วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566

๑๒. ภิกฺขุปณามิตปญฺโห ๑๒. ภิกขุปณามิตปัญหา ปัญหาว่าด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าขับไล่ภิกษุ

 

๑๒. ภิกฺขุปณามิตปญฺโห

๑๒. ภิกขุปณามิตปัญหา

ปัญหาว่าด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าขับไล่ภิกษุ

****

๑๒. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตาอกฺโกธโน วิคตขิโลหมสฺมีติ, ปุน จ ตถาคโต เถเร สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเน สปริเส ปณาเมสิ, กิํ นุ โข, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต กุปิโต ปริสํ ปณาเมสิ, อุทาหุ ตุฏฺโฐ ปณาเมสิ, เอตํ ตาว ชานาหิ อิมํ นามาติ? ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, กุปิโต ปริสํ ปณาเมสิ, เตน หิ ตถาคตสฺส โกโธ อปฺปฏิวตฺติโต, ยทิ ตุฏฺโฐ ปณาเมสิ, เตน หิ อวตฺถุสฺมิํ อชานนฺเตน ปณามิตาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อหํ เรา อกฺโกธโน เป็นผู้ไม่โกรธ วิคตขิโล มีกิเลสดุจตะปูตรึงใจไปปราศแล้ว อสฺมิ ย่อมเป็น ดังนี้[1]  ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้, แต่ว่า ปุน อีกครั้งหนึ่ง ตถาคโต พระตถาคต ปณาเมสิ ทรงขับไล่แล้ว เถเร ซึ่งพระเถระทั้งหลาย สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเน คือ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ สปริเส ผู้เป็นไปกับด้วยบริษัท (วจเนน) ด้วยพระดำรัส (อิติ) ว่า (คจฺฉถ ภิกฺขเว ปณาเมมิ โว, น โว มม สนฺติเก วตฺถพฺพํ[2] ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย ตุมฺเห เธอทั้งหลาย คจฺฉถ จงไป, อหํ เรา ปณาเมมิ ขอขับไล่ โว ซึ่งเธอทั้งหลาย, โว=ตุมฺเห เธอทั้งหลาย น วตฺถพฺพํ ไม่ควรอยู่ สนฺติเก ในสำนัก มม ของเรา) ดังนี้, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตถาคโต พระตถาคต กุปิโต ทรงกริ้วแล้ว ปณาเมสิ ทรงขับไล่แล้ว ปริสํ ซึ่งบริษัท กิํ นุ โข หรือหนอแล, อุทาหุ หรือว่า ตุฏฺโฐ ทรงยินดีแล้ว ปณาเมสิ ทรงขับไล่,  ตฺวํ ท่าน ชานาหิ จงรู้ (ตถาคตสฺส ปณามิตการณํ) ซึ่งเหตุแห่งการขับไล่ ของพระตถาคต อิติ ว่า (ตถาคโต) พระตถาคต (นิสฺสาย) อาศัยแล้ว  อิมํ (การณํ) นาม ชื่อซึ่งเหตุนี้ (ปณาเมสิ) ทรงขับไล่ (ปริสํ) ซึ่งบริษัท ดังนี้ ตาว ก่อน, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า ตถาคโต พระตถาคต กุปิโต ทรงกริ้วแล้ว  ปณาเมสิ ทรงขับไล่แล้ว ปริสํ ซึ่งบริษัท ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น โกโธ ความโกรธ ตถาคตสฺส ของพระตถาคต อปฺปฏิวตฺติโต มิได้ถอยกลับแล้ว, ยทิ ถ้าหากว่า ตุฏฺโฐ ทรงยินดีแล้ว ปณาเมสิ ทรงขับไล่ ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลาย ตถาคเตน อันพระตถาคต อชานนฺตน ผู้ทรงไม่ทราบ (วตฺถุอวตฺถูนิ) ซึ่งเหตุและไม่ใช่เหตุทั้งหลาย ปณามิตา ทรงขับไล่แล้ว อวตฺถุสฺมิํ ในเพราะสิ่งที่ไม่ใช่เหตุแห่งการขับไล่, อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

[๑๒] พระเจ้ามิลินท์ พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า อกฺโกธโน วิคตขิโลหมสฺมิ เราเป็นผู้ไม่โกรธ ปราศจากกิเลสดุจตะปูตรึงใจ แต่ว่า อีกครั้งหนึ่ง พระตถาคตทรงขับไล่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานเถระพร้อมทั้งบริษัท (ด้วยคำว่า คจฺฉถ ภิกฺขเว ปณาเมมิ โว, น โว มม สนฺติเก วตฺถพฺพํ[3] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงไป เราขอขับไล่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา ดังนี้) พระคุณเจ้านาคเสน พระตถาคตทรงกริ้วหรือ จึงทรงขับไล่บริษัท หรือว่า ทรงดีพระทัยอยู่ ก็ขับไล่เล่า ข้อนี้ ท่านต้องรู้ก่อนเทียว พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า พระตถาคตทรงกริ้ว จึงขับไล่บริษัทไซร้ ถ้าอย่างนั้น พระตถาคตก็ยังทรงเลิกละความโกรธมิได้ ถ้าหากว่า ทรงดีพระทัยอยู่ ก็ยังทรงขับไล่ไซร้ ก็เป็นอันว่า ไม่ทรงรู้อยู่ จึงทรงขับไล่ในเรื่องที่ไม่สมควร ปัญหาแม้นี้ ก็มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านพึงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา อกฺโกธโน วิคตขิโลหมสฺมีติ, ปณามิตา จ เถรา สาริปุตฺตโมคฺคลฺลานา สปริสา, ตญฺจ ปน น โกเปน, อิธ, มหาราช, โกจิเทว ปุริโส มหาปถวิยา มูเล วา ขาณุเก วา ปาสาเณ วา กฐเล วา วิสเม วา ภูมิภาเค ขลิตฺวา ปตติ, อปิ นุ โข, มหาราช, มหาปถวี กุปิตา ตํ ปาเตตี’’ติ?

   นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อหํ เรา อกฺโกธโน เป็นผู้ไม่โกรธ วิคตขิโล มีกิเลสดุจตะปูตรึงใจไปปราศแล้ว อสฺมิ ย่อมเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้ จริง, อนึ่ง ปุน อีกครั้งหนึ่ง ตถาคโต พระตถาคต ปณาเมสิ ทรงขับไล่แล้ว เถเร ซึ่งพระเถระทั้งหลาย สาริปุตฺตโมคฺคลฺลาเน คือ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ สปริเส ผู้เป็นไปกับด้วยบริษัท จริง, จ ปน ก็แต่ว่า ตํ (ปริสปณมนํ) การที่ทรงขับไล่บริษัทนั้น ตถาคเตน อันพระตถาคต กตํ ทรงกระทำแล้ว โกเปน ด้วยความโกรธ หามิได้, มหาราช มหาบพิตร อิธ ในโลกนี้ ปุริโส บุรุษ โกจิเทว บางคนนั่นเทียว ขลิตฺวา ปตติ พลาดล้มลง ปถวิยา บนแผ่นดินใหญ่ มูเล วา ที่รากไม้ หรือ, ขาณุเก วา หรือที่ตอไม้, ปาสาเณ วา หรือที่แผ่นหิน, กฐเล วา หรือที่โคลนตม, วิสเม วา ภูมิภาเค หรือที่พื้นดินขลุขละ, มหาราช มหาบพิตร มหาปถวี แผ่นดินใหญ่ กุปิตา โกรธแล้ว ตํ (ปุริสํ) ยังบุรุษนั้น ปาเตติ ให้ล้มลง หรือไม่ ? ดังนี้.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า เราเป็นผู้ไม่โกรธ ปราศจากกิเลสดุจตะปูตรึงใจ ดังนี้ จริง และทรงขับไล่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเถระ พร้อมทั้งบริษัทจริง แต่ว่า ข้อที่ทรงขับไล่บริษัทนั้น หาได้ทรงทำไปเพราะความขุ่นเคืองไม่ ขอถวายพระพร บุรุษบางคนในโลกนี้ พลาดล้มลงไปบนแผ่นดินใหญ่ ตรงที่มีแต่รากไม้ก็ดี ตรงที่มีแต่ตอก็ดี ตรงที่มีแต่หินก็ดี ตรงที่มีแต่โคลนตมก็ดี ตรงพื้นดินที่ขรุขระก็ดี ขอถวายพระพร แผ่นดินใหญ่ขุ่นเคือง ทำบุรุษคนนั้นให้ล้มลงไปหรือหนอ ?”

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, นตฺถิ มหาปถวิยา โกโป วา ปสาโท วา, อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา มหาปถวี, สยเมว โส อลโส ขลิตฺวา ปติโตติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โกโป วา  ความโกรธ, ปสาโท วา หรือความยินดี มหาปถวิยา ของแผ่นดินใหญ่ นตฺถิ ย่อมไม่มี, มหาปถวี แผ่นดินใหญ อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา พ้นดีจากความยินดีและขัดเคืองแล้ว, โส บุรุษนั้น อลโส อ่อนแอ[4] ขลิตฺวา ปติโต พลาดล้มลงแล้ว สยเมว เองนั่นเทียว ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ หามิได้ พระคุณเจ้า แผ่นดินใหญ่หามีความขุ่นเคืองหรือความชื่นชมไม่ แผ่นดินใหญ่ปลอดพ้นจากความดีใจ เสียใจ บุรุษผู้นั้นซุ่มซ่ามเองเทียว จึงพลาดล้มลงไป

 

เอวเมว โข, มหาราช, นตฺถิ ตถาคตานํ โกโป วา ปสาโท วา, อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา ตถาคตา อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา, อถ โข สยํ กเตเนว เต อตฺตโน อปราเธน ปณามิตาฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อิทํ โอปมฺมสมฺปฏิปาทานํ คำเป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ ตยา มหาบพิตร เวทิตพฺพํ พึงทราบ เอวเมว ฉันนั้นนั่นเทียว, โกโป วา ความโกรธ, ปสาโท วา หรือความยินดี ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย นตฺถิ ย่อมไม่มี, ตถาคตา อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา ทรงเป็นผู้พ้นจากความยินดีและขัดเคืองแล้ว, อถ โข โดยที่แท้แล้ว เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ตถาคเตน อันพระตถาคต ปณามิตา ทรงขับไล่แล้ว อปราเธน ด้วยความผิด อตฺตโน = อตฺตนา อันตน กเตน ทำแล้ว สยํ ด้วยตนเอง เอว นั่นเทียว.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระตถาคตทั้งหลาย ก็ไม่ทรงมีความขุ่นเคือง หรือความชื่นชม พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเป็นผู้ปลอดพ้นแล้ว จากความดีใจ เสียใจ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นอันถูกขับไล่ เพราะความผิดที่ตนได้ทำไว้เอง

 

‘‘อิธ ปน, มหาราช, มหาสมุทฺโท น มเตน กุณเปน สํวสติ, ยํ โหติ มหาสมุทฺเท มตํ กุณปํ, ตํ ขิปฺปเมว นิจฺฉุภติ ถลํ อุสฺสาเรติฯ อปิ นุ โข, มหาราช, มหาสมุทฺโท กุปิโต ตํ กุณปํ นิจฺฉุภตี’’ติ?

มหาราช มหาบพิตร  ปน ก็ อิธ ในโลกนี้ มหาสมุทฺโท มหาสมุทร น สํวสติ ย่อมไม่อยู่ร่วมกัน กุณเปน ด้วยซากศพ มเตน ที่ตายแล้ว, กุณปํ ซากศพ[5] มตํ ที่ตายแล้ว ยํ อันใด มหาสมุทฺเท ในมหาสมุทร โหติ มีอยู่, มหาสมุทฺโท มหาสมุทร นิจฺฉุเภติ ย่อมซัดไป ตํ ซึ่งซากศพที่ตายแล้วนั้น (ตํ) ยังซากศพนั้น อุสฺสาเรติ ให้ลอยขึ้น ถลํ บนบก. มหาราช มหาบพิตร มหาสมุทฺโท มหาสมุทร กุปิโต โกรธแล้ว นิจฺฉุภติ ย่อมซัด ตํ กุณปํ ซึ่งซากศพนั้น อปิ นุ โข หรือหนอแล ดังนี้.

ขอถวายพระพร มหาสมุทรในโลกนี้ ย่อมไม่อยู่ร่วมกับซากสัตว์ตาย มหาสมุทรจะซัดซากสัตว์ตายที่มีอยู่ในมหาสมุทรให้ลอยขึ้นฝั่งไป ขอถวายพระพร มหาสมุทรขุ่นเคืองซัดซากศพนั้นหรือ ?”

 

‘‘น หิ, ภนฺเต, นตฺถิ มหาสมุทฺทสฺส โกโป วา ปสาโท วา, อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺโต มหาสมุทฺโท’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โกโป วา  ความโกรธ, ปสาโท วา หรือความยินดี มหาสมุทฺทสฺส ของมหาสมุทร นตฺถิ ย่อมไม่มี, มหาสมุทฺโท มหาสมุทร อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา พ้นดีจากความยินดีและขัดเคืองแล้ว ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ หามิได้ พระคุณเจ้า มหาสมุทรหามีความขุ่นเคือง หรือความชื่นชมไม่ มหาสมุทรปลอดพ้นจากความดีใจ ความเสียใจ

 

 ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, นตฺถิ ตถาคตานํ โกโป วา ปสาโท วา, อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา ตถาคตา อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา, อถ โข สยํ กเตเนว เต อตฺตโน อปราเธน ปณามิตาฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร อิทํ โอปมฺมสมฺปฏิปาทานํ คำเป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ ตยา มหาบพิตร เวทิตพฺพํ พึงทราบ เอวเมว ฉันนั้นนั่นเทียว, โกโป วา ความโกรธ, ปสาโท วา หรือความยินดี ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย นตฺถิ ย่อมไม่มี, ตถาคตา อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺตา ทรงเป็นผู้พ้นจากความยินดีและขัดเคืองแล้ว, อถ โข โดยที่แท้แล้ว เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ตถาคเตน อันพระตถาคต ปณามิตา ทรงขับไล่แล้ว อปราเธน ด้วยความผิด อตฺตโน ของตน  (อตฺตนา) อันตน กเตน ทำแล้ว สยํ เอง เอว นั่นเทียว.

พระนาคเสน ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระตถาคตทั้งหลายก็ไม่ทรงมีความขุ่นเคือง หรือความชื่นชม พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ปลอดพ้นแล้วจากความดีใจ ความเสียใจ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นอันถูกขับไล่เพราะความผิดที่ตนได้ทำไว้เอง

 

‘‘ยถา, มหาราช, ปถวิยา ขลิโต ปตียติ, เอวํ ชินสาสนวเร ขลิโต ปณามียติฯ ยถา, มหาราช, สมุทฺเท มตํ กุณปํ นิจฺฉุภียติ, เอวํ ชินสาสนวเร ขลิโต ปณามียติฯ ยํ ปน เต, มหาราช, ตถาคโต ปณาเมสิ, เตสํ อตฺถกาโม หิตกาโม สุขกาโม วิสุทฺธิกาโม เอวํ อิเม ชาติชราพฺยาธิมรเณหิ ปริมุจฺจิสฺสนฺตีติ ปณาเมสี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปุริโส บุรุษ ขลิโต ผู้พลาดแล้ว ปถวิยา บนแผ่นดิน ปตียติ ย่อมล้มลง ยถา ฉันใด, ภิกฺขุ ภิกษุ ขลิโต ผู้พลาดแล้ว ชินสาสนวเร ในศาสนาอันประเสริฐของพระชินเจ้า ตถาคเตน อันพระตถาคต ปณามียติ ทรงขับไล่ เอวํ ฉันนั้น, มหาราช มหาบพิตร กุณปํ ซากสัตว์ มตํ อันตายแล้ว สมุทฺเท ในมหาสมุทร มหาสมุทฺเทน อันมหาสมุทร นิจฺฉุภียติ ย่อมซัดออกไป ยถา ฉันใด, ภิกฺขุ ภิกษุ ขลิโต ผู้พลาดแล้ว ชินสาสนวเร ในศาสนาอันประเสริฐของพระชินเจ้า ตถาคเตน อันพระตถาคต ปณามียติ ทรงขับไล่ เอวํ ฉันนั้น, มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ ตถาคโต พระตถาคต ปณาเมสิ ทรงขับไล่แล้ว เต ภิกฺขู ซึ่งภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น ยํ เพราะเหตุไร?[6] ตถาคโต พระตถาคต อตฺถกาโม ทรงเป็นผู้หวังประโยชน์, หิตกาโม ทรงเป็นผู้หวังความเกื้อกูล, สุขกาโม ทรงเป็นผู้หวังความสุข, วิสุทฺธิกาโม ทรงเป็นผู้หวังความบริสุทธิ์ เตสํ ภิกฺขูนํ แห่งภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น จินฺเตตฺวา ทรงดำริแล้ว อิติ ว่อิเม ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ปริมุจฺจิสฺสนฺติ จักหลุดพ้น ชาติชราพฺยาธิมรเณหิ จากชาติชราพยาธิและมรณะ เอวํ ด้วยวิธีนี้ ปณาเมสิ จึงทรงขับไล่ ดังนี้.

ขอถวายพระพร บุรุษผู้พลาดพลั้งบนแผ่นดิน ย่อมล้มลงไปฉันใด ภิกษุผู้ผิดพลาดในพระศาสนาอันประเสริฐของพระชินเจ้า ย่อมถูกขับไล่ ฉันนั้น ขอถวายพระพร ซากสัตว์ตายในมหาสมุทร ย่อมถูกซัดไป ฉันใด ภิกษุผู้ผิดพลาดในศาสนาอันประเสริฐของพระชินเจ้า ย่อมถูกขับไล่ ฉันนั้น ขอถวายพระพร พระตถาคตทรงหวังประโยชน์ ต้องการประโยชน์เกื้อกูล ปรารถนาความสุข ใคร่ความบริสุทธิ์ แก่ภิกษุเหล่านั้น ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ จักพ้นจากชาติ ชรา พยาธิ และมรณะได้ ก็โดยประการอย่างนี้ ดังนี้ จึงทรงขับไล่ภิกษุเหล่านั้น

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอวํ = สพฺพํ วจนํ เอวํ สภาวโต โหติ คำอธิบายทั้งปวง โหติ ย่อมมี สภาวโต ตามความเป็นจริง เอวํ อย่างนี้, เอตํ = สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ตยา วุตฺตํ ยถา โหติ,  ตํ สมฺปฏิจฺฉาม, สพฺพํ เหฏฺฐาวจนํ ถ้อยคำข้างต้นทั้งปวง ตยา อันท่าน วุตฺตํ กล่าวแล้ว โหติ ย่อมมี ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอน้อมรับไว้ ตํ วจนํ ซึ่งคำนั้น ตถา ด้วยประการนั้น ดังนี้.

พระเจ้ามิลินท์ ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตามที่ท่านกล่าวมากระนี้ นี้

****

ภิกฺขุปณามิตปญฺโห ทฺวาทสโมฯ

ภิกฺขุปณามิตปญฺโห ภิกขุปณามิตปัญหา

ทฺวาทสโม ลำดับที่ ๑๒ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

ภิกขุปณามิตปัญหาที่ ๑๒ จบ

 

ปณามิตวคฺโค ตติโยฯ

ปณามิตวคฺโค ปณามิตวรรค

ตติโย ลำดับที่ ๓ นิฏฺฐิโต จบแล้ว

ปณามิตวรรคที่ ๓ จบ

 

อิมสฺมิํ วคฺเค ทฺวาทส ปญฺหาฯ

ปญฺหา ปัญหาทั้งหลาย ทฺวาทส สิบสอง

โหนฺติ มีอยู่ อิมสฺมิํ วคฺเค ในวรรคนี้

ในวรรคนี้ มี ๑๒ ปัญหา



[1] ขุ.สุ. มหาจุฬาเตปิฏก ๒๕/๑๙/๓๓๙

[2] .. มหาจุฬาเตปิฏก ๑๓/๑๕๗-/๑๓๐๑๓๑ มีเรื่องว่า ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นหัวหน้าภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นพระอาคันตุกะ นำภิกษุเหล่านั้นเข้าไปรอเฝ้าพระพุทธเจ้า ภิกษุเหล่านั้นทักทายกับภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าถิ่น จัดแจงเสนาสนะเตรียมบาตรและจีวรด้วยเสียงดังอื้ออึง พระพุทธเจ้าทรงทราบจากพระอานนท์แล้ว ก็รับสั่งให้ภิกษุเหล่านั้นเข้ามาเฝ้าทรงตำหนิติเตียนว่า ส่งเสียงดังอื้ออึงราวกะชาวประมงแย่งชิงปลากัน แล้วทรงขับไล่ภิกษุเหล่านั้นให้ออกไป ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงไป เราขอขับไล่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบความพิศดารใน จาตุมสูตร.

[3] .. มหาจุฬาเตปิฏก ๑๓/๑๕๗-/๑๓๐๑๓๑

[4] อลส ศัพท์เดิมหมายถึง ขี้เกียจ,  เกียจคร้าน,  เฉื่อยชา, เชื่องช้า,  เนือยๆ.  แต่ในบางคราวใช้สื่อความไม่สติได้บ้าง.

[5] กุณป ศัพท์ เป็นได้ ๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์ (ธาน.๔๐๕). ในที่นี้ใช้เป็นนปุงสกลิงค์. อนึ่ง กุณป ศัพท์ หมายถึงซากคือสัตว์ ดังมีพระบาฬีว่า ตเมนํ  สามิกา อหิกุณปํ   วา   กุกฺกุรกุณปํ วา   มนุสฺสกุณปํ วา  รจยิตฺวา  อญฺญิสฺสากํ สปาติยา   ปฏิกุชฺชิตฺวา   อนฺตราปณํ   ปฏิปชฺเชยฺยุํ   เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง

เป็นของหมดจด ผ่องใส เจ้าของใส่ซากศพงู ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์จนเต็มภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ปิดด้วยภาชนสัมฤทธิ์ใบอื่น แล้วเอาไปร้านตลาด. (ม.มู.๑๒/๗๑ อนังคณสูตร) เพราะเหตุนั้น มต ศัพท์ จึงเป็นวิเสสนะของศัพท์นี้. อีกนัยหนึ่ง เป็นการแสดงโดยโวหารชนิด ตัทธัมมูปจาระ ยกธรรมที่ไม่มีอยู่ให้เป็นราวกับมีอยู่ เพราะซากสัตว์ ก็คือสัตว์ที่ตายแล้วนั่นเแหละ เพราะฉะนั้น คำว่า มเตน จึงเท่ากับศัพท์ว่า กุณป ข้างหลังนั่นเอง.

[6] ในที่นี้ ยํ เป็นนิบาตใช้ในอรรถเหตุ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น