วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทความพิเศษ : วัฏฏาภิรตโสดาบัน

เรื่อง วัฏฏาภิรตโสดาบัน 

  • ประเด็น วัฏฏาภิรตโสดาบัน ต้องไปเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจรทั้ง ๖ แล้วจึงไปเกิดในอกนิฏฐภพทันที หรือ จะต้องเกิดไปตามลำดับชั้นสุทธวาสภูมิแต่ละภูมิแล้วจักปรินิพพานในอกนิฏฐภพ นั้นฯ
  • หลักฐาน :
         - อรรถกถาปุคคลบัญญัติ สัตตักขัตตุปรมนิทเทสวัณณนา
         เอกจฺโจ หิ โสตาปนฺโน วฎฺฎชฺฌาสโย โหติ,วฎฺฎาภิรโตปุนปฺปุนํ วฎฺฎสฺมึเยว วิจรติ สนฺทิสฺสติฯ อนาถปิณฺฑิโก เสฎฺฐิวิสาขา อุปาสิกาจูฬรถมหารถา เทวปุตฺตาอเนกวณฺโณ เทวปุตฺโตสกฺโก เทวราชานาคทตฺโต เทวปุตฺโตติ อิเม หิ เอตฺตกา ชนา วฎฺฎชฺฌาสยา วฎฺฎาภิรตา อาทิโต ปฎฺฐาย ฉ เทวโลเก โสเธตฺวา อกนิฎฺเฐ ฐตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ,
         อนึ่ง  พระโสดาบันบางองค์   มีอัชฌาสัยในวัฏฏะ   เป็นผู้ยินดีในวัฏฏะย่อมท่องเที่ยวไปในวัฏฏะบ่อย ๆ นั่นเทียว ปรากฏอยู่.  ก็ชนเหล่านั้น  มีประมาณเท่านี้  คือ
         ๑.  อนาถบิณฑิกเศรษฐี
         ๒.  วิสาขา   อุบาสิกา
         ๓.  จูลรถเทวบุตร
         ๔.  มหารถเทวบุตร
         ๕.  อเนกวรรณเทวบุตร
         ๖.  ท้าวสักกเทวราช
         ๗.  นาคทัตตเทวบุตร.

         ทั้งหมดนี้    มีอัธยาศัยในวัฏฏะ    เกิดในเทวโลก  ๖ ชั้น    ตั้งแต่ต้น  ชำระจิตให้สะอาดในเทวโลกนั่นแหละ   แล้วจึงตั้งอยู่ในอกนิฏฐภพ   จึงจักปรินิพพาน


- สกฺกปญฺหสุตฺตปาฬิ
๓๖๙. ‘‘กึ ปน ตฺวํเทวานมินฺทอตฺถวสํ สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทสี’’ติ? ‘‘ฉ โข อหํภนฺเตอตฺถวเส สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทมิฯ
‘‘อิเธว ติฎฺฐมานสฺสเทวภูตสฺส เม สโต;
ปุนรายุ จ เม ลทฺโธเอวํ ชานาหิ มาริสฯ
‘‘อิมํ โข อหํภนฺเตปฐมํ อตฺถวสํ สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทมิฯ
‘‘จุตาหํ ทิวิยา กายาอายุ หิตฺวา อมานุสํ;
อมูฬฺโห คพฺภเมสฺสามิยตฺถ เม รมตี มโนฯ
‘‘อิมํ โข อหํภนฺเตทุติยํ อตฺถวสํ สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทมิฯ
‘‘สฺวาหํ อมูฬฺหปญฺญสฺส [อมูฬฺหปญฺหสฺส (?)], วิหรํ สาสเน รโต;
ญาเยน วิหริสฺสามิสมฺปชาโน ปฎิสฺสโตฯ
‘‘อิมํ โข อหํภนฺเตตติยํ อตฺถวสํ สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทมิฯ
‘‘ญาเยน เม จรโต จสมฺโพธิ เจ ภวิสฺสติ;
อญฺญาตา วิหริสฺสามิเสฺวว อนฺโต ภวิสฺสติฯ
‘‘อิมํ โข อหํภนฺเตจตุตฺถํ อตฺถวสํ สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทมิฯ
‘‘จุตาหํ มานุสา กายาอายุ ํ หิตฺวาน มานุสํ;
ปุน เทโว ภวิสฺสามิเทวโลกมฺหิ อุตฺตโมฯ
‘‘อิมํ โข อหํภเนฺตปญฺจมํ อตฺถวสํ สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทมิฯ
‘‘เต [เย (?)] ปณีตตรา เทวาอกนิฎฺฐา ยสสฺสิโน;
อนฺติเม วตฺตมานมฺหิโส นิวาโส ภวิสฺสติฯ
‘‘อิมํ โข อหํภเนฺตฉฎฺฐํ อตฺถวสํ สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทมิฯ
‘‘อิเม โข อหํภนฺเตฉ อตฺถวเส สมฺปสฺสมาโน เอวรูปํ เวทปฎิลาภํ โสมนสฺสปฎิลาภํ ปเวเทมิฯ
(๑)   เมื่อข้าพระองค์เป็นเทวดา    มีสติดำรงอยู่ในที่นี้นั่นแล ข้าพระองค์ได้อายุต่อไปอีก.
(๒)   ข้าพระองค์ละอายุอันไม่ใช่ของมนุษย์  จุติแล้วจากกายอันเป็นทิพย์    เป็นผู้ไม่หลงแล้ว  จักเข้าถึงครรภ์ในภพเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์.
(๓)  ข้าพระองค์นั้นยินดีแล้ว  ในศาสนาของพระองค์ มีปัญหาอันไม่ฟั่นเฝือแล้วอยู่  จักเป็นผู้รอบรู้   มีสติมั่นคง อยู่ด้วยความประพฤติชอบ.
(๔)   ถ้าว่าความตรัสรู้จักมีแก่ข้าพระองค์ในเบื้องหน้า  ด้วยความประพฤติชอบ   และเป็นผู้รอบรู้อยู่ไซร้  ที่สุดนั่นแล  จักมีแก่ข้าพระองค์.
 (๕)   ข้าพระองค์จุติแล้ว   จากกายอันเป็นของมนุษย์   และอายุอันเป็นของมนุษย์  จักเป็นเทวดาอีก   จักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก.
(๖)  ในอัตตภาพอันมีในที่สุด   ข้าพระองค์จักอยู่ในหมู่เทพชั้นอกนิฏฐะผู้มียศอันประณีตกว่า.   
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์ ๖ อย่างเหล่านี้แล     ย่อมประกาศการได้ความยินดี    การได้โสมนัสเช่นนี้.

v

- ทีฆนิกายฏฺฐกถา สกฺกปญฺหสุตฺตวณฺณนา ๓๖๙
            ๓๖๙.ปเวเทสีติ กเถสิ ทีเปสิฯ
            คำว่า   แจ้ง   ได้แก่ กล่าว   คือ  แสดง.

            อิเธวาติ อิมสฺมิญฺเญว โอกาเสฯ
         บทว่า ในนี้นั่นเทียว  คือ ในโอกาสนี้แหละ. 

         เทวภูตสฺส เม สโตติ เทวสฺส เม สโตฯ
         บทว่า  ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทวดาเป็นอยู่  คือ  ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพอยู่

            ปุนรายุ จ เม ลทฺโธติ ปุน อญฺเญน กมฺมวิปาเกน เม ชีวิตํ ลทฺธนฺติอิมินา อตฺตโน จุตภาวํ เจว อุปปนฺนภาวญฺจ อาวิกโรติฯ
         คำว่า และข้าพระพุทธเจ้าก็ได้อายุอีกทีเดียว   ความว่า   ข้าพระพุทธเจ้าได้ชีวิต  ด้วยผลกรรมอย่างอื่นอีก. ด้วยคำนี้ ท้าวสักกะทรงเปิดเผยถึงความจุติและความเกิดของพระองค์.

            ทิวิยา กายาติ ทิพฺพา อตฺตภาวาฯ
         คำว่า  กายทิพย์  คือ อัตภาพเป็นทิพย์.

            อายุ ํ หิตฺวา อมานุสนฺติ ทิพฺพํ อายุ ํ ชหิตฺวาฯ
         คำว่า ละอายุที่ไม่ใช่เป็นของมนุษย์   คือ  ทิ้งอายุทิพย์.

            อมูฬฺโห คพฺภเมสฺสามีติ นิยตคติกตฺตา อมูฬฺโห หุตฺวาฯ
         คำว่า  จะไม่หลงเข้าครรภ์   คือ  เป็นผู้ไม่หลง     เพราะมีคติเที่ยงแท้
    
         ยตฺถ เม รมตี มโนติ ยตฺถ เม มโน รมิสฺสติตตฺเถว ขตฺติยกุลาทีสุ คพฺภํ อุปคจฺฉิสฺสามีติ สตฺตกฺขตฺตุ ํ เทเว จ มานุเส จาติ อิมมตฺถํ ทีเปติฯ
         จะเข้าถึงครรภ์ในตระกูลกษัตริย์เป็นต้น ที่ใจของข้าพระพุทธเจ้าจะรื่นรมย์นั้นเท่านั้น. ดังนั้น ท้าวสักกะทรงแสดงความข้อนี้ว่า ในเทวดาและในมนุษย์เจ็ดครั้ง.

            ญาเยน วิหริสฺสามีติ มนุสฺเสสุ อุปปนฺโนปิ มาตรํ ชีวิตา โวโรปนาทีนํ  อภพฺพตฺตา ญาเยน การเณน สเมน วิหริสฺสามีติ อตฺโถฯ
         คำว่า  จะอยู่อย่างถูกต้อง   ความว่า     แม้ข้าพระพุทธเจ้าเกิดในหมู่มนุษย์จะอยู่อย่างถูกต้องคือตามเหตุผล    โดยสม่ำเสมอ    เพราะความเป็นผู้ไม่ควรแก่การปลงแม่จากชีวิตเป็นต้น  (ฆ่าแม่).  

            สมฺโพธิ เจ ภวิสฺสตีติ อิทํ สกทาคามิมคฺคํ สนฺธาย วทติสเจ สกทาคามี       ภวิสฺสามีติ ทีเปติฯ
         ท้าวสักกะตรัสหมายเอาสกทาคามิมรรคนี้ว่า หากความตรัสรู้จะมี. ทรงแสดงว่า   หากข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นสกทาคามี.  

            อญฺญาตา วิหริสฺสามีติ  อญฺญาตา   อาชานิตุกาโม  หุตฺวา  วิหริสฺสามิฯ
         คำว่า  เป็นผู้รู้ทั่วถึงจะอยู่  คือ  ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้รู้ทั่วถึง   คือจะเป็นผู้ใครรู้ทั่วถึงอยู่.   


            เสฺวว อนฺโต ภวิสฺสตีติ โส เอว เม มนุสฺสโลเก อนฺโต ภวิสฺสตีติฯ
         คำว่า ที่สุดนั้นแลจะมี   คือที่สุดในมนุษยโลกนั้นแลจะมีแก่ข้าพระองค์.

            ปุนเทโว ภวิสฺสามิ เทวโลกสฺมิ ํ อุตฺตโมติ  ปุนเทว โลกสฺมิ ํ อุตฺตโม สกฺโก  เทวานมินฺโท ภวิสฺสามีติ วทติฯ
         ท้าวสักกะตรัสว่า  ข้าพระพุทธเจ้า จะเป็นสักกะผู้จอมทวยเทพ   ที่สูงสุด     ในเทวโลกอีก  ด้วยคำนี้ว่า  ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นเทพผู้สูงสุดในเทวโลกอีก.

            อนฺติเม วตฺตมานมฺหีติ อนฺติเม ภเว วตฺตมาเนฯ
         คำว่า  อันมีในที่สุด   ที่กำลังเป็นไปอยู่  คือ ในภพอันมีในที่สุดที่กำลังเป็นไปอยู่. 

            โส นิวาโส ภวิสฺสตีติ เย เต อายุนา จ ปญฺญาย จ อกนิฎฺฐา เชฎฺฐกา  สพฺพ-เทเวหิ ปณีตตรา เทวาอวสาเน เม โส นิวาโส ภวิสฺสติ ฯ อยํ กิร ตโต สกฺกตฺตภาวโต จุโต ตสฺมิ ํ  อตฺตภาเว  อนาคามิมคฺคสฺส  ปฎิลทฺธตฺตา  อุทฺธํโสโต อกนิฎฺฐคามี หุตฺวา  อวิหาทีสุ นิพฺพตฺตนฺโต อวสาเน อกนิฎฺเฐ นิพฺพตฺติสฺสติฯ ตํ สนฺธาย เอวมาหฯ เอส กิร อวิเหสุ กปฺปสหสฺสํ วสิสฺสติอตปฺเปสุ เทฺว กปฺปสหสฺสานิสุทสฺเสสุ จตฺตาริ  กปฺปสหสฺสานิสุทสฺสีสุ อฎฺฐอกนิฎฺเฐสุ โสฬสาติ เอกติ ํส กปฺปสหสฺสานิ พฺรหฺมอายุ อนุภวิสฺสติฯ สกฺโก เทวราชา อนาถปิณฺฑิโก คหปติ วิสาขา มหาอุปาสิกาติ ตโยปิ หิ อิเม เอกปฺปมาณอายุกา เอววฎฺฎาภิรตสตฺตา นาม เอเตหิ สทิสา สุขภาคิโน นาม นตฺถิฯ
         คำว่า  นั้นจะเป็นที่อยู่  คือ  พวกเทวดาเหล่านั้นใด  ผู้สถิต ณ อกนิฏฐภพ[1]       เป็นผู้เจริญที่สุดประณีตกว่าพวกเทพทั้งหมด   ทั้งด้วยอายุ   ทั้งด้วยปัญญา, ในที่สุด  ภพนั้นจะเป็นที่อยู่อาศัยของข้าพระพุทธเจ้า.
         เล่ากันมาว่า   ท้าวสักกะนี้ จุติจากอัตภาพแห่งท้าวสักกะนั้นแล้ว   จะเป็นพระอนาคามีอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (พระอนาคามีผู้มีกระแสตัณหาหรือวัฏฏะสูงผู้ไปอกนิฏฐพรหมโลก)    เพราะความที่ทรงได้อนาคามิมรรคในอัตภาพนั้น  เมื่อทรงเกิดในชั้นอวิหาเป็นต้นอยู่   สุดท้ายจะเป็นอกนิฏฐคามีพรหม.   ท้าวเธอทรงหมายถึงข้อนั้นจึงตรัสอย่างนั้น.
         ได้ยินว่า  ท้าวสักกะนี้   จะทรงอยู่ในชั้นอวิหาหนึ่งพันกัป  ในชั้นอตัปปาสองพันกัป    ในชั้นสุทัสสาสี่พันกัป   ในชั้นสุทัสสีแปดพันกัป    ในชั้นอกนิฏฐ์หนึ่งหมื่นหกพันกัป   ดังว่ามานี้    ท้าวเธอจึงจะเสวยอายุพรหมสามหมื่นหนึ่งพันกัป.   จริงอยู่ ชื่อว่า วัฏฏาภิรตบุคคล (สัตว์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง   ในการเวียนว่ายตายเกิด) มีประมาณอายุอย่างเดียวกันแท้   เหล่านี้สามท่าน    ได้แก่   ท้าวสักกะผู้เป็นราชาของเทพ     อนาถปิณฑิกคฤหบดี   นางวิสาขามหาอุบาสิกา.   ธรรมดาผู้มีส่วนความสุขเท่ากับท่านเหล่านี้ไม่มี.

v

- ทีฆนิกายฏีกา สกฺกปญฺหสุตฺตวณฺณนา ๓๖๙

๓๖๙.อิมสฺมึเยว โอกาเสติ อิมิสฺสเมว อินฺทสาลคุหายํฯ  
        คำว่า ในโอกาสนี้นั่นแหละ ได้แก่ ในถ้ำอินทสาละนี้นั่นเอง

            เทวภูตสฺส เมติ  ปุพฺเพปิ เทวภูตสฺส สกฺกสฺเสว เม ภูตสฺสฯ
        คำว่า แก่ข้าพระองค์ ผู้เป็นเทพอยู่ หมายถึง แก่ข้าพระองค์ ผู้เป็นท้าวสักกะนั่นเอง แม้ซึ่งเคยเป็นเทพมาก่อนฯ

            สโตติ อิทานิปิ สกฺกสฺเสว สโต ปุนรายุ จ เม ลทฺโธฯ
        คำว่า ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพอยู่ เป็นต้น หมายความว่า แม้ในบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ผู้ยังเป็นท้าวสักกะอยู่นั่นแหละ ได้อายุอีกแล้วฯ

         ทิวิยา   กายาติ   ทิพฺพา,  ขนฺธปญฺจกสงฺขาตา กายาติ   อาห  ‘‘ทิพฺพา อตฺตภาวา’’ติฯ
        ทิพย์ คือ กายแห่งเทวดา ได้แก่ กายกล่าวคือขันธปัญจกฯ  ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อัตภาพอันเป็นทิพย์ฯ

        ‘‘อมูฬฺโห คพฺภํ เอสฺสามี’’ติ อิมินา อริยสาวกานํ อนฺธปุถุชฺชนานํ วิย           สมฺโมหมรณํอสมฺปชานคโพฺภกฺกมนญฺจ นตฺถิอถ โข  อสโมฺมหมรณญฺเจว        สมฺปชานคโพฺภกฺกมนญฺจ โหตีติ ทสฺเสติฯ อริยสาวกา นิยตคติกตฺตา สุคตีสุ เอว อุปฺปชฺชนฺติตตฺถาปิ   มนุสฺเสสุ   อุปฺปชฺชนฺตา   อุฬาเรสุ   เอว   กุเลสุ   ปฎิสนฺธิ ํ  คณฺหิสฺสนฺติสกฺกสฺสาปิ ตาทิโส อชฺฌาสโยฯ เตน วุตฺตํ ปาฬิยํ ‘‘ยตฺถ เม รมตี มโน’’ติตํ สนฺธายาห ‘‘ยตฺถ เม’’ติอาทิฯ
         ด้วยคำว่า เป็นผู้ไม่หลง  จักเข้าถึงครรภ์ นี้  แสดงว่า สำหรับพระอริยสาวกแล้ว จะไม่มี ความหลงตาย, และ การหยั่งลงสู่ครรภ์โดยไม่รู้ตัว ดังเช่นปุถุชนผู้บอด, ที่แท้แล้ว จะมีก็แต่ความไม่หลงตายและการหยั่งลงสู่ครรภ์โดยรู้สึกตัวเท่านั้นฯ พระอริยสาวกทั้งหลาย ย่อมเกิดในสุคติเท่านั้น เพราะเป็นผู้มีคติเที่ยงแท้, ถึงเมื่อจะเกิดในมนุษย์ทั้งหลาย แม้นั้น ก็จักถือปฏิสนธิในตระกูลใหญ่ๆเท่านั้น , แม้ท้าวสักกะทรงมีอัธยาศัย (ความประสงค์) เช่นนั้นฯ  เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีว่า ยตฺถ เม ใจข้าพระองค์ยินดีในภพใด เป็นต้น ก็หมายเอาข้อความที่ท้าวสักกะตรัสไว้ในพระบาลีว่า "ยตฺถ เม รมติ มโน ใจข้าพระองค์ยินดีในภพใด" ดังนี้

         สกฺโก ปน อตฺตโน ทิพฺพานุภาเวนาปิ ตาทิสํ ชานิตุ ํ สกฺโกติเยวฯ
        อนึ่ง ท้าวสักกะ ทรงสามารถเพื่อรู้อัตตภาพอันเช่นนั้น แม้ด้วยทิพพานุภาพของพระองค์ฯ

            การเณนาติ ยุตฺเตน อริยสาวกภาวสฺส อนุจฺฉวิเกนฯ เตนาห ‘‘สเมนา’’ติฯ
        ข้อที่ว่า โดยเหตุผล ได้แก่ โดยถูกต้อง คือ โดยสมควรแก่อริยสาวกภาวะฯ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สเมน อันเหมาะสม ดังนี้ไว้ฯ

สกทาคามิมคฺคํ สนฺธาย วทติ ฉฎฺเฐ อตฺถวเส อนาคามิมคฺคสฺส วกฺขมานตฺตาฯ
ท้าวสักกะตรัสหมายถึงสกทาคามิมรรค เพราะจักตรัสถึงอนาคามิมรรคในอำนาจประโยชน์ที่ ๖ฯ

อาชานิตุกาโมติ อปฺปตฺตํ วิเสสํ ปฎิวิชฺฌิตุกาโมฯ
ข้อที่ว่า อาชานิตุกาโม ใคร่จะรู้ทั่วถึง หมายความว่า ใคร่จะแทงตลอดคุณวิเศษที่ยังมิได้ทรงบรรลุฯ

มนุสฺสโลเก อนฺโต ภวิสฺสติ ปุน มานุสฺสูปปตฺติยา อภาวโตฯ
จักมีที่สุดในมนุษยโลก เพราะไม่มีการเกิดในภพอันเป็นของมนุษย์อีกฯ
ปุนเทวาติ   มนุสฺเสสุ   อุปฺปนฺโน ตโต  จวิตฺวา ปุนเทวฯ    อิมสฺมึ   ตาวตึสเทวโลกสฺมึฯ
ข้อที่ว่า ปุนเทว หมายความว่า ไปเกิดในมนุษย์ทั้งหลาย แล้วก็จุติจากมนุษย์นั้นอีกนั่นเทียวฯ (มาเกิด) ในดาวดึงส์เทวโลกนี้ฯ

อุตฺตโม, กีทิโสติ อาห ‘‘สกฺโก’’ติอาทิฯ
ข้อที่ว่า เป็นจอมเทพผู้สูงสุด นั้นเป็นเช่นไร ดังนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า ก็ท้าวสักกะนั้น ดังนี้เป็นต้นไว้ฯ

อนฺติเม ภเวติ  มม  สพฺพภเวสุ อนฺติเม สพฺพปริโยสาเน ภเวฯ
ข้อที่ว่า ในภพที่สุด คือ เป็นที่สุดในภพทั้งปวง หมายถึง ในภพเป็นจบลงแห่งภพทั้งปวง ของหม่อมฉันฯ

‘‘อายุนา’’ติ   อิมินา จ ตํสหภาวิโน สพฺเพปิ วณฺณาทิเก สงฺคณฺหาติฯ ‘‘ปญฺญายา’’ติ จ อิมินา สพฺเพปิ สทฺธาสติวีริยาทิเกฯ
ด้วยคำนี้ว่า ด้วยอายุ ท่านอาจารย์สงเคราะห์อาการอื่นๆมีวรรณะเป็นต้นแม้ ทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาพ(ปรากฏ)ร่วมกับอายุนั้นฯ และด้วยคำนี้ว่า ด้วยปัญญา สงเคราะห์อินทรีย์มีสัทธา สติ วิริยะเป็นต้นด้วยแม้ทั้งหมดฯ

ตสฺมิ ํ อตฺตภาเวติ ตสฺมึ  สพฺพนฺติเม สกฺกตฺตภาเวฯ
ข้อที่ว่า ในอัตตภาพนั้น ได้แก่ ในอัตตภาพแห่งท้าวสักกะซึ่งมีในที่สุดแห่งภพหมดนั้น.

อกนิฎฺฐคามี หุตฺวาติ อนฺตรายปรินิพฺพายิอาทิภาวํ อนุปคนฺตฺวา เอกํสโต อุทฺธํโสโต อกนิฎฺฐคามี เอว หุตฺวาฯ ตโต เอว อนุกฺกเมน อวิหาทีสุ นิพฺพตฺตนฺโตฯ
ข้อที่ว่า อกนิฎฺฐคามี หุตฺวา เป็นอกนิฏฐคามี เป็นต้นนั้น หมายความว่า ไม่ทรงเข้าถึงพระอนาคามีประเภทอื่นๆมีอันตรายปรินิพพายีเป็นต้นแล้วเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีโดยส่วนเดียวเท่านั้นฯ ทรงเกิดในอวิหาภพเป็นต้นตามลำดับ นับจาก(อัตตภาพแห่งท้าวสักกะ)นั้นฯ

เอวมาหาติ ‘‘โส  นิวาโส  ภวิสฺสตี’’ติ   เอวมาหฯ
ข้อที่ว่า จึงตรัสไว้อย่างนี้ ได้แก่ ตรัสไว้อย่างนี้ว่า โส นิวาโส ภวิสฺสติ อกนิฏฐภพนั้น จักเป็นที่อยู่ของหม่อมฉันฯ

‘‘อวิหาทีสุเป.… นิพฺพตฺติสฺสตี’’ติ   สงฺเขปโต วุตฺตมตฺถํ วิวริตุ ํ  ‘‘เอส กิรา’’ติอาทิ วุตฺตํฯ  
ท่านอาจารย์จะขยายความที่กล่าวไว้โดยสังเขปว่า     อวิหาทีสุ    ฯปฯ    นิพฺพตฺติสฺสติ เมื่อทรงเกิดในชั้นอวิหาเป็นต้นอยู่   สุดท้ายจะเป็นอกนิฏฐคามีพรหม เป็นต้น จึงได้อธิบายว่า เอส กิร  ได้ยินว่า  ท้าวสักกะนี้  จะทรงอยู่ในชั้น อวิหาหนึ่งพันกัป ดังนี้เป็นต้นไว้ฯ

อยญฺจ  นโย  น  เกวลํ  สกฺกสฺเสวอถ โข มหาเสฎฺฐิมหาอุปาสิกานมฺปิ โหติเยวาติ ทสฺเสนฺโต  ‘‘สกฺโก เทวราชา’’ติอาทิมาหฯ
เมื่อจะแสดงว่า อนึ่ง นัยที่ว่านี้ จะหมายถึงท้าวสักกะเท่านั้นหามิได้, ที่แท้แล้ว ยังหมายถึงมหาเศรษฐีและมหาอุบาสิกา ด้วย ดังนั้น จึงได้กล่าวว่า สกฺโก เทวราชา จริงอยู่ ชื่อว่า วัฏฏาภิรตบุคคล  มีประมาณอายุอย่างเดียวกันแท้   เหล่านี้สามท่าน    ได้แก่   ท้าวสักกะ ดังนี้เป็นต้นไว้ฯ

×vØ

            วินิจฉัย:     
         จากข้อความในอรรถกถาปุคคลบัญญัติและอรรถกถาสักกปัญหาสูตรพร้อมทั้งฏีกา จะเห็นได้ว่า ในอรรถกถาปุคคลบัญญัติท่านกล่าวถึงวัฏฏาภิรตโสดาบันไว้เพียงการเกิดขึ้นในเทวโลกเพียง ๖ ชั้นแล้วบรรลุได้ในอกนิฏฐภพ เมื่อดูอย่างผิวเผินเหมือนกับว่าเกิดในเทวโลกแล้วไปเกิดในอกนิฏฐภพเลย โดยไม่ต้องเกิดในสุทธาวาสที่เหลืออีก ๔ มีอวิหาเป็นต้น ซึ่งรวมแล้วจะได้แค่ ๗ ชาติเท่านั้น แต่ความจริง ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะในอรรถกถาพระสูตรนี้อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดชัดเจนทีเดียวว่า เป็นไปตามลำดับภพในสุทธาวาสนั่นเอง
   เมื่อเป็นเช่นนี้ เท่ากับว่า อรรถกถานี้ขัดแย้งกับอรรถกถาปุคคลบัญญัติและพระบาลีสักกปัญหาสูตร ที่ว่า
(๒)  ข้าพระองค์ละอายุอันไม่ใช่ของมนุษย์  จุติแล้วจากกายอันเป็นทิพย์ เป็นผู้ไม่หลงแล้ว  จักเข้าถึงครรภ์ในภพเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์.
(๔)   ถ้าว่าความตรัสรู้จักมีแก่ข้าพระองค์ในเบื้องหน้า  ด้วยความประพฤติชอบ   และเป็นผู้รอบรู้อยู่ไซร้  ที่สุดนั่นแล  จักมีแก่ข้าพระองค์.
(๕)  ข้าพระองค์จุติแล้ว   จากกายอันเป็นของมนุษย์   และอายุอันเป็นของมนุษย์  จักเป็นเทวดาอีก   จักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก.
(๖)  ในอัตตภาพอันมีในที่สุด   ข้าพระองค์จักอยู่ในหมู่เทพชั้นอกนิฏฐะผู้มียศอันประณีตกว่า.   

   ตอบว่า ไม่, แต่ที่ในพระบาลีสักกปัญหาสูตรและอรรถกถาปุคลลบัญญัตินั้นแสดงไว้โดยมิคปทวลัญชนัยฯ  อย่างไร?
   มิคปทวลัญชนัย หมายถึง นัยที่แสดงเหมือนกับนายพรานแกะรอยเท้าเนื้อฯ ธรรมดาว่า เมื่อนายพรานเห็นรอยเท้าเนื้อที่ปรากฏอยู่ที่โคลน แต่ที่แผ่นหินไม่มีรอยเท้าไว้ และที่โคลนถัดมาจากแผ่นหินนั้น มีรอยเท้าปรากฏ อีก  ดังนั้น นายพรานนั้นจึงทราบว่า เนื้อตัวนั้นวิ่งมาทางโคลนนี้แล้วผ่านแผ่นหินไปต่อมาจึงลงโคลนอีก ฉันใด, แม้การแสดงนัยนี้ก็เหมือนกัน ครั้นแสดงเพียงตอนต้นและตอนท้ายของลำดับข้อความใดไว้ โดยทิ้งข้อความตรงกลางไว้ไม่แสดง แต่ผู้อ่านย่อมทราบข้อความนั้นได้โดยตลอด ฉันนั้นฯ

   จากความข้อที่ประจักษ์ในอรรถกถาและฏีกาพระสูตรนี้จึงทราบได้ว่า แสดงไว้โดยมิคปทวลัญชนัยนี้ เพราะแสดงเพียงการบังเกิดในเทวโลกก่อนแล้วแสดงอกนิฏฐภพไว้ในท้ายสุด ส่วนการบังเกิดในลำดับสุทธาวาสภพที่เหลือมิได้แสดงไว้ ฯ

   ท้วงว่า บางทีอาจเป็นเพราะท้าวสักกะอาจเป็นพระอนาคามีประเภทนอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะจุติจากอัตตภาพของท้าวสักกะแล้วเกิดในอกนิฏฐภพเลย ดังข้อความในอรรถกถาปุคคลบัญญัติว่า องค์ใดไปสู่อกนิฏฐภูมินั่นแหละ จากอัตตภาพนี้แล้ว จึงปรินิพพาน องค์นี้ชื่อว่า    นอุทฺธํโสโตอกนิฏฺฐํคามี  ซึ่งแปลว่า     ผู้ไม่มีกระแสในเบื้องบน   แต่ไปสู่อกนิฏฐภูมิ. ดังนั้น จึงไม่ได้เป็นการแสดงโดยนัย แต่แสดงโดยตรง?
   ตอบว่า ท้าวสักกะนี้เป็น นอุทฺธํโสโตอกนิฏฺฐํคามี อย่างนั้นหามิได้, ที่แท้ท่านเป็นพระอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะมีข้อความในฏีกาของสูตรนี้ว่า "ไม่ทรงเข้าถึงพระอนาคามีประเภทอื่นๆมีอันตรายปรินิพพายีเป็นต้นแล้วเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีโดยส่วนเดียวเท่านั้นฯ ทรงเกิดในอวิหาภพเป็นต้นตามลำดับ นับจาก(อัตตภาพแห่งท้าวสักกะ)นั้น"

         จริงอย่างนั้น ท้าวสักกะนั้น ครั้นบรรลุเป็นโสดาบันในดาวดึงษเทวโลกแล้ว หลังจากไปทูลถามปัญหากับพระพุทธองค์แล้ว จักจุติและบังเกิดในเทวโลกอีก ต่อจากนั้นจะบังเกิดในมนุษย์โลกรวมกัน ๗ ครั้ง (ดังอำนาจประโยชน์ข้อที่ ๑ ,๒, ๓ และ ตามนัยของอรรถกถา) นับได้เป็น ๗ ชาติ
         หลังจากนั้น จักบรรลุเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลกในชาติที่ ๗ นั้น (ดังอำนาจประโยชน์ข้อ ๔) แล้วต่อมาบังเกิดเป็นท้าวสักกะอีก จากนั้นบรรลุเป็นพระอนาคามีในอัตตภาพของท้าวสักกะนั้น (ดังอำนาจประโยชน์ข้อ ๕) เป็นชาติที่ ๘
         ต่อมาจุติจากอัตตภาพท้าวสักกะนั้นมาเกิดในสุทธาวาสภูมิมีอวิหาเป็นต้นตามลำดับจนกระทั่งถึงอกนิฏฐภพอันเป็นภพสุดท้ายแล้วจักปรินิพพาน (ดังอำนาจประโยชน์ข้อ ๖และนัยของอรรถกถา)  รวมอีก ๕ ชาติ จึงเป็น ๑๓ ชาติดังนี้แลฯ




 สรุป การจุติและอุบัติในภพต่างๆของท้าวสักกะรวม ๑๓ ชาติตามนัยที่มาใน
สักกปัญหาสูตรพร้อมทั้งอรรถกถาและฏีกา
          
ชาติที่
เกิด
อำนาจประโยชน์
๑  ๗
เป็นพระโสดาบันในเทวโลกแล้วจุติอุบัติใน  เทวโลกสลับไปมากับมนุษยโลก ต่อมาในชาติที่ ๗ ซึ่งเป็นมนุษย์จักบรรลุเป็นพระสกทาคามี
ข้อที่ ๑- ๓ และนัยของอรรถกถาและฏีกา
ข้อที่ ๔
เป็นท้าวสักกะและบรรลุเป็นพระอนาคามี
ข้อที่ ๕
๙  ๑๓
บังเกิดในสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ ไปตามลำดับ
ข้อที่ ๖ และนัยของอรรถกถาและฏีกา

   ท้วงอีกว่า ข้อนี้เป็นเฉพาะของท้าวสักกะ จะหมายเอาท่านอื่นๆ ได้หรือ?
   ตอบว่า แม้นัยนี้ ย่อมมีแม้แก่ท่านอื่นๆ เพราะในฏีกาแสดงว่า "อนึ่ง นัยที่ว่านี้ จะหมายถึงท้าวสักกะเท่านั้นหามิได้, ที่แท้แล้วยังหมายถึงมหาเศรษฐีและมหาอุบาสิกาด้วย ดังนั้น จึงได้กล่าวว่าสกฺโก เทวราชา จริงอยู่ ชื่อว่า วัฏฏาภิรตบุคคล  มีประมาณอายุอย่างเดียวกันแท้ เหล่านี้สามท่าน ได้แก่ ท้าวสักกะ เป็นต้นไว้"ฯ

บทความเรื่อง "วัฏฏาภิรตโสดาบัน" จบเพียงนี้

v

1 ความคิดเห็น:

  1. (๓) ข้าพระองค์นั้นยินดีแล้ว ในศาสนาของพระองค์ มี*ปัญหาอันไม่ฟั่นเฝือแล้วอยู่ จักเป็นผู้รอบรู้ มีสติมั่นคง อยู่ด้วยความประพฤติชอบ.
    *มีปัญหา หรือมีปัญญาครับ

    ตอบลบ