วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

๓. ปณามิตวรรค ๑. เสฏฐธรรมปัญหา ปัญหาว่าด้วยธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุด

 

๓. ปณามิตวคฺโค

๑. เสฏฺฐธมฺมปญฺโห

. ปณามิตวรรค

. เสฏฐธรรมปัญหา

ปัญหาว่าด้วยธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุด

...

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา ธมฺโม หิ, วาเสฏฺฐ, เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิํ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จาติฯ ปุน จ อุปาสโก คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐตีติฯ

๑. มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสแม้นี้ อิติ ว่า วาเสฏฺฐ ท่านวาเสฏฐะ หิ ก็ ธมฺโม ธรรม เสฏฺโฐ ประเสริฐสุด เอตสฺมิํ ชเน ในหมู่ชนนี้ ทิฏฺเฐว ธมฺเม เจว ทั้งในอัตตภาพนี้ อภิสมฺปราเย จ และในภายภาคหน้า ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้. ก็ เอตํ วจนํ แม้คำนี้ อิติ ว่า อุปาสโก อุบาสก คิหี ผู้เป็นคฤหัสถ์ โสตาปนฺโน แม้เป็นพระโสดาบัน ปิหิตาปาโย มีอบายอันปิดแล้ว ทิฏฺฐิปฺปตฺโต ถึงซึ่งทิฏฐิแล้ว วิญฺญาตสาสโน มีสาสนาเห็นแจ้งแล้ว อภิวาเทติ ย่อมไว้ ปจฺจุฏฺเฐติ ย่อมลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ วา ซึ่งภิกษุ บ้าง สามเณรํ วา ซึ่งสามเณรบ้าง ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน ดังนี้ ภควตา พระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ก็ทรงภาษิตไว้ ปุน อีก.

ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํ ธมฺโม หิ, วาเสฏฺฐ, เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิํ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จาติ, เตน หิ อุปาสโก คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐตีติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ

ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า เอตํ วจนํ พระดำรัสแม้นี้ อิติ ว่า วาเสฏฺฐ ท่านวาเสฏฐะ หิ ก็ ธมฺโม ธรรม เสฏฺโฐ ประเสริฐสุด เอตสฺมิํ ชเน ในหมู่ชนนี้ ทิฏฺเฐว ธมฺเม เจว ทั้งในอัตตภาพนี้ อภิสมฺปราเย จ และในภายภาคหน้า ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ทรงภาษิตไว้ จริงไซร้, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า อุปาสโก อุบาสก คิหี ผู้เป็นคฤหัสถ์ โสตาปนฺโน แม้เป็นพระโสดาบัน ปิหิตาปาโย มีอบายอันปิดแล้ว ทิฏฺฐิปฺปตฺโต ถึงซึ่งทิฏฐิแล้ว วิญฺญาตสาสโน มีสาสนาเห็นแจ้งแล้ว อภิวาเทติ ย่อมไว้ ปจฺจุฏฺเฐติ ย่อมลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ วา ซึ่งภิกษุ บ้าง สามเณรํ วา ซึ่งสามเณรบ้าง ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน ดังนี้ ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิดไป.

ยทิ อุปาสโก คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐติ’, เตน หิ ธมฺโม หิ, วาเสฏฺฐ, เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิํ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จาติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ

ยทิ ถ้าหากว่า เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อุปาสโก อุบาสก คิหี ผู้เป็นคฤหัสถ์ โสตาปนฺโน แม้เป็นพระโสดาบัน ปิหิตาปาโย มีอบายอันปิดแล้ว ทิฏฺฐิปฺปตฺโต ถึงซึ่งทิฏฐิแล้ว วิญฺญาตสาสโน มีสาสนาเห็นแจ้งแล้ว อภิวาเทติ ย่อมไว้ ปจฺจุฏฺเฐติ ย่อมลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ วา ซึ่งภิกษุ บ้าง สามเณรํ วา ซึ่งสามเณรบ้าง ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ทรงภาษิตไว้ จริงไซร้, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น เอตมฺปิ วจนํ พระดำรัสแม้นั้น อิติ ว่า วาเสฏฺฐ ท่านวาเสฏฐะ หิ ก็ ธมฺโม ธรรม เสฏฺโฐ ประเสริฐสุด เอตสฺมิํ ชเน ในหมู่ชนนี้ ทิฏฺเฐว ธมฺเม เจว ทั้งในอัตตภาพนี้ อภิสมฺปราเย จ และในภายภาคหน้า ดังนี้ มิจฺฉา เป็นอันผิดไป.

อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

 ‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา ธมฺโม หิ, วาเสฏฺฐ, เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิํ ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อภิสมฺปราเย จาติ, ‘อุปาสโก จ คิหี โสตาปนฺโน ปิหิตาปาโย ทิฏฺฐิปฺปตฺโต วิญฺญาตสาสโน ภิกฺขุํ วา สามเณรํ วา ปุถุชฺชนํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐติฯ ตตฺถ ปน การณํ อตฺถิฯ กตมํ ตํ การณํ?

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสแม้นี้ อิติ ว่า วาเสฏฺฐ ท่านวาเสฏฐะ หิ ก็ ธมฺโม ธรรม เสฏฺโฐ ประเสริฐสุด เอตสฺมิํ ชเน ในหมู่ชนนี้ ทิฏฺเฐว ธมฺเม เจว ทั้งในอัตตภาพนี้ อภิสมฺปราเย จ และในภายภาคหน้า ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ทรงภาษิตไว้ จริง, อนึ่ง อุปาสโก อุบาสก คิหี ผู้เป็นคฤหัสถ์ โสตาปนฺโน แม้เป็นพระโสดาบัน ปิหิตาปาโย มีอบายอันปิดแล้ว ทิฏฺฐิปฺปตฺโต ถึงซึ่งทิฏฐิแล้ว วิญฺญาตสาสโน มีสาสนาเห็นแจ้งแล้ว อภิวาเทติ ย่อมไหว้ ปจฺจุฏฺเฐติ ย่อมลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ วา ซึ่งภิกษุ บ้าง สามเณรํ วา ซึ่งสามเณรบ้าง ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน. ปน แต่ การณํ เหตุ ตตฺถ ในเรื่องนั้น อตฺถิ มีอยู่. ตํ การณํ เหตุนั้น กตมํ อะไรบ้าง?

‘‘วีสติ โข ปนิเม, มหาราช, สมณสฺส สมณกรณา ธมฺมา ทฺเว จ ลิงฺคานิ, เยหิ สมโณ อภิวาทนปจฺจุฏฺฐานสมานนปูชนารโห โหติฯ กตเม วีสติ สมณสฺส สมณกรณา ธมฺมา ทฺเว จ ลิงฺคานิ?

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ อิเม โช สมณกรณา ธมฺมา ธรรมสร้างความเป็นสมณะ วีสติ ๒๐ ประการ และ ลิงฺคานิ เพศ เทฺวสมณสฺส แห่งสมณะ, เยหิ อันเป็นเหตุ สมโณ ให้สมณะ อภิวาทนปจฺจุฏฺฐานสมานนปูชนารโห เป็นผู้ควรต่อการกราบไหว้ ลุกขึ้นต้อนรับ นับถือ และบูชา โหติ ย่อมเป็น. สมณกรณา ธมฺมา ธรรมสร้างความเป็นสมณะ สมณสฺส แห่งสมณะ วีสติ ๒๐ ประการ และ ลิงฺคานิ เพศ เทฺวกตเม มีอะไรบ้าง?

เสฏฺโฐ ธมฺมาราโม, อคฺโค นิยโม, จาโร วิหาโร สํยโม สํวโร ขนฺติ โสรจฺจํ เอกตฺตจริยา เอกตฺตาภิรติ ปฏิสลฺลานํ หิริโอตฺตปฺปํ วีริยํ อปฺปมาโท สิกฺขาสมาทานํ อุทฺเทโส ปริปุจฺฉา สีลาทิอภิรติ นิราลยตา สิกฺขาปทปาริปูริตา, กาสาวธารณํ, ภณฺฑุภาโวฯ

สมณกรณา ธมฺมา ธรรมสร้างความเป็นสมณะ วีสติ ๒๐ ประการ อิติ ได้แก่ เสฏฺโฐ ธมฺมาราโม ความยินดีในธรรมกล่าวคือลำดับภูมิชั้นประเสริฐกว่า (คือ ภูมิโสดาบันเป็นต้นจนถึงอรหันตภูมิ) [1] อคฺโค นิยโม ความกำหนดอันเลิศ[2] จาโร ความประพฤติ วัตรและธรรมเพื่อละกิเลส[3] วิหาโร วิหารธรรมคือธรรมที่อยู่ ๔ มีอิริยาปถวิหารเป็นต้น[4] สํยโม ความสำรวมกาย วาจา และจิต. สํวโร ธรรมเครื่องป้องกันหรือเครื่องกำจัดกายทุจริตเป็นต้น ๕ ประการมีศีลสังวร สติสังวรเป็นต้น ขนฺติ ความอดกลั้น โสรจฺจํ ความสงบเสงี่ยม[5] เอกตฺตจริยา ประพฤติในอารมณ์ที่มีวิปัสนา ที่มีความเป็นหนึ่ง[6] เอกตฺตาภิรตฺติ ความยินดีในอารมณ์วิปัสนาที่มีความเป็นหนึ่ง ปฏิสลฺลานํ ความประพฤติหลีกเร้นกล่าวคือกรรมฐาน[7] หิริโอตฺตปฺปํ ความละอายและเกรงกลัวบาป[8] วิริยํ มีความเพียร[9]  อปฺปมาโท ความไม่หลงลืมสติเว้นจากปฏิบัติในกุศลธรรมอันไม่มีโทษ[10] สิกฺขาสมาทานํ การสมาทานคือขวนขวายในอธิศีลสิกขาเป็นต้น  อุทฺเทโส การเรียนบาลี ปริปุจฺฉา การสอบถาม (หรือการเรียนอรรถกถา) สีลาทิอภิรติ ความยินดีในคุณมีศีลเป็นต้น[11] นิราลยตา ไม่มีอาลัยกล่าวคือเคหสิตตัณหาที่นับว่าเป็นกามตัณหาโดยละเป็นตทังคปหานเป็นต้น[12] สิกฺขาปทปาริปูริตา ความเป็นผู้ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์[13].  เทฺว ลิงฺคานิ เพศ ๒ อิติ ได้แก่  กาสาวธารณํ ทรงผ้ากาสาวพัสตร์  ภณฺฑุภาโว มีศีรษะโล้นเพราะปลงผม.

อิเม โข, มหาราช, วีสติ สมณสฺส สมณกรณา ธมฺมา ทฺเว จ ลิงฺคานิฯ เอเต คุเณ ภิกฺขุ สมาทาย วตฺตติ, โส เตสํ ธมฺมานํ อนูนตฺตา ปริปุณฺณตฺตา สมฺปนฺนตฺตา สมนฺนาคตตฺตา อเสกฺขภูมิํ อรหนฺตภูมิํ โอกฺกมติ, เสฏฺฐํ ภูมนฺตรํ โอกฺกมติ, อรหตฺตาสนฺนคโตติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

มหาราช มหาบพิตร สมณกรณา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่สร้างความเป็นสมณะ สมณสฺส แห่งสมณะ วีสติ ยี่สิบ อิเม เหล่านี้ และ เทฺว ลิงฺคานิ เพศทั้งสอง อิมานิ เหล่านี้ โข แล. ภิกฺขุ ภิกษุ สมาทาย วตฺตติ ย่อมประพฤติโดยรับเอาไว้อย่างดี เอเต คุเณ ซึ่งคุณทั้งหลายเหล่านี้, โส ภิกฺขุ ภิกษุผู้เป็นปุถุชนนั้น โอกฺกมติ ย่อมก้าวลงสู่ อรหนฺตภูมิํ สู่ภูมิแห่งพระอรหันต์ อเสกฺขภูมิํ อันเป็นอเสกขภูมิ เตสํ ธมฺมานํ อนูนตฺตา เพราะความที่แห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ไม่พร่องไป ปริปุณฺณตฺตา เพราะความที่แห่งธรรมเหล่านั้นบริบูรณ์, สมฺปนฺนตฺตา เพราะความที่แห่งธรรมเหล่านั้นถึงพร้อมแล้ว สมนฺนาคตตฺตา เพราะความที่แห่งธรรมเหล่านั้นประมวลมาอยู่ (ในตน), โอกฺกมติ ย่อมก้าวลงสู่ ภูมนฺตรํ ลำดับแห่งภูมิ เสฏฐํ อันประเสริฐขึ้น, อรหตฺตาสนฺนาคโต ชื่อว่า มาใกล้พระอรหัตต์ อิติ เพราะเหตุนั้น อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน.

‘‘‘ขีณาสเวหิ โส สามญฺญํ อุปคโต, นตฺถิ เม โส สมโยติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยความคิด อิติ ว่า โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น อุปคโต เข้าถึงแล้ว สามญฺญํ ซึ่งความเป็นผู้เสมอ ขีณาสเวหิ พระขีณาสพทั้งหลาย, โส สมโย [14] = สามญฺญภาโว ภาวะที่เป็นผู้เสมอด้วยพระขีณาสพ นั้น เม ของเรา นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้.

‘‘‘อคฺคปริสํ โส อุปคโต, นาหํ ตํ ฐานํ อุปคโตติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยคิด อิติ ว่า โส  ภิกฺขุ ภิกษุนั้น อุปคโต เข้าใกล้แล้ว อคฺคปริสํ ซึ่งความเป็นยอดแห่งบริษัท, อหํ เรา น อุปคโต มิได้เข้าใกล้แล้ว ตํ ฐานํ ซึ่งฐานะนั้น ดังนี้.

‘‘‘ลภติ โส ปาติโมกฺขุทฺเทสํ โสตุํ, นาหํ ตํ ลภามิ โสตุนฺติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น ลภติ ย่อมได้ โสตุํ เพื่อฟัง ปาติโมกฺขุทฺเทสํ ซึ่งปาติโมกขอุทเทส,  อหํ เรา ลภามิ มิได้ โสตุํ เพื่อฟัง ตํ ซึ่งปาติโมขอุทเทสนั้น ดังนี้.

‘‘‘โส อญฺเญ ปพฺพาเชติ อุปสมฺปาเทติ ชินสาสนํ วฑฺเฒติ, อหเมตํ น ลภามิ กาตุนฺติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น อญฺเญ ยังบุคคลเหล่าอื่น ปพฺพาเชติ ให้บรรพชา อุปสมฺปาเทติ ให้อุปสมบท ชินสาสนํ ยังศาสนาของพระชินพุทธเจ้า วฑฺเฒติ ให้เจริญ ก็ได้ ดังนี้

‘‘‘อปฺปมาเณสุ โส สิกฺขาปเทสุ สมตฺตการี, นาหํ เตสุ วตฺตามีติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น สมตฺตการี เป็นผู้มีปกติทำให้เพียบพร้อม สิกฺขาปเทสุ ในสิกขาบททั้งหลาย อปฺปมาเณสุ อันหาประมาณมิได้, อหํ เรา น วตฺตามิ มิได้ประพฤติ เตสุ ในสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้.

‘‘‘อุปคโต โส สมณลิงฺคํ, พุทฺธาธิปฺปาเย ฐิโต, เตนาหํ ลิงฺเคน ทูรมปคโตติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น อุปคโต เข้าถึงแล้ว สมณลิงฺคํ ซึ่งเพศแห่งสมณะ, ฐิโต ดำรงอยู่แล้ว พุทฺธาธิปฺปาเย ในฐานะที่พระพุทธเจ้าทรงประสงค์, อหํ เรา อปคโต หลีกออก ทูรํ ไกล เตน ลิงฺเคน จากเพศนั้น ดังนี้.

‘‘‘ปรูฬฺหกจฺฉโลโม โส อนญฺชิตอมณฺฑิโต อนุลิตฺตสีลคนฺโธ, อหํ ปน มณฺฑนวิภูสนาภิรโตติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า โส ภิกฺขุ ภิกษุนั้น ปรูฬฺหกจฺฉโลโม มีขนรักแร้งอกขึ้นแล้ว (เพราะไม่ได้โกนออกตามพุทธบัญญัติ ดูวิ.จูฬ.๗/๑๕๐) อนญฺชิตอมณฺฑิโต มีตาไม่หยอดแล้วและมีกายไม่ประดับประดาแล้ว อนุลิตฺตสีลคนฺโธ มีกลิ่นแห่งศีลลูบไล้กายแล้ว (มีกายอันลูบไล้ด้วยเครื่องหอมคือศีล), ปน แต่ อหํ เรา มณฺฑนวิภูสนาภิรโต เป็นผู้ยินดีแล้วในการประดับและแต่งตัว อมฺหิ ย่อมเป็น ดังนี้.

‘‘อปิ จ, มหาราช, ‘เย เต วีสติ สมณกรณา ธมฺมา ทฺเว จ ลิงฺคานิ, สพฺเพเปเต ธมฺมา ภิกฺขุสฺส สํวิชฺชนฺติ, โส เยว เต ธมฺเม ธาเรติ, อญฺเญปิ ตตฺถ สิกฺขาเปติ, โส เม อาคโม สิกฺขาปนญฺจ นตฺถีติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

มหาราช มหาบพิตร อปิ จ อีกอย่างหนึ่ง อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า วีสติ สมณกรณา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องสร้างความเป็นสมณะ และ เทฺว ลิงฺคานิ เพศทั้งสอง เย เต เหล่าใด (อตฺถิ) มีอยู่, สพฺเพปิ เอเต ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งปวง สํวิชฺชนฺติ มีอยู่ (สนฺตาเน) ในสันดานคือความเป็น ภิกฺขุสฺส ของภิกษุ, โสเยว ภิกษุเท่านั้น ธาเรติ จึงทรงไว้ เต ธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น, อญฺเญปิ ยังบุคคลแม้เหล่าอื่น สิกฺขาเปติ ให้ศึกษาอยู่ ตตฺถในธรรมเหล่านั้น, อาคโม การมา (วีสติธมฺมเทฺวลิงฺคานํ) แห่งธรรม ๒๐ และเพศ ๒ โส นั้น จ และ สิกฺขาปนํ การให้ผู้อื่นได้ศึกษา นตฺถิ ย่อมไม่มี (สนฺตาเน) ในสันดาน เม แห่งเรา ดงนี้.

‘‘ยถา, มหาราช, ราชกุมาโร ปุโรหิตสฺส สนฺติเก วิชฺชํ อธียติ, ขตฺติยธมฺมํ สิกฺขติ, โส อปเรน สมเยน อภิสิตฺโต อาจริยํ อภิวาเทติ ปจฺจุฏฺเฐติสิกฺขาปโก เม อยนฺติ, เอวเมว โข, มหาราช, ‘ภิกฺขุ สิกฺขาปโก วํสธโรติ อรหติ อุปาสโก โสตาปนฺโน ภิกฺขุํ ปุถุชฺชนํ อภิวาเทตุํ ปจฺจุฏฺฐาตุํฯ

มหาราช มหาบพิตร เปรียบเหมือนว่า ราชกุมาโร พระราชกุมาร อธียติ ทรงเรียนอยู่ วิชฺชํ ซึ่งวิชา, สิกฺขติ ศึกษาอยู่ ขตฺติยธมฺมํ ซึ่งขัตติยธรรม สนฺติเก ในสำนัก ปุโรหิตสฺส ของปุโรหิต, อปเรน สมเยน ในกาลต่อมา โส พระราชกุมารนั้น อภิสิตฺโต ทรงอภิเษกแล้ว อภิวาเทติ ย่อมทรงไหว้ ปจฺจุฏฺเฐติ ย่อมทรงลุกขึ้นต้อนรับ อาจริยํ ซึ่งอาจารย์ จินฺตเนน ด้วยทรงดำริ อิติ ว่า อยํ ปุโรหิโต ท่านปุโรหิตนี้ สิกฺขาปโก เป็นอาจารย์ผู้ยังเราให้ศึกษา  เม ของเรา ดังนี้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน อรหติ ย่อมควร อภิวาเทตุํ เพื่อไหว้ ปจฺจุฏฺฐาตุํ เพื่อลุกขึ้นต้อนรับ ภิกฺขุํ ซึ่งภิกฺษุ ปุถุชฺชนํ ผู้เป็นปุถุชน จินฺตเนน ด้วยอันคิด อิติ ว่า ภิกฺขุ ภิกษุ สิกฺขาปโก เป็นผู้ยังเราให้ศึกษา วํสธโร ดำรงอริยวงศ์ไว้ ดังนี้ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียว แล. 

‘‘อปิ จ, มหาราช, อิมินาเปตํ ปริยาเยน ชานาหิ ภิกฺขุภูมิยา มหนฺตตํ อสมวิปุลภาวํฯ ยทิ, มหาราช, อุปาสโก โสตาปนฺโน อรหตฺตํ สจฺฉิกโรติ, ทฺเวว ตสฺส คติโย ภวนฺติ อนญฺญา ตสฺมิํ เยว ทิวเส ปรินิพฺพาเยยฺย วา, ภิกฺขุภาวํ วา อุปคจฺเฉยฺยฯ อจลา หิ สา, มหาราช, ปพฺพชฺชา, มหตี อจฺจุคฺคตา, ยทิทํ ภิกฺขุภูมี’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร อปิจ อีกอย่างหนึ่ง ตฺวํ ขอพระองค์ ชานาหิ ทรงทราบ มหนฺตตํ ซึ่งความที่ - ภิกฺขุภูมิยา แห่งภูมิของภิกษุ - เป็นสภาพยิ่งใหญ่ อสมวิปุลภาวํ ซึ่งความที่ - ภิกฺขุภูมิยา แห่งภูมิของภิกษุ - เป็นสภาพไพบูลย์ เอตํ นั้น อิมินาปิ ปริยาเยน โดยเหตุนี้เถิด. มหาราช มหาบพิตร ยทิ ถ้าหากว่า อุปาสโก อุบาสก โสตาปนฺโน ผู้เป็นพระโสดาบัน สจฺฉิกโรติ ย่อมกระทำให้แจ้ง อรหตฺตํ ซึ่งพระอรหัตต์, คติโย ความเป็นไป ตสฺส ของอุบาสกนั้น ภวนฺติ ย่อมมี เทฺวว เพียงสองประการเท่านั้น อนญฺญา หาได้เป็นอย่างอื่นไม่, คือ (โส) อุบาสกผู้เป็นอรหันต์นั้น ปรินิพฺพาเยยฺย พึงปรินิพพาน ตสฺมิํเยว ทิวเส ในวันนั้นนั่นเทียว วา หรือ, วา หรือว่า อุปคจฺเฉยฺย พึงเข้าถึง ภิกฺขุภาวํ ซึ่งความเป็นภิกษุ. หิ เพราะ สา ปพฺพชฺชา บรรพชานั้น  ยทิทํ = ยา อยํ ภิกฺขุภูมิ  ภูมิแห่งภิกษุนี้ใด,  สา ภูมิแห่งภิกษุนั้น  อจลา อันมิหวั่นไหว, มหตี ยิ่งใหญ่, อจฺจุคฺคตา อยู่ในฐานะสูงยิ่ง โหติ ย่อมเป็น ดังนี้.

ขอถวายพระพร ยังมีอีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์ทรงทราบเถิดว่า ภูมิภิกษุมีความยิ่งใหญ่ มีความไพบูลย์ ที่หาภูมิฆราวาสเสมอเหมือนมิได้ โดยปริยายนี้ ขอถวายพระพร คือข้อที่ว่า ถ้าหากอุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน กระทำพระอรหันตตผลให้แจ้งได้ อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะมีคติอยู่ ๒ อย่ง คือ จะต้องปรินิพพานในวันนั้นแน่ อย่างหนึ่ง ต้องเข้าถึงความเป็นภิกษุ อย่างหนึ่ง มหาบพิตร การบวชเป็นฐานะที่ไม่หวั่นไหว ภูมิภิกษุนี้จึงเป็นภูมิที่ยิ่งใหญ่ สูงส่งยิ่งนัก 

‘‘ญาณคโต, ภนฺเต นาคเสน, ปญฺโห สุนิพฺเพฐิโต พลวตา อติพุทฺธินา ตยา, น ยิมํ ปญฺหํ สมตฺโถ อญฺโญ เอวํ วินิเวเฐตุํ อญฺญตฺร ตวาทิเสน พุทฺธิมตา’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ปญฺโห ปัญหา ญาณคโต เป็นไปโดย(กำลังแห่ง)ญาณ ตยา อันท่าน พลวตา ผู้มีกำลัง อติพุทฺธินา มีความรู้ยิ่ง สุนิพฺเพฐิโต ได้คลี่คลายดีแล้ว, อญฺโญ บุคคลอื่น สมตฺโถ ผู้สามารถ วินิเวเฐตุ็ ที่จะคลี่คลาย อิมํ ปญฺหํ ซึ่งปัญหานี้ เอวํ ได้อย่างนี้ อญฺญตร เว้น พุทฺธิมตา มีความรู้ ตวาทิเสน เช่นเดียวกับท่าน น อตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้.

พระราชา พระคุณเจ้านาคเสน ปัญหาที่ต้องใช้กำลังญาณ ตัวท่านผู้มีกำลัง มีความรู้ยิ่ง ได้คลี่คลายแล้ว เว้นผู้มีความรู้เช่นท่านแล้ว ผู้อื่นไม่อาจเปลื้องปัญหานี้ได้อย่างนี้

เสฏฺฐธมฺมปญฺโห ปฐโมฯ

เสฏฺฐธมฺมปญฺโห เสฏฐธรรมปัญหา

ปฐโม ที่ ๑ นิฏฺฐิโต จบ



[1] เสฏฺฐ ในที่นี้มีความหมายเท่ากับ ปสตฺถตร ดีกว่า และ ธมฺมาราโม ได้แก่ ความยินดีในธรรม. ก็บทว่า ธมฺมาราม นี้เป็นอยุตตสมาส เพราะในบทสมาส บทว่า ธมฺม ไม่ได้สัมพันธ์กับบทว่า อาราม แต่สัมพันธ์กับบทว่า เสฏฺโฐ โดยความเป็นวิเสสนะและวิเสสยะ แต่สามารถสื่อให้รู้ความหมายว่า ยินดีในธรรมที่ดีขึ้นคือเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป เหมือนในตอนที่ไม่เป็นสมาส ดังในอรรถกาอธิบายว่า เสฏฺเฐสุ อนวชฺเชสุ กุสเลสุ อภิรามิตฏฺเฐน สมณสฺส กรณธมฺโม เสฏฺโฐ ธมฺมาราโม นามาติ วุตฺตํ โหติ. ชื่อว่า ความยินดีในลำดับภูมิธรรมอันประเสริฐกว่า  เป็นธรรมที่สร้างความเป็นสมณะ เพราะความหมายว่า เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้ภิกษุยินดีในกุศลธรรมที่ประเสริฐ. มีอรรถาธิบายเพิ่มว่า ก็ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ซึ่งประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมก้าวลงสู่ลำดับภูมิอันประเสริฐกว่า กล่าวคือ ก้าวลงสู่แม้ลำดับภูมิแห่งพระโสดาบัน, ฯลฯ สกทาคามิ ฯลฯ อนาคามิ ย่อมก้าวลงแม้สู่ลำดับภูมิพระอรหันต์, จะเห็นได้ว่า ต่อไปท่านจักกล่าวว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน อยู่ใกล้ชิดกับอรหัตตผล ย่อมหยั่งลงสู่ลำดับภูมิอันประเสริฐขึ้นอีก เพราะฉะนั้น อุบาสก แม้เป็นพระโสดาบัน ควรไหว้ ควรลุกขึ้นต้อนรับ ภิกษุ ผู้เป็นปุถุชน ดังนี้ (มิลิน.อฏฺ.) อนึ่ง ฉบับไทยปาฐะเป็น เสฏฺฐภูมิสโย หมายถึง การ(สามารถ)อยู่ในภูมิอันประเสริฐกว่า. ปาฐะนี้ความหมายใกล้เคียงกับฉัฏฐฯ เพราะภูมิโสดาบัน ภูมิสกทาคามีเป็นต้น คือ ลำดับภูมิที่ดีกว่าภูมิปุถุชน. ส่วนฉบับยุโรปเป็น เสฏฺโฐ ยโม คือ ความประพฤติที่ควรทำให้มีเป็นนิจในชีวิตประจำวันอันประเสริฐ หมายถึง ธรรม ๔  คือ อหิงสา (ความไม่เบียดเบียน กล่าวคือกรุณา) สัจจะ (วจีสัจจะ ญาณสัจจะ ปรมัตถสัจจะ) อาเธยยะ (ภาวะแห่งถ้อยคำอันควรทรงจำไว้ คือ น่าเชื่อถือ) พรหมจรรย์ (ในที่นี้ได้แก่เมถุนวิรัติ) และอปริคคหะ (ความไม่มีตัณหาคาหะหรือมมังการ) (ฏีกามิลิน.และมิลิน.ล้านนา) แต่ในอภิธาน.คาถา.๔๔๔ อธิบายว่า ยม เป็นชื่อของนิจศีล กล่าวคือ ศีล ๕  (ธาน.๔๔๔ ยํ เทหสาธนาเปกฺขํ, นิจฺจํ กมฺมมยํ ยโม; อาคนฺตุสาธนํ กมฺมํ, อนิจฺจํ นิยโม ภเวฯ การกระทำคือการเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น อันมุ่งไปที่การสำเร็จด้วยกายเป็นนิตย์,  กรรมนี้  ยโม ชื่อว่า ยม (นิจศีลกล่าวคือศีล ๕). ส่วนการกระทำมีการรับอุโบสถศีลเป็นต้น อันบุคคลพึงให้สำเร็จโดยครั้งคราว อันมิใช่กิจกรรมในชีวิตประจำวัน  ชื่อว่า นิยม (อุโปสถศีล)  ย่อมเป็น).

[2] อรรถกถาอธิบายว่า ข้อกำหนดที่มุ่งไปสู่ความเป็นบริษัทเลิศ จะเห็นได้ดังที่ท่านจะกล่าวต่อไปโดยนัยว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชนย่อมเข้าถึงความเป็นบริษัทอันเลิศ ส่วนเรา(ผู้เป็นอุบาสก) ไม่อาจได้เช่นนั้น. อนึ่ง ฉบับยุโรปเป็น เสฏฺโฐ นิยโม มีข้อประพฤติที่ไม่จำต้องประพฤติในชีวิตประจำวันอันประเสริฐ และมิลินทฏีกาอรรถาธิบายนิยมว่ามี ๕ ประการ คือ สนฺโตสอนุสชฺฌายา กิจฺจาหาโร จ ภาวนา, สยมฺปากวเนวาสา นิยมานิจฺจสาธยตาติ; (๑) สันโตสะ ความสันโดษในปัจจัย ๔ กล่าวคือ  ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ (๒) อนุสัชฌายา การสวดสาธยายพระพุทธวจนะ เพื่อป้องกันการตกไปในที่ไม่เจริญ (๓) กิจจาหาร การรักษาธุดงค์ (๔) ภาวนา เจริญภาวนา ๓ มีบริกรรมภาวนาเป็นต้น  (๕) สยํปากวเนวาส การอยู่ในป่าคือพระพุทธศาสนาที่ให้เว้นจากการหุงต้มเอง. แต่อภิธาน.อธิบายเป็นอุโบสถศีล.

[3] จาโร (ความประพฤติดี) คือ มีความประพฤติในวัตรปฏิบัติทั้งหลาย อันมาแล้วในขันธกวัตร ซึ่งเป็นอภิสมาจาริกวัตร (ศีลที่เป็นอภิสมาจาร คือ เป็นมรรยาทที่สูงส่งยิ่ง) หรือว่ามีความประพฤติอันเป็นไปเพื่อละราคะ เพื่อละโทสะ เพื่อละโมหะ เป็นต้น, เจริญวิปัสนาเพื่อละธรรมคู่ปรับ และความประพฤติเพื่อสมาบัติที่สูงขึ้นโดยก้าวล่วงสมาบัติชั้นต่ำกว่า.

[4] วิหาโร (วิหารธรรม) คือ การอยู่ด้วยวิหาร (ธรรมอันเป็นที่อยู่) ทั้ง ๔ คือ ๑. อิริยาบถวิหาร โดยการที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งก็ตาม ก็มีการมนสิการกรรมฐาน ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ด้วยใจที่ประกอบในกัมมัฏฐาน ๒. ทิพยวิหาร (ฌานสมาบัติ) . พรหมวิหาร ๔.อริยวิหาร (ผลสมาบัติ).

[5] โสรจฺจ ความสงบเสงี่ยม คือมีความอ่อนน้อมถ่อมตน

[6]เอกตฺตจริยา การประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง คือ อารมณ์กัมมัฏฐานที่พระโยคาวจรเข้าไปตั้งสติเจริญวิปัสสนา ชื่อว่ามีความเป็นหนึ่ง เพราะเป็นเพียงสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อันปราศจากความเป็นต่าง ๆ มากมาย ด้วยอำนาจแห่งสมมติและบัญญัติว่า สัตว์ บุคคล หญิง ชาย เป็นต้น การเจริญวิปัสสนา จึงชื่อว่า เป็นความประพฤติในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง เพราะฉะนั้นนั่นแหละ ความยินดีในอารมณ์กัมมัฏฐานของพระโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนา จึงชื่อว่า เอกตฺตอภิรมติ ความยินดีในอารมณ์ที่มีความเป็นหนึ่ง

[7] มีความประพฤติหลีกเร้น คือ มีจิตหลีกออกจากอารมณ์ที่มีสภาพต่าง ๆ กันมากมายในภายนอก แล้วเร้นจิตนั้นอยู่ในกัมมัฏฐาน เพื่อบรรลุฌานที่ยังไม่บรรลุบ้าง เพื่อเข้าฌานที่บรรลุแล้วบ้าง เพื่อบรรลุมรรคบ้าง เพื่อการเข้าผลสมาบัติบ้าง

[8] หิริโอตฺตปฺปํ มีความละอายและเกรงกลัวบาป คือ มีความละอายและเกรงกลัวทุจริตทางทวารทั้ง ๓ มีกายทุจริต เป็นต้น

[9] คำว่า วิริยํ มีความเพียร ได้แก่ มีความเพียรอันเป็นไปในกิจ ๔ อย่าง คือ () เพียรป้องกันอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้มีโอกาสเกิดขึ้น () เพียรละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว () เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น () เพียรเจริญเพิ่มพูนกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว กระทำไม่ให้หลงลืม ให้ตั้งมั่นอยู่ในได้ เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็คำว่า อกุศลธรรม ในที่นี้ ได้แก่ นีวรธรรมทั้งหลาย ส่วนคำว่า กุศลธรรม ได้แก่ สมาธิ วิปัสสนา และมรรค

[10] อปฺปมาโท ความไมประมาท คือ มีความไม่ประมาทไม่ละเลย ในอันเจริญกุศลธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหลาย ไม่ปล่อยจิตเลอะไปในอารมณ์ทั้งหลาย ตามอำนาจกิเลส

[11] สีลาทิอภิรติ ความยินดียิ่งในคุณมีศีลเป็นต้น ได้แก่ มีความยินดีในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ในเพราะความที่ท่านเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคุณ มีศีลเป็นต้น ถือเป็นแบบอย่างที่ตนเองก็จะเป็นอย่างท่านเหล่านั้น

[12] นิราลยตา ไม่มีอาลัย ได้แก่ ไม่มีเคหสิตตัณหา (ตัณหาอาศัยเรือน) คือ ตัณหาที่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ ด้วย โดยการละเป็นตทังคปหาน ด้วยวิปัสสนาบ้าง โดยการละเป็นวิกขัมภนปหาน ด้วยสมาธิบ้าง โดยการละเป็นสมุจเฉทปหาน ด้วยมรรคบ้าง

[13] สิกขาปทปริปูริตา ความเป็นผู้ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์ ได้แก่ ทำสิกขาบทใหญ่น้อยทั้งหลายที่ทรงบัญญัติไว้ให้เต็ม ให้บริบูรณ์อยู่เสมอ โดยการที่เมื่อต้องอาบัติ ก็มีการปลงอาบัติ ไม่เป็นผู้มีอาบัติติดตัว หากมีความสงสัยในอาบัติ ก็ปรึกษาไต่ถามท่านที่ทรงพระวินัย.

[14] โส สมโย ปาฐะที่ถูกน่าจะเป็น ตํ สามญฺญํ เพื่อจะสมกับข้อความข้างหน้าว่า โส สามญฺญํ อุปคโต. ดังนั้น ในที่นี้จึงหาทางออกโดยไขความตามมิลินทปัญหาสำนวนล้านนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น