนตาย เพราะการไม่เชื่อ[๕] ดังนี้. มหาราช มหาบพิตร ปริตฺตํ พระปริตร สตฺตานุรกฺขณํ อันเป็นเครื่องรักษาซึ่งสัตว์ ชหติ ย่อมทำลาย อารกฺขํ ซึี่งการรักษา กมฺมาวรณทิเกน เพราะเครื่องกั้นมีกัมมาวรณ์เป็นต้น สตฺเตหิ กเตน อันสัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อตฺตนา ด้วยตน, มหาราช มหาบพิตร มาตา มารดา โปเสติ ย่อมเลี้ยงดู ปุตฺตํ ซึ่งบุตร กุจฉิคตํ ที่อยู่ในท้อง, ชเนติ ย่อมให้กำเนิด อุปจาเรน เพราะเหตุ หิเตน ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ชนยิตฺวา ครั้นให้เกิดมาแล้ว อปเนตฺวา นำออกแล้ว อสุจิมลสิงฺฆาณิกํ ซึ่งสิ่งสกปรกมลทินและน้ำมูกน้ำลาย อุปลิมฺปติ ย่อมลูบไล้ อุตฺตมวรสุคนฺธํ ซึ่งของหอมอย่างดีเยี่ยม, อปเรน สมเยน ในสมัยอื่นต่อมา ปุตฺโต บุตรนั้น ปุตฺเต เมื่อบุตร ปเรสํ ของชนทั้งหลายเหล่าอื่น อกฺโกสนฺเต วา ด่าอยู่ บ้าง ปหรนฺเต ทุบตีอยู่ บ้าง เทติ ย่อมให้ ปหารํ ซึ่งการทำร้าย (ปเรสํ ปุตฺตสฺส) ต่อบุตร ของชนทั้งหลายอื่น.  เต ชนทั้งหลายเหล่านั้น กุชฺฌิตฺวา โกรธแล้ว ตสฺส ต่อบุตรนั้น อากฑฺฺฒิตฺวา ฉุดตัวมาแล้ว คเหตฺวา จับตัวแล้ว เนติ นำเข้าไป สามิโน สู่ผู้เป็นนาย. ปน ก็ ยทิ ถ้าว่า ปุตฺโต บุตร ตสฺสา แห่งมารดานั้น อปรทฺโธ เป็นผู้ทำความผิด อติเวลา ล่วงเขตแดน โหติ ย่อมเป็นแล้วไซร้. อถ ทีนั้น มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลาย อากฑฺฒยมานา ผู้ฉุดอยู่ นํ ซึ่งบุตรนั้น สามิโน (มาแสดง) แก่เจ้านาย ตาเฬนฺติ ย่อมตี โปเถนฺติ ย่อมเฆี่ยน ทณฺฑมุคฺครชาณุมุฏฺฐีหิ ด้วยไม้ ค้อน เข่า กำปั้น, มหาราช มหาบพิตร มาตา มารดา ตสฺส ปุตฺตสฺส ของบุตรนั้น ลภติ ย่อมได้ กาตุํ เพื่อกระทำ อากฑฺฒนปริกฑฺฒนํ ซึ่งการฉุดคร่า คาหํ ซึี่งการจับตัวอุปนยนํ ซึ่งนำตัวส่งเข้าไป สามิโน (แสดง) แก่เจ้านาย อปิ นุโข บ้างหรือไม่ ดังนี้.

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ หามิได้.

 

‘‘เกน การเณน, มหาราชา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เกน การเณน เพราะเหตุไร? ดังนี้

 

‘‘อตฺตโน, ภนฺเต, อปราเธนา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ เพราะ อปราโธ เป็นความผิด อตฺตโน ของตน ดังนี้.

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, สตฺตานํ อารกฺขํ ปริตฺตํ อตฺตโน อปราเธน วญฺฌํ กโรตี’’ติ [กาเรตีติ (สี.)]

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปุคฺคโล บุคคล กโรติ ย่อมกระทำ ปริตฺตํ ซึ่งปริตร อารกฺขํ ซึี่งเป็นมนต์คุ้มครอง สตฺตานํ ซึีงสัตว์ทั้งหลาย วญฺฌํ อย่างไม่มีผล อปราเธน เพราะความผิด อตฺตโน ของตน เอวํ เอว โข ฉันนัั้น นั่นเทียวดังนี้.

 

 ‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, สุวินิจฺฉิโต ปญฺโห, คหนํ อคหนํ กตํ, อนฺธกาโร อาโลโก กโต, วินิเวฐิตํ ทิฏฺฐิชาลํ, ตฺวํ คณิวรปวรมาสชฺชา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีจริง, ปญฺโห ปัญหา ตยา อันท่าน สุวินิจฺฉิโต วินิจฉัยดีแล้ว, คหณํ เงื่อนปม ตยา อันท่าน กตํ กระทำแล้ว อคหนํ ไม่ให้เป็นเงื่อนปม, อนฺธกาโร ความมืด ตยา อันท่าน กโต กระทำแล้ว อาโลโก ให้เป็นแสงสว่สง, ทิฏฺฐิชาลํ ข่ายคือทิฏฐิ ตยา อันท่าน วินิเวฐิตํ แก้ออกแล้ว, ตฺวํ ท่าน อาสชฺชํ ถึงแล้ว คณิวรปวรํ ซึ่งความยอดเยี่ยมในคณะผู้ประเสริฐทั้งหลาย อิติ ดังนี้

มจฺจุปาสมุตฺติปญฺโห จตุตฺโถฯ

มจฺจุปาสมุตฺติปญฺโห

ปัญหาว่าด้วยความหลุดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ

จตุตฺโถ ลำดับที่ ๔ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

 ***

บทสรุป "มิลินทปัญหา"

. อเภชชวรรค

๔. มัจจุปาสมุตติปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความหลุดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ

****

ประเด็นปัญหา

พระเจ้ามิลินท์มีความเห็นว่า

การสวดพระปริตรเพื่อป้องกันอันตราย ได้แก่ รัตนสูตร เมตตาสูตร ขันธปริต โมรปริต ธชัคคปริต อาฏานาฏิยปริต อังคุลิมาลปริตร.  แสดงว่า การรอดพ้นจากความตายเพราะพระปริตรก็ยังมีได้  เป็นอันขัดแย้งกับพระพุทธพจน์นี้ที่แสดงว่า สัตว์ทั้งปวง ย่อมไม่อาจพ้นจากความตายไปได้ ว่า

น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ

ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส

น วิชฺชตี โส ชคฺคติปฺปเทโส

ยตฺถฏฺฐิโก มุจฺเจยฺย มจฺจุปาสา[๖]

บุคคล (ผู้เกิดมาแล้ว) หนีเข้าไปกลางหาว ก็ไม่พ้นจากบ่วงมัจจุหนีเข้าไปยังกลางมหาสมุทรก็ไม่พ้นจากบ่วงมัจจุหนีเข้าไปยังซอกเขาก็ไม่พ้นจากบ่วงมัจจุเขาดำรงอยู่ในภูมิประเทศใดแล้ว พึงพ้นจากบ่วงมัจจุได้ ภูมิประเทศนั้น หามีไม่.

ในเรื่องนี้ พระเถระชี้แจงข้อเท็จจริงว่า

๑. การที่ทรงแสดงพระปริตรไว้นั้น มิได้ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์แต่อย่างใด

๒. การที่พระปริตรจะมีอานุภาพป้องกันอันตรายนั้น ในกรณีที่บุคคลต้องมีอายุเหลืออยู่ มีวัยสมบูรณ์ ปราศจากกัมมาวรณ์เท่านั้น

๓. สำหรับคนสิ้นอายุแล้ว กิจที่ต้องทำ หรือความพยายามใดๆ คือ การให้ยาทา ยากิน แม้การสวดพระปริตร เพื่อความดำรงอยู่ (แห่งชีวิต) หามีไม่ เพราะเหตุนั้น แม้พระปริตร ก็จะไม่อาจต้านภัยคือความตายได้เลย

๔. อุปมา ๒ ข้อนี้ แสดงถึงการที่พระปริตรมีประโยขน์ก็ต่อเมื่อผู้รับประกอบด้วยองค์ ๓ นั้นเท่านัั้น เหมือนต้นไม้ที่ตายแล้ว ถึงให้น้ำก็ไม่งอกงามเหมือนเดิม ต้นอ่อนที่ยังไม่สิ้นอายุเท่านั้นย่อมต้องการน้ำฉะนั้น.

(๑) เหมือนกับต้นไม้ที่ตายแล้ว แห้งผุแล้ว ไม่มียางแล้ว ถึงจะรดน้ำให้มากมายเท่าใด ก็หากลับสดเขียวหรือผลิใบแตกหน่อขึ้นมาได้อีกไม่ ฉันใด สำหรับคนที่สิ้นอายุแล้ว กิจที่ควรทำ หรือความพยายามเพื่อดำรง (ชีวิต) ด้วยยา หรือพระปริต หามีไม่ ฉันนั้น

(๒) เหมือนต้นข้าวที่มีเมล็ดข้าวเปลือกแก่เก็บเกี่ยวไปแล้ว เหลือเพียงซังข้าว ย่อมเหี่ยวแห้งไป ชาวนาจะมิปล่อยให้น้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวนั้น แต่ต้นกล้าอ่อนที่ต้องการน้ำเท่านั้น ที่เขาจะเพิ่มน้ำให้ ฉันใด สำหรับผู้ที่สิ้นอายุแล้ว เป็นอันยกเว้นการใช้ยา หรือการเจริญพระปริต ส่วนว่า คนเหล่าใดที่ยังมีอายุเหลืออยู่ ยังมีวัยสมบูรณ์อยู่ เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสพระปริตและยาไว้ ก็เพื่อประโยชน์แก่คนเหล่านั้น คนเหล่านั้นย่อมเจริญ (ชีวิต) ได้ด้วยการเจริญพระปริตและการใช้ยา ฉันนั้นเหมือนกัน

...

ถามต่อไปอีกว่า

ถ้าอย่างนั้น ยาและปริตรก็ไม่มีประโยขน์ใดๆเลยสำหรับผู้สิ้นอายุและจะต้องตายในที่สุด

ตอบ ไม่ถึงอย่างนั้น เพราะถึงอย่างไร ยาก็มีอานุภาพเยียวยารักษาโรคให้หายได้ ดังที่เห็นประจักษ์ว่า คนป่วยที่ได้รับยา ก็หายป่วย, หมองูใช้มนต์รักษาพิษงู และอานุภาพของพระปริตรจะป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ที่กำลังสวดพระปริตร เช่น

งูต้องการจะกัด ก็อ้าปากไม่ขึ้น ไม่อาจจะกัดบุรุษผู้เจริญพระปริตได้

พวกโจรก็ไม่อาจทำร้ายได้ ทำความรักให้เกิดขึ้นแทน

แม้ช้างดุ พอมาถึงตัวเข้าเท่านั้น ก็เชื่องไป

แม้กองไฟใหญ่กำลังลุกโพลงอยู่ ลามมาถึงตัวเท่านั้น ก็พลันดับไป

แม้ยาพิษแรงกล้าที่กลืนกินเข้าไป ก็หายไปเหมือนเจอยาแก้พิษหรือกลับเป็นอาหารแผ่ซ่านไป

นักฆ่าคนผู้ต้องการจะกำจัด พอถึงตัวเข้าเท่านั้นก็ยอมตนเป็นทาสไป

แม้เดินเหยียบบ่วง มันก็หาคล้องตัวเอาไม่

ถาม

พระปริตรักษาได้ทุกคนเลยหรือ

ตอบ

ไม่, เป็นบางคนเท่านั้น

ถาม

ถ้าอย่างนั้น พระปริตก็ไม่ชื่อว่าเป็นของน่าปรารถนาสำหรับทุกคน คือ ใช่ว่าทุกคนจะต้องใช้พระปริตร

ตอบ

ใช่ เหมือนอาหารแม้มีประโยชน์ แต่ไม่อาจจะรักษาชีวิตได้ทุกคน เพราะเมื่อบริโภคเกินไป แทนที่จะให้คุณกับให้โทษได้ ในกรณีที่อาหารเป็นพิษเป็นเหตุให้เกิดโรคลงท้อง (ท้องเสีย) และ ผู้นั้นไม่อาจย่อยอาหารนั้นได้ เหตุที่ไฟธาตุอ่อนกำลัง.

เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่า พระปริตมีประโยชน์จริง แต่ถ้าผู้ใช้ไม่รู้จักวิธีใช้ ก็ไร้ประโยชน์

พระปริตรไร้ประโยชน์ ไม่อาจคุ้มครองรักษาได้ต่อเมื่อมีเหตุ ๓ คือ

. เพราะกัมมาวรณ์ (คือมีกรรมเป็นเครื่องขวางกั้น)

. เพราะกิเลสาวรณ์ (คือมีกิเลสคือนิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นเครื่องขวางกั้น)

. เพราะความไม่เชื่อถือ

อุปมาเหมือน มารดาผู้ให้กำเนิด ครั้นทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตรอย่างดีจนเติบโต ต่อมาบุตรเกเรทำร้ายผู้อื่นถูกจับได้ต้องถูกลงโทษ บุตรเท่านั้นจะต้องถูกลงโทษ ส่วนมารดาผู้คุ้มครองรักษาชีวิตบุตรนั้นมาจนเติบใหญ่ไม่มีความผิดในเรื่องนี้ เพราะความผิดอยู่ที่ตัวบุตร ไม่ใช่มารดา ฉันใด. เมื่อผู้สวดพระปริตรประพฤติไม่สมด้วยเหตุผลที่จะให้อานุภาพของปริตรเกิดขึ้นได้ แม้พระปริตรที่มีอานุภาพมากก็ไม่อาจคุ้มครองได้ฉันนั้น

...

จบ บทสรุป มัจจุปาสมุตติปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความหลุดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ


 ***

. มัจจุปาสมุตติปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความหลุดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ

[] พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า

น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ

ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส

น วิชฺชตี โส ชคฺคติปฺปเทโส

ยตฺถฏฺฐิโก มุจฺเจยฺย มจฺจุปาสา[๗]

บุคคล (ผู้เกิดมาแล้ว) หนีเข้าไปกลางหาว ก็ไม่พ้นจากบ่วงมัจจุ

หนีเข้าไปยังกลางมหาสมุทรก็ไม่พ้นจากบ่วงมัจจุ

หนีเข้าไปยังซอกเขาก็ไม่พ้นจากบ่วงมัจจุ

เขาดำรงอยู่ในภูมิประเทศใดแล้วพึงพ้นจากบ่วงมัจจุได้

ภูมิประเทศนั้น หามีไม่

ดังนี้แล้ว ก็ยังแสดงพระปริตรทั้งหลายไว้อีก อะไรบ้าง ได้แก่ รัตนสูตร เมตตาสูตร ขันธปริต โมรปริต ธชัคคปริต อาฏานาฏิยปริต อังคุลิมาลปริต พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า บุคคล แม้ไปในอากาศแล้ว แม้ไปกลางมหาสมุทรแล้ว แม้ไปในปราสาท กุฏิที่เร้น ถ้ำ เงื้อมเขา โพรง ซอกเขา ที่ระหว่างภูเขาแล้ว ก็ยังพ้นจากบ่วงมัจจุมิได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น การเจริญพระปริต ก็เป็นทางทำที่ไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่าจะมีอันพ้นจากบ่วงมัจจุด้วยการเจริญพระปริตได้จริง ถ้าอย่างนั้นคำที่ตรัสไว้ว่า บุคคลหนีเข้าไปกลางหาวก็ไม่พ้นจากบ่วงมัจจุ ฯลฯ เขาดำรงอยู่ในภูมิประเทศใดแล้วพ้นจากบ่วงมัจจุได้ ภูมิประเทศนั้นหามีไม่ ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้อง ปัญหานี้มี ๒ เงื่อน เป็นปมเสียยิ่งกว่าปม ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านพึงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

พระนาคเสน ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ว่า บุคคลหนีเข้าไปกลางหาว ฯลฯ พ้นจากบ่วงมัจจุได้ ภูมิประเทศนั้น หามีไม่ ดังนี้ไว้จริง และพระผู้มีพระภาคก็ตรัสพระปริตทั้งหลายไว้จริง แต่ว่า ข้อนั้นตรัสไว้สำหรับบุคคลผู้ยังมีอายุเหลืออยู่ ยังมีวัยสมบูรณ์ ปราศจากกัมมาวรณ์เท่านั้น สำหรับคนสิ้นอายุแล้ว กิจที่ต้องทำ หรือความพยายามเพื่อความดำรงอยู่ (แห่งชีวิต) หามีไม่

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ต้นไม้ที่ตายแล้ว แห้งผุแล้ว ไม่มียางแล้ว ชีวิตดับแล้ว ปราศจากอายุสังขารแล้ว เมื่อบุคคลตักน้ำมารดถึงพ้นหม้อ ก็หากลับสดเขียวหรือผลิใบแตกหน่อขึ้นมาได้อีกไม่ ฉันใด ขอถวายพระพร สำหรับคนที่สิ้นอายุแล้ว กิจที่ควรทำ หรือความพยายามเพื่อดำรง (ชีวิต) ด้วยยา หรือพระปริต หามีไม่ ฉันนั้น ขอถวายพระพร พระปริตจะรักษาคุ้มครองก็เฉพาะผู้ที่ยังมีอายุเหลืออยู่ ยังมีวัยสมบูรณ์ ปราศจากกัมมาวรณ์ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระปริตไว้ ก็เพื่อประโยชน์แก่คนพวกนั้น

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า เมื่อข้าวแก่หง่อมแล้ว ต้นข้าวก็ตายไป ชาวนาพึงกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าไป ส่วนข้าวกล้าที่ยังอ่อนอยู่ มีวัยสมบูรณ์ ย่อมงอกงามเติบโตได้ด้วยการเพิ่มน้ำให้ ฉันใด สำหรับผู้ที่สิ้นอายุแล้ว ก็เป็นอันต้องยกเว้น ต้องบอก ต้องบอกปัดการใช้ยา หรือการเจริญพระปริต ส่วนว่า คนเหล่าใดที่ยังมีอายุเหลืออยู่ ยังมีวัยสมบูรณ์อยู่ เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสพระปริตและยาไว้ ก็เพื่อประโยชน์แก่คนเหล่านั้น คนเหล่านั้นย่อมเจริญ (ชีวิต) ได้ด้วยการเจริญพระปริตและการใช้ยา ฉันนั้นเหมือนกัน

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า ผู้มีอายุสิ้นแล้ว จะต้องตาย ผู้มีอายุเหลืออยู่ จึงจะเป็นอยู่ได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น พระปริตและยาก็เป็นของไร้ประโยชน์

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระองค์เคยทรงทอดพระเนตรเห็นคนที่มีโรคพอใช้ยาก็หายจากโรคบ้างหรือไม่

พระเจ้ามิลินท์ ใช่ พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าเห็นมาแล้วหลายร้อยคน

พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น ที่พระองค์ตรัสว่า การทำพระปริตและยาเป็นของไร้ประโยชน์ ดังนี้ ก็ย่อมเป็นคำตรัสที่ไม่ถูกต้อง

พระเจ้ามิลินท์ พระเจ้านาคเสน การชะโลมยา ก็ปรากฏว่าเป็นความพยายามของหมอเพราะความพยายามนั้น ของหมอเหล่านั้นโรคจึงหายได้

พระนาคเสน ขอถวายพระพร บุคคลทั้งหลายเมื่อสวดพระปริตได้ยินเสียงอยู่ ลิ้นก็แห้งไป หัวใจเพลีย คอระบม ความเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งปวงของบุคคลเหล่านั้นก็สงบไปเพราะการสวดพระปริตนั้น เสนียดจัญไรทั้งปวง ก็ปราศไปสิ้น

ขอถวายพระพร พระองค์เคยทรงทอดพระเนตรเห็นบ้างหรือไม่ว่า บางคนที่ถูกงูกัด พอใช้บทมนต์ ก็สามารถทำพิษให้ตกไป ทำพิษให้ซึมออกมาได้ สำรอกพิษออกมาได้ ทั้งทางเบื้องบนและทางเบื้องล่าง

พระเจ้ามิลินท์ ข้าพเจ้าเคยเห็น พระคุณเจ้า ทุกวันนี้ในโลกนี้ก็ยังใช้วิธีนี้รักษาเช่นนั้นกันอยู่

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ที่พระองค์ตรัสว่า การทำพระปริตแลยาเป็นของไร้ประโยชน์ ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำตรัสที่ไม่ถูกต้อง ขอถวายพระพร งูต้องการจะกัดก็ไม่อาจจะกัดบุรุษผู้เจริญพระปริตได้ ย่อมอ้าปากไม่ขึ้น พวกโจรก็ไม่อาจเงื้อมไม้ค้อนขึ้น (ทำร้าย) ได้ พวกโจรเหล่านั้นจะพากันทิ้งไม้ค้อนเสีย แล้วทำความรักให้เกิดขึ้นแทน แม้ช้างดุ พอมาถึงตัวเข้าเท่านั้น ก็เชื่องไป แม้กองไฟใหญ่กำลังลุกโพลงอยู่ ลามมาถึงตัวเท่านั้น ก็พลันดับไป แม้ยาพิษแรงกล้าที่กลืนกินเข้าไป ก็หายไปเหมือนเจอยาแก้พิษหรือกลับเป็นอาหารแผ่ซ่านไป นักฆ่าคนผู้ต้องการจะกำจัด พอถึงตัวเข้าเท่านั้นก็ยอมตนเป็นทาสไป แม้เดินเหยียบบ่วง มันก็หาคล้องตัวเอาไม่

ขอถวายพระพร พระองค์เคยสดับมาบ้างหรือไม่ว่า นกยูงเจริญพระปริตทุกวัน นายพรานไม่อาจใช้บ่วงดักได้ตลอด ๗๐๐ ปี ในวันที่ไม่ได้เจริญพระปริตวันเดียวเท่านั้นเทียว นายพรานจึงใช้บ่วงดักเอาได้

พระเจ้ามิลินท์ ข้าพเจ้าเคยได้ฟัง พระคุณเจ้ากิตติศัพท์เรื่องนั้น แพร่ขจรขจายไปในโลก พร้อมทั้งเทวโลก

พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น ที่พระองค์ตรัสว่า การเจริญพระปริต การใช้ยาเป็นของหาประโยชน์มิได้ ดังนี้ ก็เป็นคำที่ตรัสที่ไม่ถูกต้อง

ขอถวายพระพร พระองค์ทรงสดับมาบ้างหรือไม่ว่า มีทานพคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อจะรักษาภริยาไว้ให้ดี ก็ใส่ลงไปในหีบแล้วกลืนกินเสีย ใช้ท้องป้องกันไว้ ต่อมา มีวิทยาธรตนหนึ่งเข้าไปหาทางปากของทานพนั้น แล้วได้อภิรมย์สมสู่กับภริยาของทานพนั้น เวลาที่ทานพนั้นชักรู้แล้ว ก็สำรอกหีบออกมาเปิดดู ทันทีที่หีบถูกเปิดออกวิทยาธรก็หลบหนีไปได้ตามต้องการ

พระเจ้ามิลินท์ ใช่ ข้าพเจ้าเคยฟัง พระคุณเจ้า เรื่องนั้นโด่งดับระบือไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก

พระนาคเสน ขอถวายพระพร วิทยาธรนั้น ใช้กำลังของพระปริตมิใช่หรือ จึงพ้นจากการจับตัวได้ ?”

พระเจ้ามิลินท์ ใช่ พระคุณเจ้า

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น กำลังแห่งพระปริตก็มีอยู่

ขอถวายพระพร พระองค์เคยทรงสดับมาบ้างหรือไม่ว่า มีวิทยาธรอีกตนหนึ่งได้สมสู่กับพระมเหสีของพระราชาเมืองพาราณสีภายในเมือง พอถูกจับได้ ก็ใช้กำลังมนต์หายตัวไปเสียทันที

พระเจ้ามิลินท์ ใช่ พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าเคยฟัง

พระนาคเสน ขอถวายพระพร วิทยาธรตนนั้น ใช้กำลังแห่งพระปริตมิใช่หรือ จึงพ้นจากการจับตัวได้ ?”

พระเจ้ามิลินท์ ใช่ พระคุณเจ้า

พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น กำลังแห่งพระปริตก็มีอยู่

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระปริตรักษาได้ทุกคนเลยหรือ ?”

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ย่อมรักษาได้เป็นเพียงบางคน บางคนก็ไม่อาจรักษาได้

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าอย่างนั้น พระปริตก็ไม่ชื่อว่าเป็นของน่าปรารถนาสำหรับทุกคน

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อาหารย่อมรักษาชีวิตของคนได้ทุกคนหรือหนอ

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้า ย่อมรักษาได้เป็นบางคน บางคนก็ไม่อาจรักษาได้

พระนาคเสน เพราะเหตุไรหรือ ?”

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้า เพราะเหตุว่า บางคนพอกินอาหารนั้นมากเกินไปแล้ว ก็ตาย เพราะโรคลงท้อง

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น อาหารก็ไม่ชื่อว่ารักษาชีวิตของทุกคน

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน อาหารย่อมคร่าชีวิตได้เพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ () เพราะบริโภคมากเกินไป () เพราะไฟธาตุย่อมอ่อนกำลังไป พระคุณเจ้านาคเสน อาหารแม้ปกติให้อายุ แต่เพราะมีวิธีการไม่ได้ ย่อมคร่าเอาชีวิตได้

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้น พระปริตรคุ้มครองรักษาได้ก็แต่บางคน ไม่อาจคุ้มครองรักษาบางคนได้

ขอถวายพระพร พระปริตรไม่อาจคุ้มครองรักษาได้เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ

.       เพราะกัมมาวรณ์ (คือมีกรรมเป็นเครื่องขวางกั้น)

.       เพราะกิเลสาวรณ์ (คือมีกิเลสเป็นเครื่องขวางกั้น)

.       เพราะความไม่เชื่อถือ

ขอถวายพระพร พระปริตรที่มีปกติตามรักษาสัตว์ทั้งหลายได้ ย่อมเลิกละการรักษา ก็เพราะเหตุ (อย่างใดอย่างหนึ่งในเหตุ ๓ อย่าง) ที่ตนก่อไว้ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า มารดาย่อมเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง ให้คลอดออกมาด้วยวิธีการที่เกื้อกูล ให้คลอดออกมาแล้วก็ชำระสิ่งไม่สะอาดแปดเปื้อนน้ำมูกน้ำลาย แล้วลูบไล้ของหอมดี ๆ ประเสริฐยอดเยี่ยมให้ ในสมัยต่อมา บุตรคนนั้นเมื่อไปด่าว่า หรือทำร้าย หรือประหารบุตรของคนอื่น คนเหล่านั้น ก็โกรธ ช่วยกันฉุดไปในบริษัท จับตัวเขาไว้ นำเข้าไปหาผู้เป็นนาย ถ้าหากว่าบุตรของหญิงคนนั้น เป็นผู้มีความผิดจริง ผู้คนทั้งหลาย ผู้ฉุดคร่าตัวเขามา (แสดง) แก่เจ้านาย ก็ย่อมใช้ท่อนไม้ ไม้ค่อน เข่า กำปั้น ทำร้ายทุบตี ขอถวายพระพร มหาบพิตร มารดาของเขาจะต้องได้รับการฉุดคร่า การจับตัว การนำเข้าไปหาผู้เป็นนายด้วยหรือไม่

พระเจ้ามิลินท์ ไม่หรอก พระคุณเจ้า

พระนาคเสน เพราะเหตุไรหรือ มหาบพิตร

พระเจ้ามิลินท์ เพราะเป็นความผิดของตน (ไม่ใช่ของมารดา)”

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้น พระปริตที่ปกติคุ้มครองรักษาสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทำความงดเว้น (ไม่คุ้มครองรักษา) ก็เพราะเป็นความผิดของตนเอง (ไม่ใช่ความผิดของพระปริต)”

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ท่านวินิจฉัยปัญหาไว้ดีแล้ว เงื่อนปมเป็นอันท่านทำให้คลี่คลายได้แล้ว ทำที่มืดให้สว่างได้แล้ว เปลื้องข่ายคือทิฏฐิได้แล้ว ท่านเป็นผู้ถึงความยอดเยี่ยมในคณะผู้ประเสริฐทั้งหลาย แล

มัจจุปาสมุตติปัญหาที่ ๔ จบ



[๑] ขุ.. มหาจุฬาเตปิตก ๒๔/๑๒๘/๓๙ ตสฺสตฺโถ สเจ หิ โกจิ ‘‘อิมินา อุปาเยน ปาปกมฺมโต มุจฺจิสฺสามี’’ติ อนฺตลิกฺเข วา นิสีเทยฺย, จตุราสีติโยชนสหสฺสคมฺภีรํ มหาสมุทฺทํ วา ปวิเสยฺย, ปพฺพตนฺตเร วา นิสีเทยฺย, เนว ปาปกมฺมโต มุจฺเจยฺยฯ ปุรตฺถิมาทีสุ ชคติปเทเสสุ ปถวีภาเคสุ น โส วาลคฺคมตฺโตปิ โอกาโส อตฺถิ, ยตฺถ ฐิโต ปาปกมฺมโต มุจฺจิตุํ สกฺกุเณยฺยาติฯ

[๒] ชคฺคติปฺปเทโส ฉบับอื่นๆ เป็น ชคติปปฺปเทโส ตัดบทเป็น ชคตี + ปเทส วิเคราะห์เป็นกัมมธารยสมาสว่า ชคตี เอว ปเทโส ชคติปฺปเทโส ประเทศคือแผ่นดิน ชื่อว่า ชคติปฺปเทส. ชคตีศัพท์ เป็นศัพท์ ๑ ในบรรดา ๑๙ ศัพท์ที่ใช้หมายถึงแผ่นดิน (ธาน.๑๘๑) มีวิเคราะห์ว่า คจฺฉนฺติ อสฺสํ ชคตี สัตว์ทั้งหลายย่อมเดินไปบนประเทศใด ประเทศนั้น ชื่อว่า ชคตี (แผ่นดิน) มาจาก คมุ คมเน ในการเดินไป + อนฺต ปัจจัย ซ้อน ค และแปลง ค ที่ซ้อนมาเป็น ช ลบ น ของ อนฺต ลง อี ปัจจัย ด้วยสูตร นทาทิโต วา อี. (ธาน.ฏี.๑๘๑) ดังอรรถกถาธรรมบทอธิบายว่า ชคติปฺปเทเสสุ ปถวีภาเคสุ ในภูมิประเทศ คือ ในส่วนคือแผ่นดิน. ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถนัย.

[๓] คำว่า ปราศจากกัมมาวรณ์ ความว่า อนันตริยกรรมทั้งหลาย มีการฆ่ามารดาเป็นต้น จัดว่า เป็นอาวรณ์ (เครื่องกั้น) เพราะขัดขวาง กางกั้น การไปสวรรค์และนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กัมมาวรณ์ ได้แก่ เป็นผู้ปราศจากคือไม่มีการทำกัมมาวรณ์เหล่านี้ อธิบายว่า พระปริตเป็นสิ่งมีประโยชน์ ก็สำหรับคนผู้มีอายุเหลืออยู่ มีวัยสมบูรณ์ และปราศจากกัมมาวรณ์

[๔] กิเลสาวรณ์ ได้แก่ กิเลส คือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดเป็นประการเดียวแน่นอน) ว่า สัตว์จักขาดสูญภพใหม่ ชาติใหม่ มิได้มีเป็นต้น แห่งพวกอุจเฉทวาทะ (วาทะว่าขาดสูญ) อย่างเดียวนี้เท่านั้น มิได้หมายเอากิเลสอย่างอื่นด้วย ซึ่งชื่อว่าเป็นอาวรณ์ ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเทียว.

[๕] ความไม่เชื่อถือ ได้แก่ ความไม่ปลงใจเชื่อ ความไม่น้อมใจเชื่อ ความไม่ตัดสินใจเชื่อ ความคลางแคลงใจ ไม่มีศรัทธาเชื่อมั่น.

[๖] ขุ.. มหาจุฬาเตปิตก ๒๔/๑๒๘/๓๙

[๗] ขุ.. มหาจุฬาเตปิตก ๒๔/๑๒๘/๓๙ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น