วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2568

๕๑ สันถวปัญหาที่ ๑ ใน สันถววรรคที่ ๕

 

๕. สนฺถววคฺโค

กลุ่มปัญหามีสันถวปัญหาเป็นลำดับแรก

๑. สนฺถวปญฺโห

ปัญหาเกี่ยวกับสันถวะ (ความสนิทสนม)

 

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา

‘‘‘สนฺถวโต ภยํ ชาตํ, นิเกตา ชายเต รโช;

อนิเกตมสนฺถวํ, เอตํ เว มุนิทสฺสนนฺติฯ

‘‘ปุน จ ภควตา ภณิตํ วิหาเร การเย รมฺเม, วาสเยตฺถ พหุสฺสุเตติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ภนฺเต ผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภยํ ภัย ชาตํ เกิดแล้ว สนฺถวโต จากความสนิทสนม[1], รโช ธุลี[2] ชายเต ย่อมเกิด นิเกตา[3] จากที่อยู่[4], อหํ เราตถาคต วทามิ กล่าวอยู่ เอตํ = เอตาทิสํ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุผู้เห็นเสมอกับภิกษุนี้ เว = เอกนฺเตน เท่านั้น อิติ คือ อนิเกตํ ผู้ปราศจากที่อยู่ ด้วย อสนฺถวํ ผู้ไม่มีความสนิทสนม ด้วย มุนิทสฺสนํ ว่าเป็นมุนีผู้เว้นจากการพบเห็น ดังนี้[5]. และ เอตํ วจนํ พระพุทธพจน์นี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงแสดงไว้ ปุน อีก อิติ ว่า (ทายกปณฺฑิโต) บัณฑิตทายก การเย พึงให้สร้าง วิหาเร ซึ่งวิหารทั้งหลาย รมฺเม อันน่ารื่นรมย์ (ภิกฺขุโน) ยังภิกษุทั้งหลาย  พหุสฺสุเต ผู้เป็นพหูสูต วาสเย พึงให้อยู่ เอตฺถ ในวิหารนี้ ดังนี้

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคเตน ภณิตํ สนฺถวโต ภยํ ชาตํ, นิเกตา ชายเต รโชฯ อนิเกตมสนฺถวํ, เอตํ เว มุนิทสฺสนนฺติ, เตน หิ วิหาเร การเย รมฺเม, วาสเยตฺถ พหุสฺสุเตติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ตถาคเตน ภณิตํ วิหาเร การเย รมฺเม, วาสเยตฺถ พหุสฺสุเตติ, เตน หิ สนฺถวโต ภยํ ชาตํ, นิเกตา ชายเต รโชฯ อนิเกตมสนฺถวํ, เอตํ เว มุนิทสฺสนนฺติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้า อิทํ วจนํ คำนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภยํ ภัย ชาตํ เกิดแล้ว สนฺถวโต จากความเชยชิด, รโช ธุลี ชายเต ย่อมเกิด นิเกตา จากที่อยู่, อหํ เราตถาคต วทามิ กล่าวอยู่ เอตํ = เอตาทิสํ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุผู้เห็นเสมอกับภิกษุนี้ เว = เอกนฺเตน เท่านั้น อิติ คือ อนิเกตํ ผู้ปราศจากที่อยู่ ด้วย อสนฺถวํ ผู้ไม่มีความสนิทสนม ด้วย มุนิทสฺสนํ ว่าเป็นมุนีผู้เว้นจากการพบเห็น ดังนี้ จริงไซร้, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระพุทธพจน์ใด (ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสแล้ว) อิติ ว่า (ทายกปณฺฑิโต) บัณฑิตทายก การเย พึงให้สร้าง วิหาเร ซึ่งวิหารทั้งหลาย รมฺเม อันน่ารื่นรมย์ (ภิกฺขุโน) ยังภิกษุทั้งหลาย  พหุสฺสุเต ผู้เป็นพหูสูต วาสเย พึงให้อยู่ เอตฺถ ในวิหารนี้ ดังนี้ ตํ วจนํ พระพุทธพจน์นั้น มิจฺฉา ผิด, ยทิ ถ้า ยํ วจนํ พระพุทธพจน์ใด (ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสแล้ว) อิติ ว่า (ทายกปณฺฑิโต) บัณฑิตทายก การเย พึงให้สร้าง วิหาเร ซึ่งวิหารทั้งหลาย รมฺเม อันน่ารื่นรมย์ (ภิกฺขุโน) ยังภิกษุทั้งหลาย  พหุสฺสุเต ผู้เป็นพหูสูต วาสเย พึงให้อยู่ เอตฺถ ในวิหารนี้ ดังนี้ จริงไซร้, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ แม้คำนั้น ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภยํ ภัย ชาตํ เกิดแล้ว สนฺถวโต จากความเชยชิด, รโช ธุลี ชายเต ย่อมเกิด นิเกตา จากที่อยู่, อหํ เราตถาคต วทามิ กล่าวอยู่ เอตํ = เอตาทิสํ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุผู้เห็นเสมอกับภิกษุนี้ เว = เอกนฺเตน เท่านั้น อิติ คือ อนิเกตํ ผู้ปราศจากที่อยู่ ด้วย อสนฺถวํ ผู้ไม่มีความสนิทสนม ด้วย มุนิทสฺสนํ ว่าเป็นมุนีผู้เว้นจากการพบเห็น ดังนี้  มิจฺฉา ก็ผิด. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีเงื่อนงำ อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต ตกถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา ท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ พึงคลี่คลาย ดังนี้[6]

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา สนฺถวโต ภยํ ชาตํ, นิเกตา ชายเต รโชฯ อนิเกตมสนฺถวํ, เอตํ เว มุนิทสฺสนนฺติฯ ภณิตญฺจ วิหาเร การเย รมฺเม, วาสเยตฺถ พหุสฺสุเตติฯ  ยํ, มหาราช, ภควตา ภณิตํ สนฺถวโต ภยํ ชาตํ, นิเกตา ชายเต รโชฯ อนิเกตมสนฺถวํ, เอตํ เว มุนิทสฺสนนฺติ, ตํ สภาววจนํ อเสสวจนํ นิสฺเสสวจนํ นิปฺปริยายวจนํ สมณานุจฺฉวํ สมณสารุปฺปํ สมณปฺปติรูปํ สมณารหํ สมณโคจรํ สมณปฺปฏิปทา สมณปฺปฏิปตฺติฯ ยถา, มหาราช, อารญฺญโก มิโค อรญฺเญ ปวเน จรมาโน นิราลโย อนิเกโต ยถิจฺฉกํ สยติ, เอวเมว โข, มหาราช, ภิกฺขุนา สนฺถวโต ภยํ ชาตํ, นิเกตา ชายเต รโชฯ อนิเกตมสนฺถวํ, เอตํ เว มุนิทสฺสนนฺติ จินฺเตตพฺพํฯ

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตมฺปิ วจนํ แม้คำนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภยํ ภัย ชาตํ เกิดแล้ว สนฺถวโต จากความเชยชิด, รโช ธุลี ชายเต ย่อมเกิด นิเกตา จากที่อยู่, อหํ เราตถาคต วทามิ กล่าวอยู่ เอตํ = เอตาทิสํ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุผู้เห็นเสมอกับภิกษุนี้ เว = เอกนฺเตน เท่านั้น อิติ คือ อนิเกตํ ผู้ปราศจากที่อยู่ ด้วย อสนฺถวํ ผู้ไม่มีความสนิทสนม ด้วย มุนิทสฺสนํ ว่าเป็นมุนีผู้เว้นจากการพบเห็น ดังนี้ ดังนี้ จ และ วจนํ คำนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสแล้ว อิติ ว่า (ทายกปณฺฑิโต) บัณฑิตทายก การเย พึงให้สร้าง วิหาเร ซึ่งวิหารทั้งหลาย รมฺเม อันน่ารื่นรมย์ (ภิกฺขุโน) ยังภิกษุทั้งหลาย  พหุสฺสุเต ผู้เป็นพหูสูต วาสเย พึงให้อยู่ เอตฺถ ในวิหารนี้ ดังนี้ จริง

มหาราช มหาบพิตร ยํ วจนํ คำใด ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภยํ ภัย ชาตํ เกิดแล้ว สนฺถวโต จากความเชยชิด, รโช ธุลี ชายเต ย่อมเกิด นิเกตา จากที่อยู่, อหํ เราตถาคต วทามิ กล่าวอยู่ เอตํ = เอตาทิสํ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุผู้เห็นเสมอกับภิกษุนี้ เว = เอกนฺเตน เท่านั้น อิติ คือ อนิเกตํ ผู้ปราศจากที่อยู่ ด้วย อสนฺถวํ ผู้ไม่มีความสนิทสนม ด้วย มุนิทสฺสนํ ว่าเป็นมุนีผู้เว้นจากการพบเห็น ดังนี้, ตํ วจนํ แม้คำน้ัน สภาววจนํ เป็นคำแสดงความมีอยู่จริง, อเสสวจนํ เป็นคำกล่าวโดยไม่มีส่วนหลงเหลือ นิสฺเสสวจนํ เป็นคำกล่าวโดยทั้งหมดไม่มีเหลือ นิปฺปริยายวจนํ เป็นคำกล่าวโดยไม่อ้อมค้อม, สมณานุจฺฉวํ เป็นคำกล่าวที่เหมาะสมแก่สมณะ สมณสารุปฺปํ เป็นคำกล่าวที่ควรแก่สมณะ สมณปติรูปํ เป็นคำกล่าวที่สมควรเฉพาะสมณะ สมณารหํ เป็นคำพูดเหมาะสมแก่สมณะ สมณโคจรํ เป็นโคจรของสมณะ สมณปฏิปทา เป็นปฏิปทาของสมณะ สมณปฺปฏิปตฺติ เป็นการปฏิบัติของสมณะ. มหาราช มหาบพิตร เปรียบเหมือนว่า มิโค เนื้อ อารญฺญโก อาศัยอยู่ในป่า จรมาเน เมื่อเที่ยวไป อรญฺเญ ในป่า ปวเน ในป่าทึบ นิราลโย เป็นผู้ไม่อาลัย  อนิเกโต เป็นไม่มีความต้องการ สยติ ย่อมนอนหลับ ยถิจฺฉกํ ในที่ตามที่ตนปรารถนา ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ภิกฺขุนา อันภิกษุ จินฺเตตพฺพํ พึงคิด อิติ ว่า ภยํ ภัย ชาตํ เกิดแล้ว สนฺถวโต จากความเชยชิด, รโช ธุลี ชายเต ย่อมเกิด นิเกตา จากที่อยู่, อหํ เราตถาคต วทามิ กล่าวอยู่ เอตํ = เอตาทิสํ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกษุผู้เห็นเสมอกับภิกษุนี้ เว = เอกนฺเตน เท่านั้น อิติ คือ อนิเกตํ ผู้ปราศจากที่อยู่ ด้วย อสนฺถวํ ผู้ไม่มีความสนิทสนม ด้วย มุนิทสฺสนํ ว่าเป็นมุนีผู้เว้นจากการพบเห็น ดังนี้ เอวเมว โข เหมือนฉันนั้นนั่นเทียว แล

 

‘‘ยํ ปน, มหาราช, ภควตา ภณิตํ วิหาเร การเย รมฺเม, วาสเยตฺถ พหุสฺสุเตติ, ตํ ทฺเว อตฺถวเส สมฺปสฺสมาเนน ภควตา ภณิตํฯ กตเม ทฺเว? วิหารทานํ นาม สพฺพพุทฺเธหิ วณฺณิตํ อนุมตํ โถมิตํ ปสตฺถํ, ตํ เต วิหารทานํ ทตฺวา ชาติชรามรณา ปริมุจฺจิสฺสนฺตีติฯ อยํ ตาว ปฐโม อานิสํโส วิหารทาเนฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ ยํ วจนํ คำใด ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสแล้ว อิติ ว่า (ทายกปณฺฑิโต) บัณฑิตทายก การเย พึงให้สร้าง วิหาเร ซึ่งวิหารทั้งหลาย รมฺเม อันน่ารื่นรมย์ (ภิกฺขุโน) ยังภิกษุทั้งหลาย  พหุสฺสุเต ผู้เป็นพหูสูต วาสเย พึงให้อยู่ เอตฺถ ในวิหารนี้ ดังนี้ ตํ วจนํ คำนั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค สมฺปสฺสมาเนน ผู้ทรงเห็น อตฺถวเส ซึ่งอำนาจแห่งประโยชน์ เทฺว สอง ภณิตํ ตรัสแล้ว. เทฺว อตฺถวสา อำนาจประโยชน์ทั้งหลาย สอง กตเม เหล่าไหน, เทฺว อตฺถวสา อำนาจประโยชน์ทั้งหลาย สอง อิเม เหล่านี้ อิติ คือ  วิหารทานํ นาม ธรรมดาว่า วิหารทาน (การให้ที่อยู่อาศัย) สพฺพพุทฺเธหิ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย วณฺณิตํ ทรงสรรเสริญแล้ว อนุมตํ เห็นชอบแล้ว โถมิตํ ยกย่องแล้ว ปสตฺถํ ชมเชยแล้ว, เต ทายกปณฺฑิโต ทายกผู้ฉลาดทั้งหลาย เหล่านั้น  ทตฺวา ถวายแล้ว วิหารทานํ ซึ่งวิหารทาน ปริมุจฺจิสฺสนฺติ จักพ้น ชาติชรามรณา จากชาติชราและมรณะ, อยํ (ชาติชรามรณปริมุตฺโต) การหลุดพ้นจากชาติชรามรณะ นี้ อานิสํโส เป็นอานิสงส์ วิหารทาเน ในวิหารทาน ปฐโม ที่หนึ่ง

 

‘‘ปุน จปรํ วิหาเร วิชฺชมาเน ภิกฺขุนิโย พฺยตฺตสงฺเกตา ภวิสฺสนฺติ, สุลภํ ทสฺสนํ ทสฺสนกามานํ, อนิเกเต ทุทฺทสฺสนา ภวิสฺสนฺตีติฯ อยํ ทุติโย อานิสํโส วิหารทาเนฯ อิเม ทฺเว อตฺถวเส สมฺปสฺสมาเนน ภควตา ภณิตํ วิหาเร การเย รมฺเม, วาสเยตฺถ พหุสฺสุเตติ, น ตตฺถ พุทฺธปุตฺเตน อาลโย กรณีโย นิเกเต’’ติฯ

ปุน จปรํ[7] = ก็ อปรํ การณํ เรื่องอื่น อตฺถิ ยังมีอยู่ ปุน อีก, วิหาเร เมื่อวิหาร วิชฺชมาเน มีอยู่, ภิกฺขุนิโย ภิกษุและภิกษุนีทั้งหลาย พฺยตฺตสงฺเกตา เป็นอันสังเกตได้ง่าย ภวิสฺสนฺติ จักเป็น, ทสฺสนํ การพบเห็น ภิกฺขุนีนํ ซึ่งภิกษุและภิกษุนีทั้งหลาย สุลภํ เป็นกิจอัน - ทสฺสนกามานํ อันบุคคลผู้ปรารถนาเพื่อพบเห็น - พึงได้โดยง่าย, อนิเกเต เมื่อภิกษุและภิกษุนีทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีที่พักอาศัย สนฺเต มีอยู่, ทุสฺสทสฺสนา การพบเห็นได้โดยยาก ภวิสฺสนฺติ จักมี ดังนี้. อยํ พฺยตฺตสงฺเกตภาโว ความเป็นคือการสังเกตได้ง่าย นี้ อานิสํโส เป็นอานิสงส์  วิหารทาเน ในการถวายวิหารทาน. อิทํ วจนํ พระดำรัสนี้ ภควตา อันพระผุ้มีพระภาค สมฺปสฺสมาเนน เมื่อทรงเห็น อิเม ทฺเว อตฺถวเส ซึ่งอำนาจแห่งประโยชน์ทั้งหลาย สองประการเหล่านี้ ภณิตํ จึงตรัสไว้ อิติ ว่า (ทายกปณฺฑิโต บัณฑิตทายก) การเย พึงให้สร้าง วิหาเร ซึ่งวิหารทั้งหลาย รมฺเม อันน่ารื่นรมย์ (ภิกฺขูยังภิกษุทั้งหลาย) พหุสฺสุเต ผู้เป็นพหุสุตะ วาสเย พึงให้อยู่ เอตฺถ ในวิหารนี้ ดังนี้, อาลโย ความอาลัย (ความมีเยื่อใย, ผูกพัน, อยาก) ตตฺถ นิเกเต ในที่อาศัยนั้น พุทฺธปุตฺเตน อันพุทธบุตร กรณีโย ไม่พึงกระทำ ดังนี้

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีแล้ว เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ,   คำอธิบายทั้งปวง ย่อมมี ตามความเป็นจริง อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง อันท่าน กล่าวแล้ว ย่อมมี โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ, ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.

 

สนฺถวปญฺโห ปฐโมฯ

สนฺถวปญฺโห สันถวปัญหา ปฐโม ลำดับที่หนึ่ง

นิฏฺฐิโต จบแล้ว

 



[1] ข้อความนี้ พึงทราบความหมายตามพระบาฬีนี้ว่า บุคคลผู้เกิดความเยื่อใยในบ้าน  เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ เพลิดเพลินร่วมกัน เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง (สัง.ขันธ.๑๗/๑๖) ภัยเหล่านี้ คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมเกิดเพราะความสนิทสนม อย่างนี้ (มิลิน.อัฏ.)

[2] ธุลี (รโช) ในที่นี้ได้แก่ กิเลสกลุ่มโลภะ ที่เกิด เพราะที่อยู่หรือเพราะมีความเยื่อใยในที่อยู่นั้น ดังในอรรถกถามิลินทปัญหาว่า รูเปสุ ฯเปฯ ธมฺเมสุ โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺที ยา ตณฺหา เย อุปยุปาทานา เจตโส อธิฏฺฐานาภินิเวสานุสยา ความพอใจ  ความกำหนัด  ความเพลิดเพลิน  ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่นอันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิต  ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรม (มิลินท.อฏฺฐ)

[3] ข้อความนี้ยังไม่พบที่มาในพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทโดยตรง แต่คล้ายกับพระบาฬีที่มาในอัฏฐกวัคคิยะ มาคัณฑิยปัญหา ตามที่บาฬีขันธวรรคสังยุตนิกาย (๑๗/๑๑-๑๒) อ้างถึงว่า

โอกํ ปหาย อนิเกตสารี

คาเม อกุพฺพํ มุนิ สนฺถวานิ

กาเมหิ ริตฺโต อปุรกฺขราโน

กถํ น วิคฺคยฺห ชเนน กยิราติ ฯ

‘บุคคลละที่อยู่แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป    ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน‘

[4] นิเกต แปลตามศัพท์ว่า ที่อยู่อาศัย, บ้าน ในที่นี้พระเจ้ามิลินท์ยกเอาพุทธพจน์  มาแสดงว่า เพราะบ้าน (นิเกต เพราะอรรถกถาเป็นที่อยู่ของกิเลส) นั่นเอง เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส (ธุลี เพราะอรรถว่าแปดเปื้อนคือ ทำให้จิตหม่นหมอง), นิเกต ศัพท์ ในที่นี้ มีความหมายสามนัยด้วยกันคือ ๑) ที่อยู่อาศัย โดยตรงตามศัพท์นั่นเอง แต่หมายเอาอาลัยในที่อยู่อาศัยนั้น, ๒) ตัณหาอันเป็นไปในกายเป็นต้น (มิลิน.อัฏ) ๓) อารมณ์ ๖ ดังที่มีอรรถาธิบายจากอรรถกถาบาฬีขันธวรรคสังยุตต์ อธิบายว่า หมายถึง อารมณ์ ๖ (สัง.ข.อุ ๑๗/๑๑) ในที่นี้มีความหมายว่า อาลัยในที่อยู่ เพราะเทียบกับบาฬีที่สอง ที่สรรเสริญการถวายวิหารทาน กล่าวคือ บาฬีที่ ๑ ตรัสแนะให้ภิกษุไม่มีอาลัยในที่อยู่  แต่ในบาฬีที่ ๒ ตรัสชักชวนให้ทายกถวายวิหารอันเป็นเหตุให้เกิดความอาลัยและความยินดีในที่อยู่นั้น

[5] นัยนี้ แปล อนิเกต และ อสนฺถว เป็นอัสสัตถตัทธิต และให้สองบทนี้เป็นบทกรรม และเพิ่ม วทามิ เป็นอาขยาตบท โดยมี อหํ ซึ่งหมายถึง พระผู้มีพระภาค ดังนี้ ตามอรรถกถามิลินทปัญหา ที่แนะนำ  แต่ถ้าแปลตามหนังสือแปลของไทยจะได้ความว่า เอตํ ธมฺมทฺวยํ ธรรมสองประการนี้ คือ อนิเกตํ ธรรมไม่มีที่อยู่อาศัย (คือพระนิพพาน) ด้วย อสนฺถวํ จ ความไม่สนิทสนม ด้วย มุนิทสฺสนํ เป็นความเห็นชอบของมุนี (คือพระพุทธเจ้า)  เว นั่นเทียว ดังนี้.

[6] มิจฉาทิฏฐิกบุคคลฝ่ายที่ถือเอาว่าภิกษุต้องเป็นผู้ปราศจากอาลัยในที่อยู่และไม่สนิทสนมกับคฤหัสถ์ ตามพระบาฬีที่ ๑ แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็ถือเอาว่า ภิกษุสามารถสนิทสนมกับคฤหัสถ์ได้ ตามพระบาฬีที่ ๒  พระเจ้ามิลินท์ทรงเห็นว่า เรื่องนี้มีสองส่วนที่ไม่ตรงกัน ขัดแย้งกันเอง จึงนำเอามติทั้งสองนั้น มาสอบถามพระเถระ โดยหวังจะนำคำตอบไปหักล้างความเห็นผิดของมิจฉาทิฏฐิกบุคคลนั้น.  ความจริง พระบาฬีหลัง พระพุทธองค์ตรัสไว้สำหรับคฤหัสถ์เพื่อความเจริญงอกงามแห่งศรัทธา แต่สำหรับภิกษุแล้ว ไม่ควรทำความอาลัย ติดข้องอยู่ในวิหารคือที่อยู่นั้น.

[7] ปุน จปรํ โดยนัยคือ จะกล่าวเรื่องอื่นที่นอกไปจากเรื่องที่กำลังกล่าวอยู่นี้อีก ในอรรถกถาทั้งหลายแนะไว้ ๒ อย่าง คือ

๑) เพิ่มศัพท์อื่นที่สอดคล้องกับเรื่องที่จะกล่าวต่อไป และศัพท์นั้นจะเป็นวิเสสยะของอปรํ ใช้ในอรรถกรรมของ กเถมิ ที่กำหนดให้เป็นกิริยาของประโยคที่เพิ่มเข้ามา

ปุน จปรนฺติ ปุน จ อปรํ, ยถาวุตฺตอานาปานกมฺมฏฺฐานโต ภิยฺโยปิ อญฺญํ กายานุปสฺสนากมฺมฏฺฐานํ กเถมิ, สุณาถาติ วา อธิปฺปาโยฯ

ปุน จปรํ ตัดบทเป็น ปุน จ อปรํ ความหมายว่า เราจะกล่าว ซึ่งกายานุปัสนากัมมัฏฐานอื่นที่ยิ่งไปกว่าอานาปานาสติกัมมัฏฐานดังได้กล่าวมาแล้ว, หรือจะใช้คำว่า สุณาถ ก็ได้ คือ ขอท่านทั้งหลายจบสดับ ซึ่งกายานุปัสนาฯ (มหาวคฺคฏีกา มหาสติปัฏฐานสุตตวัณณนา ข้อ ๓๗๕)

๒) เพิ่มศัพท์ที่เป็นนปุงสกลิงค์ เช่น การณํ เรื่อง, ธมฺมชาตํ ธรรมชาติ เป็นต้น

ปุน จปรนฺติ ปุน จ อปรํ การณํ  

ปุน จปรํ คือ ปุน จ อปรํ การณํ เหตุอื่นยังมีอีก (ปฏิสัมภิทามรรคอรรถกถา ยุคนทฺธกถา ยุคนทฺธกถาวณฺณนา ข้อ๑.)

ปุน จปรนฺติ ปุน จ อปรํ ธมฺมชาตํ

ปุน จปรํ คือ ปุน จ อปรํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาติ อย่างอืนยังมีอีก(อุทานัฏฐกถา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น