อภิธัมมาวตารและฎีกา (๔)
อภิธัมมาวตาร :
ก็จิตนั้นมีอะไรเป็นวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ? ตอบว่า ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า คิด (คือ รู้อารมณ์) โดยเกี่ยวกับนัยที่สงเคราะห์เอาจิตทุกดวง, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต แม้เพราะอรรถว่า สั่งสมสันดานของตน
ฎีกา : อธิบายข้อความว่า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า สั่งสมสันดานของตน
---------
ในคำว่า อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า จิต แม้เพราะอรรถว่า สั่งสมสันดานของตน มีความหมายดังนี้
คำว่า อีกอย่างหนึ่ง หมายถึง รวมเอานัยที่มิได้สงเคราะห์เอาจิตทุกดวง.
อนึ่ง นอกจากจะคิดอารมณ์แล้ว จิตยังสั่งสมสันดานของตนไว้อีก
คำว่า สันดานของตน ได้แก่ ความสืบต่อแห่งชวนจิต. จริงอย่างนั้น ความสืบต่อแห่งชวนะ ที่กำลังเกิดขึ้น ก็เรียกว่า สันดานของตน เนื่องด้วยเป็นสภาพเหมือนกัน เพราะ คำว่า ตน หมายถึง เป็นตรงข้ามกับผู้อื่นและคำว่า จิต ได้แก่ ย่อมสั่งสม คือ รวมให้เป็นกอง.ในที่นี้ ได้แก่ ชวนจิตที่เป็นผู้เสพอารมณ์นั้น. รวมความได้ว่า จิตทั้งหลายเหล่านั้นที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยโดยความเป็นอาเสวนปัจจัยแก่จิตที่เกิดภายหลังได้ชื่อว่า สะสมสันดาน (ความสืบต่อ) ของตนโดยสร้างความคล่องแคล่วและความมีกำลังให้แก่ความสืบต่อแห่งชวนะของตน.
คำว่า สันดานของตน ได้แก่ ความสืบต่อแห่งชวนจิต. จริงอย่างนั้น ความสืบต่อแห่งชวนะ ที่กำลังเกิดขึ้น ก็เรียกว่า สันดานของตน เนื่องด้วยเป็นสภาพเหมือนกัน เพราะ คำว่า ตน หมายถึง เป็นตรงข้ามกับผู้อื่นและคำว่า จิต ได้แก่ ย่อมสั่งสม คือ รวมให้เป็นกอง.ในที่นี้ ได้แก่ ชวนจิตที่เป็นผู้เสพอารมณ์นั้น. รวมความได้ว่า จิตทั้งหลายเหล่านั้นที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยโดยความเป็นอาเสวนปัจจัยแก่จิตที่เกิดภายหลังได้ชื่อว่า สะสมสันดาน (ความสืบต่อ) ของตนโดยสร้างความคล่องแคล่วและความมีกำลังให้แก่ความสืบต่อแห่งชวนะของตน.
อีกประการหนึ่ง ในคำนิยามนี้ ก็ยังมีความหมายเนื่องกับคำว่า โดยนัยที่เกี่ยวกับการสงเคราะห์จิตทุกดวง ด้วยเหตุนี้ หากถือเอาใจความว่า แม้นิยามนี้ท่านก็กล่าวไว้โดยเป็นนัยที่สงเคราะห์เอาจิตทุกดวงแล้ว คำว่า ความสืบต่อของตน ก็ได้แก่ ความสืบต่อแห่งจิต เนื่องจากเป็นนัยที่สงเคราะห์จิตทุกดวง เพราะคำว่า ตน (อตฺตศัพท์) ก็คือ จิต. แท้จริงแล้ว ธรรมที่เป็นพวกจิตปรมัตถ์ทุกดวงนั่นแหละได้ชื่อว่า สะสมจิตสันดาน โดยเป็นเหตุกระทำความเป็นไปไม่ขาดสายแก่จิตสันดาน ด้วยอำนาจ อนันตรปัจจัยเป็นต้น.
(ในที่นี้ ท่านอธิบายความหมายของข้อความว่า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า สั่งสมสันดานของตนไว้เป็น ๒ นัย คือ
๑) คำว่า สั่งสมสันดานของตน เป็นความหมายท่ีไม่ได้เกี่ยวกับจิตทุกดวง แต่หมายถึงเฉพาะ ชวนจิต เท่านั้น ไม่รวมจิตประเภทวิบาก.
๑) คำว่า สั่งสมสันดานของตน เป็นความหมายท่ีไม่ได้เกี่ยวกับจิตทุกดวง แต่หมายถึงเฉพาะ ชวนจิต เท่านั้น ไม่รวมจิตประเภทวิบาก.
๒) คำว่า สั่งสมสันดานของตน ก็ยังคงเป็นความหมายที่ครอบคลุมจิตทุกดวงอีกนั่นแหละ เพราะจิตทุกดวง นอกจากจะทำหน้าที่คิดอารมณ์แล้วยังทำหน้าที่สั่งสมสันดานอีกด้วย. เป็นอันว่า ในอย่างหลังนี้ ระบุถึงจิตทุกดวงว่า คิดอารมณ์ ด้วย มีหน้าที่สั่งสมสันดานของตน ด้วย).
-----
จบ คาถาที่ ๘ แสดงสรุปความหมายของคำว่า จิต ที่เป็นธรรมชาติรู้อารมณ์และสะสมความสืบต่อ (สันดาน) ของตนเอง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น