๕.
อตฺตนิปาตนปญฺโห
ปัญหาเกี่ยวกับการทำตนเองให้ตกไป
๕.
‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ
ภควตา ‘น, ภิกฺขเว, อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ, โย ปาเตยฺย, ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ’ติฯ ปุน จ ตุมฺเห ภณถ ‘ยตฺถ กตฺถจิ ภควา สาวกานํ ธมฺมํ เทสยมาโน อเนกปริยาเยน ชาติยา ชราย
พฺยาธิโน มรณสฺส สมุจฺเฉทาย ธมฺมํ เทเสติ, โย หิ โกจิ
ชาติชราพฺยาธิมรณํ สมติกฺกมติ, ตํ ปรมาย ปสํสาย ปสํสตี’ติฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา
ภณิตํ ‘น, ภิกฺขเว, อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ, โย ปาเตยฺย, ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ’ติ, เตน หิ
‘ชาติยา ชราย พฺยาธิโน มรณสฺส สมุจฺเฉทาย ธมฺมํ เทเสตี’ติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ชาติยา ชราย พฺยาธิโน มรณสฺส
สมุจฺเฉทาย ธมฺมํ เทเสติ, เตน หิ ‘น,
ภิกฺขเว, อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ, โย ปาเตยฺย, ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ’’ติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห
ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ ภควตา
อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ทรงภาษิตไว้ อิติ ว่า ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกฺขุนา อันภิกษุ อตฺตานํ ยังตน น
ปาเตตพฺพํ ไม่พึงให้ตกไป, โย ภิกฺขุ ภิกษุใด อตฺตานํ ยังตน ปาเตยฺย
พึงให้ตกไป, โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น สงฺเฆน อันสงฆ์ กาเรตพฺโพ พึงให้กระทำ
ยถาธมฺโม ตามควรแก่ธรรมคืออาบัติ [1] ดังนี้[2], จ
ก็ ตุมฺเห พวกท่าน ภณถ ยังกล่าวกัน ปุน อีก อิติ ว่า ภควา
พระผู้มีพระภาค เทสยมาโน เมื่อทรงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม สาวกานํ
แก่สาวกทั้งหลาย ยตฺถ กตฺถจิ ในที่ใดก็ตาม เทเสติ ย่อมทรงแสดง ธมฺมํ
ซึ่งธรรม สมุจฺเฉทาย เพื่อตัดขาด ชาติยา ซึ่งชาติ ชราย
ซึ่งชรา พฺยาธิโน ซึ่งพยาธิ มรณสฺส ซึ่งมรณะ อเนกปริยาเยน โดยเทศนาเป็นอันมาก[3], หิ
ก็ โย โกจิ สาวโก สาวกคนใดคนหนึ่งก็ตาม สมติกฺกมติ ย่อมก้าวล่วง ชาติชราพฺยาธิมรณํ
ซึ่งชาติชราพยาธิและมรณะเสียได้, ปสํสติ จะทรงสรรเสริญ ตํ สาวกํ
ซึ่งสาวกนั้น ปสํสาย ด้วยการสรรเสริญ ปรมาย อันยิ่ง ดังนี้, ภนฺเต
นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้า ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น ภควตา
อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ทรงภาษิตไว้ อิติ ว่า ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกฺขุนา อันภิกษุ อตฺตานํ ยังตน น
ปาเตตพฺพํ ไม่พึงให้ตกไป, โย ภิกฺขุ ภิกษุใด อตฺตานํ ยังตน ปาเตยฺย
พึงให้ตกไป, โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น สงฺเฆน อันสงฆ์ กาเรตพฺโพ
พึงให้กระทำ ยถาธมฺโม ตามควรแก่ธรรมคืออาบัติ ดังนี้, เตน หิ
ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า เทเสติ ย่อมทรงแสดง ธมฺมํ
ซึ่งธรรม สมุจฺเฉทาย เพื่อตัดขาด ชาติยา ซึ่งชาติ ชราย
ซึ่งชรา พฺยาธิโน ซึ่งพยาธิ มรณสฺส ซึ่งมรณะ ดังนี้, ตํ วจนํ
พระดำรัสนั้น มิจฺฉา ผิด, ยทิ ถ้าหากว่า เทเสติ ย่อมทรงแสดง ธมฺมํ
ซึ่งธรรม สมุจฺเฉทาย เพื่อตัดขาด ชาติยา ซึ่งชาติ ชราย
ซึ่งชรา พฺยาธิโน ซึ่งพยาธิ มรณสฺส ซึ่งมรณะ เตน หิ
ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ พระดำรัสแม้นั้น อิติ ว่า ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกฺขุนา อันภิกษุ อตฺตานํ ยังตน น
ปาเตตพฺพํ ไม่พึงให้ตกไป, โย ภิกฺขุ ภิกษุใด อตฺตานํ ยังตน ปาเตยฺย
พึงให้ตกไป, โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น สงฺเฆน อันสงฆ์ กาเรตพฺโพ
พึงให้กระทำ ยถาธมฺโม ตามควรแก่ธรรมคืออาบัติ ดังนี้, ตมฺปิ วจนํ
คำแม้นั้น มิจฺฉา ผิด. อยมฺปิ
ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีเงื่อนงำ อุภโต
โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต ตกถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห
ปัญหานั้น ตยา ท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ พึงคลี่คลาย ดังนี้[4]
‘‘ภาสิตมฺเปตํ,
มหาราช, ภควตา ‘น,
ภิกฺขเว, อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ, โย ปาเตยฺย, ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ’ติฯ ยตฺถ กตฺถจิ ภควตา สาวกานํ ธมฺมํ เทสยามาเนน จ อเนกปริยาเยน ชาติยา
ชราย พฺยาธิโน มรณสฺส สมุจฺเฉทาย ธมฺโม เทสิโต, ตตฺถ ปน
การณํ อตฺถิ, เยน ภควา การเณน ปฏิกฺขิปิ สมาทเปสิ จา’’ติฯ
นาคเสโน
เถโร พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ
พระดำรัสนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ทรงภาษิตไว้จริง อิติ
ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกฺขุนา อันภิกษุ อตฺตานํ
ยังตน น ปาเตตพฺพํ ไม่พึงให้ตกไป, โย ภิกฺขุ ภิกษุใด อตฺตานํ
ยังตน ปาเตยฺย พึงให้ตกไป, โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น สงฺเฆน
อันสงฆ์ กาเรตพฺโพ พึงให้กระทำ ยถาธมฺโม ตามควรแก่ธรรมคืออาบัติ
ดังนี้ ก็เป็นความจริง, ธมฺโม ธรรม ภควตา อันพระผู้มีพระภาค
เทสิยามาเนน เมื่อทรงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม สาวกานํ แก่สาวกทั้งหลาย
ยตฺถ กตฺถจิ ในที่ใดที่หนึ่งก็ตาม เทสิโต
ย่อมทรงแสดงไว้ สมุจฺเฉทาย เพื่อตัดขาด ชาติยา ซึ่งชาติ ชราย
ซึ่งชรา พฺยาธิโน ซึ่งพยาธิ มรณสฺส ซึ่งมรณะ อเนกปริยาเยน
โดยเทศนาเป็นอันมาก, ปน แต่ ภควา พระผู้มีพระภาค ปฏิกฺขิปิ จ
ทั้งทรงห้ามไว้ สมาทเปสิ จ ทั้งทรงชักชวน เยน การเณน ด้วยเหตุใด (ตํ)
การณํ เหตุนั้น ตตฺถ = เตสุ ปฏิกฺขปนสมาทปเนสุ
ในการแสดงปฏิเสธและชักชวนนั้น อตฺถิ มีอยู่ ดังนี้ ก็เป็นความจริง.
‘‘กิํ
ปเนตฺถ, ภนฺเต นาคเสน, การณํ, เยน ภควา การเณน ปฏิกฺขิปิ สมาทเปสิ จา’’ติ?
มิลินฺโท
ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปน ก็ ภควา พระผู้มีพระภาค ปฏิกฺขิปิ จ
ทั้งทรงห้ามไว้ สมาทเปสิ จ ทั้งทรงชักชวน เยน การเณน ด้วยเหตุใด (ตํ)
การณํ เหตุนั้น เอตฺถ = เตสุ ปฏิกฺขปนสมาทปเนสุ
ในการแสดงปฏิเสธและชักชวนนั้น กิํ อะไรเล่า ดังนี้
‘‘สีลวา,
มหาราช, สีลสมฺปนฺโน อคทสโม สตฺตานํ
กิเลสวิสวินาสเน, โอสธสโม สตฺตานํ กิเลสพฺยาธิวูปสเม,
อุทกสโม สตฺตานํ กิเลสรโชชลฺลาปหรเณ, มณิรตนสโม
สตฺตานํ สพฺพสมฺปตฺติทาเน, นาวาสโม สตฺตานํ จตุโรฆปารคมเน,
สตฺถวาหสโม สตฺตานํ ชาติกนฺตารตารเณ, วาตสโม
สตฺตานํ ติวิธคฺคิสนฺตาปนิพฺพาปเน, มหาเมฆสโม
สตฺตานํ มานสปริปูรเณ, อาจริยสโม สตฺตานํ กุสลสิกฺขาปเน,
สุเทสกสโม สตฺตานํ เขมปถมาจิกฺขเณฯ
นาคเสโน
เถโร พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร (ภิกฺขุ) ภิกษุ
สีลวา ผู้มีศีล สีลสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยศีล อคทสโม เป็นผู้เสมอด้วยยา
กิเลสวิสวินาสเน ในการทำลายพิษคือกิเลส สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย,
โอสธสโม เป็นเหมือนยา กิเลสพยาธิวูปสเม ในการเข้าไปสงบซึ่งพยาธิคือกิเลส
สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย, อุทกสโม เป็นเหมือนน้ำ กิเลสรโชชลฺลาปหรเณ
ในการชำระล้างซึ่งเหงื่อไคลคือกิเลส สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย, มณิรตนสโม
เป็นเหมือนแก้วมณี สพฺพสมฺปตฺติทาเน ในการให้สมบัติทั้งปวง สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย,
นาวาสโม เป็นเหมือนเรือ จตุโรฆปารคมเน ในการไปสู่ฟากฝั่งแห่งทะเลคือโอฆะทั้ง
๔ สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย, สตฺถวาหสโม เป็นเหมือนนายกองเกวียน ชาติกนฺตารตารเณ
ในการยังสัตว์ให้ข้ามซึ่งกันดารคือชาติ, วาตสโม เป็นเหมือนลม
ติวิธคฺคิสนฺตาปนิพฺพาปเน ในการทำความเร่าร้อนเพราะไฟสามประการให้ดับ สตฺตานํ
ของสัตว์ทั้งหลาย, มหาเมฆสโม เป็นเหมือนเมฆใหญ่ มานสปูรเณ ในการทำความหวังในใจให้เต็ม
สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย, อาจริยสโม เป็นเหมือนอาจารย์ กุสลสิกฺขาปเน
ในการทำให้ศึกษาในกุศล สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย, สุเทสกโม เป็นเหมือนคนชี้ทาง
เขมปถมาจิกฺขเณ ในการบอกเส้นที่ปลอดภัย สตฺตานํ ของสัตว์ทั้งหลาย (โหติ)ย่อมเป็นฯ[5]
เอวรูโป, มหาราช,
พหุคุโณ อเนกคุโณ อปฺปมาณคุโณ คุณราสิ คุณปุญฺโช
สตฺตานํ วฑฺฒิกโร สีลวา ‘มา วินสฺสี’ติ
สตฺตานํ อนุกมฺปาย ภควา สิกฺขาปทํ ปญฺญเปสิ ‘น, ภิกฺขเว, อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ, โย
ปาเตยฺย, ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ’ติฯ
อิทเมตฺถ, มหาราช, การณํ, เยน การเณน ภควา ปฏิกฺขิปิฯ
มหาราช มหาบพิตร, ภควา พระผู้มีพระภาค ปญฺญเปสิ ทรงบัญญัติ สิกฺขาปทํ ซึ่งสิกขาบท อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกฺขุนา อันภิกษุ อตฺตานํ ยังตน น ปาเตตพฺพํ ไม่พึงให้ตกไป, โย ภิกฺขุ ภิกษุใด อตฺตานํ ยังตน ปาเตยฺย พึงให้ตกไป, โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น สงฺเฆน อันสงฆ์ กาเรตพฺโพ พึงให้กระทำ ยถาธมฺโม ตามควรแก่ธรรมคืออาบัติ ดังนี้ อนุกมฺปาย เพื่ออนุเคราะห์ สตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งหลาย อิติ ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ พหุคุโณ ทรงคุณมาก อเนกคุโณ มีคุณเป็นอเนก อปฺปมาณคุโณ มีคุณหาประมาณมิได้ คุณราสิ เป็นที่รวมแห่งคุณ คุณปุญฺโช เป็นกองแห่งคุณ วฑฺฒิกโร เป็นผู้สร้างความเจริญ สตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งหลาย เอวรูโป เห็นปานนี้ มา วินสฺสิ อย่าได้พินาศแล้ว ดังนี้ มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ปฏิกฺขิปิ ทรงห้ามไว้ เยน การเณน ด้วยเหตุใด (อิทํ) นี้ การณํ เป็นเหตุ เอตฺถ = ปฏิกฺขปเน ในการห้ามนี้
ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช,
เถเรน กุมารกสฺสเปน วิจิตฺรกถิเกน ปายาสิราชญฺญสฺส ปรโลกํ ทีปยมาเนน
‘ยถา ยถา โข ราชญฺญ สมณพฺราหฺมณา สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา จิรํ
ทีฆมทฺธานํ ติฏฺฐนฺติ, ตถา ตถา พหุํ ปุญฺญํ ปสวนฺติ, พหุชนหิตาย จ ปฏิปชฺชนฺติ พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย
เทวมนุสฺสาน’นฺติฯ
มหาราช มหาบพิตร เอตํ
วจนํ พระดำรัสนี้ เถเรน อันพระเถระ
กุมารกสฺสเปน อันมีนามว่ากุมารกัสสปะ วิจิตฺรกถิเกน ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร
ทีปยมาเนน เมื่อจะแสดง ปรโลกํ ซึ่งโลกหน้า ปายาสิราชญฺญสฺส แก่ปายาสิราชัญญะ
ภาสิตมฺปิ ก็ได้ภาษิตไว้ อิติ ว่า ราชญฺญ มหาบพิตร สมณพฺราหฺมณา
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย สีลวนฺโต ผู้มีศีล กลฺยาณธมฺมา มีกัลยาณธรรม
ติฏฺฐนฺติ ย่อมดำรงอยู่ จิรํ อย่างยั่งยืน ทีฆมทฺธานํ (ทีฆกาลํ)
ตลอดกาลนาน ยถา ยถา โข โดยประการใดๆ, เต สมณพฺราหฺมณา
สมณะและพราหมณ์เหล่าน้ัน ปสวนฺติ ย่อมประสพ ปุญฺญํ ซึ่งบุญ พหุํ
มาก จ ทั้ง ปฏิปชฺชนฺติ ย่อมประพฤติ พหุชนหิตาย
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก พหุชนสุขาย เพื่อสุขแห่งชนเป็นอันมาก
โลกานุกมฺปาย เพื่ออนุเคราะห์ชนชาวโลก อตฺถาย เพื่อประโยชน์ สุขาย
เพื่อสุข เทวมนุสฺสานํ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตถา ตถา
โดยประการนั้น ดังนี้[6] ดังนี้ [7]
‘‘เกน
ปน การเณน ภควา สมาทเปสิ? ชาติปิ, มหาราช,
ทุกฺขา, ชราปิ ทุกฺขา, พฺยาธิปิ
ทุกฺโข, มรณมฺปิ ทุกฺขํ, โสโกปิ ทุกฺโข,
ปริเทโวปิ ทุกฺโข, ทุกฺขมฺปิ ทุกฺขํ, โทมนสฺสมฺปิ ทุกฺขํ, อุปายาโสปิ ทุกฺโข, อปฺปิเยหิ สมฺปโยโคปิ ทุกฺโข, ปิเยหิ วิปฺปโยโคปิ
ทุกฺโข, มาตุมรณมฺปิ ทุกฺขํ, ปิตุมรณมฺปิ
ทุกฺขํ, ภาตุมรณมฺปิ ทุกฺขํ, ภคินิมรณมฺปิ
ทุกฺขํ, ปุตฺตมรณมฺปิ ทุกฺขํ, ทารมรณมฺปิ
ทุกฺขํ, ทาสมรณมฺปิ ทุกฺขํ, ญาติมรณมฺปิ
ทุกฺขํ, ญาติพฺยสนมฺปิ ทุกฺขํ, โรคพฺยสนมฺปิ
ทุกฺขํ, โภคพฺยสนมฺปิ ทุกฺขํ, สีลพฺยสนมฺปิ
ทุกฺขํ, ทิฏฺฐิพฺยสนมฺปิ ทุกฺขํ, ราชภยมฺปิ
ทุกฺขํ, โจรภยมฺปิ ทุกฺขํ, เวริภยมฺปิ ทุกฺขํ, ทุพฺภิกฺขภยมฺปิ ทุกฺขํ, อคฺคิภยมฺปิ ทุกฺขํ, อุทกภยมฺปิ ทุกฺขํ,
ปน ส่วนว่า ภควา
พระผู้มีพระภาค สมาทเปสิ ทรงชักชวน เกน การเณน ด้วยเหตุไร? มหาราช
มหาบพิตร ชาติปิ แม้ความเกิด ทุกฺขา เป็นทุกข์, ชราปิ
แม้ความแก่ ทุกฺขา เป็นทุกข์, พฺยาธิปิ แม้ความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกฺโข
เป็นทุกข์, มรณมฺปิ แม้ความตาย ทุกฺขํ เป็นทุกข์, โสโกปิ
แม้ความโศก ทุกฺโข เป็นทุกข์, ปริเทโวปิ แม้ความร่ำไรรำพัน ทุกฺโข
เป็นทุกข์, ทุกฺข์ แม้ความทุกข์กาย ทุกฺขํ เป็นทุกข์, โทมนสฺสมฺปิ
แม้ความทุกข์ใจ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, อุปายาโสปิ แม้ความคับแค้นใจ ทุกฺโข
เป็นทุกข์, อปฺปิเยหิ สมฺปโยโคปิ แม้การประจวบกับสิ่งที่เกลียดก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปฺปโยโคปิ แม้การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกฺขํ เป็นทุกข์, มาตุมรณมฺปิ
แม้ความตายแห่งมารดา ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ปิตุมรณมฺปิ
แม้ความตายแห่งบิดา ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ภาตุมรณมฺปิ
แม้ความตายแห่งพี่น้องชาย ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ภคินิมรณมฺปิ
แม้ความตายแห่งพี่น้องหญิง ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ปุตฺตมรณมฺปิ
แม้ความตายแห่งบุตร ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ทารมรณมฺปิ
แม้ความตายแห่งภรรยา ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ทาสนมรณมฺปิ แม้ความตายแห่งข้าทาสบริวาร
ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ญาติมรณมฺปิ แม้ความตายแห่งพวกญาติ ทุกฺขํ
เป็นทุกข์, ญาติพฺยสนมฺปิ แม้ความพินาศจากญาติ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, โรคพฺยสนมฺปิ
แม้ความพินาศเพราะโรค ทุกฺขํ เป็นทุกข์, โภคพฺยสนมฺปิ
แม้ความพินาศจากโภคะ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, สีลพฺยสนมฺปิ แม้ความเสื่อมแห่งศีล
ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ทิฏฺฐิพฺยสนํ แม้ความเสื่อมคือความเห็นผิด ทุกฺขํ
เป็นทุกข์, ราชภยมฺปิ ภัยแต่พระราชา ทุกฺขํ เป็นทุกข์, โจภยมฺปิ
แม้ภัยจากโจร ทุกฺขํ เป็นทุกข์, เวริภยมฺปิ
แม้ความเสื่อมจากผู้มีเวรต่อกัน ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ทุพฺภิกฺขภยมฺปิ
แม้ภัยจากความหายากแห่งภิกษา ทุกฺขํ เป็นทุกข์, อคฺคิภยมฺปิ
ภัยแต่ไฟ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, อุทกภยมฺปิ แม้ภัยจากน้ำ ทุกฺขํ เป็นทุกข์,
อูมิภยมฺปิ
ทุกฺขํ,
อาวฏฺฏภยมฺปิ ทุกฺขํ, กุมฺภีลภยมฺปิ ทุกฺขํ,
สุสุกาภยมฺปิ ทุกฺขํ, อตฺตานุวาทภยมฺปิ ทุกฺขํ,
ปรานุวาทภยมฺปิ ทุกฺขํ, ทณฺฑภยมฺปิ ทุกฺขํ,
ทุคฺคติภยมฺปิ ทุกฺขํ, ปริสาสารชฺชภยมฺปิ
ทุกฺขํ, อาชีวกภยมฺปิ ทุกฺขํ, มรณภยมฺปิ
ทุกฺขํ,
อูมิภยมฺปิ
แม้เพราะคลื่น คือ ความคับใจด้วยอำนาจความโกรธ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, อาวฏฺฏภยมฺปิ
แม้ภัยเพราะน้ำวน คือ กามคุณ ๕ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, กุมฺภีลภยมฺปิ
แม้ภัยเพราะจระเข้ คือ ความเห็นแก่ปากท้อง ทุกฺขํ เป็นทุกข์, สุสุกาภยมฺปิ
แม้ภัยเพราะปลาร้าย คือ มาตุคาม ทุกฺขํ
เป็นทุกข์[8], อตฺตานุวาทภยมฺปิ
แม้ภัยคือการติเตียนตนเอง ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ปรานุวาทภยมฺปิ
แม้ภัยคือถูกผู้อื่นติเตียน ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ทณฺฑภยมฺปิ
แม้ภัยแต่การถูกลงโทษ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ปริสารชฺชภยมฺปิ
แม้ภัยคือความครั่นคร้ามในท่ามกลางบริษัท ทุกฺขํ เป็นทุกข์, อาชีวกภยมฺปิ
แม้ภัยคือการหาเลี้ยงชีพ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, มรณภยมฺปิ
แม้ภัยคือความตาย ทุกฺขํ เป็นทุกข์
เวตฺเตหิ ตาฬนมฺปิ
ทุกฺขํ, กสาหิ ตาฬนมฺปิ ทุกฺขํ,
อทฺธทณฺฑเกหิ ตาฬนมฺปิ ทุกฺขํ, หตฺถจฺเฉทนมฺปิ
ทุกฺขํ, ปาทจฺเฉทนมฺปิ ทุกฺขํ, หตฺถปาทจฺเฉทนมฺปิ
ทุกฺขํ, กณฺณจฺเฉทนมฺปิ ทุกฺขํ, นาสจฺเฉทนมฺปิ
ทุกฺขํ, กณฺณนาสจฺเฉทนมฺปิ ทุกฺขํ, พิลงฺคถาลิกมฺปิ
ทุกฺขํ, สงฺขมุณฺฑิกมฺปิ ทุกฺขํ, ราหุมุขมฺปิ
ทุกฺขํ, โชติมาลิกมฺปิ ทุกฺขํ, หตฺถปชฺโชติกมฺปิ
ทุกฺขํ, เอรกวตฺติกมฺปิ ทุกฺขํ, จีรกวาสิกมฺปิ
ทุกฺขํ, เอเณยฺยกมฺปิ ทุกฺขํ, พฬิสมํสิกมฺปิ ทุกฺขํ, กหาปณิกมฺปิ ทุกฺขํ, ขาราปตจฺฉิกมฺปิ ทุกฺขํ, ปลิฆปริวตฺติกมฺปิ ทุกฺขํ,
ปลาลปีฐกมฺปิ ทุกฺขํ, ตตฺเตน เตเลน
โอสิญฺจนมฺปิ ทุกฺขํ, สุนเขหิ ขาทาปนมฺปิ ทุกฺขํ, ชีวสูลาโรปนมฺปิ ทุกฺขํ, อสินา สีสจฺเฉทนมฺปิ ทุกฺขํ,
เอวรูปานิ, มหาราช, พหุวิธานิ
อเนกวิธานิ ทุกฺขานิ สํสารคโต อนุภวติฯ
เวตฺเตหิ ตาฬนมฺปิ
แม้การถูกตี ด้วยหวาย ทุกฺขํ เป็นทุกข์, กสาหิ ตาฬมฺปิ แม้การถูกตี
ด้วยแส้ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, อทฺธทณฺฑเกหิ ตาฬนมฺปิ แม้การถูกตี
ด้วยท่อนไม้กิ่งไม้ ทุกฺขํ เป็นทุกข์, หตฺถจฺเฉทนมฺปิ แม้การถูกตัดมือ
ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ปาทจฺเฉทนมฺปิ แม้การถูกตัดเท้า ทุกฺขํ
เป็นทุกข์, หตฺถปาทจฺเฉทนมฺปิ แม้การถูกตัดทั้งมือและเท้า ทุกฺขํ
เป็นทุกข์, กณฺณจฺเฉทนมฺปิ แม้การถูกตัดหู ทุกฺขํ เป็นทุกข์, นาสจฺเฉทนมฺปิ
แม้การถูกตัดจมูก ทุกฺขํ เป็นทุกข์, กณฺณนาสจฺเฉทนมฺปิ
แม้การถูกตัดทั้งหูทั้งจมูก ทุกฺขํ เป็นทุกข์, พิลงฺคถาลิกมฺปิ แม้การถูกถลกหนังศีรษะ
(เปิดหนังศีรษะขึ้นแล้วจึงเอาคีมคีบก้อนเหล็กแดงวางที่ศีรษะ เยื่อในสมองเดือดขึ้น
เพราะเหล็กแดง) ทุกฺขํ เป็นทุกข์, สงฺขมุณฺฑิกมฺปิ แม้การถูกถลกหนังทั้งตัว
(ถลกหนังหัวทางหูทั้งสองข้างและข้างหลังบริเวณก้านคอ
ดึงผมทั้งหมดให้เป็นปมกระจุกเดียว เอาไม้พันหนังหัวกับผมเข้าด้วยกัน
แล้วครูดกะโหลกด้วยกรวดหยาบ ขัดสี ล้างให้มีสีเหมือนสังข์) ทุกฺขํ
เป็นทุกข์, ราหุมุขมฺปิ แม้การถูกทำปากราหู (เปิดปากด้วยขอเหล็ก จุดประทีปโพลงภายในปาก
หรือเอาสิ่วเจาะปากตั้งแต่โคนหูทั้งสองจนมีโลหิตไหลเต็มปาก) ทุกฺขํ เป็นทุกข์, โชติมาลิกมฺปิ
แม้การถูกทำโชติมาลิกะ (มาลัยเปลวไฟส่องสว่าง คือ การเอาผ้าชุบน้ำมันพันรอบ ๆ ตัว
ตลอดทั้งตัว แล้วจุดไฟ) ทุกฺขํ เป็นทุกข์, หตฺถปชฺโชติกมฺปิ
แม้การถูกทำหัตถปัชโชติกะ (มือส่องแสง คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วมือ แล้วจุดไฟ) ทุกฺขํ
เป็นทุกข์, เอรกวตฺติกมฺปิ แม้การถูกทำเอรกวัตติกะ
(นุ่งผ้าแกะคือถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงเท้า แล้วตีให้วิ่งเหยียบหนังตนเอง) ทุกฺขํ
เป็นทุกข์, จีรกวาสิกมฺปิ แม้การถูกทำจีรกวาสิก
(นุ่งผ้าเปลือกปอ คือ ถลกหนังเป็นริ้ว ๆ ตั้งแต่คอลงมาถึงเอว
ตั้งแต่เอวลงมาถึงข้อเท้า) ทุกฺขํ เป็นทุกข์, เอเณยฺยกมฺปิ
แม้การถูกทำเอเณยยกะ (ทำให้เป็นเนื้อทราย คือ ให้คุกเข่า เท้าศอก ลงบนหลาวเหล็ก) ทุกฺขํ
เป็นทุกข์, พฬิสมํสิกมฺปิ แม้การถูกทำพฬิมังสิกะ
(ตกเบ็ด คือ เอาเบ็ดเกี่ยวตามเนื้อตัว แล้วดึงให้หนัง เนื้อเอ็น หลุดขาดเป็นชิ้น
ๆ) ทุกฺขํ เป็นทุกข์, กหาปณิกมฺปิ แม้การทำกหาปณก
(ทำเหรียญ คือ เอามีดเฉือนเนื้อออกทีละก้อน เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเท่าเหรียญ) ทุกฺขํ เป็นทุกข์,
ขาราปตจฺฉิกมฺปิ แม้การทำขารปตัจฉิกะ (ราดน้ำแสบ คือ
สับฟันเนื้อตัวตลอดทั้งตัว แล้วใช้นำแสบราดรด) ทุกฺขํ เป็นทุกข์,
ปลิฆปริวตฺติกมฺปิ แม้การทำปลิฆปริวัตติกะ
(ตอกลิ่ม คือให้นอนตะแคง แล้วใช้หลาวเหล็กตอกเข้าไปทางช่องหู
ให้ทะลุปักติดกับพื้นดินข้างล่าง ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ปลาลปีฐกมฺปิ
แม้การทำปลาลปิฐกะ (ทำตั่งฟาง คือ ใช้กระบองทุบตีจนกระดูกแหลกป่นปี้
ทิ้งร่างกายอยู่เหนือตั่งฟาง) ทุกฺขํ เป็นทุกข์,
ตตฺเตน
เตเลน โอสิญฺจนมฺปิ แม้การถูกรดราดด้วยน้ำมันเดือด ๆ ทุกฺขํ
เป็นทุกข์,
สุนเขหิ ขาทาปนมฺปิ แม้การถูกให้สุนัขขบกัด
ทุกฺขํ เป็นทุกข์, ชีวสูลาโรปนมฺปิ
แม้การถูกเสียบอยู่บนปลายหลาว
ทุกฺขํ เป็นทุกข์,
อสินา
สีสจฺเฉทนมฺปิ แม้การถูกตัดศีรษะด้วยดาบ ทุกฺขํ เป็นทุกข์,
เอวรูปานิ, มหาราช,
พหุวิธานิ อเนกวิธานิ ทุกฺขานิ สํสารคโต อนุภวติฯ
มหาราช มหาบพิตร สํสารคโต
สัตว์ผู้เที่ยวไปในสังสารวัฏ อนุภวติ ย่อมเสวย ทุกฺขานิ ทุกข์ พหุวิธานิ
มากมาย อเนกวิธานิ หลายประการ เอวรูปานิ เห็นปานฉะนี้.
‘‘ยถา,
มหาราช, หิมวนฺตปพฺพเต อภิวุฏฺฐํ อุทกํ คงฺคาย
นทิยา ปาสาณ สกฺขร ขร มรุมฺพ อาวฏฺฏ คคฺคลก อูมิกวงฺกจทิก อาวรณนีวรณมูลกสาขาสุ ปริโยตฺถรติ,
เอวเมว โข, มหาราช, เอวรูปานิ
พหุวิธานิ อเนกวิธานิ ทุกฺขานิ สํสารคโต อนุภวติฯ
มหาราช มหาบพิตร อุทกํ
น้ำ(ฝน) อภิวุฏฺฐํ ที่ตกแล้ว หิมวนฺตปพฺพเต บนภูเขาหิมพานต์ ปริโยตฺถรติ
ย่อมไหลท่วมทับ ปาสาณ สกฺขร ขร มรุมฺพ อาวฏฺฏ คคฺคลก อูมิก วงฺกจทิก
อาวรณนีวรณมูลกสาขาสุ ที่แผ่นหิน (ปาสาณ) กรวด (สกฺขร) ก้อนดิน (ขร) ทราย
(มรุมฺพ) บ่อน้ำวน (อาวฏฺฏ) คัคคลกะ (คคฺคลก?) เกลียวคลื่น (อูมิก) เขื่อนดิน
(วงฺกจทิก?) รากไม้และกิ่งไม้ที่ขวางทางอยู่ (อาวรณนีวรณมูลกสาขา) คงฺคาย นทิยา
ในแม่น้ำคงคา ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร สํสารคโต สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ
อนุภวติ ย่อมเสวย ทุกฺขานิ ทุกข์ พหุวิธานิ มากมาย อเนกวิธานิ
หลายประการ เอวรูปานิ เห็นปานฉะนี้ เอวเมว ฉันนั้นนั่นเทียว[9].
ปวตฺตํ, มหาราช,
ทุกฺขํ, อปฺปวตฺตํ สุขํฯ อปฺปวตฺตสฺส คุณํ
ปวตฺตสฺส จ ภยํ ทีปยมาโน, มหาราช, ภควา
อปฺปวตฺตสฺส สจฺฉิกิริยาย ชาติชราพฺยาธิมรณสมติกฺกมาย สมาทเปสิ, อิทเมตฺถ, มหาราช, การณํ,
เยน การเณน ภควา สมาทเปสี’’ติฯ
มหาราช มหาบพิตร ปวตฺตํ
ปวัตตะ (ความเป็นไป) ทุกฺขํ เป็นทุกข์[10], อปฺปวตฺตํ
อัปปวัตตะ (ความหยุดไป) สุขํ เป็นสุข[11]. มหาราช
มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ทีปยมาโน เมื่อทรงแสดง คุณํ
ซึ่งคุณ อปฺปวตฺตสฺส ของอัปปวัตตะ จ ด้วย ภยํ ซึ่งภัย ปวตฺตสฺส
ของปวัตตะ จ ด้วย สมาทเปสิ จึงทรงชักชวน สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้ง
อปฺปวตฺตสฺส ซึ่งอัปปวัตตะ ชาติชราพฺยาธิมรณสมติกฺกมาย เพื่อการก้าวล่วงซึ่งชาติ
ชรา พยาธิและมรณะ, มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค ปฏิกฺขิปิ
ทรงห้ามไว้ เยน การเณน ด้วยเหตุใด อิทํ (อปฺปวตฺตสฺส
สจฺฉิกิริยาชาติชราพฺยาธิมรณสมติกฺกมสงฺขาตํ อตฺถชาตํ) การทำให้แจ้งซึ่งการหยุดไปและการก้าวล่วงชาติชราพยาธิและมรณะ
นี้ การณํ เป็นเหตุ เอตฺถ = ปฏิกฺขปเน
ในการห้ามนี้
‘‘สาธุ,
ภนฺเต นาคเสน, สุนิพฺเพฐิโต ปญฺโห, สุกถิตํ การณํ, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ
มิลินฺโท
ราชา พระเจ้ามิลินท์
อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ
ดีจริง, ปญฺโห ปัญหา ตยา อันพระคุณเจ้า สุนิพฺเพฐิโต คลี่คลายดีแล้ว,
การณํ เหตุผล ตยา อันพระคุณเจ้า สุกถิตํ กล่าวไว้ดีแล้ว, ยํ
วจนํ คำพูดใด ตยา วุตฺตํ อันพระคุณเจ้ากล่าวไว้ ยถา
โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ เอตํ ซึ่งคำพูดนั้น
ตถา โดยประการนั้น เอวํ อย่างนี้ ดังนี้
อตฺตนิปาตนปญฺโห
ปญฺจโมฯ
อตฺตนิปาตนปญฺโห ปัญหาว่าด้วยการทำตนให้ตกไป
ปญฺจโม ลำดับที่
๕ นิฏฺฐิโต จบแล้ว
[1] ธมฺม มีอรรถ อาปตฺติ อาบัติ เช่น อุทฺทิฏฺฐา โข
อายสฺมนฺโต จตฺตาโร ปาราชิกา
ธมฺมา ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว (วิ.มหา.๑/๓๐๐) อีกนัยหนึ่ง
ธมฺม มีอรรถ เหตุ แปลว่า การกระทำอันเป็นเหตุแห่งการต้องอาบัติ
[2] วิ.มหา.๑/๒๑๓ แต่ในที่นั้นเป็น น จ, ภิกฺขเว,
อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ, โย ปาเตยฺย อาปตฺติ
ทุกฺกฏสฺส, ภิกษุไม่พึงยังตนให้ตกไป,หากยังตนพึงให้ตกไป
การต้องอาบัติชื่อทุกกฏ ย่อมมี.
[3] ปริยายศัพท์ในที่นี้มีอรรถธรรมเทศนา หมายความว่า
ทรงแสดงเรื่องนี้ไว้ในหลายพระสูตร อีกนัยหนึ่ง ถ้าแปลว่า โดยวาระเป็นอันมาก
หมายถึง แสดงเรื่องนี้ไว้หลายคร้้ง. ก็ ปริยาย ศัพท์ มีอรรถ ๖ คือ การณ
เหตุ, เทสนา ธรรมเทศนา ,วาร ในวาระครั้งคราว , เววจน ในคำไวพจน์ ปการ ในประเภท (ชนิด, อย่าง) อวสร โอกาส
(ธาน.๘๓๗)
[4] พระเจ้ามิลินท์ ทรงคิดว่า ถ้าหากตรัสว่า ไม่ควรทำตนให้ตกไป ดังนี้
จริงไซร้ ก็ไม่น่าจะทรงแสดงธรรม เพื่อการตัดขาดซึ่งชาติ คือ ความเกิด เป็นต้น
เพราะการปฏิบัติเพื่อความไม่เกิด ก็นับว่าเป็นความประสงค์จะไม่ให้มีอัตภาพเช่นเดียวกับการทำตนให้ตกไป
นั่นเอง
[5] หมายความว่า ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามการทำตนให้ตกไปไว้
เพื่อป้องกัน เพื่อรักษาภิกษุผู้มีศีล ผู้ไม่เยื่อใยในชีวิตไว้
เพื่อที่ภิกษุเหล่านี้จะดำรงอยู่ในโลก สร้างสิ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายได้นาน
ๆ
[6] ที.ม. ๑๐/๓๑๐
[7]การดำรงชีวิตอยู่ตราบนานเท่านานของภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมนี้
ด้วยประการเช่นนี้
ย่อมทำให้ทั้งตนเองได้บุญทั้งยังเป็นการปฏิบัตตนเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายอีกด้วย
[8] ม.ม.๑๓/๑๙๐
[9] มีอุปไมยดังนี้ สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปในสงสาร เปรียบได้กับ น้ำในแม่น้ำคงคา,
ทุกข์ทั้งมวล เปรียบได้กับวัตถุมีแผ่นหินเป็นต้นในแม่น้ำคงคานั้น, การที่สัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปในสงสารด้วยอำนาจตัณหาและอวิชชาจึงถูกต้องกับทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น
เปรียบเหมือนกับการที่น้ำในแม่น้ำคงคาไหลบ่าท่วมทับถูกวัตถุต่างๆ ในแม่น้ำนั้น
ไม่เว้นแม้สักอย่าง.
[10] ปวัตตะ กล่าวคือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ
ที่เป็นความสืบต่อกันด้วยอำนาจความสัมพันธ์กันเองแห่งเหตุและผล คือ เป็นผลในปัจจุบันที่มีจากเหตุในอดีต
และจักเป็นผลในอนาคตที่มีจากเหตุในปัจจุบัน. ปวัตตะนั้นเป็นทุกข์
[11] อัปปวัตตะ กล่าวคือ พระนิพพานอันเป็นธรรมที่หยุดชาติเป็นต้น อันได้ชื่อว่า
ปวัตตะนั้น. อปวัตตะนั้นเป็นสุข เพราะระงับปวัตตะที่เป็นทุกข์
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น