๕.
สิวิราชจกฺขุทานปญฺโห |
๕. สีวิราชจักขุทานปัญหา ปัญหาว่าด้วยการพระราชทานจักษุของพระเจ้าสีวิ |
๕.
“ภนฺเต นาคเสน, ตุมฺเห เอวํ ภณถ ‘สิวิราเชน ยาจกสฺส จกฺขูนิ ทินฺนานิ, อนฺธสฺส สโต
ปุน ทิพฺพจกฺขูนิ อุปฺปนฺนานี’ติ, เอตมฺปิ
วจนํ สกสฏํ สนิคฺคหํ สโทสํ ‘เหตุสมุคฺฆาเต อเหตุสฺมิํ
อวตฺถุสฺมิํ นตฺถิ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาโท’ติ สุตฺเต
วุตฺตํ, ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, สิวิราเชน ยาจกสฺส จกฺขูนิ ทินฺนานิ, เตน หิ ‘ปุน ทิพฺพจกฺขูนิ อุปฺปนฺนานี’ติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉา; ยทิ ทิพฺพจกฺขูนิ อุปฺปนฺนานิ, เตน หิ ‘สิวิราเชน ยาจกสฺส จกฺขูนิ ทินฺนานี’ติ ยํ วจนํ, ตมฺปิ มิจฺฉาฯ |
๕. ราชา
มิลินฺโท พระราชาทรงพระนามว่า มิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ
ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย ภณถ
ย่อมกล่าว เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า จกฺขูนิ นัยน์ตาทั้งหลาย
สิวิราเชน อันพระราชาทรงพระนามว่า สีวิ ทินฺนานิ พระราชทานแล้ว ยาจกสฺส
แก่ยาจก (บุคคลผู้มาขอ), (สิวิราชสฺส) เมื่อพระราชาทรงพระนามว่า สีวิ
อนฺธสฺส ทรงเป็นคนบอด สโต
มีอยู่ ทิพฺพจกฺขูนิ ทิพจักขุทั้งหลาย[๑] อุปฺปนฺนานิ เกิดขึ้นแล้ว ปุน
อีก ดังนี้, เอตมฺปิ วจนํ ข้อความแม้นี้ สกสฏํ
เป็นคำเป็นไปกับด้วยข้อบกพร่อง[๒] สนิคฺคหํ เป็นไปกับด้วยการกล่าวข่ม สโทสํ
เป็นไปกับด้วยโทษ. วจนํ ข้อความ (โดยนัยอันมาแล้ว) สุตฺเต ในพระสูตร (ชื่อว่า จักขุสูตร [ขุ.อิติ.๒๕/๖๑]
) ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุตฺตํ ตรัสแล้ว อิติ
ว่า อุปฺปาโท ความเกิดขึ้น ทิพฺพจกฺขุสฺส แห่งทิพยจักษุ นตฺถิ
ย่อมไม่มี เหตุสมุคฺฆาเต ในที่มีเหตุอันถอนขึ้นแล้ว
(คือมังสจักษุอันเสียหายแล้ว) อเหตุสฺมิํ ในที่อันไม่มีเหตุ อวตฺถุสฺมิํ
ในสิ่งอันไม่มีวัตถุ[๓]
ดังนี้, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เจริญ ยทิ ผิว่า จกฺขูนิ
นัยน์ตาทั้งหลาย สิวิราเชน อันพระราชาทรงพระนามว่า สีวิ ทินฺนานิ
พระราชทานแล้ว ยาจกสฺส แก่ยาจก[๔],
เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ ข้อความใด อิติ ว่า ทิพฺพจกฺขูนิ
ทิพยจักษุทั้งหลาย อุปฺปนฺนานิ เกิดขึ้นแล้ว ปุน อีก สิวิรญฺโญ
แก่พระราชาทรงพระนามว่า สีวิ อนฺธสฺส ผู้ทรงเป็นคนบอด สโต มีอยู่
ดังนี้, ตํ วจนํ ข้อความนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิดไป. ยทิ
ผิว่า ทิพฺพจกฺขูนิ ทิพยจักษุทั้งหลาย อุปฺปนฺนานิ เกิดขึ้นแล้ว ปุน
อีก, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ ข้อความใด อิติ ว่า จกฺขูนิ
ดวงตาทั้งหลาย สิวิราเชน
อันพระราชาทรงพระนามว่า สีวิ ทินฺนานิ พระราชทานแล้ว ยาจกสฺส
แก่ยาจก ดังนี้, ตํ วจนํ ข้อความนั้น มิจฺฉา เป็นผิด[๕]. |
อยมฺปิ อุภโต
โกฏิโก ปญฺโห คณฺฐิโตปิ คณฺฐิตโร เวฐโตปิ เวฐตโร คหนโตปิ คหนตโร, โส ตวานุปฺปตฺโต, ตตฺถ ฉนฺทมภิชเนหิ นิพฺพาหนาย
ปรวาทานํ นิคฺคหายา’’ติฯ |
อยํ ปญฺโหปิ แม้ปัญหานี้ โกฏิโก มีเงื่อน
อุภโต โดยสองข้าง คณฺฐิตโร มีปมอันยิ่ง คนฺฐิโตปิ
แม้กว่าปม เวฐตโร เป็นเงื่อนอันยิ่ง เวฐโตปิ แม้กว่าเงื่อน คหนตโร
เป็นของยุ่งอันยิ่ง คหนโตปิ แม้กว่ายุ่ง, โส ปญฺโห ปัญหานั้น อนุปฺปตฺโต
มาถึงโดยลำดับแล้ว ตว แก่ท่าน, ตุมฺเห ท่าน ฉนฺทํ
ยังฉันทะ ตตฺถ ปญฺเห ในปัญหานั้น อภิชเนหิ ขอจงให้เกิด (มยฺหํ)
แก่ข้าพเจ้า นิพฺพาหนาย เพื่อเป็นอุบายเครื่องนำออกไป นิคฺคหาย
เพื่อข่ม ปรวาทานํ ซึ่งปรัปวาท ดังนี้. |
‘‘ทินฺนานิ,
มหาราช, สิวิราเชน ยาจกสฺส จกฺขูนิ, ตตฺถ มา วิมติํ อุปฺปาเทหิ, ปุน ทิพฺพานิ จ จกฺขูนิ
อุปฺปนฺนานิ, ตตฺถาปิ มา วิมติํ ชเนหี’’ติฯ. |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่านาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช
มหาบพิตร จกฺขูนิ จักษุทั้งหลาย สิวิราเชน อันพระราชาทรงพระนามว่า
สีวิ ทินฺนานิ พระราชทานแล้ว ยาจกสฺส แก่บุคคลผู้ขอ, ตฺวํ มหาบพิตร
มา อย่า วิมติํ ยังความสงสัย อุปฺปาเทหิ จงให้เกิดขึ้น ตตฺถ
ปญฺเห ในปัญหานั้น, จ อนึ่ง จกฺขูนิ จักษุทั้งหลาย ทิพฺพานิ
อันเป็นทิพย์ อุปฺปนฺนานิ เกิดขึ้นแล้ว, ตฺวํ ขอมหาบพิตร มา
อย่า วิมติํ ยังความสงสัย ชเนหิ จงให้เกิดขึ้น ตตฺถ (ปญฺเห)
ในปัญหานั้น ดังนี้. |
‘‘อปิ นุ โข,
ภนฺเต นาคเสน, เหตุสมุคฺฆาเต อเหตุสฺมิํ
อวตฺถุสฺมิํ ทิพฺพจกฺขุ อุปฺปชฺชตี’’ติ? |
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ทิพฺพจกฺขุ ทิพจักขุ อุปฺปชฺชติ
ย่อมเกิดขึ้น เหตุสมุคฺฆาเต ในที่มีเหตุอันถอนขึ้นแล้ว
อเหตุสฺมิํ ในที่อันไม่มีเหตุ อวตฺถุสฺมิํ ในที่อันไม่มีวัตถุ อปิ
นุ โข บ้างหรือหนอ ดังนี้? |
‘‘น หิ, มหาราชา’’ติฯ |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่านาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช
มหาบพิตร หิ ก็ ทิพฺพจกฺขุ ทิพจักขุ น อุปฺปชฺชติ
ย่อมไม่เกิดขึ้น เหตุสมุคฺฆาเต
ในที่มีเหตุอันถอนขึ้นแล้ว อเหตุสฺมิํ ในที่อันไม่มีเหตุ อวตฺถุสฺมิํ
ในที่อันไม่มีวัตถุ ดังนี้[๖]. |
‘‘กิํ ปน,
ภนฺเต, เอตฺถ การณํ, เยน
การเณน เหตุสมุคฺฆาเต อเหตุสฺมิํ อวตฺถุสฺมิํ ทิพฺพจกฺขุ อุปฺปชฺชติ, อิงฺฆ ตาว การเณน มํ สญฺญาเปหี’’ติ? |
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ปน ก็ การณํ เหตุ กิํ อะไร เอตฺถ ในเรื่องนี้ (อตฺถิ)
มีอยู่, เหตุสมุคฺฆาเต ในที่มีเหตุอันถอนขึ้นแล้ว
อวตฺถุสฺมิํ ในที่อันไม่มีวัตถุ อเหตุสฺมิํ
ในที่อันไม่มีเหตุ ทิพฺพจกฺขุ ทิพจักขุ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น เยน
การเณน เพราะเหตุใด, อิงฺฆ เชิญเถิด ตฺวํ ขอท่าน มํ
ยังข้าพเจ้า สญฺญาเปหิ จงให้เข้าใจ (เตน) การเณน โดยเหตุ นั้น ตาว
นั่นเทียว ดังนี้. |
‘‘กิํ ปน,
มหาราช, อตฺถิ โลเก สจฺจํ นาม, เยน สจฺจวาทิโน สจฺจกิริยํ กโรนฺตี’’ติ? |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่านาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช
มหาบพิตร ปน ก็ สจฺจวาทิโน ชนทั้งหลายผู้กล่าวความจริงเป็นปกติ กโรนฺติ
ย่อมกระทำ สจฺจกิริยํ ซึ่งสัจจกิริยา[๗]
เยน สจฺเจน ด้วยสัจจะใด, (ตํ)
สจฺจํ นาม ชื่อว่า สัจจะนั้น อตฺถิ มีอยู่ โลเก ในโลก กิํ
หรือ?. |
‘‘อาม, ภนฺเต, อตฺถิ โลเก สจฺจํ นาม, สจฺเจน, ภนฺเต นาคเสน, สจฺจวาทิโน
สจฺจกิริยํ กตฺวา เทวํ วสฺสาเปนฺติ, อคฺคิํ นิพฺพาเปนฺติ,
วิสํ ปฏิหนนฺติ, อญฺญมฺปิ วิวิธํ กตฺตพฺพํ
กโรนฺตี’’ติฯ |
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อาม ใช่แล้ว, (ตํ) สจฺจํ นาม
ชื่อว่า สัจจะ นั้น อตฺถิ มีอยู่ โลเก ในโลก, ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สจฺจวาทิโน ชนทั้งหลายผู้กล่าวความจริงเป็นปกติ กตฺวา
ครั้นกระทำแล้ว สจฺจกิริยํ ซึ่งสัจกิริยา สจฺเจน ด้วยสัจจะ เทวํ
ยังฝน วสฺสาเปนฺติ ย่อมให้ตก, อคฺคิํ ยังไฟ นิพฺพาเปนฺติ
ย่อมให้ดับ, ปฏิหนนฺติ ย่อมกำจัด วิสํ ซึ่งพิษ, กโรนฺติ ย่อมกระทำ
กตฺตพฺพํ ซึ่งการงานอันพึงทำ วิวิธํ มีอย่างต่างๆ อญฺญมฺปิ
แม้อย่างอื่น ดังนี้. |
‘‘เตน หิ,
มหาราช, ยุชฺชติ สเมติ สิวิราชสฺส สจฺจพเลน
ทิพฺพจกฺขูนิ อุปฺปนฺนานีติ, สจฺจพเลน, มหาราช, อวตฺถุสฺมิํ ทิพฺพจกฺขุ อุปฺปชฺชติ,
สจฺจํ เยว ตตฺถ วตฺถุ ภวติ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาทายฯ |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่านาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช
มหาบพิตร เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตํ วจนํ ข้อความนั้น ยุชฺชติ
ย่อมสมควร สเมติ ย่อมสมกัน, ทิพฺพจกฺขูนิ ทิพจักขุทั้งหลาย สิวิราชสฺส
ของพระราชาทรงพระนามว่าสีวิ อุปฺปนฺนานิ เกิดขึ้นแล้ว สจฺจพเลน
ด้วยกำลังแห่งสัจจะ อิติ ด้วยประการฉะนี้, มหาราช มหาบพิตร ทิพฺพจกฺขุ
ทิพจักขุ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น อวตฺถุสฺมิํ ในที่อันไม่มีวัตถุ
สจฺจพเลน ด้วยกำลังแห่งสัจจะ, สจฺจํ
เอว สัจจะเท่านั้น วตฺถุ เป็นที่ตั้ง ตตฺถ (อวตฺถุสฺมิํ) ในที่อันไม่มีวัตถุ
นั้น อุปฺปาทาย เพื่อการเกิดขึ้น ทิพฺพจกฺขุสฺส ของทิพจักขุ |
‘‘ยถา, มหาราช, เย เกจิ สตฺตา สจฺจมนุคายนฺติ ‘มหาเมโฆ ปวสฺสตู’ติ, เตสํ สห
สจฺจมนุคีเตน มหาเมโฆ ปวสฺสติ, อปิ นุ โข, มหาราช, อตฺถิ อากาเส วสฺสเหตุ สนฺนิจิโต ‘เยน เหตุนา มหาเมโฆ ปวสฺสตี’’’ติ? |
มหาราช มหาบพิตร, ยถา เปรียบเหมือนว่า เย เกจิ สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อนุคายนฺติ ย่อมพร่ำสวด สจฺจํ ซึ่งสัจจะ
อิติ ว่า มหาเมโฆ เมฆใหญ่ (วสฺสํ) ยังฝน ปวสฺสตุ จงให้ตก
ดังนี้, มหาเมโฆ เมฆใหญ่ (วสฺสํ) ยังฝน ปวสฺสติ ย่อมให้ตก สห
พร้อม อนุคีเตน ด้วยการพร่ำสวด สจฺจํ ซึ่งสัจจะ เตสํ
สจฺจวาทิโน ชนทั้งหลาย ผู้กล่าวความจริงโดยปกติ เหล่านั้น, มหาราช
มหาบพิตร มหาเมโฆ เมฆใหญ่ (วสฺสํ) ยังฝน ปวสฺสติ ย่อมให้ตก เยน เหตุนา ด้วยเหตุใด, (โส เหตุ) เหตุนั้น วสฺสเหตุ เป็นเหตุแห่งฝน
(เตหิ สจฺจวาทีหิ) อันชนทั้งหลาย ผู้กล่าวความจริงโดยปกติ เหล่านั้น สนฺนิจิโต
อันสะสมพร้อมแล้ว อากาเส ในอากาศ อตฺถิ มีอยู่ อปิ นุ โข
หรือหนอแล[๘] ดังนี้ ?. |
‘‘น หิ, ภนฺเต, สจฺจํ เยว ตตฺถ เหตุ ภวติ มหโต เมฆสฺส
ปวสฺสนายา’’ติฯ |
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ มหาเมโฆ เมฆใหญ่ (วสฺสํ)
ยังฝน ปวสฺสติ ย่อมให้ตก เยน เหตุนา ด้วยเหตุใด, (โส เหตุ) เหตุนั้น วสฺสเหตุ
เป็นเหตุแห่งฝน (เตหิ สจฺจวาทีหิ) อันชนทั้งหลาย
ผู้กล่าวความจริงโดยปกติเหล่านั้น สนฺนิจิโต อันสะสมพร้อมแล้ว อากาเส ในอากาศ
อตฺถิ มีอยู่ น หามิได้, สจฺจํ เอว สัจจะเท่านั้น เหตุ
เป็นเหตุ ตตฺถ (อากาเส) ในอากาศนั้น ปวสฺสนาย เพื่ออันยังฝนให้ตก เมฆสฺส
แห่งเมฆ มหโต อันใหญ่ ภวติ ย่อมเป็น ดังนี้. |
‘‘เอวเมว โข, มหาราช, นตฺถิ ตสฺส ปกติเหตุ, สจฺจํ เยเวตฺถ วตฺถุ ภวติ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาทายาติฯ |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่านาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช
มหาบพิตร ปกติเหตุ เหตุโดยปกติ [ตสฺส สิวิราชสฺส ทิพฺพจกฺขูนํ อุปฺปชฺชนสฺส] อุปฺปชฺชนสฺส แห่งการเกิดขึ้น ทิพฺพจกฺขูนํ แห่งทิพจักขุ สิวิราชสฺส ของพระราชาทรงพระนามว่าสีวิ
ตสฺส อันนั้น นตฺถิ ย่อมไม่มี[๙],
สจฺจํ เอว สัจจะเท่านั้น วตฺถุ เป็นวัตถุ เอตฺถ (อวตฺถุสฺมิํ)
ในสิ่งอันไม่มีวัตถุนี้ อุปฺปาทาย เพื่อการเกิดขึ้น ทิพฺพจกฺขุสฺส
แห่งทิพจักขุ ภวติ ย่อมมี เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว ดังนี้ |
‘‘ยถา วา ปน,
มหาราช, เย เกจิ สตฺตา สจฺจมนุคายนฺติ
‘ชลิตปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธ ปฏินิวตฺตตู’ติ,
เตสํ สห สจฺจมนุคีเตน ชลิตปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธ ขเณน
ปฏินิวตฺตติฯ |
มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ วา อีกอย่างหนึ่ง ยถา
เปรียบเหมือนว่า สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย เย เกจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อนุคายนฺติ
ย่อมพร่ำสวด สจฺจํ ซึ่งสัจจะ อิติ ว่า ชลิตปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธ
กองไฟใหญ่ทั้งลุกโพลงแล้วทั้งลุกโพลงทั่วแล้ว ปฏินิวตฺตตุ ขอจงถอยกลับ
(มอดดับ) ดังนี้, ชลิตปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธ
กองไฟใหญ่ทั้งลุกโพลงแล้วทั้งลุกโพลงทั่วแล้ว ปฏินิวตฺตติ ย่อมถอยกลับ สห
พร้อม อนุคีเตน ด้วยการพร่ำสวด สจฺจํ ซึ่งสัจจะ เตสํ สตฺตานํ
ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น. |
อปิ นุ โข,
มหาราช, อตฺถิ ตสฺมิํ ชลิตปชฺชลิเต
มหาอคฺคิกฺขนฺเธ เหตุ สนฺนิจิโต ‘เยน เหตุนา
ชลิตปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธ ขเณน ปฏินิวตฺตตี’’ติ? |
มหาราช มหาบพิตร มหาอคฺคิกฺขนฺโธ
กองไฟใหญ่ทั้งลุกโพลงแล้วทั้งลุกโพลงทั่วแล้ว ปฏินิวตฺตติ ย่อมถอยกลับ เยน
เหตุนา เพราะเหตุใด, (โส) เหตุ เหตุนั้น เตหิ สตฺเตหิ อันสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
สนฺนิจิโต สะสมแล้ว มหาอคฺคิกฺขนฺเธ ในกองแห่งไฟใหญ่ ชลิตปชฺชลิเต
ทั้งลุกโพลงแล้วทั้งลุกโพลงทั่วแล้ว ตสฺมิํ นั้น อตฺถิ มีอยู่ อปิ
นุ โข บ้างหรือหนอ ดังนี้ ?. |
‘‘น หิ, ภนฺเต, สจฺจํ เยว ตตฺถ วตฺถุ โหติ ตสฺส
ชลิตปชฺชลิตสฺส มหาอคฺคิกฺขนฺธสฺส ขเณน ปฏินิวตฺตนายา’’ติฯ |
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ มหาอคฺคิกฺขนฺโธ
กองไฟใหญ่ทั้งลุกโพลงแล้วทั้งลุกโพลงทั่วแล้ว ปฏินิวตฺตติ ย่อมถอยกลับ เยน
เหตุนา เพราะเหตุใด, (โส) เหตุ เหตุนั้น เตหิ สตฺเตหิ
อันสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น สนฺนิจิโต สะสมแล้ว มหาอคฺคิกฺขนฺเธ ในกองแห่งไฟใหญ่
ชลิตปชฺชลิเต ทั้งลุกโพลงแล้วทั้งลุกโพลงทั่วแล้ว ตสฺมิํ นั้น อตฺถิ
มีอยู่ น หามิได้, สจฺจํ สัจจะ เอว เท่านั้น วตฺถุ
เป็นวัตถุ อวตฺถุมฺหิ ในที่อันไม่มีวัตถุ ตตฺถ นั้น ปฏินิวตฺตนาย
เพื่อถอยกลับไป ขเณน โดยทันที มหาอคฺคิกฺขนฺธสฺส แห่งกองแห่งไฟใหญ่
ชลิตปชฺชลิตสฺส ทั้งลุกโพลงแล้วทั้งลุกโพลงทั่วแล้ว โหติ ย่อมเป็น
ดังนี้.[๑๐] |
"เอวเมว โข,
มหาราช, นตฺถิ ตสฺส ปกติเหตุ, สจฺจํ เยเวตฺถ วตฺถุ ภวติ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาทายาติฯ |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่านาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร
ปกติเหตุ เหตุโดยปกติ [ตสฺส สิวิราชสฺส ทิพฺพจกฺขูนํ อุปฺปชฺชนสฺส]
อุปฺปชฺชนสฺส แห่งการเกิดขึ้น ทิพฺพจกฺขูนํ ของทิพจักขุ
สิวิราชสฺส แห่งพระราชาทรงพระนามว่าสีวิ ตสฺส อันนั้น นตฺถิ
ย่อมไม่มี, สจฺจํ เอว สัจจะเท่านั้น วตฺถุ เป็นวัตถุ เอตฺถ
(อวตฺถุสฺมิํ) ในสิ่งอันไม่มีวัตถุนี้ อุปฺปาทาย เพื่อการเกิดขึ้น ทิพฺพจกฺขุสฺส
แห่งทิพจักขุ ภวติ ย่อมมี เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว ดังนี้. |
‘‘ยถา วา ปน,
มหาราช, เย เกจิ สตฺตา สจฺจมนุคายนฺติ
‘วิสํ หลาหลํ อคทํ ภวตู’ติฯ เตสํ สห
สจฺจมนุคีเตน วิสํ หลาหลํ ขเณน อคทํ ภวติ, |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่านาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช
มหาบพิตร ปน ก็ วา อีกอย่างหนึ่ง ยถา เปรียบเหมือนว่า สตฺตา
สัตว์ทั้งหลาย เย เกจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อนุคายนฺติ ย่อมพร่ำสวด สจฺจํ
ซึ่งสัจจะ จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า วิสํ พิษ หลาหลํ อันร้ายแรง อคทํ
เป็นยาถอนพิษ ภวตุ จงเป็น ดังนี้. วิสํ พิษ หลาหลํ อันร้ายแรง อคทํ
เป็นยาถอนพิษ ภวติ ย่อมเป็น ขเณน โดยทันที สห พร้อม อนุคีเตน
ด้วยการพร่ำสวด สจฺจํ ซึ่งสัจจะ เตสํ สตฺตานํ
แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น. |
อปิ นุ โข,
มหาราช, อตฺถิ ตสฺมิํ หลาหลวิเส เหตุ
สนฺนิจิโต ‘เยน เหตุนา วิสํ หลาหลํ ขเณน อคทํ ภวตี’’’ติ? |
มหาราช มหาบพิตร วิสํ พิษ หลาหลํ อันร้ายแรง อคทํ
เป็นยาถอนพิษ ภวติ ย่อมเป็น ขเณน โดยทันที สห พร้อม อนุคีเตน
ด้วยการพร่ำสวด สจฺจํ ซึ่งสัจจะ เตสํ สตฺตานํ
แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เยน เหตุนา เพราะเหตุใด, (โส) เหตุ
เหตุนั้น เตหิ สตฺเตหิ อันสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น สนฺนิจิโต
สั่งสมไว้แล้ว ตสฺมิํ หลาหลวิเส ในพิษอันร้ายแรงนั้น อปิ นุ โข
หรือหนอแล ดังนี้. |
‘‘น หิ, ภนฺเต, สจฺจํ เยว ตตฺถ เหตุ ภวติ วิสสฺส หลาหลสฺส
ขเณน ปฏิฆาตายา’’ติฯ |
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ วิสํ พิษ หลาหลํ อันร้ายแรง อคทํ
เป็นยาถอนพิษ ภวติ ย่อมเป็น ขเณน โดยทันที สห พร้อม อนุคีเตน
ด้วยการพร่ำสวด สจฺจํ ซึ่งสัจจะ เตสํ สตฺตานํ
แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เยน เหตุนา เพราะเหตุใด, (โส) เหตุ
เหตุนั้น เตหิ สตฺเตหิ อันสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น สนฺนิจิโต
สั่งสมไว้แล้ว ตสฺมิํ หลาหลวิเส ในพิษอันร้ายแรงนั้น อตฺถิ มีอยู่
น หามิได้, สจฺจํ เอว สัจจะเท่านั้น เหตุ เป็นเหตุ ตตฺถ
อวตฺถุมฺหิ ในที่อันไม่ใช่เหตุนั้น ปฏิฆาตาย เพื่อกำจัด วิสสฺส
ซึ่งพิษ หลาหลสฺส อันร้ายแรง ขเณน โดยทันที ดังนี้. |
‘‘เอวเมว โข,
มหาราช, วินา ปกติเหตุํ สจฺจํ เยเวตฺถ วตฺถุ
ภวติ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาทายาติฯ |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่า นาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช
มหาบพิตร วินา เว้น ปกติเหตุํ ซึ่งเหตุตามปกติ สจฺจํ เอว
สัจจะ เท่านั้น วตฺถุ เป็นวัตถุ เอตฺถ อวตฺถุสฺมิํ ในที่อันไม่มีวัตถุ
อุปฺปาทาย เพื่อการเกิดขึ้น ทิพฺพจกฺขุสฺส
แห่งทิพจักขุ ภวติ ย่อมเป็น เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล ดังนี้. |
‘‘จตุนฺนมฺปิ,
มหาราช, อริยสจฺจานํ ปฏิเวธาย นตฺถญฺญํ
วตฺถุ, สจฺจํ วตฺถุํ กตฺวา จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ปฏิวิชฺฌนฺตีติฯ |
มหาราช มหาบพิตร วตฺถุ วัตถุ ปฏิเวธาย เพื่อรู้แจ่มแจ้ง อริยสจฺจานํ
ซึ่งอริยสัจ จตุนฺนมฺปิ แม้ ๔ อญฺญํ อย่างอื่น นตฺถิ
ย่อมไม่มี, ปุคฺคลา บุคคลทั้งหลาย กตฺวา กระทำแล้ว สจฺจํ
ซึ่งสัจจะ วตฺถุํ ให้เป็นวัตถุ (ที่ตั้งอาศัย) ปฏิวิชฺฌนฺติ
ย่อมรู้แจ่มแจ้ง อริยสจฺจานิ ซึ่งอริยสัจทั้งหลาย จตฺตาริ ๔ อิติ
ดังนี้. |
อตฺถิ, มหาราช, จีนวิสเย จีนราชา, โส
มหาสมุทฺเท กีฬิตุกาโม จตุมาเส จตุมาเส สจฺจกิริยํ กตฺวา สห รเถน
อนฺโตมหาสมุทฺเท โยชนํ ปวิสติ, ตสฺส รถสีสสฺส ปุรโต ปุรโต
มหาวาริกฺขนฺโธ ปฏิกฺกมติ, นิกฺขนฺตสฺส ปุน โอตฺถรติ,
|
มหาราช มหาบพิตร จีนวิสเย ในแคว้นจีนะ จีนราชา
พระราชาทรงพระนามว่าจีนะ อตฺถิ มีอยู่, โส จีนราชา
พระราชาทรงพระนามว่าจีนะ นั้น กีฬิตุกาโม ทรงปรารถนาเพื่อเล่น (น้ำ) มหาสมุทฺเท
ในมหาสมุทร กตฺวา ทรงกระทำแล้ว สจฺจกิริยํ ซึ่งสัจจกิริยา จตุมาเส
จตุมาเส ทุกสี่เดือน ปวิสติ ย่อมเสด็จเข้าไป โยชนํ
สู่ที่มีโยชน์หนึ่งประมาณ อนฺโต ภายใน (ลึก) มหาสมุทฺเท
ในมหาสมุทร สห กับ รเถน ด้วยรถ, มหาวาริกฺขนฺโธ
ห้วงแห่งน้ำใหญ่ ปุรโต ปุรโต ข้างหน้า ตสฺส รถสีสสฺส
แห่งศีรษะแห่งรถ ปฏิกฺกมติ ถอยกลับ (แหวกออก), จีนราชสฺส เมื่อพระราชาทรงพระนามว่า จีนะ นิกฺขนฺตสฺส
เสด็จออกมา โอตฺถรติ ย่อมท่วม ปุน อีก, |
อปิ นุ โข,
มหาราช, โส มหาสมุทฺโท สเทวมนุสฺเสนปิ โลเกน
ปกติกายพเลน สกฺกา ปฏิกฺกมาเปตุ’’นฺติ? |
มหาราช มหาบพิตร โส สมุทฺโท มหาสมุทรนั้น โลเกน อันชาวโลก สเทวมนุสฺเสนปิ
แม้อันเป็นไปพร้อมเทวดาและมนุษย์ สกฺกา อาจ ปฏิกฺกมาเปตุํ
เพื่อให้ถอยกลับ (ให้แหวก) ปกติกายพเลน ด้วยกำลังแห่งกายตามปกติ อปิ
นุ โข หรือหนอแล? ดังนี้. |
‘‘อติปริตฺตเกปิ,
ภนฺเต, ตฬาเก อุทกํ น สกฺกา สเทวมนุสฺเสนปิ
โลเกน ปกติกายพเลน ปฏิกฺกมาเปตุํ, กิํ ปน มหาสมุทฺเท อุทก’’นฺติ? |
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุทกํ น้ำ ตฬาเก ในสระ อติปริตฺตเกปิ
แม้เล็กยิ่ง โลเกน อันชาวโลก สเทวมนุสฺเสนปิ
แม้อันเป็นไปพร้อมเทวดาและมนุษย์ น สกฺกา ไม่อาจ ปฏิกฺกมาเปตุํ เพื่อให้ถอยกลับ
(ให้แหวก) ปกติกายพเลน ด้วยกำลังแห่งกายตามปกติ, ปน ก็ วตฺตพฺพํ
คำอันพึงกล่าว กิํ อะไรเล่า โหติ จะมี, อุทกํ น้ำ มหาสมุทฺเท
ในมหาสมุทร โลเกน อันชาวโลก สเทวมนุสฺเสนปิ
แม้อันเป็นไปพร้อมเทวดาและมนุษย์ น สกฺกา ไม่อาจ ปฏิกฺกมาเปตุํ
เพื่อให้ถอยกลับ (ให้แหวก) ปกติกายพเลน ด้วยกำลังแห่งกายตามปกติ ดังนี้. |
‘‘อิมินาปิ,
มหาราช, การเณน สจฺจพลํ ญาตพฺพํ ‘นตฺถิ ตํ ฐานํ, ยํ สจฺเจน น ปตฺตพฺพ’นฺติฯ |
นาคเสนตฺเถโร พระเถระชื่อว่านาคเสน อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร
สจฺจพลํ กำลังแห่งสัจจะ ตยา อันมหาบพิตร ญาตพฺพํ พึงทราบ อิมินาปิ
การเณน ด้วยเหตุแม้นี้ อิติ ว่า ยํ ฐานํ ฐานะใด ปุคฺคเลน
อันบุคคล น ปตฺตพฺพํ ไม่พึงถึง สจฺเจน ด้วยสัจจะ, ตํ ฐานํ
ฐานะนั้น นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้. |
‘‘นคเร, มหาราช, ปาฏลิปุตฺเต อโสโก ธมฺมราชา
สเนคมชานปทอมจฺจภฏพลมหามตฺเตหิ ปริวุโต คงฺคํ นทิํ [คงฺคานทิํ
(สี.)] นวสลิลสมฺปุณฺณํ สมติตฺถิกํ สมฺภริตํ ปญฺจโยชนสตายามํ
โยชนปุถุลํ สนฺทมานํ ทิสฺวา อมจฺเจ เอวมาห ‘อตฺถิ โกจิ,
ภเณ, สมตฺโถ, โย อิมํ
มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาเปตุ’นฺติฯ อมจฺจา อาหํสุ ‘ทุกฺกรํ เทวา’ติฯ |
มหาราช มหาบพิตร ธมฺมราชา พระราชาผู้ทรงธรรม อโสโก ทรงพระนามว่า
อโศก นคเร ในพระนคร ปาฏลิปุตฺเต ชื่อว่าปาตลิบุตร สเนคมชานปทอมจฺจภฏพลมหามตฺเตหิ
อันอำมาตย์ ข้าราชบริพาร มหาอำมาตย์ ผู้เป็นไปกับด้วยชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลายแวดล้อมแล้ว
[มหาคงฺคาย
อุทกกีฬ กีฬนฺโต][๑๑]
กีฬนฺโต เมื่อเสด็จเล่นอยู่ อุทกกีฬํ
ทรงเล่นกีฬาทางน้ำ มหาคงฺคาย ที่แม่น้ำใหญ่ชื่อว่าคงคา ทิสฺวา ทอดพระเนตรแล้ว
คงฺคา นทิํ ซึ่งแม่น้ำชื่อคงคา สนฺทมานํ อันไหล - สมฺภริตํ
เพียบ สมติตฺถิกํ เสมอท่า (อันเป็นที่ก้าวลงสู่แม่น้ำ) ปญฺจโยชนสตายามํ
อันกว้างโดยโยชน์ ๕๐๐ โยชนปุถุลํ อันกว้างโดยโยชน์หนึ่ง - อยู่ ทิสฺวา
ทอดพระเนตรแล้ว คงฺคํ นทิํ ซึ่งแม่น้ำชื่อว่าคงคา นวสลิลสมฺปุณฺณํ
มีน้ำใหม่อันเต็มเปี่ยมแล้ว[๑๒]
อาห ตรัสแล้ว อมจฺเจ กะอำมาตย์ทั้งหลาย เอวํ อย่างนี้ อิติ
ว่า ภเณ นี่แนะพนาย, โย โกจิ ปุคฺคโล บุคคลใด บุคคลหนึ่ง สมตฺโถ
ผู้สามารถ สนฺทาเปตุํ เพื่อ - อิมํ มหาคงฺคํ ยังแม่น้ำชื่อว่าคงคาที่ใหญ่
นี้ - ให้ไหล ปฏิโสตํ ทวนกระแส อตฺถิ มีอยู่ หรือ ดังนี้? อมจฺจา
อำมาตย์ทั้งหลาย อาหํสุ กราบทูลแล้ว อิติ ว่า เทว
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ สนฺทาปนกมฺมํ การกระทำคือการ - อิมํ
มหาคงฺคํ ยังแม่น้ำชื่อว่าคงคา ที่ใหญ่นี้ - ให้ไหล ปฏิโสตํ ทวนกระแส
ยํ ใด, ตํ กมฺมํ การกระทำนั้น ทุกฺกรํ
เป็นการกระทำอันบุคคลทำได้โดยยาก โหติ ย่อมเป็น ดังนี้. |
‘‘ตสฺมิํ เยว
คงฺคากูเล ฐิตา พนฺธุมตี นาม คณิกา อสฺโสสิ รญฺญา กิร เอวํ วุตฺตํ ‘สกฺกา นุ โข อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาเปตุ’นฺติ,
สา เอวมาห ‘อหญฺหิ นคเร ปาฏลิปุตฺเต คณิกา
รูปูปชีวินี อนฺติมชีวิกา, มม ตาว ราชา สจฺจกิริยํ ปสฺสตู’ติฯ อถ สา สจฺจกิริยํ อกาสิ, สห ตสฺสา สจฺจกิริยาย
ขเณน สา มหาคงฺคา คฬคฬายนฺตี ปฏิโสตํ สนฺทิตฺถ มหโต ชนกายสฺส ปสฺสโตฯ |
ตสฺมิํ สมเย เอว ในสมัยนั้นนั่นเทียว คณิกา หญิงคณิกา พนฺธุมตี
นาม ชื่อว่า พันธุมดี ฐิตา ผู้ยืนแล้ว คงฺคากูเล
ที่ฝั่งแห่งแม่น้ำชื่อว่าคงคา อสฺโสสิ ได้สดับแล้ว อิติ ว่า กิร
ได้ยินว่า วจนํ พระดำรัส รญฺญา อันพระราชา วุตฺตํ ตรัสแล้ว
เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า เกนจิ อันใครๆ สกฺกา อาจ สนฺทาเปตุํ
เพื่อ - อิมํ มหาคงฺคํ ยังแม่น้ำใหญ่ชื่อว่าคงคา นี้ - ให้ไหล ปฏิโสตํ
ทวนกระแส นุ โข ได้หรือไม่ แล ดังนี้ ดังนี้, สา นางคณิกา นั้น อาห
กล่าวแล้ว เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า หิ ก็ อหํ ดิฉัน คณิกา
เป็นหญิงคณิกา รูปูปชีวินี เป็นผู้เข้าไปอาศัยซึ่งรูปกายเป็นอยู่ (ใช้รูปกายเลี้ยงชีพ)
อนฺติมชีวิกา
มีชีวิตอยู่อันมีในชั้นต่ำ (มีอาชีพอันต่ำต้อย) ปาฏลิปุตฺเต นคเร ในเมือง
ชื่อว่า ปาตลีบุตร โหติ ย่อมเป็น, ราชา ขอพระราชา ปสฺสตุ
จงทอดพระเนตร สจฺจกิริยํ ซึ่งการกระทำซึ่งสัจจะ (การตั้งสัจจาธิษฐาน) มม
ของดิฉัน ตาว ก่อน ดังนี้, อถ ลำดับนั้น สา คณิกา นางคณิกานั้น
อกาสิ ได้กระทำแล้ว สจฺจกิริยํ ซึ่งการกระทำซึ่งสัจจะ, ชนกายสฺส
เมื่อหมู่ชน มหโต หมู่ใหญ่ ปสฺสโต เฝ้าดูอยู่ มหาคงคา
แม่น้ำสายใหญ่ชื่อว่าคงคา คฬคฬายนฺตี ส่งเสียงครืนครืน สนฺทิตฺถ
ไหลแล้ว ปฏิโสตํ ทวนกระแส ขเณน โดยขณะนั้น สห พร้อม ตสฺสา
สจฺจกิริยาย ด้วยการกระทำซึ่งสัจจะนั้น. |
‘‘อถ ราชา คงฺคาย
อาวฏฺฏอูมิเวคชนิตํ หลาหลสทฺทํ สุตฺวา วิมฺหิโต อจฺฉริยพฺภุตชาโต อมจฺเจ เอวมาห ‘กิสฺสายํ, ภเณ, มหาคงฺคา
ปฏิโสตํ สนฺทตี’ติ? ‘พนฺธุมตี,
มหาราช, คณิกา ตว วจนํ สุตฺวา สจฺจกิริยํ
อกาสิ, ตสฺสา สจฺจกิริยาย มหาคงฺคา อุทฺธํมุขา สนฺทตี’ติฯ |
อถ ลำดับนั้น ราชา พระราชา สุตฺวา ทรงสดับแล้ว หลาหลสทฺทํ
ซึ่งเสียงดังสนั่น อาวฏฺฏอูมิเวคชนิตํ อันเกิดแล้วด้วยกำลังแห่งคลื่นอันหมุนวน
คงฺคาย ในแม่น้ำชื่อว่า คงคา - ให้เกิดแล้ว วิมฺหิโต
ทรงประหลาดพระทัยแล้ว อจฺฉริยพฺภุตชาโต
ทรงมีความอัศจรรย์และพิศวงเกิดแล้ว อาห ตรัสแล้ว อมจฺเจ
กะอำมาตย์ทั้งหลาย เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า ภเณ แน่พนาย อยํ
มหาคงฺคา แม่น้ำสายใหญ่ ชื่อว่าคงคานี้ สนฺทติ ย่อมไหลไป ปฏิโสตํ ทวนกระแส
กิสฺส (เหตุ) เพราะเหตุอะไร ดังนี้. อมจฺจา อำมาตย์ทั้งหลาย
อาหํสุ กราบทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ข้าแต่พระราชาผู้ยิ่งใหญ่
คณิกา หญิงคณิกา พนฺธุมตี ชื่อว่า พันธุมดี สุตฺวา
ได้ฟังแล้ว วจนํ ซึ่งพระดำรัส ตว ของพระองค์ อกาสิ
ได้กระทำแล้ว สจฺจิกิริยํ ซึ่งการกระทำซึ่งสัจจะ, มหาคงฺคา แม่น้ำสายใหญ่ชื่อว่า
คงคา สนฺทติ ย่อมไหล อุทฺธํมุขา มุ่งหน้าขึ้นสูง
(ไหลย้อนขึ้นมาสู่ที่สูง ไม่ไหลลงที่ต่ำอันเป็นธรรมชาติของแม่น้ำ) สจฺจกิริยาย
เพราะอันกระทำซึ่งสัจจะ ตสฺสา คณิกาย แห่งนางคณิหา นั้น ดังนี้. |
‘‘อถ สํวิคฺคหทโย
ราชา ตุริตตุริโต สยํ คนฺตฺวา ตํ คณิกํ ปุจฺฉิ ‘สจฺจํ กิร,
เช, ตยา สจฺจกิริยาย อยํ คงฺคา ปฏิโสตํ
สนฺทาปิตา’ติ? |
อถ ลำดับนั้น ราชา พระราชา สํวิคฺคหทโย มีพระทัยไหวหวั่น ตุริตตุริโต
ทรงผลุนผลัน คนฺตฺวา เสด็จไปแล้ว สยํ ด้วยพระองค์เอง ปุจฺฉิ
ตรัสถามแล้ว ตํ คณิกํ ซึ่งนางคณิกาพันธุมดีนั้น อิติ ว่า เช
นี่แนะหล่อน กิร ได้ยินว่า อยํ คงฺคา แม่น้ำคงคา ตยา
อันเจ้า สนฺทาปิตา ให้ไหลไป ปฏิโสตํ ทวนกระแส สจฺฉกิริยาย ด้วยการกระทำซึ่งสัจจะ
สจฺจํ จริงหรือ ดังนี้. |
‘อาม เทวา’ติฯ |
สา คณิกา หญิงคณิกาพันธุมดีนั้น อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า เทว
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ อาม พระเจ้าข้า ดังนี้. |
ราชา อาห ‘กิํ เต ตตฺถ พลํ อตฺถิ, โก วา เต วจนํ อาทิยติ
อนุมฺมตฺโต, เกน ตฺวํ พเลน อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ
สนฺทาเปสี’ติ? |
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า พลํ กำลัง ตตฺถ
(อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาปนมฺหิ) ในการทำให้แม่น้ำคงคาไหล ทวนกระแส นั้น
เต ของเจ้า กิํ อะไร, วา หรือว่า โก บุคคลผู้ใด อนุมฺมตฺโต
ผู้เป็นผู้บ้าหามิได้ อาทิยติ
ย่อมถือเอา วจนํ ซึ่งคำพูด เต ของเจ้า, ตฺวํ เจ้า อิมํ
มหาคงฺคํ ยังแม่น้ำสายใหญ่ชื่อว่าคงคา สนฺทาเปสิ ให้ไหล ปฏิโสตํ
ทวนกระแส เกน พเลน ด้วยกำลังอะไร ดังนี้. |
สา อาห ‘สจฺจพเลนาหํ, มหาราช, อิมํ
มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาเปสิ’นฺติฯ |
สา คณิกา หญิงคณิกานั้น อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช
ข้าแต่พระราชายิ่งใหญ่ อหํ ข้าพระองค์ อิมํ มหาคงฺคํ
ยังแม่น้ำคงคาสายใหญ่ สนฺทาเปสิํ ให้ไหล ปฏิโสตํ ทวนกระแส สจฺจพเลน
ด้วยกำลังแห่งสัจจะ ดังนี้. |
ราชา อาห ‘กิํ เต สจฺจพลํ อตฺถิ โจริยา ธุตฺติยา อสติยา ฉินฺนิกาย ปาปิยา
ภินฺนสีลาย [ปาปิกาย ภินฺนสีมาย (สี.)] หิริอติกฺกนฺติกาย
อนฺธชนปโลภิกายา’ติฯ |
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า สจฺจพลํ
กำลังแห่งสัจจะ กิํ อะไร เต ของเจ้า โจริยา เป็นนางโจร ธุตฺติยา
เป็นหญิงนักเลง อสติยา ไม่มีสติ ฉินฺนิกาย[๑๓]
เป็นผู้ถูกตัดแล้ว ปาปิยา เป็นคนชั่วช้า ภินฺนสีลาย มีศีลอันขาดแล้ว
หิริอติกฺกนฺติกาย ก้าวล่วงหิริแล้ว (ไม่มียางอาย) อนฺธชนปโลภิกาย เที่ยวประเล้าประโลมคนมืดบอด
อตฺถิ จะมีอยู่เล่า ดังนี้. |
‘สจฺจํ, มหาราช, ตาทิสิกา อหํ, ตาทิสิกายปิ
เม, มหาราช, สจฺจกิริยา อตฺถิ,
ยายาหํ อิจฺฉมานา สเทวกมฺปิ โลกํ ปริวตฺเตยฺย’นฺติฯ |
สา คณิกา หญิงคณิกานั้น อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช
ข้าแต่พระราชายิ่งใหญ่ อหํ ข้าพระองค์ ตาทิสิกา เป็นหญิงเช่นนั้น สจฺจํ
จริง, มหาราช ข้าแต่พระราชายิ่งใหญ่ สจฺจกิริยา การกระทำซึ่งสัจจะ เม
ของหม่อมฉัน ตาทิสิกายปิ แม้ผู้เป็นเช่นนั้น อตฺถิ มีอยู่, อหํ
หม่อมฉัน อิจฺฉมานา เมื่อปรารถนา ยาย สจฺจกริยาย
ด้วยการกระทำซึ่งสัจจะ ใด โลกํ ยังโลก สเทวกมฺปิ แม้เป็นไปกับด้วยเทวโลก
ปริวตฺเตยฺยํ พึงให้เปลี่ยนแปลง, (สา) สจฺจกิริยา
การกระทำซึ่งสัจจะ นั้น เม ของหม่อมฉัน ตาทิสิกายปิ แม้ผู้เป็นเช่นนั้น
อตฺถิ มีอยู่ ดังนี้. |
ราชา อาห
‘กตมา ปน สา โหติ สจฺจกิริยา, อิงฺฆ มํ
สาเวหี’ติฯ |
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ปน ก็แต่ว่า สา
สจฺจกิริยา สัจจกิริยานั้น กตมา เป็นสัจจกิริยาพวกไหน โหติ
มีอยู่, อิงฺฆ เอาเถิด ตฺวํ เจ้า มํ ยังเรา สาเวหิ
จงให้ได้ยินเถิด ดังนี้. |
‘โย เม, มหาราช, ธนํ เทติ ขตฺติโย วา พฺราหฺมโณ วา เวสฺโส
วา สุทฺโท วา อญฺโญ วา โกจิ, เตสํ สมกํ เยว อุปฏฺฐหามิ,
‘‘ขตฺติโย’’ติ วิเสโส นตฺถิ, ‘‘สุทฺโท’’ติ อติมญฺญนา นตฺถิ, อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา ธนสฺสามิกํ ปริจรามิ, เอสา
เม เทว สจฺจกิริยา, ยายาหํ อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ
สนฺทาเปสิ’นฺติฯ |
สา คณิกา หญิงคณิกานั้น อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช
ข้าแต่พระราชายิ่งใหญ่ โย ปุคฺคโล บุคคลใด ขตฺติโย เป็นกษัตริย์ วา
หรือ พฺราหฺมโณ วา หรือว่า เป็นพราหมณ์, เวสฺโส เป็นแพศย์
(คนสามัญ) วา หรือ, วา หรือว่า สุทฺโท เป็นศูทร, วา
หรือว่า อญฺโญ โกจิ เป็นผู้ใดผู้หนึ่ง เทติ ย่อมให้ ธนํ
ซึ่งทรัพย์ เม แก่หม่อมฉัน, อหํ หม่อมฉัน อุปฏฺฐามิ จะบำรุง
เตสํ แก่บุคคลเหล่านั้น สมกํ อย่างเสมอกัน เอว นั่นเทียว, วิเสโส
ความพิเศษ อิติ ว่า ขตฺติโย กษัตริย์ ดังนี้, อติมญฺญนา
การดูหมิ่น อิติ ว่า "สุทฺโท ศูทร" ดังนี้ นตฺถิ
ย่อมไม่มี, อหํ หม่อมฉัน อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา
เป็นผู้พ้นแล้วจากความยินดีและความยินร้าย ปริจรามิ ย่อมบำเรอ ธนสฺสามิกํ
บุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์, เทว ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ อหํ
ข้าพระองค์ อิมํ มหาคงฺคํ ยังแม่น้ำคงคาสายใหญ่ สนฺทาเปสิํ ให้ไหล
ปฏิโสตํ ทวนกระแส ยาย สจฺจกิริยาย ด้วยการกระทำซึ่งสัจจะ อันใด, เอสา
(สจฺจกิริยา) การกระทำซึ่งสัจจกิริยานั้น สจฺจกิริยา เป็นการกระทำซึ่งสัจจะ
เม ของหม่อมฉัน โหติ ย่อมเป็น ดังนี้. |
‘‘อิติปิ,
มหาราช, สจฺเจ ฐิตา น กิญฺจิ อตฺถํ น
วินฺทนฺติฯ |
มหาราช มหาบพิตร ชนา ชนทั้งหลาย ฐิตา ตั้งอยู่แล้ว สจฺเจ
ในสัจจะ น วินฺทนฺติ จะไม่ได้รับ อตฺถํ ซึ่งประโยชน์ กิญฺจิ
อะไรๆ น หามิได้ อิติปิ แม้ด้วยประการฉะนี้. |
ทินฺนานิ จ,
มหาราช, สิวิราเชน ยาจกสฺส จกฺขูนิ, ทิพฺพจกฺขูนิ จ อุปฺปนฺนานิ, ตญฺจ สจฺจกิริยายฯ |
มหาราช มหาบพิตร จกฺขูนิ จักษุทั้งหลาย จ ด้วย สิวิราเชน
อันพระราชาทรงพระนามว่า สีวิ ทินฺนานิ พระราชทานแล้ว ยาจกสฺส
แก่บุคคลผู้มาขอ, ทิพฺพจกฺขูนิ ทิพจักขุทั้งหลาย จ ด้วย
อุปฺปนฺนานิ เกิดขึ้นแล้ว, จ ก็ ตํ การณํ ข้อนั้น โหติ
ย่อมมี สจฺจกิริยาย เพราะการกระทำซึ่งสัจจะ. |
ยํ ปน สุตฺเต
วุตฺตํ ‘มํสจกฺขุสฺมิํ นฏฺเฐ อเหตุสฺมิํ อวตฺถุสฺมิํ นตฺถิ
ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาโท’ติฯ ตํ ภาวนามยํ จกฺขุํ สนฺธาย
วุตฺตํ, เอวเมตํ, มหาราช, ธาเรหี’’ติฯ |
ปน แต่ว่า ยํ วจนํ ข้อความใด ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุตฺตํ
ตรัสแล้ว สุตฺเต ในพระสูตร อิติ ว่า อุปฺปาโท การเกิดขึ้น ทิพฺพจกฺขุสฺส
แห่งทิพจักขุ มํสจกฺขุสฺมิํ ในที่มังสจักษุ นฏฺเฐ เสียหายแล้ว อเหตุสฺมิํ
ในที่อันไม่มีเหตุ อวตฺถุสฺมิํ ในที่อันไม่มีวัตถุ นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้, ตํ วจนํ
ข้อความนั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุตฺตํ ตรัสแล้ว สนฺธาย
หมายเอา จกฺขุํ ซึ่งจักษุ ภาวนามยํ อันสำเร็จจากภาวนา[๑๔],
มหาราช มหาบพิตร ตฺวํ ขอพระองค์ ธาเรหิ จงทรงจำไว้ (รับรู้)
เอตํ ซึ่งเหตุนั้น เอวํ อย่างนี้เถิด ดังนี้[๑๕]. |
‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, สุนิพฺเพฐิโต ปญฺโห, สุนิทฺทิฏฺโฐ นิคฺคโห, สุมทฺทิตา ปรวาทา, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ |
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, สาธุ ดีจริง, ปญฺโห ปัญหา ตยา
อันท่าน สุนิพฺเพฐิโต แก้ไว้ดีแล้ว, นิคฺคโห นิคคหธรรม
(ธรรมสำหรับกำราบวาทะของฝ่ายตรงข้าม) ตยา อันท่าน สุนิทฺทิฏฺโฐ
แสดงไขดีแล้ว, ปรวาทา ปรวาทะ ตยา อันท่าน สุมทฺทิตา
ย่ำยีดีแล้ว, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ การณํ ซึ่งเหตุนั้น
เอวํ อย่างนี้ ตถา โดยประการนั้น ดังนี้. |
สิวิราชจกฺขุทานปญฺโห
ปญฺจโมฯ |
สิวิราชจกฺขุทานปญฺโห สีวิราชจักขุทานปัญหา ปญฺจโม ที่ ๕ นิฏฺฐิโต จบแล้ว |
๕.
สิวิราชจกฺขุทานปญฺโห
๕.
‘‘ภนฺเต นาคเสน, ตุมฺเห เอวํ ภณถ ‘สิวิราเชน ยาจกสฺส จกฺขูนิ ทินฺนานิ, อนฺธสฺส สโต
ปุน ทิพฺพจกฺขูนิ อุปฺปนฺนานี’ติ, เอตมฺปิ
วจนํ สกสฏํ สนิคฺคหํ สโทสํ ‘เหตุสมุคฺฆาเต อเหตุสฺมิํ
อวตฺถุสฺมิํ นตฺถิ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาโท’ติ สุตฺเต วุตฺตํ,
ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, สิวิราเชน
ยาจกสฺส จกฺขูนิ ทินฺนานิ, เตน หิ ‘ปุน
ทิพฺพจกฺขูนิ อุปฺปนฺนานี’ติ ยํ วจนํ, ตํ
มิจฺฉา; ยทิ ทิพฺพจกฺขูนิ อุปฺปนฺนานิ, เตน หิ ‘สิวิราเชน ยาจกสฺส จกฺขูนิ ทินฺนานี’ติ ยํ วจนํ, ตมฺปิ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก
ปญฺโห คณฺฐิโตปิ คณฺฐิตโร เวฐโตปิ เวฐตโร คหนโตปิ คหนตโร, โส
ตวานุปฺปตฺโต, ตตฺถ ฉนฺทมภิชเนหิ นิพฺพาหนาย ปรวาทานํ นิคฺคหายา’’ติฯ
‘‘ทินฺนานิ, มหาราช, สิวิราเชน ยาจกสฺส
จกฺขูนิ, ตตฺถ มา วิมติํ อุปฺปาเทหิ, ปุน
ทิพฺพานิ จ จกฺขูนิ อุปฺปนฺนานิ, ตตฺถาปิ
มา วิมติํ ชเนหี’’ติฯ ‘‘อปิ นุ โข,
ภนฺเต นาคเสน, เหตุสมุคฺฆาเต อเหตุสฺมิํ
อวตฺถุสฺมิํ ทิพฺพจกฺขุ อุปฺปชฺชตี’’ติ? ‘‘น หิ, มหาราชา’’ติฯ ‘‘กิํ ปน, ภนฺเต, เอตฺถ การณํ, เยน การเณน เหตุสมุคฺฆาเต
อเหตุสฺมิํ อวตฺถุสฺมิํ ทิพฺพจกฺขุ อุปฺปชฺชติ, อิงฺฆ ตาว
การเณน มํ สญฺญาเปหี’’ติ?
‘‘กิํ ปน, มหาราช, อตฺถิ โลเก สจฺจํ นาม, เยน สจฺจวาทิโน สจฺจกิริยํ กโรนฺตี’’ติ? ‘‘อาม, ภนฺเต, อตฺถิ โลเก สจฺจํ
นาม, สจฺเจน, ภนฺเต นาคเสน, สจฺจวาทิโน สจฺจกิริยํ กตฺวา เทวํ วสฺสาเปนฺติ, อคฺคิํ
นิพฺพาเปนฺติ, วิสํ ปฏิหนนฺติ, อญฺญมฺปิ
วิวิธํ กตฺตพฺพํ กโรนฺตี’’ติฯ ‘‘เตน หิ,
มหาราช, ยุชฺชติ สเมติ สิวิราชสฺส สจฺจพเลน
ทิพฺพจกฺขูนิ อุปฺปนฺนานีติ, สจฺจพเลน, มหาราช, อวตฺถุสฺมิํ ทิพฺพจกฺขุ อุปฺปชฺชติ, สจฺจํ เยว ตตฺถ วตฺถุ ภวติ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาทายฯ
‘‘ยถา, มหาราช, เย เกจิ สตฺตา สจฺจมนุคายนฺติ ‘มหาเมโฆ ปวสฺสตู’ติ, เตสํ สห
สจฺจมนุคีเตน มหาเมโฆ ปวสฺสติ, อปิ นุ โข, มหาราช, อตฺถิ อากาเส วสฺสเหตุ สนฺนิจิโต ‘เยน เหตุนา มหาเมโฆ ปวสฺสตี’’’ติ? ‘‘น หิ, ภนฺเต, สจฺจํ เยว ตตฺถ
เหตุ ภวติ มหโต เมฆสฺส ปวสฺสนายา’’ติฯ ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, นตฺถิ ตสฺส
ปกติเหตุ, สจฺจํ เยเวตฺถ วตฺถุ ภวติ ทิพฺพจกฺขุสฺส
อุปฺปาทายาติฯ
‘‘ยถา วา ปน,
มหาราช, เย เกจิ สตฺตา สจฺจมนุคายนฺติ
‘ชลิตปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธ ปฏินิวตฺตตู’ติ,
เตสํ สห สจฺจมนุคีเตน ชลิตปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธ ขเณน ปฏินิวตฺตติฯ
อปิ นุ โข, มหาราช, อตฺถิ ตสฺมิํ ชลิตปชฺชลิเต
มหาอคฺคิกฺขนฺเธ เหตุ สนฺนิจิโต ‘เยน เหตุนา ชลิตปชฺชลิตมหาอคฺคิกฺขนฺโธ
ขเณน ปฏินิวตฺตตี’’ติ? ‘‘น หิ, ภนฺเต, สจฺจํ เยว ตตฺถ วตฺถุ โหติ ตสฺส
ชลิตปชฺชลิตสฺส มหาอคฺคิกฺขนฺธสฺส ขเณน ปฏินิวตฺตนายา’’ติฯ
‘‘เอวเมว โข, มหาราช, นตฺถิ
ตสฺส ปกติเหตุ, สจฺจํ เยเวตฺถ วตฺถุ ภวติ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาทายาติฯ
‘‘ยถา วา ปน,
มหาราช, เย เกจิ สตฺตา สจฺจมนุคายนฺติ ‘วิสํ หลาหลํ อคทํ ภวตู’ติฯ
เตสํ สห สจฺจมนุคีเตน วิสํ หลาหลํ ขเณน อคทํ ภวติ, อปิ นุ โข, มหาราช, อตฺถิ
ตสฺมิํ หลาหลวิเส เหตุ สนฺนิจิโต ‘เยน เหตุนา วิสํ หลาหลํ
ขเณน อคทํ ภวตี’’’ติ? ‘‘น หิ, ภนฺเต, สจฺจํ เยว ตตฺถ เหตุ ภวติ วิสสฺส หลาหลสฺส
ขเณน ปฏิฆาตายา’’ติฯ ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, วินา
ปกติเหตุํ สจฺจํ เยเวตฺถ วตฺถุ ภวติ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาทายาติฯ
‘‘จตุนฺนมฺปิ,
มหาราช, อริยสจฺจานํ ปฏิเวธาย นตฺถญฺญํ วตฺถุ,
สจฺจํ วตฺถุํ กตฺวา จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ปฏิวิชฺฌนฺตีติฯ อตฺถิ,
มหาราช, จีนวิสเย จีนราชา, โส มหาสมุทฺเท กีฬิตุกาโม [พลิํ กาตุกาโม (สี. ปี.)]
จตุมาเส จตุมาเส สจฺจกิริยํ กตฺวา สห รเถน อนฺโตมหาสมุทฺเท โยชนํ ปวิสติ, ตสฺส รถสีสสฺส ปุรโต ปุรโต มหาวาริกฺขนฺโธ ปฏิกฺกมติ, นิกฺขนฺตสฺส ปุน โอตฺถรติ, อปิ นุ โข, มหาราช, โส มหาสมุทฺโท สเทวมนุสฺเสนปิ โลเกน
ปกติกายพเลน สกฺกา ปฏิกฺกมาเปตุ’’นฺติ? ‘‘อติปริตฺตเกปิ, ภนฺเต, ตฬาเก
อุทกํ น สกฺกา สเทวมนุสฺเสนปิ โลเกน ปกติกายพเลน ปฏิกฺกมาเปตุํ, กิํ ปน มหาสมุทฺเท อุทก’’นฺติ? ‘‘อิมินาปิ, มหาราช, การเณน
สจฺจพลํ ญาตพฺพํ ‘นตฺถิ ตํ ฐานํ, ยํ
สจฺเจน น ปตฺตพฺพ’นฺติฯ
‘‘นคเร, มหาราช, ปาฏลิปุตฺเต อโสโก ธมฺมราชา สเนคมชานปทอมจฺจภฏพลมหามตฺเตหิ
ปริวุโต คงฺคํ นทิํ [คงฺคานทิํ (สี.)] นวสลิลสมฺปุณฺณํ
สมติตฺถิกํ สมฺภริตํ ปญฺจโยชนสตายามํ โยชนปุถุลํ สนฺทมานํ ทิสฺวา อมจฺเจ เอวมาห ‘อตฺถิ โกจิ, ภเณ, สมตฺโถ,
โย อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาเปตุ’นฺติฯ
อมจฺจา อาหํสุ ‘ทุกฺกรํ เทวา’ติฯ
‘‘ตสฺมิํ เยว
คงฺคากูเล ฐิตา พนฺธุมตี นาม คณิกา อสฺโสสิ รญฺญา กิร เอวํ วุตฺตํ
‘สกฺกา นุ โข อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาเปตุ’นฺติ, สา เอวมาห ‘อหญฺหิ นคเร
ปาฏลิปุตฺเต คณิกา รูปูปชีวินี อนฺติมชีวิกา, มม ตาว ราชา
สจฺจกิริยํ ปสฺสตู’ติฯ อถ สา สจฺจกิริยํ อกาสิ, สห ตสฺสา สจฺจกิริยาย ขเณน สา มหาคงฺคา คฬคฬายนฺตี ปฏิโสตํ สนฺทิตฺถ มหโต
ชนกายสฺส ปสฺสโตฯ
‘‘อถ ราชา คงฺคาย
อาวฏฺฏอูมิเวคชนิตํ หลาหลสทฺทํ สุตฺวา วิมฺหิโต อจฺฉริยพฺภุตชาโต อมจฺเจ เอวมาห ‘กิสฺสายํ, ภเณ, มหาคงฺคา
ปฏิโสตํ สนฺทตี’ติ? ‘พนฺธุมตี, มหาราช, คณิกา ตว วจนํ สุตฺวา สจฺจกิริยํ
อกาสิ, ตสฺสา สจฺจกิริยาย มหาคงฺคา อุทฺธํมุขา สนฺทตี’ติฯ
‘‘อถ สํวิคฺคหทโย
ราชา ตุริตตุริโต สยํ คนฺตฺวา ตํ คณิกํ ปุจฺฉิ ‘สจฺจํ กิร,
เช, ตยา สจฺจกิริยาย อยํ
คงฺคา ปฏิโสตํ สนฺทาปิตา’ติ? ‘อาม เทวา’ติฯ ราชา อาห ‘กิํ เต ตตฺถ พลํ อตฺถิ, โก วา เต วจนํ อาทิยติ อนุมฺมตฺโต, เกน ตฺวํ พเลน
อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาเปสี’ติ? สา
อาห ‘สจฺจพเลนาหํ, มหาราช, อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาเปสิ’นฺติฯ ราชา อาห ‘กิํ เต สจฺจพลํ อตฺถิ โจริยา ธุตฺติยา อสติยา ฉินฺนิกาย ปาปิยา ภินฺนสีลาย
[ปาปิกาย ภินฺนสีมาย (สี.)] หิริอติกฺกนฺติกาย อนฺธชนปโลภิกายา’ติฯ ‘สจฺจํ, มหาราช, ตาทิสิกา อหํ, ตาทิสิกายปิ เม, มหาราช, สจฺจกิริยา อตฺถิ, ยายาหํ
อิจฺฉมานา สเทวกมฺปิ โลกํ ปริวตฺเตยฺย’นฺติฯ ราชา อาห
‘กตมา ปน สา โหติ สจฺจกิริยา, อิงฺฆ มํ สาเวหี’ติฯ ‘โย เม, มหาราช, ธนํ เทติ ขตฺติโย วา พฺราหฺมโณ วา เวสฺโส วา สุทฺโท วา อญฺโญ วา โกจิ,
เตสํ สมกํ เยว อุปฏฺฐหามิ, ‘‘ขตฺติโย’’ติ วิเสโส นตฺถิ, ‘‘สุทฺโท’’ติ
อติมญฺญนา [อติมญฺญมาโน (ก.)] นตฺถิ, อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา
ธนสฺสามิกํ ปริจรามิ, เอสา เม เทว สจฺจกิริยา, ยายาหํ อิมํ มหาคงฺคํ ปฏิโสตํ สนฺทาเปสิ’นฺติฯ
‘‘อิติปิ, มหาราช, สจฺเจ ฐิตา น กิญฺจิ อตฺถํ น วินฺทนฺติฯ ทินฺนานิ
จ, มหาราช, สิวิราเชน ยาจกสฺส จกฺขูนิ, ทิพฺพจกฺขูนิ จ อุปฺปนฺนานิ, ตญฺจ สจฺจกิริยายฯ ยํ ปน สุตฺเต วุตฺตํ ‘มํสจกฺขุสฺมิํ
นฏฺเฐ อเหตุสฺมิํ อวตฺถุสฺมิํ นตฺถิ ทิพฺพจกฺขุสฺส อุปฺปาโท’ติฯ
ตํ ภาวนามยํ จกฺขุํ สนฺธาย วุตฺตํ, เอวเมตํ, มหาราช, ธาเรหี’’ติฯ ‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, สุนิพฺเพฐิโต
ปญฺโห, สุนิทฺทิฏฺโฐ นิคฺคโห, สุมทฺทิตา
ปรวาทา, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ
สิวิราชจกฺขุทานปญฺโห
ปญฺจโมฯ
***
๕. สีวิราชจักขุทานปัญหา
ปัญหาว่าด้วยการพระราชทานจักษุของพระเจ้าสีวิ
[๕] พระเจ้ามิลินท์ รับสั่งตรัสถามว่า “พระคุณเจ้านาคกสน
พวกท่านกล่าวกันอย่างนี้ว่า พระเจ้าสีวิได้พระราชทานจักษุแก่คนผู้ขอ
ต่อมาทิพยจักษุได้เกิดแก่พระองค์ผู้ทรงเป็นคนบอด ดังนี้ คำพูดแม้นี้
เป็นคำที่มีข้อบกพร่อง มีข้อที่ควรข่มได้ มีข้อที่เป็นโทษ มีคำกล่าวในพระสูตรว่า
เมื่อได้ถอนเสียแล้ว เมื่อไม่มีเหตุ คือเมื่อไม่มีวัตถุ ทิพยจักษุก็หาเกิดได้ไม่
ดังนี้ พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากพระเจ้าสีวิพระราชทานพระจักษุแก่คนผู้ทูลขอจริงไซร้
ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า ต่อมาทิพยจักษุได้เกิดขึ้น ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด ถ้าหากว่า
ทิพยจักษุเกิดขึ้นได้จริง แม้คำว่า พระเจ้าสีวิพระราชทานพระจักษุแก่ผู้ทูลขอ
ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิด แม้ปัญหานี้ก็มี ๒ เงื่อน เป็นปมยิ่งกว่าปม
เป็นเงื่อนยิ่งกว่าเงื่อน เป็นของยุ่งยิ่งกว่ายุ่ง ก็ปัญหานั้นตกถึงแก่ท่านแล้ว
ขอท่านจงทำให้ข้าพเจ้าเกิดความพอใจในปัญหานั้น เพื่อขจัด เพื่อข่มปรวาทะทั้งหลายเถิด”
พระนาคเสน
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระเจ้าสีวิได้พระราชทานพระจักษุแก่ผู้ทูลขอจริง
ขอพระองค์อย่าได้ทรงเกิดความสงสัยในข้อนั้น และต่อมาก็ทรงเกิดทิพยจักษุจริง
พระองค์อย่าได้ทรงเกิดความสงสัยแม้ในข้อนั้น”
พระเจ้ามิลินท์
“พระคุณเจ้านาคเสน ก็แต่ว่า เมื่อได้ถอนเหตุเสียแล้ว เมื่อไม่มีเหตุ
คือเมื่อไม่มีวัตถุ ทิพยจักษุยังเกิดได้อีกหรือ ?”
พระนาคเสน
“เกิดไม่ได้หรอก มหาบพิตร”
พระเจ้ามิลินท์
“พระคุณเจ้า อะไรเป็นเหตุในเรื่องนี้เล่า ซึ่งเป็นเหตุที่ทิพยจักษุบังเกิดได้ เมื่อได้เพิกเหตุแล้ว
ไม่มีเหตุ คือไม่มีวัตถุแล้ว เอาเถอะ ขอท่านจงทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจด้วยเหตุผลเถิด”
พระนาคเสน
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ในทางโลก ชนผู้เป็นสัจจวาที ย่อมทำสัจจกิริยาด้วยสัจจะใด
สัจจะนั้นมีอยู่หรือไม่ ?”
พระเจ้ามิลินท์
“ใช่ พระคุณเจ้า ชื่อว่าสัจจะมีอยู่ในทางโลก ชนผู้เป็นสัจจวาทีทำสัจจกิริยาแล้ว
ก็ย่อมทำให้ฝนตก ทำให้ไฟดำ กำจัดพิษได้ ย่อมกระทำกิจที่ควรทำมีประการต่าง ๆ
แม้อย่างอื่นได้ด้วยสัจจะ”
พระนาคเสน
“ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ข้อที่พระเจ้าสีวิทรงเกิดทิพยจักษุ ด้วยกำลังแห่งสัจจะ
ก็ย่อมถูกต้อง สมควร ขอถวายพระพร เมื่อไม่มีวัตถุ ทิพยจักษุก็ยังเกิดได้
เพราะกำลังแห่งสัจจะ
สัจจะนั่นเองเป็นวัตถุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิพยจักษุในที่นั้น.
ขอถวายพระพร
เปรียบเหมือนว่า สัตว์เหล่าใดพวกใดพวกหนึ่ง กล่าวสัจจอธิษฐานว่า
ขอฝนห่าใหญ่จงโปรยปรายลงมา ดังนี้
ฝนห่าใหญ่ก็ย่อมโปรยปรายลงมาพร้อมกับเสียงกล่าวสัจจอธิษฐานของสัตว์เหล่านั้น
ขอถวายพระพร สัตว์เหล่านั้นมีการสั่งสมเหตุที่ทำให้ฝนตกไว้ในอากาศ ด้วยคิดว่า จะเป็นเหตุให้ฝนห่าใหญ่ตกลงมา
ดังนี้ หรือไร ?”
พระเจ้ามิลินท์
“หามิได้ พระคุณเจ้า สัจจะนั่นแหละเป็นเหตุที่ทำให้ฝนห่าใหญ่ตกลงมา”
พระนาคเสน
“ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พระเจ้าสีวิมิได้มีเหตุตามปกติแห่ง (การได้) ทิพยจักษุนั้น ในที่นี้ สัจจะนั่นเองเป็นวัตถุ
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิพยจักษุ.
ขอถวายพระพร
เปรียบเหมือนว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวสัจจอธิษฐานว่า
ขอกองไฟใหญ่ที่กำลังลุกโพลง จงมอดไปเถิด ดังนี้ กองไฟใหญ่ที่กำลังลุกโพลง
ก็ย่อมมอดไปทันที พร้อมกับเสียงกล่าวสัจจอธิษฐานของสัตว์เหล่านั้น ขอถวายพระพร
สัตว์เหล่านั้นมีการสั่งสมเหตุในกองไฟใหญ่ที่ลุกโพลง ด้วยคิดว่า
จะเป็นเหตุให้กองไฟใหญ่ที่กำลังลุกโพลงมอดไปทันที ดังนี้หรือไร ?”
พระเจ้ามิลินท์
“หามิได้ พระคุณเจ้า
สัจจะนั่นเองเป็นวัตถุแห่งการมอดไหม้ไปทันทีแห่งกองไฟใหญ่ที่ลุกโพลง ในที่นั้น”
พระนาคเสน
“ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พระเจ้าสีวิได้ทรงมีเหตุตามปกติแห่ง (การได้) ทิพยจักษุนั้น
สัจจะนั่นเองเป็นวัตถุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิพยจักษุ.
ขอถวายพระพร
เปรียบเหมือนว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวสัจจอธิษฐานว่า ขอพิษที่ร้ายแรง
จงกลายเป็นยาถอนพิษไปเสียเถิด ดังนี้ พิษที่ร้ายแรงก็มีอันกลายเป็นยาถอนพิษไปทันที
พร้อมกับเสียงกล่าว
สัจจอธิษฐานของสัตว์เหล่านั้น
ขอถวายพระพร สัตว์เหล่านั้นได้มีอันสั่งสมเหตุในพิษที่ร้ายแรงด้วยคิดว่า
จะเป็นเหตุให้กลายเป็นยาถอนพิษไปทันที ดังนี้หรือไร ?”
พระเจ้ามิลินท์
“หามิได้พระคุณเจ้า ในที่นั้น สัจจะนั่นเองเป็นเหตุกำจัดพิษร้ายได้ทันที”
พระนาคเสน
“ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เว้นเหตุตามปกติเสีย
สัจจะนั่นเองเป็นวัตถุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิพยจักษุ.
มหาบพิตร
วัตถุเพื่อการรู้แจ่มแจ้งอริยสัจทั้ง ๔ อย่างอื่น หามีไม่
บุคคลย่อมทำสัจจะให้เป็นวัตถุ (ที่ตั้งอาศัย) แล้วรู้แจ่มแจ้ง อริยสัจ ๔ ได้
ขอถวายพระพร ในแคว้นจีนะ มีพระราชาทรงพระนามว่าพระเจ้าจีนะ
พระเจ้าจีนะนั้นทรงใคร่จะเล่นน้ำในมหาสมุทร ทรงทำสัจจกิริยาแล้ว
เสด็จเข้าไปใต้มหาสมุทรลึกโยชน์หนึ่ง พร้อมกับรถทรง ห้วงน้ำใหญ่ทางเบื้องหน้าหัวรถ
ย่อมแหวกออก เมื่อเสด็จขึ้นมาแล้ว ห้วงน้ำใหญ่จึงรวมตัวกันใหม่ ขอถวายพระพร
มหาสมุทรนั้นสามารถทำให้แหวกออกได้ด้วยกำลังตามปกติของชาวโลกที่มีพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
หรือไร ?”
พระเจ้ามิลินท์
“พระคุณเจ้า น้ำในสระแม้เล็ก ๆ ก็ไม่อาจทำให้แหวกออกได้ด้วยกำลังตามปกติของชาวโลกที่มีพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ได้
จะกล่าวไปใยถึงน้ำในมหาสมุทรเล่า”
พระนาคเสน
“ขอถวายพระพร แม้เพราะเหตุนี้ ขอพระองค์พึงทราบกำลังสัจจะเถิดว่า
ฐานะที่บุคคลจะพึงบรรลุด้วยสัจจะมิได้ หามีไม่.
ขอถวายพระพร
ที่เมืองปาตลิบุตร พระเจ้าอโศกธรรมราช ผู้ทรงมีหมู่อำมาตย์ ข้าราชบริพาร
มหาอำมาตย์ พร้อมทั้งหมู่ชาวนิคมชาวชนบททั้งหลายแวดล้อม เสด็จไปเล่นกีฬาทางน้ำ
ที่มหาคงคา ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำคงคาที่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำใหม่ ๆ
ไหลเพียบท่าซึ่งยาว ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ อยู่ จึงรับสั่งกับพวกอำมาตย์ทั้งหลายว่า
นี่แนะ พนาย มีคนที่สามารถจะทำมหาคงคาให้ไหลทวนกลับบ้างไหม ? พวกอำมาตย์กราบทูลว่า เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก พระเจ้าข้า
ในสมัยนั้นนั่นแหละ
มีหญิงคณิกาคนหนึ่ง ชื่อพันธุมดี ยืนอยู่ที่ฝั่งคงคา ได้สดับข่าวว่า
พระราชารับสั่งถามอย่างนี้ว่า มีคนสามารถจะทำมหาคงคานี้ให้ไหลทวนกลับได้บ้างไหม
ดังนี้แล้ว จึงกล่าวกับพวกอำมาตย์อย่างนี้ว่า
ฉันเป็นหญิงคณิกาอยู่ที่เมืองปาตลิบุตร เป็นผู้ใช้รูปกายเลี้ยงชีพ
มีอาชีพอันต่ำต้อย แต่ว่า ขอพระราชาจงทรงทอดพระเนตรดูสัจจกิริยา
(การทำสัจจอธิษฐาน) ของฉันเถิด ลำดับนั้น หญิงคณิกาผู้นั้นได้ทำสัจจกิริยา
มหาคงคาก็ได้ไหลทวนกลับทันที ส่งเสียงครืน ๆ พร้อมกับการทำสัจจกิริยาของหญิงนั้น
ต่อหน้าฝูงชนหมู่ใหม่ที่กำลังจ้องดูอยู่
ลำดับนั้น
พระราชาพอได้ทรงสดับเสียงดังสนั่นที่กำลังของคลื่นที่ม้วนตัวกลับมาทำให้เกิดแล้ว
ก็ทรงหวั่นพระทัย ทรงเกิดความอัศจรรย์ ความแปลกพระทัย จึงรับสั่งกับพวกอำมาตย์ว่า
นี่แน่ะ พนาย เพราะเหตุไร มหาคงคานี้จึงไหลทวนกลับเล่า ? พวกอำมาตย์กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญิงคณิกาชื่อว่าพันธุมดีได้ทราบรับสั่งของพระองค์
จึงได้ทำสัจจกิริยา เพราะสัจจกิริยาของนางมหาคงคานี้ จึงม้วนตัวไหลย้อนกลับมา
พระเจ้าข้า
ลำดับนั้น
พระราชาทรงมีพระทัยไหวหวั่น ทรงผลุนผลันเสด็จไปหานางคณิกาผู้นั้น ด้วยพระองค์เอง
รังสั่งถามว่า นี่แน่ะหล่อน ได้ยินว่า หล่อนทำแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลทวนกลับได้ด้วย
(การทำ) สัจจกิริยาจริงหรือ ? หญิงคณิกากราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า
พระราชารับสั่งว่า ในการทำแม่น้ำคงคาให้ไหลย้อนกลับนั้น เจ้ามีอะไรเป็นกำลัง
หรือว่าใครเป็นผู้ยอมรับทำตามคำของเจ้า (ยักษ์หรือว่านาค)
เจ้าใช้กำลังอะไรทำมหาคงคานี้ให้ไหลย้อนกลับได้ ? หญิงคณิกานั้นกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริย ข้าพระองค์ใช้กำลังสัจจะทำมหาคงคานี้ให้ไหลย้อนกลับได้
พระเจ้าข้า พระราชาจึงตรัสว่า กำลังสัจจะของเจ้าผู้เป็นนางโจร เป็นหญิงนักเลง
ไม่มีสติ เป็นคนชั่วช้า ศีลขาด ไม่มียางอาย เที่ยวประเล้าประโลมคนมืดบอด
มีอยู่หรือ ? หญิงคณิกา ข้าแต่พระองค์
ข้าพระองค์เป็นคนอย่างนั้นจริง ข้าพระองค์แม้ว่าเป็นคนเช่นนั้น ก็มีสัจจกิริยา
พระเจ้าข้า เมื่อต้องการ ข้าพระองค์ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงโลกพร้อมทั้งเทวโลกได้
พระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า สัจจกิริยาของเจ้านั้น เป็นไฉนเล่า
ขอเชิญว่าให้เราฟังที ? หญิงคณิกา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผู้ใดจะป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม
เป็นผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม ให้ทรัพย์แก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์ย่อมบำรุงบำเรอคนเหล่านั้นเท่าเทียมกันเทียว ไม่มีบุคคลพิเศษที่ว่า
เป็นกษัตริย์ ไม่มีบุคคลที่ควรดูหมิ่นที่ว่า เป็นศูทร
ข้าพระองค์มีจิตที่ไม่ประกอบด้วยความยินดียินร้าย บำรุงบำเรอคนมีทรัพย์เท่าเทียมกัน
ข้าแต่ท่านผู้ทรงเป็นสมมติเทพ ข้อที่ว่านี้ เป็นสัจจกิริยาของพระองค์
ซึ่งหม่อมฉันใช้ทำมหาคงคาไหลทวนกลับ พระเจ้าข้า
ขอถวายพระพร
บุคคลทั้งหลายตั้งอยู่ในสัจจะแล้ว จะไม่ได้รับประโยชน์อะไร ๆ หามีไม่
แม้อย่างที่กล่าวมานี้ ขอถวายพระพร พระเจ้าสีวิพระราชทานพระจักษุแก่คนผู้ขอแล้ว
แต่ทิพยจักษุก็ยังเกิดได้ ข้อน้ันมีได้เพราะสัจจกิริยา
ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ในพระสูตร เมื่อมังสจักษุพินาศไป ไม่มีเหตุ ไม่มีวัตถุแล้ว
ทิพยจักษุก็หามีอันเกิดขึ้นได้ไม่ ดังนี้ใด คำนั้นหมายเอา
(ทิพย)จักษุที่บังเกิดเพราะภาวนา ขอพระองค์จงทรงรับทราบข้อนี้ อย่างนี้เถิด ดีจริง
พระคุณเจ้านาคเสน ท่านได้แก้ปัญหาดีแล้ว ท่านแสดงไขข้อความได้ดีแล้ว
ท่านได้ย่ำยีปรวาทะดีแล้ว ข้าพเจ้าขอยอมรับปัญหานี้
ตามประการที่ท่านได้เฉลยไว้นั้น.
สีวิราชจักขุทานปัญหาที่
๕ จบ
อธิบายปัญหาที่ ๕ นอกพระบาลี
***
[เรื่องราวย่อ ๆ
เกี่ยวกับพระเจ้าสีวิ มีดังนี้
ในสมัยที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิ
ณ กรุงอริฏฐปุระ แคว้นสีวิ ทรงยินดีมีพระทัยน้อมไปในการบริจาคทานเป็นอย่างยิ่ง
ทรงดำริในพระทัยว่า อย่าว่าแต่วัตถุภายนอกเลย แม้วัตถุภายในคืออวัยวะทั้งหลายรวมทั้งนัยน์ตาทั้ง
๒ ข้าง หากมีคนมาขอเราก็จักให้. ท่านท้าวสักกะทรงทราบพระดำริข้อนี้ ใคร่จะทดลอง
จึงทรงแปลงร่างเป็นพราหมณ์แก่ตาบอด ทูลขอแบ่งพระจักษุพระเจ้าสีวิข้างหนึ่ง
พระเจ้าสีวิครั้นถูกพราหมณ์ทูลขอพระจักษุเช่นนั้น ก็ทรงเกิดความบันเทิงรื่นเริงในพระทัยอย่างยิ่ง
ทรงควักพระจักษุทั้ง ๒ ข้างมอบให้ไป ท้าวสักกะทรงกระทำให้เพศพราหมณ์หายไป
แสดงองค์เบื้องพระพักตร์พระเจ้าสีวิ ตรัสสรรเสริญชมเชยพระเจ้าสีวิเป็นอันมาก
ทรงแนะนำให้พระเจ้าสีวิกระทำสัจจกิริยา เพื่อพระจักษุจะได้บังเกิดขึ้นอีก เมื่อพระเจ้าสีวิทรงกระทำสัจจกิริยาครั้งแรกอย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ขัดสนจนยาก มีชื่อโคตรต่าง ๆ กันมาเพื่อขอเรา แม้เขาขอนัยน์ตาทั้ง ๒
เขาก็ย่อมเป็นคนที่น่ารักสำหรับเรา ด้วยสัจจวาจาข้อนี้ ขอนัยน์ตาจงเกิดแก่เราเถิด
ดังนี้ พระจักษุข้างที่ ๑ ก็เกิดขึ้นแก่พระองค์ เมื่อทรงกระทำสัจจกิริยาตรัสพระสัจจวาจาเป็นครั้งที่
๒ ว่า พราหมณ์ผู้ใดขัดสนจนยาก มาเพื่อจะขอเรา กล่าวว่า
ขอพระองค์จงพระราชทานพระจักษุแก่หม่อมฉันเถิด เราก็ได้ให้นัยน์ตาทั้ง ๒
แก่พราหมณ์ผู้นั้นแล้ว ปีติได้ซึมซาบจิตใจเรายิ่งขึ้นอีก
ทั้งโสมนัสอันมีกำลังมิใช่น้อย หาประมาณมิได้ ก็ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอนัยน์ตาข้างที่ ๒ จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ดังนี้ พระจักษุข้างที่
๒ ก็เกิดแก่พระองค์
ก็พระจักษุทั้ง ๒
ข้างนั้น ไม่ใช่จักษุตามปกติ
เพราะไม่ทรงอาจทำจักษุที่ทรงมอบให้แก่พราหมณ์นั้นไปแล้ว
ให้หวนกลับมามีแก่พระองค์ได้อีก ทั้งไม่ใช่ทิพยจักษุ เพราะเป็นธรรมดาว่า
ทิพยจักษุที่เป็นอภิญญา อันเป็นอานิสงส์ของการเจริญสมาธิ
จักไม่เกิดแก่บุคคลผู้มีจักษุวัตถุ (ประสาทตา) เสียหาย พิการ
และทิพยจักษุอันเกิดจากวิบากของกรรม อย่างทิพยจักษุของพวกเทวดาทั้งหลาย
ก็ไม่มีแก่ผู้เป็นมนุษย์ แต่กล่าวได้ว่า เป็นสัจจปารมิตาจักษุ
(จักษุที่เกิดจากสัจจบารมี) มีอานุภาพในการมองเห็นดุจทิพยจักษุทุกประการ
หรือเพราะเหตุที่มีอานุภาพอย่างนั้น จะเรียกว่าทิพยจักษุก็ได้
แต่เป็นทิพยจักษุพิเศษอย่างหนึ่งต่างหากจากทิพยจักษุที่เหลือ
ซึ่งเกิดจากสัจจบารมีเท่านั้น.
คำว่า เมื่อไม่มีเหตุ
คือ เมื่อไม่มีวัตถุ เป็นต้น ความว่า เมื่อไม่มีประสาทตา
อันเป็นวัตถุคือที่ตั้งอาศัยแห่งจักขุวิญญาณ แม้ทิพยจักษุก็เกิดไม่ได้
เพราะแม้ประสาทตานั้นก็เป็นเหตุเบื้องต้นแห่งทิพยจักษุ
คำว่า ทำสัจจกิริยา
คือการตั้งจิตปรารถนาความสำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์
ยืนยันถึงความเป็นผู้ตั้งใจไว้ก่อนว่า จะทำอย่างนึ้
แล้วในภายหลังก็สามารถทำอย่างนั้นได้จริง ของตน.
คำว่า มิได้ทรงมีเหตุตามปกติแห่งทิพยจักษุ
คือมิได้ทรงมีฌานสมาธิ อันเป็นเหตุตามปกติ คือเป็นบริกรรม
และเป็นบาทแห่งความเกิดขึ้น แห่งทิพยจักษุ.
คำว่า คำนั้นหมายเอาจักษุที่บังเกิดเพราะภาวนา
ความว่า คำนั้นหมายเอาทิพยจักษุที่เป็นอภิญญา อันเป็นอานิสงส์แห่งสมาธิ
ที่บังเกิดเพราะสมาธิภาวนา.
****
๑. สรุปประเด็นปุจฉาและวิสัชนา
- คำถาม
พระเจ้ามิลินท์สงสัยว่า
มีข้อความสองอย่างคือ
(๑) พระเจ้าสีวิพระราชทานดวงพระเนตรเป็นคนบอด
แต่มีทิพจักษุเกิดขึ้นอีก
(๒) พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระสูตรโดยนัยว่า ทิพจักษุไม่เกิดหากมังสจักษุเสียหายแล้ว. สองข้อความนี้ขัดแย้งกัน
คือ ถ้าพระเจ้าสีวิ
ได้พระราชทานดวงตาให้แก่ยาจกแล้ว ทิพจักษุไม่ควรเกิดขึ้น เพราะทิพจักษุจะต้องเกิดขึ้นในที่มีมังสจักษุบริบูรณ์
เพราะมังสจักษุเป็นเหตุเป็นที่ตั้งอาศัยของทิพจักษุ. ถ้าทิพจักษุเกิดขึ้นได้ แสดงว่า พระเจ้าสีวิ ก็ไม่ได้พระราชทานดวงตา
เพราะต้องมีมังสจักษุสมบูรณ์. เพราะฉะนั้น ข้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้โดยนัยว่า
ทิพจักษุไม่เกิดในมีมังสจักษุเสียหายแล้ว ในที่ไม่มีเหตุ ไม่มีจักษุวัตถุ
ก็ไม่ถูกต้อง.
ถ้าทิพจักษุเกิดขึ้นแก่พระเจ้าสีวิจริง ก็แสดงว่า
การที่ทรงพระราชทานดวงพระเนตรของพระองค์ก็ไม่จริง ไม่ถูกต้อง.
- คำตอบ
พระนาคเสนชี้แจงข้อเท็จจริงมาขี้แจงให้เห็นว่าทั้งสองแห่งไม่ขัดแย้งกัน
ดังนี้ คือ มังสจักษุอันเป็นเหตุให้เกิดให้ทิพยจักษุได้
ในกรณีที่ทิพยจักษุนั้นจะต้องเกิดจากกำลังแห่งภาวนา เป็นอภิญญาประเภทหนึ่งเรียกว่า
ทิพพจักษุ หรือ ญาณจักษุ (ขุ.อิติ.๒๕/๖๑ จักขุสูตร) แต่ในที่นี้
เป็นทิพจักษุที่เกิดขึ้นเพราะเหตุพิเศษคือสัจจบารมี โดยที่ผู้ตั้งมั่นในสัจจะแล้ว ระลึกถึงสัจจะ
เรียกโดยทั่วไปในคัมภีร์ว่า ทำสัจจกิริยา คือการตั้งจิตปรารถนาความสำเร็จในสิ่งที่ประสงค์
ด้วยการกล่าวคำสัตย์ ยืนยันถึงความเป็นผู้ตั้งใจไว้ก่อนว่า จะทำอย่างนึ้
แล้วในภายหลังก็สามารถทำอย่างนั้นได้จริงของตน ดังนั้น การที่ทิพจักษุเกิดขึ้นแด่พระเจ้าสีวิอีก
ทั้งที่ทรงมีดวงพระเนตรเสียหายแล้ว ก็เพราะการทำสัจจกิริยาเท่านั้น ไม่ใช่ทิพจักษุที่เกิดจากำลังแห่งภาวนา
อีกทั้งไม่ใช่ทิพจักขุโดยวิบาก คือ ทิพจักขุของเทวดาทั้งหลาย.
***
๒. สิ่งน่าสนใจ
- อานุภาพของกระทำสัจจกริยา
อุบัติการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นเพราะสัจจกิริยา
จะไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเหตุตามปกติ กล่าวคือ ถ้าเป็นทิพจักษุต้องอาศัยภาวนา และ
อัตภาพของเทวดา โดยเป็นวิบาก แม้เหตุการณ์อื่นๆ ที่ผู้ตั้งสัจจะก็ทำได้ เช่น
การอธิษฐานให้ไฟที่กำลังลุกโชน ให้ดับ ทำฝนให้ตก ทำยาพิษให้กลายเป็นยาดับพิษ ทำแม่น้ำให้ไหลย้อนกลับไปสู่ที่สูง
ทำให้แม่น้ำแหวกเป็นช่องโดยมิทำให้ผู้เข้าไปในที่นี้เปียกน้ำ ซึ่งผู้ทำการร่ายสัจจะนี้
จะได้ทำขึ้นเพราะมีเหตุเหล่านี้สะสมอยู่แล้วก็หามิได้
แต่เมื่อทำสัจจกิริยาแล้วก็จะปรากฏเหตุการณ์นี้ทันที.
ในเรื่องนี้พระนาคเสนยกตัวอย่างบุคคลมา
๒ คือ
๑. พระเจ้าจีนราชา
ทรงกระทำสัจจกิริยาทุก ๔ เดือน
ครั้นแล้วเสด็จพระสำราญทางน้ำด้วยรถแล่นลงไปในมหาสมุทร
เมื่อทรงเสด็จพร้อมทั้งรถพระที่นั่ง ลงสู่น้ำลึก ๑ โยชน์
ห้วงนำด้านหน้ารถก็แหวกตัวเป็นช่อง แต่เมื่อเสด็จกลับ
ห้วงน้ำก็กลับมาท่วมเหมือนเดิมอีก
๒. พระเจ้าอโสกธรรมราชา
ทรงท้าทายว่า ไม่มีใครสามารถทำให้แม่น้ำคงคงไหลย้อนกลับได้. แต่นางพันธุมดีหญิงคณิกาชาวเมืองปาตลีบุตร
ได้ยินดังนั้น จึงแสดงสัจจกิริยา โดยอ้างถึงสัจจะในการประกอบอาชีพของตนเองที่ปรนนิบัติบุคคลทุกคนที่จ่ายเงินค่าบริการ
อย่างเสมอภาค แม้ว่าผู้นั้นยิ่งใหญ่ระดับพระราชา ความยินดีปรนนิบัติพิเศษ ก็ไม่มี
หรือ ไม่ทำความดูหมิ่นในบุคคลผู้เป็นวรรณะศูทร. นางอ้างถึงสัจจะนี้ กระทำสัจจกิริยาเพื่อให้แม่น้ำคงคาไหลกลับ
สร้างความจริงให้ปรากฏแก่พระเจ้าอโศกธรรมราชาว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพราะกำลังแห่งสัจจะ.
- คติธรรม
ก.นตฺถิ ตํ ฐานํ,
ยํ สจฺเจน น ปตฺตพฺพํ
ฐานะที่บุคคลจะพึงบรรลุด้วยสัจจะมิได้
หามีไม่.
ยํ ฐานํ ฐานะใด ปุคฺคเลน อันบุคคล น ปตฺตพฺพํ ไม่พึงถึง สจฺเจน
ด้วยสัจจะ, ตํ ฐานํ ฐานะนั้น นตฺถิ ย่อมไม่มี.
ข. สจฺเจ ฐิตา น
กิญฺจิ อตฺถํ น วินฺทนฺติ
บุคคลทั้งหลายตั้งอยู่ในสัจจะแล้ว
จะไม่ได้รับประโยชน์อะไร ๆ หามีไม่
ชนา ชนทั้งหลาย ฐิตา ตั้งอยู่แล้ว สจฺเจ ในสัจจะ น
วินฺทนฺติ จะไม่ได้รับ อตฺถํ ซึ่งประโยชน์ กิญฺจิ อะไรๆ น
หามิได้.
***
๓. คำศัพท์น่าสนใจ
๑. ตตฺถ ทิพฺพจกฺขูติ ทิพฺพสทิสตฺตา ทิพฺพํฯ เทวตานญฺหิ
สุจริตกมฺมนิพฺพตฺตํ ปิตฺตเสมฺหรุหิราทีหิ อปลิพุทฺธํ
อุปกฺกิเลสวิมุตฺตตาย ทูเรปิ อารมฺมณคฺคหณสมตฺถํ ทิพฺพํ ปสาทจกฺขุ โหติฯ อิทญฺจาปิ
วีริยภาวนาพลนิพฺพตฺตํ ญาณจกฺขุ ตาทิสเมวาติ ทิพฺพสทิสตฺตา ทิพฺพํ, ทิพฺพวิหารวเสน ปฏิลทฺธตฺตา อตฺตโน จ ทิพฺพวิหารสนฺนิสฺสิตตฺตา
อาโลกปริคฺคเหน มหาชุติกตฺตาฯ ติโรกุฏฺฏาทิคตรูปทสฺสเนน มหาคติกตฺตาปิ ทิพฺพํฯ ตํ
สพฺพํ สทฺทสตฺถานุสาเรน เวทิตพฺพํฯ ทสฺสนฏฺเฐน จกฺขุกิจฺจกรเณน จกฺขุมิวาติปิ
จกฺขุ, ทิพฺพญฺจ ตํ จกฺขุ จาติ ทิพฺพจกฺขุฯ (ขุ.อิติ.อฏฺ.๖๑
จกฺขุสุตฺตวณฺ.)
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทิพฺพจกฺขุ ความว่า จักษุ ชื่อว่า ทิพย์เพราะเป็นเหมือนทิพย์ อธิบายว่า จักษุของเทวดาทั้งหลาย ที่เกิดแต่สุจริตกรรมไม่ถูกน้ำดี เสมหะ และเลือดเป็นต้นปิดบัง เป็นจักษุที่มีประสาทเป็นทิพย์
สามารถรับอารมณ์แม้ไกลได้ เพราะพ้นจากอุปกิเลส. แม้ญาณจักษุนี้ที่เกิดด้วยพลังแห่งการเจริญวิริยะ ก็เช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นทิพย์เพราะเป็นเหมือนทิพย์
ญาณจักษุชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะได้มาด้วยสามารถแห่งทิพวิหารธรรม เพราะอาศัยทิพวิหารธรรมของตน เพราะรุ่งโรจน์มากด้วยการกำหนดอาโลกกสิณ และแม้เพราะมีการกระทำไปได้กว้างขวาง โดยการเห็นรูปที่อยู่ในที่นอกกำแพงเป็นต้น ทิพยจักษุทั้งหมดนั้น พึงทราบตามแนวแห่งสัททศาสตร์ อายตนะ ชื่อว่า จักษุ เพราะอรรถว่าเป็นเหมือนจักษุโดยอรรถว่าเห็น คือ โดยการทำกิจคือการเห็นดังนี้บ้าง. จักษุนั้นด้วย เป็นทิพย์ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิพยจักษุ.
๒.อุปฺปาโทติ
มํสจกฺขุสฺส ปวตฺติฯ มคฺโคติ อุปาโย, ทิพฺพจกฺขุสฺส
การณํฯ ปกติจกฺขุมโต เอว หิ ทิพฺพจกฺขุ อุปฺปชฺชติ, ยสฺมา กสิณาโลกํ วฑฺเฒตฺวา ทิพฺพจกฺขุญาณสฺส อุปฺปาทนํ, โส จ กสิณมณฺฑเล อุคฺคหนิมิตฺเตน วินา นตฺถีติฯ
***
๓. กสฏ
ศัพท์ อรรถกถามิลินท์ แก้เป็น กจวร เศษขยะ, ของเสีย, กาก
ในที่นี้ท่านนำศัพท์นี้มาใช้เรียบกับขยะที่หมายถึงใช้ไม่ได้แล้ว
เสียหายหายแล้ว คือ สิ่งบกพร่อง)
พจน.ภูมิพโล ให้อรรถาธิบายไว้ ๒ นัย คือ 1. กรณีใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ของชั้นเลว,
น่ารังเกียจดูตัวอย่างการใช้ใน องฺ.1/72; ชา.2/96; 159) 2. กรณีใช้เป็นคำนามจะเป็นปุงลิงค์ มีความหมาย ๔
คือ (ก) ความผิด, ข้อเสีย, ความบกพร่อง ดูตัวอย่างใน ม.1/281; ปฏิ.ส.2/87. (ข)
ของทิ้งแล้ว, ขยะ, ตะกอน
ดูตัวอย่างใน วิมาน.อ.288 (ปรากฏในปกรณ์อื่น สกฏ). (ค) สิ่งที่ขมขื่นหรือน่าเกลียดน่ากลัว ดูตัวอย่างใน ชา.2/96; 5/18. (ง)
น้ำขม, น้ำสะเดา ดูตัวอย่างในชา.2/105 (นิมฺพชาดก).
สำหรับในมิลินทปัญหา ประกอบด้วยสห ศัพท์ เป็น สกสฏ แล้วมีความหมายว่า มีข้อผิด บกพร่อง
บ้าง, มีความหมายว่า อาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่อร่อย, ขมขื่น บ้าง (มิลินฺ.119).
๔. ยถา เอวํ
ที่มีอรรถอุปมาอุปไมย
เอวํ ศัพท์
แปลอย่างนี้ว่า ฉันนั้น มีบาฬีว่า
เช่น เอวํ
สมฺปทมิทํ เวทิตพฺพํ = อ. คำเป็นเครื่อง ยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ อันบัณฑิต พึงทราบ
ฉันนั้น [ธ.๑: สญฺชยวตฺถุ หน้า ๘๗],
ในที่นี้ อาจแปลว่า
ยถา เปรียบเหมือนว่า ....
เอวํ สมฺปทมิทํ (หรือ
โอปมฺมสมฺปฏิปาทานมิทํ) เวทิตพฺพํ = อ. คำเป็นเครื่อง ยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้
อันบัณฑิต พึงทราบ ฉันนั้น.
ศัพท์ว่า สมฺปทํ
นี้ ในคัมภีร์จูฬนิทเทส เรียกว่า โอปมฺมสมฺปฏิปาทนํ คำเป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อมเฉพาะ
ดังนี้
เอวมหํ
อปฺปทสฺเส ปหาย, มโหทธิํ หํโสริว อชฺฌปตฺโตติฯ เอวนฺติ โอปมฺมสมฺปฏิปาทนํฯ
[๕๘๗]
คำว่า เอวํ ในอุเทศว่า เอวมาหํ อปฺปทสฺเส ปหาย มโหทธึ หํสริวชฺฌปตฺโต ดังนี้ เป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อมเฉพาะ.ขุ.จูฬ.๓๐/๕๘๗
***
[๑] ทิพจักขุ
ในพระสูตรนี้ได้แก่ ญาณจักษุที่เกิดขึ้นเพราะกำลังแห่งการเจริญวิริยะ มีอานุภาพดุจจักษุของเทวดา
ที่สามารถรับอารมณ์แม้ไกลเป็นต้นได้ มีวิเคราะห์ว่า ทิพฺพสทิสตฺตา ทิพฺพํฯ
จักษุเพียงดังทิพย์ (จักษุอันเป็นของเทวดา เรียกว่า ทิพฺพจกฺขุ).
ทิพจักษุมี ๒
อย่าง คือ (๑) ปสาทจักษุ อันเป็นทิพย์ ของเทวดาทั้งหลาย
ที่เกิดแต่สุจริตกรรมไม่ถูกน้ำดี เสมหะ และเลือดเป็นต้นปิดบัง สามารถรับอารมณ์แม้ไกลได้
เพราะพ้นจากอุปกิเลส (สิ่งทำให้หม่นหมอง), (๒) ญาณจักษุ ชื่อว่า
เป็นทิพยจักษุ เพราะได้มาด้วยสามารถแห่งทิพวิหารธรรม เพราะอาศัยทิพวิหารธรรมของตน
เพราะรุ่งโรจน์มากด้วยการกำหนดอาโลกกสิณ และแม้เพราะมีการกระทำไปได้กว้างขวาง โดยการเห็นรูปที่อยู่นอกกำแพงเป็นต้น
(ขุ.อิติ.อฏฺ.๖๑ จกฺขุสุตฺต.). แต่ทิพยจักษุในที่นี้
ไม่ใช่จักษุทิพย์ที่ตรัสไว้ในพระสูตรนั้น อีกทั้งไม่ใช่ทิพยจักษุของเทวดา
แต่เป็นสัจจปารมิตาจักษุ (จักษุที่เกิดจากสัจจบารมี) มีอานุภาพในการมองเห็นดุจทิพยจักษุทุกประการ.
[๒] กสฏ
ศัพท์ อรรถกถามิลินท์ แก้เป็น กจวร เศษขยะ, ของเสีย, กาก
ในที่นี้ท่านนำศัพท์นี้มาใช้เทียบกับขยะที่หมายถึงใช้ไม่ได้แล้ว
เสียหายแล้วคือ สิ่งบกพร่อง.
[๓] เมื่อไม่มีประสาทตา
อันเป็นวัตถุคือที่ตั้งอาศัยแห่งจักขุวิญญาณ แม้ทิพยจักษุก็เกิดไม่ได้ เพราะประสาทตานั้นก็เป็นเหตุเบื้องต้นแห่งทิพยจักษุ.
[๔] เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิ
ณ กรุงอริฏฐปุระ แคว้นสีวิ ทรงยินดีมีพระทัยน้อมไปในการบริจาคทานเป็นอย่างยิ่ง
ทรงดำริในพระทัยว่า อย่าว่าแต่วัตถุภายนอกเลย แม้วัตถุภายในคืออวัยวะทั้งหลายรวมทั้งนัยน์ตาทั้ง
๒ ข้าง หากมีคนมาขอเราก็จักให้. ท่านท้าวสักกะทรงทราบพระดำริข้อนี้
ใคร่จะทดลอง จึงทรงแปลงร่างเป็นพราหมณ์แก่ตาบอด
ทูลขอแบ่งพระจักษุพระเจ้าสีวิข้างหนึ่ง
พระเจ้าสีวิครั้นถูกพราหมณ์ทูลขอพระจักษุเช่นนั้น ก็ทรงเกิดความบันเทิงรื่นเริงในพระทัยอย่างยิ่ง
ทรงควักพระจักษุทั้ง ๒ ข้างมอบให้ไป ท้าวสักกะทรงกระทำให้เพศพราหมณ์หายไป
แสดงองค์เบื้องพระพักตร์พระเจ้าสีวิ ตรัสสรรเสริญชมเชยพระเจ้าสีวิเป็นอันมาก
ทรงแนะนำให้พระเจ้าสีวิกระทำสัจจกิริยา เพื่อพระจักษุจะได้บังเกิดขึ้นอีก
เมื่อพระเจ้าสีวิทรงกระทำสัจจกิริยาครั้งแรกอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ขัดสนจนยาก
มีชื่อโคตรต่าง ๆ กันมาเพื่อขอเรา แม้เขาขอนัยน์ตาทั้ง ๒
เขาก็ย่อมเป็นคนที่น่ารักสำหรับเรา ด้วยสัจจวาจาข้อนี้ ขอนัยน์ตาจงเกิดแก่เราเถิด
ดังนี้ พระจักษุข้างที่ ๑ ก็เกิดขึ้นแก่พระองค์ เมื่อทรงกระทำสัจจกิริยาตรัสพระสัจจวาจาเป็นครั้งที่
๒ ว่า พราหมณ์ผู้ใดขัดสนจนยาก มาเพื่อจะขอเรา กล่าวว่า
ขอพระองค์จงพระราชทานพระจักษุแก่หม่อมฉันเถิด เราก็ได้ให้นัยน์ตาทั้ง ๒
แก่พราหมณ์ผู้นั้นแล้ว ปีติได้ซึมซาบจิตใจเรายิ่งขึ้นอีก
ทั้งโสมนัสอันมีกำลังมิใช่น้อย หาประมาณมิได้ ก็ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอนัยน์ตาข้างที่ ๒ จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ดังนี้ พระจักษุข้างที่
๒ ก็เกิดแก่พระองค์. ก็พระจักษุทั้ง ๒ ข้างนั้น ไม่ใช่จักษุตามปกติ
เพราะไม่ทรงอาจทำจักษุที่ทรงมอบให้แก่พราหมณ์นั้นไปแล้ว
ให้หวนกลับมามีแก่พระองค์ได้อีก ทั้งไม่ใช่ทิพยจักษุ เพราะเป็นธรรมดาว่า
ทิพยจักษุที่เป็นอภิญญา อันเป็นอานิสงส์ของการเจริญสมาธิ
จักไม่เกิดแก่บุคคลผู้มีจักษุวัตถุ เสียหาย พิการ
และทิพยจักษุอันเกิดจากวิบากของกรรม อย่างทิพยจักษุของพวกเทวดาทั้งหลาย
ก็ไม่มีแก่ผู้เป็นมนุษย์ แต่กล่าวได้ว่า เป็นสัจจปารมิตาจักษุ (จักษุที่เกิดจากสัจจบารมี) มีอานุภาพในการมองเห็นดุจทิพยจักษุทุกประการ
หรือเพราะเหตุที่มีอานุภาพอย่างนั้น จะเรียกว่าทิพยจักษุก็ได้
แต่เป็นทิพยจักษุพิเศษอย่างหนึ่งต่างหากจากทิพยจักษุที่เหลือ
ซึ่งเกิดจากสัจจบารมีเท่านั้น. (ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์ :
มิลินทปัญหาแปล)
[๕] พระเจ้ามิลินท์สงสัยว่า
มีข้อความสองอย่างคือ (๑) พระเจ้าสีวิพระราชทานดวงพระเนตรเป็นคนบอด แต่มีทิพจักษุเกิดขึ้นอีก
(๒) พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระสูตรโดยนัยว่า ทิพจักษุไม่เกิดหากมังสจักษุเสียหายแล้ว.
สองข้อความนี้ขัดแย้งกัน คือ
ถ้าพระเจ้าสีวิ ได้พระราชทานดวงตาให้แก่ยาจกแล้ว ทิพจักษุไม่ควรเกิดขึ้น
เพราะทิพจักษุจะต้องเกิดขึ้นในที่มีมังสจักษุบริบูรณ์
เพราะมังสจักษุเป็นเหตุเป็นที่ตั้งอาศัยของทิพจักษุ. ถ้าทิพจักษุเกิดขึ้นได้ แสดงว่า พระเจ้าสีวิ ก็ไม่ได้พระราชทานดวงตา
เพราะต้องมีมังสจักษุสมบูรณ์. เพราะฉะนั้น ข้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้โดยนัยว่า
ทิพจักษุไม่เกิดในมีมังสจักษุเสียหายแล้ว ในที่ไม่มีเหตุ ไม่มีจักษุวัตถุ
ก็ไม่ถูกต้อง.
ถ้าทิพจักษุเกิดขึ้นแก่พระเจ้าสีวิจริง ก็แสดงว่า การที่ทรงพระราชทานดวงพระเนตรของพระองค์ก็ไม่จริง
ไม่ถูกต้อง.
[๖] ในที่นี้พระเถระหมายถึงทิพจักขุญาณที่เกิดขึ้นด้วยกำลังภาวนา.
คัมภีร์อรรถกถาอิติวุตตกะ จักขุสูตร อธิบายว่า ความเป็นไปของมังสจักษุ
เป็นเหตุแห่งทิพจักขุ. เพราะทิพจักขุเกิดขึ้น เพราะมีจักษุปกติไม่เสียหาย
เพราะพระโยคีครั้นขยายอาโลกกสิณแล้วจึงทำทิพจักขุญาณให้เกิดขึ้นได้
และทิพจักขุนั้น จะเว้นจากอุคคหนิมิตที่เกิดจากการเพ่งดูด้วยมังสจักษุไม่ได้.
[๗] คำว่า
ทำสัจจกิริยา คือการตั้งจิตปรารถนาความสำเร็จในสิ่งที่ประสงค์
ด้วยการกล่าวคำสัตย์ ยืนยันถึงความเป็นผู้ตั้งใจไว้ก่อนว่า จะทำอย่างนึ้
แล้วในภายหลังก็สามารถทำอย่างนั้นได้จริง ของตน.
[๘] ข้อนี้หมายถึง
การที่ฝนตกใหญ่ด้วยอำนาจของการสวดสัจจาธิษฐาน จะมีด้วยเหตุอื่นซึ่งพวกเขาได้สั่งสมไว้ในอากาศก็หามิได้.
ฉบับไทย ปาฐะ เป็น "ยถา มหาราช เย
เกจิ สิทฺธา สจฺจมนุคายนฺติ มหาเมโฆ
ปวสฺสตูติ, เตสํ สจฺจมนุคีตาย สห
วาจาย มหาเมโฆ ปวสฺสติ ฯ
อปิ นุ โข
มหาราช อตฺถิ อากาเส
วสฺสสฺส เหตุ สนฺนิจิโต เยน
เหตุนา มหาเมโฆ ปวสฺสตีติ
ฯ และฉบับแปลมหามกุฏแปลว่า ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ผูสําเร็จสัจจะเหลาใดเหลาหนึ่ง
พร่ําขับคําสัตย์ ว่า เมฆใหญ่ จงให้ฝนตก ดังนี้, เมฆใหญ่
ให้ฝนตกพร้อมด้วยความพร่ำคำสัตย์ ของผู้สำเร็จสัจจะเหล่านั้น, เออก็
มหาเมฆให้ฝนตกด้วยเหตุใด เหตุนั้น เป็นเหตุแห่งฝนสะสมอยู่แล้ว มีในอากาศหรือ
ขอถวายพระพร. อีกฉบับหนึ่งแปลว่า ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า
สัตว์เหล่าใดพวกใดพวกหนึ่ง กล่าวสัจจอธิษฐานว่า ขอฝนห่าใหญ่จงโปรยปรายลงมา ดังนี้
ฝนห่าใหญ่ก็ย่อมโปรยปรายลงมาพร้อมกับเสียงกล่าวสัจจอธิษฐานของสัตว์เหล่านั้น
ขอถวายพระพร สัตว์เหล่านั้นมีการสั่งสมเหตุที่ทำให้ฝนตกไว้ในอากาศ ด้วยคิดว่า
จะเป็นเหตุให้ฝนห่าใหญ่ตกลงมา ดังนี้ หรือไร ?”
[๙] คำว่า
เหตุตามปกติแห่งทิพยจักษุ คือ พระเจ้าสีวิราชามิได้ทรงมีฌานสมาธิ
อันเป็นเหตุตามปกติ คือเป็นบริกรรม และเป็นบาทแห่งความเกิดขึ้น แห่งทิพยจักษุ.
[๑๐] คือ
สัจจะเท่านั้นเป็นเหตุในที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นเหตุการณ์นี้ คือ
การที่ไฟที่ลุกโพลงขนาดนี้จะดับลงได้.
[๑๑] เพิ่มเข้ามาตามปาฐะของฉบับไทย.
[๑๒] ฉบับไทยปาฐะเป็น มหาคงฺคาย อุทกกีฬํ กีฬนฺโต มหาคงฺคํ
สมฺปุณฺณํ นวสลิเลน ปญฺจโยชนสตายามํ โยชนปุถุลํ
สนฺทมานํ ทิสฺวา... ทิสฺวา
ทอดพระเนตรแล้ว มหาคงฺคํ ซึ่งแม่น้ำใหญ่ชื่อว่าคงคา สมติตฺถิกํ มีน้ำเสมอด้วยตลิ่ง
สมฺภริตํ อันปริ่มแล้ว ปญฺจโยชนสตายามํ อันยาวด้วยโยชน์ ๕๐๐ โยชนปุถุลํ
อันกว้างโดยโยชน์หนึ่ง สนฺทมานํ ไหลไปอยู่.
[๑๓] ฉบับไทยเป็น
ชนวิลุมปิตาย ผู้เที่ยวปล้นประชาชน
[๑๔] หมายความว่า
คำนั้นหมายเอาทิพยจักษุที่เป็นอภิญญา อันเป็นอานิสงส์แห่งสมาธิ
ที่บังเกิดเพราะสมาธิภาวนา.
[๑๕] พระนาคเสนชี้แจงข้อเท็จจริงมาขี้แจงให้เห็นว่าทั้งสองแห่งไม่ขัดแย้งกัน
ดังนี้ คือ มังสจักษุอันเป็นเหตุให้เกิดให้ทิพยจักษุได้
ในกรณีที่ทิพยจักษุนั้นจะต้องเกิดจากกำลังแห่งภาวนา เป็นอภิญญาประเภทหนึ่งเรียกว่า
ทิพพจักษุ หรือ ญาณจักษุ (ขุ.อิติ.๒๕/๖๑ จักขุสูตร) แต่ในที่นี้
เป็นทิพจักษุที่เกิดขึ้นเพราะเหตุพิเศษคือสัจจบารมี โดยที่ผู้ตั้งมั่นในสัจจะแล้ว ระลึกถึงสัจจะ
เรียกโดยทั่วไปในคัมภีร์ว่า ทำสัจจกิริยา คือการตั้งจิตปรารถนาความสำเร็จในสิ่งที่ประสงค์
ด้วยการกล่าวคำสัตย์ ยืนยันถึงความเป็นผู้ตั้งใจไว้ก่อนว่า จะทำอย่างนึ้
แล้วในภายหลังก็สามารถทำอย่างนั้นได้จริงของตน ดังนั้น การที่ทิพจักษุเกิดขึ้นแด่พระเจ้าสีวิอีก
ทั้งที่ทรงมีดวงพระเนตรเสียหายแล้ว ก็เพราะการทำสัจจกิริยาเท่านั้น ไม่ใช่ทิพจักษุที่เกิดจากำลังแห่งภาวนา
อีกทั้งไม่ใช่ทิพจักขุโดยวิบาก คือ ทิพจักขุของเทวดาทั้งหลาย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น