วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

๘. ปาทสกลิกาหตปัญหา ปัญหาว่าด้วยสะเก็ดหินที่กระเด็นไปกระทบพระบาท

 

๘. ปาทสกลิกาหตปญฺโห

. ปสาทกลิกาหตปัญหา

ปัญหาว่าด้วยสะเก็ดหินที่กระเด็นไปกระทบพระบาท

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ตุมฺเห ภณถ ภควโต คจฺฉนฺตสฺส อยํ อเจตนา มหาปถวี นินฺนํ อุนฺนมติ, อุนฺนตํ โอนมตีติ, ปุน จ ภณถ ภควโต ปาโท สกลิกาย ขโตติฯ ยา สา สกลิกา ภควโต ปาเท ปติตา, กิสฺส ปน สา สกลิกา ภควโต ปาทา น นิวตฺตาฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควโต คจฺฉนฺตสฺส อยํ อเจตนา มหาปถวี นินฺนํ อุนฺนมติ, อุนฺนตํ โอนมติ, เตน หิ ภควโต ปาโท สกลิกาย ขโตติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ภควโต ปาโท สกลิกาย ขโต, เตน หิ ภควโต คจฺฉนฺตสฺส อยํ อเจตนา มหาปถวี นินฺนํ อุนฺนมติ อุนฺนตํ โอนมตีติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

[๘] มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย ภณถ กล่าวกันอยู่ อิติ ว่า ภควโต เมื่อพระผู้มีพระภาค คจฺฉนฺตสฺส จะเสด็จพระดำเนินไป อยํ มหาปถวี แผ่นดินใหญ่ นี้ อเจตนา อันหาจิตใจมิได้ อุนฺนมติ ย่อมน้อมลง นินฺนํ สู่ที่ต่ำ, โอนมติ ย่อมน้อมขึ้น อุนฺนตํ สู่ที่สูง ดังนี้, ก็ ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย ภณถ ยังกล่าว ปุน อีก อิติ ว่า ปาโท พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สกลิกาย อันสะเก็ดหิน ขโต กระทบแล้ว ดังนี้ฯ ยา สา สกลิกา สะเก็ดหินนั้นใด ปติตา ตกไปแล้ว ปาเท ที่พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค, ปน ก็ กิสฺส เหตุ เพราะเหตุใด สา สกลิกา สะเก็ดหินนั้น น นิวตฺตา จึงไม่หลบหลีก ปาทา จากพระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาคเล่า?,  ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า ภควโต เมื่อพระผู้มีพระภาค คจฺฉนฺตสฺส จะเสด็จพระดำเนินไป อยํ มหาปถวี แผ่นดินใหญ่ นี้ อเจตนา อันหาจิตใจมิได้ อุนฺนมติ ย่อมน้อมลง นินฺนํ สู่ที่ต่ำ, โอนมติ ย่อมน้อมขึ้น อุนฺนตํ สู่ที่สูง, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น  ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า ปาโท พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สกลิกาย อันสะเก็ดหิน ขโต กระทบแล้ว ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิดไป. ยทิ ถ้าหากว่า ปาโท พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สกลิกาย อันสะเก็ดหิน ขโต กระทบแล้ว เตนหิ ถ้าอย่างนั้น  ตมฺปิ วจนํ คำแม้นั้น อิติ ว่า ภควโต เมื่อพระผู้มีพระภาค คจฺฉนฺตสฺส จะเสด็จพระดำเนินไป อยํ มหาปถวี แผ่นดินใหญ่ นี้ อเจตนา อันหาจิตใจมิได้ อุนฺนมติ ย่อมน้อมลง นินฺนํ สู่ที่ต่ำ, โอนมติ ย่อมน้อมขึ้น อุนฺนตํ สู่ที่สูง ดังนี้ มิจฺฉา เป็นอันผิดไป ฯ อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

[๘] พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พวกท่านกล่าวกันว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคจะเสด็จดำเนินไป แผ่นดินใหญ่อันหาจิตใจมิได้นี้ ก็ปรับที่ลุ่มต่ำให้สูงขึ้น ปรับที่โคกสูงทำให้ต่ำลง ดังนี้ และยังกล่าวอีกว่า ภควโต ปาโป สกลิกาย ขโต[1] สะเก็ดหินกระเด็นมากระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค ดังนี้ เพราะเหตุไร พอสะเก็ดหินกระเด็นตกมาที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว สะเก็ดหินนั้นจึงไม่หันกลับไป พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคจะเสด็จดำเนินไป แผ่นดินใหญ่ ไม่มีจิตใจ ก็ปรับที่ลุ่มต่ำให้สูงขึ้น ปรับที่โคกสูงให้ต่ำลง จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า สะเก็ดหินกระเด็นมากระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ก็ไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่า สะเก็ดหินกระเด็นมากระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคจะเสด็จดำเนินไป แผ่นดินใหญ่ซึ่งหาจิตใจมิได้ ก็ปรับที่ลุ่มให้สูงขึ้น ปรับที่โคกสูงทำให้ต่ำลง ดังนี้ ก็ไม่ถูกต้อง แม้ปัญหาข้อนี้ ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านพึงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

 

‘‘สจฺจํ, มหาราช, อตฺเถตํ ภควโต คจฺฉนฺตสฺส อยํ อเจตนา มหาปถวี นินฺนํ อุนฺนมติ อุนฺนตํ โอนมติ, ภควโต จ ปาโท สกลิกาย ขโต, น จ ปน สา สกลิกา อตฺตโน ธมฺมตาย ปติตา, เทวทตฺตสฺส อุปกฺกเมน ปติตาฯ เทวทตฺโต, มหาราช, พหูนิ ชาติสตสหสฺสานิ ภควติ อาฆาตํ พนฺธิ, โส เตน อาฆาเตน มหนฺตํ กูฏาคารปฺปมาณํ ปาสาณํ ภควโต อุปริ ปาเตสฺสามีติ มุญฺจิฯ อถ ทฺเว เสลา ปถวิโต อุฏฺฐหิตฺวา ตํ ปาสาณํ สมฺปฏิจฺฉิํสุ, อถ เนสํ สมฺปหาเรน ปาสาณโต ปปฏิกา ภิชฺชิตฺวา เยน วา เตน วา ปตนฺตี ภควโต ปาเท ปติตา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ภควโต เมื่อพระผู้มีพระภาค คจฺฉนฺตสฺส จะเสด็จพระดำเนินไป อยํ มหาปถวี แผ่นดินใหญ่ นี้ อเจตนา อันหาจิตใจมิได้ อุนฺนมติ ย่อมน้อมลง นินฺนํ สู่ที่ต่ำ, โอนมติ ย่อมน้อมขึ้น อุนฺนตํ สู่ที่สูง, จ และ  ปาโท พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค สกลิกาย อันสะเก็ดหิน ขโต กระทบแล้ว ยํ  ใด[2],  เอตํ (การณํ) เหตุการณ์นี้ สจฺจํ จริง, อตฺถิ มีอยู่[3] ก็ ปน แต่ว่า สา สกลิกา สะเก็ดหินนั้น ปติตา ตกแล้ว ธมฺมตาย ตามธรรมดา อตฺตโน ของตน หามิได้, ปติตา ตกแล้ว อุปกฺกเมน เพราะการกระทำ เทวทตฺตสฺส ของพระเทวทัต. มหาราช มหาบพิตร เทวทตฺโต พระเทวทัต พนฺธิ ผูกแล้ว อาฆาตํ ซึ่งความอาฆาต ภควติ ในพระผู้มีพระภาค ชาติสตสหสฺสานิ ตลอดแสนชาติ พหูนิ เป็นอันมาก, โส เทวทตฺโต พระเทวทัตนั้น มุญฺจิ ปล่อยแล้ว (จินฺตเนน)ด้วยอันคิดว่า อหํ เรา ปาสาณํ ยังก้อนหิน กูฎาคารปฺปมาณํ ขนาดเท่าเรือนยอด ปาเตสฺสามิ จักให้ตกไป อุปริ เบื้องบน ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้. อถ ในคราวนั้น เสลา ก้อนหินทั้งหลาย เทฺว สองก้อน อุฏฺฐหิตฺวา ผุดขึ้นแล้ว ปถวิโต จากแผ่นดิน สมฺปฏิจฺฉิํสุ รับไว้แล้ว ตํ ปาสาณํ ซึ่งก้อนหินนั้น, อถ ต่อมา ปหาเรน เพราะกระทบถูกกัน เนสํ แห่งหินทั้งสองก้อนนั้น ปปฏิกา สะเก็ดหินทั้ืงหลาย ภิชฺชิตฺวา แตกแล้ว ปาสาณโต จากหินนั้น ปตนฺตี เมื่อตกไป เยน วา เตน วา ข้างใดข้างหนึ่ง[4] ปติตา ได้ตกแล้ว ปาเท ที่พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร ข้อที่ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคจะเสด็จดำเนินไป แผ่นดินใหญ่ซึ่งหาจิตใจมิได้นี้ ก็ปรับที่ลุ่มทำต่ำทำให้สูงขึ้น ปรับที่โคกสูงทำให้ต่ำลง และที่ว่า สะเก็ดหินกระเด็นมากระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค ดังนี้ นี้ เป็นความจริง มีอยู่ ก็แต่ว่า สะเก็ดหินมิได้กระเด็นไปตามธรรมดาของตน กระเด็นตกไปเพราะความพยายามของพระเทวทัตต่างหาก ขอถวายพระพร พระเทวทัตผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคหลายแสนชาติ ด้วยความอาฆาตนั้น พระเทวทัตนั้น คิดว่า เราจักงัดก้อนหินใหญ่ขนาดเท่าเรือนยอด ให้กลิ้งไปทับพระผู้มีพระภาค ดังนี้ แล้วก็ปล่อยก้อนหินใหญ่นั้นไป ลำดับนั้น ก็มีหิน ๒ ก้อน โผล่ขึ้นมาจากดินสะกัดกั้นก้อนหินใหญ่นั้นไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะการกระทบกระแทกกันแห่งก้อนหินเหล่านั้น ก็เกิดสะเก็ดหินปริแตกจากก้อนหินกระเด็นตกไปข้างนั้นข้างนี้ กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค

 

‘‘ยถา จ, ภนฺเต นาคเสน, ทฺเว เสลา ปาสาณํ สมฺปฏิจฺฉิํสุ, ตเถว ปปฏิกาปิ สมฺปฏิจฺฉิตพฺพา’’ติ?

ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เสลา ก้อนหินทั้งหลาย เทฺว สองก้อนนั้น สมฺปฏิจฺฉิํสุ รับรองแล้ว ปาสาณํ ซึ่งหินขนาดใหญ่ ยถา โดยประการใด, ปปฏิกาปิ แม้สะเก็ดหิน เสลาหิ อันก้อนหินทั้งหลาย ทฺวีหิ สองก้อนนั้น สมฺปฏิจฺฉิตพฺพา พึงรับไว้ ตเถว โดยประการนั้นนั่นเทียว ดังนี้

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน ก้อนหินเล็กสองก้อน น่าจะสะกัดกั้นสะเก็ดหินเอาไว้ได้ เหมือนอย่างที่สกัดกั้นก้อนหินใหญ่ไว้ได้

 

 ‘‘สมฺปฏิจฺฉิตมฺปิ, มหาราช, อิเธกจฺจํ ปคฺฆรติ ปสวติ น ฐานมุปคจฺฉติ, ยถา, มหาราช, อุทกํ ปาณินา คหิตํ องฺคุลนฺตริกาหิ ปคฺฆรติ ปสวติ น ฐานมุปคจฺฉติ, ขีรํ ตกฺกํ มธุํ สปฺปิ เตสํ มจฺฉรสํ มํสรสํ ปาณินา คหิตํ องฺคุลนฺตริกาหิ ปคฺฆรติ ปสวติ น ฐานมุปคจฺฉติ, เอวเมว โข, มหาราช, สมฺปฏิจฺฉนตฺถํ อุปคตานํ ทฺวินฺนํ เสลานํ สมฺปหาเรน ปาสาณโต ปปฏิกา ภิชฺชิตฺวา เยน วา เตน วา ปตนฺตี ภควโต ปาเท ปติตาฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปาสาณํ ก้อนหินนั้น (ทฺวีหิ เสลาหิ) แม้อันหินทั้งหลายสอง สมฺปฏิจฺฉิตมฺปิ รองรับไว้แล้ว (โหติ) ย่อมเป็น, อิธ = ปาสาเณสุ ภิชฺชิเตสุ บรรดาหินเหล่านี้ อันแตกแล้ว เอกจฺจํ บางก้อน ปคฺฆรติ ย่อมไหลออก ปสวติ ย่อมไหลลอด น อุปคจฺฉติ ย่อมไม่ถึง ฐานํ ซึ่งการหยุด, มหาราช มหาบพิตร เปรียบเหมือนว่า อุทกํ น้ำ ปุคฺคเลน อันบุคคล คหิตํ รองรับไว้แล้ว ปาณินา ด้วยมือ ปคฺฆรติ ย่อมไหลไป ปสวติ ย่อมไหลลอด องฺคุลนฺตเรหิ จากร่องนิ้วมือทั้งหลาย น อุปคจฺฉติ ย่อมไม่ถึง ฐานํ ซึ่งการหยุดอยู่, ขีรํ น้ำนม ตกฺกํ เนยข้น มธุํ น้ำผึ้ง สปฺปิ เนยใส  เตลํ น้ำมัน มจฺฉรสํ รสปลา (ซุปปลา), มํสรสํ รสเนื้อ (ซุปเนื้อ) ปุคฺคเลน  อันบุคคล คหิตํ รองรับไว้แล้ว ปาณินา ด้วยมือ ปคฺฆรติ ย่อมไหลไป ปสวติ ย่อมไหลลอด องฺคุลนฺตเรหิ จากร่องนิ้วมือทั้งหลาย น อุปคจฺฉติ ย่อมไม่ถึง ฐานํ ซึ่งการหยุดอยู่ ยถา ฉันใด,  มหาราช มหาบพิตร ปปฏิกา สะเก็ดหิน ภิชฺชิตฺวา แตกกระเซ็นแล้ว ปาสาณโต จากก้อนหิน สมฺปหาเรน เพราะการกระแทกถูกกัน  เสลานํ แห่งหินทั้งหลาย ทฺวินฺนํ สอง อุปคตานํ อันเข้าไปแล้ว สมฺปฏิจฺฉนตฺถํ เพื่อรองรับไว้ ปตนฺตี เมื่อตกไป เยน วา เตน วา ข้างใดข้างหนึ่ง ปติตา จึงตกไปแล้ว ปาเท ที่พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร สะกัดกั้นแล้วด้วย (แต่) ในบรรดาสะเก็ดหินเหล่านี้ มีสะเก็ดหินบางชิ้นเล็ดลอดไปได้ ไม่หยุดอยู่กับที่ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า น้ำที่เขาใช้ฝ่ามือวักขึ้นมา ย่อมรั่วไหลออกไปทางร่องนิ้วมือ ไม่ขังอยู่กับที่ นมสด เปรียง น้ำผึ้ง เนยใส น้ำมัน ซุปปลา ซุปเนื้อ ที่เขาใช้ฝ่ามือวักขึ้นมา ย่อมรั่วไหลออกทางร่องนิ้วมือได้ ไม่ขังอยู่กับที่ฉันใด ขอถวายพระพร เมื่อหิน ๒ ก้อน โผล่ขึ้นมาเพื่อสะกัดกั้น ก็ยังมีสะเก็ดหินปริแตกจากก้อนหิน เพราะการกระแทกกัน กระเด็นตกไปรอบด้าน กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค ฉันนั้นเหมือนกัน

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, สณฺหสุขุมอณุรชสมํ ปุฬินํ มุฏฺฐินา คหิตํ องฺคุลนฺตริกาหิ ปคฺฆรติ ปสวติ น ฐานมุปคจฺฉติ, เอวเมว โข, มหาราช, สมฺปฏิจฺฉนตฺถํ อุปคตานํ ทฺวินฺนํ เสลานํ สมฺปหาเรน ปาสาณโต ปปฏิกา ภิชฺชิตฺวา เยน วา เตน วา ปตนฺตี ภควโต ปาเท ปติตาฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ วา หรือว่า ปุฬินํ เม็ดทราย สณฺหสุขุมอณุรชสมํ เสมอด้วยฝุ่นละอองที่เล็กละเอียด คหิตํ อันบุคคลถือไว้ มุฏฺฐินา ด้วยกำมือ ปคฺฆรติ ย่อมไหล ปสวติ ย่อมรั่วออก องฺคุลนฺตริกาหิ ทางร่องนิ้วแห่งมือทั้งหลาย อุปคจฺฉติ ย่อมถึง ฐานํ ซึ่งการขังอยู่กับที่ หามิได้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ปปฏิกา สะเก็ดหิน ภิชฺชิตฺวา แตกกระเซ็นแล้ว ปาสาณโต จากก้อนหิน สมฺปหาเรน เพราะการกระแทกถูกกัน  เสลานํ แห่งหินทั้งหลาย ทฺวินฺนํ สอง อุปคตานํ อันเข้าไปแล้ว สมฺปฏิจฺฉนตฺถํ เพื่อรองรับไว้ ปตนฺตี เมื่อตกไป เยน วา เตน วา ข้างใดข้างหนึ่ง ปติตา จึงตกไปแล้ว ปาเท ที่พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า เม็ดทรายที่เสมอด้วยฝุ่นละอองที่เล็กละเอียด ที่เขาถือไว้ด้วยกำมือ ย่อมรั่วไหลออกทางร่องนิ้วมือ ไม่ขังอยู่กับที่ฉันใด ขอถวายพระพร เมื่อหิน ๒ ก้อนโผล่ขึ้นมาเพื่อสะกัดกั้น ก็ยังมีสะเก็ดหินปริแตกจากก้อนหิน เพราะการกระแทกกัน กระเด็นตกไปรอบด้าน กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค ฉันนั้นเหมือนกัน

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, กพโฬ มุเขน คหิโต อิเธกจฺจสฺส มุขโต มุจฺจิตฺวา ปคฺฆรติ ปสวติ น ฐานมุปคจฺฉติ, เอวเมว โข, มหาราช, สมฺปฏิจฺฉนตฺถํ อุปคตานํ ทฺวินฺนํ เสลานํ สมฺปหาเรน ปาสาณโต ปปฏิกา ภิชฺชิตฺวา เยน วา เตน วา ปตนฺตี ภควโต ปาเท ปติตา’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ วา หรือว่า กพโฬ คำข้าว คหิโต ที่เขาอมไว้ มุเขน ด้วยปาก มุจฺจิตฺวา หลุดแล้ว มุขโต จากปาก เอกจฺจสฺส แห่งบุคคลบางพวก อิธ ในโลกนี้ ปคฺฆรติ ย่อมไหล ปสวติ ย่อมร่วง อุปคจฺฉติ เข้าถึงอยู่ ฐานํ ซึ่งการตั้งอยู่กับที่ หามิได้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ปปฏิกา สะเก็ดหิน ภิชฺชิตฺวา แตกกระเซ็นแล้ว ปาสาณโต จากก้อนหิน สมฺปหาเรน เพราะการกระแทกถูกกัน  สลานํ แห่งหินทั้งหลาย ทฺวินฺนํ สอง อุปคตานํ อันเข้าไปแล้ว สมฺปฏิจฺฉนตฺถํ เพื่อรองรับไว้ ปตนฺตี เมื่อตกไป เยน วา เตน วา ข้างใดข้างหนึ่ง ปติตา จึงตกไปแล้ว ปาเท ที่พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า คำข้าวที่ใช้ปากอมไว้ ย่อมมีบางส่วนหลุดตกออกจากปาก ไม่ตั้งอยู่กับที่ฉันใด ขอถวายพระพร เมื่อหิน ๒ ก้อนโผล่ขึ้นมาเพื่อสะกัดกั้น ก็ยังมีสะเก็ดหินปริแตกจากก้อนหิน เพราะการกระแทกกัน กระเด็นตกไปรอบด้าน กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค ฉันนั้นเหมือนกัน

 

‘‘โหตุ, ภนฺเต นาคเสน, เสเลหิ ปาสาโณ สมฺปฏิจฺฉิโต, อถ ปปฏิกายปิ อปจิติ กาตพฺพา ยเถว มหาปถวิยา’’ติ?

ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปาณาโณ ก้อนหิน เสเลหิ อันก้อนหินเล็ก ๒ ก้อน สมฺปฏิจฺฉิโต รับเอาไว้ได้ ยํ ใด, ตํ การณํ ข้อนั้น โหตุ ก็จงยกไว้เถิด, อถ เมื่อเป็นเช่นนี้ อปจิติ ความเคารพ ปปฏิกายปิ แม้อันสะเก็ดหิน กาตพฺพา พึงกระทำ ยถา เหมือนกับ อปจิติ ความเคารพ มหาปถวิยา อันแผ่นดินใหญ่ กตา กระทำแล้ว (นุ) มิใช่หรือ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ เอาละ พระคุณเจ้านาคเสน ก็เป็นอันว่า หินเล็ก ๒ ก้อน สะกัดหินใหญ่ไว้ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้สะเก็ดหิน ก็น่าจะทำความยำเกรงพระผู้มีพระภาคเหมือนอย่างแผ่นดินใหญ่บ้าง

 

‘‘ทฺวาทสิเม, มหาราช, อปจิติํ น กโรนฺติฯ กตเม ทฺวาทส?       

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า อิเม ชนา ชนทั้งหลาย เหล่านี้ ทฺวาทส ๑๒ จำพวก น กโรนฺติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง, ทฺวาทส ชนา ชนทั้ืงหลาย ๑๒ จำพวก กตเม อะไรบ้าง? อิติ คือ

 

 รตฺโต ราควเสน อปจิติํ น กโรติ, ทุฏฺโฐ โทสวเสน, มูฬฺโห โมหวเสน, อุนฺนโต มานวเสน, นิคฺคุโณ อวิเสสตาย, อติถทฺโธ อนิเสธนตาย, หีโน หีนสภาวตาย, วจนกโร อนิสฺสรตาย, ปาโป กทริยตาย, ทุกฺขาปิโต ปฏิทุกฺขาปนตาย, ลุทฺโธ โลภาภิภูตตาย, อายูหิโต อตฺถสาธนตาย อปจิติํ น กโรติฯ อิเม โข มหาราช ทฺวาทส อปจิติํ น กโรนฺติฯ สา จ ปน ปปฏิกา ปาสาณสมฺปหาเรน ภิชฺชิตฺวา อนิมิตฺตกตทิสา เยน วา เตน วา ปตมานา ภควโต ปาเท ปติตาฯ

รตฺโต คนกำหนัด น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง ราควเสน ด้วยอำนาจแห่งราคะ, ทุฏฺโฐ คนโกรธ น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง โทสวเสน ด้วยอำนาจแห่งความโทสะ, มุฬฺโห คนหลง น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง โมหวเสน ด้วยอำนาจแห่งโมหะ, อุนฺนโต คนจองหอง น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง มานวเสน ด้วยอำนาจแห่งมานะ, นิคฺคุโณ คนเนรคุณ อีกนัยหนึ่ง ผู้ไม่มีคุณพระรัตนตรัยในจิตสันดาน คือ ไม่เห็นคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์  อีกนัยหนึ่ง ผู้ไม่มีคุณความดี  อวิเสสตาย เพราะไม่มีคุณพิเศษ (ลามกภาเวน) คือ เพราะภาวะที่เป็นคนต่ำช้า, อติถทฺโธ คนแข็งกระด้าง น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง อนิเสธนตาย เพราะความหาความรู้จักห้ามใจมิได้ เพราะความมีบาปธรรมอันเกิดในใจอันพึงห้ามได้โดยยาก เช่น มานะ โกธะ มักขะ ปลาสะ เป็นต้น, หีโน คนเลว น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง หีนสภาวตาย เนื่องด้วยมีสภาวะแห่งคนเลว, วจนกโร คนคอยทำตามคำสั่ง น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง อนิสฺสรตาย เพราะหาความเป็นอิสระมิได้ ปาโป คนชั่วช้า น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง กทริตาย เพราะความตระหนี่, ทุกขาปิโต คนเปี่ยมด้วยความทุกข์ น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง  ปฏิทุกฺขาปนตาย เพราะมัวแต่คิดบำบัดทุกข์ ลุทโธ คนโลภ น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง โลภาภิภูตตาย เพราะความที่ถูกความอยากครอบงำ, อายูหิโต คนง่วนอยู่กับการงาน น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง อตฺถสาธนตาย เพราะมุ่งแต่จะให้สำเร็จสิ่งที่ต้องการ. มหาราช มหาบพิตร อิเม โข ทฺวาทส ชนา ชนทั้งหลาย ๑๒ เหล่านี้ แล น กโรติ ย่อมไม่กระทำ อปจิติํ ซึ่งความยำเกรง. จ ปน ก็แต่ว่า สา ปปฏิกา สะเก็ดหินนั้น ภิชฺชิตฺวา แตกแล้ว ปาสาณสมฺปหาเรน เพราะการกระทบกับแผ่นหิน  อนิมิตฺตกตทิสา มีทิศอันมิได้กระทำซึ่งอันกำหนดหมายไว้ ปตมานา เมื่อกระเด็นไป เยน วา เตน วา รอบๆด้าน ปติตา ตกแล้ว ปาเท โดนพระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร คน ๑๒ จำพวกเหล่านี้ ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรง ๑๒ จำพวกอะไรบ้าง ได้แก่ ๑. รตโต คนกำหนัด ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงด้วยอำนาจแห่งราคะ๒.ทุฏโฐ คนโกรธ ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงด้วยอำนาจแห่งโทสะ ๓. มุฬโห คนหลง ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงด้วยอำนาจแห่งโมหะ ๔. อุนนนโต คนจองหอง ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงด้วยอำนาจแห่งมานะ ๕.นิคคุโณ คนเนรคุณ ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงเพราะหาความแตกต่างมิได้ ๖. อติถทโธ คนแข็งกระด้าง ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงเพราะหาความรู้จักหักห้ามใจมิได้ ๗. หีโน คนเลว ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงเพราะมีสภาวะแห่งคนเลว ๘.วจนกโร  คนคอยทำตามคำสั่ง ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงเพราะหาความเป็นอิสระมิได้ ๙. ปาโป คนชั่วช้า ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงเพราะหาความตระหนี่ ๑๐. ทุกขาปิโต คนเปี่ยมด้วยความทุกข์ ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงเพราะมัวแต่คิดบำบัดทุกข์ ๑๑.ลุทโธ คนโลภ ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงเพราะความที่ถูกความอยากครอบงำ ๑๒. อายูหิโต คนง่วนอยู่กับการงาน ย่อมไม่รู้จักทำความยำเกรงเพราะมุ่งแต่จะให้สำเร็จสิ่งที่ต้องการ, ขอถวายพระพร คน ๑๒ จำพวกเหล่านี้ ไม่รู้จักทำความยำเกรง ก็แต่ว่า สะเก็ดหิน ปริแตกเพราะการกระทบกัน แห่งก้อนหิน มิได้ทำหมายทิศไว้ กระเด็นไปรอบด้าน กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, สณฺหสุขุมอณุรโช อนิลพลสมาหโต อนิมิตฺตกตทิโส เยน วา เตน วา อภิกิรติ, เอวเมว โข, มหาราช, สา ปปฏิกา ปาสาณสมฺปหาเรน ภิชฺชิตฺวา อนิมิตฺตกตทิสา เยน วา เตน วา ปตมานา ภควโต ปาเท ปติตาฯ ยทิ ปน, มหาราช, สา ปปฏิกา ปาสาณโต วิสุํ น ภเวยฺย, ตมฺปิ เต เสลา ปาสาณปปฏิกํ อุปฺปติตฺวา คณฺเหยฺยุํฯ เอสา ปน, มหาราช, ปปฏิกา น ภูมฏฺฐา น อากาสฏฺฐา, ปาสาณสมฺปหารเวเคน ภิชฺชิตฺวา อนิมิตฺตกตทิสา เยน วา เตน วา ปตมานา ภควโต ปาเท ปติตาฯ

มหาราช มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า สณฺหสุขุมอณุรโช ขี้ฝุ่นละอองอย่างละเอียด อนิลพลสมาหโต อันถูกกำลังลมพัด อนิมิตฺตกตทิโส มีทิศอันมิได้กระทำซึ่งเครื่องหมาย) อภิกิรติ ย่อมกระจัดกระจาย เยน วา เตน วา ทางทิศใดทิศหนึ่ง ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร สา ปปฏิกา สะเก็ดหินนั้น ภิชฺชิตฺวา แตกแล้ว ปาสาณสมฺปหาเรน เพราะการกระทบกับแผ่นหิน  อนิมิตฺตกตทิ มีทิศอันมิได้กระทำซึ่งอันกำหนดหมายไว้ปตมานา เมื่อกระเด็นไป เยน วา เตน วา ข้างใดข้างหนึ่ง ปติตา ตกแล้ว ปาเท โดนพระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล. มหาราช มหาบพิตร ยทิ ถ้าว่า สา ปปฏิกา สะเก็ดหินนั้น น ภเวยฺย มิได้มี วิสุํ แยก ปาสาณโต จากก้อนหิน ไซร้, เต เสลา ก้อนหิน (๒ ก้อน) เหล่านั้น อุปฺปติตฺวา ผุดขึ้นแล้ว คณฺเหยฺยุํ พึงรับไว้ ตมฺปิ ปาสาณปปฏิกํ ซึ่งสะเก็ดแห่งก้อนหินแม้นั้น. มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ เอสา ปปฏิกา สะเก็ดหินนั้น น ภูมฏฺฐา ตั้งอยู่บนแผ่นดิน หามิได้, น อากาสฏฺฐา ลอยอยู่ในอากาศหามิได้, ภิชฺชิตฺวา แตกแล้ว ปาสาณสมฺปหารเวเคน ด้วยการกระทบกับแห่งก้อนหิน อนิมิตฺตกตทิสา มีทิศอันมิได้กระทำซึ่งอันกำหนดหมายไว้ ปตมานา เมื่อตกไป เยน วา เตน วา ข้างใดข้างหนึ่ง ปติตา จึงตกไป ปาเท ที่พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค.

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ขี้ฝุ่นละอองอย่างละเอียด ถูกกำลังลมพัด มิได้ทำหมายทิศไว้ กระจัดกระจายไปรอบด้าน ฉันใด ขอถวายพระพร สะเก็ดหินนั้นปริแตก เพราะแรงกระทบกันแห่งศิลา มิได้ทำหมายทิศไว้ กระเด็นไปรอบด้าน กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร ก็ถ้า สะเก็ดหินนั้น ไม่พึงปริแยกจากก้อนหิน หิน ๒ ก้อนนั้น ผุดขึ้นมารับก้อนหินแม้นั้น ขอถวายพระพร สะเก็ดหินนั้น ไม่ติดอยู่บนพื้นดิน ไม่ติดอยู่ในอากาศ ปริแตกเพราะแรงกระแทกแห่งก้อนหิน มิได้ทำหมายทิศไว้ กระเด็นตกไปรอบด้าน กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค

 

 ‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, วาตมณฺฑลิกาย อุกฺขิตฺตํ ปุราณปณฺณํ อนิมิตฺตกตทิสํ เยน วา เตน วา ปตติ, เอวเมว โข, มหาราช, เอสา ปปฏิกา ปาสาณสมฺปหารเวเคน อนิมิตฺตกตทิสา เยน วา เตน วา ปตมานา ภควโต ปาเท ปติตาฯ อปิ จ, มหาราช, อกตญฺญุสฺส กทริยสฺส เทวทตฺตสฺส ทุกฺขานุภวนาย ปปฏิกา ภควโต ปาเท ปติตา’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า ปุราณปณฺณํ ใบไม้เก่า วาตมณฺฑลิกาย อันลมหัวด้วน[5] อุกฺขิตฺตํ พัดขึ้นแล้ว อนิมิตฺตกตทิโส มีทิศอันมิได้กระทำซึ่งอันกำหนดหมายไว้ ปตติ ย่อมตกไป เยน วา เตน วา ทางทิศใดทิศหนึ่ง ยถา ฉันใด, สา ปปฏิกา สะเก็ดหินนั้น ภิชฺชิตฺวา แตกแล้ว ปาสาณสมฺปหาเรน เพราะการกระทบกับแผ่นหิน  อนิมิตฺตกตทิสา มีทิศอันมิได้กระทำซึ่งอันกำหนดหมายไว้ ปตมานา เมื่อกระเด็นไป เยน วา เตน วา ข้างใดข้างหนึ่ง ปติตา ตกแล้ว ปาเท โดนพระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล ดังนี้. มหาราช มหาบพิตร อปิ จ อีกอย่างหนึ่ง ปปฏิกา สะเก็ดหิน ปติตา ตกแล้ว ปาเท ที่พระบาท ภควโต ของพระผู้มีพระภาค ทุกฺขานุภวนาย เพื่อการเสวยทุกข์ เทวทตฺตสฺส แห่งพระเทวทัต อกตญฺญุสฺส ผู้ไม่รู้จักคุณอันพระผู้มีพระภาคทรงกระทำให้แล้ว กทริยสฺส ผู้ชั่วช้า ดังนี้.

ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ใบไม้เก่า ๆ ถูกลมหัวด้วนพัดขึ้น มิได้ทำหมายทิศไว้ ตกไปรอบด้าน ฉันใด ขอถวายพระพร สะเก็ดหินนั้น มิได้ทำหมายทิศไว้ เพราะแรงกระแทกแห่งก้อนหิน กระเด็นตกไปรอบด้าน กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร อนึ่ง สะเก็ดหิน กระทบที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค เพื่อให้พระเทวทัตต์ผู้ชั่วช้า เป็นคนอกตัญญู ได้เสวยทุกข์

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำ ตามที่ท่านกล่าวมานี้.

ปาทสกลิกาหตปญฺโห อฏฺฐโมฯ

๘. ปาทสกลิกาหตปญฺโห

ปสาทกลิกาหตปัญหา

อฏฺฐโม ลำดับที่ ๘ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

ปาทสกิลกาหตปัญหาที่ ๘ จบ



[1] วิ.จุ. มหาจุฬาเตปิฏก ๗/๓๔๑/๑๓๑ (โดยความ)

[2] ข้าพเจ้ามองว่าเป็น กิริยาปรามาส รับกับ เอตํ ในคำว่า อตฺเถตํ จึงเพิ่ม ยํ ให้เป็นกริยาปรามาส

[3] ในประโยคนี้ อตฺถิ นี้เป็นนิบาต ใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติ เพราะฉะนั้น จึงใช้เป็นวิเสสนะของ เอตํ การณํ, ก็ความเป็นนิบาตนี้ สัททนีติ สุตตมาลา กล่าวไว้ในสูตรที่ ๑๙๗ อุปสคฺคนิปาตา จ.ก็ อุปสัคและนิบาต มีชื่อว่า ลิงค์ (เป็นคำนาม) เช่น ปติ, อตฺถิ, สกฺกา เป็นต้น. และในวุตติของสูตรที่ ๕๗๗ (ว่า ลิงฺคตฺเถ ปฐมา ลงปฐมาวิภัตติ ในความหมายว่าเป็นคำนาม) ท่านกล่าวว่า อตฺถิ สกฺกา ลพฺภา ห อหอิจฺเจวมาทโย เกจิ นิปาตา จ. พึงลงปฐมาวิภัตติท้ายบทนิบาตบางตัว เช่น อตฺถิ, สกฺกา, ลพฺภา, ห และ อห. และ ในวุตติของสูตร ๔๔๘ แสดงการลบวิภัตติท้ายนิบาต (อตฺถิขีรา เป็นต้น), นีติ.สุตฺต แสดงการลงวิภัตติท้ายอตฺถิ ศัพท์.   และอีกหลายๆสูตร ที่แสดงว่า อตฺถิ เป็นได้ทั้งอาขยาตบทและนิปาตบท. เพราะเหตุนั้น อตฺถิ ศัพท์ที่เป็นนิบาตมีอยู่.

[4] เยน วา เตน วา ในที่นี้ มีความหมายเท่ากับ อนิยเมน ไม่กำหนด (มิลิน.ล้านนา) ความหมาย คือ สะเก็ดหินแตกกระจายไปรอบทิศจึงกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค.

[5] ฉบับมมก. แปลว่า ลมบ้าหมู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น