วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

๑๑. อหิงสานิคคหปัญหา ปัญหาว่าด้วยความไม่เบียดเบียนและการข่มผู้ที่ควรข่ม

 

๑๑. อหิํสานิคฺคหปญฺโห

๑๑. อหิงสานิคคหปัญหา

ปัญหาว่าด้วยความไม่เบียดเบียนและการข่มผู้ที่ควรข่ม

***

๑๑. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา อหิํสยํ ปรํ โลเก, ปิโย โหหิสิ มามโกติฯ ปุน จ ภณิตํ นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ, ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหนฺติฯ นิคฺคโห นาม, ภนฺเต นาคเสน, หตฺถจฺเฉโท ปาทจฺเฉโท วโธ พนฺธนํ การณา มารณํ สนฺตติวิโกปนํ, น เอตํ วจนํ ภควโต ยุตฺตํ, น จ ภควา อรหติ เอตํ วจนํ วตฺตุํฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ตฺวํ ท่าน มามโก เป็นบุคคลที่มีอยู่แห่งเรา[1] อหิํสยํ = อหิํสยนฺโต เมื่อไม่เบียดเบียน[2] ปรํ ซึ่งบุคคลอื่น ปิโย ย่อมเป็นที่รัก โลเก ในโลก โหหิสิ ย่อมเป็น [3] ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้แล้ว, และ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า  (ราชา นาม) ชื่อว่า พระราชา นิคฺคณฺเห = นิคฺคณฺเหยฺย พึงข่ม (กำราบ, ลงโทษ) นิคฺคหารหํ ซึ่งบุคคล ผู้ควรข่ม, ปคฺคณฺเห = ปคฺคณฺเหยฺย พึงยกย่อง ปคฺคหารหํ ซึ่งบุคคลผู้ควรยกย่อง ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ก็ทรงภาษิตไว้. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ นิคฺคโห นาม ชื่อว่า การข่ม หตฺถจฺเฉโท ก็คือ การตัดมือ ปาทจฺเฉโท การตัดเท้า วโธ การประหารชีวิต พนฺธนํ การจองจำ การณา การทรมาน มารณํ การทรมานจนตาย สนฺตติวิโกปนํ การทำลายเครื่องสืบต่อแห่งชีวิต, เอตํ วจนํ คำนั้น (คือ นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ, ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ) น ยุตฺตํ ไม่ควรแล้ว ภควโต แก่พระผู้มีพระภาค, และ ภควา พระผู้มีพระภาค น อรหติ ไม่ควรอยู่ วตฺตุํ เพื่อตรัส เอตํ วจนํ ซึ่งพระดำรัสนั้น.

 [๑๑] พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า อหึสาย จร โลเก ปิโย โหหิสิ มมฺมิว[4] ท่านจงประพฤติแต่ความไม่เบียดเบียนในโลก จักเป็นที่รักของชาวโลก เหมือนอย่างข้าพเจ้า และยังตรัสไว้อีกว่า นิคฺคเณฺห นิคฺคณฺหารหํ ปคฺคเณฺห ปคฺคณฺหารหํ[5] พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง พระคุณเจ้านาคเสน ขึ้นชื่อว่าการข่ม ได้แก่ การตัดมือ การตัดเท้า การฆ่า การจองจำ การให้ทำงานหนัก การทรมานจนตาย การทำลายเครื่องสืบต่อชีวิต คำว่า ข่มนี้ ไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาค และพระผู้มีพระภาคไม่ควรจะตรัสคำนี้

 

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํ อหิํสยํ ปรํ โลเก, ปิโย โหหิสิ มามโก’’ติ, เตน หิ ‘‘นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ, ปคฺคณฺเห ปคฺคหารห’’นฺติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ตถาคเตน ภณิตํ ‘‘นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ, ปคฺคณฺเห ปคฺคหารห’’นฺติ, เตน หิ ‘‘อหิํสยํ ปรํ โลเก, ปิโย โหหิสิ มามโก’’ติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าว่า เอตํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า ตฺวํ ท่าน มามโก เป็นบุคคลที่มีอยู่แห่งเรา อหิํสยํ เมื่อไม่เบียดเบียน ปรํ ซึ่งบุคคลอื่น ปิโย ชื่อว่าเป็นที่รัก โลเก ในโลก โหหิสิ ย่อมเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตไว้ จริงไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น วจนํ พระดำรัส อิติ ว่า (ราชา นาม) ชื่อว่า พระราชา นิคฺคณฺเห พึงข่ม นิคฺคหารหํ ซึ่งบุคคล ผู้ควรข่ม, ปคฺคณฺเห พึงยกย่อง ปคฺคหารหํ ซึ่งบุคคลผู้ควรยกย่อง ดังนี้ ยํ ใด, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิดไป, ยทิ ถ้าว่า วจนํ พระดำรัส อิติ ว่า (ราชา นาม) ชื่อว่า พระราชา นิคฺคณฺเห พึงข่ม นิคฺคหารหํ ซึ่งบุคคล ผู้ควรข่ม, ปคฺคณฺเห พึงยกย่อง ปคฺคหารหํ ซึ่งบุคคลผู้ควรยกย่อง ดังนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ทรงภาษิตไว้ จริง ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ พระดำรัสแม้นั้น อิติ ว่า ตฺวํ ท่าน มามโก เป็นบุคคลที่มีอยู่แห่งเรา อหิํสยํ เมื่อไม่เบียดเบียน ปรํ ซึ่งบุคคลอื่น ปิโย ชื่อว่าเป็นที่รัก โลเก ในโลก โหหิสิ ย่อมเป็น ดังนี้ มิจฺฉา เป็นอันผิดไป. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า จงประพฤติแต่ความไม่เบียดเบียนในโลก ท่านจักเป็นที่รัก เหมือนเราเทียว ดังนี้ จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ดังนี้ ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ดังนี้ จริงไซร้ ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า จงประพฤติแต่ความไม่เบียดเบียนในโลก ท่านจงเป็นที่รักเหมือนเราเทียว ก็ย่อมไม่ถูกต้อง ปัญหาแม้ข้อนี้ ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านพึงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา อหิํสยํ ปรํ โลเก, ปิโย โหหิสิ มามโกติ, ภณิตญฺจ นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ, ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหนฺติอหิํสยํ ปรํ โลเก, ปิโย โหหิสิ มามโกติ สพฺเพสํ, มหาราช, ตถาคตานํ อนุมตํ เอตํ, เอสา อนุสิฏฺฐิ, เอสา ธมฺมเทสนา, ธมฺโม หิ, มหาราช, อหิํสาลกฺขโณ, สภาววจนํ เอตํฯ ยํ ปน, มหาราช, ตถาคโต อาห นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ, ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหนฺติ, ภาสา เอสา, อุทฺธตํ, มหาราช, จิตฺตํ นิคฺคเหตพฺพํ, ลีนํ จิตฺตํ ปคฺคเหตพฺพํฯ อกุสลํ จิตฺตํ นิคฺคเหตพฺพํ, กุสลํ จิตฺตํ ปคฺคเหตพฺพํฯ อโยนิโส มนสิกาโร นิคฺคเหตพฺโพ, โยนิโส มนสิกาโร ปคฺคเหตพฺโพฯ มิจฺฉาปฏิปนฺโน นิคฺคเหตพฺโพ, สมฺมาปฏิปนฺโน ปคฺคเหตพฺโพฯ อนริโย นิคฺคเหตพฺโพ อริโย ปคฺคเหตพฺโพฯ โจโร นิคฺคเหตพฺโพ, อโจโร ปคฺคเหตพฺโพ’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ตฺวํ ท่าน มามโก เป็นบุคคลที่มีอยู่แห่งเรา อหิํสยํ เมื่อไม่เบียดเบียน ปรํ ซึ่งบุคคลอื่น ปิโย ชื่อว่าเป็นที่รัก โลเก ในโลก โหหิสิ ย่อมเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้ จริง, เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า  (ราชา นาม) ชื่อว่า พระราชา นิคฺคณฺเห พึงข่ม นิคฺคหารหํ ซึ่งบุคคล ผู้ควรข่ม, ปคฺคณฺเห พึงยกย่อง ปคฺคหารหํ ซึ่งบุคคลผู้ควรยกย่อง ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตไว้ จริง. มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ ตถาคตานํ อันพระตถาคตทั้งหลาย สพฺเพสํ ทุกพระองค์ อนุมตํ ทรงเห็นพ้องแล้ว เอสา นี่ อนุสิฏฺฐิ เป็นคำอนุศาสน์, เอสา นี่ ธมฺมเทสนา เป็นการแสดงธรรม (สพฺเพสํ ตถาคตานํ) แห่งพระตถาคตทั้งหลาย ทุกพระองค์, มหาราช มหาบพิตร ธมฺโม พระธรรม อหิํสาลกฺขโณ มีความไม่เบียดเบียนเป็นลักษณะ, เอตํ นั่น สภาววจนํ เป็นคำแสดงสภาวะ, มหาราช มหาบพิตร ปน แต่ ตถาคโต พระตถาคต อาห ตรัสแล้ว ยํ ซึ่งพระดำรัสใด อิติ ว่า (ราชา นาม) ชื่อว่า พระราชา นิคฺคณฺเห พึงข่ม นิคฺคหารหํ ซึ่งบุคคล ผู้ควรข่ม, ปคฺคณฺเห พึงยกย่อง ปคฺคหารหํ ซึ่งบุคคลผู้ควรยกย่อง ดังนี้, เอสา นี่ ภาสา เป็นภาษา (สำหรับเทศนา), จิตฺตํ จิต อุทฺธตํ ซึ่งฟุ้งซ่าน (ปุคฺคเลน)  นิคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงข่ม, จิตฺตํ จิต ลีนํ ที่ถดถอย (ปุคฺคเลน) ปคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงยกขึ้น, จิตฺตํ จิต อกุสลํ ฝ่ายอกุศล (ปุคฺคเลน) นิคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงข่ม,จิตฺตํ จิต กุสลํ ฝ่ายกุศล (ปุคฺคเลน) ปคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงยกขึ้น,อโยนิโส มนสิกาโร การใส่ใจไม่ถูกทาง (ปุคฺคเลน)  นิคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงข่ม, โยนิโส มนสิกาโร การใส่ใจถูกทาง (ปุคฺคเลน) ปคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงยกขึ้น, มิจฺฉาปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติผิด (ปุคฺคเลน)  นิคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงข่ม, สมฺมาปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติถูก (ปุคฺคเลน)  ปคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงยกขึ้น, อนริโย ผู้มิใช่อริยะ (ไม่ใช่คนเจริญ?) (ปุคฺคเลน) นิคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงข่ม, อริโย ผู้เป็นอริยะ (ปุคฺคเลน)  ปคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงยกย่อง, โจโร โจร (ปุคฺคเลน) นิคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงข่ม, อโจโร ผู้มิใช่โจร (ปุคฺคเลน)  ปคฺคเหตพฺพํ อันบุคคลพึงยกย่อง ดังนี้

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า จงประพฤติแต่ความไม่เบียดเบียนในโลก ท่านจักเป็นที่รักเหมือนเราเทียว ดังนี้ จริง และตรัสไว้ว่า พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ดังนี้จริง ขอถวายพระพร คำว่า จงประพฤติแต่ความไม่เบียดเบียนในโลก ท่านจักเป็นที่รัก เหมือนเราเทียว ดังนี้ นี้ เป็นคำที่พระตถาคตทุกพระองค์ทรงเห็นชอบ นี้เป็นคำที่ทรงอนุศาสน์ นี้เป็นธรรมเทศนาของพระตถาคตทุกพระองค์ ขอถวายพระพร เป็นความจริงว่า พระธรรมมีความไม่เบียดเบียนเป็นลักษณะ คำนี้ จึงเป็นคำที่ตรัสไว้ตามสภาวะ ขอถวายพระพร ส่วนคำที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ดังนี้ นี้เป็นเพียงภาษา ขอถวายพระพร จิตที่ฟุ้ง พึงข่มเสีย จิตที่หดหู่ พึงยกขึ้น อกุศลจิต พึงข่มเสีย กุศลจิตพึงยกขึ้น อโยนิโสมนสิการ พึงข่มเสีย โยนิโสมนสิการ พึงยกขึ้น ผู้ปฏิบัติผิด พึงข่มเสีย ผู้ปฏิบัติตาม พึงยกย่อง ผู้ไม่ใช่อริยะพึงข่มเสีย ผู้เป็นอริยะ พึงยกย่อง ผู้เป็นโจรพึงข่มเสีย ผู้ไม่ใช่โจรพึงยกย่อง ดังนี้

 

‘‘โหตุ, ภนฺเต นาคเสน, อิทานิ ตฺวํ ปจฺจาคโตสิ มม วิสยํ, ยมหํ ปุจฺฉามิ, โส เม อตฺโถ อุปคโตฯ โจโร ปน, ภนฺเต นาคเสน, นิคฺคณฺหนฺเตน กถํ นิคฺคเหตพฺโพ’’ติ?

ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, (เอวํ วุตฺตวจนํ) คำที่ท่านกล่าวมา อย่างนี้ โหตุ จงมีเถิด (คำที่ท่านว่ามา ก็ขอให้เป็นไปตามนั้น ก่อน), อิทานิ บัดนี้ ตฺวํ ท่าน ปจฺจาคโตสิ หวนกลับมา วิสยํ สู่วิสัย มม ของข้าพเจ้า, อหํ ข้าพเจ้า ปุจฺฉามิ ถามอยู่ ยํ อตฺถํ ซึ่งประโยชน์ใด, โส อตฺโถ ประโยชน์ (สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการ) นั้น อุปคโต มาถึงแล้ว เม แก่ข้าพเจ้า, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปน ก็ โจโร โจร นิคฺคณฺหนฺเตน อันบุคคลผู้ข่มอยู่ นิคฺคเหตพฺโพ พึงข่ม กถํ อย่างไร ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ เอาละ พระคุณเจ้านาคเสน ตัวท่านได้กลับมายังวิสัยของข้าพเจ้าแล้ว[6] ข้าพเจ้าถามเพื่อประโยชน์ใด ข้าพเจ้าก็ได้บรรลุถึงประโยชน์นั้นแล้ว พระคุณเจ้านาคเสน ผู้ที่จะข่มโจร จะพึงข่มอย่างไร ?”

 

‘‘โจโร, มหาราช, นิคฺคณฺหนฺเตน เอวํ นิคฺคเหตพฺโพ, ปริภาสนีโย ปริภาสิตพฺโพ, ทณฺฑนีโย ทณฺเฑตพฺโพ, ปพฺพาชนีโย ปพฺพาเชตพฺโพ, พนฺธนีโย พนฺธิตพฺโพ, ฆาตนีโย ฆาเตตพฺโพ’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร  โจโร โจร นิคฺคณฺหนฺเตน อันบุคคลผู้ข่มอยู่ นิคฺคเหตพฺโพ พึงข่ม เอวํ อย่างนี้, ปริภาสนีโย ผู้ควรด่า นิคฺคณฺหนฺเตน อันบุคคลผู้ข่มอยู่ ปริภาสิตพฺโพ พึงด่า, ทณฺฑนีโย ผู้ควรลงทัณฑ์ นิคฺคณฺหนฺเตน อันบุคคลผู้ข่มอยู่ ทณฺเฑตพฺโพ พึงลงทัณฑ์, ปพฺพาชนีโย ผู้ควรถูกขับไล่ นิคฺคณฺหนฺเตน อันบุคคลผู้ข่มอยู่ ปพฺพาเชตพฺโพ พึงขับไล่, พนฺธนีโย ผู้ควรจองจำ นิคฺคณฺหนฺเตน อันบุคคลผู้ข่มอยู่ พนฺธิตพฺโพ ควรจองจำ, ฆาตนีโย ผู้ควรประหารชีวิต นิคฺคณฺหนฺเตน อันบุคคลผู้ข่มอยู่ ฆาเตตพฺโพ ควรประหารชีวิต ดังนี้

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร ผู้ที่จะข่มโจร พึงข่มอย่างนี้ ถ้าควรด่า ก็ต้องด่า ถ้าควรลงทัณฑ์ ก็ควรลงทัณฑ์ ถ้าควรขับไล่ ก็ต้องขับไล่ ถ้าควรจองจำ ก็ต้องจองจำ ถ้าควรฆ่า ก็ต้องฆ่า

 

 ‘‘ยํ ปน, ภนฺเต นาคเสน, โจรานํ ฆาตนํ, ตํ ตถาคตานํ อนุมต’’นฺติ?

 มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, ปน ก็ ฆาตนํ การฆ่า โจรานํ ซึ่งโจรทั้งหลาย ยํ ใด, ตํ การฆ่าโจรทั้งหลายนั้น ตถาคตานํ อันพระตถาคตทั้งหลาย อนุมตํ ทรงเห็นพ้องแล้วด้วย หรือ? ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระตถาคตทั้งหลายทรงเห็นชอบการฆ่าพวกโจรหรือ

 

‘‘น หิ, มหาราชา’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร หิ ก็ (ตํ โจรานํ ฆาตนํ) การฆ่าโจรทั้งหลายนั้น ตถาคตานํ อันพระตถาคตทั้งหลาย อนุมตํ ทรงเห็นพ้องแล้วด้วย หามิได้ ดังนี้.

พระนาคเสน หามิได้ มหาบพิตร

 

‘‘กิสฺส ปน โจโร อนุสาสนีโย อนุมโต ตถาคตาน’’นฺติ?

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ปน ก็ โจโร โจร อนุสาสนีโย เป็นบุคคลผู้ควรสั่งสอน ตถาคตานํ อันพระตถาคตทั้งหลาย อนุมโต ทรงเห็นพ้องแล้ว กิสฺส หรือไร ดังนี้

 พระเจ้ามิลินท์ โจร ก็เป็นผู้ที่พระตถาคตทรงเห็นชอบว่า เป็นผู้ที่ควรอนุศาสน์ (พร่ำสอน) หรือ ?”

 

‘‘โย โส, มหาราช, ฆาตียติ, น โส ตถาคตานํ อนุมติยา ฆาตียติ, สยํกเตน โส ฆาตียติ, อปิ จ ธมฺมานุสิฏฺฐิยา อนุสาสียติ, สกฺกา ปน, มหาราช, ตยา ปุริสํ อการกํ อนปราธํ วีถิยํ จรนฺตํ คเหตฺวา ฆาตยิตุ’’นฺติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร โย โส โจโร โจรผู้ใด ฆาตียติ ย่อมถูกประหารชีวิต, โส โจโร โจรนั้น ตถาคตานํ อันพระตถาคตทั้งหลาย น ฆาตียติ ให้ทรงประหารชีวิตอยู่ อนุมติยา เพราะความเห็นชอบ หามิได้, โส โจโร โจรนั้น สยํกเตน (กมฺเมน) อันกรรมซึ่งตนทำแล้วด้วยตนเองนั่นแหละ ฆาตียติ ย่อมให้ถูกประหารชีวิต, อปิ จ อีกอย่างหนึ่ง โส โจโร โจรนั้น อันพระตถาคตทั้งหลาย อนุสาสียติ ย่อมอนุสาสน์ ธมฺมานุสิฏฺฐิยา ด้วยคำอนุศาสน์คือธรรมเทศนา, มหาราช มหาบพิตร ตยา อันพระองค์ สกฺกา อาจ ฆาตยิตุํ เพื่ออัน ... คเหตฺวา จับ ปุริสํ ซึ่งบุรุษ อการกํ ผู้มิได้กระทำความผิด อนปราธํ ปราศจากโทษ จรนฺตํ ซึ่งเที่ยวไป วีถิยํ บนถนน ... แล้วประหารชีวิต หรือไร ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร โจรที่ถูกฆ่า หาได้ถูกฆ่า เพราะพระตถาคตทรงเห็นชอบไม่ โจรผู้นั้น ถูกฆ่า เพราะกรรมที่ตนเองได้ทำไว้ ก็แต่ว่า พระตถาคตจะทรงอนุศาสน์ (พวกโจร) ด้วยคำอนุศาสน์ คือ ธรรมเทศนา ขอถวายพระพร พระองค์ทรงอาจจับเอาบุรุษผู้ไม่ได้ทำผิด ผู้หาโทษมิได้ ซึ่งกำลังเดินอยู่ที่ถนนไปฆ่าได้หรือไม่ ?”

 

‘‘น สกฺกา, ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มยา อันข้าพเจ้า น สกฺกา ไม่อาจ ฆาตยิตุํ เพื่ออัน .... คเหตฺวา จับ ปุริสํ ซึ่งบุรุษ อการกํ ผู้มิได้กระทำความผิด อนปราธํ ปราศจากโทษ จรนฺตํ ซึ่งเที่ยวไป วีถิยํ บนถนน ... แล้วประหารชีวิต ดังนี้

พระเจ้ามิลินท์ ไม่อาจทำได้หรอก พระคุณเจ้า

 

‘‘เกน การเณน, มหาราชา’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลถามแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตํ (ตยา น สกฺกาอการกํ คเหตฺวา ฆาตยิตุํ) อันมหาบพิตร ไม่อาจ จับบุคคลผู้ไม่มีความผิดมาแล้วประหารชีวิตนั้น โหติ ย่อมมี เกน การเณน เพราะเหตุไร ดังนี้

พระนาคเสน เพราะเหตุไรหรือ มหาบพิตร

 

‘‘อการกตฺตา, ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตํ (มยา น สกฺกาอการกํ คเหตฺวา ฆาตยิตุํ) อันข้าพเจ้า ไม่อาจ จับบุคคลผู้ไม่มีความผิดมาแล้วประหารชีวิตนั้น โหติ ย่อมมี อการกตฺตา เพราะความเป็นบุคคลผู้กระทำความผิดหามิได้ ดังนี้

พระเจ้ามิลินท์ เพราะเขาไม่ใช่คนทำผิด พระคุณเจ้า

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, น โจโร ตถาคตานํ อนุมติยา หญฺญติ, สยํกเตน โส หญฺญติ, กิํ ปเนตฺถ อนุสาสโก กิญฺจิ โทสํ อาปชฺชตี’’ติ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร โข ตํ การณํ เหตุนั้น เอวเมว โข ก็ฉันนั้นนั่นเทียวแล, โจโร โจร หญฺญติ ถูกฆ่า อนุมติยา เพราะความเห็นชอบ ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย หามิได้, โส โจโร โจรนั้น หญฺญติ ย่อมถูกฆ่า สยํกเตน กมฺเมน เพราะกรรมที่ตนทำแล้วด้วยตนเอง, ปน ก็ อนุสาสโก ผู้อนุศาสน์ อาปชฺชติ จะถึง โทสํ ซึ่งโทษ กิญฺจิ ไรๆ เอตฺถ ในเรื่องนี้ กิํ ละหรือ ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกันแล โจรหาได้ถูกฆ่า เพราะพระตถาคตทรงเห็นชอบไม่ เขาถูกฆ่าเพราะความผิดที่ตนเองได้ทำไว้ ก็แต่ว่า ในเรื่องนี้ ผู้ที่อนุศาสน์โจร จะได้รับโทษอะไรบ้างหรือ ?”

 

‘‘น หิ ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หิ ก็ น อาปขฺชติ ย่อมไม่ถึง กิญฺจิ โทสํ ซึ่งโทษไรๆ ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ไม่ได้รับหรอก พระคุณเจ้า

 

‘‘เตน หิ, มหาราช, ตถาคตานํ อนุสิฏฺฐิ สมฺมานุสิฏฺฐิ โหตี’’ติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เตน หิ ถ้าอย่างนั้น อนุสิฏฺฐิ คำพร่ำสอน ตถาคตานํ แห่งพระตถาคตทั้งหลาย สมฺมานุสิฏฺฐิ เป็นคำอนุศาสน์โดยชอบ โหติ ย่อมเป็น ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น คำที่พระตถาคตอนุศาสน์ (พวกโจร) ก็ย่อมจัดว่าเป็นคำอนุศาสน์โดยชอบ

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตามที่ท่านกล่าวมาอย่างนี้ นี้

 

อหิํสานิคฺคหปญฺโห เอกาทสโมฯ

อหิํสานิคฺคหปญฺโห อหิงสานิคคหปัญหา เอกาทสโม ลำดับที่ ๑๑

นิฏฺฐิโต จบแล้ว

อหิงสานิคคหปัญหาที่ ๑๑ จบ



[1] คำนี้แปลตาม มิลินทฏีกาแก้ศัพท์นี้เป็น มม สนฺตโก, มม สาวโก หมายความว่า เป็นสาวกของเรา

[2] แก้ศัพท์นี้ตามที่ฉบับสำนวนล้านนาแปลไว้.

[3] ข้อความนี้คล้ายกับพระบาฬีชาดก คือ จกฺกวากชาตก (ขุ.ชา.๒๗/๑๔๓).

โส กรสฺสุ อานุภาวํ, วีติวตฺตสฺสุ สีลิยํ;

อหิํสาย จร โลเก, ปิโย โหหิสิ มํมิวฯ

และชาตกฏฺฐกถา อธิบายว่า

อหิํสายาติ อหิํสาย สมนฺนาคโต หุตฺวา โลเก จรฯ ปิโย โหหิสิ มํมิวาติ เอวํ สนฺเต มยา สทิโสว โลกสฺส ปิโย โหหิสิฯ (ชาตกฏฺฐกถา) แปลตามปาฐะในพระบาฬีชาดกและอรรถว่า อหิํสาย สมนฺนาคโต หุตฺวา จร จงเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความไม่เบียดเบียนเที่ยวไปในโลก. อย่างไรก็ตาม ฉบับมหาจุฬา ก็ดี ฉบับของไทย ก็ดี ใช้ปาฐะตามพระบาฬีชาดกนี้. แต่ในที่นี้ใช้ปาฐะตามฉบับฉัฏฐสังคีติ.

[4] ขุ.ชา. มหาจุฬาเตปิฎก ๒๗/๑๔๓/๒๓๑

[5] ขุ.ชา. มหาจุฬาเตปิฏก ๒๗/๑๙/๔๒๘ เตสกุณชาดก. อรรถกถาชาดกอธิบายข้อความนี้ไว้ว่า นิคฺคณฺเหติ, ตาต, ราชา นาม สนฺธิจฺเฉทาทิการกํ นิคฺคหารหํ อาเนตฺวา ทสฺสิตํ อุปปริกฺขิตฺวา โสเธตฺวา โปราณกราชูหิ ฐปิตทณฺฑํ โอโลเกตฺวา โทสานุรูปํ นิคฺคณฺเหยฺยฯ ปคฺคณฺเหติ โย ปน ปคฺคหารโห โหติ, อภินฺนสฺส วา ปรพลสฺส เภเทตา, ภินฺนสฺส วา สกพลสฺส อาราธโก, อลทฺธสฺส วา รชฺชสฺส อาหรโก, ลทฺธสฺส วา ถาวรการโก, เยน วา ปน ชีวิตํ ทินฺนํ โหติ, เอวรูปํ ปคฺคหารหํ ปคฺคเหตฺวา มหนฺตํ สกฺการสมฺมานํ กเรยฺยฯ เอวํ หิสฺส กิจฺเจสุ อญฺเญปิ อุรํ ทตฺวา กตฺตพฺพํ กริสฺสนฺติฯ

[6] คือ ไม่อาจตั้งอยู่ในวิสัย คือ มติอันเป็นเขตแดนของท่านได้ ทว่า กลับมาตั้งอยู่ในวิสัยของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นโอกาสที่ข้าพเจ้าสามารถข่มขี่วาทะของท่าน ให้ท่านจำต้องยอมรับคำของข้าพเจ้า ไม่อาจปฏิเสธได้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น