วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สารพันคัมภีร์ - อภิธัมมัตถสังคหะและอภิธัมมัตถสังคหทีปนีฎีกา แปล

นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส
อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิ
òòò
ปกรณารมฺภคาถา
สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ             สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ
อภิวาทิย ภาสิสฺสํ                        อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ฯ
ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา                  จตุธา ปรมตฺถโต
จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ                        นิพฺพานมิติ สพฺพถา ฯ
         
òòò

ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระรัตนตรัย

อภิธัมมัตถสังคหะ
ปริเฉทที่ ๑ ชื่อ จิตตสังคหวิภาค

คาถาเริ่มต้นปกรณ์
ข้าพเจ้า  (พระอนุรุทธาจารย์)  ขอถวายอภิวาท   พร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่แห่งพระอริยสงฆ์อันสูงสุดแล้ว  จักกล่าวปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะ ฯ
อรรถแห่งพระอภิธรรม  อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระอภิธรรมนั้น  โดยปรมัตถ์ทุกประการมี   ๔   อย่าง   คือ   จิต   ๑   เจตสิก   ๑  รูป  ๑ นิพพาน ๑  ฯ  
                                            
                                                ********

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

อภิธมฺมตฺถสงฺคหทีปนีฎีกา
คนฺถารมฺภกถา

มหาการุณิโก  พุทฺโธ          เญยฺยสาครปารโค
สมฺมาสงฺกปฺปจิตฺตสฺส          สมฺมา   รกฺขตุ  เม  มนํ.
สทฺธมฺมฏฺฐิติกาโมหํ            อภิธมฺมตฺถสงฺคห
คนฺถสฺส ทีปนึ  ลิกฺขึ           โสตูนํ  ปีติวฑฺฒนํ
โปราเณหิ  กตาเนกา                  สนฺติ  ยา  ปน  วณฺณนา
ตา  ยสฺมา   อติคมฺภีรา       มหาปญฺเหิ  โคจรา.
สมฺมาตรุณพุทฺธีหิ              ชานิตุ   อติทุกฺกรา
ตสฺมา  สุเขน  วาเจตุ           ปญฺหานยกาลโต
อนุรูปํ  สุวิญฺเยฺยํ             ตํ  วณฺณนํ  กรียเต.

                            ************
  
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

อภิธัมมัตถสังคหทีปนีฎีกา แปล

กถาเริ่มต้นปกรณ์

ขออาราธนาพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระกรุณายิ่งใหญ่
ทรงบรรลุฝั่งแห่งสาครคือเญยยธรรม จงรักษาจิตของข้าพเจ้า
ซึ่งเป็นผู้มีจิตกอปรด้วยสัมมาสังกัปปะ โดยชอบเถิด.

เพราะเหตุที่ คัมภีร์อธิบาย (ปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะ)
อันพระโบราณาจารย์แต่งไว้ มีอยู่มากมายนั้น มีความลึกซึ้งยิ่ง
เป็นที่โคจรไปโดยผู้มีปัญญามาก อันชนผู้มีความรู้น้อยทำได้ยากยิ่งนัก
เพื่อเข้าใจได้ถูกต้อง.

ดังนั้น ข้าพเจ้าหวังความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
จะแต่งคำอธิบายนั้น อันเป็นตำราส่องแสดงคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
ที่เข้าใจง่าย  จะสร้างความปีติให้เจริญแก่ผู้ฟัง
อันเหมาะสมแก่กาลที่ขาดปัญญาเพื่อกล่าวได้ง่าย.


òòò

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น