วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2568

๕๔. มัคคุปปทานปัญหา ปัญหาว่าด้วยการทำมรรคให้เกิดขึ้น

๕. สนฺถววคฺโค

กลุ่มปัญหามีสันถวปัญหาเป็นลำดับแรก

*****

๔. มคฺคุปฺปาทนปญฺโห

. ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ภาสิตมฺเปตํ ภควตา ตถาคโต ภิกฺขเว, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตาติฯ ปุน จ ภณิตํ อทฺทสํ ขฺวาหํ, ภิกฺขเว, ปุราณํ มคฺคํ ปุราณํ อญฺชสํ ปุพฺพเกหิ สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อนุยาตนฺติฯ ยทิ, ภนฺเต นาคเสน, ตถาคโต อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตา, เตน หิ อทฺทสํ ขฺวาหํ, ภิกฺขเว, ปุราณํ มคฺคํ ปุราณํ อญฺชสํ ปุพฺพเกหิ สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อนุยาตนฺติ ยํ วจนํ, ตํ มิจฺฉาฯ ยทิ ตถาคเตน ภณิตํ อทฺทสํ ขฺวาหํ, ภิกฺขเว, ปุราณํ มคฺคํ ปุราณํ อญฺชสํ ปุพฺพเกหิ สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อนุยาตนฺติ, เตน หิ ตถาคโต, ภิกฺขเว, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตาติ ตมฺปิ วจนํ มิจฺฉาฯ อยมฺปิ อุภโต โกฏิโก ปญฺโห ตวานุปฺปตฺโต, โส ตยา นิพฺพาหิตพฺโพ’’ติฯ

 

๔. มคฺคุปฺปาทนปญฺโห

. มัคคุปปทานปัญหา

ปัญหาว่าด้วยการทำมรรคให้เกิดขึ้น

****

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ภนฺเต ผู้เจริญ เอตํ วจนํ พระดำรัสนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตมฺปิ แม้ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ดังนี้.   แต่ว่า เอตํ วจนํ ข้อความนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้ ปุน อีก อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อทฺทสํ ได้ค้นพบ มคฺคํ มรรค ปุราณํ เก่า อญฺชสํ ซึ่งทาง ปุราณํ เก่า สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ปุพฺพเกหิ ผู้ทรงมีในกาลก่อน อนุยาตํ เสด็จดำเนินตามกันไปแล้ว ดังนี้. ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ ยทิ ถ้าหากว่า ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ไซร้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ยํ วจนํ พระดำรัสใด อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อทฺทสํ ได้ค้นพบ มคฺคํ มรรค ปุราณํ เก่า อญฺชสํ ซึ่งทาง ปุราณํ เก่า สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ปุพฺพเกหิ ผู้ทรงมีในกาลก่อน อนุยาตํ เสด็จดำเนินตามกันไปแล้ว ดังนี้, ตํ วจนํ พระดำรัสนั้น มิจฺฉา ผิด, ยทิ ถ้าหากว่า ยํ วจนํ พระดำรัสใด ตถาคเตน อันพระตถาคต ภณิตํ  อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อทฺทสํ ได้ค้นพบ มคฺคํ มรรค ปุราณํ เก่า อญฺชสํ ซึ่งทาง ปุราณํ เก่า สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ปุพฺพเกหิ ผู้ทรงมีในกาลก่อน อนุยาตํ เสด็จดำเนินตามกันไปแล้ว ดังนี้, เตน หิ ถ้าอย่างนั้น ตมฺปิ วจนํ พระดำรัสแม้นั้น อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ดังนี้ มิจฺฉา ก็ผิด, อยมฺปิ ปญฺโห ปัญหาแม้นี้ โกฏิโก มีเงื่อนงำ อุภโต โดยส่วนสอง อนุปฺปตฺโต ตกถึงแล้ว ตว แก่ท่าน, โส ปญฺโห ปัญหานั้น ตยา ท่าน นิพฺพาหิตพฺโพ พึงคลี่คลาย ดังนี้ [1]

 

‘‘ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา ตถาคโต, ภิกฺขเว, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตาติฯ ภณิตญฺจ อทฺทสํ ขฺวาหํ, ภิกฺขเว, ปุราณํ มคฺคํ ปุราณํ อญฺชสํ ปุพฺพเกหิ สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อนุยาตนฺติ, ตํ ทฺวยมฺปิ สภาววจนเมว, ปุพฺพกานํ, มหาราช, ตถาคตานํ อนฺตรธาเนน อสติ อนุสาสเก มคฺโค อนฺตรธายิ, ตํ ตถาคโต มคฺคํ ลุคฺคํ ปลุคฺคํ คูฬฺหํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ อสญฺจรณํ ปญฺญาจกฺขุนา สมฺปสฺสมาโน อทฺทส ปุพฺพเกหิ สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อนุยาตํ, ตํการณา อาห อทฺทสํ ขฺวาหํ, ภิกฺขเว, ปุราณํ มคฺคํ ปุราณํ อญฺชสํ ปุพฺพเกหิ สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อนุยาตนฺติฯ

นาคเสโน เถโร พระนาคเสนเถระ อาห ทูลตอบแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร เอตมฺปิ วจนํ แม้คำนี้ ตถาคเตน อันพระตถาคต ภาสิตํ ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ดังนี้. อนึ่ง เอตํ วจนํ ข้อความนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภณิตํ ตรัสไว้ อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อทฺทสํ ได้ค้นพบ มคฺคํ มรรค ปุราณํ เก่า อญฺชสํ ซึ่งทาง ปุราณํ เก่า สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ปุพฺพเกหิ ผู้ทรงมีในกาลก่อน อนุยาตํ เสด็จดำเนินตามกันไปแล้ว ดังนี้. มหาราช มหาบพิตร ตํ ทฺวยมฺปิ แม้พระพุทธดำรัสทั้งสองนั้น สภาววจนเมว เป็นพระดำรัสเกี่ยวกับสภาวะนั่นเทียว, มหาราช มหาบพิตร อนุสาสเก เมื่อผู้พร่ำสอน อสติ ไม่มี อนฺตรธาเนน เพราะการอันตรธานหายไป ตถาคตานํ พระตถาคตทั้งหลาย ปุพฺพกานํ ผู้มีในกาลก่อน มคฺโค มรรค อนฺตรธายิ ชื่อว่า อันตรธานหายไป, ตถาคโต พระตถาคต สมฺปสฺสมาโน เมื่อทรงค้นพบ ปญฺญาจกฺขุนา ด้วยพระปัญญาจักษุ อทฺทส ชื่อว่า ได้เห็นแล้ว ตํ มคฺคํ ซึ่งมรรคนั้น ลุคฺคํ ซึ่งขาดไป ปลุคฺคํ ขาดหมดแล้ว คูฬฺหํ ที่ซ่อนอยู่ ปิหิตํ ที่ปิดบังไว้ ปฏิจฺฉนฺนํ  ที่ปกปิดไว้ อสญฺจรณํ ไม่เป็นที่สัญจร สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อนุยาตํ เคยเสด็จดำเนินตามกันไป, ตํการณา เพราะเหตุแห่งการค้นพบมรรคอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลก่อนเคยเสด็จดำเนินตามกันไปนั้น ตถาคโต พระตถาคต อาห จึงตรัส อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อหํ เราตถาคต อทฺทสํ ได้ค้นพบ มคฺคํ มรรค ปุราณํ เก่า อญฺชสํ ซึ่งทาง ปุราณํ เก่า สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ปุพฺพเกหิ ผู้ทรงมีในกาลก่อน อนุยาตํ เสด็จดำเนินตามกันไปแล้ว ดังนี้

 

‘‘ปุพฺพกานํ, มหาราช, ตถาคตานํ อนฺตรธาเนน อสติ อนุสาสเก ลุคฺคํ ปลุคฺคํ คูฬฺหํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ อสญฺจรณํ มคฺคํ ยํ ทานิ ตถาคโต สญฺจรณํ อกาสิ, ตํการณา อาห ตถาคโต, ภิกฺขเว, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตาติฯ

มหาราช มหาบพิตร อนุสาสเก เมื่อผู้อนุศาสก์ อสติ ไม่มี อนฺตรธาเนน เพราะอันตรธานหายไป ตถาคตานํ แห่งพระตถาคตทั้งหลาย ปุพฺพกานํ ในกาลก่อน, ทานิ (แต่)บัดนี้ ตถาคโต พระตถาคต อกาสิ ได้ทรงกระทำ มคฺคํ ซึ่งหนทาง อสญฺจรณํ อันไม่ใช่ทางสัญจร ลุคฺคํ ซึ่งขาดไป ปลุคฺคํ ขาดสิ้นไป คูฬฺหํ อันซ่อนเร้น ปิหิตํ อันปิดบังไว้ ปฏิจฺฉนฺนํ อันปกปิดไว้ สญฺจรณํ ให้เป็นหนทางใช้สัญจร ยํ อันใด, ตํการณา เพราะเหตุแห่งการกระทำมรรคให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไปนั้น ตถาคโต พระตถาคต อาห จึงตรัส อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ดังนี้.

 

‘‘อิธ, มหาราช, รญฺโญ จกฺกวตฺติสฺส อนฺตรธาเนน มณิรตนํ คิริสิขนฺตเร นิลียติ, อปรสฺส จกฺกวตฺติสฺส สมฺมาปฏิปตฺติยา อุปคจฺฉติ, อปิ นุ โข ตํ, มหาราช, มณิรตนํ ตสฺส ปกต’’นฺติ? ‘‘น หิ, ภนฺเต, ปากติกํเยว ตํ มณิรตนํ, เตน ปน นิพฺพตฺติต’’นฺติฯ ‘‘เอวเมว โข, มหาราช, ปากติกํ ปุพฺพเกหิ ตถาคเตหิ อนุจิณฺณํ อฏฺฐงฺคิกํ สิวํ มคฺคํ อสติ อนุสาสเก ลุคฺคํ ปลุคฺคํ คูฬฺหํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ อสญฺจรณํ ภควา ปญฺญาจกฺขุนา สมฺปสฺสมาโน อุปฺปาเทสิ, สญฺจรณํ อกาสิ, ตํการณา อาห ตถาคโต, ภิกฺขเว, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตาติฯ

มหาราช มหาบพิตร มณิรตนํ แก้วมณี นิลียติ ย่อมถูกซ่อนไว้ คิริสิขนฺตเร ภายในแห่งยอดเขาอนฺตรธาเนน เพราะการอันตรธานหายไป รญฺโญ แห่งพระราชา จกฺกวตฺติสฺส ผู้พระจักรพรรดิ อิธ ในโลกนี้, อุปคจฺฉติ ย่อมเข้ามาด้วยดี[2] (ปรากฏขึ้น) สมฺมาปฏิปตฺติยา เพราะสัมมาปฏิบัติ จกฺกวตฺติสฺส แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ อปรสฺส พระองค์อื่น, มหาราช มหาบพิตร ตํ มณิรตนํ แก้วมณีนั้น ตสฺส อปรจกฺกวตฺติสฺส = เตน อปรจกฺวตฺตินา อันพระเจ้าจักรพรรดิ์ พระองค์อื่นนั้น ปกตํ[3] ทรงสร้างขึ้นก่อนแล้ว   อปิ นุ โข  หรือหนอแล? ดังนี้

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตํ มณิรตนํ แก้วมณีนั้น ปากติกํเยว เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามปกติ หามิได้, ปน แต่ว่า ตํ มณิรตนํ แก้วมณีนั้น เตน จกฺวตฺตินา อันพระเจ้าจักรพรรดินั้น นิพฺพตฺติตํ ทรงกระทำให้เกิดขึ้น ดังนี้

นาคเสโน พระนาคเสนเถระ อาห ทูลแล้ว อิติ ว่า มหาราช มหาบพิตร ภควา พระผู้มีพระภาค สมฺปสฺสมาโน เมื่อทรงค้นพบ ปญฺญาจกฺขุนา ด้วยปัญญาจักษุ มคฺคํ ทรงยังมรรค อฏฺฐงฺคิกํ อันประกอบด้วยองค์แปด สิวํ อันเกษม อัน - ตถาคเตหิ อันพระตถาคตทั้งหลาย ปุพฺพเกหิ ผู้ทรงมีในกาลก่อน - อนุจิณฺณํ ประพฤติสืบมาแล้ว ปากติกํ เป็นมรรคที่ถูกทำไว้ก่อน อนุสาสเก เมื่อผู้อนุศาสก์ อสติ ไม่มี ลุคฺคํ จึงขาดไป ปลุคฺคํ ขาดหมดแล้ว คูฬฺหํ เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ ปิหิตํ ที่ปิดบังไว้ ปฏิจฺฉนฺนํ  ที่ปกปิดไว้ อสญฺจรณํ ไม่เป็นที่สัญจร สมฺมาสมฺพุทฺเธหิ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อนุยาตํ เคยเสด็จดำเนินตามกันไป อุปฺปาเทสิ ให้อุบัติขึ้นแล้ว อกาสิ ได้ทรงกระทำ สญฺจรณํ ให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไป ตํการณา เพราะเหตุแห่งการกระทำมรรคให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไปนั้น ตถาคโต พระตถาคต อาห จึงตรัส อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ดังนี้.  

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, สนฺตํ เยว ปุตฺตํ โยนิยา ชนยิตฺวา มาตาชนิกาติ วุจฺจติ, เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต สนฺตํ เยว มคฺคํ ลุคฺคํ ปลุคฺคํ คูฬฺหํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ อสญฺจรณํ ปญฺญาจกฺขุนา สมฺปสฺสมาโน อุปฺปาเทสิ, สญฺจรณํ อกาสิ, ตํการณา อาห ตถาคโต, ภิกฺขเว, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตาติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ วา หรือว่า มาตา มารดา ชนยิตฺวา คลอดแล้ว ปุตฺตํ ซึ่งบุตร สนฺตํเยว อันมีอยู่นั่นเทียว โยนิยา ทางช่องคลอด วุจฺจติ อันเขาย่อมเรียก อิติ ว่า ชนิกา (มารดาผู้ให้กำเนิด) ดังนี้ ยถา ฉันใด, มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต สมฺปสฺสมาโน เมื่อทรงเห็นอยู่ ปญฺญาจกฺขุนา ด้วยปัญญาจักษุ มคฺคํ ยังมรรค สนฺตํเยว อันมีอยู่นั่นเทียว ลุคฺคํ ซึ่งขาดไป ปลุคฺคํ ขาดหมดแล้ว คูฬฺหํ เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ ปิหิตํ ที่ปิดบังไว้ ปฏิจฺฉนฺนํ  ที่ปกปิดไว้ อสญฺจรณํ ไม่เป็นที่สัญจร อุปฺปาเทสิ ให้เกิดขึ้นแล้ว, อกาสิ ได้ทรงกระทำ สญฺจรณํ ให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไป ตํการณา เพราะเหตุแห่งการกระทำมรรคให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไปนั้น ตถาคโต พระตถาคต อาห จึงตรัส อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ดังนี้  เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, โกจิ ปุริโส ยํ กิญฺจิ นฏฺฐํ ปสฺสติ, ‘เตน ตํ ภณฺฑํ นิพฺพตฺติตนฺติ ชโน โวหรติ, เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต สนฺตํ เยว มคฺคํ ลุคฺคํ ปลุคฺคํ คูฬฺหํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ อสญฺจรณํ ปญฺญาจกฺขุนา สมฺปสฺสมาโน อุปฺปาเทสิ, สญฺจรณํ อกาสิ, ตํการณา อาห ตถาคโต, ภิกฺขเว, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตาติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ วา หรือว่า โกจิ ปุริโส บุรุษบางคน ปสฺสติ หาเจออยู่ ยํ กิญฺจิ ภณฺฑํ ซึ่งสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง นฏฺฐํ ที่หายไปแล้ว, ชโน ชน โวหรติ ย่อมเรียก อิติ ว่า ตํ ภณฺฑํ สิ่งของนั้น เตน อันบุรุษนั้น นิพฺพตฺติตํ ให้เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ ยถา ฉันใด มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต สมฺปสฺสมาโน เมื่อทรงเห็นอยู่ ปญฺญาจกฺขุนา ด้วยปัญญาจักษุ มคฺคํ ยังมรรค สนฺตํเยว อันมีอยู่นั่นเทียว ลุคฺคํ ซึ่งขาดไป ปลุคฺคํ ขาดหมดแล้ว คูฬฺหํ เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ ปิหิตํ ที่ปิดบังไว้ ปฏิจฺฉนฺนํ  ที่ปกปิดไว้ อสญฺจรณํ ไม่เป็นที่สัญจร อุปฺปาเทสิ ให้เกิดขึ้นแล้ว, อกาสิ ได้ทรงกระทำ สญฺจรณํ ให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไป ตํการณา เพราะเหตุแห่งการกระทำมรรคให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไปนั้น ตถาคโต พระตถาคต อาห จึงตรัส อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ดังนี้ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

 

‘‘ยถา วา ปน, มหาราช, โกจิ ปุริโส วนํ โสเธตฺวา ภูมิํ นีหรติ, ‘ตสฺส สา ภูมีติ ชโน โวหรติ, น เจสา ภูมิ เตน ปวตฺติตา, ตํ ภูมิํ การณํ กตฺวา ภูมิสามิโก นาม โหติ, เอวเมว โข, มหาราช, ตถาคโต สนฺตํ เยว มคฺคํ ลุคฺคํ ปลุคฺคํ คูฬฺหํ ปิหิตํ ปฏิจฺฉนฺนํ อสญฺจรณํ ปญฺญาย สมฺปสฺสมาโน อุปฺปาเทสิ, สญฺจรณํ อกาสิ, ตํการณา อาห ตถาคโต, ภิกฺขเว, อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตา’’’ติฯ

มหาราช มหาบพิตร ปน ก็ วา หรือว่า โกจิ ปุริโส บุรุษบางคน โสเธตฺวา ให้ชำระ (ถาง) วนํ ซึ่งป่า นีหรติ ย่อมนำมา ภูมิํ ซึ่งที่ดิน, ชโน ชน โวหรติ ย่อมเรียก อิติ ว่า สา ภูมิ ที่ดินนั้น ตสฺส ของชนนั้น, ก็ เอสา ภูมิ ที่ดินนั้น เตน อันบุรุษนั้น  น ปวตฺติตา ให้เป็นไปแล้ว หามิได้, โส เขา ภูมิสามิโก นาม เป็นผู้มีชื่อว่า เจ้าของที่ดิน กตฺวา เพราะกระทำ ภูมิํ ซึ่งที่ดินนั้น การณํ ให้เป็นเหตุ ยถา ฉันใด มหาราช มหาบพิตร ตถาคโต พระตถาคต สมฺปสฺสมาโน เมื่อทรงเห็นอยู่ ปญฺญาจกฺขุนา ด้วยปัญญาจักษุ มคฺคํ ยังมรรค สนฺตํเยว อันมีอยู่นั่นเทียว ลุคฺคํ ซึ่งขาดไป ปลุคฺคํ ขาดหมดแล้ว คูฬฺหํ เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ ปิหิตํ ที่ปิดบังไว้ ปฏิจฺฉนฺนํ  ที่ปกปิดไว้ อสญฺจรณํ ไม่เป็นที่สัญจร อุปฺปาเทสิ ให้เกิดขึ้นแล้ว, อกาสิ ได้ทรงกระทำ สญฺจรณํ ให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไป ตํการณา เพราะเหตุแห่งการกระทำมรรคให้เป็นหนทางมีผู้ดำเนินไปนั้น ตถาคโต พระตถาคต อาห จึงตรัส อิติ ว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคโต พระตถาคต อรหํ ผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มคฺคสฺส ทรงยังมรรค อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาเทตา ให้เกิดขึ้น ดังนี้ เอวเมว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล

 

‘‘สาธุ, ภนฺเต นาคเสน, เอวเมตํ ตถา สมฺปฏิจฺฉามี’’ติฯ

มิลินฺโท ราชา พระเจ้ามิลินท์ อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สาธุ พระคุณเจ้าวิสัชนาชอบแล้ว, อหํ ข้าพเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ ยอมรับ เอตํ ซึ่งคำนั้น ตถา โดยประการที่พระคุณเจ้ากล่าวมา เอวํ อย่างนี้ ดังนี้

 

มคฺคุปฺปาทนปญฺโห จตุตฺโถฯ

มคฺคุปฺปาทานปญฺโห มัคคุปปาทนปัญหา จตุตฺโถ ลำดับที่สี่

นิฏฺฐิโต จบแล้ว



[1] ความขัดแย้งของพระบาฬีสองแห่งนี้ คือ ด้วยพระดำรัสที่ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราได้พบเห็นแล้วซึ่งมรรคเก่า เป็นต้น นี่ทรงแสดงว่า มรรคเก่า คือ มรรค ที่ล่วงไปแล้ว หมดไปแล้ว สิ้นไปแล้ว. ส่วนด้วยคำตรัสที่ว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ดังนี้ นี้ ทรงแสดงว่า มรรคที่กำลังเป็นไป ที่พระองค์ทรงประกาศอยู่นี้ เป็นมรรคใหม่ ที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้น คือ ทรงค้นพบด้วยอำนาจการทำให้เกิดขึ้น เหมือนอย่างอดีต ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตั้งแต่ครั้งอดีต ทรงทำให้เกิดขึ้น

 

[2] อุปคจฺฉติ ตามศัพท์แปลว่า เข้าถึง เข้าไป มาถึง อย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ได้มา แต่ในบริบทนี้ น่าจะแปลว่า ปรากฏขึ้น เพราะอำนาจแห่งอุป ศัพท์ ที่เป็นอุปสัคคชนิดเบียนอรรถของธาตุให้ไขว้ไขวไปจากเดิม ด้วยเหตุนี้ในที่นี้จะแปลโดยอรรถว่า ปาตุภวนํ ปรากฏ

[3] ในที่นี้แปลตามมิลินทฏีกา ที่แก้ ตสฺส ปกตํ เป็น เตน อปรจกฺวตฺตินา.  อนึ่ง ปกต ศัพท์มีอรรถหลายอย่าง อาทิ พฺยาวฏ ขวนขวาย, สร้าง, กระทำ บ้าง,  มีอรรถสภาวภูต เป็นของมีมาตามธรรมชาติ.  ในที่นี้มีอรรถว่า พฺยาวโฏ ขวนขวาย จึงหมายถึง พระองค์จะทรงสร้างขึ้นไว้ก่อนจะเป็นพระเจ้าจักพรรดิ์ อีกนัยหนึ่ง ถ้าจะแปลให้มีความหมายว่า เป็นของมีมาตามธรรมชาติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ในกรณีนี้ ปกต ศัพท์มีอรรถ สภาวภูต แปลว่า เป็นสภาพ หรือเป็นมูล (กงฺ.อภิ.๒๕๗). รวมความได้ว่า พระนาคเสนเถระตั้งคำถามในเชิงปฏิปุจฉาว่า มณีรัตนะนั้นเป็นของเดิมที่มีอยู่ก่อนจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ใช่ไหม

วิเคราะห์ศัพท์ในคาถาพาหุง (จบ)

 


วิเคราะห์ศัพท์ในคาถาพาหุง (จบ) 

เอตาปิ พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา

โย วาจโน ทินทิเน สรเตมตนฺที

หิตฺวานเนกวิวิธานิ จุปทฺทวานิ

โมกฺขํ สุขํ อธิคเมยฺย นโร สปญฺโญ.

โย นโร นรชนใด สปญฺโญ มีปัญญา มตนฺที=อตนฺที ไม่เกียจคร้าน วาจโน มีการสวด สรเต หมั่นระลึกอยู่ เอตาปิ พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา ซึ่งคาถาว่าด้วยพุทธชัยมงคล ๘ บทแม้เหล่านี้ ทินทิเน ทุกวันๆ

โส นโร นรชนนั้น หิตฺวาน ละเสีย อุปทฺทวานิ ซึ่งอุปัททวะทั้งหลาย อเนกวิธานิ มีประการต่างๆ เป็นอันมาก อธิคเมยฺย แล้วพึงบรรลุ โมกฺขํ ซึ่งศิวโมกข์คือนิพพาน สุขํ อันเป็นเอกันตบรมสุข.

***

วิเคราะห์ศัพท์ในคาถาพาหุง (จบ)

 [๙] เอตาปิ พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา

โย วาจโน ทินทิเน สรเตมตนฺที

หิตฺวานเนกวิวิธานิ จุปทฺทวานิ

โมกฺขํ สุขํ อธิคเมยฺย นโร สปญฺโญ.

----

               ๑. เอตาปิ (เอต + ปิ + โย ทุติยาวิภัตติ) แม้เหล่านี้  เป็นบทวิเสสนสัพพนาม (สรรพนามที่ใช้เป็นวิเสสนะ) หมายถึง พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา ในข้อที่ ๒ ปิ เป็นนิบาตมีอรรถสัมปิณฑนัตถะ มีเนื้อความที่ประมวลซึ่งชัยชนะของพระพุทธเจ้าทั้ง ๘ ดังได้กล่าวมาแล้วนี้

 

               ๒. พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา (พุทฺธ + ชย + มงฺคล + อฏฺฐ + คาถา + โย ทุติยาวิภัตติ) ซึ่งคาถาอันแสดงซึ่งมงคลคือชัยชนะของพระพุทธเจ้า ๘ คาถา เป็นบทกรรมในบทว่า วาจโน ในข้อที่ ๓

               บทนี้เป็นสมาสชนิดคัพภสมาส หรือที่เรียกว่า สมาสท้อง ประกอบด้วยบทสมาสย่อยอีก ๔ บทภายใน กล่าวคือ  เป็นทุติยาตัปปุริสสมาส ที่มีฉัฏฐีตัป., อวธารณกัมมธารยซ, และทิคุสมาสเป็นท้อง ดังนี้

 

               (๑) พุทฺธสฺส ชโย พุทฺธชโย

               ชัยชนะของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทฺธชย (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส)

               (๒) พุทฺธชโย เอว มงฺคลํ พุทฺธชยมงฺคลํ

               มงคลคือชัยชนะของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทฺธชยมงฺคลํ (อวธารณบุพพบทกัมมธารยสมาส)

               (๓) อฏฺฐ คาถาโย อฏฺฐคาถา

               คาถาทั้งหลาย ๘ ชื่อว่า อฏฺฐคาถา (ทิคุสมาส)

                (๔) พุทฺธชยมงฺคลํ ปกาสิตา อฏฺฐคาถา พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา

               คาถา ๘ อันประกาศแล้ว ซึ่งมงคลคือชัยชนะของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา. (มัชเฌโลปทุติยาตัปปุริสสมาส ที่มีฉัฏฐีตัปปุริสสมาส, อวธารณกัมมธารยสมาสและทิคุสมาสเป็นท้อง)

               ประกอบด้วยคำศัพท์ดังต่อไปนี้

               ๒.๑ พุทฺธ (พุธ ธาตุ มีอรรถว่า รู้ + ต ปัจจัย ท้ายสกัมมกธาตุ ใช้ในอรรถกัตตา)  พระพุทธเจ้า

               มีคำจำกัดความมากหลาย ยกมาเพียงเล็กน้อย

               พุชฺฌิตา สจฺจานีติ พุทฺโธ.

               พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงตรัสรู้ซึ่งอริยสัจจ์ ชื่อว่า พุทฺธ.

               โพเธตา ปชายาติ พุทฺโธ.

               พระผู้มีพระภาค ผุ้ทรง (สอน) ให้หมู่สัตว์ได้ตรัสรู้ ชื่อว่า พุทฺธ

               (ขุ.มหา.๒๙/๘๙๓)

               สพฺพํ พุทฺธวาติ พุทฺโธ.

               พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงตรัสรู้ซึ่งเญยธรรมทั้งปวง ชื่อว่า พุทฺโธ

               วิสิฏฺฐา พุทฺธิ อสฺสตฺถีติ พุทฺโธ.

               พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงมีความรู้อันประเสริฐ ชื่อว่า พุทฺโธ.

               รูปนี้ ลง ณ ปัจจัย ในอรรถว่า สรรเสริญ (ปสํสายํ ณปจฺจโย)

               (อภิธาน.ฏีกา. ๑)

               ๒.๒ ชย (ชิ ธาตุ มีอรรถว่า ชนะ + อ ปัจจัย) ความชนะ

               ชยนํ ชโย.

               ความชนะ ชื่อว่า ชย.

               ๒.๓ มงฺคล (มคิ ธาตุ มีอรรถว่า ถึง + อล ปัจจัย) มงคล, เหตุถึงความเจริญด้วยสมบัติทั้งปวง.

               มงฺคนฺติ อิเมหิ สตฺตา อิทฺธิํ จ วุฑฺฒิํ จ ปาปุณนฺตีติ มงฺคลํ.

               สัตว์ทั้งหลาย ย่อมถึง  คือ  ย่อมบรรลุซึ่งความสำเร็จ  และความเจริญด้วยเหตุ เหล่านี้  เหตุนั้น  เหตุเหล่านี้  จึงชื่อว่า  มงคล. (เรียบเรียง โดยนัย จากมังคลัตถทีปนี นิทานกถาพรรณนา)[1]

               ๒.๔ อฏฺฐ (อฏฺฐ + โย ลบโย) จำนวนนับ ๘ หน่วย

               ๒.๕ คาถา (เค ธาตุ มีอรรถว่า สทฺท ออกเสียง + ถ ปัจจัย + อา อิตถีโชตก.[2]) คาถา กล่าวคือ ถ้อยคำที่เปล่งออกมาอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยถูกกำหนดอักขระเป็นเครื่องกำหนด ได้แก่ บทประพันธ์ในภาษาบาฬีที่เรียกว่า ฉันท์มีอนุฏฐุภะ เป็นต้น

               อกฺขรปทํ นิยมิตฺวา กถิตวจนํ คาถา

               คำพูดที่เปล่ง กล่าวคือ ร้อยกรองโดยกำหนดอักขรบท[3]

๓. โย (ย + สิ ปฐมาวิภัตติ) ผู้ใด เป็นวิเสสนสรรพนามไม่ระบุบุคคล เรียกว่า อนิยมสัพพนาม ในที่นี้หมายถึง นโร คือ บุคคลผู้ที่จะเป็นผู้หมั่นสวด  ตามคำอธิบายในข้อที่ ๗

 

๔. วาจโน (วจ กล่าว + ยุ ปัจจัยในอรรถกัตตา, วุทธิ อ ที่วจ เป็น) ผู้กล่าว หมายถึง เป็นผู้สวดสาธยายพุทธชัยมงคลทั้ง ๘ คาถานี้ เป็นบทกัตตาในบทว่า สรเต ในข้อที่ ๖.๑

วจตีติ วาจโน.

ผู้สวด ชื่อว่า วาจน.[4]

 

๕. ทินทิเน (ทิน + ทิน + สฺมิํ แปลง สฺมิํ เป็น เอ) ทุกวัน เป็นกาลสัตตมี ในบทว่า สรเต ในข้อที่ ๖.๑

               ทิเน จ ทิเน จ ทินทิโน, ตสฺมิํ

               ในวัน ด้วย ในวัน ด้วย ชื่อว่า ทินทิโน, ในทุกวัน

               การใช้คำบาฬีว่า  ทิน ถึง ๒ ครั้งเช่นนี้ เพื่อแสดงความแผ่ไปแห่งกริยาการสวดที่เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง หมายความว่า ในทุกๆวัน จะมีการสวดพุทธชัยมงคลโดยไม่เว้นแม้แต่วันใด เรียกว่า วิจฉา ความปรารถนาในการแผ่ไปแห่งกริยา.

 

๖. สรเตมตนฺที บทนี้แยกเป็น ๒ บท คือ สรเต และ อตนฺที โดยอาศัยการลง ม อักษรอาคม เพื่อทำการเชื่อมระหว่าง สรเต และ อตนฺที ให้สนิทกลมกลืนกัน. วิธีการนี้ เรียกว่า สนธิ โดยที่ความหมายแยกจากกันไม่มีความสัมพันธ์กันเหมือนอย่างสมาส.

               ๖.๑ สรเต (สร + อ วิกรณปัจจัย + เต วัตตมานาวิภัตติ อัตตโนบท)  ระลึกถึงอยู่

               ลงวิภัตตินี้ เพื่อสื่อความที่การระลึกถึงนั้น เป็นกริยาที่มีอยู่เป็นประจำ เป็นปกติในทุกวัน. เป็นปัจจุบันกาล ไม่มีอรรถอื่นเช่น ออกคำสั่ง, รำพึง เป็นต้น.

               ๖.๒ อตนฺที (น + ตนฺที) ความไม่ย่อหย่อนเฉื่อยชา, ไม่เกียจคร้าน, ไม่ท้อถอย เป็นบทวิเสสนะของบทว่า นโร ที่เพิ่มเข้ามาในข้อที่ ๓

               น ตนฺที อตนฺตี

               ผู้ไม่มีความย่อหย่อน ชื่อว่า อตนฺที.

               ตนฺที ศัพท์ มาจาก ตทิธาตุ มีอรรถว่า อนาทร ไม่เอื้อเฟื้อ, ไม่ใส่ใจ, เกียจคร้าน, ง่วงเหงา, หลับ +  อี ปัจจัย ความหมายคือ ความเกียจคร้านโดยปกติ (ขุ.มหา. และ มหานิทฺเทส.อฏฺฐ.๘๒๒).

 

               ๗. หิตฺวานเนกวิวิธานิ แยกเป็น หิตฺวาน + อเนกวิวิธานิ ลบสระ อ ที่อเนกวิวิธานิข้างหลัง.

               ๗.๑ หิตฺวาน (หา  ธาตุ มีอรรถว่า จาค สละ+ ตฺวาน) ละแล้ว เป็นปุพพกาลกริยาในบทว่า อธิคเมยฺย ในข้อที่ ๑๑.

               ๗.๒ อเนกวิวิธานิ (อเนก + วิวิธ + โย ทุติยาวิภัตติ) หลายอย่างตั้งมากมาย. ศัพท์นี้เป็นคุณนาม ใช้ได้ ๓ ลิงค์ ในที่นี้เป็นวิเสสนะของบทว่า อุปทฺทวานิ ในข้อที่ ๘ จึงใช้เป็นนปุงสกลิงค์.

               อเนกานิ วิวิธานิ เยสํ ตานิ อเนกวิวิธานิ, อุปทฺทวานิ

               ประการต่างๆ มากมาย ของอุปัททวะเหล่าใดมีอยู่ อุปัทวะเหล่านั้น ชื่อว่า มีประการต่างๆมากมาย.

               อเนก (น + เอก) ไม่ใช่หนึ่ง กล่าวคือ มากกว่าหนึ่งขึ้นไปไม่ระบุจำนวนว่าเท่าใด ความหมายเท่ากับ พหุ ศัพท์ ที่แปลว่า มากมาย

               วิวิธ (วิ + วิธ + โย ทุติยาวิภัตติ) มีอย่างต่างๆ

               มีวิเคราะห์ว่า

               วิจิตฺตา วิธา ยสฺส โส วิวิโธ.

               ประการ (อย่าง) ต่างๆ  ของวัตถุใดมีอยู่ วัตถุนั้น ชื่อว่า มีประการต่างๆ,

 

               ๘. จุปทฺทวานิ (จ + อุปทฺทว + โย ทุติยาวิภัตติ) ซึ่งอุปัททวะทั้งหลาย  เป็นบทกรรมในบทว่า หิตฺวาน ในข้อที่ ๗.๑

               ๘.๑ จ เป็นนิบาตบอกความสืบต่อจากประโยคก่อน (วากยารัมภโชตกะ) แปลว่า ก็, อนึ่ง เป็นต้น         ๘.๒ อุปทฺทวานิ (อุป + ทุ ธาตุ มีอรรถว่า ทำให้เดือดร้อน (ตาป) หรือ อรรถว่า เบียดเบียน (หิํสา) + อ + โยทุติยาวิภัตติ)  เสนียดจัญไร, สิ่งที่เบียดเบียน สร้างความเดือดร้อน, อันตราย.

               อุปคนฺตฺวา ทุโนตีติ อุปทฺทโว

               สิ่งที่เข้าไปเบียดเบียน, ให้เดือดร้อน  ชื่อว่า อุปทฺทว.

 

               ๙. โมกฺขํ (มุจ ธาตุ มีอรรถว่า พ้น (โมจน) + อ ปัจจัย + อํทุติยาวิภัตติ) ธรรมเป็นที่หรือเป็นเหตุให้หลุดพ้นได้แก่ พระนิพพาน. บทนี้เป็นบทกรรมในบทว่า อธิคเมยฺย

               มุจฺจนฺติ เอตฺถ, เอเตน วา ราคาทีหีติ โมกฺโข, นิพฺพานํฯ

               พระนิพพาน ชื่อว่า โมกฺข เพราะเป็นธรรมอันเป็นที่อันหลุดพ้น หรือ เป็นเหตุให้หลุดพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้น

 

               ๑๐. สุขํ (สุ + ขนุ + กฺวิ)  ความสุข เป็นบทกรรมในบทว่า อธิคเมยฺย ในข้อที่ ๑๑

               สุฏฺฐุ ทุกฺขํ ขนฺตีติ สุขํ

               ธรรมชาติที่ขุด (คือทำลาย) ซึ่งความทุกข์ ด้วยดี ชื่อว่า สุข. [5]

              

               ๑๑. อธิคเมยฺย (อธิ + คมุ + เอยฺย[6]) บรรลุ เป็นกริยาบท ของบทว่า นโร ในข้อที่ ๑๒

               คมุ ธาตุ มีอรรถว่า ไป,ถึง (คมน) ที่มี อธิ อุปสัค เป็นบทหน้า มีความหมายว่า เข้าถึง กล่าวคือ บรรลุ, ได้, รู้, ทำให้แจ้ง.

 

               ๑๒. นโร (นร + สิ ปฐมาวิภัตติ) นรชน,ผู้ถูกกรรมของตนนำไป ได้แก่ บุคคลทั่วไปไม่จำกัดว่าเป็นหญิงชาย.  กรณีที่หมายถึง ผู้ชาย ได้แก่ บุรุษผู้นำแห่งสตรีทั้งหลาย หากมีความหมายว่ามนุษย์ผู้หญิง ลง อี อิตถีปัจจัย จะมีรูปว่า นารี. บทนี้เป็นบทกัตตาหรือเป็นประธานในประโยคนี้ว่า อธิคเมยฺย.

               นร มาจาก นร ธาตุ มีอรรถว่า นำไป + อ, หรือ นิ ธาตุ มีอรรถว่า นำไป + อร ปัจจัย มีวิเคราะห์ว่า

               นริยติ สเกน กมฺเมน นิยฺยตีติ นโร.

               บุคคลผู้ถูกกรรมของตนย่อมนำไป [7]

                

               ๑๓. สปญฺโญ (สห + ปญฺญา + สิปฐมาวิภัตติ) ผู้มีปัญญาหรือผู้เป็นไปกับด้วยปัญญา. บทนี้่เป็นวิเสสนะของบทว่า นโร ในข้อที่ ๑๒

               สห ปญฺญาย ปวตฺตตีติ  สปญฺโญ, (นโร)

               นรชน ใด ย่อมเป็นไปกับด้วยปัญญา นรชนนั้น ชื่อว่า สปญฺโญ.[8]

               รูปนี้เป็นสหบุพพบทพหุพพีหิสมาส, แปลง สห เป็น ส เมื่ออยู่ในสมาส.

              

***

แสดงการวิเคราะห์ศัพท์

ในคาถามีคำเริ่มต้นว่า เอตาปิ จบ

***

วิเคราะห์ศัพท์ในพุทธชยมังคลอัฏฐคาถา (พาหุง)

จบแล้วด้วยประการทั้งปวง

****



[1] ลงนิคคหิตอาคมหลังอักษรต้นของธาตุ และแปลงนิคคหิตเป็น งฺ เพราะ มคิธาตุ  เป็นอิการันต์ แต่คัมภีร์โมคคัลลานะว่า มาจาก มงฺค ธาตุ มงฺคลฺย เหตุให้ถึงซึ่งสิ่งอันประเสริฐ แสดงรูปวิเคราะห์ว่า

               มงฺคนฺติ สตฺตา เอเตน วุทฺธิํ คจฺฉนฺตีติ มงฺคลํ=ปสตฺถํฯ (โมคฺ.๕/๑๘๒)

               ธรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายถึงซึ่งความเจริญ ชื่อว่า มงคล ได้แก่ ความดี, ประเสริฐ (ปสตฺถํ) .

               คัมภีร์อภิธานนัปปทีปิกา คาถาที่ ๘๘ แสดงศัพท์ว่า มงฺคลํ นี้ให้อยู่ในกลุ่มศัพท์ที่ความหมายว่า ดี, เจริญ, ประเสริฐ อื่นๆ อีก ๗ ศัพท์ มี ภทฺท, เสยฺย, สุภ, เขม เป็นต้น และฏีกาของคัมภีร์นี้แสดงรูปวิเคราะห์ว่า

               มงฺคติ ธญฺญํ[1] มงฺคลํ

               ความดีอันถึงซึ่งโชคลาภ, (คือ ความเป็นผู้ได้ทรัพย์ อันเป็นผลบุญ) ชื่อว่า มงคล.

นอกจากนี้ ยังมีความหมายเป็นต้นว่า  มงฺคนฺติ สตฺตา เอเตน สุทฺธิํ คจฺฉนฺตีติ มงฺคลํ ความดีที่เป็นเหตุให้สัตว์บริสุทธิ์ ได้อีกด้วย (ดูอภิธานวรรณนา คาถา ๘๔)

[2] คัมภีร์โมคคัลลานะเห็นว่า มาจาก คนฺธ ธาตุ มีอรรถว่า สูจน ประกาศ, แสดง + อ  ปัจจัย+ อา. โมค.๗/๘๘.

[3] คำว่า บท ในที่นี้หมายถึงอักษรหมายความว่าในแต่ละบาทกำหนดจำนวนอักษร ๘ เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ อักษรในแต่ละบท ชื่อว่า อักขรปท. (เรียบเรียงจาก มังคลัตถทีปนี เล่ม ๑/๑๑ และขุ.ขุ.อ.มงฺคลสุตฺตวณฺณนา โดยข้อความบาฬีเป็น ตตฺถ คาถายาติ อกฺขรปทํ นิยมิตฺวา กถิเตน วจเนนาตฺยฏฺฐกถายํ วุตฺตํฯ และ ในอรรถกถาขุททกปาฐะว่า ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสีติ ภควนฺตํ อกฺขรปทนิยมิตคนฺถิเตน วจเนน อภาสีติ อตฺโถฯ

นอกจากความหมายนี้ ยังพบความหมายอื่นตามนัยแห่งคัมภีร์อรรถกถาและฏีกา ดังนี้ คือ

               คียตีติ คาถา, อนุฏฺฐุภาทิวเสน อิสีหิ ปวตฺติตํ จตุปฺปทํ ฉปฺปทํ วา วจนํ. (เถร.ฏฺฐ.๑/๘)

               ถ้อยคำอันบัณฑิตย่อมกล่าว ชื่อว่า คาถา, (ในที่นี้ได้แก่ คำพูดซึ่งประกอบด้วย ๔ บท หรือ ๖ บท อันฤาษี (พระเถระผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่) ให้เป็นไป เนื่องด้วยเป็นคาถาประเภทที่เรียกว่า อนุฏฐุภฉันท์เป็นต้น.

               ปริพฺยตฺเตน อายเตน วา สเรน คียตี กถียตีติ คาถา, อตฺเถ คนฺเธติ สูเจติ ปกาเสตีติ วา คาถา นิรุตฺตินเยน. (มณิ.มญฺ..๑/๑๘๓.)

               คำพูดที่กล่าวออกมาด้วยเสียงที่ยืดออกหรือที่ชัดเจน (ปริพฺยตฺต ศัพท์มีอรรถว่าชัดเจน,  เชี่ยวชาญ ในที่นี้น่าจะหมายถึง มีแบบแผนหรือกฏเกณฑ์ที่ชัดเจน ที่เรียกว่า ฉันทลักษณะ) เรียกว่า คาถา, อีกนัยหนึ่ง คำพูดที่ประกาศอรรถทั้งหลาย ชื่อว่า คาถา. (นัยนี้ มาจาก คนฺธ ธาตุ + ถ ปัจจัยลบ ที่สุดธาตุ ด้วยนิรุตตินัย)

[4] โดยทั่วไป วาจน จะสำเร็จรูปจาก วจ ธาตุ ลง เณ การิตปัจจัย และ ยุปัจจัย วุทธิ อ ที่ วจ เป็น วาจ และแปลง ยุ เป็น อน สำเร็จรูปเป็น วาจน หากเป็นอิตถีลิงค์ ลง อาอิตถีโชตกปัจจัย. วาจนศัพท์นี้ ใช้เป็นศัพท์ที่บ่งถึงผู้ใช้ให้ทำ (เหตุกัตตา)มากกว่า ซึ่งจะมีความหมายต่างกันไปในเต่ละลิงค์ คือ ถ้าเป็น นปุงสกลิงค์ มีอรรถว่า การสอน, และ คำกล่าว โดยทั่วไป, ถ้าเป็นอิตถีลิงค์ มีอรรถว่า คำพูด, คำสอน ซึ่งหมายถึงคัมภีร์พระบาฬี อรรถกถาและฏีกา,  ถ้าเป็นคุณนามมี ๓ ลิงค์ มีความหมายว่า ผู้บอก คือ สอนให้พูด ดังนั้น แม้ในที่นี้ หากถือเอาอรรถดังที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ จะหมายถึง ผู้สอนให้กล่าวพุทธชัยมงคลนั้น.  อย่างไรก็ตาม แต่ในที่นี้ ดูเหมือนท่านจะต้องให้ใช้เป็นสุทธกัตตามากกว่าเหตุกัตตา ดังนั้น จึงแสดงรูปวิเคราะห์เป็นสุทธกัตตา โดยลงเพียงยุปัจจัย แล้ววุทธิด้วยสูตรใหญ่ คือ กฺวจิ ธาตุวิภตฺติปฺปจฺจยานํ ทีฆวิปรีตาเทส โลปาคมา จฯ อนุญาตให้ทีฆะ ถอยกลับ, อาเทส ลบ และลงอาคม ที่ธาตุ, วิภัตติ และปัจจัยทั้งหลายได้บ้าง (กจ.๕๑๗, รู.๔๘๘.)

[5] วิเคราะห์นี้เป็นความหมายโดยรวมของคำนี้ ซึ่งหมายถึงสุขเวทนา ความสบายกาย สบายใจ เป็นต้นไปจนถึงพระนิพพาน  อันเป็นสุขแบบสันติ คือ สงบสุข เพราะสงบจากทุกข์และสังขตธรรมทั้งปวง สมดังพระบาฬีว่า ‘‘นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (สุขมีพระนิพพานเป็นอย่างยิ่ง (ธ. ป. ๒๐๓-๒๐๔).

[6] เอยฺย เป็นวิภัตติกริยาอาขยาต บ่งถึงการแนะนำ (วิธิ) ดังนั้น ด้วยคำนี้ พระโบราณาจารย์ผู้ประพันธ์คาถา บอกอานิสงส์ของการหมั่นสวดภาวนาคาถา ๘ เหล่านี้ ว่า บุคคล ผู้สวดสาธยายชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ สามารถบรรลุสุขและกระทั่งทำให้แจ้งพระนิพพานได้ โดยมีพุทธชัยมงคลนี้ที่ตนสวดสาธยายเป็นประจำทุกวัน ให้เป็นที่ระลึกถืงเนืองๆ ใจย่อมสงบ แล้วเจริญสมาธิและวิปัสนาต่อก็จะพึงบรรลุสุขและนิพพานได้.

[7] กรณีนี้ หมายถึง บุคคลที่ไม่ได้ถูกจำแนกว่าเป็นชายหรือหญิง ก็ความหมายนี้ประสงค์เอาในคาถานี้. ส่วน นร ศัพท์ มีความหมายว่า มนุษย์ผู้ชาย ถ้ามาคู่กับ นารี มนุษย์ผู้หญิง กรณีนี้ถ้าเป็นมนุษย์ผู้ชาย มีความหมายตามศัพท์ว่า ผู้นำไป หมายถึง เป็นผู้นำของมนุษย์ผู้หญิง,  กรณีที่เป็นมนุษย์ผู้หญิง เรียกว่า นารี เพราะเป็นผู้ประกอบกับนระหรือเป็นสมบัติของนระนั้น  (ย่อความจากฏีกาวิสุทธิมรรคและสัททนีติธาตุมาลา). อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ผู้ชายหรือหญิง ล้วนเป็นผู้สามารถเข้าถึงคือได้ความสุขกระทั่งพระนิพพานได้ หากเป็นผู้หมั่นสวดพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้โดยไม่เกียจคร้าน ดังนั้น ในที่นี้ ท่านผู้รจนาคาถาจึงใช้คำว่า นระ กล่าวคือ เป็นบุคคลทั่วไป โดยไม่จำแนกว่าเป็นเพศชายหรือหญิง

[8] ปัญญาในที่นี้แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ปัญญาที่เป็นวิบาก หมายถึง ปัญญาติดมาแต่กำเนิด กล่าวคือ ติเหตุกบุคคล และ ปัญญาที่ทำกิจนั้นๆ ให้สำเร็จ กล่าวคือ สัมปชัญญะ. นรชน ผู้มีปัญญาอย่างแรก ย่อมมีอุปนิสัยแห่งการเจริญภาวนาให้สำเร็จได้ดีกว่าและเมื่อเจริญปัญญาอย่างหลังให้เกิดขึ้น ย่อมได้ชื่อว่า มีปัญญาทั้งสองชนิดนี้ พึงทำนิพพานให้แจ้งได้ โดยอาศัยการสวดสาธยายคาถานี้เป็นปัจจัย.