วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มิลินทปัญหา ๑๘.วิจารวรรคที่ ๓ (ปัญหาที่ ๓) โกฏิปัญญายนปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการปรากฏแห่งที่สุด

๓. โกฏิปญฺญายนปญฺโห
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ยํ ปเนตํ พฺรูสิ ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายตีติ, กตมา จ สา ปุริมา โกฏี’’ติ? ‘‘โย โข, มหาราช, อตีโต อทฺธา, เอสา ปุริมา โกฏี’’ติฯ ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ยํ ปเนตํ พฺรูสิ ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายตีติ, กิํ ปน, ภนฺเต, สพฺพาปิ ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายตี’’ติ? ‘‘กาจิ, มหาราช, ปญฺญายติ, กาจิ น ปญฺญายตี’’ติฯ ‘‘กตมา, ภนฺเต, ปญฺญายติ, กตมา น ปญฺญายตี’’ติ? ‘‘อิโต ปุพฺเพ, มหาราช, สพฺเพน สพฺพํ สพฺพถา สพฺพํ อวิชฺชา นาโหสีติ เอสา ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายติ, ยํ อหุตฺวา สมฺโภติ, หุตฺวา ปฏิวิคจฺฉติ, เอสา ปุริมา โกฏิ ปญฺญายตี’’ติ
‘‘ภนฺเต นาคเสน, ยํ อหุตฺวา สมฺโภติ, หุตฺวา ปฏิวิคจฺฉติ, นนุ ตํ อุภโต ฉินฺนํ อตฺถํ คจฺฉตี’’ติ? ‘‘ยทิ, มหาราช, อุภโต ฉินฺนํ อตฺถํ คจฺฉติ, อุภโต ฉินฺนา สกฺกา วฑฺเฒตุ’’นฺติ? ‘‘อาม, สาปิ สกฺกา วฑฺเฒตุ’’นฺติฯ’’นาหํ, ภนฺเต, เอตํ ปุจฺฉามิ โกฏิโต สกฺกา วฑฺเฒตุ’’นฺติ? ‘‘อาม สกฺกา วฑฺเฒตุ’’นฺติฯ
‘‘โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ เถโร ตสฺส รุกฺขูปมํ อกาสิ,ขนฺธา จ เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส พีชานี’’ติฯ
‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
โกฏิปญฺญายนปญฺโห ตติโยฯ

**************


๓. โกฏิปญฺญายนปญฺโห
๓. ปัญหาเกี่ยวกับการปรากฏแห่งที่สุด

๓. ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน ปน ตามที่ ตฺวํ พระคุณเจ้า พฺรูสิ กล่าว ยํ เอตํ (วจนํ) คำใดไว้ว่า โกฏิ ที่สุด ปุริมา เบื้องต้น อทฺธานสฺส ของธรรมอันประกอบด้วยกาล[๑] (ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อันเป็นกองทุกข์ เกวลลสฺส ทั้งหมด เอตสฺส นี้) น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ อิติ ดังนี้, ปุริมา โกฏิ ที่สุด ข้างต้น ดังว่ามา สา นั้น กตมา  เป็นไฉน อิติ ดังนี้
เถโร พระนาคเสนเถระ อโวจ ได้ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร เอสา ปุริมา โกฏิ ส่วนปลาย ข้างต้น นี้ โย โข คือ อทฺธา ธรรมอันเป็นไปเนื่องด้วยกาล อตีโต ที่เป็นอดีต[๒] อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน ปน และ ตฺวํ พระคุณเจ้า พฺรูสิ กล่าว ยํ เอตํ (วจนํ) คำใดไว้ว่า ปุริมา โกฏิ ส่วนปลาย ข้างต้น อทฺธานสฺส ของธรรมอันประกอบด้วยกาล[๓] น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ อิติ ดังนี้, ปุริมา โกฏิ ส่วนปลาย ข้างต้น สพฺพาปิ แม้ทั้งหมด[๔] น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ กิํ หรือ ภนฺเต พระคุณเจ้า? อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อโวจ ได้ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปุริมา โกฏิ ส่วนปลาย ข้างต้น กาจิ บางอย่าง ปญฺญายติ ย่อมปรากฏ, ปุริมา โกฏิ ส่วนปลายข้างต้น กาจิ บางอย่าง น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน ปุริมา โกฏิ ที่สุดส่วนปลาย กตมา เหล่าใด ปญฺญายติ ย่อมปรากฏ ปุริมา โกฏิ ที่สุดส่วนปลาย กตมา เหล่าใด ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ อิติ ดังนี้
เถโร พระนาคเสนเถระ อโวจ ได้ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อวิชฺชา อวิชชา สพฺเพน สพฺพํ  ทั้งหมด สพฺพถา สพฺพํ[๕] ทั้งสิ้น น อโหสิ ไม่ได้มีแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่อน อิโต แต่กาลนี้ อิติ เพราะฉะนั้น ปุริมา โกฏิ ที่สุดส่วนปลาย เอสา นี้ ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ, ยํ ยาทิสํ (ขนฺธพีชํ) พืชคือขันธ์ ที่จะพึงเห็นเป็นเช่นใด อหุตฺวา ไม่เคยมี สมฺโภติ ย่อมมามี, หุตฺวา ที่มีแล้ว ปฏิวิคจฺฉติ กลับปราศจากไป, (ยา เอวํ ปสฺสิตพฺพา ปุริมา โกฏิ) ที่สุดข้างต้น ที่จะพึงเห็นเช่นนั้น อันใด,  ปุริมา โกฏิ ส่วนปลาย ข้างต้น เอสาปิ แม้นี้ ปญฺญายติ ย่อมปรากฏ.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน ยํ (ขนฺธพีชํ) พืชคือขันธ์ ใด อหุตฺวา ไม่เคยมี สมฺโภติ ย่อมมามี, หุตฺวา ที่มีแล้ว ปฏิวิคจฺฉติ กลับปราศจากไป, ตํ ตาทิสํ ขนฺธพีชํ พืชคือขันธ์นั้น ฉินฺนํ ที่ถูกตัด อุภโต ขณโต โดยขณะทั้งสอง (ที่เกิดขึ้นและดับไป) คจฺฉติ ย่อมถึง อตฺถํ ซึ่งความดับไป[๖] นนุ มิใช่หรือ อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อโวจ ได้ทูลแล้วว่า ยทิ ถ้า ขนฺธพีชํ พืชคือขันธ์ ฉินฺนํ ที่ถูกตัด อุภโต ขณโต โดยขณะทั้งสอง คจฺฉติ ย่อมถึง อตฺถํ ซึ่งความดับไปแล้ว, ปุริมา โกฏิ ที่สุด ส่วนปลาย ฉินฺนา ที่ถูกตัดขาด อุภโต (ขณโต) โดยขณะทั้งสอง สกฺกา สามารถ วฑฺเฒตุํ = วิปสฺสิตุํ เห็นแจ้ง[๗] หรือ  มหาราช มหาบพิตร ? อิติ ดังนี้.
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบว่า อาม ใช่ ภนฺเต พระคุณเจ้า สาปิ ปุริมา โกฏิ ที่สุด ส่วนปลาย แม้นั้น ฉินฺนา ที่ถูกตัดขาด อุภโต ขณโต โดยขณะทั้งสอง สกฺกา สามารถ วฑฺเฒตุํ เห็นแจ้ง, อหํ โยม น ปุจฺฉามิ มิได้ถาม เอตํ อตฺถํ ถึงความข้อนั้น, (ปุจฺฉามิ) แต่ถามว่า  ปุริมา โกฏิ ส่วนปลายข้างต้น  สกฺกา สามารถ วฑฺเฒตุํ เห็นแจ้ง (นิรนฺตรํ) ไม่ขาดสาย โกฏิโต = ปจฺฉิมโกฏิโต โดยส่วนปลายข้างท้าย หรือ อิติ ดังนี้ ภนฺเต พระคุณเจ้า อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อโวจ ได้ทูลแล้วว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาม ใช่ (ปุริมา โกฏิ) ส่วนปลายข้างต้น สกฺกา สามารถ วฑฺเฒตุํ เห็นแจ้งได้ อิติ ดังนี้
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสว่า ตฺวํ ขอพระคุณเจ้า กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งอุปมา อิติ ดังนี้.
เถโร พระนาคเสนเถระ อกาสิ ได้กระทำแล้ว รุกฺขูปมํ ซึ่งอุปมาด้วยต้นไม้ ตสฺส ถวายพระเจ้ามิลินท์นั้นว่า ขนฺธา จ ขันธ์ท. พีชานิ เป็นพืช ทุกฺขกฺขนฺธสฺส เกวลสฺส ของกองทุกข์ ทั้งปวง อิติ ดังนี้.[๘]
ราชา พระเจ้ามิลินท์ อโวจ ได้ตรัสแล้วว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน ตฺวํ ท่าน กลฺโล เป็นผู้ฉลาด อสิ ย่อมเป็น อิติ ดังนี้.
โกฏิปญฺญายนปญฺโห  ปัญหาว่าด้วยการเกิดขึ้นของเบื้องปลาย
ตติโย ที่ ๓ นิฏฺฐิโต จบแล้ว





[๑] ในที่นี้ แปลโดยอธิปเปตัตถนัย เพราะ อทฺธาน ศัพท์ ในที่นี้มิได้หมายเอา กาล หรือระยะทางตามคำศัพท์ แต่หมายถึง ธรรมที่เกิดขึ้นสืบต่ออย่างสัมพันธ์กันโดยเป็นเหตุและผลที่เป็นไปในกาลทั้งสาม.
[๒] โย โข ในที่นี้ แปลเป็นวิเสสนะของ เอสา ปุริมา โกฏิ. อีกนัยหนึ่ง แปล ๒ ประโยคนี้เป็นอนิยมนิยมะ ตามหลักการแปลทั่วไปว่า อทฺธา ธรรมอันเป็นไปเนื่องด้วยกาล อตีโต ที่เป็นอดีต โย โข อันใด, (เอวํ ยา ปสฺสิตพฺพา ปุริมา โกฏิ) ส่วนปลาย ข้างต้น อันใดที่จะพึงเห็น อย่างนั้น,  ปุริมา โกฏิ ส่วนปลาย ข้างต้น เอสา นี้ ฯลฯ. อนึ่ง ใช่ว่า อดีตอัทธาเท่านั้น จะเป็นส่วนปลายข้างต้น โดยที่แท้รวมเอาอนาคตอัทธาและปัจจุปันนอัทธาไว้ด้วย จะเห็นได้ว่า พระเจ้ามิลินท์ยกคำว่า สพฺพาปิ ปุริมาโกฏิ ซึ่งหมายถึงอัทธา ๓ นั้น ขึ้นมาซักถามในลำดับต่อไป. ท่านเรียกสำนวนโวหารทางพระไตรปิฎกชนิดนี้ ว่า ปธานนัย วิธีการใช้โวหารโดยยกเฉพาะสิ่งที่เป็นประธานเท่านั้นมากล่าว.
[๓] เพิ่มปาฐเสสะว่า เอตสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส เกวลสฺส แปลว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส คือกองทุกข์ เกวลลสฺส ทั้งหมด เอตสฺส นี้ ความว่า อัทธาน ที่แท้ ก็คือ กองทุกข์ทั้งหมดนั่นเอง.
[๔] ประกอบความตามให้เต็มตามอรรกถาว่า ยา สา อตีตสฺส จ  อทฺธานสฺส  ปุริมา โกฏิ, ยา สา อนาคตสฺส จ อทฺธานสฺส ปุริมา โกฏิ, ยา สา ปจฺจุปฺปนฺนสฺส จ อทฺธานสฺส ปุริมา โกฏิ, สา สพฺพาปิ ปุริมา โกฏิ น ปญฺญายติ. ปุริมา โกฏิ ส่วนปลาย ข้างต้น อตีตสฺส อทฺธานสฺส ของธรรมที่ประกอบด้วยกาล อตีตสฺส อันเป็นอดีต, ฯลฯ ปจฺจุปฺปนสฺส อันเป็นปัจจุปัน, ฯลฯ  อนาคตสฺส อันเป็นอนาคต ยา สา อันใด, สา ปุริมา โกฏิ ส่วนปลายข้างต้น นั้น สพฺพาปิ แม้ทั้งหมด น ปญฺญายติ ย่อมไม่ปรากฏ กิํ หรือไร ภนฺเต พระคุณเจ้า
[๕] สพฺเพน สพฺพํ และ สพฺพถา สพฺพํ ในที่นี้แปลเพื่อให้เข้าใจง่าย มีคำแปลโดยสัททัตถนัยว่า โดยประทั้งปวง. อรรถกถาถือสองบทนี้เป็นนิปาตสมุทายะ (ที.สี.อ.๙๘) ความเท่ากับ สพฺพปฺปการโต โดยประการทั้งปวง หรือ อนวเสสํ ไม่มีเหลือ.
แม้ว่าทั้งสองเป็นไวพจน์กันโดยกล่าวถึงความมีทั้งหมดทั้งสิ้น แต่ความหมายกลับต่างกัน โดยที่ สพฺเพน สพฺพํ หมายความว่า ทั้งหมดโดยธรรมที่เป็นตัวสภาวะโดยรวมของอวิชชา กล่าวคือ โมหะ ที่เป็นความไม่รู้ในธรรม ๘ มีอริยสัจเป็นต้น (อภิ.สํ.๑๑๐๖).  ส่วน สพฺพถา สพฺพํ หมายความว่า ทั้งหมดโดยธรรมที่เป็นส่วนย่อยของธรรมที่เป็นอวิชชา กล่าวคือ ความไม่รู้ในทุกขสัจจะ เป็นต้น ที่เป็นองค์หนึ่งของความไม่รู้ในธรรม ๘ นั้น ดังนั้น ถ้าอวิชชาที่โดยสภาวะได้แก่ โมหะ และไม่ว่าจะถูกจำแนกเป็นอะไรก็ตาม ทำหน้าที่อะไรก็ตาม ทั้งหมดนั่นเอง เมื่อไม่มี ที่สุดส่วนปลายก็ไม่ปรากฏ.
เพราะบทนี้เป็นอัพยยะ คือ นิบาต แม้เป็นวิเสสนะของ อวิชฺชา ที่เป็นอิตถีลิงค์ ย่อมคงรูปเดิมไว้.  อย่างไรก็ตาม อาจแปลความจากนิบาตให้เป็นนามศัพท์เพื่อให้เห็นความเป็นวิเสสนะ ตามลิงค์ของวิเสสยะว่า อวิชฺชา อวิชชา สพฺเพน สพฺพํ = สพฺพกาเรน สพฺพา ทั้งหมดโดยประเภท สพฺพถา สพฺพํ = สพฺเพน สภาเวน สพฺพา ทั้งหมดโดยสภาวะ น อโหสิ ไม่ได้มีแล้ว ปุพฺเพ ในกาลก่อน อิโต แต่กาลนี้.  
[๖] อตฺถ ศัพท์ มีความหมายเท่ากับ นาส  พินาศ หรือ ดับไป. (ธาน. ๗๘๕) ซึ่งในที่นี้เป็นบทลงทุติยาวิภัตติ. หรือ อตฺถํ  เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่า อทสฺสน  ก็มี โดยนัยนี้แปลว่า อตฺถํ คจฺฉติ ไปอย่างไม่เห็น คือ หายไป.  (ธาน. ๑๑๕๔)
[๗] วฑฺเฒตุํ แปลโดยสัททัตถนัยว่า เจริญ แต่ในทีนี้แปลโดยโวหารัตถนัยเพื่อให้เห็นความหมายที่แท้จริง ตามที่อรรถถามิลินท์ อธิบายว่า วฑฺเฒตุนฺติ ภาเวตุํ = ญาเณน ปสฺสิตุํ  สามารถทำให้เห็นแจ้งได้ด้วยญาณ กล่าวคืออุทยัพพยญาณ.
[๘] ฎีกามิลินท์อธิบายว่า พีช ศัพท์ ในที่นี้มีอรรถ มูลการณ เหตุที่เป็นมูลราก หมายความว่า ปฏิสนธิขันธ์ทั้งหลายไม่ใช่เป็นปัจจัยเท่านั้น แต่เป็นมูลราก ที่ทำให้กองทุกข์ทั้งสิ้นมีความมั่นคงเจริญงอกงาม เปรียบได้กับรากต้นไม้ฉะนั้น. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น