๘. อเภชฺชปริสปญฺโห
๘. อเภชชปริสปัญหา
ปัญหาว่าด้วยพระผู้มีพระภาคมีบริษัทไม่แตกแยก
๘. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ตุมฺเห ภณถ ‘ตถาคโต
อเภชฺชปริโส’ติ, ปุน จ ภณถ ‘เทวทตฺเตน เอกปฺปหารํ ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ ภินฺนานี’ติฯ
[๘] มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตุมฺเห พวกท่าน ภณถ กล่าวกันอยู่ อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต อเภชฺชปริโส มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ดังนี้, จ แต่ว่า ตุมฺเห พวกท่าน ภณถ กล่าว ปุน อีก อิติ ว่า ปญฺจ ภิกฺชุสตานิ ภิกษุ ๕๐๐ รูป เทวทตฺเตน อันพระเทวทัต ภินฺนานิ ทำลายแล้ว เอกปฺปหารํ[๑] ในคราวเดียว ดังนี้
ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต อเภชฺชปริโส, เตน หิ เทวทตฺเตน เอกปฺปหารํ ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ ภินฺนานีติ ยํ วจนํ,
ตํ มิจฺฉาฯ
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า ตถาคโต พระตถาคต อเภชฺชปริโส มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ดังนี้ จริงไซร้, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า ปญฺจ ภิกฺชุสตานิ ภิกษุ ๕๐๐ รูป เทวทตฺเตน อันพระเทวทัต ภินฺนานิ ทำลายแล้ว เอกปฺปหารํ ในคราวเดียว ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิด.
ยทิ เทวทตฺเตน เอกปฺปหารํ ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ
ภินฺนานิ,
เตน หิ ‘ตถาคโต อเภชฺชปริโส’ติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉา
ยทิ ถ้าหากว่า ปญฺจ ภิกฺชุสตานิ ภิกษุ ๕๐๐ รูป เทวทตฺเตน อันพระเทวทัต ภินฺนานิ ทำลายแล้ว เอกปฺปหารํ ในคราวเดียว (จริง) ไซร้, ยํ วจนํ คำใด อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต อเภชฺชปริโส มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ดังนี้, ตํ วจนํ คำนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิด.
อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห
ตวานุปฺปตฺโต,
คมฺภีโร ทุนฺนิเวฐิโย, คณฺฐิโตปิ คณฺฐิตโร,
เอตฺถายํ ชโน อาวโฏ นิวุโต โอวุโต ปิหิโต ปริโยนทฺโธ, เอตฺถ ตว ญาณพลํ ทสฺเสหิ ปรวาเทสู’’ติฯ
อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น คมฺภีโร ลึกซึ้ง, ทุนฺนิเวฐิโย เปลื้องได้ยาก, คณฺฐิตโร เป็นปมยิ่ง คณฺฐิโตปิ แม้กว่าปม, อยํ ชโน ชนนี้ (อวิชฺชากฺขนฺเธน) อันความไม่รู้ อาวโฏ ห่อหุ้มแน่นหนา นิวุโต หุ้มมิด โอวุโต กดทับไว้ ปิหิโต ปิดไว้ ปริโยนทฺโธ รัดรึงรอบด้าน[๒] เอตฺถ ปญฺเห ในปัญหานี้, ตฺวํ ขอท่าน ทสฺเสหิ จงแสดง ญาณพลํ ซึ่งกำลังแห่งญาณ ตว ของท่าน ปรวาเทสุ ในวาทะของชนฝ่ายอื่นเถิด[๓].
‘‘อเภชฺชปริโส, มหาราช, ตถาคโต, เทวทตฺเตน จ
เอกปฺปหารํ ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ ภินฺนานิ, ตญฺจ ปน เภทกสฺส พเลน,
เภทเก วิชฺชมาเน นตฺถิ, มหาราช, อเภชฺชํ นามฯ
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต
พระตถาคต อเภชฺชปริโส มีบริษัทไม่แตกแยกกัน จ และ ปญฺจ ภิกฺชุสตานิ ภิกษุ
๕๐๐ รูป เทวทตฺเตน อันพระเทวทัต ภินฺนานิ ทำลายแล้ว เอกปฺปหารํ
ในคราวเดียว, จ ปน ก็แต่ว่า ตํ เภชฺชํ ความแตกแยกนั้น โหติ
ย่อมมี พเลน ด้วยกำลัง เภทกสฺส ของผู้ยุยงให้แตกกัน, มหาราช
มหาบพิตร เภทเก เมื่อผู้ยุยงให้แตกกัน วิชฺชมาเน มีอยู่ อเภชฺชํ ความไม่แตกแยก
นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้.
เภทเก สติ มาตาปิ ปุตฺเตน
ภิชฺชติ,
ปุตฺโตปิ มาตรา ภิชฺชติ, ปิตาปิ ปุตฺเตน
ภิชฺชติ, ปุตฺโตปิ ปิตรา ภิชฺชติ, ภาตาปิ
ภคินิยา ภิชฺชติ, ภคินีปิ ภาตรา ภิชฺชติ, สหาโยปิ สหาเยน ภิชฺชติ, นาวาปิ นานาทารุสงฺฆฏิตา อูมิเวคสมฺปหาเรน
ภิชฺชติ, รุกฺโขปิ มธุกปฺปสมฺปนฺนผโล อนิลพลเวคาภิหโต
ภิชฺชติ, สุวณฺณมฺปิ ชาติมนฺตํ [ชาตรูปมฺปิ (สี.)]
โลเหน ภิชฺชติฯ
เภทเก เมื่อผู้มายุยงให้แตกกัน สติ มีอยู่, มาตาปิ แม้มารดา ภิชฺชติ ย่อมแตกแยก ปุตฺเตน กับบุตร, ปุตฺโตปิ แม้บุตร ภิชฺชติ ย่อมแตกแยก มาตรา กับมารดา, ปุตฺโตปิ แม้บุตร ภิชฺชติ ย่อมแตกแยก ปิตรา กับบิดา, ภาตาปิ แม้พี่น้องชาย ภิชฺชติ ย่อมแตกแยก ภคินิยา กับพี่น้องหญิง, ภคินีปิ แม้พี่น้องหญิง ภิชฺชติ ย่อมแตกแยก ภาตรา กับพี่น้องชาย, สหาโยปิ แม้สหาย ภิชฺชติ ย่อมแตกแยก สหาเยน กับสหาย, นาวาปิ แม้เรือง นานาทารุสงฺฆฏิตา ที่ประกอบขึ้นด้วยท่อนไม้ต่างๆ ภิชฺชติ ย่อมแตกแยก อูมิเวคสมฺปหาเรน ด้วยการซัดพร้อมกันโดยกำลังแห่งคลื่น, รุกฺโขปิ แม้ต้นไม้ มธุกปฺปสมฺปนฺนผโล มีผลรสหวานดก[๔] อนิลพลเวคาภิหโต ถูกแรงสายฟ้าฟาดเข้า ภิชฺชติ ย่อมฉีกขาด, สุวณฺณมฺปิ แม้ทอง ชาติมนฺตํ บริสุทธิ์ ภิชฺชติ ย่อมทำลายไป โลเหน เพราะโลหะ (อื่น[๕]).
อปิ จ, มหาราช, เนโส อธิปฺปาโย วิญฺญูนํ, เนสา พุทฺธานํ อธิมุตฺติ, เนโส ปณฺฑิตานํ ฉนฺโท ‘ตถาคโต เภชฺชปริโส’ติฯ
มหาราช มหาบพิตร อปิจ ก็ ยํ วจนํ คำกล่าว อิติ ว่า ตถาคโต พระตถาคต เภชฺชปริโส มีบริษัทแตกแยกแล้ว ดังนี้, เอโส (วจนชาโต) คำกล่าวนั่น น อธิปฺปาโย มิได้เป็นที่ประสงค์ วิญฺญูนํ แห่งวิญญูชน, เอสา (วจนชาตา) นั่น น อธิมุตฺติ มิได้เป็นที่ต้องการ พุทฺธานํ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, เอโส (วจนชาโต) นั่น น ฉนฺโท มิได้เป็นที่พอใจ ปณฺฑิตานํ แห่งบัณฑิตทั้งหลาย .
อปิ เจตฺถ การณํ อตฺถิ, เยน การเณน ตถาคโต วุจฺจติ ‘อเภชฺชปริโส’ติฯ
อปิจ ก็ ตถาคโต พระตถาคต ปณฺฑิเตหิ เหล่าบัณฑิต วุจฺจติ พากันกล่าวถึง อิติ ว่า อเภชฺชปริโส มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ดังนี้ เยน การเณน เพราะเหตุใด ตํ การณํ เหตุอันนั้น เอตฺถ ฐาเน ในฐานะนี้ อตฺถิ มีอยู่
กตมํ เอตฺถ การณํ? ตถาคตสฺส, มหาราช, กเตน อทาเนน
วา อปฺปิยวจเนน วา อนตฺถจริยาย วา อสมานตฺตตาย วา ยโต กุโตจิ จริยํ จรนฺตสฺสปิ
ปริสา ภินฺนาติ น สุตปุพฺพํ, เตน การเณน ตถาคโต วุจฺจติ ‘อเภชฺชปริโส’ติฯ
การณํ เหตุ เอตฺถ ในเรื่องนี้ กตมํ คืออะไร? มหาราช มหาบพิตร, ยํ การณํ เหตุใด อิติ ว่า ปริสา บริษัททั้งหลาย ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต[๖] จรนฺตสฺสปิ แม้ยังทรงบำเพ็ญ จริยํ ซึ่งพระจริยา[๗] ภินฺนา แตกแยกกันแล้ว ปริสโต จากบริษัท ยโต กุโตจิ[๘] อย่างใดอย่างหนึ่ง อทาเนน = โทเสน [๙] เพราะความผิด กเตน อันทรงกระทำแล้ว วา บ้าง, อปฺปิยวจเนน เพราะการกล่าวคำอันน่าเกลียด วา บ้าง, อนตฺถจริยาย วา เพราะการประพฤติสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ บ้าง สมานตฺตตาย วา เพราะทรงวางตนไม่เป็นอันหนึ่งเดียวกับบริษัท บ้าง ดังนี้, ตํ การณํ เหตุนั้น เกนจิ อันใครๆ น สุตปุพฺพํ ไม่เคยสดับมาแล้วในกาลก่อน, เตน การเณน เพราะเหตุนั้น ตถาคโต พระตถาคต ปณฑิเตหิ เหล่าบัณฑิตทั้งหลาย วุจฺจติ พากันกล่าว อิติ ว่า อเภชฺชปริโส มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ดังนี้.[๑๐]
ตยาเปตํ, มหาราช, ญาตพฺพํ ‘อตฺถิ กิญฺจิ
นวงฺเค พุทฺธวจเน สุตฺตาคตํ, อิมินา นาม การเณน โพธิสตฺตสฺส
กเตน ตถาคตสฺส ปริสา ภินฺนา’ติ?
มหาราช มหาบพิตร เอตํ การณํ แม้เหตุนั้น ตยาปิ อันมหาบพิตร ญาตพฺพํ พึงทราบ อิติ ว่า ปริสา บริษัททั้งหลาย ตถาคตสฺส ของพระตถาคต โพธิสตฺตสฺส ผู้ทรงยังเป็นพระโพธิสัตว์ ภินฺนา แตกแยกกันแล้ว การเณน เพราะเหตุ อิมินา นาม ชื่อนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต กเตน กระทำแล้ว ยํ ใด, (เอตํ กตการเณน ปริสเภชฺชนํ) ความแตกกันแห่งบริษัทเพราะเหตุอันทรงกระทำแล้ว นั้น สุตฺตาคตํ มาแล้วในพระสุตตันตะ พุทฺธวจเน ในพระพุทธวจนะ นวงฺเค มีองค์ ๙ กิญฺจิ ใดๆ อตฺถิ มีอยู่ หรือ, ดังนี้
‘‘นตฺถิ ภนฺเต, โน เจตํ โลเก ทิสฺสติ โนปิ สุยฺยติฯ
มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, เอตํ การณํ เหตุนั้น สุตฺตาคตํ มาแล้วในพระสุตตันตะ พุทฺธวจเน ในพระพุทธวจนะ นวงฺเค มีองค์ ๙ นตฺถิ ย่อมไม่มี , จ และ น ทิสฺสติ มิได้ปรากฏ โลเก ในโลกนี้, ตํ การณมฺปิ แม้เหตุนั้น มยา อันเรา โน สุยฺยติ = สุตปุพฺพํ ก็มิเคยได้ยิน.
สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ
ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยํ วจนํ คำพูดใด ตยา อันท่าน วุตฺตํ
กล่าวแล้ว ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ
ตํ วจนํ คำนั้น ตถา โดยประการนั้น เอวํ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.
อเภชฺชปริสปญฺโห อฏฺฐโมฯ
อเภชชปริสปัญหา
อฏฺฐโม ลำดับที่ ๘ นิฏฺฐิโต
จบ.
***
อเภชฺชวคฺโค ทุติโยฯ
อิมสฺมิํ วคฺเค อฏฺฐ ปญฺหาฯ
อเภชฺชวคฺโค หมู่ปัญหาที่มีอเภชชปริสปัญหาเป็นที่สุด
ทุติโย ลำดับที่ ๒
นิฏฺฐิโต จบ
ปญฺหา ปัญหาทั้งหลาย อฏฺฐ
๘
อิมสฺมิํ วคฺเค ในวรรคนี้
อตฺถิ มีอยู่.
****
บทสรุป "มิลินทปัญหา"
๒. อเภชชวรรค
๘.อเภชชปริสปัญหา
ปัญหาว่าด้วยพระผู้มีพระภาคมีบริษัทไม่แตกแยก
****
๑.
พระเจ้ามิลินท์เปิดประเด็นด้วยการชี้ให้เห็นถึงข้อขัดแย้งระหว่างพระพุทธดำรัส ๒
แห่ง ดังนี้
ก. พระตถาคต ทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน,
ข.
แต่มีเหตุการณ์ที่เหล่าภิกษุแตกแยกพร้อมกันถึง ๕๐๐ รูป เพราะพระเทวทัต.
เมื่อเป็นเช่นนี้ คำที่ว่า
พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยก ก็ไม่จริง เพราะกรณีนี้มีอยู่.
๒. พระนาคเสนเถระ ยอมรับว่า
เหตุการณ์ที่ภิกษุ ๕๐๐ แตกแยกกันนั้นเป็นจริง
แต่ไม่ใช่เหตุที่ทำให้การมีพระนามเช่นนั้น กลายเป็นเรื่องไม่จริง.
๓. บริษัทไม่แตกแยกกัน
สะท้อนความเป็นผู้นำของพระพุทธองค์
การที่บริษัทจะแตกแยกกัน
เป็นเพราะมีผู้ยุยง เมื่อปราศจากผู้ยุยง ก็จะไม่มีความแตกแยกกัน
แต่เพราะพระองค์ประพฤติธรรมที่เป็นเหตุให้แตกแยกกันก็หาไม่.
๔. พระเถระ ยกคติโลกมาประกอบว่า
ก.
ญาติทั้งหลายมีมารดาบิดากับบุตรเป็นต้น จะแตกแยกกันเพราะมีผู้ยุยง
ข.
เรือที่ประกอบจากวัสดุหลายชิ้น เมื่อถูกคลื่นซัด วัสดุเหล่านั้น อาจแตกจากกันได้
ค. ต้นไม้ใหญ่มีผลไม้สุกหวาน
ถูกสายฟ้าฟาด ก็แตกทำลายจากกัน
ง. ทองคำแท้
เมื่อมีโลหะอื่นๆปลอมปน เนื้อทองคำจะไม่ผสานเป็นเนื้อเดียว
๕.
เมื่อจะแสดงหลักฐานและเหตุผลมายืนยันให้พระเจ้ามิลินท์ได้เข้าใจ
ก.เหตุผล คือ
ว่าโดยวิสัยของบัณฑิต
บัณฑิตทั้งหลายมิได้รับรองเรื่องนี้ไว้
จึงถือเอามติของบัณฑิตเหล่านั้นมาใคร่ครวญประกอบ ดังที่พระเถระแสดงไว้ว่า
ข้อที่ว่า
พระตถาคตทรงเป็นผู้มีบริษัทแตกแยกกัน นี้ วิญญูชนทั้งหลายหาเห็นชอบด้วยไม่
พระพุทธะทั้งหลายหาทรงยอมรับด้วยไม่ บัณฑิตทั้งหลายหาพอใจไม่.
ข. หลักฐาน คือ ในพุทธพจน์มีองค์
๙ เฉพาะฝ่ายพระสูตร
การที่ได้รับการขนานพระนามเช่นนั้น
เพราะในพระบาฬีอรรถกถาทั้งหลาย
มิได้มีข้อความใดๆที่จะบ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่บริษัทของพระองค์จะแตกแยกกัน
เพราะเหตุแห่งพระองค์ ซึ่งเป็นผู้นำไม่ทรงประพฤติสังคหวัตถุธรรม
แต่ทรงยึดติดกับทรัพย์โดยไม่บริจาค บ้าง มีพระวาจาไม่น่าชื่นใจ บ้าง
ทรงหาความประพฤติเพื่อเป็นประโยชน์มิได้ บ้าง
แม้กระทั่งทรงวางพระองค์แตกต่างจากบริษัทของพระองค์เอง, แม้ในอดีตที่ยังคงเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญจริยา.
พระเถระยกเหตุผลและหลักฐานเช่นนี้มายืนยัน พระเจ้ามิลินท์จึงทรงยอมรับไว้ด้วยดี เพราะทรงเข้าใจแล้วว่า เหตุการณ์ที่แม้ภิกษุแตกแยกกัน ๕๐๐ รูป ก็เป็นเพราะถูกพระเทวทัตเป็นผู้ยุยง. แต่ในที่สุด พระองค์ทรงนำความกลมเกลียวแห่งภิกษุสงฆ์กลับคืนมาได้.
....
[๑] ปหาร
ศัพท์ ในคำว่า เอกปฺปหารํ มีความหมายว่า ขณะ เอก ศัพท์ มีความหมายว่า ครั้งเดียว.
คัมภีร์อภิธาน.คาถา๑๑๒๔ กล่าวปหาร ศัพท์นี้ มีอรรถ ๒ คือ โปถน โบยตี ยาโม
โมงยาม เพราะฉะนั้น คำนี้ ในบางแห่งหมายถึง การทุบตี หรือ โดยอ้อมว่า การทำร้าย.
แต่ในที่นี้มีอรรถโมงยาม เมื่อกล่าวโดยอ้อม ก็คือ ขณะหรือเวลาในขณะนั้น นั่นเอง.
[๒] ๕
ศัพท์มีอาวโฏเป็นต้น แม้จะหมายถึงผู้ถูกความไม่รู้ปิดกั้นไม่ให้รู้คำตอบได้
แต่การใช้วิเสสนะหลายบทเพื่อประดับให้คัมภีร์มีความงดงาม.
[๓] อีกนัยหนึ่ง
ปรวาเทสุ เป็นบทสัตตมีนิมิต แปลว่า ปรวาเทสุ เพราะวาทะของชนฝ่ายอื่น ตฺวํ ขอท่าน
ฯลฯ เอตฺถ ในปัญหานี้.
[๔] กปฺป
ศัพท์ ในมธกปฺปสมฺปนฺนผล มีอรรถว่า ผลสำเร็จ แปลโดยสัททนัยว่า มีผลอันหวานอันสมบูรณ์แล้ว.
[๕] โลห
แม้เป็นศัพท์สามัญ แต่ในที่นี้ได้แก่ ทองเหลือง เงิน เป็นต้น ที่เอาปนกับทอง
กล่าวคือ เป็นทองที่ผสมด้วยโลหะชนิดอื่น.
[๖] หมายถึง
พระโพธิสัตว์ เพราะ แม้พระโพธิสัตว์ ผู้ยังไม่เป็นพระตถาคต ก็ยังถูกเรียกว่า
พระตถาคต ในที่นี้ โดยโวหารที่ เรียกว่า อัตถาปัตตินัย วิธีที่รู้ได้ด้วยการเข้าถึงความหมายแม้ไม่ต้องกล่าว
เหตุที่ พระตถาคต ผู้ยังทรงบำเพ็ญจริยา แม้ยังไม่บรรลุพระโพธิญาณในขณะนั้น
แต่ในที่นี้กล่าวถึงพระตถาคตนั่นเอง ในที่นี้จึงหมายถึงพระโพธิสัตว์
[๗] อรรถกถาอธิบายว่า
ได้แก่ จริยา ๓ คือ โลกัตถจริยา ญาตัตถจริยา พุทธัตถจริยา
[๘] ในที่นี้
แปลตามอรรถกถา ที่แนะให้เพิ่มบทว่า ปริสโต เป็นวิเสสยะ
แล้วให้เป็นวิเสสนะของปริสโตนั้น.ส่วนบางฉบับแปล ยโต กุโตจิ ในอรรถสัตตมีว่า
ในภพใดภพหนึ่ง แม้นี้ก็ใช้ได้ เพราะ โต ปัจจัยที่ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติก็มีได้.
กรณีนี้ ให้แปลบทนี้ไว้ท้ายสุดว่า เพราะทานอันทรงมิได้ให้แล้ว ฯลฯ ยโต กุโตจิ
ในภพใดภพหนึ่ง.
[๙] กเตน
อทาเนน ฏีกามิลินท์ แก้เป็น กเตน โทสเนน ในทีนี้แปลตามมิลินทฏีกา เพราะ อทาน
หมายถึง การไม่บริจาค ดังนั้น การไม่บริจาคอันพระองค์ไม่กระทำแล้ว ชื่อว่า
เป็นความผิดพลาดประการหนึ่ง. แต่ในมิลินทปัญหาสำนวนล้านนา มีปาฐะว่า อาทาน หมายถึง
การยึดถือไม่บริจาค. อธิบายว่า อาทาน เป็นสภาวะที่ตรงข้ามกับ ทาน. ด้วยว่า
บริษัทจะเป็นอันรักใคร่กลมเกลียวกัน เพราะผู้นำมีสังคหวัตถุธรรม ๔ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา
แม้ในบาฬีมิลินทปัญหาพระนาคเสนกล่าวถึงเหตุที่ทำให้บริษัทแตกแยกกันเพราะประพฤติธรรมที่ตรงข้ามกับสังคหวัตถุธรรมดังกล่าว
แม้มตินี้จึงเป็นอันยุติด้วยเหตุผลและหลักฐานกล่าวคือบาฬีสังคหวัตถุ.
[๑๐] แปลโดยนัยของอรรถกถามิลินท์
อธิบายว่า ตถาคตสฺส มหาราช กเตน กตเมน, กเตน อทาเนน วา ฯลฯ ปริสาภินฺนาติ ยํ วา
การณํ. ยโต กุโตจิ จริยํ จรนตสฺสปิ ปริสา ภินฺนาติ โลกตฺถจริยํ ญาตตฺถจริยํ
พุทฺธตฺถจริยนฺติ เอวํ ติวิธํ จริยํ จรนฺตสฺสปิ โพธิสตฺตสฺส ยโต กุโตจิ ปริสโต
ปริสา ภินฺนาติ ยํ วา การณํ, ตํ น สุตปุพฺพํ. เตน การเณน ตถาคโต วุจฺจติ
"อเภชฺชปริโส"ติ.
ยํ การณํ วา
เหตุใด อิติ ว่า บริษัท ของพระโพธิสัตว์ ฯลฯ ผู้ประพฤติจริยา ๓ มีโลกัตถจริยา
เป็นต้น, ตํ การณํ เหตุนั้น เกนจิ อันใครๆ น สุตปุพฺพํ ไม่เคยได้ยินมาก่อน. เตน
การเณน นั้น เพราะเหตุนั้น ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น