วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สพฺเพนสพฺพํ สพฺพถา สพฺพํ (ร่าง)

สพฺเพนสพฺพํ ความหมายคือ โดยประการทั้งปวงซึ่งสามารถแปลโดยอรรถาธิบายเชิงคำศัพท์ว่า ทั้งหมดโดยอาการคือกลุ่ม ส่วน สพฺพถา สพฺพํ ทั้งสิ้นโดยสภาวะคือระบุทุกส่วนที่แยกย่อยจากกลุ่ม. โดยทั้งสองคำนี้ คือ สพฺเพนสพฺพํ และ สพฺพถา สพฺพํ สัมพันธ์เป็นวิเสสนะของบทนามที่ตนเกี่ยวข้อง และใช้เป็นไวพจน์กัน.
โดยเฉพาะ สพฺเพนสพฺพํ นี้เป็นนิบาตชนิดที่เรียกว่า นิปาตสมุทาย ในอรรถกถาเรียกว่า นิปาตทฺวยํ ดังนั้น ในพระไตรปิฎกภาษาบาฬีบางฉบับจะเขียนติดกันเป็น สพฺเพนสพฺพํ โดยยึดมติที่ว่าเป็นนิบาต แต่บางฉบับเขียนแยกเป็น สพฺเพน สพฺพํ เพราะถือว่าบทหน้าลงตติยาวิภัตติในอรรถวิเสสนะของ สพฺพํ ข้างหลัง. อันนี้แล้วแต่มติของผู้ชำระพระไตรปิฎกฉบับนั้นๆ.
ดังข้อความในพระบาฬีมหานิทานสูตร มหาวรรคทีฆนิกาย
๙๘. ‘‘‘ชาติปจฺจยา ชรามรณนฺติ อิติ โข ปเนตํ วุตฺตํ, ตทานนฺท, อิมินาเปตํ ปริยาเยน เวทิตพฺพํ, ยถา ชาติปจฺจยา ชรามรณํฯ ชาติ จ หิ, อานนฺท, นาภวิสฺส สพฺเพน สพฺพํ สพฺพถา สพฺพํ กสฺสจิ กิมฺหิจิ, เสยฺยถิทํ เทวานํ วา เทวตฺตาย, คนฺธพฺพานํ วา คนฺธพฺพตฺตาย, ยกฺขานํ วา ยกฺขตฺตาย, ภูตานํ วา ภูตตฺตาย, มนุสฺสานํ วา มนุสฺสตฺตาย, จตุปฺปทานํ วา จตุปฺปทตฺตาย, ปกฺขีนํ วา ปกฺขิตฺตาย, สรีสปานํ วา สรีสปตฺตาย [สิริํสปานํ สิริํสปตฺตาย (สี. สฺยา.)], เตสํ เตสญฺจ หิ, อานนฺท, สตฺตานํ ตทตฺตาย ชาติ นาภวิสฺสฯ สพฺพโส ชาติยา อสติ ชาตินิโรธา อปิ นุ โข ชรามรณํ ปญฺญาเยถา’’ติ? ‘‘โน เหตํ, ภนฺเต’’ ‘‘ตสฺมาติหานนฺท, เอเสว เหตุ เอตํ นิทานํ เอส สมุทโย เอส ปจฺจโย ชรามรณสฺส, ยทิทํ ชาติ’’

ในอรรถกถามหาวรรคขยายความบทนี้ไว้ว่า
สพฺเพนสพฺพํ สพฺพถาสพฺพนฺติ นิปาตทฺวยเมตํฯ ตสฺสตฺโถ – ‘‘สพฺพากาเรน สพฺพา สพฺเพน สภาเวน สพฺพา ชาติ นาม ยทิ น ภเวยฺยา’’ติฯ ภวาทีสุปิ อิมินาว นเยน อตฺโถ เวทิตพฺโพฯ.
และฎีกาอธิบายว่า
สพฺเพน สพฺพนฺติ เทวตฺตาทินา สพฺพภาเวน สพฺพา ชาติฯ สพฺพถา สพฺพนฺติ ตตฺถาปิ จาตุมหาราชิกาทิสพฺพากาเรน สพฺพา, นิปาตทฺวยเมตํ, นิปาตญฺจ อพฺยยํ, ตญฺจ สพฺพลิงฺควิภตฺติวจเนสุ เอกาการเมว โหตีติ ปาฬิยํ ‘‘สพฺเพน สพฺพํ สพฺพถา สพฺพ’’นฺติ วุตฺตํฯ อตฺถวจเน ปน ตสฺส ตสฺส ชาติสทฺทาเปกฺขาย อิตฺถิอตฺถวุตฺติตํ ทสฺเสตุํ ‘‘สพฺพากาเรน สพฺพา’’ติอาทิ วุตฺตํ (ที.ม.อ.-ฎี.๙๘).

และในอรรถกถาอุปริปัณณาสก์ว่า
เตหิ ธมฺเมหีติ เตหิ สพฺพญฺญุตญฺญาณธมฺเมหิฯ สพฺเพน สพฺพนฺติ สพฺพากาเรน สพฺพํฯ สพฺพถา สพฺพนฺติ สพฺพโกฏฺฐาเสหิ สพฺพํฯ ///  
สพฺเพน สพฺพนฺติ สพฺพปฺปกาเรน อนวเสสํ, เอตฺตโก คุณานํ ปการเภโท, เตสุ กิญฺจิปิ ปการํ อนวเสเสตฺวาฯ สพฺพโกฏฺฐาเสหิ สพฺพนฺติ ยตฺตกา คุณภาคา, เตหิ สพฺเพหิ อนวเสสํ นิสฺเสสเมว กตฺวาฯ (ม.อุ.-ฎี. ๗๙)
นอกจากนี้ จะมีอีก ๒ บทที่แนบเป็นชุดเดียวกัน คือ อเสสํ นิสฺเสสํ ดังพระบาฬีเป็นต้นว่า อิติ อิมาสุ สิกฺขาสุ สพฺเพน สพฺพํ สพฺพถา สพฺพํ อเสสํ นิสฺเสสํ สมาทาย วตฺตติฯ สมาทานประพฤติในสิกขาเหล่านี้ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง ทั้งหมดโดยอาการทั้งปวง ไม่มีเหลือ ไม่ให้เหลือ. กรณีนี้ สพฺเพน สพฺพํ มีความหมายตามที่พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า  สพฺเพน สพฺพนฺติ สพฺเพน สิกฺขาสมาทาเนน สพฺพํ สิกฺขํฯ สพฺพถา สพฺพนฺติ สพฺเพน สิกฺขิตพฺพากาเรน สพฺพํ สิกฺขํฯ อเสสํ นิสฺเสสนฺติ เสสาภาวโต อเสสํ; สติสมฺโมเสน ภินฺนสฺสาปิ สิกฺขาปทสฺส ปุน ปากติกกรณโต นิสฺเสสํฯ (อภิ.วิ./อ.๕๑๖) สมาทานประพฤติ ซึ่งสิกขาทั้งปวง โดยการสมาทานสิกขาทั้งปวง. สมาทานประพฤติสิกขาทั้งปวงโดยอาการที่ควรศึกษาทั้งปวง.

ส่วนคัมภีร์อนุทีปนีอธิบายว่า สพฺพปการโต โดยระบุว่า นี้เป็นเพียงคำนามบทหนึ่ง ปาฏิปทิกตฺตํ.
ส่วนปาจิตตยอัตถโยชนา อธิบาย สพฺเพน สพฺพํ เท่ากับ สพฺพถา สพฺพํ และขยายความว่า สพฺพปฺปการโต เหมือนกัน.
เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่า สองบทนี้ ใช้เป็นไวพจน์กัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น