๓. ปณามิตวรรค
๑. เสฏฐธรรมปัญหา
ปัญหาว่าด้วยธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุด
๑. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา ‘ธมฺโม หิ, วาเสฏฺฐ, เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิํ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จา’ติฯ ปุน จ ‘อุปาสโก คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐตี’ติฯ
[๑] พระเจ้ามิลินท์ “พระคุณเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า ธมฺโม หิ วาเสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จ ท่านวาเสฏฐะ พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุดในหมู่ชนนี้ ทั้งอัตภาพนี้ ทั้งในภายภาคหน้า ดังนี้. และตรัสไว้อีกว่า อุปาสโก คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺาตาสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุปฺปฏฺเฐติ อุบาสกคฤหัสถ์ แม้เป็นพระโสดาบัน ผู้ปิดอบายได้แล้ว ถึงซึ่งทิฏฐิแล้ว รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว ก็ยังต้องกราบไหว้ ลุกรับภิกษุหรือสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้.
ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํ ‘ธมฺโม หิ, วาเสฏฺฐ, เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิํ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จา’ติ, เตน หิ ‘อุปาสโก คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐตี’ติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ
พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านวาเสฏฐะ พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุดในหมู่ชนนี้ ทั้งในอัตภาพนี้ ทั้งภายภาคหน้า ดังนี้ จริงไซร้. ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า อุบาสกคฤหัสถ์ แม้เป็นพระโสดาบันผู้ปิดอบายได้แล้ว ถึงซึ่งทิฏฐิแล้ว รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว ก็ยังต้องกราบไหว้ ลุกรับภิกษุหรือสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้ ก็ผิด.
ยทิ ‘อุปาสโก คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐติ’, เตน หิ ‘ธมฺโม หิ, วาเสฏฺฐ, เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิํ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จาติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ
ถ้าหากตรัสว่า อุบาสกคฤหัสถ์แม้เป็นพระโสดาบันผู้ปิดอบายได้แล้ว ถึงซึ่งทิฏฐิแล้ว รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว ก็ยังต้องกราบไหว้ ลุกรับภิกษุหรือสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้ จริง. ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า ท่านวาเสฏฐะ พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดในหมู่ชนนี้ ทั้งในอัตภาพนี้ ทั้งในภายภาคหน้า ดังนี้ ก็ผิด.
อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ
ปัญหานี้ มี ๒ เงื่อน ตกถึงแก่ท่านแล้ว ขอท่านจงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด”
‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา ‘ธมฺโม หิ, วาเสฏฺฐ, เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิํ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จา’ติ, ‘อุปาสโก จ คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐติ’ฯ ตตฺถ ปน การณํ อตฺถิฯ กตมํ ตํ การณํ?
พระนาคเสน “ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ว่า ท่านวาเสฏฐะ พระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุดในหมู่ชนนี้ ทั้งในอัตภาพนี้ ทั้งในภายภาคหน้า ดังนี้ จริง. ตรัสไว้อีกว่า อุบาสกคฤหัสถ์ แม้เป็นพระโสดาบันผู้ปิดอบายได้แล้ว ถึงซึ่งทิฏฐิแล้ว รู้แจ้งพระศาสนาแล้ว ก็ยังต้องกราบไหว้ ลุกรับ ภิกษุหรือสามเณรผู้เป็นปุถุชน ดังนี้จริง. ก็แต่ว่า ในเรื่องนั้น มีเหตุผลอยู่ เหตุผลนี้คืออะไร ?
‘‘วีสติ โข ปนิเม, มหาราช, สมณสฺส สมณกรณา ธมฺมา ทฺเว จ ลิงฺคานิ, เยหิ สมโณ อภิวาทนปจฺจุฏฺฐานสมานนปูชนารโห โหติฯ กตเม วีสติ สมณสฺส สมณกรณา ธมฺมา ทฺเว จ ลิงฺคานิ?
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะแห่งผู้เป็นสมณะ ๒๐ อย่าง และเพศ ๒ อย่าง ย่อมเป็นเหตุให้สมณะเป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ การลุกรับ นับถือ บูชา. ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะแห่งผู้เป็นสมณะ ๒๐ อย่าง และเพศ ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง
เสฏฺโฐ [เสฏฺฐภูมิสโย (สี. สฺยา.), เสฏฺโฐ ยโม (ปี.)] ธมฺมาราโม, อคฺโค นิยโม, จาโร วิหาโร สํยโม สํวโร ขนฺติ โสรจฺจํ เอกตฺตจริยา เอกตฺตาภิรติ ปฏิสลฺลานํ หิริโอตฺตปฺปํ วีริยํ อปฺปมาโท สิกฺขาสมาทานํ [สิกฺขาปธานํ (สี. สฺยา.), สุกฺกาวทานํ (ก.)] อุทฺเทโส ปริปุจฺฉา สีลาทิอภิรติ นิราลยตา สิกฺขาปทปาริปูริตา, กาสาวธารณํ, ภณฺฑุภาโวฯ
ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะ แห่งผู้เป็นสมณะ ๒๐ อย่าง ได้แก่ ๑. ธรรมาราโม มีความยินดีในธรรม ๒. อคฺโค นิยโม มีความนิยมอันเลิศ ๓. จาโร มีความประพฤติดี ๔. วิหาโร มีวิหารธรรม ๕. สํยโม มีความสำรวม ๖. สํวโร มีธรรมเครื่องป้องกัน ๗. ขนฺติ มีความอดกลั้น ๘. โสรจฺจะ มีความสงบเสงี่ยม ๙. เอกตฺตจริยา ประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง ๑๐. เอกตฺตาภิรติ ยินดีในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง๑๑. ปฏิสลฺลานํ มีความประพฤติหลีกเร้น ๑๒. หิริโอตฺตปฺปํ มีความละอายและเกรงกลัวบาป ๑๓. วิริยํ มีความเพียร ๑๔. อปฺปมาโท มีความไม่ประมาท ๑๕. สิกฺขาสมาทานํ มีสิกขาสมาทาน ๑๖. อุทฺเทโส มีการเรียนบาลี ๑๗. ปริปุจฺฉา มีการสอบถาม (หรือการเรียนอรรถกถา) ๑๘. สีลาทิอภิรติ มีความยินดีในคุณ มีศีลเป็นต้น ๑๙. นิราลยตา ไม่มีอาลัย ๒๐. สิกฺขาปทปาริปูริตา เป็นผู้ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์ (เพศ ๒ ได้แก่ ) ๑. กาสาวธารณํ ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ ๒. ภณฺฑุภาโว มีศีรษะโล้น.
อิเม โข, มหาราช, วีสติ สมณสฺส สมณกรณา ธมฺมา ทฺเว จ ลิงฺคานิฯ เอเต คุเณ ภิกฺขุ สมาทาย วตฺตติ, โส เตสํ ธมฺมานํ อนูนตฺตา ปริปุณฺณตฺตา สมฺปนฺนตฺตา สมนฺนาคตตฺตา อเสกฺขภูมิํ อรหนฺตภูมิํ โอกฺกมติ, เสฏฺฐํ ภูมนฺตรํ โอกฺกมติ, อรหตฺตาสนฺนคโตติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะแห่งผู้เป็นสมณะมี ๒๐ อย่างเหล่านี้ และเพศมี ๒ อย่าง เหล่านี้ แล. ภิกษุย่อมสมาทานประพฤติคุณธรรมเหล่านี้. ภิกษุนั้น เพราะความที่มีธรรมเหล่านั้นไม่บกพร่อง. ทว่า บริบูรณ์ถึงพร้อม เพียบพร้อมก็ย่อมก้าวลงสู่อเสกขภูมิ อรหัตตภูมิ ย่อมก้าวลงสู่ลำดับภูมิอันประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ไปสู่ที่ใกล้ความเป็นพระอรหันต์. เพราะเหตุนั้น อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน จึงสมควรเพื่อการกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน.
‘‘‘ขีณาสเวหิ โส สามญฺญํ อุปคโต, นตฺถิ เม โส สมโย’ติ [ตํ สามญฺญ’’นฺติ (?)] อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
อุบาสก ผู้เป็นพระโสดาบัน ควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงความเป็นผู้เสมอเหมือนกับพระขีณาสพทั้งหลาย, เราไม่มีสมัย (โอกาส) นั้น ดังนี้.
‘‘‘อคฺคปริสํ โส อุปคโต, นาหํ ตํ ฐานํ อุปคโต’ติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
อุบาสก ผู้เป็นพระโสดาบัน ควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงความเป็นยอดบริษัท เราไม่ใช่ผู้เข้าถึงฐานะนั้น ดังนี้.
‘‘‘ลภติ โส ปาติโมกฺขุทฺเทสํ โสตุํ, นาหํ ตํ ลภามิ โสตุ’นฺติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นได้ฟังพระปาติโมกขอุทเทส เราไม่ได้ฟังพระปาฏิโมกขอุทเทสนั้น ดังนี้
‘‘‘โส อญฺเญ ปพฺพาเชติ อุปสมฺปาเทติ ชินสาสนํ วฑฺเฒติ, อหเมตํ น ลภามิ กาตุ’นฺติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
อุบาสก ผู้เป็นพระโสดาบัน ควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชนด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นให้บุคคลอื่นบรรพชาอุปสมบทก็ได้, ทำพระศาสนาของพระชินวรพระพุทธเจ้าให้เจริญก็ได้. กิจที่ว่านี้เราทำไม่ได้ ดังนี้.
‘‘‘อปฺปมาเณสุ โส สิกฺขาปเทสุ สมตฺตการี, นาหํ เตสุ วตฺตามี’ติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
อุบาสก ผู้เป็นพระโสดาบัน ควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้น เป็นผู้มีปกติทำให้เพียบพร้อมในสิกขาบททั้งหลาย อันหาประมาณมิได้ เราไม่ได้ประพฤติในสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้.
‘‘‘อุปคโต โส สมณลิงฺคํ, พุทฺธาธิปฺปาเย ฐิโต, เตนาหํ ลิงฺเคน ทูรมปคโต’ติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
อุบาสก ผู้เป็นพระโสดาบัน ควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงเพศสมณะ, ดำรงอยู่ในฐานะที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์, เราห่างไกลจากเพศนั้น ดังนี้.
‘‘‘ปรูฬฺหกจฺฉโลโม โส อนญฺชิตอมณฺฑิโต อนุลิตฺตสีลคนฺโธ, อหํ ปน มณฺฑนวิภูสนาภิรโต’ติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน ควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชนด้วยคิดว่า ท่านผู้นั้นมีขนรักแร้ ไม่หยอดตา ไม่ประดับประดาร่างกาย (ทว่า) ลูบไล้กลิ่นศีล. ส่วนเรายังยินดีในการประดับ การแต่งตัว ดังนี้
‘‘อปิ จ, มหาราช, ‘เย เต วีสติ สมณกรณา ธมฺมา ทฺเว จ ลิงฺคานิ, สพฺเพเปเต ธมฺมา ภิกฺขุสฺส สํวิชฺชนฺติ, โส เยว เต ธมฺเม ธาเรติ, อญฺเญปิ ตตฺถ สิกฺขาเปติ, โส เม อาคโม สิกฺขาปนญฺจ นตฺถี’ติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
ขอถวายพระพร ยังมีอีกอย่างหนึ่ง อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า ธรรมเครื่องสร้างความเป็นสมณะ ๒๐ อย่าง และเพศ ๒ อย่าง เหล่าใด ธรรมทั้งหมดนี้ย่อมมีแก่ภิกษุ. ก็พระภิกษุนั้นนั่นเทียว ทรงธรรมเหล่านั้นไว้ได้ ทั้งยังให้ผู้อื่นได้ศึกษาในธรรมเหล่านั้น ก็แต่ว่า เราไม่มีความรู้และการศึกษานั้น ดังนี้.
‘‘ยถา, มหาราช, ราชกุมาโร ปุโรหิตสฺส สนฺติเก วิชฺชํ อธียติ, ขตฺติยธมฺมํ สิกฺขติ, โส อปเรน สมเยน อภิสิตฺโต อาจริยํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐติ ‘สิกฺขาปโก เม อย’นฺติ, เอวเมว โข, มหาราช, ‘ภิกฺขุ สิกฺขาปโก วํสธโร’ติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า พระราชกุมารทรงเรียนวิชา ทรงศึกษาขัตติยธรรมในสำนักของปุโรหิต ในสมัยต่อมา พระราชกุมารแม้ทรงได้รับการอภิเษกแล้ว ก็ยังทรงกราบไหว้ ลุกรับอาจารย์ ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ให้เราได้ศึกษา ดังนี้ ฉันใด, อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันก็ควรจะกราบไหว้ ลุกรับภิกษุผู้เป็นปุถุชน ด้วยคิดว่า พระภิกษุเป็นผู้ให้คนทั้งหลายได้ศึกษา ทรงไว้ซึ่งวงศ์ของพระศาสดา ดังนี้ ฉันนั้น.
‘‘อปิ จ, มหาราช, อิมินาเปตํ ปริยาเยน ชานาหิ ภิกฺขุภูมิยา มหนฺตตํ อสมวิปุลภาวํฯ ยทิ, มหาราช, อุปาสโก โสตาปนฺโน อรหตฺตํ สจฺฉิกโรติ, ทฺเวว ตสฺส คติโย ภวนฺติ อนญฺญา ตสฺมิํ เยว ทิวเส ปรินิพฺพาเยยฺย วา, ภิกฺขุภาวํ วา อุปคจฺเฉยฺยฯ อจลา หิ สา, มหาราช, ปพฺพชฺชา, มหตี อจฺจุคฺคตา, ยทิทํ ภิกฺขุภูมี’’ติฯ
ขอถวายพระพร ยังมีอีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์ทรงทราบเถิดว่า ภูมิภิกษุมีความยิ่งใหญ่ มีความไพบูลย์ ที่หาภูมิฆราวาสเสมอเหมือนมิได้ โดยปริยายนี้. ขอถวายพระพร คือ ข้อที่ว่า ถ้าหากอุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน กระทำพระอรหันตตผลให้แจ้งได้ อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะมีคติอยู่ ๒ อย่่าง คือ จะต้องปรินิพพานในวันนั้นแน่ อย่างหนึ่ง. ต้องเข้าถึงความเป็นภิกษุ อย่างหนึ่ง. มหาบพิตร การบวชเป็นฐานะที่ไม่หวั่นไหว ภูมิภิกษุนี้จึงเป็นภูมิที่ยิ่งใหญ่ สูงส่งยิ่งนัก.
‘‘ญาณคโต, ภนฺเต นาคเสน, ปญฺโห สุนิพฺเพฐิโต พลวตา อติพุทฺธินา ตยา, น ยิมํ ปญฺหํ สมตฺโถ อญฺโญ เอวํ วินิเวเฐตุํ อญฺญตฺร ตวาทิเสน พุทฺธิมตา’’ติฯ
พระราชา พระคุณเจ้านาคเสน ปัญหาที่ต้องใช้กำลังญาณ ตัวท่านผู้มีกำลัง มีความรู้ยิ่ง ได้คลี่คลายแล้ว เว้นผู้มีความรู้เช่นท่านแล้ว ผู้อื่นไม่อาจเปลื้องปัญหานี้ได้อย่างนี้.
เสฏฺฐธมฺมปญฺโห ปฐโมฯ
เสฏฐธรรมปัญหา
ที่ ๑ จบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น