วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2567

๓. มุสาวาทครุลหุภาวปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับความหนักและความเบาแห่งมุสาวาท

 

๓. มุสาวาทครุลหุภาวปญฺโห

มุสาวาทครุลหุภาวปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับความหนักและความเบาแห่งมุสาวาท

****

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา สมฺปชานมุสาวาเท ปาราชิโก โหตีติฯ ปุน จ ภณิตํ สมฺปชานมุสาวาเท ลหุกํ อาปตฺติํ อาปชฺชติ เอกสฺส สนฺติเก เทสนาวตฺถุกนฺติฯ ภนฺเต นาคเสน, โก ปเนตฺถ วิเสโส, กิํ การณํ, ยญฺเจเกน มุสาวาเทน อุจฺฉิชฺชติ, ยญฺเจเกน มุสาวาเทน สเตกิจฺโฉ โหติ? ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํ สมฺปชานมุสาวาเท ปาราชิโก โหตีติ, เตน หิ สมฺปชานมุสาวาเท ลหุกํ อาปตฺติํ อาปชฺชติ เอกสฺส สนฺติเก เทสนาวตฺถุกนฺติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ตถาคเตน ภณิตํ สมฺปชานมุสาวาเท ลหุกํ อาปตฺติํ อาปชฺชติ เอกสฺส สนฺติเก เทสนาวตฺถุกนฺติ, เตน หิ สมฺปชานมุสาวาเท ปาราชิโก โหตีติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ ปาราชิโก เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก[1] สมฺปชานมุสาวาเท ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่รู้[2] โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้, ก็ (เอตํ วจนํ) พระดำรัสนี้ (อิติ) ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ อาปชฺชติ ย่อมต้อง อาปตฺติํ ซึ่งอาบัติ ลหุกํ อย่างเบา เทสนาวตฺถุกํ อันเป็นอาบัติที่ต้องแสดงเรื่อง สนฺติเก ในสำนัก เอกสฺส ของภิกษุรูปอื่น สมฺปชานมุสาวาเท ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้ ปุน อีก, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปน ก็ เอตฺถ  ในสัมปชานมุวาทสองประการนั้นนั้น โก วิเสโส อะไรเล่าเป็นความต่างกัน  กิํ การณํ เหตุไรเล่า ยํ คือ  ภิกฺขุ ภิกฺษุ อุจฺฉิสฺสติ จักขาด (จากความเป็นภิกษุ) มุสาวาเทน ด้วยการกล่าวเท็จ เอเกน อีกอย่างหนึ่ง ด้วย,  และ  ยํ คือ  ภิกฺขุ ภิกฺษุ สเตกิจฺโฉ เป็นผู้มีการแก้ไขได้ มุสาวาเทน ด้วยการกล่าวเท็จ เอเกน อีกอย่างหนึ่ง โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ ?, ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้า เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ ปาราชิโก เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก สมฺปชานมุสาวาเท ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ อาปชฺชติ ย่อมต้อง อาปตฺติํ ซึ่งอาบัติ ลหุกํ อย่างเบา เทสนาวตฺถุกํ อันเป็นอาบัติที่ต้องแสดงเรื่อง สนฺติเก ในสำนัก เอกสฺส ของภิกษุรูปอื่น สมฺปชานมุสาวาเท ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ดังนี้, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น มิจฺฉา ผิด, ยทิ ถ้า พระดำรัส อิติ ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ อาปชฺชติ ย่อมต้อง อาปตฺติํ ซึ่งอาบัติ ลหุกํ อย่างเบา เทสนาวตฺถุกํ อันเป็นอาบัติที่ต้องแสดงเรื่อง สนฺติเก ในสำนัก เอกสฺส ของภิกษุรูปอื่น สมฺปชานมุสาวาเท ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ดังนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ ตรัสไว้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ พระดำรัสแม้นั้น อิติ ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ ปาราชิโก เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก สมฺปชานมุสาวาเท ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ โหติ ย่อมเป็น[3] ดังนี้ มิจฺฉา ผิด. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีเงื่อนงำ อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต ตกถึงแล้ว ตว แด่พระคุณเจ้า, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา พระคุณเจ้า นิพฺพาหิตพฺโพ พึงคลี่คลาย ดังนี้[4].

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตาสมฺปชานมุสาวาเท ปาราชิโก โหตีติฯ ภณิตญฺจ สมฺปชานมุสาวาเท ลหุกํ อาปตฺติํ อาปชฺชติ เอกสฺส สนฺติเก เทสนาวตฺถุกนฺติ, ตญฺจ ปน วตฺถุวเสน ครุกลหุกํ โหติฯ

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห กราบทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสแม้นี้ อิติ ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ ปาราชิโก เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก สมฺปชานมุสาวาเท ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ โหติ ย่อมเป็น ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้, จ ก็ (เอตํ วจนํ) พระดำรัสนี้ (อิติ) ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ อาปชฺชติ ย่อมต้อง อาปตฺติํ ซึ่งอาบัติ ลหุกํ อย่างเบา เทสนาวตฺถุกํ อันเป็นอาบัติที่ต้องแสดงเรื่อง สนฺติเก ในสำนัก เอกสฺส ของภิกษุรูปอื่น สมฺปชานมุสาวาเท ในเพราะการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้ ปุน อีก, จ ปน ก็แต่ว่า ตํ (สมฺปชานมุสาวทนํ) การกล่าวเท็จทั้งที่รู้นั้น  ครุกลหุกํ เป็นเรื่องที่หนักและเบา วตฺถุวเสน ด้วยสามารถแห่งวัตถุ[5] โหติ ย่อมเป็น

 

ตํ กิํ มญฺญสิ, มหาราช, อิธ โกจิ ปุริโส ปรสฺส ปาณินา ปหารํ ทเทยฺย, ตสฺส ตุมฺเห กิํ ทณฺฑํ ธาเรถา’’ติ?

มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ตฺวํ พระองค์ มญฺญสิ ย่อมสำคัญ ตํ อตฺถํ ซึ่งเนื้อความนั้น กิํ อย่างไร, โกจิ ปุริโส บุรุษบางคน อิธ ในโลกนี้ ทเทยฺย พึงให้ ปหารํ ซึ่งการตี ปาณินา ด้วยมือ ปรสฺส แก่ผู้อื่น (ใช้มือทำร้ายผู้อื่น), ตุมฺเห พระองค์ ทณฺฑํ ยังบทลงโทษ กิํ อะไร ธาเรถ ให้ทรงไว้ ตสฺส แก่บุรุษนั้น (จะให้เขารับโทษอะไร) ดังนี้

 

‘‘ยทิ โส, ภนฺเต, อาห นกฺขมามีติ, ตสฺส มยํ อกฺขมมาเน กหาปณํ หราเปมา’’ติ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยทิ ถ้า โส ปุริโส บุรุษนั้น อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า อหํ ข้าพเจ้า นกฺขมามิ ไม่อดโทษ ดังนี้ ไซร้, มยํ พวกข้าพเจ้า (ตํ ปุริสํ) ยังบุรุษผู้ให้การปหารนั้น หราเปม จะให้นำออก (จะต้องเสียค่าปรับ) กหาปณํ ซึ่งกหาปณะหนึ่ง ตสฺส ปุริสสฺส แก่บุรุษ ผู้ถูกปหารนั้น  อกฺขมมาเน เพราะการไม่ยอมอดโทษ ดังนี้

 

‘‘อิธ ปน, มหาราช, โส เยว ปุริโส ตว ปาณินา ปหารํ ทเทยฺย, ตสฺส ปน โก ทณฺโฑ’’ติ?

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ โสเยว ปุริโส บุรุษนั้นนั่นเทียว ทเทยฺย พึงให้ ปหารํ ซึ่งการปหาร ตว แก่พระองค์ ปาณินา ด้วยมือ อิธ ในที่นี้, ปน ก็ ทณฺโฑ บทลงโทษ โก อะไร ตสฺส ของเขา ภเวยฺย พึงมี (จะถูกลงโทษสถานใด)

 

‘‘หตฺถมฺปิสฺส, ภนฺเต, เฉทาเปยฺยาม, ปาทมฺปิ เฉทาเปยฺยาม, ยาว สีสํ กฬีรจฺเฉชฺชํ เฉทาเปยฺยาม, สพฺพมฺปิ ตํ เคหํ วิลุมฺปาเปยฺยาม, อุภโตปกฺเข ยาว สตฺตมํ กุลํ สมุคฺฆาตาเปยฺยามา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสตอบแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มยํ พวกข้าพเจ้า ราชปุริสํ จะยังเจ้าหน้าที่ เฉทาเปยฺยาม พึงให้ตัด หตฺถมฺปิ ซึ่งมือ อสฺส ของเขาบ้าง, เฉทาเปยฺยาม พึงให้ตัด ปาทมฺปิ ซี่งเท้าบ้าง, เฉทาเปยฺยาม พึงให้เชือด (สรีรํ) ซึ่งสรีระ ยาว เพียงไร สีสํ ซึ่งศีรษะ กฬีรจฺเฉชฺชํ เหมือนการเฉือนซึ่งหน่อไม้[6], วิลุมฺเปยฺยาม พึงให้ริบ ตํ เคหํ ซึ่งบ้านนั้น สพฺพมฺปิ แม้ทั้งสิ้น, สมุคฺฆาตาเปยฺยาม พึงให้กำจัด (คือประหารชีวิต) กุลํ ซึ่งบุคคลในตระกูล อุภโตปกฺเข ในตระกูลแห่งญาติโดยสองฝ่าย ยาว เพียงไร สตฺตมํ ซึ่งลำดับที่เจ็ด คือ (ความหมายคือ ฆ่าญาติของเขาทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดาไปจนเจ็ดชั่วโคตร)

 

‘‘โก ปเนตฺถ, มหาราช, วิเสโส, กิํ การณํ, ยํ เอกสฺส ปาณิปฺปหาเร สุขุโม กหาปโณ ทณฺโฑ, ยํ ตว ปาณิปฺปหาเร หตฺถจฺเฉชฺชํ ปาทจฺเฉชฺชํ ยาว กฬีรจฺเฉชฺชํ สพฺพเคหาทานํ อุภโตปกฺเข ยาว สตฺตมกุลา สมุคฺฆาโต’’ติ?

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ถามแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปน ก็ วิเสโส ความต่างกัน โก อะไรเล่า โหติ ย่อมมี เอตฺถ ในที่นี้, กิํ การณํ เหตุ อะไรเล่า ยํ ที่ทำให้ ทณฺโฑ บทลงโทษ สุขุโม ที่เล็กน้อย กหาปโณ เพียงหนึ่งกหาปณะ โหติ ย่อมมี ปาณิปฺปหาเร ในการปหารด้วยมือ เอกสฺส แก่บุคคลหนึ่ง, ยํ ที่ทำให้ หตฺถจฺเฉชฺชํ การตัดมือ ปาทจฺเฉชฺชํ การตัดเท้า ยาว เพียงไร สรีรเฉชฺชชํ ซึ่งการเชือดเฉือนร่างกาย กฬีรจฺเฉชฺชํ เพียงดังการเฉือนหน่อไม้, สพฺพเคหาทานํ การริบทรัพย์คือบ้านเรือนทั้งสิ้น สมุคฺฆาโต การประหารชีวิต ยาว สตฺตมกุลา จนถึงเจ็ดชั่วโคตร โหติ ย่อมมี ปาณิปฺปหาเร เพราะการปหารด้วยมือ ตว แก่พระองค์เล่า ดังนี้?

 

‘‘มนุสฺสนฺตเรน, ภนฺเต’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มนุสฺสนฺตเรน เพราะความต่างกันแห่งมนุษย์ ดังนี้

 

‘‘เอวเมว โข, มหาราช, สมฺปชานมุสาวาโท วตฺถุวเสน ครุกลหุโก โหตี’’ติฯ

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สมฺปชานมุสาวาโท การกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ ครุลหุโก มีโทษหนักและมีโทษเบา วตฺถุวเสน ก็ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว ดังนี้[7]

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ พระคุณเจ้าวิสัชนาชอบแล้ว, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ยอมรับ เอตํ ซึ่งคำนั้น ตถา โดยประการที่พระคุณเจ้ากล่าวมา เอวํ อย่างนี้ ดังนี้

 

มุสาวาทครุลหุภาวปญฺโห ตติโยฯ

มุสาวาทครุลหุภาวปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับความหนักและความเบาแห่งมุสาวาท

ตติโย ลำดับที่สาม นิฏฺฐิโต จบแล้ว



ข้อมูลเพิ่มเติม

[1] คำว่า ย่อมเป็นปาราชิกในเพราะการกล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ นี้ ได้แก่ เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิกข้อที่ ๔ กล่าวคือ การกล่าวอวดอ้างอุตริมนุสสธรรม ที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงในตน ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงในตน ก็มนุสสธรรม (ธรรมที่เป็นของคนทั่ว ๆ ไป) ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ มีความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้น ส่วนธรรมเหล่านี้ มีฌานเป็นต้น เป็นธรรมที่ยิ่งกว่ามนุสสธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อุตริมนุสสธรรม ได้แก่ ธรรม ๑๐ อย่าง คือ

๑.ฌาน   มีปฐมฌาน เป็นต้น

๒.วิโมกข์ มีสุญญตวิโมกข์ เป็นต้น

๓.สมาธิ  มีสุญญตสมาธิ เป็นต้น

๔.สมาบัติ               มีสุญญตสมาบัติ เป็นต้น

๕.ญาณทัสสนะ อันได้แก่ วิชา ๓

๖.มัคคภาวนา (การเจริญมรรค) อันได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น

๗.ผลสัจฉิกิริยา (การทำผลให้แจ้ง) มีโสดาปัตติสัจฉิกิริยา

๘.การละกิเลส มีการละราคะได้ เป็นต้น

๙.ภาวะที่จิตปราศจากนิวรณ์

๑๐.ความยินดีในสุญญาคาร คือ มีความยินดียิ่งในเรือนว่าง ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน เป็นต้น

จริงอยู่ ภิกษุรูปใดไม่มีอุตริมนุสสธรรมเหล่านี้อยู่ในตน ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่า ไม่มี ก็กล่าวเท็จอวดอ้างว่ามี โดยนัยว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน โดยอาการ ๓ ดังนี้ เป็นต้น ภิกษุรูปนั้น ต้องอาบัติปาราชิก คำว่า ปาราชิก แปลว่า ผู้แพ้ อธิบายว่า เป็นผู้อาภัพต่อความงอกงามในธรรมวินัยนี้ ดุจตาลที่มียอดขาด ฉะนั้น (อรรถาธิบายจากหนังสือมิลินทปัญหาแปล โดย อ.ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์ มูลนิธิปราณี สำเริงราชย์ จัดพิมพ์)

[2] ความจริง ข้อธรรมอันเป็นพระบัญญัติ หรือสัททปฏิรูปกะ[2] อันมีชื่อว่า สัมปชานมุสาวาท นี้ มีความหมาย ๕ ประการ คือ ผู้ใดกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เป็นไปในอาบัติปาราชิก ก็มี อาบัตถุลลัจจัย ก็มี อาบัติสังฆาทิเสส ก็มี อาบัติปาจิตติยะ ก็มี ทุกกฎ ก็มี ทุพภาษิต ก็มี  ดังที่มีมาในคัมภีร์บริวาร วินัยปิฏก ดังนี้

                กติ  นุ  โข  ภนฺเต  มุสาวาทาติ ฯ ปญฺจิเม อุปาลิ มุสาวาทา, กตเม ปญฺจ ฯลฯ อตฺถิ มุสาวาโท ทุกฺกฏคามี, อิเม โข อุปาลิ ปญฺจ มุสาวาทา

                มุสาวาท มีเท่าไร พระเจ้าข้า, พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี มุสาวาท มี ๕ อย่างเหล่านี้  คือ

๑.มุสาวาทที่ถึงอาบัติปาราชิกก็มีอยู่

๒.มุสาวาทที่ถึงอาบัติสังฆาทิเสสก็มีอยู่

๓.มุสาวาทที่ถึงอาบัติถุลลัจจัยก็มีอยู่

๔.มุสาวาทที่ถึงอาบัติปาจิตตีย์ก็มีอยู่

๕.มุสาวาทที่ถึงอาบัติทุกกฏก็มีอยู่      

อุบาลี มุสาวาท มี ๕ อย่างเหล่านี้แล ดังนี้ [วิ.ปริ.๘/๑๑๙๓]  

มุสาวาทที่จัดเป็นปาราชิกคามี  คือ เป็นอาบัติที่ทำให้ผู้กล่าวถึงความเป็นอาบัติปาราชิก.  แม้ในมุสาวาทนอกนี้    ก็มีนัยเหมือนกัน.

ในมุสาวาท    อย่างนั้น 

๑) มุสาวาทที่เป็นไปโดยอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี   (ในตน)   เป็นปาราชิกคามี,  

๒) มุสาวาทที่เป็นไปโดยตามกำจัดด้วยปาราชิกไม่มีมูล เป็นสังฆาทิเสสคามี, 

๓) มุสาวาทที่ภิกษุกล่าว (อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี) โดยปริยายแก่บุคคลผู้เข้าใจความเป็นต้นว่า    "ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน"   เป็นถุลลัจจัยคามี,    

๔) มุสาวาทที่ภิกษุกล่าวโดยปริยายแก่บุคคลผู้ไม่เข้าใจความ เป็นทุกกฏคามี, 

๕) มุสาวาทที่มาว่า   "เป็นปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งรู้"  พึงทราบว่า   เป็นปาจิตติยคามี.

(วิ.อฏฺ.ปริวาร) 

[3] คำว่า มุสาวาท ความว่า การเปล่งเสียงหลอกลวง ชื่อว่ามุสาวาท การกล่าวเท็จในพระวินัยปิฎก คัมภีร์บริวาร มีเนื้อความเกี่ยวกับมุสาวาทปรากฏอยู่ อย่างนี้ว่า ปญฺจิเม อุปาลิ มุสาวาทา, กตเม ปญฺจ ฯลฯ อตฺถิ มุสาวาโท ทุกฺกฏคามี, อิเม โข อุปาลิ ปญฺจ มุสาวาทา อุบาลี มุสาวาท มี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่าง อะไรบ้าง ๕ อย่าง คือ

๑.มุสาวาทที่ถึงอาบัติปาราชิกก็มีอยู่

๒.มุสาวาทที่ถึงอาบัติสังฆาทิเสสก็มีอยู่

๓.มุสาวาทที่ถึงอาบัติถุลลัจจัยก็มีอยู่

๔.มุสาวาทที่ถึงอาบัติปาจิตตีย์ก็มีอยู่

๕.มุสาวาทที่ถึงอาบัติทุกกฏก็มีอยู่      

อุบาลี มุสาวาท มี ๕ อย่างเหล่านี้แล ดังนี้

ในบรรดามุสาวาท ๕ อย่างนั้น ยกเว้น มุสาวาทที่ถึงความเป็นอาบัติหนัก คือ มุสาวาทที่ถึงอาบัติปาราชิก และที่ถึงอาบัติสังฆาทิเสสเสีย มุสาวาทที่เหลือ ชื่อว่ามุสาวาทที่เป็นอาบัติเบา เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สมฺปชานมุสาวาเท ปาจิตฺติยํ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะการกล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ ดังนี้ เป็นต้น ก็มุสาวาทนั้น จะถึงความเป็นอาบัติหนัก หรือถึงความเป็นอาบัติเบาประการใดนั้น เกี่ยวเนื่องกับวัตถุ คือ เรื่องที่พูดถึง หรือสิ่งที่พูดถึง ฉะนี้แล (อ้างแล้วในเชิงอรรถข้อ ๑)

[4] พระเจ้ามิลินท์ ทรงเห็นคำว่า สัมปชานมุสาวาท  ที่เป็นไปในสิกขาบทหลายแห่ง ซึ่งมีโทษมากหรือน้อย เพราะเหตุนั้น จึงทรงสำคัญว่า คำว่า สัมปชานมุสาวาท ที่หมายความว่า "กล่าวเท็จทั้งที่รู้ จะต้องเป็นคำที่ปรับโทษภิกษุผู้กล่าวถึงปาราชิก เท่านั้น, แต่บางแห่งทรงแสดง  ว่า สัมปชานมุสาวาท เป็นอาบัติที่สามารถแก้ไขได้ เท่านั้น ซึ่งก็มีที่อ้างอิงพระบาฬีเช่นกัน

 

กรณีนี้ พระเจ้ามิลินท์ทรงสดับมาว่า ปัญหานี้เกิดจากความเห็นของอาจารย์สองฝ่ายที่ยึดเอาเฉพาะอาบัติหนักแล้วไม่กระจายไปถึงอาบัติสเตกิจฉา และอีกฝ่ายหนึ่งยึดเอาเฉพาะอาบัติสเตกิจฉแต่ไม่กระจายไปถึงอาบัติปาราชิก   เนื่องจากการเรียนรู้สัมปชานมุสาวาทโดยไม่รัดกุม เพราะเหตุนั้น ควรมีคำวินิจฉัยความไม่ลงกันแห่งพระบาฬีสองแห่งนี้ จึงได้ตั้งปัญหานี้ที่มีเงื่อนงำสองข้างที่ขัดแย้งกัน ต่อพระเถระเพื่อจะทำลายความเห็นผิดของอาจารย์ที่กล่าวอธิบายโดยไม่แยกรายละเอียดแล้วถือเอาโดยส่วนเดียว

[5] วตฺถุ ศัพท์ (วส + ตุ)  มีอรรถมากมาย อาทิ การณ เหตุ  ทพฺพ สิ่งของ  ภูเภท สวน รตนตฺตย พระรัตนตรัย ในที่นี้มีอรรถทัพะ คือ สิ่งของหรือสาระสำคัญ หมายความว่า สาระของสัมปชนมุสาวาทอยู่ที่เรื่องอันเป็นเท็จ  ถ้าเนื้อความที่กล่าวเท็จนั้นเป็นอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน ต้องอาบัติปาราชิก ส่วนเนื้อความที่เกี่ยวกับการกล่าวคำเพื่อใส่ร้ายเพื่อนสหธรรมิกด้วยกันเป็นต้นสังฆาทิเสส  เป็นสเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขโดยทำคืนตามควรแก่อาบัตินั้นๆ ดังนั้น มุสาวาทนั้น จะถึงความเป็นอาบัติหนัก หรือถึงความเป็นอาบัติเบาประการใดนั้น เกี่ยวเนื่องกับวัตถุ คือ เรื่องที่พูดถึง หรือสิ่งที่พูดถึง

[6] กฬีรเฉชฺชํ ตัดบทเป็น กฬีร หน่อ กล่าวคือ ส่วนที่งอกออกจากหัวของพืช เช่น หน่อไม้ไผ่ หรือ ปาล์ม + เฉชฺช การตัด ( ฉิท + ณฺย) ในที่นี้เป็นอุปมาปุพพปทกัมมธารยสมาส  ถือเอาความโดยนัยได้ว่า เชือดเฉือนร่างกายทั้งสิ้นที่ตั้ืงแต่ศีรษะดุจเฉอนหน่อไม้.  กฬิร ยังมีศัพท์ที่ใช้แทนกันได้อีก คือ มตฺถก  (ธาน.๕๔๙)

[7]การที่บุรุษผู้ลงมือทำร้ายต้องโทษหนักเบาไม่เท่ากัน ถูกตัดสินที่ตัวบุคคลผู้ถูกกระทำอันเป็นวัตถุที่เป็นเหตุให้รับโทษหนักหรือเบา เมื่อเทียบกับสัมปชานมุสาวาทแล้ว จะเห็นว่า ถ้าเรื่องที่พูดเป็นในการกล่าวอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง ก็รุนแรง เหตุที่ถึงขั้นทำลายพระศาสนา ดังที่ตรัสไว้ว่า เป็นมหาโจรปล้นพระศาสนา แต่กรณีที่กุเรื่องขึ้นด้ววยความโกรธต่อบุคคลอื่น หรือ กล่าวเรื่องเท็จอื่นๆ ถือเอาเป็นความผิดที่ส่งผลเฉพาะตัวผู้ทำเท่านั้น เพราะเหตุนั้น แม้มีสภาวะ เหมือนกัน คือ เจตนากล่าวมุสาวาท แต่มีผลต่างกันเนื่องด้วยวัตถุกล่าวคือสาระสำคัญของการกล่าว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น