วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

๕. รุกขอเจตนาภาวปัญหา ปัญหาว่าด้วยความไม่มีจิตใจของต้นไม้

 

๕. รุกฺขอเจตนาภาวปญฺโห

. รุกขอเจตนาภาวปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความไม่มีจิตใจของต้นไม้

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ตถาคเตน

       อเจตนํ พฺราหฺมณ อสฺสุณนฺตํ,   

             ชาโน อชานนฺตมิมํ ปลาสํ;

             อารทฺธวีริโย ธุวํ อปฺปมตฺโต,       

             สุขเสยฺยํ ปุจฺฉสิ กิสฺส เหตูติฯ (ชา. ๑.๔.๒๕)

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ กถาพนฺธนํ พระคาถาพันธนะนั้น ตถาคเตน อันพระตถาคต ภาสิตมฺปิ แม้ทรงภาษิตไว้แล้ว อิติ ว่า พฺราหฺมณ พราหมณ์  ตฺวํ ท่าน ชานํ = ชานนฺโต รู้อยู่ อิมํ ปลาสํ ซึ่งต้นทองกวาว[1]นี้ อเจตนา[2] ไม่มีจิต อสฺสุณนฺตํ ไม่ได้ยินเสียง อชานนฺตํ ไม่มีความรู้สึก กิสฺส เหตุ เพราะเหตุไร อารทฺธวีริโย จึงยังมีความพยายาม อปฺปมตฺโต ไม่ลืม ปุจฺฉสิ ถามอยู่ ธุวํ เป็นนิตย์ สุขเสยฺยํ ซึ่งการนอนเป็นสุข ดังนี้[3]

ปุน จ ภณิตํ

       อิติ ผนฺทนรุกฺโขปิ,  ตาวเท อชฺฌภาสถ;

          มยฺหมฺปิ วจนํ อตฺถิ,   ภารทฺวาช สุโณหิ เมติฯ (ชา. ๑.๑๓.๒๐)

 และ เอตํ กถาพนฺธนํ พระคาถานั้น ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ก็ยังตรัสไว้ ปุน อีก อิติ ว่า ตาวเท ในขณะนั้น ผนฺทนรุกฺโขปิ แม้ต้นสะคร้อ อชฺฌภาสถ ได้กล่าวแล้ว อิติ ว่า วจนํ คำพูด มยฺหมฺปิ แม้ของข้าพเจ้า อตฺถิ มีอยู่, ภารทฺวาช ท่านภารทวาชะ ตฺวํ ท่าน สุโณหิ ขอจงฟัง (วจนํ) ซึ่งคำพูด เม ของข้าพเจ้า ดังนี้. [4]

‘‘ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, รุกฺโข อเจตโน, เตน หิ ผนฺทเนน รุกฺเขน ภารทฺวาเชน สห สลฺลปิตนฺติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ผนฺทเนน รุกฺเขน ภารทฺวาเชน สทฺธิํ สลฺลปิตํ, เตน หิ รุกฺโข อเจตโนติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า รุกฺโข ต้นไม้ อเจตโน เป็นสิ่งไม่มีจิตใจ ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด ผนฺทเนน รุกฺเขน ที่ต้นตะคร้อ สลฺลปิตํ สนทนาแล้ว สห กับ ภารทฺวาเชน ด้วยพราหมณ์ภารทวาชะ, ตํ วจนํ คำแม้นั้น มิจฺฉา ก็ไม่ถูกต้อง, ยทิ ถ้าหากว่า ยํ วจนํ คำใด ผนฺทเนน รุกฺเขน ที่ต้นตะคร้อ สลฺลปิตํ สนทนาแล้ว สห กับ ภารทฺวาเชน ด้วยพราหมณ์ภารทวาชะ, ตมฺปิ วจนํ คำแม้นั้น อิติ ว่า รุกฺโข ต้นไม้ อเจตโน เป็นสิ่งไม่มีจิตใจ ดังนี้ มิจฺฉา เป็นอันว่าผิดไป. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา รุกฺโข อเจตโนติ, ผนฺทเนน จ รุกฺเขน ภารทฺวาเชน สทฺธิํ สลฺลปิตํ, ตญฺจ ปน วจนํ โลกสมญฺญาย ภณิตํฯ นตฺถิ, มหาราช, อเจตนสฺส รุกฺขสฺส สลฺลาโป นาม, อปิ จ, มหาราช, ตสฺมิํ รุกฺเข อธิวตฺถาย เทวตาเยตํ อธิวจนํ รุกฺโขติ, รุกฺโข สลฺลปตีติ เจสา โลกปณฺณตฺติ, ยถา, มหาราช, สกฏํ ธญฺญสฺส ปริปูริตํ ธญฺญสกฏนฺติ ชโน โวหรติ, น จ ตํ ธญฺญมยํ สกฏํ, รุกฺขมยํ สกฏํ, ตสฺมิํ สกเฏ ธญฺญสฺส ปน อากิริตตฺตา ธญฺญสกฏนฺติ ชโน โวหรติ, เอวเมว โข, มหาราช, น รุกฺโข สลฺลปติ, รุกฺโข อเจตโน, ยา ปน ตสฺมิํ รุกฺเข อธิวตฺถา เทวตา, ตสฺสา เยว ตํ อธิวจนํ รุกฺโขติ, รุกฺโข สลฺลปตีติ เจสา โลกปณฺณตฺติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า รุกฺโข ต้นไม้ อเจตโน เป็นสิ่งที่ไม่มีจิตใจ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ได้ทรงภาษิตไว้จริง, และ วจนํ คำ ผนฺทเนน รุกฺเขน อันต้นตะคร้อ สลฺลปิตํ ก็ได้สนทนาแล้ว สห กับ ภารทฺวาเชน ด้วยพราหมณ์ภารทวาชะ จริง, จ ปน ก็แล ตํ วจนํ คำแม้นั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้ โลกสมญฺญาย ตามโวหารของชาวโลก. มหาราช มหาบพิตร สลฺลาโป นาม ขึ้นชื่อว่า การเจรจา รุกฺขสฺส ของต้นไม้ อเจตนสฺส ที่ไม่มีจิตใจ นตฺถิ ย่อมไม่มี, มหาราช มหาบพิตร อปิ จ อันที่จริง วจนํ คำ อิติ ว่า ต้นไม้ รุกฺโข ดังนี้ เอตํ นี้ อธิวจนํ เป็นชื่อ เทวตาย ของเทวดา อธิวตฺถาย ที่สิงสถิตย์อยู่ ตสฺมิํ รุกฺเข ที่ต้นไม้นั้น,[5] ก็ เอสา วาจา การกล่าว อิติ ว่า รุกฺโข สลฺลปติ ต้นไม้ เจรจาอยู่ ดังนี้ โลกปณฺณตฺติ เป็นบัญญัติของชาวโลก, มหาราช มหาบพิตร เปรียบเหมือนว่า ชโน ชน โวหรติ ย่อมเรียก สกฏํ ซึ่งเกวียน ปริปูริตํ อันเต็มแล้ว ธญฺญสฺส ด้วยข้าวเปลือก อิติ ว่า ธญฺญสกฏํ เกวียนข้าวเปลือก ดังนี้, แต่ ตํ สกฏํเกวียนนั้น ธญฺญมยํ ทำแล้วด้วยข้าวเปลือก น (โหติ) ย่อมไมมี, (ปน) แต่ว่า รุกฺขมยํ สกฏํ เป็นเกวียนอันทำด้วยต้นไม้, ปน แต่ ชน โวหรติ ย่อมเรียก อิติ ว่า ธญฺญสกฏํ เกวียนข้าวเปลือก ธญฺญสฺส อากิริตตฺตา เพราะความที่แห่งข้าวเปลือก เป็นของอันเกลื่อนกล่นแล้ว ตสฺมิํ สกเฏ ที่เกวียนนั้น[6] ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร รุกฺโข ต้นไม้ น สลฺลปติ หาเจรจาได้ไม่, รุกฺโข ต้นไม้ อเจตโน ไม่มีจิตใจ, ปน แต่ ยา เทวตา เทวดาองค์ใด อธิวตฺถา สิงสถิตย์อยู่ ตสฺมิํ รุกฺเข ที่ต้นไม้นั้น, ตํ วจนํ คำนั้น รุกฺโข อิติ ว่า ต้นไม้ ดังนี้ อธิวจนํ เป็นชื่อ ตสฺสาเยว ของเทวดาองค์นั้น, อนึ่ง เอสา วาจา คำนี้ อิติ ว่า รุกฺโข สลฺลปติ ต้นไม้พูดได้ ดังนี้ โลกปณฺณตฺติ เป็นบัญญัติของชาวโลก เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, ทธิํ มนฺถยมาโน ตกฺกํ มนฺเถมีติ โวหรติ, น ตํ ตกฺกํ, ยํ โส มนฺเถติ, ทธิํ เยว โส มนฺเถนฺโต ตกฺกํ มนฺเถมีติ โวหรติ, เอวเมว โข, มหาราช, น รุกฺโข สลฺลปติ, รุกฺโข อเจตโนฯ ยา ปน ตสฺมิํ รุกฺเข อธิวตฺถา เทวตา, ตสฺสาเยว ตํ อธิวจนํ รุกฺโขติ, รุกฺโข สลฺลปตีติ เจสา โลกปณฺณตฺติฯ

มหาราช มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า ปุคฺคโล บุคคล มนฺถยมาโน ถึงจะกวน ทธิํ ซึ่งนมส้ม โวหรติ แต่กล่าว อิติ ว่า อหํ เรา มนฺเถมิ กวนอยู่ ตกฺกํ ซึ่งเปรียง ดังนี้, โส เขา มนฺเถติ กวนอยู่ ยํ ทธิํ ซึ่งนมส้มใด, ตํ นมส้มนั้น น ตกฺกํ หาได้เป็นเปรียงไม่, โส เขา มนฺเถนฺโต เมื่อกวน ทธิํเยว ซึ่งนมส้มนั่นเทียว โวหรติ ย่อมกล่าว อิติ ว่า อหํ เรา มนฺเถมิ กำลังกวน ตกฺกํ ซึ่งเปรียง ดังนี้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร รุกฺโข ต้นไม้ น สลฺลปติ หาเจรจาได้ไม่, รุกฺโข ต้นไม้ อเจตโน ไม่มีจิตใจ, ปน แต่ ยา เทวตา เทวดาองค์ใด อธิวตฺถา สิงสถิตย์อยู่ ตสฺมิํ รุกฺเข ที่ต้นไม้นั้น, ตํ วจนํ คำนั้น อิติ ว่ารุกฺโข ต้นไม้ ดังนี้ อธิวจนํ เป็นชื่อ ตสฺสาเยว ของเทวดาองค์นั้น, อนึ่ง เอสา วาจา คำนี้ อิติ ว่า รุกฺโข สลฺลปติ ต้นไม้พูดได้ ดังนี้ โลกปณฺณตฺติ เป็นบัญญัติของชาวโลก เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, อสนฺตํ สาเธตุกาโม สนฺตํ สาเธมีติ โวหรติ, อสิทฺธํ สิทฺธนฺติ โวหรติ, เอวเมสา โลกสมญฺญา, เอวเมว โข, มหาราช, น รุกฺโข สลฺลปติ, รุกฺโข อเจตโนฯ ยา ปน ตสฺมิํ รุกฺเข อธิวตฺถา เทวตา, ตสฺสาเยว ตํ อธิวจนํ รุกฺโขติ, รุกฺโข สลฺลปตีติ เจสา โลกปณฺณตฺติ, ยาย, มหาราช, โลกสมญฺญาย ชโน โวหรติ, ตถาคโตปิ ตาเยว โลกสมญฺญาย สตฺตานํ ธมฺมํ เทเสตี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า ปุคฺคโล บุคคล อสนฺตํ สาเธตุกาโม ผู้ต้องการทำซึ่งสิ่งที่ยังไม่มีให้สำเร็จ โวหรติ ย่อมกล่าว อิติ ว่า อหํ เรา สนฺตํ สาเธมิ จะทำให้สิ่งที่มีให้สำเร็จ ดังนี้, โวหรติ ย่อมกล่าว อสิทฺธํ ซึ่งของยังไม่สำเร็จ อิติ ว่า สิทฺธํ เป็นของสิ่งที่สำเร็จแล้ว ดังนี้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร รุกฺโข ต้นไม้ น สลฺลปติ หาเจรจาได้ไม่, รุกฺโข ต้นไม้ อเจตโน ไม่มีจิตใจ, ปน แต่ ยา เทวตา เทวดาองค์ใด อธิวตฺถา สิงสถิตย์อยู่ ตสฺมิํ รุกฺเข ที่ต้นไม้นั้น, ตํ วจนํ คำนั้น อิติ ว่า รุกฺโข ต้นไม้ ดังนี้ อธิวจนํ เป็นชื่อ ตสฺสาเยว ของเทวดาองค์นั้น, อนึ่ง เอสา วาจา คำนี้ อิติ ว่า รุกฺโข สลฺลปติ ต้นไม้พูดได้ ดังนี้ โลกปณฺณตฺติ เป็นบัญญัติของชาวโลก เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล, มหาราช มหาบพิตร ชโน ชนชาวโลก โวหรติ ย่อมกล่าว โลกสมญฺญาย ด้วยโวหารของชาวโลก ยาย อันใด, ตถาคโตปิ แม้พระตถาคต เทเสติ ก็ย่อมทรงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม สตฺตานํ แก่สัตว์ทั้ืงหลาย ตาเยว โลกสมญฺญาย ด้วยโวหารของชาวโลกนั้นนั่นเทียว ดังนี้.

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีแล้ว เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.

รุกฺขอเจตนาภาวปญฺโห ปญฺจโมฯ

รุกฺขอเจตนาภาวปญฺโห

รุกขอเจตนาภาวปัญหา

 ปญฺจโม ลำดับที่ ๕ นิฏฺฐิโต จบแล้วฯ

 

.....



[1] ปลาส มีความหมาย ๓ อย่าง คือ หริต สีเขียวใบไม้, ปณฺณ ใบไม้ และ กิํสุกทุม ต้นทองกวาว (ธาน.๑๐๑๖). ในที่นี้หมายถึง ต้นทองกวาว.

[2] อเจตนา = อจิตฺตกํ ไม่มีจิตที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ กล่าวคือ ไม่มีความตอบสนองต่อการกล่าวของใครๆ.

[3] ความข้อนี้พระเจ้ามิลินท์หมายถึง เนื้อความที่มาในปลาสชาดก (ชุ.ชา.๒๗/๒๕-๙๙)  ดังนี้.  ในอดีตกาล เมื่อครั้งที่พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติเมืองพาราณสี. พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นปลาสรุกขเทวดา (เทวดาไม้ทองกวาว). ครั้งนั้น มีพราหมณ์ยากจนเข็ญใจผู้หนึ่ง เห็นคนทั้งหลายผู้ถือมงคลเทวดา ต่างพากันทำพลีกรรมบูชาเทวดากัน ก็ใคร่จะปรนนิบัติบูชาเทวดาสักตนหนึ่ง บ้าง. จึงไปที่ต้นทองกวาวใหญ่ต้นหนึ่ง ปรับพื้นที่โคนต้นให้เรียบ ถางหญ้า ล้อมรั้ว เกลี่ยทราย บูชาด้วยดอกไม้ของหอมทั้งหลาย จุดประทีบตั้งไว้ กล่าวว่า "ขอท่านจงอยู่อย่างเป็นสุขเถิด" ดังนี้แล้วก็หลีกไป. ในวันที่ ๒ ก็มาถามถึงการอยู่อย่างเป็นสุขกับต้นทองกวาว. เทวดาแปลงเพศเป็นพราหมณ์แก่เฒ่าเข้าไปถามว่า "ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร ไม่ประมาทอยู่เป็นนิตย์ รู้อยู่ ก็ยังถามถึงการอยู่เป็นสุขกับต้นไม้ ซึ่งหาจิตใจมิได้ ฟังไม่ได้ ไม่รู้อยู่". เมื่อพราหมณ์เข็ญใจตอบว่า มาทำการนอบน้อมต่อต้นไม้อยู่อย่างนี้ เพราะเห็นแก่ทรัพย์ ดังนี้ ก็คืนร่างเป็นเทวดา แล้วก็บอกที่ฝังขุมทรัพย์แก่พราหมณ์.

[4] พระเจ้ามิลินท์หมายถึงเนื้อความใน ผันทนชาดก (ขุ.ชา.๒๗/๒๐/๒๗๓) มีใจความย่อว่า ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติกรุงพาราณสี มีพราหมณ์ช่างไม้คนหนึ่ง แบกขวานเข้าป่าไปตัดไม้มาทำรถขายเลี้ยงชีพ. ในป่านั้น มีต้นสะคร้อใหญ่ขึ้นยืนต้นอยู่ต้นหนึ่ง ใต้ต้นเป็นที่อาศัยนอนพักของหมีตัวหนึ่ง. วันหนึ่ง มีกิ่งไม้หักตกลงมาเพราะลมที่พัดกระทบ กิ่งไม้ทิ่มแทงคอหมีที่นอนอยู่ภายใต้ต้นหน่อยหนึ่ง. หมีตื่นตกใจพรวดพราดลุกหนีไป โกรธผูกอาฆาตต้นสะคร้อ ไม่ชอบใจตนที่มาพักอาศัยอยู่ใต้ต้น แล้วจึงทำใจร้าย จึงใคร่จะโค่นเสีย. ครั้นเห็นพราหมณ์ช่างไม้เที่ยวแสวงหาต้นไม้ ทำกงล้อรถอยู่ในป่า ก็เข้าไปกล่าวเป็นภาษามนุษย์ว่า ตนพบเห็นต้นไม้ที่เหมาะแก่การทำเป็นกงล้อได้เป็นอย่างดียิ่งอยู่ต้นหนึ่ง. เมื่อช่างไม้แสดงความอยากได้ ก็พาช่างไม้ผู้นั้นไปชี้ให้ดูไม้สะคร้อต้นนั้น แล้วหลีกไป. เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นสะคร้อนี้ ครั้นทราบความข้อนี้แล้วก็โกรธ ใคร่จะกระทำตอบแทนแก่หมีตัวนั้น จึงแปลงเป็นมนุษย์ท่าทางอย่างคนทำการงานในป่าผู้หนึ่ง เข้าไปหาช่างไม้ แสร้งถามความประสงค์ แนะนำช่างไม้ผู้นั้นว่า ถ้าจะให้กงล้อที่ทำด้วยไม้สะคร้อนั้นแข็งแรงดี ขายได้ราคาดี ก็ควรจะได้หนังหมีมาทำเป็นสายรัดโดยรอบ. เมื่อช่างไม้เห็นคล้อยตาม และถามว่า จะหาหนังหมีนั้นได้แต่ไหน เทวดาแปลงก็บอกว่า ท่านใดบอกท่านว่าต้อสะคร้ออยู่ที่ไหน หมีก็อาศัยนอนพักอยู่ใต้ต้นสะคร้อต้นที่ผู้นั้นบอกนั่นแหละ. ช่างไม้ทราบดังนั้นแล้ว ก็รอโอกาสอยู่. ต่อมาเมื่อหมีตัวนั้นเข้าไปพักอาศัยใต้ต้นสะคร้อนั้นอีก ก็เข้าไปฆ่าหมีตาย ตามวิธีที่เทวดาแปลงคอยแนะนำ ถลกหนังไว้แล้วใช้ขวานโค่นต้นสะคร้อ.

[5] พระเถระแสดงความที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ต้นไม้ (รุกฺโข) โดยฐานูปจาระ คือ กล่าวถึงสถานที่ แต่หมายถึง สิ่งที่อยู่ในสถานที่นั้น เพราะฉะนั้น จึงหมายถึง เทวดาผู้สิงสถิตย์อยู่ในต้นไม้น้น.

[6] คือ คำว่า ธญฺญสกฏํ เป็นสมาสที่ลบบทว่า ปริปูริตํ โดยมีความหมายเต็มว่า ธญฺเญหิ ปริปูริตํ สกฏํ เกวียนอันเต็มแล้วด้วยข้าวเปลือก ชื่อว่า ธญฺญสกฏํ.  ก็คำว่า ธญฺญสกฏํ นี้สามารถสื่อความหมายอื่นว่า ธญฺญมยํ สกฏํ เกวียนที่ทำด้วยข้าวเปลือก ก็ได้ แต่ก็ไม่เรียก เพราะเกวียนที่ทำด้วยข้าวเปลือกไม่มี, แต่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากไม้. ดังนั้น คำนี้ชนชาวโลกหมายถึง เกวียนที่เต็มด้วยข้าวเปลือก  เพราะเล็งเอาข้าวเปลือกที่ถูกบรรทุกอยู่ ฉันใด การใช้โวหารอย่างใดอย่างหนึ่งแสดงธรรมเทศนา ก็เป็นการคล้อยตามคำพูดของชนชาวโลกนั่นเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น