วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

๔. ผรุสวาจาภาวปญฺโห ผรุสวาจาภาวปัญหา ปัญหาว่าด้วยความเป็นผู้มีผรุสวาจา

 

๔. ผรุสวาจาภาวปญฺโห

ผรุสวาจาภาวปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความเป็นผู้มีผรุสวาจา

***

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ เถเรน สาริปุตฺเตน ธมฺมเสนาปตินา ปริสุทฺธวจีสมาจาโร อาวุโส ตถาคโต, นตฺถิ ตถาคตสฺส วจีทุจฺจริตํ, ยํ ตถาคโต รกฺเขยฺย มา เม อิทํ ปโร อญฺญาสีติฯ ปุน จ ตถาคโต เถรสฺส สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส อปราเธ ปาราชิกํ ปญฺญเปนฺโต ผรุสาหิ วาจาหิ โมฆปุริสวาเทน สมุทาจริ, เตน จ โส เถโร โมฆปุริสวาเทน มงฺกุจิตฺตวเสน รุนฺธิตตฺตา วิปฺปฏิสารี นาสกฺขิ อริยมคฺคํ ปฏิวิชฺฌิตุํฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ, เอตํ วจนํ ข้อความนี้ อิติ ว่า อาวุโส ท่านผุ้มีอายุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต ปริสุทฺธวจีสมาจาโร ทรงมีวจีสมาจาร[1]บริสุทธิ์, วจีทุจฺจริตํ วจีทุจริต ตถาคตสฺส ของพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี, ยํ เพราะเหตุว่า ตถาคโต พระตถาคต รกฺเขยฺย ทรงรักษา (จินฺตเนน) ด้วยทรงดำริ อิติ ว่า ปโร ผู้อื่น มา อญฺญาสิ อย่าได้รู้แล้ว อิทํ ซึ่งวจีทุจริต เม ของเรา ดังนี้ เถเรน สาริปุตฺเตน ธมฺมเสนาปตินา อันพระสารีบุตรเถระ ผู้พระธรรมเสนาบดี ภาสิตมฺปิ ก็ได้กล่าวไว้. แต่ว่า ตถาคโต ตถาคต ปญฺญเปนฺโต เมื่อทรงบัญญัติ ปาราชิกํ ซึ่งปาราชิกสิกขาบท อปราเธ ในเพราะความผิด เถรสฺส สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส ของพระเถระสุทิน กลันทบุตร สมุทาจริ ตรัสแล้ว โมฆปุริสวาเทน ด้วยวาทะว่า “โมฆบุรุษ” ผรุสาหิ วาจาหิ อันเป็นพระวาจาหยาบคาย ปุน อีก, ก็ เตน ด้วยพระวาจานั้น โส เถโร พระเถระนั้น วิปฺปฏิสารี เป็นผู้มีความเดือดร้อน น อสกฺขิ ไม่ได้อาจแล้ว ปฏิวิชฺฌิตุํ เพื่อแทงตลอด อริยมคฺคํ ซึ่งอริยมรรค โมฆปุริสวาเทน มงฺกุจิตฺตวเสน รุนฺธิตตฺตา[2] เพราะความที่ตนอันวาทะว่าโมฆบุรุษ รบกวนแล้ว โดยเนื่องด้วยมีใจละอาย.

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ปริสุทฺธวจีสมาจาโร ตถาคโต, นตฺถิ ตถาคตสฺส วจีทุจฺจริตํ, เตน หิ ตถาคเตน เถรสฺส สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส อปราเธ โมฆปุริสวาเทน สมุทาจิณฺณนฺติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า ตถาคโต พระตถาคต ปริสุทฺธวจีสมาจาโร ทรงเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์, วจีทุจฺจริตํ วจีทุจริต ตถาคตสฺส ของพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า (วจนํ) พระดำรัส ตถาคเตน อันพระตถาคต สมุทาจิณฺณํ ทรงเรียก โมฆปุริสวาเทน ด้วยวาทะว่าโมฆบุรุษ อปราเธ ในเพราะความผิด เถรสฺส สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส พระเถระสุทินกลันทบุตร ดังนี้ ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิด.

 

ยทิ ภควตา เถรสฺส สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส อปราเธ โมฆปุริสวาเทน สมุทาจิณฺณํ, เตน หิ ปริสุทฺธวจีสมาจาโร ตถาคโต, นตฺถิ ตถาคตสฺส วจีทุจฺจริตนฺติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

ยทิ ถ้าว่า วจนํ พระดำรัส ภควตา อันพระผู้มีพระภาค สมุทาจิณฺณํ ทรงเรียก โมฆปุริสวาเทน ด้วยวาทะว่าโมฆบุรุษ อปราเธ เพราะความผิด เถรสฺส สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส พระเถระสุทินกลันทบุตร จริงแล้ว, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ แม้คำนั้น อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต ปริสุทฺธวจีสมาจาโร ทรงเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์, วจีทุจฺจริตํ วจีทุจริต ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้ มิจฺฉา เป็นอันผิด.

 

อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, เถเรน สาริปุตฺเตน ธมฺมเสนาปตินาปริสุทฺธวจีสมาจาโร อาวุโส ตถาคโต, นตฺถิ ตถาคตสฺส วจีทุจฺจริตํ, ยํ ตถาคโต รกฺเขยฺย มา เม อิทํ ปโร อญฺญาสีติฯ อายสฺมโต จ สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส อปราเธ ปาราชิกํ ปญฺญเปนฺเตน ภควตา โมฆปุริสวาเทน สมุทาจิณฺณํ, ตญฺจ ปน อทุฏฺฐจิตฺเตน อสารมฺเภน ยาถาวลกฺขเณนฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ ข้อความนี้ อิติ ว่า อาวุโส ท่านผุ้มีอายุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต ปริสุทฺธวจีสมาจาโร ทรงมีวจีสมาจาร (ความประพฤติทางวาจา), วจีทุจฺจริตํ วจีทุจริต ตถาคตสฺส ของพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี, ยํ เพราะเหตุว่า ตถาคโต พระตถาคต รกฺเขยฺย ทรงรักษา (จินฺตเนน) ด้วยทรงดำริ อิติ ว่า ปโร ผู้อื่น มา อญฺญาสิ อย่าได้รู้แล้ว อิทํ ซึ่งวจีทุจริต เม ของเรา ดังนี้ เถเรน สาริปุตฺเตน ธมฺมเสนาปตินา อันพระสารีบุตรเถร ผู้เป็นพระธรรมเสนาบดี ภาสิตมฺปิ ก็ได้ภาษิตไว้. และ ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า (วจนํ) พระดำรัส ตถาคเตน อันพระตถาคต สมุทาจิณฺณํ ตรัสแล้ว โมฆปุริสวาเทน ด้วยวาทะว่าโมฆบุรุษ อปราเธ ในเพราะความผิด เถรสฺส สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส พระเถระสุทินกลันทบุตร. จ ปน ก็แล ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อทุฏฺฐจิตฺเตน มีจิตอันความโกรธกระทบกระทั่งหามิได้ อสารมฺเภน = นิทฺโทเสน  มีโทสะหามิได้ สมุทาจิณฺณํ ตรัสไว้ ยาถาวลกฺขเณน ตามลักษณะตามความเป็นจริง.

 

กิญฺจ ตตฺถ ยาถาวลกฺขณํ, ยสฺส, มหาราช, ปุคฺคลสฺส อิมสฺมิํ อตฺตภาเว จตุสจฺจาภิสมโย น โหติ, ตสฺส ปุริสตฺตนํ โมฆํ อญฺญํ กยิรมานํ อญฺเญน สมฺภวติ, เตน วุจฺจติ โมฆปุริโสติฯ อิติ, มหาราช, ภควตา อายสฺมโต สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส สตาววจเนน สมุทาจิณฺณํ, โน อภูตวาเทนา’’ติฯ        

ก็ ยาถาวลกฺขณํ ลักษณะตามที่เป็นจริง ตตฺถ ในคำว่า “โมฆบุรุษ” นั้น กิํ คือ อะไร, มหาราช มหาบพิตร จตุสจฺจาภิสมโย การตรัสรู้สัจจะ ๔ อิมสฺมิํ อตฺตภาเว ในอัตตภาพนี้ ยสฺส ปุคฺคลสฺส ของบุคคล ใด น โหติ ย่อมไม่มี, ปุริสตฺตนํ ความเป็นบุรุษ ตสฺส ปุคฺคลสฺส แห่งบุคคลนั้น โมฆํ เป็นของเปล่า คือ (วิปสฺสนากมฺมํ) การเจริญวิปัสนา  (เตน ปุคฺคเลน) อันบุคคลนั้น (อารพฺภ) ปรารภ อญฺญํ ซึ่งผลอีกอย่างหนึ่ง = โลกุตฺตรผลํ โลกุตรผล กยิรมานํ กระทำอยู่ สมฺภวติ ย่อมมี อญฺเญน = โลกิยผเลน โดยผลคือโลกิยะอีกอย่างหนึ่ง[3], เตน เพราะเหตุนั้น โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุจฺจติ ตรัสเรียก อิติ ว่า “โมฆปุริโส” โมฆบุรุษ ดังนี้. มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค สมุทาจิณฺณํ ตรัสเรียก สตาวจเนน ด้วยถ้อยคำอันมีอยู่[4] อายสฺมโต สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส ของท่านพระสุทินกลันทบุตร, อภูตวาเทน ด้วยวาทะอันไม่เป็นจริง โน หามิได้ ดังนี้.

 

‘‘สภาวมฺปิ, ภนฺเต นาคเสน, โย อกฺโกสนฺโต ภณติ, ตสฺส มยํ กหาปณํ ทณฺฑํ ธาเรม, อปราโธ เยว โส วตฺถุํ นิสฺสาย วิสุํ โวหารํ อาจรนฺโต อกฺโกสตี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, โย ปุคฺคโล บุคคลใด อกฺโกสนฺโต ภณติ กล่าวด่าอยู่ สภาวมฺปิ=สภาเวนปิ วจเนน แม้ด้วยคำอันเป็นจริง, มยํ ข้าพเจ้า ตสฺส ยังบุคคลนั้น ธาเรม ย่อมให้ทรงไว้ กหาปณํ ทณฺฑํ ซึ่งโทษคือกหาปณะ[5], ปุคฺคโล บุคคล อาจรนฺโต เมื่อกล่าว โวหารํ ซึ่งคำพูด อกฺโกสติ ด่าอยู่ วิสุํ แต่ละคำ นิสฺสาย อาศัย วตฺถุํ ซึ่งเรื่อง (ในบุคคลที่ตนด่า),  โส อกฺโกโส คำด่าอันนั้น อปราโธเยว ยังเป็นความผิดอยู่นั่นเอง,[6]

 

‘‘อตฺถิ ปน, มหาราช, สุตปุพฺพํ ตยา ขลิตสฺส อภิวาทนํ วา ปจฺจุฏฺฐานํ วา สกฺการํ วา อุปายนานุปฺปทานํ วา’’ติ?           

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร, อภิวาทนํ วา การกราบไหว้ บ้าง, ปจฺจุฏฺฐานํ วา การลุกต้อนรับ บ้าง, สกฺการํ วา การสักการะ บ้าง ขลิตสฺส ซึ่งบุคคลผู้มีความผิดแล้ว อุปายนานุปฺปาทานํ วา การมอบของรางวัล (ขลิตสฺส) แก่บุคคลผู้มีความผิดแล้ว[7] ตยา อันพระองค์ สุตปุพฺพํ ได้ทรงสดับแล้วในกาลก่อน อตฺถิ มีอยู่ หรือ ดังนี้.

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, ยโต กุโตจิ ยตฺถ กตฺถจิ ขลิโต, โส ปริภาสนารโห โหติ ตชฺชนารโห, อุตฺตมงฺคมฺปิสฺส ฉินฺทนฺติ หนนฺติปิ พนฺธนฺติปิ ฆาเตนฺติปิ ฌาเปนฺติปี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ (ตํ ปวตฺตํ) เรื่องนั้น มยา อันเรา น สุตปุพฺพํ ไม่เคยได้สดับมาแล้วในกาลก่อน, โย ปุคฺคโล บุคคลใด ขลิโต ผิดแล้ว ยตฺถ กตฺถจิ ในที่ใดที่หนึ่ง ยโต กุโตจิ เพราะเหตุใดเพราะเหตุหนึ่ง, โส ปุคฺคโล บุคคลนั้น ปริภาสนารโห เป็นผู้ควรเพื่อการด่า ตชฺชนารโห เป็นผู้ควรเพื่อการกำหราบ โหติ ย่อมเป็น, (ราชปุริสา) เจ้าพนักงาน ฉินฺทนฺติ ย่อมตัด อุตฺตมงฺคมฺปิ แม้ศีรษะ อสฺส ของเขา, หนนฺติปิ ย่อมประหารชีวิต บ้าง, ฆาเตนฺติปิ ย่อมจองจำบ้าง, ฌาเปนฺติปิ เผาให้ตายบ้าง ดังนี้.

 

‘‘เตน หิ, มหาราช, ภควตา กิริยา เยว กตา, โน อกิริยา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น กิริยาเยว กิจอันควรทำนั่นเทียว ภควตา อันพระผู้มีพระภาค กตา ทรงกระทำแล้ว, อกิริยา  กิจอันไม่ควรทำ อันพระผู้มีพระภาค โน กตา หาได้ทรงกระทำไม่[8] ดังนี้

 

  ‘‘กิริยมฺปิ, ภนฺเต นาคเสน, กุรุมาเนน ปติรูเปน กาตพฺพํ อนุจฺฉวิเกน, สวเนนปิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคตสฺส สเทวโก โลโก โอตฺตปฺปติ หิริยติ ภิยฺโย ทสฺสเนน ตตุตฺตริํ อุปสงฺกมเนน ปยิรุปาสเนนา’’ติฯ           

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ริยมฺปิ แม้สิ่งที่ควรทำ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค กุรุมาเนน ผู้ทรงกระทำอยู่ กิ กาตพฺพํ พึงทรงกระทำ ปติรูเปน อย่างสมควร อนุจฺฉวิเกน อย่างเหมาะสม, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ โลโก ชนชาวมนุษยโลก สเทวโก พร้อมทั้งเทวดา โอตฺตปฺปติ ย่อมเกรงกลัว หิริยติ ย่อมละอาย ตถาคตสฺส ต่อพระตถาคต สวเนนปิ แม้ด้วยการได้ยิน (ซึ่งพระนาม), โอตฺตปฺปติ ย่อมเกรงกลัว หิริยติ ย่อมละอาย ตถาคตสฺส ต่อพระตถาคต ทสฺสเนน ด้วยการเห็น ภิยฺโย ยิ่งขึ้น, โอตฺตปฺปติ ย่อมเกรงกลัว หิริยติ ย่อมละอาย ตถาคตสฺส ต่อพระตถาคต ตตฺตุตฺตริํ ยิ่งกว่าการเห็นนั้นอีก อุปสงฺกเมน ด้วยการเข้าใกล้ ปยิรุปาสเนน ด้วยการเข้าไปนั่งใกล้ ดังนี้.

 

‘‘อปิ นุ โข, มหาราช, ติกิจฺฉโก อภิสนฺเน กาเย กุปิเต โทเส สิเนหนียานิ เภสชฺชานิ เทตี’’ติ?           

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า โทเส ครั้นเมื่อโทษ กาเย ในกาย อภิสนฺเน อันหมักหมม กุปิเต กำเริบแล้ว ติกิจฺฉโก นายแพทย์ เทติ ให้อยู่ เภสชฺชานิ ซึ่งยาทั้งหลาย สิเนหนียานิ[9] ที่มีฤทธิ์ดูดซับ อปิ นุ โข บ้างหรือหนอ ดังนี้

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, ติณฺหานิ เลขนียานิ เภสชฺชานิ เทตี’’ติฯ 

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  โส นายแพทย์นั้น น เทติ มิได้ให้ เภสชฺชานิ ซึ่งยาทั้งหลาย สิเนหนียานิ อันเป็นน้ำมันเหนียว, เทติ ย่อมให้ เภสชฺชานิ ซึ่งยาทั้งหลาย ติณฺหานิ ร้อนแรง (ตามศัพท์ แข็งกล้า) เลขนียานิ มีฤทธิ์ขับถ่าย ดังนี้

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต สพฺพกิเลสพฺยาธิวูปสมาย อนุสิฏฺฐิํ เทติ, ผรุสาปิ, มหาราช, ตถาคตสฺส วาจา สตฺเต สิเนหยติ, มุทุเก กโรติฯ ยถา, มหาราช, อุณฺหมฺปิ อุทกํ ยํ กิญฺจิ สิเนหนียํ สิเนหยติ, มุทุกํ กโรติ, เอวเมว โข, มหาราช, ผรุสาปิ ตถาคตสฺส วาจา อตฺถวตี โหติ กรุณาสหคตาฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต เทติ ย่อมทรงประทาน อนุสิฏฺฐิํ ซึ่งคำสอน สพฺพกิเลสพฺยาธิวูปสมาย เพื่อความสงบระงับแห่งพยาธิคือกิเลสทั้งปวง เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว, มหาราช มหาบพิตร วาจา พระวาจา ตถาคตสฺส ของพระตถาคต ผรุสาปิ แม้ว่าจะหยาบ สตฺเต ยังสัตว์ทั้งหลาย สิเนหยติ ย่อมให้ติดใจ, กโรติ ย่อมทรงกระทำ สตฺเต ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มุทุเก ให้เป็นคนอ่อนโยน. มหาราช มหาบพิตร เปรียบเหมือนว่า อุทกํ น้ำ อุณฺหมฺปิ แม้ร้อน ยํ กิญฺจิ สิเนหนียํ ยังของที่พึงทำให้ติดกันได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง สิเนหยติ ย่อมให้ติดกัน, กโรติ ย่อมกระทำ มุทุกํ ให้เป็นของอ่อนตัวลง ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร วาจา พระวาจา ตถาคตสฺส ของพระตถาคต ผรุสาปิ แม้หยาบ อตฺถวตี มีประโยชน์ กรุณาสหคตา ประกอบด้วยพระกรุณา โหติ ย่อมเป็น เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกัน แล.

 

ยถา, มหาราช, ปิตุวจนํ ปุตฺตานํ อตฺถวนฺตํ โหติ กรุณาสหคตํ, เอวเมว โข, มหาราช, ผรุสาปิ ตถาคตสฺส วาจา อตฺถวตี โหติ กรุณาสหคตาฯ ผรุสาปิ, มหาราช, ตถาคตสฺส วาจา สตฺตานํ กิเลสปฺปหานา โหติฯ     

มหาราช มหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า ปิตุวจนํ คำสอนของบิดา อตฺถวนฺตํ เป็นคำสอนที่มีประโยชน์ ปุตฺตานํ สำหรับบุตรทั้งหลาย กรุณาสหคตา กอปรด้วยกรุณา โหติ ย่อมเป็น ฉันใด, วาจา พระวาจา ตถาคตสฺส ของพระตถาคต ผรุสาปิ แม้ว่าจะหยาบ อตฺถวตี ก็มีประโยชน์ กรุณาสหคตา ประกอบด้วยพระกรุณา โหติ ย่อมเป็น เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกัน แล., มหาราช มหาบพิตร วาจา พระวาจา ตถาคตสฺส ของพระตถาคต ผรุสาปิ แม้ว่าจะหยาบคายบ้าง กิเลสปฺปหานา ก็ถือเป็นวาจาที่เป็นเหตุละกิเลส สตฺตานํ สำหรับสัตว์ทั้งหลาย โหติ ย่อมเป็น.

 

ยถา, มหาราช, ทุคฺคนฺธมฺปิ โคมุตฺตํ ปีตํ วิรสมฺปิ อคทํ ขายิตํ สตฺตานํ พฺยาธิํ หนติ, เอวเมว โข, มหาราช, ผรุสาปิ ตถาคตสฺส วาจา อตฺถวตี กรุณาสหคตาฯ ยถา, มหาราช, มหนฺโตปิ ตูลปุญฺโช ปรสฺส กาเย นิปติตฺวา รุชํ น กโรติ, เอวเมว โข, มหาราช, ผรุสาปิ ตถาคตสฺส วาจา น กสฺสจิ ทุกฺขํ อุปฺปาเทตี’’ติฯ

    มหาราช มหาบพิตร เปรียบเหมือนว่า โคมุตฺตํ น้ำมูตรโค ทุคฺคนฺธมฺปิ แม้ว่าจะมีกลิ่นเหม็นก็ตาม ปีตํ อันสัตว์ทั้งหลายได้ดื่มแล้ว,  อคทํ ยา วิรสมฺปิ แม้หารสชาติมิได้ ขายิตํ อันสัตว์ทั้งหลายได้กินแล้ว หนฺติ ย่อมกำจัด พฺยาธิํ ซึ่งโรค สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลายได้ ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร วาจา พระวาจา ตถาคตสฺส ของพระตถาคต ผรุสาปิ แม้ว่าจะหยาบ อตฺถวตี ก็มีประโยชน์ กรุณาสหคตา ประกอบด้วยพระกรุณา โหติ ย่อมเป็น เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกัน แล.มหาราช มหาบพิตร ตูลปุญฺโช กองแห่งนุ่น มหนฺโตปิ แม้ว่าจะเป็นกองใหญ่ นิปติตฺวา ครั้นตกลงมาแล้ว กาเย ที่กาย ปรสฺส ของผู้อื่น น กโรติ ก็หาได้กระทำ รุชํ ซึ่งความเสียดแทง ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร วาจา พระวาจา ตถาคตสฺส ของพระตถาคต ผรุสาปิ แม้ว่าจะหยาบ ทุกฺขํ ยังทุกข์ อุปฺปาเทติ ย่อมให้เกิด กสฺสจิ แก่ใครๆ หามิได้ เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกัน แล ดังนี้.

 

 ‘‘สุวินิจฺฉิโต ภนฺเต นาคเสน ปญฺโห พหูหิ การเณหิ, สาธุ ภนฺเต นาคเสน เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

   มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตยา อันท่าน ปญฺโห ปัญหา สุวินิจฺฉิโต วินิจฉัยดีแล้ว การเณหิ ด้วยเหตุผล พหูหิ มากหลาย, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีแล้ว เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.

 

ผรุสวาจาภาวปญฺโห จตุตฺโถฯ

ผรุสวาจาภาวปญฺโห

ผรุสวาจาปัญหา

จตุตฺโถ ลำดับที่ ๔ นิฏฺฐิโต จบแล้วฯ



[1] ความประพฤติชอบทางวาจา ชื่อว่าวจีสมาจาร ได้แก่ การเปล่งวาจาชอบ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีพระวจีสมาจารนั้นบริสุทธิ์ คือ ทรงเปล่งพระวาจาอย่างไม่อาศัยความยินดีและยินร้าย เป็นพระวาจาที่หาข้อติเตียนมิได้

[2] รุนฺธิตตฺตา (รุธิ อาวรณํ = ปิทหนํ วา  ฯปฯ ปลิพุทฺธนํ วา (นีติ.ธาตุ.)  + ต + ตฺตา ภาวตัทธิตปัจจัย)  รุธิธาตุ  อาวรเณ วตฺตติ. เอตฺถ อาวรณํ นาม ปิทหนํ วา ปริรุนฺธนํ  วา ปลิพุทฺธนํ วา หริตุ วา อปฺปทานํ, สพฺพเมตํ วฏฺฏติ. รุธิ ธาตุใช้ในความหมายว่า ปิด; ล้อม; รบกวน; ห้าม.  อาวรณ คือ การปิด; การล้อม; การรบกวน; การห้าม ทั้งหมดนี้ย่อมควร. ฉบับไทยปาฐะเป็น เตน จ โมฆปุริสวาเทน โส เถโร คุรุจิตฺตุตฺราสนวเสน ตสิโต วิปฺปฏิสารี นาสกฺขิ อริยมคฺคํ ปฏิวิชฺฌิตุํ.ด้วยวาทะว่าโมฆบุรุษนั้น ทำให้พระเถระหวาดกลัว ไม่สบายใจเพราะอำนาจความตกใจอย่างหนัก จึงไม่อาจบรรบุอริยมรรคได้.

[3] แปลโดยนัยของมิลินทฏีกา. อีนัยหนึ่ง แปลเท่าศัพท์ อญฺญํ (วิปสฺสนากมฺมํ) กามาวจรกุศลกรรมคือวิปัสนา อันเป็นอีกอย่างหนึ่ง (จากกามาวจรกุศลกรรมมีทาน ศีล ภาวนา เพราะยังโลกุตรผลให้เกิด)  (เตน โมฆปุริเสน) อันโมฆบุรุษนั้น กยิรมานํ กระทำอยู่ สมฺภวติ ย่อมสำเร็จ อญฺเญน (โลกิยผลเน)โดยโลกิยผลอีกอย่างหนึ่ง (คือ ให้โลกิยผลมีภพสมบัติเป็นต้นเกิด หาได้ให้โลกุตรผลเกิดขึ้นไม่). เรียบเรียงจากมิลินทปัญหาสำนวนล้านนา. หมายความว่า บุคคลที่เรียกว่า โมฆบุรุษ เพราะในอัตตภาพปัจจุบันที่เป็นมนุษย์นี้ แม้เป็นผู้ที่แม้เจริญวิปัสสนา อันเป็นกามาวจรกุศลกรรมชนิดที่ต่างจากกามาวจรกุศลกรรมชนิดอื่นเพราะให้ผลสืบเนื่องไปถึงโลกุตรผล แต่วิปัสสนาที่ตนปรารภนั้น ก็ให้ผลเป็นเพียงโลกิยสมบัติเท่านั้น

[4] สตาวจเนน เป็นสนธิ ระหว่าง สตา (สนฺต มีอยู่จริง + นา วิภัตติ แปลง นฺต กับ นา เป็น ตา = สตา) + วจเนน. ฉบับไทยปาฐะเป็น สภาววจเนน.

[5] คือ ให้ได้รับโทษปรับ.

[6] หมายความว่า แม้จะอาศัยวัตถุที่ไม่ใช่คำพูดแล้วแต่งให้เป็นคำด่า การด่านั้น ก็จะยังถือว่าเป็นความผิดอยู่นั่นแหละ.

[7] นัยนี้แยก ขลิตสฺส เป็นสองการกะ คือ ฉัฏฐีกรรม ในบทว่า อภิวาทนํ เป็นต้น และสัมปทานะ ในบทว่า อุปายนานุปฺปาทนํ.

[8] อีกนัยหนึ่ง เตน หิ ถ้าอย่างนั้น กิริยาเยว (โมฆปุริสวจนสงฺขาตา) กิริยากล่าวคือการกล่าวว่าโมฆบุรุษ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค กตา ทรงกระทำแล้ว (โทสวนฺตสฺส ปุคฺคลสฺส) ต่อบุคคลผู้มีความผิด, อกิริยา อกริยากล่าวคือการไม่กล่าวว่าโมฆบุรุษ ภควตา อันพระผู้มีพระภาคโน กตา หาได้ทรงกระทำไม่

[9] สิเนหนียานิ ยาที่มีลักษณะเป็นเมือกลื่นเหนียวออกฤทธิ์ทำให้ดีเป็นต้นที่หมักหมมอยู่ในกายนั้นแตกกระจายคลายตัวแล้วจึงทำให้เส้นเอ็นอ่อนตัวลง ย่อมบรรเทาอาการแข็งกระด้างแห่งร่างกาย(มิลิน.ล้านนา) แต่ในฉบับมหามกุฏฯ แปลว่า ยาคุม หมายถึง ยาที่มีลักษณะดึงดูดให้พิษทั้งหลายมาเกาะกุมกันเข้า ซึ่งออกฤทธิ์ในทางยับยั้งโรคท้องเสีย เพราะท่านกล่าวไว้ในตอนต้นว่า เมื่อร่างกายหมักหมมจนกำเริบเกิดโทษขึ้น (อภิสนฺเน กาเย กุปิเต โทเส). แต่บางอาจารย์แปลว่า ยาที่น่ารับประทาน ซึ่งมองจากศัพท์ว่า สิเนหนียานิ ที่เป็นไวพจน์ของตัณหา. อย่างไรก็ตาม เทียบเคียงกับอุปมาที่พระเถระขักมาอรรถาธิบาย คิดว่าเป็นยาที่มีฤทธิ์ดูดซับของเสียที่หมักหมมอยู่แล้วใช้ยาอีกหนึ่งชนิดขับถ่ายออกจากร่างกาย ดังที่ท่านแปลยาชนิดต่อไปว่า เลขนียานิ ว่า ยาประจุ หมายถึง ยาที่ใช้ขับพิษถ่ายพิษ ดังที่ท่านทูลถามพระราชาว่า คนไข้มีอาการไม่สบายกายอันเกิดจากของเสียหมักหมม หมอจะให้ยาตัวนี้ที่ยิ่งออกฤทธิ์ดูดซับอย่างเดียวหรือไร?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น