วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๕. นมกฺการฎีกา อธิบายคำว่า กุสลํกุสลํ ชหํ ในคาถา ๑

นมักกการปาฐะ
       บทนมัสการพระพุทธเจ้า

.
          สุคตํ สุคตํ เสฏฺฐํ,      กุสลํกุสลํ ชหํ;
          อมตํ อมตํ สนฺตํ,       อสมํ อสมํ ททํฯ
          สรณํ สรณํ โลกํ,       อรณํ อรณํ กรํ;
          อภยํ อภยํ ฐานํ,       นายกํ นายกํ นเมฯ
            ขอถวายนมัสการ พระสุคตพุทธเจ้า ผู้ตรัสพระดำรัสไม่ผิดพลาด  ทรงประเสริฐยิ่ง กำจัดทั้งกุศลและอกุศลเสียได้ ผู้เป็นอมตะ ทรงมีนิพพานอันอมตะ ทรงสงบระงับ หาผู้เสมอมิได้  ทรงประทานโลกุตรธรรมที่ไม่เสมอกับโลกิยธรรม ทรงเป็นที่พึ่งของโลก รู้แจ้งโลก ปราศจากกิเลสแล้ว เป็นผู้สร้างความปราศจากกิเลส  ทรงปราศจากภัย นำมวลประชาไปสู่สถานที่ปราศจากภัย ทรงเป็นโลกนายกฯ

**********

       คัมภีร์นมักการฎีกา อธิบายคำว่า กุสลํกุสลํ ชหํ กำจัดกุศลและอกุศลเสียได้ ดังนี้
กุสลํกุสลํ ชหนฺติ เอตฺถ กุสลํ อกุสลํ ชหนฺติ ปทวิภาโค กาตพฺโพฯ กุจฺฉิตํ ปาปธมฺมํ สลยติ จลยติ กมฺเปติ วิทฺธํเสตีติ กุสลํ, จตุภูมิกกุสลํ ลพฺภติฯ กุปุพฺโพ สลธาตุ อฯ ตตฺถ กามาวจรกุสลํ ตทงฺคปฺปหาเนน ปาปธมฺมํ สลยติ จลยติ, มหคฺคตกุสลํ วิกฺขมฺภนปฺปหาเนน สลยติ กมฺเปติ, โลกุตฺตร กุสลํ สมุจฺเฉทปฺปหาเนน สลยติ วิทฺธํเสตีติ อตฺโถฯ
พระพุทธองค์ทรงกำจัดกุศลและอกุศลได้ (กุสลํกุสลํ ชหํ) เป็นอย่างไร
ลำดับแรก ควรแยกบทว่า กุสลํกุสลํ ออกเป็น ๒ คือ กุศลํ และ อกุสลํ.
บทว่า กุสล ได้แก่ กุศลในภูมิ ๔ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติทำบาปธรรมน่ารังเกียจ ให้สั่นหวั่นไหว และกำจัดได้. กรณีนี้มาจาก สล ธาตุ ที่มีความหมายว่า สั่น, สะเทือน, และกำจัด ประกอบด้วย กุ นิบาตเป็นบทเคียง และลง อ ปัจจัย.
การทำบาปธรรมเหล่านั้นให้หวั่นไหวมี ๔ ตามควรแก่ภูมิของกุศลจิต คือ
กามาวจรกุศล ทำบาปธรรมให้หวั่นไหว โดยตทังคปหาน ละได้ตามสมควรแก่กุศลแต่ละอย่าง ที่เรียกว่า ตทังคปหาน.
มหคฺคตกุศล คือ รูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศล ทำบาปธรรมให้สะเทือน โดยการข่มบาปธรรมเหล่านั้นมิให้กำเริบ ที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน.
โลกุตรกุศล กำจัดบาปธรรมเหล่านั้น โดยหมดสิ้นอย่างเด็ดขาด ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน.

อถ วา กุจฺฉิตํ อปายทฺวารํ สลนฺติ สํวรนฺติ ปิทหนฺติ สาธโว เอเตนาติ กุสลํ, กรณสาธโนยํฯ อิธ ปน ชหนฺติ วุตฺตตฺตา เตภูมกกุสลเมวาธิปฺเปตํฯ
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรม ได้แก่ สภาพที่ช่วยปิดประตูอบายที่น่ารังเกียจให้แก่สาธุชน, ศัพท์นี้เป็นกรณสาธนะ บ่งถึงธรรมที่เป็นเครื่องช่วยเหลือ. ในกรณีนี้ กุศลได้แก่ กุศลธรรมในภูมิ ๓ เท่านั้น เหตุที่ท่านกำกับบทว่า ชหํ ผู้ทรงละ ไว้.

ตํ ปน อนวชฺชสุขวิปากลกฺขณํ, อกุสลวิทฺธํสนรสํ, โวทาน ปจฺจุปฏฺฐานํ, อิฏฺฐวิปากปจฺจุปฏฺฐานํ วา, โยนิโสมนสิการ ปทฏฺฐานํฯ
กุศลนั้น มีลักษณะที่ไม่มีโทษและมีวิบากเป็นสุข, มีการทำลายอกุศลเป็นกิจ, มีสภาพที่หมดจดเป็นผลปรากฏ, อีกอย่างหนึ่้ง มีวิบากน่าปรารถนาเป็นผลปรากฏ, มีโยนิโสมนสิการเป็นเหตุใกล้.

น กุสลํ อกุสลํ, มิตฺตปฏิปกฺโข อมิตฺโต วิย ปหายกปหาตพฺพภาเวน กุสลปฏิปกฺขนฺติ อตฺโถฯ ตํ ปน สาวชฺชทุกฺขวิปากลกฺขณํ, สาวชฺชานิฏฺฐวิปาก ลกฺขณํ วา, อนตฺถชนนรสํ, อนิฏฺฐวิปากปจฺจุปฏฺฐานํ, อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํฯ
อกุศล คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับกุศล หมายถึง เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล โดยเป็นธรรมที่ละ และที่ถูกละ เหมือนอมิตรเป็นปฏิปักษ์ต่อมิตร ฉะนั้น. อกุศลนั้น มีลักษณะเป็นธรรมมีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์, หรือ มีลักษณะเป็นธรรมมีโทษและมีวิบากไม่น่าปรารถนา, มีการทำให้เกิดสิ่งไม่ใช่ประโยชน์เป็นกิจ, มีความมีวิบากไม่น่าปรารถนาเป็นผลปรากฏ, มีอโยนิโสมนสิการเป็นเหตุใกล้.

ปุญฺญาภิสงฺขารอาเนญฺชาภิสงฺขารสงฺขาตํ กุสลํ อปุญฺญาภิสงฺขารสงฺขาตํ อกุสลญฺจ กุสลํกุสลํฯ ตํ ปน ปทํ ชหนฺติปเท กมฺมํฯ
ในที่นี้ คำว่า กุสลํกุสลํ คือ กุศล คือปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร และอกุศลคืออปุญญาภิสังขาร. สองบทนี้เป็นบทกรรมในบทว่า ชหํ แปลว่า ผู้ทรงละกุศล คือ ปุญญาภิสังขาร และ อาเนญชาภิสังขาร และละอกุศลคืออปุญญาภิสังขาร.

ชหนฺติ มคฺคกฺขเณ สมุจฺเฉทปฺปหาเนน ผลกฺขเณ ปฏิปฺปสฺสมฺภนปฺปหาเนน ปชหนฺตํ วิทฺธํเสนฺตนฺติ อตฺโถฯ ตญฺหิ อรหตฺตมคฺคญาเณน ชหติ ปชหติ, ผลญาเณน ชหิํ ปชหิํ ปฏิปฺปสฺสมฺภินฺติ วา ชโห, พุทฺโธฯ หาธาตุ จาเค อฯ กิญฺจาปิ ปเนตฺถ กุสลํ มคฺเคน ปหาตพฺพธมฺเม น วุตฺตํ, วฏฺฏมูลภูเต อวิชฺชาตณฺหาทิกิเลเส ปน อรหตฺตมคฺค ญาเณน ชหิเต โลกิยกุสลุปฺปตฺติยา มูลภูตาย อวิชฺชาตณฺหาย อภาวา ปุญฺญาภิสงฺขาโร สํสาเร ปุน ปฏิสนฺธิยา นิพฺพตฺเตตุํ น สกฺโกติ, ตสฺมา วฏฺฏมูลภูเต กิเลเส ชหิเต ผลูปจาเรน กุสลมฺปิ ชหิตํ นาม โหติฯ รูปํ ภิกฺขเว น ตุมฺหากํ ตํ ปชหถาติอาทีสุ วิย
บทว่า ผู้ทรงละ (ชหํ) หมายความว่า เมื่อทรงละ คือ ทรงทำลายกุศลและอกุศล โดยการละได้อย่างเด็ดขาด ในขณะแห่งมรรค และด้วยการละโดยทำให้สงบระงับ ในขณะแห่งผล.
อีกนัยหนึ่ง พระสุคตพุทธเจ้า ผู้ทรงละกุศลและอกุศลนั้นอย่างทั่วถึงด้วยอรหัตมรรคญาณ และทรงละได้แล้ว คือ สงบระงับแล้วด้วยผลญาณ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ชห  ผู้ละกุศลและอกุศล มาจาก หา ธาตุ ในความหมายว่า ละ ลง อปัจจัย. เกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้ว่า กุศลมิได้ถูกแสดงไว้ในธรรมฝ่ายที่พึงละด้วยมรรค ก็จริง, กระนั้น เมื่อกิเลสอันเป็นรากฐานของวัฏฏะคืออวิชชาและตัณหา ถูกละได้เสียแล้วด้วยอรหัตตมรรคญาณ, ก็เพราะปราศจากอวิชชาและตัณหาที่เป็นรากฐานเพื่อการเกิดขึ้นของโลกียกุศล ปุญญาภิสังขาร จึงไม่สามารถเกิดขึ้นในสังสารวัฏฏ์โดยความเป็นปฏิสนธิได้อีก, ฉะนั้น เมื่อได้ละกิเลสอันเป็นรากฐานแห่งวัฏฏะได้แล้ว แม้กุศล ก็เป็นอันถูกละได้ โดยการยกเอาผล (กุศล) มากล่าวแทนเหตุ (อวิชชาและตัณหา), เรื่องนี้เปรียบเทียบกับพระบาฬีนี้ว่า รูปํ ภิกฺขเว น ตุมฺหากํ ตํ ปชหถ ภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ของเธอ เธอจงละรูปนั้นเสีย.

อรหนฺเตน หิ อภิสมาจาริกวตฺตํ กตมฺปิ กุสลนฺติ น วุตฺตํ, กฺริยาติ ปน วุตฺตนฺติ เวทิตพฺพํฯ วุตฺตญฺหิ นิทานวคฺคสํยุตฺตฏฺฐกถายํ ‘‘ขีณาสเวน หิ กตํ กมฺมํ เนว กุสลํ โหติ นากุสลํ, อวิปากํ หุตฺวา กฺริยมตฺเต ติฏฺฐตี’’ติฯ องฺคุตฺตรฏฺฐกถายญฺจ ‘‘อรหตฺตมคฺโค จ กุสลากุสล กมฺมกฺขยาย สํวตฺตตีติ เอวํ เตน ตํ ภิชฺชตี’’ติ วุตฺตํฯ เตน วุตฺตํ จูฬนิทฺเทสปาฬิยํ ‘‘อรหตฺตมคฺคญาเณน อภิสงฺขารวิญฺญาณสฺส นิโรเธน เย อุปฺปชฺเชยฺยุํ นามญฺจ รูปญฺจ, เอตฺเถเต นิรุชฺฌนฺติ วูปสมนฺติ อตฺถํ คจฺฉนฺติ ปฏิปฺปสฺสมฺภนฺตี’’ติฯ
ยังมีอีกเรื่องนี้ีที่ควรชี้แจง อภิสมาจาริกวัตร ของพระอรหันต์ มิได้มีชื่อเรียกว่า กุศล แต่เรียกว่า กิริยา ดังนั้น จึงควรทราบถึงหลักฐานของเรื่องนี้. คัมภีร์อรรถกถานิทานวรรค สังยุตตนิกาย อธิบายว่า “กรรมที่พระขีณาสพได้กระทำแล้ว จะเป็นกุศลก็มิใช่ ทั้งมิได้เป็นอกุศล, แต่เป็นกรรมที่ไม่มีวิบาก ตั้ืงอยู่ ในธรรมเพียงกิริยา คือ การกระทำเท่านั้น”.  นอกจากนี้ คัมภีร์อรรถกถาอังคุตรนิกาย ก็อธิบายไว้เหมือนกันว่า อรหัตมรรค ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ดังนั้น กุศลและอกุศลนั้น ย่อมทำลายไปด้วยอรหัตตมรรคนั้น. ความข้อนี้พ้องด้วยข้อความที่มาในคัมภีร์จูฬนิทเทสพระบาฬีว่า “ธรรมเหล่าใดคือนามและรูป พึงเกิดขึ้นเพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ (จิตที่สัมปยุตด้วยกุศลเจตนาและอกุศลเจตนา) ด้วยอรหัตตมรรคญาณ, ธรรมเหล่านั้น ย่อมดับไป ย่อมสงบไป ย่อมถึงความไม่ตั้งอยู่ ย่อมสงบระงับ ในอรหัตมรรคนี้.



******************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น