วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

๙. อัคคัคคสมณปัญหา ปัญหาว่าด้วยสมณะผู้ยอดเยี่ยม

 

๙. อคฺคคฺคสมณปญฺโห

. อัคคัคคสมณปัญหา

ปัญหาว่าด้วยสมณะผู้ยอดเยี่ยม

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา อาสวานํ ขยา สมโณ โหตีติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ, เอตํ วจนํ ข้อความนี้ อิติ ว่า (อาสวานํ ขยา สมโณ โหติ) ปุคฺคโล บุคคล สมโณ ชื่อว่า เป็นสมณะ ขยา=ขยาย เพราะการสิ้นไป อาสวานํ แห่งอาสวะทั้งหลาย โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้แล้ว,

 [๙] พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า

อาสวานํ ขยา สมโณ โหติ[1]

ชื่อว่า เป็นสมณะ เพราะความสิ้นอาสวะทั้งหลายดังนี้

 

ปุน จ ภณิตํ

‘‘‘จตุพฺภิ ธมฺเมหิ สมงฺคิภูตํ,

ตํ เว นรํ สมณํ อาหุ โลเกติฯ

จ แต่ว่า เอตํ วจนํ ข้อความนี้ อิติ ว่า

จตุพฺภิ อมฺเมหิ สมงฺคิภูตํ

ตํ เว นรํ สมณํ อาหุ โลเก

ก็ เอตํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า  (ปณฺฑิตา) บัณฑิตทั้งหลาย อาหุ เรียกแล้ว ตํ เว นรํ ซึ่งนรชนนั้น สมงฺคิภูตํ[2] = สมนฺนาคตํ ผู้ประกอบแล้ว ธมฺเมหิ ด้วยธรรมทั้งหลาย จตูหิสมณํ ว่าเป็นสมณะ โลเก ในโลก ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตไว้ ปุน อีก

และตรัสอีกว่า

จตุพฺภิ ธมฺเมหิ สมงฺคิภูตํ

ตํ เว นรํ สมณํ อาหุ โลเก[3]

นรชนนั้นแลผู้พรั่งพร้อมด้วยธรรมทั้ง ๔ ประการ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นสมณะในโลก ดังนี้

 

ตตฺริเม จตฺตาโร ธมฺมา ขนฺติ อปฺปาหารตา รติวิปฺปหานํ อากิญฺจญฺญํฯ

ตตฺร ภาสิเตสุ บรรดาคำที่ตรัสที่ไว้นั้น จตฺตาโร ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ๔ อิเม เหล่านี้ คือ ขนฺติ ความอดทน อปฺปาหารตา ความเป็นผู้มีอาหารน้อย รติวิปฺปหานํ การละความยินดี อากิญฺจญฺญํ ความไม่มีสิ่งยุ่งเกี่ยว

ในคำที่ตรัสไว้นั้น ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ได้แก่ ๑. ขันติ ความอดทน ๒. อัปปาหารตา ความเป็นผู้มีอาหารน้อย ๓. รติวิปปหานัง การละความยินดี ๔. อากิญจัญญัง ความไม่มีสิ่งยุ่งเกี่ยว.

 

สพฺพานิ ปเนตานิ อปริกฺขีณาสวสฺส สกิเลสสฺเสว โหนฺติฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, อาสวานํ ขยา สมโณ โหติ, เตน หิ จตุพฺภิ ธมฺเมหิ สมงฺคิภูตํ, ตํ เว นรํ สมณํ อาหุ โลเกติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ จตุพฺภิ ธมฺเมหิ สมงฺคิภูโต สมโณ โหติ, เตน หิ อาสวานํ ขยา สมโณ โหตีติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉา, อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

ปน ก็ เอตานิ สิ่งเหล่านี้ สพฺพานิ ทั้งหมด ปุคฺคลสฺส ของบุคคล อปริกฺขีณาสวสฺส ผู้มีอาสวะยังไม่หมดสิ้น สกิเลสสฺส เอว ยังมีกิเลสอยู่นั่นเทียว[4] โหนฺติ มีอยู่. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า ปุคฺคโล บุคคล สมโณ ชื่อว่าเป็นสมณะ ขยา เพราะสิ้น อาสวานํ แห่งอาสวะทั้งหลาย โหติ ย่อมเป็น ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า (ปณฺฑิตา) บัณฑิตทั้งหลาย อาหุ เรียกแล้ว ตํ เว นรํ ซึ่งนรชนนั้น สมงฺคิภูตํ ผู้ประกอบแล้ว ธมฺเมหิ ด้วยธรรมทั้งหลาย จตูหิสมณํ ว่าเป็นสมณะ โลเก ในโลก ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิด. ยทิ ถ้าว่า ปุคฺคโล บุคคล สมงฺคิภูโต ผู้ประกอบแล้ว ธมฺเมหิ ด้วยธรรมทั้งหลาย จตุพฺภิสมโณ เป็นสมณะ โหติ ย่อมเป็น ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ คำแม้นั้น อิติ ว่า ปุคฺคโล บุคคล สมโณ ชื่อว่าเป็นสมณะ ขยา เพราะสิ้น อาสวานํ แห่งอาสวะทั้งหลาย โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ มิจฺฉา เป็นอันผิดไป อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

ก็สิ่งทั้งหมดนี้ ย่อมมีแก่ผู้ที่ยังไม่สิ้นอาสวะ ยังมีกิเลสอยู่นั่นเทียว พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า บุคคลเป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ตรัสไว้ว่า นระนั้นแลผู้พรั่งพร้อมด้วยธรรม ๔ ประการ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวเป็นสมณะในโลก ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ถ้าหากเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นสมณะจริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ตรัสว่า ชื่อว่าเป็นสมณะ ก็เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้ ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านพึงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา อาสวานํ ขยา สมโณ โหตีติฯ ปุน จ ภณิตํ จตุพฺภิ ธมฺเมหิ สมงฺคิภูตํ, ตํ เว นรํ สมณํ อาหุ โลเกติฯ ตทิทํ, มหาราช, วจนํ เตสํ เตสํ ปุคฺคลานํ คุณวเสน ภณิตํ จตุพฺภิ ธมฺเมหิ สมงฺคิภูตํ, ตํ เว นรํ สมณํ อาหุ โลเกติ, อิทํ ปน นิรวเสสวจนํ อาสวานํ ขยา สมโณ โหตีติฯ 

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ ข้อความนี้ อิติ ว่า (อาสวานํ ขยา สมโณ โหติ) ปุคฺคโล บุคคล สมโณ ชื่อว่า เป็นสมณะ ขยา=ขยาย เพราะการสิ้นไป อาสวานํ แห่งอาสวะทั้งหลาย โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้แล้ว, ก็ เอตํ วจนํ ข้อความนี้ อิติ ว่า

จตุพฺภิ อมฺเมหิ สมงฺคิภูตํ

ตํ เว นรํ สมณํ อาหุ โลเก

(ปณฺฑิตา) บัณฑิตทั้งหลาย อาหุ เรียกแล้ว ตํ เว นรํ ซึ่งนรชนนั้น สมงฺคิภูตํ ผู้ประกอบแล้ว ธมฺเมหิ ด้วยธรรมทั้งหลาย จตูหิสมณํ ว่าเป็นสมณะ โลเก ในโลก ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ก็ทรงภาษิตไว้ ปุน อีก. มหาราช มหาบพิตร ตทิทํ วจนํ คำนี้นั้น อิติ ว่า (ปณฺฑิตา) บัณฑิตทั้งหลาย อาหุ เรียกแล้ว ตํ เว นรํ ซึ่งนรชนนั้น สมงฺคิภูตํ ผู้ประกอบแล้ว ธมฺเมหิ ด้วยธรรมทั้งหลาย จตูหิสมณํ ว่าเป็นสมณะ โลเก ในโลก ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้ คุณวเสน ด้วยความเป็นคุณ เตสํ เตสํ ปุคฺคลานํ แห่งบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น[5], ปน แต่ อิทํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า ปุคฺคโล บุคคล สมโณ ชื่อว่า เป็นสมณะ ขยา=ขยาย เพราะการสิ้นไป อาสวานํ แห่งอาสวะทั้งหลาย โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ นิรวเสสวจนํ เป็นคำที่หาส่วนเหลือมิได้[6].

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า ชื่อว่าเป็นสมณะ ก็เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายดังนี้ จริง และตรัสไว้อีกว่า นระนั้นแลผู้พรั่งพร้อมด้วยธรรม ๔ ประการ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นสมณะในโลก ดังนี้ จริง ขอถวายพระพร คำนี้ที่ว่า นระนั้นแลผู้พรั่งพร้อมด้วยธรรม ๔ ประการ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า เป็นสมณะในโลก ดังนี้ นั้น ตรัสไว้เกี่ยวกับเป็นคุณธรรมสำหรับบุคคลเหล่านั้น ส่วนคำว่า ชื่อว่าเป็นสมณะ ก็เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ดังนี้ นี้ เป็นคำพูดที่หาส่วนเหลือมิได้

 

‘‘อปิ จ, มหาราช, เย เกจิ กิเลสูปสมาย ปฏิปนฺนา, เต สพฺเพ อุปาทายุปาทาย สมโณ ขีณาสโว อคฺคมกฺขายติฯ ยถา, มหาราช, ยานิ กานิจิ ชลชถลชปุปฺผานิ, วสฺสิกํ เตสํ อคฺคมกฺขายติ, อวเสสานิ ยานิ กานิจิ วิวิธานิ ปุปฺผชาตานิ, สพฺพานิ ตานิ ปุปฺผานิ เยว, อุปาทายุปาทาย ปน วสฺสิกํ เยว ปุปฺผํ ชนสฺส ปตฺถิตํ ปิหยิตํฯ เอวเมว โข, มหาราช, เย เกจิ กิเลสูปสมาย ปฏิปนฺนา, เต สพฺเพ อุปาทายุปาทาย สมโณ ขีณาสโว อคฺคมกฺขายติฯ

มหาราช มหาบพิตร อปิ จ อีกอย่างหนึ่ง[7] เย เกจิ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปฏิปนฺนา เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว กิเลสูปสมาย เพื่อความสงบระงับแห่งกิเลส, ขีณาสโว พระขีณาสพ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อกฺขายติ ตรัสเรียก สมโณ ว่าเป็นสมณะ อคฺโค ผู้เลิศ อุปาทายุปาทาย เพราะการเทียบเคียงเทียบเคียง เต สพฺเพ ซึ่งบุคคลเหล่านั้น ทั้งปวง. มหาราช มหาบพิตร ยานิ กานิจิ ชลชถลชปุปฺผานิ ดอกไม้ที่เกิดในน้ำและบนบก เหล่าใดเหล่าหนึ่ง, วสฺสิกํ ดอกมะลิ โลเกหิ อันชาวโลกทั้งหลาย อกฺขายติ ย่อมกล่าว อคฺคํ ว่าเป็นเลิศ เตสํ แห่งดอกไม้ทั้งหลายเหล่านั้น, ปุปฺผชาตานิ พันธ์บุปผชาติ วิวิธานิ มากมายหลายอย่าง อวเสสานิ ที่เหลือ ยานิ กานิจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อตฺถิ มีอยู่, วสฺสิกํเยว ดอกมะลิเท่านั้น ปุปฺผํ เป็นดอกไม้ ชนสฺส อันชนชาวโลก ปตฺถิตํ ปรารถนาแล้ว ปิหยิตํ ชื่นชมแล้ว อุปาทายุปาทาย เพราะเทียบเคียงแล้วเทียบเคียงเล่า สพฺพานิ ตานิ ปุปฺผานิเยว ซึ่งดอกไม้ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวงนั่นเทียว ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เย เกจิ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปฏิปนฺนา เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว กิเลสูปสมาย เพื่อความสงบระงับแห่งกิเลส อตฺถิ มีอยุ่, ขีณาสโว พระขีณาสพ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อกฺขายติ ตรัสเรียก สมโณ ว่าเป็นสมณะ อคฺโค ผู้เลิศ อุปาทายุปาทาย เพราะการเทียบเคียงเทียบเคียง เต สพฺเพ ซึ่งบุคคลเหล่านั้น ทั้งปวง เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสงบกิเลส (คือเป็นสมณะ) พระขีณาสพผู้สงบกิเลสได้แล้วนั่นเทียว เทียบ ๆ กับบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดแล้ว ก็จัดว่าเป็นยอดสมณะ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ดอกไม้ทั้งที่เกิดในน้ำ ทั้งที่เกิดบนบก เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรดาดอกไม้เหล่านั้น ดอกมะลิ กล่าวได้ว่าเป็นยอดดอกไม้ ก็ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เหลือ ดอกมะลินั่นเทียว เทียบ ๆ กับดอกไม้ทั้งหมดเหล่านั้นแล้ว ก็จัดว่าเป็นดอกไม้ที่คนปรารถนา ที่คนชื่นใจ ฉันใด ขอถวายพระพร บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อสงบกิเลสเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พระขีณาสพผู้สงบกิเลสได้แล้วนั่นเทียว เทียบ ๆ กับบุคคลเหล่านั้นแล้ว ก็จัดว่าเป็นยอดสมณะ ฉันนั้นเหมือนกัน

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, สพฺพธญฺญานํ สาลิ อคฺคมกฺขายติ, ยา กาจิ อวเสสา วิวิธา ธญฺญชาติโย, ตา สพฺพา อุปาทายุปาทาย โภชนานิ สรีรยาปนาย, สาลิ เยว เตสํ อคฺคมกฺขายติฯ เอวเมว โข, มหาราช, เย เกจิ กิเลสูปสมาย ปฏิปนฺนา, เต สพฺเพ อุปาทายุปาทาย สมโณ ขีณาสโว อคฺคมกฺขายตี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ วา อีกอย่างหนึ่ง สาลิ ข้าวสาลี โลเกหิ อันชาวโลก อกฺขายติ ย่อมเรียกว่า อคฺโค เป็นเลิศ สพฺพธญฺญานํ แห่งธัญญพืชทั้งปวง, ธญฺญชาติโย ธัญญพืชพันธ์ วิวิธา ต่างๆ อวเสสา ที่เหลือ ยา กาจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อตฺถิ มีอยู่, สาลิ ข้าวสาลี โภชนานิ อันเป็นโภชนะ สรีรยาปนาย เพื่อยังสรีระให้เป็นไป โลเกหิ ชาวโลก อกฺขายติ ย่อมกล่าว อคฺคํ ว่าเป็นเลิศ เตสํ ธญญชาตีนํ แห่งธัญญพืชพันธ์ทั้งหลาย เหล่านั้น อุปาทายุปาทาย เพราะเทียบเคียงแล้วเทียบเคียงเล่า ตา สพฺพา ธญฺญชาติโย ซึ่งธัญญพืชพันธ์ เหล่านั้นทั้งปวง ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เย เกจิ ชนา ชนทั้ืงหลาย ปฏิปนฺนา ผู้ปฏิบัติแล้ว กิเลสูปมาย เพื่อการสงบแห่งกิเลส เย เกจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อตฺถิ มีอยู่, ขีณาสโว พระขีณาสพ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค อกฺขายติ ตรัสเรียก สมโณ ว่าเป็นสมณะ อคฺโค ผู้เลิศ อุปาทายุปาทาย เพราะการเทียบเคียงเทียบเคียง เต สพฺเพ ซึ่งบุคคลเหล่านั้น ทั้งปวง เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว ดังนี้.

ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ข้าวสาลี กล่าวได้ว่า เป็นยอดข้าวแห่งประเภทข้าวทั้งหลาย ข้าวชนิดต่าง ๆ เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เหลือ ข้าวสาลีนั่นเทียว เทียบกับข้าวทั้งหมดเหล่านั้น ด้วยความเป็นโภชนะเยียวยาสรีระแล้ว ก็กล่าวได้ว่า เป็นยอดโภชนะแห่งบรรดาข้าวเหล่านั้น ฉันใด ขอถวายพระพร บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อสงบกิเลสเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พระขีณาสพผู้สงบกิเลสได้แล้วนั่นเทียว เทียบ ๆ กับบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดแล้ว ก็จัดว่าเป็นยอดสมณะ ฉันนั้นเหมือนกัน

 

 ‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ       

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริงพระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้ายอมรับคำ ตามที่ท่านกล่าวมานี้

อคฺคคฺคสมณปญฺโห นวโมฯ

อคฺคคฺคสมณปญฺโห อัคคัคคสมณปัญหา

นวโม ลำดับที่ ๙ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

อัคคัคคสมณปัญหาที่ ๙ จบ



[1] .มู. มหาจุฬาเตปิฏก ๑๒/๔๓๘/๓๘๖

[2] สมงฺคิภูตํ มาจาก สมงฺค ไปร่วมกัน  (สํ + อคิ คมเน) + ภูต กรณีนี้ ลง อิอาคมท้าย สมงฺค เพราะมี ภูธาตุเบื้องหลัง (ตามสัททนีติ สูตร ๑๓๓๘ ยถารหมิวณฺณาคโม ภูกเรสุ) ความหมายเท่ากับ สหภูต (ตามนัยแห่งอรรถกถาอุทาน) เกิดขึ้นร่วมกัน, อีกนัยหนึ่ง สมงฺคี (สมงฺค + อี เหมือน สมงฺคิภูต) ไปร่วมกัน + ภูต ความหมายเท่ากับ สมนฺนาคต, เอกตฺตํ อุปคต, เอกีภาวํ คต.  อีกนัยหนึ่ง สมงฺคี ไปร่วมกันเป็นปกติ (สํ + อญฺช คมเน + ณี ตสฺสีลตทฺธิต) + ภูต ธรรมที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปพร้อมกันเป็นปกติ กลาวคือ เกิดขึ้นพร้อมเพรียงกันโดยปกติ

สรุปว่า แปลได้ ๓ นัย คือ เกิดขึ้นพร้อมกัน (สหภูต), สมนฺนาคต ประกอบ, สมญฺชนสีลภูต เป็นไปร่วมกันโดยปกติ

อนึ่ง กรณีที่เป็น สมงฺคีภูต มาจาก สมงฺค + อี (ตามสูตรสัททนีติ) แปล เหมือน สมงฺคิภูต, หรือ มาจาก สมงฺค + อี ตสฺสีลตทฺธิต) แปลว่า เป็นไปร่วมกันโดยปกติ.

[3] ขุ.ชา. มหาจุฬาเตปิฏก ๒๗/๓๒/๒๑๕

[4] สิ่งทั้งหมด คือ ธรรม ๔ อย่าง มีขันติ เป็นต้นนี้ ย่อมมีแก่ผู้ที่ยังไม่สิ้นอาสวะ คือ ยังเป็นปุถุชน ก็พระเจ้ามิลินท์ทรงหมายเอาเรื่องที่มาใน จตุโปสถชาดก

[5] คาถานี้มาในพระบาฬีจตุโปสถิกชาดก  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นวิธุรบัณฑิต ได้ตรัสสอนบุคคล ๔ คน ซึ่งล้วนเป็นปุถุชน คือ () พญานาค () พญาสุบรรณ () ท่านท้าวสักกะ () พระเจ้าโกรัพยะ มีใจความว่า บุคคลได้ชื่อว่า สมณะ (ซึ่งแปลว่าผู้สงบ) ก็เพราะมีธรรมเครื่องให้สงบ คือ พญานาค จะได้ชื่อว่า เป็นสมณะ ก็เพราะมีขันติ ความอดทน อดกลั้น เป็นเครื่องสงบความกลัวพญาสุบรรณและความกลัวตาย พญาครุฑ จะได้ชื่อว่า เป็นสมณะ ก็เพราะมีอัปปาหารตา ความเป็นผู้มีอาหารน้อย คือ ความคิดงดเว้นการถือเอาพวกนาคเป็นอาหารเครื่องสงบเวร ท่านท้าวสักกะ จะได้ชื่อว่า เป็นสมณะ ก็เพราะมีรติวิปปหานะ การละความยินดี คือ ละเว้นหลีกห่างจากหมู่นางฟ้า เป็นเครื่องสงบความเร่าร้อนคือราระ พระเจ้าโกรัพยะ จะได้ชื่อว่า เป็นสมณะ ก็เพราะมีอากิญจัญญะ ความไม่มียุ่งเกี่ยวอันเป็นชื่อของความมักน้อยและความสันโดษ เป็นเครื่องสงบความขวนขวายไม่รู้จักหยุดในอันจะเผยแผ่พระราชอำนาจครอบครองแว่นแคว้นชนบท เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวโดยสรุปว่า คำว่า สมณะ ในที่นี้ ตรัสไว้โดยคุณธรรมเฉพาะบุคคล ๔ เหล่านี้ ซึ่งยังมีความหมายที่เหลือ คื อพระขีณาสพ ที่เป็นเลิศแห่งสมณะเหล่านั้นผู้ขวนขวายปฏิบัติเพื่อสงบจากกิเลส.

[6] เป็นคำพูดโดยนิปริยาย ไม่ยักย้ายประยุกต์ไปตามความเหมาะสมแก่ประเภทบุคคล เพราะคำว่า สมณะ ว่า โดยนิปริยาย ก็ได้แก่ บุคคลผู้สงบกิเลสทั้งหลายได้ คือ พระอรหันต์

[7] มีอรรถาธิบายอีกอย่างหนึ่ง อย่างนี้ว่า แม้ในที่อื่น จะตรัสถึงบุคคลผู้มีธรรม ๔ อย่างว่า เป็นสมณะ ก็ตาม ก็มิได้ตรัสไว้ทรงหมายเอาว่าเป็นยอดสมณะ ส่วนคำที่ตรัสว่า ชื่อว่าเป็นสมณะ ก็เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ดังนี้ นี้ ตรัสไว้ด้วยทรงหมายเอาว่าเป็นยอดสมณะ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น