๒. สพฺพสตฺตหิตผรณปญฺโห
สัพพสัตตหิตผรณปัญหา
ปัญหาว่าด้วยการที่พระตถาคตทรงเผยแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย
****
๒.
‘‘ภนฺเต นาคเสน, ตุมฺเห ภณถ ‘ตถาคโต สพฺพสตฺตานํ อหิตมปเนตฺวา หิตมุปทหตี’ติฯ ปุน
จ ภณถ อคฺคิกฺขนฺธูปเม ธมฺมปริยาเย ภญฺญมาเน ‘สฏฺฐิมตฺตานํ
ภิกฺขูนํ อุณฺหํ โลหิตํ มุขโต อุคฺคต’นฺติฯ อคฺคิกฺขนฺธูปมํ,
ภนฺเต, ธมฺมปริยายํ เทเสนฺเตน ตถาคเตน
สฏฺฐิมตฺตานํ ภิกฺขูนํ หิตมปเนตฺวา อหิตมุปทหิตํฯ
๒. มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตุมฺเห ท่านทั้งหลาย ภณถ กล่าวกันอยู่ อิติ
ว่า ตถาคโต พระตถาคต อปเนตฺวา ทรงขจัดแล้ว อหิตํ
ซึ่งความหายนะมิใช่ประโยชน์ อุปทหติ ย่อมเข้าไปตั้งไว้[1]
หิตํ ซึ่งประโยชน์ สพฺพสตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย ดังนี้. จ
อนึ่ง ตุมฺเห พวกท่าน ภณถ ยังกล่าว ปุน อิีก อิติ ว่า
ธมฺมปริยาเย[2] เมื่อธรรมเทศนา อคฺคิกฺขนฺธูปเม
อันมีกองไฟใหญ่เป็นอุปมา ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภญฺญมาเน
ตรัสอยู่, โลหิตํ โลหิต อุณฺหํ
อันร้อน อุคฺคตํ พุ่งออก มุขโต จากปาก ภิกฺขูนํ
ของภิกษุทั้งหลาย สฏฺฐิมตฺตานํ มีจำนวน ๖๐ รูป ดังนี้. ภนฺเต
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (อย่างไรก็ตาม) อหิตํ หายนะ[3]
ตถาคเตน อันพระตถาคต เทเสนฺเตน ผู้ทรงแสดง ธมฺมปริยายํ
ธรรมเทศนา อคฺคิกฺขนฺธูปมํ อันมีกองไฟเป็นอุปมา อปเนตฺวา ทรงขจัดแล้ว
หิตํ ซึ่งประโยชน์ อุปทหิตํ จึงทรงเข้าไปตั้งไว้แล้ว ภิกฺขูนํ
แก่ภิกษุทั้งหลาย สฏฺฐิมตฺตานํ มีจำนวน ๖๐ รูป[4].
ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต สพฺพสตฺตานํ อหิตมปเนตฺวา
หิตมุปทหติ, เตน หิ อคฺคิกฺขนฺธูปเม ธมฺมปริยาเย ภญฺญมาเน
สฏฺฐิมตฺตานํ ภิกฺขูนํ อุณฺหํ โลหิตํ มุขโต อุคฺคตนฺติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ
ยทิ ถ้าหากว่า ตถาคโต พระตถาคต อปเนตฺวา ทรงขจัดแล้ว อหิตํ
ซึ่งหายนะ อุปทหติ ย่อมเข้าไปตั้งไว้ หิตํ ซึ่งประโยชน์ สพฺพสตฺตานํ
แกสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย (จริงไซร้), เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ
พระดำรัสใด อิติ ว่า ธมฺมปริยาเย เมื่อธรรมเทศนา อคฺคิกฺขนฺธูปเม
อันมีกองไฟใหญ่เป็นอุปมา ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภญฺญมาเน ตรัสอยู่
โลหิตํ โลหิต อุณฺหํ อันร้อน อุคฺคตํ พุ่งออก มุขโต
จากปาก ภิกฺขูนํ ของภิกษุทั้งหลาย สฏฺฐิมตฺตานํ มีจำนวน ๖๐ รูป
ดังนี้, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น มิจฺฉา ต้องผิดไป.
ยทิ
อคฺคิกฺขนฺธูปเม ธมฺมปริยาเย ภญฺญมาเน สฏฺฐิมตฺตานํ ภิกฺขูนํ อุณฺหํ โลหิตํ มุขโต
อุคฺคตํ, เตน หิ ตถาคโต สพฺพสตฺตานํ อหิตมปเนตฺวา
หิตมุปทหตีติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ
ยทิ
ถ้าหากว่า ธมฺมปริยาเย เมื่อธรรมเทศนา อคฺคิกฺขนฺธูปเม
อันมีกองไฟใหญ่เป็นอุปมา ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภญฺญมาเน ตรัสอยู่
โลหิตํ โลหิต อุณฺหํ อันร้อน อุคฺคตํ พุ่งออก มุขโต
จากปาก ภิกฺขูนํ ของภิกษุทั้งหลาย สฏฺฐิมตฺตานํ มีจำนวน ๖๐ รูป
(จริงไซร้), เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ พระดำรัสแม้นั้น อิติ
ว่า ตถาคโต พระตถาคต อปเนตฺวา ทรงขจัดแล้ว อหิตํ
ซึ่งความหายนะมิใช่ประโยชน์ อุปทหติ ย่อมเข้าไปตั้งไว้ หิตํ
ซึ่งประโยชน์ สพฺพสตฺตานํ แกสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย ดังนี้ มิจฺฉา
ต้องผิดไป.
อยมฺปิ อุภโต
โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ
อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต
มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ
= กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด
ดังนี้.
‘‘ตถาคโต, มหาราช, สพฺพสตฺตานํ อหิตมปเนตฺวา หิตมุปทหติ,
อคฺคิกฺขนฺธูปเม ธมฺมปริยาเย ภญฺญมาเน สฏฺฐิมตฺตานํ ภิกฺขูนํ อุณฺหํ
โลหิตํ มุขโต อุคฺคตํ, ตญฺจ ปน น ตถาคตสฺส กเตน, เตสํ เยว อตฺตโน กเตนา’’ติฯ
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต
พระตถาคต อปเนตฺวา ทรงขจัดแล้ว อหิตํ ซึ่งความหายนะ อุปทหติ
ย่อมเข้าไปตั้งไว้หิตํ ซึ่งประโยชน์ สพฺพสตฺตานํ แก่สัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย
(จริง), ธมฺมปริยาเย
เมื่อธรรมเทศนา อคฺคิกฺขนฺธูปเม อันมีกองไฟใหญ่เป็นอุปมา ภควตา
อันพระผู้มีพระภาค ภญฺญมาเน ตรัสอยู่ โลหิตํ โลหิต อุณฺหํ
อันร้อน อุคฺคตํ พุ่งออก มุขโต จากปาก ภิกฺขูนํ
ของภิกษุทั้งหลาย สฏฺฐิมตฺตานํ มีจำนวน ๖๐ รูป, จ ปน ก็แต่ว่า ตํ
(เตสํ มุขโต โลหิตอุคฺคมนํ) การที่โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุเหล่านั้น
นั้น (โหติ) ย่อมมี กเตน เพราะการกระทำ[5]
ตถาคตสฺส ของพระตถาคต น หามิได้.
(หิ ที่แท้) (โหติ) ย่อมมี กเตน เพราะการกระทำ อตฺตโน
ของตน เตสํเยว แห่งภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เอง ดังนี้.[6]
‘‘ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต อคฺคิกฺขนฺธูปมํ ธมฺมปริยายํ น
ภาเสยฺย, อปิ นุ เตสํ อุณฺหํ โลหิตํ มุขโต อุคฺคจฺเฉยฺยาติ,
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ตถาคโต พระตถาคต น ภาเสยฺย ไม่พึงแสดง ธมฺมปริยายํ
ธรรมเทศนา อคฺคิกฺขนฺธูปมํ อันมีกองไฟเป็นอุปมา ไซร้, โลหิตํ โลหิต อุณฺหํ
อันร้อน อุคฺคจฺเฉยฺย จะพึงพุ่งออก มุขโต จากปาก ภิกฺขูนํ
ของภิกษุทั้งหลาย สฏฺฐิมตฺตานํ มีจำนวน ๖๐ รูป อปิ นุ หรือหนอ
ดังนี้.
น หิ, มหาราช, มิจฺฉาปฏิปนฺนานํ เตสํ ภควโต ธมฺมปริยายํ
สุตฺวา ปริฬาโห กาเย อุปฺปชฺชิ, เตน เตสํ ปริฬาเหน อุณฺหํ
โลหิตํ มุขโต อุคฺคต’’นฺติฯ
นาคเสนตฺเถโร
พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า ตํ ข้อนั้น โหติ
ย่อมมี น หามิได้ดอก มหาราช มหาบพิตร, ปริฬาโห ความเร่าร้อน อุปฺปชฺชิ
เกิดขึ้นแล้ว กาเย ในกาย เตสํ ภิกูขูนํ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มิจฺฉาปฏิปนฺนานํ
ผู้ประพฤติผิด สุตฺวา เพราะฟัง ธมฺมปริยายํ ซึ่งธรรมเทศนา ภควโต
ของพระผู้มีพระภาค, เตน ปริฬาเหน เพราะความเร่าร้อนนั้น โลหิตํ
โลหิต อุณฺหํ อันร้อน อุคฺคตํ จึงพุ่งออก มุขโต จากปาก ภิกฺขูนํ
ของภิกษุทั้งหลาย เตสํ เหล่านั้น ดังนี้.
‘‘เตน หิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคตสฺเสว กเตน เตสํ อุณฺหํ โลหิตํ
มุขโต อุคฺคตํ, ตถาคโต เยว ตตฺถ อธิกาโร เตสํ นาสนาย,
ยถา นาม, ภนฺเต นาคเสน, อหิ
วมฺมิกํ ปวิเสยฺย, อถญฺญตโร ปํสุกาโม ปุริโส วมฺมิกํ
ภินฺทิตฺวา ปํสุํ หเรยฺย, ตสฺส ปํสุหรเณน วมฺมิกสฺส สุสิรํ
ปิทเหยฺย, อถ ตตฺเถว โส อสฺสาสํ อลภมาโน มเรยฺย, นนุ โส, ภนฺเต, อหิ ตสฺส
ปุริสสฺส กเตน มรณปฺปตฺโต’’ติฯ
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เตนหิ ถ้าอย่างนั้น โลหิตํ โลหิต อุณฺหํ
อันร้อน อุคฺคตํ พุ่งออก มุขโต จากปาก เตสํ ภิกฺขูนํ
ของภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น กเตน เพราะการกระทำ ตถาคตสฺเสว ของพระตถาคตเจ้าอยู่ดี,
ตถาคโตเยว พระตถาคตเจ้าเท่านั้น อธิกาโร เป็นผู้จัดแจง ตตฺถ
ในเรื่องนั้น นาสนาย เพื่อความหายนะ เตสํ ภิกฺขูนํ แห่งภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น,
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ อหิ งู ปวิเสยฺย พึงเลื้อยเข้าไป
วมฺมิกํ สู่จอมปลวก, อถ ต่อมา ปุริโส บุรุษ อญฺญตโร คนหนึ่ง ปํสุกาโม
ต้องการฝุ่น ภินฺทิตฺวา ทำลายแล้ว วมฺมิกํ ซึ่งจอมปลวก หเรยฺย
พึงนำไป ปํสุํ ซึ่งฝุ่น, ปํสุหรเณน เพราะการนำฝุ่นไป ตสฺส
ของบุรุษนั้น โส ปํสุ ฝุ่นนั้น ปิทเหยฺย
พึงปิด สุสิรํ ซึ่งโพรง วมฺมิกสฺส ของจอมปลวก, อถ ทีนั้น โส
อหิ งูนั้น อลภมาโน ไม่ได้อยู่ อสฺสาสํ ซึ่งการหายใจ มเรยฺย
พึงตาย ตตฺเถว ในจอมปลวกนั้นนั่นแหละ, ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โส
อหิ งูนั้น มรณปฺปตฺโต ถึงแล้วซึ่งความตาย กเตน เพราะการกระทำ ตสฺส
ปุริสสฺส แห่งบุรุษนั้น นนุ หรือไม่ ดังนี้.
‘‘อาม มหาราชา’’ติฯ
นาคเสนตฺเถโร
อาห
พระนาคเสนเถระ ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร, อาม
เจริญพร ดังนี้
‘‘เอวเมว โข,
ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต เยว ตตฺถ อธิกาโร เตสํ
นาสนายา’’ติฯ
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ (โส ปุริโส บุรุษนั้น อธิกาโร เป็นผู้จัดแจง
ตตฺถ ในเรื่องนั้น นาสนาย เพื่อความหายนะ อหิโน แห่งงู) ยถา นาม ชื่อแม้ฉ้นใด, ตถาคโตเยว พระตถาคตนั่นแหละ
อธิกาโร ทรงเป็นผู้จัดแจง ตตฺถ ในเรื่องนั้น นาสนาย
เพื่อความหายนะ เตสํ ของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกันแล
ดังนี้.
‘‘ตถาคโต, มหาราช, ธมฺมํ เทสยมาโน อนุนยปฺปฏิฆํ น กโรติ,
อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺโต ธมฺมํ เทเสติ, เอวํ
ธมฺเม เทสียมาเน เย ตตฺถ สมฺมาปฏิปนฺนา, เต พุชฺฌนฺติฯ เย ปน
มิจฺฉาปฏิปนฺนา, เต ปตนฺติฯ
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต
พระตถาคต เทสยมาโน เมื่อทรงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม น กโรติ
มิได้ทรงกระทำ อนุนยปฺปฏิฆํ ซึ่งความยินดีและยินร้าย, อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺโต
ทรงเป็นผู้พ้นแล้วจากความยินดีและยินร้าย เทเสติ ทรงแสดงอยู่ ธมฺมํ
ซึ่งธรรม, ธมฺเม เมื่อธรรม ตถาคเตน อันพระองค์ เทสยมาเน
ทรงแสดงอยู่ เอวํ อย่างนี้ เย ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด สมฺมาปฏิปนฺนา
เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว โหนฺติ ย่อมเป็น, เต ภิกฺขู
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พุชฺฌนฺติ ย่อมตรัสรู้[7],
ปน แต่ เย ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด มิจฺฉาปฏิปนฺนา
เป็นผู้ปฏิบัติผิด โหนฺติ ย่อมเป็น, เต ภิกฺขู
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ปตนฺติ ย่อมพลาดตกไป.
ยถา, มหาราช, ปุริสสฺส อมฺพํ วา ชมฺพุํ วา มธุกํ วา
จาลยมานสฺส ยานิ ตตฺถ ผลานิ สารานิ ทฬฺหพนฺธนานิ, ตานิ
ตตฺเถว อจฺจุตานิ ติฏฺฐนฺติ, ยานิ ตตฺถ ผลานิ ปูติวณฺฏมูลานิ
ทุพฺพลพนฺธนานิ, ตานิ ปตนฺติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต ธมฺมํ เทสยมาโน อนุนยปฺปฏิฆํ น กโรติ,
อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺโต ธมฺมํ เทเสติ, เอวํ
ธมฺเม เทสียมาเน เย ตตฺถ สมฺมาปฏิปนฺนา, เต พุชฺฌนฺติฯ เย ปน
มิจฺฉาปฏิปนฺนา, เต ปตนฺติฯ
มหาราช
มหาบพิตร ปุริสสฺส เมื่อบุรุษ อมฺพํ วา ยังต้นมะม่วง บ้าง ชมฺพุํ
วา ยังต้นหว้า บ้าง มธุกํ วา ยังต้นมะขาม บ้าง จาลยมานสฺส ให้สั่นอยู่,
ตตฺถ บรรดาผลไม้เหล่านั้น ยานิ ผลานิ ผลทั้งหลายเหล่าใด สารานิ
มีเนื้อแน่น ทฬฺหพนฺธนานิ มีขั้วเหนียว, ตานิ ผลานิ
ผลไม้ทั้งหลายเหล่านั้น อจฺจุตานิ ไม่หลุดออก ติฏฺฐนฺติ
ยังคงติดอยู่ ตตฺเถว ที่ต้นไม้นั่นเทียว,
ยานิ ผลานิ ผลทั้งหลายเหล่าใด ปูติวณฺฏมูลานิ
มีโคนแห่งก้านเน่า ทุพฺพลพนฺธนานิ มีขั้วไม่แข็งแรง, ตานิ ผลานิ
ผลไม้ทั้งหลายเหล่านั้น ปตนฺติ ย่อมร่วงหล่นไป ยถา ฉันใด. มหาราช
มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต เทสยมาโน เมื่อทรงแสดง ธมฺมํ
ซึ่งธรรม น กโรติ มิได้ทรงกระทำ อนุนยปฺปฏิฆํ
ซึ่งความยินดีและยินร้าย, อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺโต
ทรงเป็นผู้พ้นแล้วจากความยินดีและยินร้าย เทเสติ ทรงแสดงอยู่ ธมฺมํ
ซึ่งธรรม, ธมฺเม เมื่อธรรม ตถาคเตน อันพระองค์ เทสยมาเน
ทรงแสดงอยู่ เอวํ อย่างนี้ เย ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด สมฺมาปฏิปนฺนา
เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว โหนฺติ ย่อมเป็น, เต ภิกฺขู
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พุชฺฌนฺติ ย่อมตรัสรู้, ปน แต่ เย ภิกฺขู
ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด มิจฺฉาปฏิปนฺนา เป็นผู้ปฏิบัติผิด โหนฺติ
ย่อมเป็น, เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ปตนฺติ ย่อมตกไป เอวเมว
โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล.
‘‘ยถา วา ปน,
มหาราช, กสฺสโก ธญฺญํ โรเปตุกาโม เขตฺตํ กสติ,
ตสฺส กสนฺตสฺส อเนกสตสหสฺสานิ ติณานิ มรนฺติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต ปริปกฺกมานเส สตฺเต โพเธนฺโต [โพเธตุํ (สี.)]
อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺโต ธมฺมํ เทเสติ, เอวํ ธมฺเม เทสียมาเน
เย ตตฺถ สมฺมาปฏิปนฺนา, เต พุชฺฌนฺติฯ เย ปน มิจฺฉาปฏิปนฺนา,
เต ติณานิ วิย มรนฺติฯ
มหาราช
มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า กสฺสโก ชาวนา โรเปตุกาโม
ต้องการปลูก ธญฺญํ ซึ่งข้าว กสติ ย่อมไถ เขตฺตํ ซึ่งนา, ตสฺส
กสกสฺส เมื่อชาวนานั้น กสนฺตสฺส ไถอยู่, ติณานิ ต้นหญ้า อเนกสตสหสฺสานิ
หลายแสนต้น มรนฺติ ย่อมตายไป ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร
ตถาคโต พระตถาคต สตฺเต ยังสัตว์ทั้งหลาย ปริปกฺกมานเส
ผู้มีใจ[8]
โพเธนฺโต เมื่อให้ตรัสรู้อยู่ อนุนยปฺปฏิฆวิปฺปมุตฺโต
ทรงเป็นผู้พ้นแล้วจากความยินดีและยินร้าย เทเสติ ทรงแสดงอยู่ ธมฺมํ
ซึ่งธรรม, ธมฺเม เมื่อธรรม ตถาคเตน อันพระองค์ เทสยมาเน
ทรงแสดงอยู่ เอวํ อย่างนี้ เย ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด สมฺมาปฏิปนฺนา
เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว โหนฺติ ย่อมเป็น, เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
พุชฺฌนฺติ ย่อมตรัสรู้, ปน แต่ เย ภิกฺขู
ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด มิจฺฉาปฏิปนฺนา เป็นผู้ปฏิบัติผิด โหนฺติ
ย่อมเป็น, เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มรนฺติ ย่อมตายไป วิย
เหมือน ติณานิ หญ้าทั้งหลาย มรนฺตานิ ที่ตายไป เอวเมว โข
ฉันนั้นเหมือนกันแล.
‘‘ยถา วา ปน,
มหาราช, มนุสฺสา รสเหตุ ยนฺเตน อุจฺฉุํ
ปีฬยนฺติ, เตสํ อุจฺฉุํ ปีฬยมานานํ เย ตตฺถ ยนฺตมุขคตา กิมโย,
เต ปีฬิยนฺติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต ปริปกฺกมานเส สตฺเต โพเธนฺโต ธมฺมยนฺตมภิปีฬยติ [ธมฺมยนฺตมติปีฬยติ (ก.)], เย ตตฺถ มิจฺฉาปฏิปนฺนา, เต กิมี วิย มรนฺตี’’ติฯ
มหาราช
มหาบพิตร วา ปน ก็หรือว่า มนุสฺสา มนุษย์ทั้งหลาย ปีฬยนฺติ
ย่อมคั้น อุจฺฉุํ ซึ่งอ้อย ยนฺเตน ด้วยเครื่องคั้น รสเหตุ
เพราะเหตุแห่งรส, เตสํ มนุสฺสานํ เมื่อมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ปีฬยมานานํ
คั้นอยู่ อุจฺฉุํ ซึ่งอ้อย, ตตฺถ ในบรรดาหนอนเหล่านั้น เย กิมโย
หนอนทั้งหลายเหล่าใด ยนฺตมุขคตา ไต่อยู่หน้าเครื่องคั้น โหนฺติ
ย่อมมี, เต กิมโย หนอนทั้งหลายเหล่านั้น ยนฺเตน ถูกเครื่องคั้น ปีฬิยนฺติ
บีบคั้น ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต สตฺเต
ยังสัตว์ทั้งหลาย ปริปกฺกมานเส ผู้มีใจสุกงอม โพเธนฺโต เมื่อให้ตรัสรู้
อภิปีฬยติ ทรงคั้นอยู่ ธมฺมยนฺตํ ซึ่งเครื่องคั้นซึ่งธรรม, เย ภิกฺขู
ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด สมฺมาปฏิปนฺนา เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว โหนฺติ
ย่อมเป็น, เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พุชฺฌนฺติ ย่อมตรัสรู้, ปน แต่ เย ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด มิจฺฉาปฏิปนฺนา
เป็นผู้ปฏิบัติผิด โหนฺติ ย่อมเป็น, มรนฺติ ย่อมตายไป วิย เหมือน กีมี หนอนทั้งหลาย มรนฺตา
ที่ตายไป เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกันแล ดังนี้.
‘‘นนุ, ภนฺเต นาคเสน, เต ภิกฺขู ตาย ธมฺมเทสนาย ปติตา’’ติ?
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ปติตา พลาดตกแล้ว
ตาย ธมฺมเทสนาย เพราะธรรมเทศนานั้น นนุ มิใช่หรือ ดังนี้.
‘‘อปิ นุ โข,
มหาราช, ตจฺฉโก รุกฺขํ ตจฺฉนฺโต [รกฺขนฺโต (สี. ปี.] อุชุกํ ปริสุทฺธํ กโรตี’’ติ?
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตจฺฉโก ช่างถาก
ตจฺฉนฺโต เมื่อถาก[9]
กโรติ ย่อมกระทำ รุกฺขํ ซึ่งต้นไม้ (ทั้งหมด) อุชุกํ ให้ตรง ปริสุทฺธํ
ให้หมดจด อปิ นุ โข ใช่หรือไม่ ดังนี้
‘‘น หิ, ภนฺเต, วชฺชนียํ อปเนตฺวา ตจฺฉโก รุกฺขํ อุชุกํ
ปริสุทฺธํ กโรตี’’ติฯ
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ หิ ก็ น หามิได้ดอก, ตจฺฉโก ช่างถาก
อปเนตฺวา คัดออกแล้ว วชฺชนียํ ซึ่งต้นไม้อันควรละเว้น กโรติ
จึงกระทำ รุกฺขํ ซึ่งต้นไม้ (อันเหลือ) อุชุกํ ให้ตรง ปริสุทฺธํ
ให้หมดจด ดังนี้.
‘‘เอวเมว โข,
มหาราช, ตถาคโต ปริสํ รกฺขนฺโต น สกฺโกติ
โพธเนยฺเย [อโพธนีเย (สฺยา.)] สตฺเต โพเธตุํ, มิจฺฉาปฏิปนฺเน ปน สตฺเต อปเนตฺวา
โพธเนยฺเย สตฺเต โพเธติ, อตฺตกเตน ปน เต, มหาราช, มิจฺฉาปฏิปนฺนา ปตนฺติ.
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต
รกฺขนฺโต เมื่อทรงรักษา ปริสํ ซึ่งบริษัท น สกฺโกติ ทรงมิอาจ
โพเธตุํ เพื่อ - สตฺเต ยังสัตว์ทั้งหลาย โพธเนยฺเย อันควรตรัสรู้[10]
- ให้ตรัสรู้ได้ทั้งหมด, ปน ก็ อปเนตฺวา ทรงคัดออกแล้ว สตฺเต ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
มิจฺฉาปฏิปนฺเน ผู้ปฏิบัติมิชอบ, สตฺเต ยังสัตว์ทั้งหลาย โพธเนยฺเย
ผู้ควรตรัสรู้ โพเธติ ย่อมให้ตรัสรู้ เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกันแล,
มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มิจฺฉาปฏิปนฺนา
ผู้ปฏิบัติมิชอบ ปตนฺติ ย่อมพลาดตกไป อตฺตกเตน เพราะกรรมอันตนทำแล้ว
.
‘‘ยถา, มหาราช, กทลี เวฬุ อสฺสตรี อตฺตเชน [อตฺตเชน ผเลน (สี.)] หญฺญติ, เอวเมว โข, มหาราช,
เย เต มิจฺฉาปฏิปนฺนา, เต อตฺตกเตน หญฺญนฺติ
ปตนฺติฯ
มหาราช มหาบพิตร
กทลี ต้นกล้วย เวฬุ ต้นไผ่ อสฺสตรี นางม้าอัศดร อตฺตเชน
อันผลเกิดแต่ตน หญฺญติ ย่อมฆ่า ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร เย
เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด มิจฺฉาปฏิปนฺนา เป็นผู้ปฏิบัติมิชอบ โหนฺติ
มีอยู่, เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น อตฺตกเตน
ถูกกรรมอันตนทำแล้ว หญฺญติ ย่อมฆ่า ปตนฺติ ย่อมพลาดตกไป เอวเมว
โข ฉันนั้นเหมือนกันแล.
‘‘ยถา, มหาราช, โจรา อตฺตกเตน จกฺขุปฺปาฏนํ สูลาโรปนํ
สีสจฺเฉทนํ ปาปุณนฺติ, เอวเมว โข, มหาราช,
เย เต มิจฺฉาปฏิปนฺนา, เต อตฺตกเตน หญฺญนฺติ
ปตนฺติ [ชินสาสนา ปตนฺติ (สี.
ปี.)]ฯ เยสํ, มหาราช, สฏฺฐิมตฺตานํ ภิกฺขูนํ อุณฺหํ โลหิตํ มุขโต อุคฺคตํ, เตสํ ตํ เนว ภควโต กเตน, น ปเรสํ กเตน, อถ โข อตฺตโน เยว กเตนฯ
มหาราช มหาบพิตร
โจรา พวกโจร ปาปุณนฺติ ย่อมถึง จกฺขุปฺปาฏนํ ซึ่งการถูกควักนัยน์ตา
สูลาโรปนํ ซึ่งการถูกยกขึ้นสู่ (เสียบ)หลาว สีสจฺเฉทนํ
ซึ่งการตัดศีรษะ อตฺตกเตน เพราะกรรมอันตนทำแล้ว ยถา ฉันใด, มหาราช
มหาบพิตร มหาบพิตร เย เต ภิกฺขู ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด มิจฺฉาปฏิปนฺนา
เป็นผู้ปฏิบัติมิชอบ โหนฺติ มีอยู่, เต ภิกฺขู
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น อตฺตกเตน อันกรรมที่ตนทำแล้ว หญฺญติ
ย่อมฆ่า, คือ (หนฺตฺวา) เพราะละทิ้ง (ปรโตโฆสปจฺจยํ)
ซึ่งปัจจัยคือปรโตโฆสะ ปตนฺติ จึงพลาดตกไป (มคฺคผลนิพฺพานโต) จากมรรคผลและนิพพาน
เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกันแล[11].
‘‘ยถา, มหาราช, ปุริโส สพฺพชนสฺส อมตํ ทเทยฺย, เต ตํ อมตํ อสิตฺวา อโรคา ทีฆายุกา สพฺพีติโต [สพฺพีติยา (สี.)]
ปริมุจฺเจยฺยุํ, อถญฺญตโร ปุริโส ทุรุปจาเรน ตํ อสิตฺวา มรณํ
ปาปุเณยฺย, อปิ นุ โข โส, มหาราช,
อมตทายโก ปุริโส ตโตนิทานํ กิญฺจิ อปุญฺญํ อาปชฺเชยฺยา’’ติ?
มหาราช
มหาบพิตร ยถา เปรียบเหมือนว่า ปุริโส บุรุษ คนหนึ่ง ทเทยฺย
พึงให้ อมตํ (โอสธํ) ซึ่งยาอมตะ สพฺพชนสฺส แก่ชนทั้งปวง, เต ชนา
ชนทั้งหลายเหล่านั้น อสิตฺวา ดื่มแล้ว ตํ อมตํ โอสธํ ซึ่งยาอมตะนั้น
อโรคา เป็นผู้ไม่มีโรค ทีฆายุกา มีอายุยืน ปริมุจฺเจยฺยุํ พึงพ้นไป
สพฺพีติโต จากจัญไรทั้งปวง, อถ ต่อมา อญฺญตโร ปุริโส
ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่ง อสิตฺวา ดื่มแล้ว ตํ โอสธํ ซึ่งยาอมตะนั้น ทุรุปจาเรน
โดยวิธิการอันผิด[12] ปาปุเณยฺย พึงถึง มรณํ
ซึ่งความตาย, มหาราช มหาบพิตร โส ปุริโส นั้น บุรุษ อมตทายโก
ผู้มอบยาอมตะให้ อาปชฺเชยฺย พึงถึง อปุญฺญํ บาป กิญฺจิ ไรๆ ตโตนิทานํ
อันมีเหตุเกิดแต่การให้ยานั้น อปิ นุ โข บ้างหรือหนอ ดังนี้.
‘‘น หิ, ภนฺเต’’ติฯ
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ หิ ก็ โส ปุริโส นั้น บุรุษ อมตทายโก
ผู้มอบยาอมตะให้ น อาปชฺเชยฺย ไม่พึงถึง อปุญฺญํ บาป กิญฺจิ
ไรๆ ดังนี้
‘‘เอวเมว โข,
มหาราช, ตถาคโต ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา
เทวมนุสฺสานํ อมตํ ธมฺมทานํ เทติ, เย เต สตฺตา ภพฺพา,
เต ธมฺมามเตน พุชฺฌนฺติฯ เย ปน เต สตฺตา อภพฺพา, เต ธมฺมามเตน หญฺญนฺติ ปตนฺติฯ
นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต
พระตถาคต เทติ ทรงประทานอยู่ อมตํ โภชนะอันอมตะ ธมฺมทานํ คือ
ธรรมทาน[13]
เทวมนุสฺสานํ แก่มนุษย์ทั้งหลาย โลกธาตุยา ในโลกธาตุ ทสสหสฺสิยา
มีหมื่นเป็นประมาณ, เย เต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ภพฺพา
เป็นผู้ควร, เต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น พุชฺฌนฺติ ย่อมตรัสรู้
ธมฺมามเตน ด้วยโภชนอมตะคือธรรม. ปน แต่ เย เต สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด อภพฺพา เป็นผู้อาภัพ (ไม่ควร), เต สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ธมฺมามเตน อันโภชนอมตะคือธรรมนั้น หญฺญติ
ย่อมฆ่า, ปตนฺติ ย่อมพลาดตกไป (ธมฺมามเตน) จากโภชนอมตะคือธรรมนั้น เอวเมว
โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล.
โภชนํ, มหาราช, สพฺพสตฺตานํ ชีวิตํ รกฺขติ, ตเมกจฺเจ ภุญฺชิตฺวา วิสูจิกาย มรนฺติ, อปิ นุ โข โส,
มหาราช, โภชนทายโก ปุริโส ตโตนิทานํ กิญฺจิ
อปุญฺญํ อาปชฺเชยฺยา’’ติ?
มหาราช
มหาบพิตร โภชนํ โภชนะ รกฺขติ ย่อมรักษา ชีวิตํ ซึ่งชีวิต สพฺพสตฺตานํ
แห่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย, เอกจฺเจ สัตว์ทั้งหลายบางพวก ภุญฺชิตฺวา
บริโภคแล้ว ตํ โภชนํ ซึ่งโภชนะนั้น มรนฺติ ย่อมตาย วิสูจิกาย
เพราะโรคลงท้อง, มหาราช มหาบพิตร โส ปุริโส บุรุษนั้น โภชนทายโก
ผู้มอบโภชนะให้ อาปชฺเชยฺย พึงถึง อปุญฺญํ ซึ่งบาป กิญฺจิ
ไรๆ ตโตนิทานํ มีการให้โภชนะนั้นเป็นเหตุ[14]
อปิ นุ โข บ้างหรือหนอ ดังนี้.
‘‘น หิ, ภนฺเต’’ติฯ
มิลินฺโท ราชา
พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ โส ปุริโส บุรุษนั้น โภชนทายโก
ผู้มอบโภชนะให้ น อาปชฺเชยฺย
มิพึงถึง อปุญฺญํ ซึ่งบาป กิญฺจิ ไรๆ ตโตนิทานํ
มีการให้โภชนะนั้นเป็นเหตุ ดังนี้.
‘‘เอวเมว โข,
มหาราช, ตถาคโต ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา เทวมนุสฺสานํ
อมตํ ธมฺมทานํ เทติ, เย เต สตฺตา ภพฺพา, เต ธมฺมามเตน พุชฺฌนฺติฯ เย ปน เต สตฺตา อภพฺพา, เต
ธมฺมามเตน หญฺญนฺติ ปตนฺตี’’ติฯ
นาคเสนตฺเถโร
พระนาคเสนเถระ
อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต
พระตถาคต เทติ ทรงประทานอยู่ อมตํ โภชนอมตะ ธมฺมทานํ คือ
ธรรมทาน เทวมนุสฺสานํ แก่มนุษย์ทั้งหลาย โลกธาตุยา ในโลกธาตุ ทสสหสฺสิยา
มีหมื่นเป็นประมาณ, เย เต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ภพฺพา
เป็นผู้ควร, เต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น พุชฺฌนฺติ ย่อมตรัสรู้
ธมฺมามเตน ด้วยโภชนอมตะคือธรรมทาน. ปน แต่ เย เต สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด อภพฺพา เป็นผู้อาภัพ, เต สตฺตา
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ธมฺมามเตน อันโภชนอมตะคือธรรมนั้น หญฺญติ
ย่อมฆ่า, ปตนฺติ ย่อมพลาดตกไป คือ (หนฺตฺวา) เพราะละทิ้ง (ปรโตโฆสปจฺจยํ)
ซึ่งปัจจัยคือปรโตโฆสะ ปตนฺติ จึงพลาดตกไป (มคฺคผลนิพฺพานโต)
จากมรรคผลและนิพพาน เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกันแล.
‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเส น, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, สาธุ ดีจริง, ยํ วจนํ คำพูดใด ตยา อันท่าน วุตฺตํ
กล่าวแล้ว ยถา โดยประการใด, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ขอยอมรับ
ตํ วจนํ คำนั้น ตถา โดยประการนั้น เอวํ ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.
สพฺพสตฺตหิตผรณปญฺโห
ทุติโยฯ
สพฺพสตฺตหิตผรณปญฺโห
สัพพสัตตหิตผรณปัญหา
ทุติโย ลำดับที่
๒ นิฏฺฐิโต จบ
[1] อุปทหติ (อุป +
ทห ธารเณ + อ + ติ) ความหมายตามศัพท์ คือ ทรงไว้ แต่ใช้ในอรรถว่า ฐปน (อุปทหตีติ
ฐเปนฺติ. วินย.ฏี.๓/๓๙๕) ตั้งไว้. หรือ อุปฺปาทน ให้เกิดขึ้น (อุปทหนฺตีติ
อุปฺปาเทนฺติ. วิ.อฏฺ.๓/๑๔๕) ในที่นี้ แปลว่า ตั้งไว้ โดยโวหารัตถนัย.
[2] ปริยาย ศัพท์
มีอรรถ ๖ อย่าง คือ การณ เหตุ, เทสนา
ธรรมเทศนา, วาร ครั้งคราว, เววจน คำไวพจน์, ปการ ประเภท ชนิดหรืออย่าง, อวสร โอกาส
(ธาน. ๘๓๗, มูลปริยายสุตฺตวัณณนา, มูลปัณณาสกอฏฺฐกถา)
[3] แปลตามสัททัตถนัยว่า
สภาพอันไม่ใช่ประโยชน์ ตามวิเคราะห์ว่า น หิตํ อหิตํ ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล
ชื่อว่า อหิตํ หมายความว่า เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับประโยชน์เกื้อกูล กล่าวคือ
ความหายนะ หรือ ความฉิบหาย. ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถนัย.
[4] ในอัคคิกขันโธปมสูตร
ซึ่งมีเทศนาเกี่ยวกับการกอดกองไฟแห่งภิกษุผู้มีปกติทุศีล
ยังดีเสียกว่าการเข้าไปกอดมาตุคาม เพราะการกอดกองไฟถึงจะเป็นเหตุให้ได้รับทุกขเวทนาก็จริง
แต่เป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น แต่การกอดมาตุคาม ทำให้เข้าถึงทุคติ วินิบาต นรก
เป็นต้น ในภพชาติต่อไปติดต่อกันตลอดกาลนาน เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีลนั้น.
ครั้นเทศนาจบลง ภิกษุ ๖๐ รูปที่เป็นผู้ทุศีลถึงกับกระอักโลหิตออกมา บางพวกเห็นว่า
การบวชเป็นภิกษุลำบาก จึงลาสิกขา แต่ผู้มีศีลดี บรรลุพระอรหัตต์. ในพระสูตรนี้ พระเจ้ามิลินท์ทรงตั้งข้อสังเกตว่า
การที่ภิกษุเหล่านั้นได้รับความหายนะ คือ ทุกขเวทนาถึงขั้นกระอักโลหิต
เพราะมีพระพุทธองค์ทรงเป็นต้นเหตุ เป็นผู้จัดแจงความหายนะนั้นให้ ซึ่งกรณีนี้ขัดแย้งกับที่กล่าวกันว่า
พระพุทธองค์ทรงขจัดหายนะ
และทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์โดยส่วนเดียว.
เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์ทั้งสองนี้ จักต้องมีอย่างเดียวเท่านั้น ที่ถูกต้อง
เชื่อถือได้.
[5] ในที่นี้เลือกแปล
กเตน เป็น ภาวสาธนะ แต่ถ้าจะแปลเป็นกรรมสาธนะ โดยเพิ่ม กรเณน การกระทำ ตถาคตสฺส = ตถาคเตน อันพระตถาคต กเตน
ทรงกระทำแล้ว ดังนี้ ก็ได้.
[6] ความจริง
การที่ภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น ได้รับทุกขเวทนาเพราะธรรมเทศนานั้น
หาได้เป็นการได้รับหายนะจากพระพุทธองค์เป็นต้นเหตุไม่ เป็นเพราะการกระทำของเขาเอง
เพราะหากไม่ได้ฟังเทศนานี้ ก็ยังประพฤติความเสื่อมเสียคือเป็นผู้ทุศีลต่อไป
และอกุศลกรรมนั้นก็จักเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายในภายหน้า แต่เมื่อได้รับฟังเทศนาแล้ว
ก็จักหยุดการทำกรรม และต้องดำรงเพศคฤหัสถ์ ประกอบกุศลกรรม
ก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ กระทั่งบรรลุมรรคผลในที่สุด.
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็นับว่าทรงเป็นผู้ขจัดหายนะ
แต่ทรงเป็นผู้สร้างประโยชน์ให้ภิกษุเหล่านั้นอย่างแท้จริง.
[7] พุชฺฌนฺติ
ย่อมตรัสรู้ ในที่นี้หมายถึง ได้ตรัสรู้นิโรธอริยสัจจ์ เพราะได้ปัจจัยคือปรโตโฆสะ.
[8] ในที่นี้คือ
อินทรีย์ ๕.
[9] ฉบับสีหลและยุโรปเป็น
รกฺขนฺโต ตามปาฐะนี้ ก็จะสอดคล้องกับอุปไมย ซึ่งมีความหมายว่า หากช่างไม้ เอาแต่รักษาต้นไม้ คือ
ยังเสียดายต้นไม้จึงขูด ไส ดัดต้นไม้ทั้งหมดนั้นให้ตรง ไม่คัดเอาเฉพาะแต่ต้นไม้ดีๆ
จะไม่สามารถทำกิจให้สำเร็จลงได้ แม้พระตถาคตก็ทรงเป็นคล้ายกับช่างไม้นั้น
หากเอาแต่ทรงรักษาคือเสียดายบริษัททั้งหมด ไม่สละบริษัทที่ปฏิบัติผิด ทรงเทศนาอยู่
ก็ไม่อาจทำให้ผู้ที่ควรตรัสรู้ทั้งหมดได้ตรัสรู้ ดังนั้น
จึงทรงคัดเอาเฉพาะผู้ปฏิบัติผิดออกไปเสีย.
[10] ฉบับไทยเป็น
อโพธนีเย ผู้ไม่ควรตรัสรู้. ในที่นี้แปลตามฉบับฉัฏฐสังคีติ หมายความว่า
เมื่อรักษาบริษัทให้ได้ ไม่สามารถให้ผู้ที่ควรตรัสรู้ได้รู้
หากมีผู้ไม่บริสุทธิ์ปะปนอยู่ จึงทรงคัดพวกที่ไม่บริสุทธิ์ออกเสียก่อน
จึงทำให้ผู้ควรตรัสรู้ได้ตรัสรู้.
[11] ข้อความในวงเล็บ
เพิ่มเข้ามาตามที่อรรถกถาอธิบายว่า ปรโตโฆสปฺปจยํ หนฺตวา มคฺคผลนิพฺพานโต ปตนฺติ.
อนึ่ง ในที่นี้เห็นว่า บทว่า ปตนฺติ ควรจะเป็นบทวิเสสลาภี
บทที่ได้ความหมายอันชัดเจนขึ้นกว่าข้อความว่า หญฺญติ จึงแปลว่า คือ.
ส่วนฉบับสีหลและยุโรป มีปาฐะว่า ชินสาสนา ปตนฺติ
ย่อมตกไปจากศาสนาของพระชินพุทธเจ้า.
[12] หมายถึง
การดื่มผิดวิธี ตามที่อรรถกถาแก้เป็น ทุ อสิเตน เพราะการดื่มผิดวิธี.
[13] อมตํ ธมฺมทานํ
หมายถึง การหยั่งลงสู่นิโรธ ได้แก่ ธรรมทานคือนิพพาน.
[14] ตโตนิทานํ ศัพท์นี้เป็นได้ ๓ กรณี คือ ๑.
พหุพพีหิสมาส ๒. นามศัพท์นปุงสกลิงค์ ทุติยาวิภัตติ
เอกวจนะเท่านั้นเป็นกิริยาวิเสสนะ ๓. นิปาตสมุทายะ ที่มีอรรถเหตุ. ในกรณีที่เป็นพหุพพีหิสมาส
เป็นวิเสสนะของ อปุญฺญํ แปลว่า บาปที่มีการให้อมตธรรมนั้นเป็นเหตุ วิเคราะห์ว่า ตํ
(ธมฺมามตทานํ นิทานํ) การณํ อสฺสาติ ตโตนิทานํ, อปุญฺญํ.
การให้อมตธรรมทานนั้น เป็นนิทาน คือ เป็นเหตุ ของบาปนี้ มีอยู่ เหตุนั้น บาปนี้
ชื่อว่า มีการให้อมตธรรมทานนั้น เป็นเหตุ. มาจาก ตํ + นิทาน แปลงปฐมาวิภัตติเป็น
โต. คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า แปลงปฐมาวิภัตติเป็น โต, และในสมาสไม่ลบปฐมาวิภัตติ
(วิ.อฏฺ.ปาราชิก.๑/๓๔). และสัททนีติสูตรที่ ๔๙๗ สรุปว่า ในกรณีที่มีนิทาน ศัพท์เป็นต้น อยู่หลัง แปลง
สิ ที่อยู่ท้าย ย และ ต เป็น โต ก็มีบ้าง (ยเตหิ ปจฺจตฺตวจนสฺส โต นิทานาทีสุ). ในกรณีที่เป็นกิริยาวิเสสนะนั้น แปลว่า เพราะเหตุนั้น เป็นวิเสสนะของ
อาปชฺเชยฺย เพราะเหตุที่ทรงประทานอมตธรรมทานนั้น เขาพึงถึง ฯลฯ.
ในกรณีที่เป็นนิบาต แปลว่า เพราะเหตุนั้น เและเป็นกิริยาวิเสสนะของ อาปชฺเชยฺย
เช่นกัน แต่ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเป็นวิภัตติอะไร สมดังที่ท่านกล่าวไว้สัททนีติว่า
ยํ การณิจฺจาทิ นิปาตสมุทาโยติ วา อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยํการณาเป็นต้น
พึงกำหนดว่าเป็นกลุ่มนิบาต (นีติ.สุตฺต.๖๕๕).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น