วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เมณฑกกัณฑ์ อเภชชวรรคที่ ๒ /ภิกขุสังฆปริหรณปัญหา ที่ ๗ ปัญหาว่าด้วยการบริหารภิกษุสงฆ์

 

๗. ภิกฺขุสงฺฆปริหรณปญฺโห

. ภิกขุสังฆปริหรณปัญหา

ปัญหาว่าด้วยการบริหารภิกษุสงฆ์

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตาตถาคตสฺส โข, อานนฺท, น เอวํ โหติ ‘‘อหํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหริสฺสามี’’’ติ วา, ‘‘มมุทฺเทสิโก ภิกฺขุสงฺโฆ’’ติ วาติฯ ปุน จ เมตฺเตยฺยสฺส ภควโต สภาวคุณํ ปริทีปยมาเนน ภควตา เอวํ ภณิตํ ‘‘โส อเนกสหสฺสํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหริสฺสติ, เสยฺยถาปิ อหํ เอตรหิ อเนกสตํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหรามี’’ติฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ภควตา ภณิตํตถาคตสฺส โข, อานนฺท, น เอวํ โหติ ‘‘อหํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหริสฺสามี’’ติ วา, ‘‘มมุทฺเทสิโก ภิกฺขุสงฺโฆ’’ติ วาติ, เตน หิ อเนกสตํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหรามีติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ตถาคเตน ภณิตํ โส อเนกสหสฺสํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหริสฺสติ, เสยฺยถาปิ อหํ เอตรหิ อเนกสตํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหรามีติ, เตน หิ ตถาคตสฺส โข, อานนฺท, น เอวํ โหติ อหํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหริสฺสามีติ วา, ‘มมุทฺเทสิโก ภิกฺขุสงฺโฆติ วาติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉา, อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

๗. ราชา มิลินฺโท พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ, เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ เอวํ จินฺตนํ ความคิดอย่างนี้ ตถาคตสฺส ของเราตถาคต อิติ ว่า อหํ เรา ปริหริสฺสามิ จักบริหาร ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ ดังนี้ วา บ้าง, ภิกฺขุสงฺโฆ ภิกษุสงฆ์ มมุทฺเทสิโก มีเราที่สงฆ์เชิดชูว่าเป็นศาสดา[1] ดังนี้ วา บ้าง น โหติ ย่อมไม่มี ดังนี้ โข แล ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ก็ตรัสแล้ว, จ อนึ่ง (เอตํ วจนํ) พระดำรัสนี้ อิติ ว่า โส (เมตฺเตยฺโย ภควา) พระผู้มีพระภาคเมตไตยะนั้น ปริหริสฺสติ จักบริหาร ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ อเนกสหสฺสํ หลายพันรูป เสยฺยถาปิ ซึ่งเหมือน อหํ ที่เราตถาคต ปริหรามิ บริหารอยู่ ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ อเนกสตํ หลายร้อยรูป เอตรหิ ในบัดนี้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปริทีปยมาเนน เมื่อทรงแสดง สภาวคุณํ ซึ่งพระคุณอันมีอยู่ เมตฺเตยฺยสฺส ภควโต ของพระผู้มีพระภาคเมตเตยยะ ภณิตํ ก็ตรัสไว้อีก. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ เอวํ จินฺตนํ ความคิดอย่างนี้ อิติ ว่า อหํ เรา ปริหริสฺสามิ จักบริหาร ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ ดังนี้ วา บ้าง, ภิกฺขุสงฺโฆ ภิกษุสงฆ์ มมุทฺเทสิโก มีเราที่สงฆ์เชิดชูว่าเป็นศาสดา ดังนี้ วา บ้าง น โหติ ย่อมไม่มี ตถาคตสฺส แก่เราตถาคต ดังนี้ โข แล ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ตรัสไว้ (จริง), เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า อหํ เราตถาคต ปริหรามิ บริหารอยู่ ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ อเนกสตํ หลายร้อยรูป ดังนี้, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น มิจฺฉา เป็นอันผิดไป. ยทิ ถ้าหากว่า วจนํ พระดำรัส อิติ ว่า โส พระผู้มีพระภาคเมตไตยะนั้น ปริหริสฺสติ จักบริหาร ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ อเนกสหสฺสํ หลายพันรูป เสยฺยถาปิ ซึ่งเหมือน อหํ ที่เราตถาคต ปริหรามิ บริหารอยู่ ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ อเนกสตํ หลายร้อยรูป เอตรหิ ในบัดนี้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้แล้ว, เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ เอวํ จินฺตนํ ความคิดอย่างนี้ ตถาคตสฺส แห่งเราตถาคต อิติ ว่า อหํ เรา ปริหริสฺสามิ จักบริหาร ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ ดังนี้ วา บ้าง, ภิกฺขุสงฺโฆ ภิกษุสงฆ์ มมุทฺเทสิโก มีเราที่สงฆ์เชิดชูว่าเป็นศาสดา ดังนี้ วา บ้าง น โหติ ย่อมไม่มี ดังนี้, ตมฺปิ วจนํ พระดำรัสแม้นั้น มิจฺฉา เป็นคำพูดผิด. อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีที่สุด อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต มาถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา อันท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ = กเถตพฺโพ พึงแถลงเถิด ดังนี้.

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา ตถาคตสฺส โข, อานนฺท, น เอวํ โหติ ‘‘อหํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหริสฺสามี’’ติ วา, ‘‘มมุทฺเทสิโก ภิกฺขุสงฺโฆ’’ติ วาติฯ ปุน จ เมตฺเตยฺยสฺสาปิ ภควโต สภาวคุณํ ปริทีปยมาเนน ภควตา ภณิตํ โส อเนกสหสฺสํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหริสฺสติ, เสยฺยถาปิ อหํ เอตรหิ อเนกสตํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปริหรามีติฯ เอตสฺมิญฺจ, มหาราช, ปญฺเห เอโก อตฺโถ สาวเสโส, เอโก อตฺโถ นิรวเสโสฯ น, มหาราช, ตถาคโต ปริสาย อนุคามิโก, ปริสา ปน ตถาคตสฺส อนุคามิกาฯ สมฺมุติ, มหาราช, เอสา อหนฺติ มมาติ, น ปรมตฺโถ เอโส, วิคตํ, มหาราช, ตถาคตสฺส เปมํ, วิคโต สิเนโห, ‘มยฺหนฺติปิ ตถาคตสฺส คหณํ นตฺถิ, อุปาทาย ปน อวสฺสโย โหติฯ

นาคเสนตฺเถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลถวายวิสัชนา อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ เอวํ จินฺตนํ ความคิดอย่างนี้ ตถาคตสฺส แห่งเราตถาคต อิติ ว่า อหํ เรา ปริหริสฺสามิ จักบริหาร ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ ดังนี้ วา บ้าง, ภิกฺขุสงฺโฆ ภิกษุสงฆ์ มมุทฺเทสิโก มีเราที่สงฆ์เชิดชูว่าเป็นศาสดา ดังนี้ วา บ้าง น โหติ ย่อมไม่มี ดังนี้ โข แล ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ ทรงภาษิตไว้ (จริง), จ อนึ่ง (เอตํ วจนํ) พระดำรัสนี้ อิติ ว่า โส (เมตฺเตยฺโย ภควา) พระผู้มีพระภาคเมตไตยะนั้น ปริหริสฺสติ จักบริหาร ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ อเนกสหสฺสํ หลายพันรูป เสยฺยถาปิ ซึ่งเหมือน อหํ ที่เราตถาคต ปริหรามิ บริหารอยู่ ภิกฺขุสงฺฆํ ซึ่งภิกษุสงฆ์ อเนกสตํ หลายร้อยรูป เอตรหิ ในบัดนี้ ดังนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ปริทีปยมาเนน เมื่อทรงแสดง สภาวคุณํ ซึ่งพระคุณอันมีอยู่ เมตฺเตยฺยสฺส ภควโต ของพระผู้มีพระภาคเมตเตยยะ ภณิตํ ก็ทรงตรัสไว้อีกเหมือนกัน. มหาราช มหาบพิตร ก็ เอตสฺมิํ ปญฺเห ในปัญหานี้ เอโก อตฺโถ เนื้อความอย่างหนึ่ง สาวเสโส มีส่วนเหลือ, เอโก อตฺโถ เนื้อความอีกอย่างหนึ่ง นิรวเสโส ไม่มีส่วนเหลือ[2]. มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต อนุคามิโก ทรงเป็นผู้ติดตาม[3] ปริสาย ซึ่งบริษัท น โหติ หามิได้, ปน แต่ ปริสา บริษัท อนุคามิกา เป็นผู้คล้อยตาม ตถาคตสฺส ซึ่งพระตถาคต. มหาราช มหาบพิตร เอสา (วาจา) พระดำรัสนี้ นี้ อิติ ว่า อหํ เรา อิติ ว่า มม ของเรา ดังนี้ สมมุติ เป็นสมมุติ โหติ ย่อมเป็น[4], โส นั้น น ปรมตฺโถ ไม่ใช่ปรมัตถ์, มหาราช มหาบพิตร เปมํ ความรัก ตถาคตสฺส แห่งพระตถาคต วิคตํ ปราศจากไปแล้ว, สิเนโห ความสิเนหา วิคโต ปราศจากไปแล้ว, คหณํ แม้ความยึดถึือ อิติปิ ว่า มยฺหํ ของเรา ดังนี้ ตถาคตสฺส ของพระตถาคต นตฺถิ ย่อมไม่มี, ปน แต่ อุปาทาย อวสฺสโย ทรงเป็นผู้ที่เหล่าสัตว์เข้าไปอาศัยพึ่งพิง โหติ ย่อมเป็น.[5]

‘‘ยถา, มหาราช, ปถวี ภูมฏฺฐานํ สตฺตานํ ปติฏฺฐา โหติ อุปสฺสยํ, ปถวิฏฺฐา เจเต สตฺตา, น จ มหาปถวิยา มยฺเหเตติ อเปกฺขา โหติ, เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต สพฺพสตฺตานํ ปติฏฺฐา โหติ อุปสฺสยํ, ตถาคตฏฺฐา [ตถาคตปติฏฺฐา เอว (สี.)] เจเต สตฺตา, น จ ตถาคตสฺส มยฺเหเตติ อเปกฺขา โหติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปถวี แผ่น ปติฏฺฐา เป็นที่พึ่ง อุปสฺสยํ เป็นที่พำนัก สตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ภูมฏฺฐานํ ผู้ดำรงอยู่บนแผ่นดิน, ก็ เอต สตฺตา สัตว์ทั้งหลาย ปถวิฏฺฐา เป็นผู้ดำรงอยู่บนแผ่นดิน, แต่ อเปกฺขา ความแยแส[6] มหาปถวิยา แห่งแผ่นดินใหญ่ น โหติ ย่อมไม่มี อิติ ว่า เอเต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ มยฺหํ ของเรา ดังนี้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต ปติฏฺฐา ทรงเป็นที่พึ่ง อุปสฺสยํ ทรงเป็นที่อาศัย สพฺพสตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งปวง[7], แต่ เอเต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ตถาคตฏฺฐา เป็นผู้อาศัยพระตถาคต โหนฺติ ย่อมเป็น, อเปกฺขา[8] ความแยแส ตถาคตสฺส ของพระตถาคต โหติ ย่อมไม่มี เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

ยถา วา ปน, มหาราช, มหติมหาเมโฆ อภิวสฺสนฺโต ติณรุกฺขปสุมนุสฺสานํ วุฑฺฒิํ เทติ สนฺตติํ อนุปาเลติฯ วุฏฺฐูปชีวิโน เจเต สตฺตา สพฺเพ, น จ มหาเมฆสฺสมยฺเหเตติ อเปกฺขา โหติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต สพฺพสตฺตานํ กุสลธมฺเม ชเนติ อนุปาเลติ, สตฺถูปชีวิโน เจเต สตฺตา สพฺเพ, น จ ตถาคตสฺส มยฺเหเตติ อเปกฺขา โหติฯ ตํ กิสฺส เหตุ? อตฺตานุทิฏฺฐิยา ปหีนตฺตา’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร วา ปน ก็ หรือว่า มหติมหาเมโฆ[9] เมฆฝนห่าใหญ่ใหญ่ อภิวสฺสนฺโต เมื่อตก เทติ ย่อมให้ วุฑฺฒิํ ซึ่งความเจริญ ติณรุกฺขปสุมนุสฺสานํ แก่หญ้า ต้นไม้ สัตว์เลี้ยงและมนุษย์ทั้งหลาย อนุปาเลติ ย่อมตามรักษา สนฺตติํ ซึ่งสันตติ (ความสืบทอดชีวิต). ก็ เอเต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น สพฺเพ ทั้งสิ้น วุฏฺฐูปชีวิโน เป็นผู้อาศัยฝนเป็นอยู่ โหนฺติ ย่อมเป็น, แต่ อเปกฺขา ความแยแส อิติ ว่า เอเต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ มยฺหํ ของเรา ดังนี้ มหาเมฆสฺส แห่งเมฆฝนห่าใหญ่นั้น น โหติ ย่อมไม่มี ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต กุสลธมฺเม ยังกุศลธรรมทั้งหลาย สพฺพสตฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งปวง ชเนติ ย่อมให้เกิด อนุปาเลติ ย่อมตามรักษา[10], แต่ เอเต สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ สตฺถูปชีวิโน เป็นผู้อาศัยพระศาสดาเป็นอยู่ โหนฺติ ย่อมเป็น, อเปกฺขา ความแยแส อิติ ว่า เอเต สตฺตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ มยฺหํ ของเรา ดังนี้ น โหนฺติ ย่อมไม่มี ตถาคตสฺส แก่พระตถาคต. ตํ ข้อนั้น โหตุ ย่อมมี กิสฺส เหตุ เพราะเหตุแห่งอะไร?, อตฺตานุทิฏฺฐิยา ปหีนตฺตา เพราะความที่อัตตานุทิฏฐิ อันพระองค์ละได้แล้ว เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล ดังนี้.

 ‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, สุนิพฺเพฐิโต ปญฺโห พหุวิเธหิ การเณหิ, คมฺภีโร อุตฺตานีกโต, คณฺฐิ ภินฺโน, คหนํ อคหนํ กตํ, อนฺธกาโร อาโลโก กโต, ภคฺคา ปรวาทา, ชินปุตฺตานํ จกฺขุํ อุปฺปาทิต’’นฺติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห รับสั่งแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ ดีจริง, ปญฺโห ตยา อันท่าน สุนิพฺเพฐิโต แก้ไว้ดีแล้ว การเณหิ โดยเหตุทั้งหลาย พหุวิเธหิ มีประการเป็นอันมาก, คมฺภีโร ความลึกซึ้ง อุตฺตานีกโต อันท่านกระทำให้ตื้นแล้ว, คณฺฐิ เงื่อนปม ตยา อันท่าน ภินฺโน ทำลายแล้ว, คหนํ ข้อยุ่งเหยิง ตยา อันท่าน กตํ ทำแล้ว อคหนํ ให้ไม่ยุ่งเหยิง, อนฺธกาโร ความมืด ตยา อันท่าน กโต กระทำแล้ว อาโลโก ให้เป็นแสงสว่าง, ปรวาทา ปรปวาทะ ตยา อันท่าน ภคฺคา ทำลายแล้ว, จกฺขุํ[11] จักษุกล่าวคือปัญญา ชินปุตฺตานํ (ภิกฺขูนํ) แห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นบุตรแห่งพระชินเจ้า ตยา อันท่าน อุปฺปาทิตํ ให้เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.

ภิกฺขุสงฺฆปริหรณปญฺโห

สตฺตโมฯ

ภิกฺขุสงฺฆปริหรณปญฺโห

ปัญหาว่าด้วยการบริหารภิกษุสงฆ์

สตฺตโม ลำดับที่ ๗ นิฏฺฐิโต จบ.



[1] มมุทฺเทสิก มีเราที่สงฆ์เชิดชูว่าเป็นศาสดา ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถนัย ถ้าแปลตามสัททัตถนัย ก็ว่า ภิกษุสงฆ์ มีเราอันตนพึงยกแสดง (ว่าเป็นศาสดา).  คำนี้ตัดบทเป็น มํ + อุทฺเทสิก มีวิเคราะห์เป็นพหุพพีหิสมาสดังนี้ อหํ อุทฺเทโส อสฺสาติ มมุทฺเทสิโก (ภิกฺขุสงฺโฆ). ภิกษุสงฆ์ มีเราผู้อันสงฆ์พึงยกขึ้นแสดง (ว่าเป็นศาสดา). อุทฺเทส มีอรรถกรรม มีวิเคราะห์ว่า สตฺถาติ อุทฺเทสิตพฺพฏฺฐาเนน อุทฺเทโส ผู้อันสงฆ์พึงยกขึ้นแสดงว่าเป็นศาสดา (ที.ม.อ.และที.ม.ฏี.๑๖๕).  มม ในศัพท์นี้ ไม่ได้หมายถึง มม ที่เป็นฉัฏฐีวิภัตติของ อมฺห แต่มาจากการแปลง อมฺห เป็น มํ แล้วแปลง นิคคหิตเป็น ม ด้วยสูตรมทา สเร ดังคัมภีร์อภินวรูปเภทปกาสนี คาถาที่ ๑๘๔ (เอกติํสจูฬสทฺทปกรณ.) แสดงว่า อมฺหสฺส มํ สมาเส จ (ในสมาส แปลง อมฺห เป็น มํ) เช่น มํมุขํ, มมุทฺเทสิก, มํ  ทีปา, มํเลณา,  มํปฏิสรณา.  อนึ่ง ข้อความนี้ สื่อให้เห็นว่า ในภายหน้า หลังจากที่ทรงปรินิพพานแล้ว พระพุทธองค์มิทรงได้ใยดีแม้แต่เล็กน้อยในภิกษุสงฆ์ ผู้จะปรารถนาพระองค์โดยเชิดชูขึ้นเป็นศาสดา.

[2] ในปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ยกมาถามเป็นสองเงื่อนสองมุมนี้ ควรแบ่งข้อความออกเป็น ๒ ที่มีอรรถ (ความหมาย) คือ ที่มีอรรถที่มีส่วนเหลือ และไม่มีส่วนเหลือ. ข้อความที่มีอรรถยังมีส่วนเหลือ ได้แก่ ข้อความที่ ๒ ที่ว่า พระผู้มีพระภาคเมตไตรยนั้น จักบริหารภิกษุสงฆ์จำนวนหลายพัน เหมือนอย่างที่เราบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อยอยู่ในบัดนี้ ดังนี้ ชื่อว่ามีส่วนเหลือ คือ มีส่วนที่เกิน ที่พ้นไปจากสภาวธรรม เป็นเศษเหลืออยู่ เพราะแม้ทรงละอัตตานุทิฏฐิที่สร้างความสำคัญว่าเป็นเราได้แล้ว ก็ยังทรงกระทำเหมือนกับว่ายังทรงมีอยู่ โดยการที่ตรัสสักแต่เป็นโวหารว่า เราบริหาร ดังนี้ ซึ่งเนื้อความนี้เป็นส่วนที่เหลืออยู่ นอกเหนือไปจากสภาวธรรม. ส่วนข้อความที่มีอรรถไม่มีส่วนเหลือ คือ ข้อความแรกที่ว่า อานนท์ ตถาคตไม่มีความคิดอย่างนี้ เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีอัตตานุทิฏฐิที่สร้างความสำคัญว่า เป็นเรา จึงตรัสว่า ตถาคตไม่มีความคิดว่า เราจักบริหาร เพราะเมื่อความจริงโดยปรมัตถ์ มีเพียงสภาวธรรมที่เป็นไปตามปัจจัยเท่านั้น อย่างนี้แล้ว ผู้ละอัตตานุทิฏฐิได้แล้ว ย่อมไม่เกิดความคิด ไม่เกิดความยึดมั่นว่า เราจักบริหารเพราะไม่มีเราซึ่งเป็นผู้บริหาร เพราะฉะนั้น จึงเป็นเนื้อความที่หาส่วนเหลือมิได้ กล่าวคือ พระพุทธองค์ทรงเจาะจงแสดงให้ทราบว่า มีแต่สภาวธรรม (มิลิน.อฏฺ.)

[3] คำว่า อนุคามิก คอยติดตาม นี้ หมายถึง การที่สิ่งหนึ่งต้องอาศัยอีกสิ่งหนึ่งเป็นไป ดังนั้น ท่านจึงกล่าวอุปมาไว้ ๒ ประการคือ สัตว์ทั้งหลายอาศัยแผ่นดิน และ อาศัยน้ำฝนเป็นอยู่ ดังนั้น สัตว็ทั้งหลายชื่อว่า เป็นไปตามแผ่นดินและน้ำฝน แม้บริษัท ๔ ก็ย่อมอาศัยพระศาสดาคือรับฟังคำอนุสาสน์จากพระตถาคต ไม่ใช่พระตถาคตอาศัยบริษัท ๔  (มิลิน.ล้านนา)

[4] ด้วยคำนี้เป็นอันพระนาคเสนแยกสมมุติและปรมัตถ์ออกมิให้ปะปนกัน. พึงทราบอรรถาธิบายบางประการในข้อความนี้ ดังนี้ คำว่า อหํ และ มํ เป็นบัญญัติที่เรียกว่า สัททบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ เพราะเป็นเสียงพูดเพื่อขนานนามถึงพระองค์เอง. ตัวพระองค์ผู้เป็นพระตถาคต เป็นอัตถบัญญัติ เพราะเป็นเนื้อความที่ทรงหมายถึงเมื่อตรัสว่า อหํ และ มํ ทั้งสัททบัญญัติว่า อหํ และ มํ ก็ดี ทั้งตัวพระองค์เองที่หมายเอาในคำว่า อหํ และ มํ นั้น สองประการนี้เรียกว่า อุปาทาบัญญัติ เพราะอาศัยรูป นาม ขันธ์ ๕ มาเรียกชื่อและสื่อความหมาย. บัญญัติ ๓ ประเภทนี้เป็นความจริงที่ชาวโลกรับรู้ร่วมกันแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเป็นสัจจะ ที่เรียกว่า สมมุติสัจจะ. จริงอย่างนั้น ในโลกนี้มีสัจจะอยู่ ๒ ประการ คือ สมมุติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ.สมมุติสัจจะ เป็นความจริงระดับหนึ่งที่ชาวโลกตั้งกติกา เป็นเครื่องสังเกต เป็นที่รับรู้กัน เป็นที่เข้าใจกันได้โดยง่าย และปรากฏเห็นประจักษ์จริงกันอย่างแพร่หลายตามที่กำหนด เช่น คำว่า เคโห เรือน รโถ รถ สกโฏ เกวียน เป็นต้น เพราะฉะนั้น คำพูดเหล่านั้นจึงเป็นของจริง ไม่คลาดเคลื่อน จึงจัดเป็นสัจจะ เรียกว่า สมมุติสัจจะ เพราะเป็นจริงที่ปรากฏตามที่ชาวโลกกำหนดและหมายรู้กัน. ปรมัตถสัจจะ เป็นเนื้อหาของธรรมล้วนๆ ที่ไม่อิงกับคำพูด หรือ เนื้อความที่คำพูดนั้นสื่อถึง เป็นความจริงขั้นสูงสุดซึ่งอยู่ภายในแห่งสมมุติเหล่านั้น และไม่มีเนื้อความใดๆ ที่จะต้องค้นหาต่อไปอีก ปรากฏขึ้นด้วยลักษณะตามที่เป็นจริงของธรรมทั้งหลาย เช่น ปถวีธาตุมีความแข็งเป็นลักษณะ, ผัสสะมีการกระทบเป็นลักษณะ เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ เพราะเป็นความจริงที่สูงสุด เป็นจริงโดยลักษณะของตนและเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น ไม่เป็นอื่น. อนึ่ง ปรมัตถ์ ในสุตตันตเทศนาหมายถึงขันธ์ ๕ เท่านั้น แต่อภิธรรมเทศนาหมายถึงปรมัตถธรรม ๔ มีจิตเป็นต้นเท่านั้น แม้คำว่า ขันธ์ เป็นต้น นั้นก็จัดเป็นบัญญัติเช่นกัน เรียกว่า วิชชมานบัญญัติ ในที่นี้หมายเอาปรมัตถ์ตามสุตตันเทศนา. ก็บัญญัติทั้ง ๓ ประเภทนั้น เป็นสมมุติสัจจะ รู้ได้ง่าย เข้าใจได้ทันที. ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น เป็นปรมัตถสัจจะ รู้ได้ยาก มีความลึกซึ้ง. เทศนาของพระพุทธองค์จะมีทั้งสมมุติสัจจะและปรมัตถสัจจะ เพื่อการบรรลุประโยชน์ไปตามลำดับ ตามควรแก่บุญญาธิการของเวเนยยบุคคล. เมื่อตรัสสมมุติสัจจะ ผู้ฟังก็อาจบรรลุมรรคผลได้ เหตุที่กามาวจรกุสลเจตนาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ฟังนั้นจักสั่งสมไว้เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่พระนิพพานสืบไปภายหน้า เมื่ออินทรีย์แก่กล้าเพียงพอจะตรัสรู้อริยสัจธรรมได้โดยง่าย.  หากผู้ฟังมีปัญญาแก่กล้า จะตรัสปรมัตถเทสนา เพื่อตรัสรู้อริยสัจธรรมโดยทันที. บางครั้งพระองค์แสดงธรรมโดยสมมุติสัจจะนั้นก่อน ต่อมาจึงจำแนกเอาเฉพาะปรมัตถสัจจะอันเป็นเนื้อความสาระสำคัญเพียงอย่างเดียวนำมาสงเคราะห์ลงในอริยสัจ ๔.  เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า ทรงแสดงสัจจะ ๒ ประการเท่านั้นไม่มี ๓ คือ สมมุติสัจจะ และ ปรมัตถสัจจะ. แม้เมื่อตรัสเทสนาโดยสมมุติ แม้ไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ มุสาวาทหาได้เกิดไม่ เพราะตรัสคำที่เป็นจริงตามโลกโวหาร โลกสังเกต ที่ตื้นและรู้ได้ง่าย (ดูอังคุตรอัฏฐกถา เอกนิบาตเป็นต้น)

[5] สามบทนี้คือ เปมํ, สิเนโห, มยหนฺติปิ คหณํ องค์ธรรมคือโลภะอันเดียวกันก็จริง แต่กระนั้น ยังเป็นการตรัสถึงความหยาบละเอียดที่เป็นชั้นๆและอานุภาพของมรรคญาณไปตามลำดับ กล่าวคือ ความรัก (เปมํ) หมายถึง ตัณหาอย่างหยาบที่มีกำลังแรง เพราะเป็นกามราคสังโยชน์ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ยินดีติดอยู่ในกามคุณ ๕ มีรูปเป็นต้น ในกามภพก็พระตถาคตปราศจาก คือ ทำความรักในกามคุณเหล่านั้น ให้หมดสิ้นไปอย่างเด็ดขาดด้วยอนาคามิมรรค. สิเนหา (สิเนโห) หมายถึง คือ ตัณหาที่เป็นดุจยางเหนียวจับสัตว์ให้ติดไว้อย่างแน่นเหนียวกับรูปฌานและอรูปฌาน ที่เรียกว่า รูปราคสังโยชน์ และอรูปราคสังโยชน์ พระตถาคตทำสิเนหาคือรูปราคะและอรูปราคสังโยชน์นั้นให้หมดสิ้นไปแล้วด้วยอรหัตตมรรค. การยึดถือ (คหณํ) หมายถึง ตัณหานั่นเองที่เป็นกามุปาทาน ซึ่งมีสภาพยึดถือเอากามคุณโดยอาการว่าเป็นของเรา. แม้ตัณหาชนิดนี้ก็เป็นตัณหาอย่างหยาบอันอนาคามิมรรคนั้นละได้.เป็นปหาตัพพธรรม. ส่วนบทว่า วิคตํ วิคโต ตถาคตสฺส นตฺถิ เป็นปหานสัตติของโสตาปัตติมรรคญาณ เป็นปหานธรรม แม้โสตาปัตติมรรคญาณเป็นต้น เป็นปหายกธรรม เพราะเหตุนั้น พระตถาคตก็หมายถึงพระโสตาปัตติมรรคญาณเป็นต้นที่ละตัณหานั้น ด้วยประการดังนี้ เป็นอันพระนาคเสนเถระแสดงปรมัตถเทศนา เพราะกล่าวถึงการละกิเลสเหล่านั้นไม่อิงด้วยบุคคลคือพระตถาคตเหมือนเช่นข้อความว่า เราบริหารภิกษุสงฆ์ และ สงฆ์มีเราเป็นที่เชิดชูเป็นศาสดา ที่เป็นสมมุติเทศนา. บรรดาเทศนาทั้งสองนี้ ปรมัตถเทศนาชื่อว่า อรรถไม่มีส่วนเหลือ เพราะเป็นอรรถภายในสุด ไม่มีมากกว่านี้. สมมุติเทศนา ชื่อว่า อรรถที่มีส่วนเหลือ เพราะมีปรมัตถ์อยู่ภายใน (มิลิน.ล้านนา) โดยนัยนี้ ข้อความเหล่านี้ เป็นปรมัตถเทศนา กล่าวคือ เป็นคำที่มีอรรถไม่มีส่วนเหลือ ส่วนพระบาฬีที่พระเจ้ามิลินท์ยกมาทั้งสองเป็นสมมุติเทศนา เป็นคำที่มีอรรถที่มีส่วนเหลือ.  แต่ในอรรถกถามิลินทปัญหา อรรถาธิบายอรรถมีส่วนเหลือและไม่มีส่วนเหลือไว้อีกนัยหนึ่ง (ดูเชิงอรรถข้อ ๒) โดยนัยนี้ ข้อความนี้เป็นแสดงเหตุผลถึงความเป็นคำที่มีอรรถอันไม่ส่วนเหลือของพระบาฬีที่ ๒.

[6] อเปกฺขา ศัพท์ องค์ธรรมได้แก่ โลภะ เป็นชื่อหนึ่งของตัณหา (ดู มหานิทเทส ๑๔,อภิ.สํ.๖๙๑) มีวิเคราะห์ว่า อาลยกรณวเสน อเปกฺขตีติ อเปกฺขา ตัณหาที่แลดู โดยสร้างความอาลัย ชื่อว่า อเปกขา (อภิ.อ.๑/๑๐๖๕). ในเรื่องนี้ พระนาคเสน หมายถึง ตัณหา ที่อาลัยรักในภิกษุสงฆ์ (มิลิน.ล้านนา)

[7] คำว่า เป็นที่พึ่ง ที่อาศัย หมายถึง ทรงเป็นผู้อนุศาสน์ประโยชน์ทั้งสามแก่บริษัทของพระองค์มีภิกษุบริษัทเป็นประธานให้ถึงความสุขในโลกนี้ โลกหน้า ตราบจนสันติสุข.  แม้สัตว์ทั้งปวง ก็รับเอาคำอนุศาสน์มาปฏิบัติสืบต่อตราบชั่วชีวิตของตน อุปมาเหมือนกับสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยแผ่นดินอยู่เป็นสุขสำราญ ดังนั้น บริษัท ๔ จึงผู้คล้อยตาม คือ แสวงหาพระผู้มีพระภาค. แต่พระผู้มีพระภาคหาได้ทรงใส่ใจ อาลัยอาวรณ์ในภิกษุสงฆ์สักน้อยก็มิได้มี.

[8] ด้วยอุปมานี้ ตรัสถึงความปราศจากอกุศลธรรมเป็นเหตุให้พระองค์ทรงยึดเอาว่าขันธ์ทั้งหลายว่าเป็นของตน บ้าง เป็นเรา บ้าง เป็นอัตตาของเราบ้าง ที่มีชื่อเรียกว่า คาห คือ ตัณหาคาหะ มานคาหะ และทิฏฐิคาหะ. อีกนัยหนึ่ง เป็นอันตรัสถึงความปราศจากมมังการ คือ ตัณหา ที่สร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นของเรา และ อหังการ มานะที่สร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นเรา. อนึ่ง อหังการ มมังการนี้ ท่านมักกล่าวถึงโดยเป็นคำอธิบายของตัณหาคาหะและมานคาหะ.

[9] มหติมหาเมโฆ คำนี้เป็นสมาสระหว่าง มหนฺต + มหาเมโฆ วิเคราะห์เป็นกัมมธารยสมาสว่า มหนฺโต จ โส เมโฆ มหาเมโฆ เมฆฝน ด้วย เมฆฝนนั้น ใหญ่ เหตุนั้น ชือว่า มหาเมโฆ, มหนฺโต จ โส มหาเมโฆ มหติมหาเมโฆ เมฆฝนใหญ่ ด้วย เมฆฝนใหญ่นั้น ใหญ่ ด้วย ชื่อว่า เมฆฝนห่าใหญ่ใหญ่. รูปนี้เข้าใจว่า เมื่อควรจะกล่าวว่า มหามหาเมโฆ แปลง มหา (ศัพท์หน้า) เป็น มห แล้วลง ต และ อิ อาคม. กรณีที่ใช้คำซ้ำกันนี้จะระบุถึงความพิเศษ ดังนั้น ในที่นี้จึงมีความหมายว่า เป็นเมฆฝนขนาดใหญ่เป็นพิเศษ.

[10] ความหมายคือ เมื่อทำกุศล ๒๑ มีกามาวจรกุศล ๘ รูปกุศล ๕ อรูปกุศล ๔ และโลกุตรกุศล ๔ ให้เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายแล้ว ยังทำหน้าที่รักษาคุ้มครองโดยทรงพร่ำสอนสัตว์ทั้งหลายต่อไป เพื่อได้รับความสุขจนกระทั่งเข้าถึงนิพพาน.

[11] จักษุ (จกฺขุ) ในที่นี้มีความหมายว่า ปัญญาจักษุ เพราะอาศัยคำวิสัชนาของพระนาคเสนเถระ ทำให้ภิกษุทั้งหลายได้ปัญญาที่สามารถเห็นแจ้งอริยสัจจธรรมได้. อีกนัยหนึ่งมีความหมายว่า ธรรมจักษุ เพราะความเป็นเหตุให้ทำมรรคผลเหล่านั้นให้เกิดขึ้น. จกฺขุศัพท์มีอรรถ ๕ อย่าง คือ (๑) พุทธจักษุ คือ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณ, (๒) สมันตจักษุ คือ พระสัพพัญญุตญาณ, (๓) ธรรมจักษุ ปัญญาที่เห็นอริยสัจจธรรม ๔ ได้แก่ ปัญญาในมรรคและผลเบื้องต่ำ ๓. (๔) ปัญญาจักษุ คือปุพเพนิวาสนุสติญาณและอาสวักขยญาณ. (๕) ทิพพจักษุ, (๖) ปสาทจักษุ (สี.อ.๒๑๓ อินฺทฺริยสงฺวรกถา). แต่ในสารัตถทีปนีแสดงว่า ปัญญาจักษุ คือ ญาณอันกำหนดรู้อริยสัจจ์ ๔ (จตุสจฺจปริจฺเฉทกญาณํ) [สารัตถทีปนีฏีกา]. อนึ่ง คำบาฬีว่า จกฺขุํ มาจาก จกฺขุ + นิคคหิตอาคม. (รูปสิทธิ สูตร ๕๗ “นิคคหิตญฺจ”). มีรูปคล้ายบทลงทุติยาวิภัตติ.  คัมภีร์สัททนีติ ปทมาลา แนะความเข้าใจในเรื่องนี้ว่า เมื่อบุคคลออกเสียงบทที่ลงท้ายด้วยปฐมาวิภัตติว่า จกฺขุํ อุทปาทิ โดยมีการลงนิคคหิตอาคม  ถึงแม้ว่าเสียงดังกล่าวจะตรงกับเสียงของทุติยาวิภัตติ ในตัวอย่างว่า จกฺขุํ เม เทหิ ยาจิโต ข้าพระพุทธเจ้าทูลขอแล้วขอพระองค์ทรงโปรดพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด (ชา.สีวิราช.๒๗/๒๐๖๖) ก็ตาม.แต่ผู้ฟังก็สามารถที่จะเข้าใจความหมายได้ว่า บทว่า จกฺขุํ  ในข้อความว่า จกฺขุํ อุทปาทิ นี้ เป็นบทที่ลงท้ายด้วยปฐมาวิภัตติอย่างแน่นอน เพราะว่าบทว่า จกฺขุํ นั้นเป็นบทที่ถูกกิริยา  คือ  อุทปาทิ ระบุถึง และจะไม่มีผู้ใดเข้าใจว่าเป็นอรรถของทุติยาวิภัตติอันเป็นอรรถวิภัตติวิปัลลาส เพราะบทว่ากิริยาว่า   อุทปาทิ ระบุถึงอรรถกรรมไม่ได้. ความจริง ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จกฺขุํ อุทปาทิ นั้น ใครก็ไม่สามารถอธิบายความหมายโดยการเปลี่ยนวิภัตติของบทว่า จกฺขุํ อุทปาทิ  ได้. (สัททนีติ ปทมาลา โอการันตคณวินิจฉัย).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น