วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๓. นมักการฎีกา อธิบายคำว่า สุคตํ ในคาถาที่ ๑


        ปุน สุคตนฺติ สมฺมา คทตฺตา สุคโต. โส หิ สมฺมา คทติ ภาสตีติ สุคโตติ วุจฺจติ.  สุปุพฺพคทธาตุ ภาสายํ วิยตฺติยํ วาจายํ วา.  ต, ทสฺส โต. ฉสุ วาจาสุ ยุตฺตฏฺฐาเน ยุตฺตเมว  ทฺวิวาจํ ภาสตีติ อตฺโถ.
         คำว่า สุคตํ อีกคำหนึ่งอีก คือ ทรงพระนามว่า สุคต เพราะตรัสโดยชอบ. จริงอยู่ บัณฑิตขนานนามพระองค์ว่า สุคต เพราะตรัสโดยชอบ.  คท ธาตุ ในการกล่าว , หรือ ในการกล่าวคำปรากฏอรรถ ที่มี สุ เป็นบทหน้า . ต ปัจจัย.  แปลง ท เป็น ต. หมายความว่า ในวาจา คือ การกล่าว ๖ ประการ ย่อมตรัสเฉพาะวาจา ๒ ประการที่สมควร ในฐานะที่สมควร เท่านั้น.
        
         วุตฺตญฺหิ  มชฺฌิมปณฺณาสปาฬิยํ อภยราชกุมารสุตฺเต 
            ๑ ราชกุมาร ยํ ตถาคโต ตํ วาจํ ชานาติ อภูตํ อตจฺฉํ อนตฺถสํหิตํ.  สา จ ปเรสํ  อปฺปิยา อมนาปา.  น ตํ ตถาคโต วาจํ ภาสติ.
         ข้อนี้สมดังที่ตรัสไว้ในพระบาลีมัชฌิมปัณณาสก์  อภยราชกุมารสูตร ว่า
         ๑. ดูกรราชกุมาร ตถาคต ทราบวาจาใด ที่ไม่มีอยู่ ไม่แท้จริง ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์.  และวาจานั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่น่าพอใจของชนเหล่าอื่น, ตถาคต ก็จะไม่กล่าววาจานั้น.
        
         ๒. ยมฺปิ ตถาคโต วาจํ ชานาติ ภูตํ ตจฺฉํ อนตฺถสํหิตํ. สา จ ปเรสํ อปฺปิยา อมนาปา. ตมฺปิ ตถาคโต วาจํ น ภาสติ.
         ๒. ตถาคต ทราบวาจาแม้ใด ที่มีอยู่  เป็นจริง (แต่) ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์. และวาจานั้น ก็มิได้เป็นที่รัก มิได้เป็นที่น่าพอใจของชนเหล่าอื่น, ตถาคต ก็จะไม่กล่าววาจานั้น.

         ๓. ยญฺจ โข ตถาคโต วาจํ ชานาติ ภูตํ ตจฺฉํ อตฺถสํหิตํ, สา จ ปเรสํ อปฺปิยา อมนาปา, ตตฺร กาลญฺญู ตถาคโต โหติ ตสฺสา วาจาย เวยฺยากรณาย.
         แต่ตถาคตทราบวาจาใดแล มีอยู่ จริงแท้ ทั้งประกอบด้วยอัตถะ , และวาจานั้น มิได้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ แก่ชนเหล่าอื่น, ในวาจานั้น ตถาคต ย่อมเป็นกาลัญญู (ผู้ที่รู้จักกาลอันสมควรกล่าว) เพื่อการเปิดเผยวาจานั้น

         ๔. ยํ ตถาคโต วาจํ ชานาติ อภูตํ อตจฺฉํ อนตฺถสํหิตํ, สา จ ปเรสํ ปิยา มนาปา, น ตํ ตถาคโต วาจํ ภาสติ.
         ตถาคตทราบวาจาใด อันไม่มี ไม่จริงแท้ ทั้งประกอบด้วยอนัตถะ, และ วาจานั้น เป็นที่รัก ที่ชอบใจแก่ชนเหล่าอื่น , ตถาคตจะไม่กล่าววาจานั้น.

         ๕. ยมฺปิ ตถาคโต ชานาติ ภูตํ ตจฺฉํ อนตฺถสํหิตํ, สา จ ปเรสํ ปิยา มนาปา, ตมฺปิ ตถาคโต วาจํ น ภาสติ.
         ตถาคตทราบแม้วาจาใด ที่มี ที่จริงแท้ (แต่) ประกอบด้วยอนัตถะ, และวาจานั้น เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจแก่ชนเหล่าอื่น, ตถาคต ก็จะไม่กล่าววาจาแม้นั้น.

         ๖.  ยญฺจ โข ตถาคโต วาจํ ชานาติ ภูตํ ตจฺฉํ อตฺถสํหิตํ, สา จ ปเรสํ ปิยา มนาปา, ตตฺร กาลญฺญู ตถาคโต โหติ ตสฺสา วาจาย เวยฺยากรณายาติ.
         แต่ตถาคต ทราบวาจาใดแล ที่มี จริงแท้ ประกอบด้วยอัตถะ, และวาจานั้น เป็นที่รัก เป็นที่น่าชอบใจ แก่ชนเหล่าอื่น, ในข้อนั้น ตถาคต ย่อมเป็นกาลัญญู (รู้กาล) ที่จะเปิดเผย วาจานั้น.

         เอตฺถ ปาฬิยํ ปเนสา สุขคฺคหณตฺถํ สงฺเขเปน เวทิตพฺพา.
         นักศึกษา พึงทราบวาจานั้น (ที่มา) ในพระบาลีนี้โดยสังเขป เพื่อจับความได้สะดวก.

         กถํ เหสา อภูตา อนตฺถสํหิตา อปฺปิยา วาจา จ, ภูตา อนตฺถสํหิตา อปฺปิยา วาจา จ,  ภูตา อตฺถสํหิตา อปฺปิยา วาจา จ, อภูตา อนตฺถสํหิตา ปิยา วาจา จ, ภูตา อนตฺถสํหิตา ปิยา วาจา จ, ภูตา อตฺถสํหิตา ปิยา วาจาติ ฉพฺพิธา โหตีติ.
         ก็ วาจา ๖ ประการนี้ คือ
         ๑. ไม่มีอยู่จริง ประกอบด้วยอนัตถะ และไม่เป็นที่รัก
         ๒. มีอยู่จริง ประกอบด้วยอนัตถะและไม่เป็นที่รัก
         ๓. มีอยู่จริง ประกอบด้วยอัตถะ และไม่เป็นที่รัก
         ๔. ไม่มีอยู่จริง ประกอบด้วยอนัตถะ และเป็นที่รัก
         ๕. มีจริง ประกอบด้วยอนัตถะและเป็นที่รัก
         ๖. มีจริง ประกอบด้วยอัตถะ และเป็นที่รัก
เป็นอย่างไร ?
          
         ตตฺถ อโจรํเยว โจโร อยนฺติอาทิวเสน วตฺตพฺพวาจา ปฐมวาจา.  โจรํเยว โจโร  อยนฺติอาทิวเสน วตฺตพฺพวาจา ทุติยวาจา นาม. 
         ในวาจา ๖ ประการนั้น วาจาอย่างที่ ๑  ได้แก่ วาจาที่พึงกล่าวโดยเกี่ยวกับนัยมีอาทิว่า (การตู่) คนที่มิได้เป็นโจรนั่นแหละว่า คนนี้เป็นโจร.
         วาจาอย่างที่ ๒ ได้แก่ วาจาที่พึงกล่าวโดยเกี่ยวกับนัยมีอาทิว่า (การชี้) คนที่เป็นโจรนั่นแหละว่า คนนี้เป็นโจร.

         อกตปุญฺญาย ทุคฺคโต ทุพฺพณฺโณ อปฺเปสกฺโข, อิธ ปน ฐตฺวาปิ ปุน ปุญฺญํ น กโรติ, ทุติยจิตฺตวาเร กถํ จตูหิ อปาเยหิ มุจฺจิสฺสตีติ เอวํ มหาชนสฺส อตฺถปุเรกฺขาเรน ธมฺมปุเรกฺขาเรน อนุสาสนีปุเรกฺขาเรน วตฺตพฺพวาจา ตติยวาจา นาม.
         วาจาอย่างที่ ๓ ได้แก่ วาจาที่พึงกล่าวโดยมีอรรถ(ประโยชน์) เป็นปุเรกขาระ (ออกหน้า, หรือกระทำไว้ในเบื้องหน้า) โดยมีธรรม (เหตู) เป็นปุเรกขาระ โดยมีการพร่ำสอนเป็น ปุเรกขาระ (หรือแปลอีกนัยหนึ่งว่า โดยมุ่งถึงประโยชน์, ธรรมและอนุสาสนี) แก่มหาชนอย่างนี้ว่า เพราะเขามิได้สร้างบุญไว้ จึงเป็นผู้มีความเป็นไปลำบาก ผิวพรรณทราม มีอำนาจน้อย, แม้ดำรงอยู่ในโลกนี้ แล้วก็ยังมิได้กระทำบุญอีก. แล้วในวาระจิต (อัตตภาพ) ที่ ๒ จักพ้นจากอบาย ๔ได้อย่างไร ?.

         เอโก  ธุตฺโต อาห  มยฺหํ โภ มาตุ มยิ  กุจฺฉิคเต กปิฏฺฐผลโทหโฬ อโหสิ. สา อญฺญํ กปิฏฺฐหารกํ อลภมานา มํเยว เปเสสิ.  อหํ คนฺตฺวา รุกฺขํ   อภิรุหิตุํ อสกฺโกนฺโต  อตฺตนาว  อตฺตานํ ปาเท  คเหตฺวา  มุคฺครํ  วิย  รุกฺขสฺส อุปริ ขิปึ.  อถ สาขโต สาขํ วิจรนฺโต ผลานิ คเหตฺวา โอตริตุํ อสกฺโกนฺโต ฆรํ คนฺตฺวา นิสฺเสณึ อาหริตฺวา โอรุยฺห  มาตุ  สนฺติเก  คนฺตฺวา ผลานิ มาตุยา อทาสึ ตานิ ปน มหนฺตานิ โหนฺติ จาฏิปฺปมาณานิ.   ตโต  เม  มาตรา  เอกาสเน  นิสินฺนาย สมสฏฺฐิผลานิ  ขาทิตานีติ เอวมาทิวเสน  วตฺตพฺพวาจา  จตุตฺถวาจา นาม.
            วาจาประเภทที่ ๔ ได้แก่ วาจาที่พึงกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า นักต้มตุ๋นผู้หนึ่งกล่าวว่า นี่แนะท่าน เมื่อเรายังอยู่ในท้องแม่ แม่ ได้แพ้ท้องอยากกินมะขวิด เมื่อยังหาคนอื่นไปเก็บมะขวิดไม่ได้ ท่านจึงได้ใช้ให้เรานั่นแหละไป. เราไปแล้ว แต่ ขึ้นต้นไม้ไม่ได้  จึงเอาตัวเองจับตัวเองที่เท้า ขว้างไปที่ยอดไม้ เหมือนกับขว้างไม้กระบอง.  ทีนั้น เมื่อไต่จากกิ่งหนึ่งสู่อีกกิ่งหนึ่ง เก็บลูกมะขวิดได้ แต่ะลงมา ไม่ได้ เลยกลับไปบ้าน เอาบันไดมา ถึงลงได้  ก็ไปหาแม่ ได้เอาผลมะขวิดมาให้แม่. และลูกมะขวิดนั้น ใหญ่เท่าตุ่มน้ำ. หลังจากนั้นเรากับแม่นั่งที่เดียวกัน กินมะขวิดไปตั้ง ๖๐ ลูก.

         อามิสเหตุ   จาฏุกมฺยตาทิวเสน   นานปฺปการกํ  ปเรสํ  โถมนา วาจา  เจว ราชกถํ   โจรกถนฺติอาทินยปฺปวตฺตา  ติรจฺฉานนกถา จ  ปญฺจมวาจา นาม.
        วาจาประเภทที่ ๕ ได้แก่ วาจาที่ชมเชยผู้อื่นเป็นประการต่าง ๆ โดยหวังจะเยินยอเพราะอามิสเป็นต้น และติรัจฉานกถา ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ราชกถา (เรื่องพระราชา)  โจรกถา (เรื่องโจร) ดังนี้

       อริยสจฺจสนฺนิสฺสิตา ธมฺมกถา  ฉฏฺมวาจา นาม.  ตํ  ปน  วสฺสสตมฺปิ  สุณนฺตา  ปณฺฑิตา  เนว   ติตฺตึ คจฺฉนฺติ.
            วาจาประเภทที่ ๖ ได้แก่ ธรรมกถา ที่อิงอาศัยอริยสัจ. อนึ่ง บัณฑิตฟังวาจา (ที่ ๖) นั้น แม้ตั้ง ๑๐๐ ปี ก็หาได้ถึงความอิ่มไม่.

            ตาสุ ปน ภควา ตติยฉฏฺฐมา ทฺวิวาจา เอว ภาสติ.  ตสฺมา สปฺปุริเสหิ สาเยว ทฺวิวาจา วตฺตพฺพาติ. 
            ในวาจา ๖ ประเภทนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเฉพาะวาจา ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ ๓ และที่ ๖ เท่านั้น. ดังนั้น ท่านผู้เป็นสัปบุรุษ ควรกล่าวแต่วาจา ๒ ประเภทนั้น แล. 

            อยํ ตทฏฺฐกถายํ อาคโต สงฺเขปนโย. วิสุทฺธิมคฺคมหาฏีกายํ ปน สารตฺถทีปนีฏีกายํ ตทญฺญากาเรน วณฺณิโต.  ตาสุ ปน โอโลเกตฺวา คเหตพฺพนฺติ.
            นี้เป็นนัยโดยสังเขปที่มาในอรรถกถาแห่งอภยราชกุมารสูตรนั้น.  แต่ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาและสารัตถทีปนีฎีกา ท่านพรรณนาโดยอาการอย่างอื่นจากอรรถกถานั้น. นักศึกษา พึงตรวจดูในคัมภีร์ทั้งสองนั้นแล้วถือเอาเถิด.


         อยํ ปเนตฺถ สงฺคหคาถา
                        โย ภูตมตฺถสํหีตํ                     ปเรสมปฺปิยา วาจํ
                        ภูตมตฺถสหีตญฺจ                    ปเรสํ ปิยวาจนฺติ
                        ทฺวิวาจํ ยุตฺตฏฺฐาเนว            วทตีติ สุคโตติ
                        วุจฺจตี จ ทการสฺส                  กตฺวา  ตการวิญฺญุนาติ

            ในคำว่า สุคโต ผู้ตรัสดีแล้ว นี้ จึงมีสังคหคาถา (คาถารวมเพื่อท่องจำ)ว่า
                 พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ย่อมกล่าววาจา ๒ อย่าง
         คือ วาจาที่มีจริง ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นที่รักของชนอื่น ๑,
         วาจาที่มีจริง ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นที่รักของชนอื่น ๑
         ในฐานะที่ควร เท่านั้น เพราะเหตุนั้น วิญญูชนจึงขนานพระนาม
         พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ว่า พระสุคต เพราะแปลง ท อักษร
         เป็น ต อักษร ด้วยประการนี้แล.

        จบ คาถาที่ ๑
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น