วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๔ - (๙).ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของศีล

๙. สีลลกฺขณปฃฺโห

๙. สีลลกฺขณปฃฺโห
อ.ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของศีล
. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ยํ ปเนตํ พฺรูสิ อฃฺเฃหิ จ กุสเลหิ ธมฺเมหีติ,  กตเม  เต   กุสลา ธมฺมา’’ติ?
‘‘สีลํ, มหาราช, สทฺธา วีริยํ สติ สมาธิ,             อิเม เต กุสลา ธมฺมา’’ติฯ

๙. ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ภนฺเต ผู้เจริญ, ปน ก็ ตฺวํ อ.ท่าน พฺรูสิ ย่อมกล่าว ยํ เอตํ ซึ่งธรรมนี้ใด อิติ ว่า “อฃฺเฃหิ จ  กุสเลหิ ธมฺเมหิ และเพราะกุศลธรรมท.เหล่าอื่น”ดังนี้,    ธมฺมา อ.ธรรมท. กุสลา อันเป็นกุศล เต เหล่านั้น กตเม เหล่าไหน?" อิติ ดังนี้.[1]
เถโร อ.พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า "มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ธมฺมา อ.ธรรมท. กุสลา อันเป็นกุศล เต เหล่านั้น อิเม เหล่านี้ คือ สีลํ อ.ศีล, สทฺธา อ.ศรัทธา, วีริยํ อ.วิริยะ, สติ อ.สติ, สมาธิ อ.สมาธิ." ดังนี้.
‘‘กึลกฺขณํ, ภนฺเต, สีล’’นฺติ?

ราชา อ.พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, สีลํ อ.ศีล กึลกฺขณํ มีอะไรเป็นลักษณะเล่า ?" ดังนี้.[2]
‘‘ปติฏฺฅานลกฺขณํ, มหาราช, สีลํ สพฺเพสํ กุสลานํ ธมฺมานํ, อินฺทฺริย พล โพชฺฌงฺค มคฺคงฺค สติปฏฺฅาน สมฺมปฺปธาน อิทฺธิปาท ฌาน วิโมกฺข สมาธิ สมาปตฺตีนํ สีลํ ปติฏฺฅํ,

เถโร อ.พระเถระ วิสชฺเชสิ วิสัชนาแล้ว อิติ ว่า "มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สีลํ อ.ศีล ปติฏฺฅานลกฺขณํ   มีความเป็นที่ตั้ง - ธมฺมานํ แห่งธรรมท.      กุสลานํ อันเป็นกุศล สพฺเพสํ ทั้งปวง -  เป็นลักษณะ[3], สีลํ อ.ศีล ปติฏฺฅํ  เป็นที่ตั้ง    อินฺทฺริย พล โพชฺฌงฺค มคฺคงฺค  สติปฏฺฅาน  สมฺมปฺปธาน อิทฺธิปาท ฌาน วิโมกฺข สมาธิ สมาปตฺตีนํ แห่งอินทรีย์[4] พละ[5] โพชฌงค์[6] มัคคังคะ[7] สติปัฏฐาน[8] สัมมัปปธาน[9] อิทธิบาท[10] ฌาน[11] วิโมกข์[12] สมาธิ[13] และสมาบัติ[14]ท.
สีเล  ปติฏฺฅิโต โข,  มหาราช, โยคาวจโร สีลํ นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฅาย  ปญฺจินฺทฺริยานิ  ภาเวติ สทฺธินฺทฺริยํ วีริยินฺทฺริยํ  สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปฃฺฃินฺทฺริยนฺติ, สพฺเพ กุสลา ธมฺมา น  ปริหายนฺตี’’ติฯ

มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยคาวจโร อ.พระโยคาวจร  ปติฏฺฅิโต  ผู้ตั้งอยู่แล้ว สีเล ในศีล, นิสฺสาย อาศัยแล้ว สีลํ ซึ่งศีล, ปติฏฺฅาย ตั้งอยู่แล้ว สีเล ในศีลปฃฺจินฺทฺริยานิ ยังอินทรีย์ ๕ ท. คือ สทฺธินฺทฺริยํ ยังสัทธินทรีย์ วีริยนฺทฺริยํ  ยังวิริยินทรีย์, สตินฺทฺริยํ ยังสตินทรีย์, สมาธินฺทฺริยํ ยังสมาธินทรีย์, ปฃฺฃินฺทิริยํ ยังปัญญินทรีย์ ภาเวติ ย่อมให้บังเกิด[15],   ธมฺมา อ.ธรรมท. กุสลา อันเป็นกุศล สพฺเพ ทั้งปวง น ปริหายนฺติ ย่อมไม่เสื่อม” ดังนี้.
‘‘โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ตฺวํ อ.ท่าน กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา” ดังนี้.
‘‘ยถา มหาราช เย เกจิ พีชคามภูตคามา วุฑฺฒึ วิรูฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชนฺติ, สพฺเพ เต ปถวึ นิสฺสาย ปถวิยํ ปติฏฺฅาย วุฑฺฒึ วิรูฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชนฺติฯ
เถโร อ.พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า "มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร พีชคามภูตคามา อ.พืชพันธุ์และต้นไม้ท.[16] เยเกจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง อาปชฺชนฺติ ย่อมถึง วุฑฺฒึ ซึ่งความเจริญ  วิรูฬฺหํ ซึ่งความงอกงาม เวปุลฺลํ ซึ่งความไพบูลย์[17] สพฺเพ เต อ.พันธุ์พืชและต้นไม้ท.เหล่านั้นทั้งหมด นิสฺสาย อาศัยแล้ว ปถวึ ซึ่งแผ่นดิน ปติฏฺฅาย ตั้งอยู่แล้ว ปถวิยํ   บนแผ่นดิน อาปชฺชนฺติ ย่อมถึง วุฑฺฒึ  ซึ่งความเจริญ วิรูฬฺหํ ซึ่งความงอกงาม  เวปุลฺลํ ซึ่งความไพบูลย์ ยถา ฉันใด
เอวเมว โข, มหาราช, โยคาวจโร สีลํ  นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฅาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ภาเวติ สทฺธินฺทฺริยํ วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปฃฺฃินฺทฺริย’’นฺติฯ

มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยคาวจโร อ.พระโยคาวจร นิสฺสาย อาศัยแล้ว สีลํ ซึ่งศีล ปติฏฺฅาย ตั้งอยู่แล้ว สีเล ในศีล ปฃฺจินฺทฺริยานิ ยังอินทรีย์ ๕ ท. คือ สทฺธินฺทฺริยํ สัทธินทรีย์ วีริยนฺทฺริยํ    วิริยินทรีย์, สตินฺทฺริยํ สตินทรีย์, สมาธินฺทฺริยํ สมาธินทรีย์, ปฃฺฃินฺทิริยํ ปัญญินทรีย์ ภาเวติ ย่อมให้บังเกิด เอวํ ฉันนั้น เอว นั่นเทียว โข แล.
‘‘ภิยฺโย โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสแล้ว         อิติ ว่า ตฺวํ อ.ท่าน กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา ภิยฺโย ยิ่งขึ้น” ดังนี้.
‘‘ยถา, มหาราช, เย เกจิ พลกรณียา กมฺมนฺตา กยิรนฺติ, สพฺเพ เต ปถวึ นิสฺสาย ปถวิยํ ปติฏฺฅาย กยิรนฺติฯ
เถโร อ.พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า "มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร   กมฺมนฺตา  อ.การงานท.  พลกรณียา อันบุคคลพึงกระทำด้วยเรี่ยวแรง เยเกจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชเนหิ อันชนท. กยิรนฺติ ย่อมกระทำ,  เต กมฺมนฺตา อ.การงานท.เหล่านั้น สพฺเพ ทั้งปวง ชเนหิ อันชนท. นิสฺสาย อาศัยแล้ว   ปถวึ   ซึ่งแผ่นดิน ปติฏฺฅาย ตั้งอยู่แล้ว ปถวิยํ   บนแผ่นดิน กยิรนฺติ ย่อมกระทำ    ยถา   ฉันใด,
เอวเมว โข, มหาราช, โยคาวจโร สีลํ  นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฐาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ภาเวติ สทฺธินฺทฺริยํ วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปฃฺฃินฺทฺริย’’นฺติ

มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยคาวจโร อ.พระโยคาวจร นิสฺสาย อาศัยแล้ว สีลํ ซึ่งศีล ปติฏฺฅาย ตั้งอยู่แล้ว สีเล ในศีล ปฃฺจินฺทฺริยานิ ยังอินทรีย์ ๕ ท. คือ สทฺธินฺทฺริยํ สัทธินทรีย์ วีริยนฺทฺริยํ   วิริยินทรีย์, สตินฺทฺริยํ สตินทรีย์,   สมาธินฺทฺริยํ สมาธินทรีย์, ปฃฺฃินฺทิริยํ ปัญญินทรีย์ ภาเวติ ย่อมให้บังเกิด   เอวํ ฉันนั้น เอว นั่นเทียว โข แล.
‘‘ภิยฺโย โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ

ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสแล้ว         อิติ ว่า ตฺวํ อ.ท่าน กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา ภิยฺโย ยิ่งขึ้น” ดังนี้.
‘‘ยถา มหาราช  นครวฑฺฒกี นครํ มาเปตุกาโม ปฅมํ นครฏฺฐานํ โสธาเปตฺวา ขาณุกณฺฏกํ อปกฑฺฒาเปตฺวา ภูมึ สมํ  การาเปตฺวา ตโต อปรภาเค วีถิจตุกฺกสิงฺฆาฏกาทิปริจฺเฉเทน วิภชิตฺวา นครํ  มาเปติฯ
เถโร อ.พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า "มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร นครวฑฺฒกี อ.นายช่างผู้ยังเมืองให้เจริญ (สร้างเมือง) มาเปตุกาโม ผู้ประสงค์เพื่อก่อสร้าง นครํ ซึ่งเมือง นครฏฺฅานํ ยังพื้นแห่งเมือง โสธาเปตฺวา  ให้หมดจดแล้ว[18] ปุคฺคลํ ยังบุคคล อปกฑฺฒาเปตฺวา ให้ถอนออกแล้ว ขาณุกณฺฎกํ ซึ่งตอไม้และขวากหนาม การาเปตฺวา ให้กระทำแล้ว ภูมึ ซึ่งภาคพื้น สมํ ให้เสมอกัน         วิภชิตฺวา แบ่งแล้ว วีถิจตุกฺกสิงฺฆาฏกาทิ- ปริจฺเฉเทน โดยกำหนดซึ่งสถานที่มีที่รวมแห่งหมู่แห่งหนทางสี่เป็นต้น[19] ปฅมํ ก่อน มาเปติ ย่อมก่อสร้าง นครํ ซึ่งพระนคร  อปรภาเค ในกาลส่วนภายหลัง ตโต จากนั้น ยถา ฉันใด
เอวเมว โข, มหาราช, โยคาวจโร สีลํ  นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฐาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ภาเวติ สทฺธินฺทฺริยํ วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปฃฺฃินฺทฺริย’’นฺติฯ

มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยคาวจโร อ.พระโยคาวจร นิสฺสาย อาศัยแล้ว สีลํ ซึ่งศีล ปติฏฺฅาย ตั้งอยู่แล้ว สีเล ในศีล ปฃฺจินฺทฺริยานิ ยังอินทรีย์ ๕ ท. คือ สทฺธินฺทฺริยํ สัทธินทรีย์ วีริยนฺทฺริยํ    วิริยินทรีย์, สตินฺทฺริยํ สตินทรีย์, สมาธินฺทฺริยํ สมาธินทรีย์, ปฃฺฃินฺทิริยํ ปัญญินทรีย์ ภาเวติ ย่อมให้บังเกิด เอวํ ฉันนั้น เอว นั่นเทียว โข แล.
‘‘ภิยฺโย โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ

ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสแล้ว         อิติ ว่า ตฺวํ อ.ท่าน กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา ภิยฺโย ยิ่งขึ้นดังนี้.
‘‘ยถา มหาราช ลงฺฆโก สิปฺปํ ทสฺเสตุกาโม ปถวึ ขณาเปตฺวา สกฺขรกถลํ อปกฑฺฒาเปตฺวา ภูมึ สมํ การาเปตฺวา  มุทุกาย ภูมิยา สิปฺปํ ทสฺเสติฯ
เถโร อ.พระเถระ อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า "มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ลงฺฆโก อ.นักเล่นกายกรรม[20]       ทสฺเสตุกาโม ผู้ใคร่เพื่อแสดง สิปฺปํ ซึ่งศิลปะ ปุคฺคลํ ยังบุคคล ขณาเปตฺวา ให้ขุดคุ้ย ปถวึ ซึ่งแผ่นดิน อปกฑฺฒาเปตฺวา แล้วจึงให้เก็บออกแล้ว สกฺขรกถลํ ซึ่งกรวดและเศษหิน การาเปตฺวา ให้กระทำแล้ว ภูมึ ซึ่งพื้นดิน สมํ ให้เสมอกัน  ทสฺเสติ ย่อมแสดง สิปฺปํ ซึ่งศิลปะ ภูมิยา บนพื้นดิน มุทุกาย อันนุ่ม ยถา ฉันใด,
เอวเมว โข, มหาราช, โยคาวจโร สีลํ           นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฐาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ภาเวติ สทฺธินฺทฺริยํ วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปฃฺฃินฺทฺริยนฺติฯ

มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยคาวจโร อ.พระโยคาวจร นิสฺสาย อาศัยแล้ว สีลํ ซึ่งศีล ปติฏฺฅาย ตั้งอยู่แล้ว สีเล ในศีล ปฃฺจินฺทฺริยานิ ยังอินทรีย์ ๕ ท. คือ สทฺธินฺทฺริยํ สัทธินทรีย์ วีริยนฺทฺริยํ วิริยินทรีย์, สตินฺทฺริยํ สตินทรีย์, สมาธินฺทฺริยํ สมาธินทรีย์, ปฃฺฃินฺทิริยํ ปัญญินทรีย์ ภาเวติ ย่อมให้บังเกิด เอวํ ฉันนั้น เอว นั่นเทียว โข แล.
ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา

มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร เอตํ วจนํ ปิ แม้อ.พระพุทธวจนะนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ ตรัสแล้ว อิติ ว่า
สีเล ปติฏฺฅาย นโร สปฃฺโฃ  จิตฺตํ ปฃฺฃฃฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ       โส อิมํ วิชฏเย ชฏนฺติฯ

นโร อ.นรชน สปฃฺโฃ ผู้มีปัญญา ปติฏฺฅาย ดำรงอยู่แล้ว สีเล ในศีล จิตฺตํ ยังสมาธิ ด้วย ปฃฺฃํ ยังปัญญา ด้วย ภาวยํ ให้เกิดขึ้นอยู่ อาตาปี เป็นผู้มีความเพียร นิปโก เป็นผู้มีปัญญารักษาตน ภิกฺขุ เป็นภิกษุ โหติ ย่อมเป็น, โส นโร อ.นรชนนั้น วิชฏเย พึงสาง ชฏํ ซึ่งชัฏ อิมํ นี้ได้"ดังนี้[21]
‘‘อยํ ปติฏฺฅา ธรณีว ปาณินํ,
อิทญฺจ มูลํ กุสลาภิวุฑฺฒิยา;
มุขฃฺจิทํ สพฺพชินานุสาสเน,
โย สีลกฺขนฺโธ วรปาติโมกฺขิโย’’’ติฯ

สีลํ  อ.ศีล อิทํ นี้    มูลํ  เป็นพื้นฐาน  กุสลาภิวฑฺฒิยา ของความเจริญแห่งกุศล        ด้วย อิว เพียงดัง ธรณี อ.แผ่นดิน อยํ นี้ ปติฏฺฅา เป็นที่ตั้ง ปาณินํ แห่งสัตวท..
สีลกฺขนฺโธ  อ.กองแห่งศีล โย ใด        วรปาติโมกฺขิโย อันมีในปาติโมกข์อันประเสริฐ, สีลํ อ.ศีล อิทํ นี้ มุขํ เป็นเบื้องต้น สพฺพชินานุสาสเน ในคำพร่ำสอนของ         พระชินเจ้าทั้งปวง ด้วย” ดังนี้.[22]
‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ

ราชา อ.พระราชา อโวจ ได้ตรัสแล้ว      อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน   ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, ตฺวํ อ.ท่าน กลฺโล เป็นผู้สามารถแก้ปัญหา อสิ ย่อมเป็น” ดังนี้.
สีลลกฺขณปญฺโห นวโมฯ
สีลลกฺขณปฃฺโห
อ.ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของศีล
นวโม ที่ ๙ นิฏฺฅิตํ จบแล้ว.

v



[1] พระเจ้ามิลินท์ ครั้นทราบชัดแล้วว่า โยนิโสมนสิการมีลักษณะอย่างไรแล้ว บัดนี้ เมื่อประสงค์จะทราบถึงกุศลธรรมอื่นที่เป็นเหตุร่วมกันกับโยนิโสมนสิการและปัญญาอันเป็นเหตุให้สัตว์หมดปฏิสนธิ ดังที่พระนาคเสนได้ถวายวิสัชชนาในปัญหาก่อน จึงปรารภคำว่า กุศลธรรมที่พระคุณเจ้าได้กล่าวไว้นั้นได้แก่อะไรบ้าง
[2] ครั้นพระนาคเสนวิสัชชนาว่า กุศลธรรม ๕ ประการมีศีลเป็นต้น เป็นเหตุให้หมดปฏิสนธิ ดังนี้แล้ว พระเจ้ามิลินท์จึงซักไซร้ถึงศีลอันจะให้เข้าถึงความเป็นผู้หาปฏิสนธิมิได้นั้น ได้แก่ มีลักษณะเช่นไร?. พระนาคเสนถวายวิสัชชนาว่า ได้แก่ ศีลที่มีลักษณะเป็นที่ตั้งของกุศลธรรมเหล่าอื่นมีอินทรีย์เป็นต้นนั่นเอง.
          อนึ่ง ศีลในที่นี้มีอรรถว่า สังวร ดังในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคว่า สุตฺวาน สํวเร ปฃฺฃา สีลมเย ฃาณํฯ (ขุ.ปฏิ) ปัญญาอันเป็นไปในสังวร เพราะฟัง ชื่อว่า สีลมเย ญาณํ ญาณอันประกอบด้วยสีล หรือ ญาณอันเป็นไปในกองธรรมอันสำเร็จแล้วด้วยศีล.
            ในที่นี้ท่านถือเอาศีลว่าเป็นสังวร. คำว่า สังวร คือ การปิดกั้นจากอกุศลมีกายทุจริตเป็นต้น.  ส่วนศีล มีอรรถว่า สีลน รวบรวม และปติฏฺฅาน รองรับเป็นต้น.  ก็สังวรนั้นมี ๕ และมี ๗ โดยนัยที่มาในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ดังนี้
            สังวร ๕ คือ ปาติโมกขสังวร ความสำรวมระวังในพระปาติโมกข์,  สติสังวร ... คือสติ,  ญาณสังวร ...คือปัญญา, วิริยสังวร ...คือความเพียร, ขันติสังวร ...ความอดทนกล่าวคือ ความไม่โกรธ.
            สังวร ๗ คือ สังวร ๕ เหล่านั้น ด้วย ปัจจัยปฏิเสวนาสังวร การพิจารณาใช้สอยปัจจัยและอาชีวปริสุทธิสังวร ความหมดจดแห่งอาชีวะ ด้วย จึงรวมเป็นสังวร ๗. เกี่ยวกับสังวร ๗ นี้  สงเคราะห์ปัจจัยปฏิเสวนสังวรในญาณสังวร เพราะสำเร็จโดยการใช้สอยอย่างแยบคายของผู้มีปัญญาเท่านั้น ดังนั้น. ส่วนอาชีวปาริสุทธิสังวร สงเคราะห์ไว้ในวิริยสังวร เพราะการที่จะให้อาชีวะเข้าถึงความหมดจดได้ก็โดยความเพียรอันปรารภแล้วเท่านั้น เพราะพิจารณาเห็นโทษในการแสวงหาปัจจัยโดยมิชอบและเห็นอานิสงส์ในการแสวงหาโดยชอบธรรมนั่นเอง.
            เพราะในที่นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีล ท่านจึงประสงค์เอาสังวร ๔ คือ ปาติโมกขสังวร สติสังวร (อินทรียสังวร) ปัจจยปฏิเสวนาสังวรและอาชีวปริสุทธิสังวรเท่านั้นว่าเป็นศีล.  อย่างไรก็ตาม ถึงท่านต้องการสังวร ๔ โดยตรง ก็จริง แต่กระนั้น ญาณสังวร วิริยสังวร และขันติสังวรก็สงเคราะห์อยู่ในสังวร ๔ เหล่านี้ด้วย เพราะญาณและวิริยะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งศีลกล่าวคือปัจจัยสันนิสสิตศีลและอาชีวปาริสุทธิศีล ส่วนขันติ ถือเป็นพื้นฐานและที่พึ่งพิงสำคัญแก่ศีลเหล่านี้. นี้เป็นความโดยสังเขป ส่วนรายละเอียดพึงศึกษาเพิ่มเติมในคัมภีร์อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคและวิสุทธิมรรค
            พระเจ้ามิลินท์หมายเอาศีลที่มีอรรถว่าสังวร มีปาติโมกขสังวรศีลเป็นต้นเหล่านี้ว่ามีอะไรเป็นลักษณะ.
[3] อีกนัยหนึ่ง แปลว่า สีลํ อ.ศีล ปติฏฺฅานลกฺขณํ มีความเป็นที่ตั้งเป็นลักษณะ, สีลํ อ. ศีล ปติฏฺฅํ เป็นที่ตั้ง ของกุศลธรรมทั้งปวง คือ ของ ... ทั้งสองนัยนี้ หมายความว่า กุศลธรรมในที่นี้ได้แก่ อินทรีย์เป็นต้น.
ศีลคือสังวรนั้น แม้ว่าจะมีถึง ๔ ประการ แต่ก็มีลักษณะร่วมกัน คือ สีลนะ ตั้งมั่น ซึ่งมีความหมายเป็น ๒ นัยคือ  สมาธานะ ความตั้งมั่น อันได้แก่ การเป็นเหตุคุมกายกรรมเป็นต้นที่เกลื่อนกล่นไป ไม่ตั้งอยู่ด้วยดี ซึ่งเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์และโทษทั้งในปัจจุบันและภายหน้า ด้วยความทุศีล  ให้ตั้งอยู่ด้วยดี โดยความมีศีลดี มีกิริยาการทอดจักษุลงต่ำ เป็นต้น และปติฏฐานะ ภาวะที่เป็นฐานมั่นคงอันสามารถรองรับกุศลธรรมต่างๆมีอินทรีย์เป็นต้น. ส่วนอรรถอื่นๆแห่งศีลมีอีกมาก แต่ท่านมิได้ให้ความสำคัญมากเท่าสองอรรถนี้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคและวิสุทธิมรรค. พระนาคเสนยกลักษณะคือปติฏฐานะมาแสดงอย่างเดียว. 
[4] ศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มี ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์.  สภาวะที่เป็นใหญ่ ได้แก่
๑.  ครอบงำคือละปฏิปักขธรรมของตน
๒. ทำอินทรีย์อย่างอื่นพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมให้คล้อยตามตนในกิจของตน (อินทรีย์ที่เป็นใหญ่ขณะนั้น)
            ศรัทธา ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะที่เป็นใหญ่โดยละความไม่เชื่อ และเป็นใหญ่โดยความน้อมใจเชื่อ คือเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์อื่นโดยให้น้อมใจเชื่อคล้อยตามตน ในอินทรีย์อื่นก็เป็นเช่นนี้.
            วิริยะ ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะมีความเป็นใหญ่โดยละความเกียจคร้านและเป็นใหญ่โดยประคับประคองไว้.
            สติ ชื่อว่า สตินทรีย์ เพราะมีความเป็นใหญ่โดยละความหลงลืมและเป็นใหญ่โดยเข้าไปตั้งไว้ในอารมณ์
            สมาธิ ชื่อว่า สมาธินทรีย์ เพราะมีความเป็นใหญ่ โดยละความฟุ้งซ่าน และเป็นใหญ่โดยการไม่ซัดส่าย
            ปัญญา ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะมีความเป็นใหญ่โดยละความไม่รู้ และเป็นใหญ่โดยการรู้เป็นประการต่างๆ.
[5] ชื่อว่า พละ เพราะเป็นความไม่หวั่นไหวในปฏิปักขธรรม มี ๕ คือ สัทธาพละ วีริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ เช่นเดียวอินทรีย์ ๕  คือ ศรัทธาเมื่อมีกำลังมากขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่พินาศ ไม่แปรปรวน   เพราะความไม่มีศรัทธา, วีริยะ ไม่หวั่นไหว ไม่พินาศ ไม่แปรปรวน   เพราะความเกียจคร้าน, สมาธิพละ ไม่หวั่นไหว ไม่พินาศ ไม่แปรปรวน   เพราะความฟุ้งซ่าน, ปัญญา ไม่หวั่นไหว ไม่พินาศ ไม่แปรปรวน   เพราะความไม่รู้.
[6] ธรรม ๗ อย่าง คือ สติ, ธัมมวิจยะ ปัญญาที่วิจัยธรรมคือวิปัสสนาปัญญา, วิริยะ, ปีติ ความอิ่มเอิบใจที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาจิต, ปัสสัทธิ ความระงับจากนิวรณ์แห่งจิต, สมาธิ, อุเบกขา ความวางเฉย คือความเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายในอารมณ์ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ประกอบ เป็นสัมภาระแห่งโพธิคือการตรัสรู้ อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘     เป็นหมวดธรรมที่พระโยคาวจรพึงทำให้เต็มบริบูรณ์ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้เป็นต้น.
[7] ธรรม ๘ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกตรงความเป็นจริง, สัมมาสังกัปปะ ความดำริในการออกจากกามเป็นต้น, สัมมาวาจา วจีสุจริต ๓, สัมมากัมมันตะ กายสุจริต ๔, สัมมาอาชีวะ ความหมดจดแห่งอาชีพ, สัมมาวายามะ ความเพียร, สัมมาสติ สติ, สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นแห่งจิต เหล่านี้ ชื่อว่า องค์มรรค เพราะมีความหมายว่า เป็นองค์ประกอบที่เป็นทางคืออุบายบรรลุนิพพาน.
[8] สติปัฏฐาน ได้แก่ สติที่พระโยคาวจรทำให้เข้าไปตั้งอยู่ที่ธรรม ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต และธรรม อันเป็นไปเพื่อละวิปลาส (ความสำคัญคลาดเคลื่อน) ๔ อย่าง คือ สุภวิปลาส ความสำคัญคลาดเคลื่อนว่างาม, สุขวิปลาส ความสำคัญคลาดเคลื่อนว่าเป็นสุข, นิจจวิปลาส ความสำคัญคลาดเคลื่อนว่าเที่ยง, อัตตวิปลาส ความสำคัญคลาดเคลื่อนว่าเป็นอัตตา ในกายซึ่งไม่งามเป็นต้น.
[9] สัมมัปธาน ได้แก่ วิริยะที่เป็นไปในกิจ ๔ อย่าง คือ เพียรละอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว, เพียรป้องกันอกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น, เพียรทำกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น, เพียรทำกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่ได้เจริญยิ่งขึ้นไป.
[10] ธรรม ๔ อย่างคือ ฉันทะ ความพอใจหรือความใคร่จะทำให้สำเร็จ, วิริยะ, จิตตะ ความฝักใฝ่ในอารมณ์นั้นเป็นพิเศษ, วิมังสา ปัญญาที่ไตร่ตรอง ที่เกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรที่มีความดำริว่า "ก็ความสำเร็จพึงมีแก่ผู้มีฉันทะที่เป็นเช่นใด,แม้เราก็จะมีฉันทะที่เป็นเช่นนั้น" ดังนี้เป็นต้น แล้วทำฉันทะเป็นต้นนั้นให้เป็นธุระ ให้เป็นใหญ่ ให้ออกหน้า ประกอบการงานของตนไปจนบรรลุความสำเร็จ. ฉันทะเป็นต้นนั้น เรียกว่า ฉันทิทธิบาท เป็นต้น.
[11] ฌาน ได้แก่ ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น ซึ่งได้ชื่อว่า ฌาน โดยความหมายว่า เพ่งอารมณ์ และโดยความหมายว่า แผดเผาธรรมอันเป็นข้าศึก ได้แก่ โลกิยฌานที่พระโยคาวจรใช้เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ซึ่งเพ่งอารมณ์มีกสิณเป็นต้น เผาธรรมอันเป็นข้าศึกคือนิวรณ์ทั้งหลาย โดยประการที่ข่มไว้ได้. และโลกุตรฌาน ที่เกิดพร้อมกับอริยมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ซึ่งเพ่งอารมณ์คือพระนิพพาน แผดเผาธรรมอันเป็นข้าศึกคือนิวรณ์ทั้งหลาย โดยประการที่ตัดขาดเสียได้.
[12] วิโมกข์ ๓ คือ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์ ความว่า พระนิพพาน ชื่อว่า นิมิตตะ เพราะเป็นที่ปราศจากนิมิตคือสังขารทั้งหลาย, พระอริยมรรคทั้งหลายมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะเป็นเหตุหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย. พระอริยมรรคนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไปกระทำพระนิพพานอันชื่อว่าอนิมิตตะนั้นให้เป็นอารมณ์ ก็เป็นเหตุหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์. พระนิพพานได้ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่เป็นที่ปรารถนาแห่งราคะ ชื่อว่า สุญญตะ เพราะว่างเปล่าจากสังขารทั้งหลาย,  พระอริยมรรค ได้ชื่อว่า อัปปณิหิต-วิโมกข์, ได้ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ก็โดยนัยดังได้กล่าวแล้ว.
[13] สมาธิ ได้แก่ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิและสุญญตสมาธิ ในที่นี้ประสงค์เอาสมาธิที่เกิดร่วมกับพระอริยมรรคทั้งหลาย ซึ่งได้ชื่อว่า อนิมิตสมาธิเป็นต้น ก็เพราะความที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวคือพระนิพพานที่ชื่อว่า อนิมิตตะเป็นต้นนั้น.
[14] สมาบัติ ได้แก่ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ และสุญญตสมาบัติ ก็พระอริยผลทั้งหลาย ชื่อว่า สมาบัติ เพราะอรรถว่า พระอริยบุคคลย่อมเข้า คือทำให้เป็นไปสืบต่อชั่วระยะเวลาที่ต้องการ.  สมาบัติเหล่านั้น ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติเป็นต้น ก็เพราะความที่มีพระนิพพานอันชื่อว่าอนิมิตตะเป็นต้นเป็นอารมณ์นั่นแหละ.
[15] ภาเวติ ภู + เณ +  ติ ภูธาตุ ปกติเป็นธาตุไม่มีกรรมมารับ แต่เมื่อลงการิตปัจจัย ทำให้เป็นสกัมมกธาตุ มีกรรม ๑ ตัว คือ การิตกรรมมารับ (นีติ.ปท) ดังนั้น เมื่อแปลโดยพยัญชนะ ก็ดังที่แปลไว้นั้น แต่ถ้าโดยโวหารัตถะ แปลว่า เจริญ. เกี่ยวกับการเจริญอินทรีย์เป็นต้นเหล่านี้ ได้แก่ การละปฏิปักขธรรมนั้นๆของอินทรีย์นั้นๆ ดังที่มาในปฏิสัมภิทามรรคดังนี้ คือ เมื่อละอสัทธิยะ ชื่อว่า เจริญสัทธินทรีย์, เมื่อละโกสัชชะ ชื่อว่า เจริญวิริยินทรีย์, เมื่อละความหลงลืม ชื่อว่า เจริญสตินทรีย์, เมื่อละอุทธัจจะ ชื่อว่า เจริญสมาธินทรีย์, เมื่อละความไม่รู้ ชื่อว่า เจริญปัญญินทรีย์.
[16] พีชคาม แปลว่า พันธุ์พืชได้แก่ ราก เมล็ด ก้าน ยอด  หน่อเป็นต้น ที่จะเป็นพันธุ์หรือกล้ามืที่สำเร็จเป็นต้นไม้ต่อไป. ส่วนภูตคาม ได้แก่ พันธุ์พืชที่กลายเป็นต้นไม้แล้ว ได้แก่ ต้นไม้ต่างๆ. คาม ศัพท์ในคำว่า พีชคามและภูตคามนั้น มีอรรถว่า สมูห กอง หรือมีอรรถตัพภาวะ มีอรรถของศัพท์ข้างหน้าตน (ดูอรรถกถาวินัยภูตคามสิกขาบท)
[17] คือความสมบูรณ์เติบโต
[18] โสธาเปตฺวา มาจาก สุธ หมดจด + ณาเป การิตปัจจัย + ตฺวาปัจจัย เป็นเหตุกัตตุวาจก. สุธ ธาต ปกติเป็นอกัมมกธาตุ แต่เมื่อลง การิตปัจจัย จึงเป็นสกัมมกธาตุ โดยมีกรรม ๑ ตัว. แปลโดยพยัญชนะก็ดังที่แปลไว้นั้น แต่ถ้าโดยอรรถ ก็ต้องแปลโดยธาตุที่มีกรรม ๒ ตัวคือ ให้บุคคลทำความสะอาดเมือง.
[19] อรรถกถาอธิบายว่า จุดศูนย์รวมแห่งถนนสี่สายมาบรรจบกันเรียกว่า สิงฺฆาฏก ส่วนถนนที่แยกออกไปจากจุดศูนย์รวมสู่ทิศ ๔ นั้นเรียกว่า วีถิจตุกฺก. เมื่อถือเอาโดยความก็ว่า กำหนดสถานที่เป็นจุดศูนย์รวมของถนนออกไปสู่ทิศทั้งสี่แล้วจึงสร้างถนนที่จะออกไปจากจุดนั้น ซึ่งเรียกว่า สี่แยก ในปัจจุบันนั่นเอง. 
[20] คำว่า ลงฺฆโก (ลงฺฆ กระโดด + ณฺวุ ผู้) แปลว่า นักกายกรรม นี้เพราะเหตุที่พวกเขาต้องเล่นอยู่ในที่กระโดด หมายถึง แสดงศิลปะโดยกระโดดไปยังที่สูงประมาณ ๑๐ หรือ ๒๐ ศอกเป็นต้น.
[21] ในคาถานี้ พึงเห็นการประกอบความดังนี้.  นโร อ.นรชน คือ สัตว์ทั่วไป แต่ในที่นี้หมายถึงมนุษย์ สปฃฺโฃ ผู้มีปัญญา ด้วยปฏิสนธิปัญญาประกอบด้วยเหตุสามอันเกิดจากกรรม กล่าวคือ ฉลาดแต่กำเนิด ปติฏฺฅาย ดำรงอยู่แล้ว สีเล ในศีลโดยการบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์  จิตฺตํ ยังสมาธิ ในที่นี้แสดงไว้ด้วยศัพท์ว่า จิต ด้วย ปฃฺฃํ ยังปัญญาคือวิปัสสนาซึ่งแสดงไว้ด้วยคำว่า ปัญญา ด้วย ภาวยํ ให้เกิดขึ้นอยู่ อาตาปี เป็นผู้มีความเพียร. วิริยะเรียกว่า อาตาปี เพราะเป็นสภาพที่ยังกิเลสให้เร่าร้อน  นิปโก เป็นผู้มีปัญญารักษาตน ซึ่งนำหน้าไปในกิจทั้งปวง กล่าวคือ สัมปชัญญะ ภิกฺขุ เป็นภิกษุ คือ เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์ โหติ ย่อมเป็น, โส นโร อ.นรชนนั้น ผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปฏิสนธิปัญญา วิปัสสนาปัญญา ปาริหาริกปัญญา (สัมปชัญญะ)และความเพียร ได้เห็นภัยในวัฏฏะ ดังนี้แล้วจึงตั้งมั่นอยู่บนแผ่นดินคือศีล ใช้มือคือปาริหาริกปัญญา อันมีกำลังคือความเพียรประคองไว้ ยกมีดคือวิปัสสนาปัญญาที่ลับคมดีแล้วด้วยหินลับคือสมาธิ  วิชฏเย พึงตัดทำลายสะสาง ชฏํ ซึ่งชัฏกล่าวคือตัณหา อิมํ ทั้งปวงนี้ที่สะสมอยู่ในสันดานของตนอยู่ เหมือนดังบุรุษยืนมั่นคงบนแผ่นดินใช้มีดคมกล้าตัดพุ่มไม้ใหญ่ได้ ฉะนั้น.
[22] คำว่า สีลขันธ์ อันมีในพระปาติโมกข์ เป็นสำนวนที่เรียกว่า อเภทเภทูปจารโวหาร กล่าวถึงธรรมที่ไม่ต่างกันดุจว่าต่างกัน. ความจริง สีล ก็คือ ปาติโมกข์ แต่กล่าวแยกว่า สีลมีในปาติโมกข์ดุจดังว่า สีลอันหนึ่ง ปาติโมกข์อันหนึ่ง.           อีกนัยหนึ่ง  เพื่อจะให้เห็นสภาวะที่ศีลขันธ์เป็นประธานในปาติโมกข์  ส่วนสมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์เป็นต้น เป็นธรรมที่เกิดร่วมกันกับศีล ถือเป็นธรรมที่มีศีลเป็นปัจจัยนั่นเอง. (สมภพ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น